วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2018, 22:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปแอบดูคลิปหนึ่ง :b32: :b32: :b32:

ถกกันแค่ศัพท์คำว่า "อานาปานสติ" เจอคำศัพท์ธรรมดา ก็ชวนกันถอยแล้ว
ด้วยเหตุว่า รู้มั๊ย อานาปานสติ เห็นมั๊ย อานาปานสติ :b6:
ไม่รู้ แล้วทำทำไม :b32:

:b6: :b6: :b6:

งั๊นมาเจอคำประมาณนี้บ้าง .... ดีก่า :b32:

Quote Tipitaka:
๒. ทุติยวรรค
หมวดที่ ๒
๑. สัตตธาตุสูตร
ว่าด้วยธาตุ ๗
[๙๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย ธาตุมี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการอะไรบ้าง คือ
๑. อาภาธาตุ๑- ๒. สุภธาตุ๒-
๓. อากาสานัญจายตนธาตุ๓- ๔. วิญญาณัญจายตนธาตุ๔-
๕. อากิญจัญญายตนธาตุ๕- ๖. เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ๖-
๗. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ๗-
ธาตุมี ๗ ประการนี้
@เชิงอรรถ :
@๑ อาภาธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุคือแสงสว่าง ซึ่งเป็นชื่อของอาโลกกสิณ ได้แก่ ฌานพร้อมทั้งอารมณ์ที่ทำให้
@ปีติเกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้
@(สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑)
@๒ สุภธาตุ ในที่นี้หมายถึงฌานพร้อมทั้งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะบริกรรมโดยเพ่งสุภกสิณ สุภธาตุอาศัย
@ความไม่งามจึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๑)
@๓ อากาสานัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดอากาศ คือความว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
@เป็นขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๖)
@๔ วิญญาณัญจายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ วิญญาณัญจายตนธาตุอาศัย
@อากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
@๕ อากิญจัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่กำหนดความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนธาตุ
@อาศัยวิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
@๖ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุที่เข้าถึงภาวะที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
@เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗)
@๗ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ในที่นี้หมายถึงความดับขันธ์ ๔ ขันธ์ เป็นชื่อของนิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิต-
@นิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึงปรากฏได้ (สํ.นิ.อ. ๒/๙๕/๑๕๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และ
สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้อาศัยอะไรจึงปรากฏได้”
“ภิกษุ อาภาธาตุอาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภธาตุอาศัยความไม่งามจึง
ปรากฏได้ อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปสมาบัติจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตน-
ธาตุอาศัยอากาสานัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัย
อากิญจัญญายตนสมาบัติจึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธสมาบัติจึง
ปรากฏได้”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ
วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ
และสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลจะเข้าถึงธาตุเหล่านี้ได้อย่างไร”
“ภิกษุ อาภาธาตุ สุภธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ
อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้ เป็นสัญญาสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้
เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ เป็นสังขาราวิเสสสมาบัติ๑- ที่บุคคลจะเข้าถึงได้ สัญญา-
เวทยิตนิโรธธาตุ เป็นนิโรธสมาบัติที่บุคคลจะเข้าถึงได้”
สัตตธาตุสูตรที่ ๑ จบ


:b32: :b32: :b32:

จะมีใครมาถามเอกอนมั๊ยว่าทำไม พระสูตรนี้จึงใช้คำว่า ธาตุ :b32: :b32: :b32:

อ้างคำพูด:
การพิจารณาธาตุววัฏฐาน

พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

บทอบรมกรรมฐาน ครั้งที่ ๙

วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑

คัดลอกจาก: อบรมกรรมฐานหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

โพสท์ในลานธรรมเสวนา กระทู้ที่ 005687 - โดยคุณ : mayrin [ 6 ก.ค. 2545]



เนื้อความ :

ท่านนักปฏิบัติธรรมผู้เจริญทั้งหลาย

เราได้ฟังการอบรมเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนากรรมฐาน และการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนา และในขณะต่อมาได้ยกเอาเรื่องการพิจารณาอสุภกรรมฐานมาพูดสู่บรรดาท่านทั้งหลายฟัง โดยหลักการพิจารณาของท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เบื้องต้น ท่านสอนให้บริกรรมภาวนา มีบริกรรมภาวนา พุทโธ เป็นต้น หรือบางครั้งก็สอนให้เจริญอานาปานสติกรรมฐาน กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้รู้ว่าสั้นหรือยาว ตั้งฐานที่กำหนดไว้ที่ปลายจมูกที่ลมผ่านเข้าผ่านออก จนกว่าจิตจะสงบเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ

หลังจากนั้นท่านได้แนะนำให้เจริญอสุภกรรมฐาน คือ พิจารณาร่างกายทั้งหมดนี้ให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งาม น่าเกลียดโสโครก โดยยึดหลักกายคตาสติ เป็นแนวทางที่พิจารณา เมื่อนักปฏิบัติได้มาพิจารณาอสุภกรรมฐาน มีความรู้ความเข้าใจชำนิชำนาญ จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริงประจักษ์ลงไปว่า ร่างกายทั้งสิ้นเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก เน่าเปื่อย ผุพัง จะโดยการรู้สึกภายในใจที่น้อมใจเชื่อด้วยศรัทธาก็ตาม หรือจะมองเห็นภาพนิมิต เห็นความปฏิกูลน่าเกลียดที่ปรากฏขึ้นในความรู้สึกในทางจิตก็ตาม ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ชำนิชำนาญในการพิจารณาอสุภกรรมฐาน

ในอันดับต่อไป ท่านสอนให้พิจารณาธาตุววัฏฐาน โดยยกเอาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ขึ้นมาตั้งเป็นหลัก โดยท่านแนะนำให้กำหนดรู้ว่า ธาตุแท้ที่มีอยู่ในโลกนี้มีอยู่ ๔ ธาตุด้วยกัน คือ

ปฐวี - ธาตุดิน อาโป-ธาตุน้ำ เตโช- ธาตุไฟ วาโย-ธาตุลม

ทีนี้ การพิจารณาธาตุทั้งสี่ ก็ยกเอากายของเราเป็นหลัก คือ พิจารณาตั้งแต่ผม คือ เกสา ผม โลมา ขน นขา เล็บ ทนฺตา ฟัน ตโจ หนัง มํสํ เนื้อ นหารู เอ็น อฏฺฐิ กระดูก อฏฐิมิญฺชํ เยื่อในกระดูก วกฺกํ ม้าม หทยํ หัวใจ ยกนํ ตับ กิโลมกํ พังผืด ปิหกํ ไต ปปฺผาสํ ปอด อนฺตํ ไส้ใหญ่ อนฺตคุณํ ไส้น้อย อุทฺริยํ อาหารใหม่ กรีสํ อาหารเก่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้นึกว่าเป็น ธาตุดิน เพราะมีลักษณะแข้นและแข็ง สามารถมองเห็นด้วยตา จับต้องได้ด้วยมือ โดย

พิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ สักแต่ว่าเป็นธาตุดิน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นแต่เพียงธาตุดินเท่านั้น เพราะเหตุว่าในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื้อหนังมังสังก็ปรากฏในความรู้สึกว่า เป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นกระดูก ตามสมมติบัญญัติขึ้นที่ชาวโลกเขาเรียกกัน แต่ในเมื่อสิ่งเหล่านี้สลายตัวลงไป ในที่สุดจะต้องกลายไปเป็นดินตามธรรมชาติ เพราะเหตุว่าสิ่งเหล่านี้ก็ได้มาจากดิน เพราะฉะนั้นธาตุเหล่านี้จึงเป็นดิน แล้วก็พยายามน้อมจิตพินิจพิจารณากลับไป กลับมาจนกระทั่งจิตใจเชื่อลงไปว่าร่างกายทั้งสิ้นนี้เป็นธาตุดิน

ทีนี้ เมื่อพิจารณากลับไปกลับมาจนจิตใจเชื่อมั่นลงไปว่าธาตุดินจริง โดยไม่มีการสงสัยน้อมนึก แล้วก็หยุดพิจารณาเสีย โดยกำหนดจิตบริกรรมภาวนาว่า ปฐวี ปฐวี หรือจะบริกรรมภาวนาว่า ดินๆๆ จนกระทั่งทำจิตให้สงบตั้งมั่นลงไปเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ ถ้าหากว่าภูมิจิตของท่านนักปฏิบัติมีกำลังเพียงพอ ก็จะมองเห็นภาพนิมิตปรากฏขึ้นคล้ายกับว่าจิตได้ออกจากร่างกาย ปรากฏตัวอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง แล้วก็ส่งแสงลงมาดูร่างกายที่นอนเหยียดยาวอยู่ หรือในท่านั่งอยู่ก็ตาม แล้วแต่นิมิตและอุปนิสัยของท่านผู้ใดจะเกิดขึ้น ในเมื่อปรากฏนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ จิตก็จะจ้องมองดูร่างกายเฉยอยู่ ทีนี้ ทางฝ่ายร่างกาย ก็จะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปเป็นลำดับๆ เป็นขั้นเป็นตอน ในระยะแรกเนื้อหนังมังสังที่มองเห็นอยู่นั้นจะค่อยหลุดลงไปทีละชิ้น สองชิ้น

ในที่สุดก็จะยังเหลืออยู่แต่โครงกระดูก สุดท้ายที่สุด แม้แต่โครงกระดูกก็จะถูกทำลายย่อยยับลงไปเป็นผง บางทีอาจมองเห็นคล้ายๆ ขี้เถ้าหรือฝุ่นโปรยอยู่บนพื้นแผ่นดิน แล้วในที่สุดก็จะหายเข้าไปในพื้นแผ่นดิน มองไม่เห็นส่วนที่จะเป็นผงที่ปรากฏนั้น จะมองเห็นแต่ดินโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นธาตุแท้ และพึงสังเกตจิตของตนเองในขณะนั้น ถ้าหากว่าจิตสามารถมองเห็นนิมิตขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง จนกระทั่งร่างกายมีการแสดงอาการเน่าเปื่อยผุพังลงไป ย่อยยับลงไปเป็นขั้นเป็นตอน จนกระทั่งถึงยังเหลืออยู่แต่โครงกระดูก แล้วก็กลายเป็นผง จนกระทั่งหายเข้าไปในพื้นแผ่นดิน ยังเหลือแต่พื้นดินธรรมดา มองหาอะไรไม่เห็น

ในขณะนั้นจิตจะมีความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าไม่ได้นึกไม่ได้คิด และสิ่งที่ปรากฏอยู่ก็คือจิตที่เป็นธรรมชาติ ของผู้รู้ปรากฏอยู่เด่นชัด ส่วนร่างกายซึ่งมีการแสดงปฏิกิริยาให้จิตรู้ และจิตเป็นขั้นเป็นตอนนั้นก็จะแสดงให้ปรากฏอยู่ และในขณะนั้นจะไม่มีภาษาสมมติบัญญัติเรียกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นแต่เพียงสิ่งที่รู้มีอยู่ สิ่งที่ให้รู้ก็มีอยู่ อันนี้คือปรากฏการณ์โดยธรรมชาติ ซึ่งจิตอยู่ในสภาพเป็นผู้รู้จริงเห็นจริงซึ่งเรียกว่า "สัจธรรมปรากฏขึ้นภายในจิต" คือ ปรากฏขึ้นมาว่าร่างกายทั้งปวงนี้มีแต่ดินเท่านั้น

ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา แต่ในขณะนั้นความนึกคิดอย่างนี้จะไม่มีเลย และไม่มีความคิดใดทั้งนั้น มีแต่สภาพจิตที่รู้ปรากฏเด่นชัดอยู่ สิ่งให้รู้ให้เห็นก็แสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว อันนี้คือลักษณะที่จิตรู้จริงเห็นจริงเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง สภาวธรรมคือร่างกายของเรานี้ ในเมื่อมันสลายลงไปแล้ว สิ่งรองรับในขั้นแรกก็คือ ปฐวี ธาตุดิน เพราะส่วนที่แข็งในร่างกายทั้งสิ้นเป็นธาตุดิน

อันนี้ ในเมื่อนักปฏิบัติได้มาหมั่นพินิจพิจารณาอย่างนี้ เมื่อจิตมีความสงบและมีความก้าวไปเป็นขั้นเป็นตอนในการพิจารณาธาตุววัฏฐาน จะปรากฏความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นดังที่กล่าวมานี้

ทีนี้ มีปัญหาที่น่าสงสัยอยู่ว่า เมื่อในขณะที่จิตรู้เห็นตามเป็นจริงอยู่นั้นภาษาสมมุติเรียกบัญญัติในสิ่งนั้นไม่มีปรากฏในความรู้สึก ถ้าเช่นนั้นนักปราชญ์ผู้ให้การอบรมสั่งสอน มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านเอาภาษาสมมติเรียกขานสิ่งเหล่านั้นมาจากไหน

ข้อนี้พึงทำความเข้าใจว่า ในขณะที่รู้เห็นตามเป็นจริง ภาษาไม่มีอยู่ก็จริง แต่เมื่อจิตถอนออกจากสภาพความเป็นเช่นนั้นแล้วมาสู่สภาพปกติธรรม คือ ในขณะที่จิตยังไม่สงบ ลักษณะความทรงจำในตำรับตำรา หรือได้ยินได้ฟังมาตามครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอน สิ่งที่เป็นขึ้นมีขึ้นภายใจจิตนั้นจะวิ่งออกมารับสมมติ ซึ่งเรามีอยู่เต็มโลก ปฐวี ธาตุดิน เขาก็เรียกกันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด กระดูกเขาก็เรียกกันมาตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด เนื้อหนังมังสังเขาก็เรียกมาแต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด

เมื่อจิตออกมาจากสภาพความรู้จริงเห็นจริงซึ่งไม่มีสมมติบัญญัติแล้ว จิตก็มารับเอาสมมติบัญญัติของโลก พระพุทธเจ้ารู้ธรรมที่จริงแล้วก็มาบัญญัติคำสอนตามภาษาของชาวโลก แต่ภาษาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมิได้เหมือนภาษาของชาวโลกทั้งปวง เฉพาะภาษาของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว พระองค์ก็รู้แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่เมื่อจะสอนเวไนยสัตว์ จึงเอาธรรมที่ตรัสรู้แล้วนั้นมาบัญญัติเป็นภาษาของมนุษย์ เพราะพระองค์จะเทศน์ให้มนุษย์ฟัง ก็ต้องเอาภาษามนุษย์มาบัญญัติเรียกชื่อธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว อันนี้เป็นแผนเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายด้วยความเป็นธาตุดินโดยย่อ


ทีนี้ ในเมื่อเรามาพิจารณาธาตุดิน จนกระทั่งจิตมีความสงบรู้แจ้งเห็นจริง เชื่อมั่นลงไปว่าร่างกายทั้งสิ้นเป็นธาตุดิน ในอันดับต่อไป เราก็มาหัดพิจารณาดูธาตุน้ำคืออาโปบ้าง เราจับเค้าพิจารณาตั้งแต่ ปิตฺตํ น้ำดี เสมฺหํ น้ำเสลด ปุพฺโพ น้ำเหลือง โลหิตํ น้ำเลือด เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อสฺสุ น้ำตา วสา น้ำมันเหลว เขโฬ น้ำลาย สิงฺฆาณิกา น้ำมูก ลสิกา น้ำไขข้อ มุตตํ น้ำมูตร โดยสิ่งเหล่านี้ มีลักษณะไหล ซึมซาบขังอยู่ภายในร่างกาย เราสมมติพิจารณาว่าเป็น ธาตุน้ำ ที่พิจารณาว่าเป็นธาตุน้ำเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของเหลว เมื่อมันลงไปผสมกับน้ำ มันก็กลายเป็นน้ำไป สิ่งใดที่มันเป็นธาตุแท้อันเดียวกัน ในเมื่อมันผสมกันเข้าแล้วมันก็เข้ากันได้ อย่างเลือดหรือปุพโพโลหิตต่างๆ ที่มีอยู่ภายในร่างกาย ในเมื่อตกลงไปในน้ำหรือหยดลงไปในน้ำ มันก็สลายตัวปนไปเป็นน้ำทั้งหมด เรามิได้มองเห็นว่าอันนี้เป็นเหงื่อ เป็นไคล เป็นอะไรทั้งนั้นแล้ว มันจะกลายเป็นน้ำเราพยายามน้อมนึกในใจ

น้อมความเชื่อลงไปว่า ภายในร่างกายนี้มีแต่ธาตุน้ำ เป็นน้ำจริง เป็นอื่นไปไม่ได้พอเสร็จแล้ว ในเมื่อจิตมีความเชื่อมั่นลงไปเป็นจริงเป็นจังว่า มีธาตุน้ำอยู่ในร่างกาย เราก็มากำหนดจิตบริกรรมภาวนาว่า อาโปๆๆๆ จนกว่าจิตนั้นตั้งมั่นลงเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ โดยลำดับ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว ถ้าหากว่ากำลังจิตกำลังสมาธิกับสติปัญญาของท่านผู้ปฏิบัติพร้อมแล้ว ก็จะปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาให้เห็นภายในจิตอย่างแจ่มแจ้งว่า ภายในร่างกายนี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง แล้วก็ปรากฏเป็นนิมิตเห็นเด่นชัดภายในดวงจิต

แต่ในขณะที่รู้เห็นอยู่นั้นก็มีลักษณะอย่างเดียวกันกับในขณะที่จิตเห็นกายว่าเป็นธาตุดิน คือผู้รู้ก็ปรากฏมีอยู่ และสิ่งที่ให้รู้ให้เห็นก็ปรากฏอยู่ แต่ภาษาเรียกว่านี้คือจิต นี้คือน้ำ จะไม่มีความรู้ในขณะนั้น ภาษาสมมติว่าจิต ว่าน้ำ มันจะมีขึ้นต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากสภาพความเป็นจริงนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นปกติ คือในขณะที่เรายังไม่ได้ภาวนา แล้วความรู้สึกสมมติบัญญัติในภาษาจะเกิดขึ้นมารับสิ่งที่เรารู้เห็นภายในจิตทันที แล้วจึงจะเป็นภาษาพูดขึ้นว่า อันนั้นคือน้ำ อันนั้นคือดิน ในทำนองนี้

ในเมื่อเราหัดพิจารณา ดิน น้ำ จนชำนิชำนาญคล่องแคล่ว สามารถรู้จริงเห็นจริงแล้ว อันดับต่อไปก็พิจารณาดูไฟ ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย ความร้อนที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมดนั้นจัดเป็นธาตุไฟ เช่น ความร้อนที่ลมหายใจออก ความอุ่นที่หนัง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ธาตุไฟ แล้วก็น้อมจิตเชื่อมั่นลงไป เพ่งเล็งลงไปให้เห็นนิมิตว่า ในร่างกายนี้มีไฟเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่ง ซึ่งปรากฏเด่นชัดตามที่กล่าวมาแล้วในการพิจารณาดินและน้ำ

ในเมื่อจิตเห็นชัดลงไปเช่นนั้น ในขั้นต่อไปก็พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับ ลม ลม ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องล่าง ลมในท้อง ลมในไส้ จนกระทั่งลมหายใจเข้าออก ให้นึกว่าภายในส่วนประกอบของความเป็นร่างกายนี้ มีลมอยู่อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนประกอบ จะขาดเสียไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราก็กำหนดรู้ดูลมซึ่งมีอยู่ภายในร่างกาย จนกระทั่งเกิดนิมิตมองเห็นลมได้เด่นชัด แล้วจิตก็จะมีความสงบเพ่งลงไปเป็นระยะๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในเมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว ถ้าหากว่าภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นมีกำลังพอสมควรที่สามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ ลมก็จะปรากฏเป็นนิมิตให้จิตรู้โดยประการต่างๆ บางทีก็จะปรากฏคล้ายกับว่ามีสิ่งที่ลอยเลื่อนไป มีลักษณะเหมือนก้อนเมฆ หรือเหมือนสำลี ประกอบด้วยความสว่างไสว ซึ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติทั้งนั้น

จิตผู้รู้ก็ปรากฏอยู่ สิ่งที่ให้รู้โดยอาการเปลี่ยนไปของลม หรือความมีลมที่ปรากฏอยู่ก็จะมีปรากฏอยู่โดยอัตโนมัติ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะไม่มีคำพูดที่ว่า นี้คือ จิต นี้คือลม ต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากสภาพรู้จริงเห็นจริงในลักษณะดังกล่าว มาสู่สภาพปกติสามัญธรรมดา เหมือนกับในขณะที่เรายังไม่ภาวนา ภาษาที่สมมติ ว่าลม ว่าจิต ก็จะเกิดขึ้นมารับกับความรู้ที่เราได้รู้นั้น

อันนี้เป็นวิถีทางการพิจารณาธาตุววัฏฐาน คือ การพิจารณาร่างกายให้เห็นว่าเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ คนสัตว์เป็นแค่เพียงสมมติบัญญัติ เรียกเอาเท่านั้น ในเมื่อร่างกายทั้งหมดนี้สลายลงไปแล้วก็จะกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ เข้าไปสู่ธาตุแท้ ซึ่งมีอยู่ดั้งเดิม คือ ปฐวี ธาตุดิน อาโป ธาตุน้ำ เตโช ธาตุไฟ วาโย ธาตุลม ในเมื่อสิ่งเหล่านี้มันยังประชุมพร้อมกันอยู่ตราบใด ยังไม่แตกสลายตราบใด ปฏิสนธิวิญญาณเข้ามายึดครองซึ่งเราเรียกว่าจิตมายึดมั่นถือมั่นเป็นตนเป็นของตน เป็นเราเป็นเขา ยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน เราก็ยังรู้สึกว่าเรามีตัวมีตน เป็นคนเป็นสัตว์ แต่ที่แท้ก็เป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ

สิ่งที่เป็นคนเป็นสัตว์ก็เป็นไปชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อย่างดีก็ไม่เกินร้อยปี ในเมื่อร่างกายทั้งสิ้นได้แตกสลายลงไปแล้ว มันก็จะกลับกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ตามเดิม เพราะสิ่งเหล่านี้เราได้มาจากธาตุดิน จากน้ำ จากลม จากไฟ โดยธรรมชาติ เช่นอย่างอาหารทั้งหลายที่เราบริโภคและดื่มลงไปมันก็ได้มาจากดิน ธาตุน้ำ ข้าวก็เป็นดิน น้ำก็เป็นน้ำ ผักหญ้าอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น มันก็เป็นธาตุดินทั้งนั้น นี้โดยธรรมชาติ มันเป็นอยู่อย่างนี้

ทีนี้ ในขณะที่เราน้อมนึกพิจารณาเห็น บางทีจิตมันจะสงบลงไป ในขณะที่จิตพิจารณาในอาการใดอาการหนึ่ง ถ้ามีปรากฏการณ์ อะไรปรากฏขึ้น ก็ให้จิตมันสงบนิ่งลงไปตามธรรมชาติ อย่านึกถึงสิ่งที่ปรากฏนั้น ในขณะที่จิตพิจารณาธาตุอยู่นั้น ถ้าหากปรากฏนิมิตเป็นรูปคน รูปสัตว์ อะไรปรากฏในความรู้สึก ก็ให้ยึดเอาสิ่งนั้นมาเป็นหลักพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าหากว่าท่านผู้ใดไม่อาจจดจำอาการ ๓๒ ได้ครบถ้วนตามที่กล่าวมาแล้ว ก็ให้พิจารณาโดยรวมกัน

คือพิจารณานึกว่าร่างกายนี้มันก็ไม่มีอะไรหรอก มีแต่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันประชุมกันอยู่กลายเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล้วก็มีวิญญาณเข้าสิงสถิตอยู่อาศัยอยู่ อาศัยกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรม อุปถัมภ์ชุบเลี้ยง ให้เป็นไป เรานึกพิจารณาเอารวมๆ อย่างนี้ก็ได้

แต่ในขณะที่พิจารณาอยู่นั้น บางครั้งจิตมันก็สงบ บางครั้งจิตมันก็ไม่สงบ ถึงจิตมันจะไม่สงบเราก็พยายามน้อมนึกพิจารณาเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจิตมันจะเกิดสงบขึ้นมาจริงๆ ถ้าหากมันไม่สงบในขณะนั้นหรือมันไม่รู้ไม่เห็นในขณะนั้น มันอาจจะเกิดเพราะเราอยากให้มันสงบ เราอยากรู้อยากเห็น ความอยากมันเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เมื่อเราทำอะไรด้วยความอยาก เราจะไม่รู้ เราจะไม่เห็น เช่น เราภาวนาด้วยความอยากให้จิตสงบ จิตของเราจะไม่สงบ ในเมื่อเราพิจารณาธรรมด้วยความอยากรู้อยากเห็น เราจะไม่รู้ไม่เห็น ต่อเมื่อเราไม่อยากรู้อยากเห็นนั้นแหละเราจึงจะรู้จะเห็นขึ้นมา

บางทีนั่งพิจารณาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่งค่อนคืน จวนๆ จะสว่าง มันก็ไม่มีความสงบ ไม่มีความรู้เกิดขึ้น แต่บางทีรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เมื่อเหนื่อยแล้วก็ทอดธุระ หมดอาลัยตายอยากในหน้าที่ที่พึ่งพิจารณา เกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาว่า พิจารณาทั้งคืนมันก็ไม่ได้ผล นอนดีกว่า นอนให้สบายดีกว่า แต่เมื่อนอนลงไปแล้ว เราตั้งใจว่าจะนอนให้มันสบาย ความอยากรู้อยากเห็นอยากมีอยากเป็นในสิ่งเหล่านั้นมันก็หายขาดไป โดยปกตินักภาวนาหรือนักปฏิบัติทั้งหลาย เวลานอนเขาไม่ได้นอนเปล่า นอนกำหนดจิตเรื่อยไป จนกว่าจะนอนหลับ ทีนี้ เมื่อกำหนดจิตเรื่อยไปจนกว่าจะนอนหลับ หลับแล้วจิตอาจจะตื่นกลายเป็นสมาธิก็ได้ เมื่อกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว

สิ่งที่เราพิจารณาไว้ตั้งแต่เบื้องต้น พิจารณาด้วยความไม่รู้และพิจารณาด้วยความที่จิตไม่สงบนั้นแหละ มันจะไปสงบขึ้นในขณะที่เรานอนแล้วก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงตามแนวที่เราพิจารณานั้นในขณะที่เรานอน ในขั้นต้นเราตั้งใจจะนอนให้หลับ เพราะอาศัยผลแห่งการปฏิบัติไม่ขาดสาย เมื่อหลับลงไปแล้ว มันหลับสนิทจริงๆ แต่จิตมันกลับตื่นขึ้นเป็นสมาธิขณะนอนอยู่ แล้วสามารถที่จะรู้ธรรมเห็นธรรมตามความเป็นจริงขึ้นมาแต่ในขณะที่นอนโดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ อันนี้ผู้ที่ปฏิบัติไปนานค่อยใช้ความสังเกตและพิจารณาไปเรื่อยๆ ประสบกราณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นแก่ท่านผู้เป็นนักปฏิบัติด้วยความตั้งใจจริงทุกๆ ท่าน อย่างบางทีเราคอยกันอยู่ ความสงบมันก็เกิดขึ้น แล้วความรู้มันก็เกิดขึ้น

ตัวอย่างก็เคยมีอยู่แล้ว ในวันที่จะเริ่มปฐมสังคายนา พระพุทธเจ้าเคยทรงพยากรณ์พระอานนท์ว่า ท่านจะบรรลุพระอรหันต์ในวันทำสังคายนา ท่านก็เชื่อในพระโอวาทของพระพุทธเจ้า ท่านพยายามเดินจงกรมนั่งสมาธิอยู่ตลอดคืนยั่นรุ่ง นัยว่าเดินจงกรมจนเท้าแตกก็ไม่สามารถจะบรรลุพระอรหันต์ได้ พอท่านเหน็ดเหนื่อยเต็มที่แล้วจนทนไม่ไหว ท่านก็มาคำนึงในใจว่า เรายังไม่สำเร็จพระอรหันต์เราจะพักผ่อนให้สบายก่อน ทีนี้ เมื่อจะตั้งใจพักผ่อนให้สบาย พอเอนกายลง มันวางหมดทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ความอยากเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้นก็ไม่มี มีแต่ตั้งใจว่าเราจะนอน ในเมื่อเอนกายลงไประหว่างครึ่งนั่งครึ่งนอน จิตก็รวมพรึ่บเป็นสมาธิขึ้นมา ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น นี้คือตัวอย่าง

เพราะฉะนั้น ในขณะที่เราบริกรรมภาวนาพิจารณาธรรมอันใดอันหนึ่งก็ตาม ในขณะที่เราบริกรรมหรือพิจารณาอยู่ จิตของเราอาจจะไม่สงบ และอาจจะไม่มีความรู้ใดๆ เกิดขึ้น ก็ขอได้โปรดอย่าท้อถอย ให้ใช้ขันติ ความอดทน พยายามปฏิบัติไป วันหนึ่งก็จะต้องเห็นผลอย่างแน่นอน ขอให้เราตั้งใจทำจริง ปฏิบัติจริงเท่านั้นเป็นพอ โดยยึดหลักโพชฌงค์ว่า ภาวิตา - อบรมให้มากๆ พหุลีกตา กระทำให้มากๆ คือ ทำทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เว้น แต่เวลาหลับการทำสมาธิมิได้หมายความว่าเราจะมากำหนดจิตบริกรรมภาวนาหรือมาพิจารณาเฉพาะในขณะนั่งหลับตาเท่านั้น แม้เวลาอื่นนอกจากการปฏิบัติ คือนอกจาการเดินจงกรมและจากการนั่งสมาธิ เราจะทำอะไร จะพูด จะคิด จะดื่ม จะฉัน จะรับประทานอะไรก็ตาม ให้มีสติสัมปชัญญะคอยกำกับ และเอาตัวรู้สะกดตามไปด้วย คือ ให้มีผู้รู้

ในเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะกำกับรู้กิริยาอาการ ความเคลื่อนไหวของเราอยู่ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คอด เราก็มีสติสังวรอยู่ การที่มีสติสังวรอยู่ สํวโร คือ การสำรวม การสำรวม ก็คือ ศีล ความตั้งมั่นจดจ้องต่อการสังวรระวัง อันนั้นก็คือ สมาธิ ความมีสติสัมปชัญญะ รู้รอบคอบอยู่ทุกอิริยาบถนั้น คือตัว ปัญญา ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงเข้าใจตามนัยที่กล่าวมานี้

การกล่าวให้โอวาทตักเตือนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาธาตุววัฏฐาน คือ การพิจารณาแยกธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมลงสู่ธาตุแท้ คือ ปฐวี ธาตุดิน อาโป ธาตุน้ำ วาโย ธาตุลม เตโช ธาตุไฟ ให้เห็นว่าร่างกายเป็นแต่สักว่าธาตุ ๔ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ก็เห็นว่าพอสมควรแก่กาลเวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้...


:b1: :b1: :b1:

ผู้ปฏิบัติที่มีลำดับการปฏิบัติมาสายนี้ เขาจะรู้จักคำนี้ เมื่อเขาไม่ด่วน U-Turn ซะก่อน


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
ความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะคือเดี๋ยวนี้ต้องกำลังเป็นไปจริงๆ
ถ้าเดี๋ยวนี้คิดนึกอ่านจำแล้วก็คิดว่าต้องปลีกตัวออกไปทำนั่นน่ะไม่รู้ถึงคิดไปทำ
เพราะกิเลสอาสาวะนอนมาในจิตตนเองรอไหลออกมาตอนลืมตาตื่นมาเห็นค่ะ
ปัญญาไม่เกิดพร้อมกิเลสเพราะเป็นโสภณเจตสิกเกิดได้เมื่อเริ่มฟังคำสอน
เดี๋ยวนี้ไม่ได้กำลังฟังเพื่อเข้าใจถูกตามได้ก็คือกำลังคิดนึกด้นเดาเอาเอง
ไม่ใช่วิสัยที่จะคิดเองได้ทุกคำเลยค่ะคิดเองผิดทันทีเพราะไม่ได้เห็นสี
ปัญญาที่เกิดรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะต้องกำลังมีเดี๋ยวนี้ทันทีน๊า
ไม่รู้ก็คือไม่รู้และไม่ทันขณะก็คือมีกิเลสจะไม่รู้ว่าตนมีกิเลสตอนนี้
จะไปรู้ตอนไหนเพราะกิเลสเกิดเองนอนมาในจิตเกิดตอนมีวิถีจิต
ตอนหลับน่ะไม่มีวิถีจิตให้กิเลสลุกมาสร้างภาพอะไรได้เลยค่ะ
แต่พอตื่นปุ๊บกิเลสก็ไหลออกมาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทันที
และปัญญาแรกตามคำสอนไม่เกิดเองต้องเริ่มจากการฟัง
ตถาคตสอนให้รู้จักกิเลสน๊าเพราะกิเลสมีในจิตตนเอง
เดี๋ยวนี้กิเลสมีโดยยังไม่ทำอะไรก็ไหลออกมาแล้ว
ส่วนปัญญารู้ตามคำสอนได้เกิดจากคิดตามฟัง
ทำอะไรได้ไหมแค่กะพริบตามีวิถีจิตครบ6ทาง
ก็เป็นอวิชชาของตนเองไปแล้วเพราะขาด
สุตมยปัญญารู้ถูกตามเสียงคำตถาคต
ถูกตัวตนว่ากำลังมีความจริงไหนให้รู้
ไม่ใช่ปลีกตัวไปทำโดยขาดการฟัง
ทางเกิดของปัญญาตามลำดับ
ข้ามการฟังไม่ได้ทุกกรณีน๊า
:b32: :b32: :b32:
ฟังบ้างเท๊อะจะได้มีปัญญาแทรกเกิดตามหลังกิเลสตนเองได้บ้างนะคะ
https://youtu.be/5t0lWBDbPT8
:b12:
:b4: :b4:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:
ความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะคือเดี๋ยวนี้ต้องกำลังเป็นไปจริงๆ
ถ้าเดี๋ยวนี้คิดนึกอ่านจำแล้วก็คิดว่าต้องปลีกตัวออกไปทำนั่นน่ะไม่รู้ถึงคิดไปทำ
เพราะกิเลสอาสาวะนอนมาในจิตตนเองรอไหลออกมาตอนลืมตาตื่นมาเห็นค่ะ
ปัญญาไม่เกิดพร้อมกิเลสเพราะเป็นโสภณเจตสิกเกิดได้เมื่อเริ่มฟังคำสอน
เดี๋ยวนี้ไม่ได้กำลังฟังเพื่อเข้าใจถูกตามได้ก็คือกำลังคิดนึกด้นเดาเอาเอง
ไม่ใช่วิสัยที่จะคิดเองได้ทุกคำเลยค่ะคิดเองผิดทันทีเพราะไม่ได้เห็นสี
ปัญญาที่เกิดรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะต้องกำลังมีเดี๋ยวนี้ทันทีน๊า
ไม่รู้ก็คือไม่รู้และไม่ทันขณะก็คือมีกิเลสจะไม่รู้ว่าตนมีกิเลสตอนนี้
จะไปรู้ตอนไหนเพราะกิเลสเกิดเองนอนมาในจิตเกิดตอนมีวิถีจิต
ตอนหลับน่ะไม่มีวิถีจิตให้กิเลสลุกมาสร้างภาพอะไรได้เลยค่ะ
แต่พอตื่นปุ๊บกิเลสก็ไหลออกมาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทันที
และปัญญาแรกตามคำสอนไม่เกิดเองต้องเริ่มจากการฟัง
ตถาคตสอนให้รู้จักกิเลสน๊าเพราะกิเลสมีในจิตตนเอง
เดี๋ยวนี้กิเลสมีโดยยังไม่ทำอะไรก็ไหลออกมาแล้ว
ส่วนปัญญารู้ตามคำสอนได้เกิดจากคิดตามฟัง
ทำอะไรได้ไหมแค่กะพริบตามีวิถีจิตครบ6ทาง
ก็เป็นอวิชชาของตนเองไปแล้วเพราะขาด
สุตมยปัญญารู้ถูกตามเสียงคำตถาคต
ถูกตัวตนว่ากำลังมีความจริงไหนให้รู้
ไม่ใช่ปลีกตัวไปทำโดยขาดการฟัง
ทางเกิดของปัญญาตามลำดับ
ข้ามการฟังไม่ได้ทุกกรณีน๊า
:b32: :b32: :b32:
ฟังบ้างเท๊อะจะได้มีปัญญาแทรกเกิดตามหลังกิเลสตนเองได้บ้างนะคะ
https://youtu.be/5t0lWBDbPT8


นั่นแน่ๆ ปัญญา เกิดตามหลังกิเลส ก็ตัวเองพูดเอง มันดับไปแล้ว คิกๆๆ พูดเสียใหม่ ว่ามันต้องรู้เท่ารู้ทันกิเลส รู้ทันมัน ไม่ใช่รู้ตามหลัง (นี่พูดนะมันง่าย แต่ทำนะมันหิน เหล็ก ไฟ)

นั่งฟังไปง่วงไป นั่นถูกกิเลสจับกินอีก บอกไม่เชื่อ มันไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกกิเลสน่า

ไม่เชื่อลอง ลองไปนั่งกำหนดลมหายใจเข้าที ออกที ๆๆๆ ดู ซึ่งที่เขาเรียกเป็นศัพท์ว่า อานาปานะ ดูสิจิตใจ ถ้าหนักในอภิธรรม จิตเจตสิกก็ได้เอ้า :b32: ไม่ว่ากัน ดูสิมันจะอยู่กับ ลมเข้าที ออกที (อานาปานะ) ได้สักกี่วินาที ไปทำแล้วมาบอก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 20:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณรส เข้าใจเรื่อง อิทธิบาท มั๊ย

และผู้ปฏิบัติธรรมที่เจริญอิทธิบาท โดยมากมักจะมี ฤทธิ์ ... คุณรส เชื่อมั๊ย :b13: :b13:

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิรัทธสูตร
ผู้ปรารภอิทธิบาทชื่อว่าปรารภอริยมรรค
[๑๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่า
นั้นก็ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔
เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้
อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่า เบื่ออริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๒

อริยสูตร
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความสิ้นทุกข์
[๑๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ
อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและ
ปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์
ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
จบ สูตรที่ ๓

นิพพุตสูตร
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความหน่าย
[๑๑๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธาน-
*สังขาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว ... เพื่อนิพพาน.
จบ สูตรที่ ๔

ปเทสสูตร
ฤทธิ์สำเร็จได้เพราะเจริญอิทธิบาท
[๑๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็
เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล
จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้
ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน
ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้
ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประ
กอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.


[๑๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็
เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ใน
อนาคตกาล จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์
ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยัง
ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล
.
จบ สูตรที่ ๕


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิภังคสูตร
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป
ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่
ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด
เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลาง
คืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิต ให้สว่างอยู่ ย่อม
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา
ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก
และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง
หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็
ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย
ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.


[๑๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบ
ด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? ฉันทะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ
สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก.
[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างไร? ความสำคัญในเบื้องหลังและ
เบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอด
ดีแล้ว ด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด
เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา
เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า
ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้อง
ล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด
กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อม
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วย
เพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอ
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น
ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น
กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.
[๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร?
อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า
กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.
[๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน
สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมป-
*ยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิริยะที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุต
ด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่าวิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างไร
อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่นดีแล้ว
ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมป-
*ยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ สัมปยุต
ด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมปยุตด้วย
ถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.
[๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? จิตที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป ปรารภ
กามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล.
[๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยความเกียจคร้าน
สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไป.
[๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ
สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.
[๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน? วิมังสาที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ สัมป-
*ยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.
[๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน? วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป พล่านไป
ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ฯลฯ
[๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก.
[๑๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้
อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.
[๑๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

Quote Tipitaka:
อิทธิปาทสังยุตต์ - ๒. ปาสาทกัมปนวรรค - ปุพพสูตร
ไบยังการนำทางไปยังการค้นหา
อิทธิปาทสังยุตต์ - ๒. ปาสาทกัมปนวรรค - ปุพพสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒
ปุพพสูตร
วิธีเจริญอิทธิบาท ๔
[๑๑๓๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่
ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ

เป็นปัจจัย ของการเจริญอิทธิบาท.

[๑๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ ว่าฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป

ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้อง

หลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉัน

นั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด

กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรม

จิตใจให้สว่างอยู่.

[๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้

สว่างอยู่.

[๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า

จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ... ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้

ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไป

ภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉัน

นั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด

เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี

ใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้

หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้

หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน

เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้

ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไป

ตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๑๔๒] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด

คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

[๑๑๔๓] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์

อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่า จิต

ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่า

จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็น

มหรคต ก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี

จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่า

จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.

[๑๑๔๔] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง

พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ตลอดสังวัฏฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว

พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง

นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง

เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม

ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[๑๑๔๕] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ

ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วย

อำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ

ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำ

ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

[๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบ สูตรที่ ๑


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๙. นิพเพธิกสูตร
[๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไป
ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส
นั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม
ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม
เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่ง
เวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา เธอทั้งหลายพึงทราบ
สัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับ
แห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิด
แห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับอาสวะ เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม
ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ
กรรม เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่ง
ทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุ
เกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับกาม นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน
ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก ... รสที่พึงรู้
แจ้งด้วยลิ้น ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่า
กาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณในวินัยของพระอริยะเจ้า ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า
ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความ
กำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่า
กาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของ
ตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์
อันวิจิตรเหล่านั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิด
แห่งกามทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง
กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม
เป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ
ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกาม ความดับ
แห่งกามเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกามเพราะผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมา-
*กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้
ถึงความดับแห่งกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม
เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทา
ให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์
อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้
นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ
ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิด
แห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนา
เป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่
ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุข-
*เวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่า
ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วน
มิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความ
ดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึง
ความดับแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่ง
เวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อม
ทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้
ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่
ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ
ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ สัญญาในรูป
เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาใน
ธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา ก็วิบากแห่งสัญญา
เป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลย่อมรู้สึก
โดยประการใดๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้นๆ ว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกอย่างนั้น
นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งสัญญา
ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้
แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา
ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อัน
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัย
ข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุเกิดแห่งอาสวะ
เป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ
อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตวดิรัจฉานก็มี ที่เป็น
เหตุให้ไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษย์โลกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่
เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ การ
ที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือ
เป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ
ความดับแห่งอาสวะย่อมเกิดเพราะความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ
เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด
พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรา
กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความ
ต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้วิบากในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี ที่ให้
วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ
เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรม
ที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม
ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่ง
ผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด
อริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่ง
กรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อ
นั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส
เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม
ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิด
แห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้
ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชรา
ก็เป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิด
แห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่
คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์
เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่าง
ใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือ
บางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิตอันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุ
ปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่าใครจะรู้ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่ามีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุ
ปลดเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์
เป็นไฉน คือ ความดับแห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็น
ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบ
ชัดทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์
ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด
พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่ง
ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้
นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยาย
เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ฯ
จบสูตรที่ ๙


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

โอยยยย ดูท่านแม่นางวิสาขา ... ปุจฉา กับ ธรรมทินนาภิกษุณี ... แต่ละเรื่อง :b13: :b13:

:b3: :b3: :b3: ซึ่งเราต่างก็รู้กันอยู่แก่ใจ รู้กันอยู่เต็มอก .... :b32:

ว่าท่านนางวิสาขา ยังมิได้ บวช :b4: :b4: :b4:

นั่นคือ หญิงอินเดีย ในยุคนั้น

Quote Tipitaka:
๔. จูฬเวทัลลสูตร

การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์.

ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เรื่องสักกายทิฏฐิ

[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?

ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ

รูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑

อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้ แล้ว

ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้

ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย? (เป็นเหตุให้เกิดยึดว่าเป็นตนหรือของตน)

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ (กล่าวคือ)สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ

คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย

ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้

ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑

เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทาน กับ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่ อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่

ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอุปาทานในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

[๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ

ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง

ย่อมตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ตามเห็นเวทนาในตนบ้าง ตามเห็นตนในเวทนาบ้าง

ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ...

ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง

อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.

(กล่าวคือ ปุถุชนนั้นเมื่อกำเนิดเกิดขึ้นมา ย่อมยังไม่มีวิชชาหรือความรู้ดังนี้เป็นธรรมดา เมื่อไม่ได้สดับจากพระอริยะหรือผู้รู้ธรรม จึงย่อมปล่อยให้เป็นไปตามธรรม หรือธรรมชาติของชีวิตสัตว์ ที่ย่อมดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทโดยธรรมชาติ กล่าวคือ มีความคิดเห็นว่าเป็นตัวของตนโดยธรรมชาติ)

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ

ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ

ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง

ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ไม่ตามเห็นเวทนาในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในเวทนาบ้าง

ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา....

ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย....

ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน วิญญาณบ้าง

อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี.

เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑

เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (หมายถึง กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘

หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย ขันธ์ ๓.

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘

ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ

(กล่าวโดยย่อ กันความสับสน ศีล สมาธิ ปัญญา จัดเป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เจริญในมรรคองค์ ๘)

วาจาชอบ ๑ ทำการงาน ชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์

ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.

เรื่องสมาธิและสังขาร

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ

ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ

สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ

ความเสพคุ้น ความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.

[๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สังขาร มีเท่าไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขารเหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เป็นกายสังขาร

วิตกและวิจาร เป็นวจีสังขาร

สัญญาและเวทนา เป็นจิตตสังขาร.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร

วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร

สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีในกาย

เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร

บุคคลย่อมตรึก(คิด) ย่อมตรอง(พิจารณา)ก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร

สัญญาและเวทนา เป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร(อย่างหนึ่ง).

เรื่องสัญญาเวทยิตนิโรธ

[๕๑๐] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าเรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ว่าเราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว

ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วตั้งแต่แรก.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรม คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน ย่อมดับไปก่อน?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารก็ดับ จิตตสังขารดับทีหลัง.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ว่าเรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ว่าเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว

ก็แต่ความคิดอันนำเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น อันท่านให้เกิดแล้วแต่แรก.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมคือกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร อย่างไหน เกิดขึ้นก่อน.

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิด ขึ้นก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารก็เกิดขึ้น วจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ผัสสะ ๓ ประการ คือ

ผัสสะชื่อสุญญตะ (รู้สึกว่าว่าง) ผัสสะชื่ออนิมิตตะ (รู้สึกว่าไม่มีนิมิต) และผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ (รู้สึกว่าไม่มีที่ตั้ง)

ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

มีจิตน้อมไปใน ธรรมอะไร โอนไปในธรรมอะไร เอนไปในธรรมอะไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน วิเวก โอนไปใน วิเวก เอนไปใน วิเวก.

เรื่องเวทนา

[๕๑๑] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า เวทนามีเท่าไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เวทนานี้มี ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนา เป็นอย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นสุขเวทนา

ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่สำราญ อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นทุกขเวทนา

ความเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญ และมิใช่ความไม่ สำราญ (เป็นส่วนกลางมิใช่สุขมิใช่ทุกข์) อันเป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต นี่เป็นอทุกขมสุขเวทนา

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สุขเวทนา เป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป

ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป

อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.

(กล่าวคือ เกิดสุขเวทนา เพราะสุขนั้นยังคงตั้งอยู่ ก็เกิดภวตัณหา จึงเป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะสุขเหล่าใดเหล่านั้นย่อมต้องแปรปรวนและดับไปด้วยพระไตรลักษณ์ จึงเกิดการโหยไห้อาลัยหาในสุขนั้นๆ อันอาจเกิดได้ในขณะนั้น หรืออาจกินเวลาคือเกิดขึ้นในภายหน้าได้โดยการรำลึก(สัญญา)จึงเกิดการโหยไห้อาลัยหา จึงวนเวียนอยู่ในสุขทุกข์ คือกองทุกข์อยู่นั่นเองโดยไม่รู้ตัว)

(ส่วนทุกขเวทนานั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมเป็นทุกข์อยู่แล้วโดยธรรม ก็เกิดวิภวตัณหาขึ้น ดังนั้นเมื่อทุกข์เหล่าใดเหล่านั้นแปรปรวนดับไปด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ จึงเกิดภาวะจิตที่เราเรียกกันโดยภาษาสมมติว่าสุขขึ้น เป็นมายาของจิต ที่จริงๆแล้วก็คือการดับทุกข์เท่านั้นนั่นเอง ดังนั้นพึงระลึกว่าเมื่อเป็นทุกข์แล้ว สุขนั้นย่อมเกิดตามมาโดยธรรมคือความสงบลง ความสบายใจขึ้น ก็ไม่เพลิดเพลิน พึงสำรวม สังวร ระวัง อย่าไปปรุงแต่งฟุ้งซ่านให้วนเวียนอยู่ในทุกข์ดั่งนี้อีกเลย)

(ส่วนอทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ ว่าถ้าประมาทย่อมเป็นโทษภัย จึงไม่ฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง ส่วนเมื่อรู้ผิด คิดว่าไม่เป็นโทษภัย จึงประมาท จึงฟุ้งซ่านปรุงแต่งจนเป็นสุขเป็นทุกข์ ผลจึงเกิดเป็นทุกข์ขึ้น เป็นในที่สุด)

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไร ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา

ปฏิฆานุสัย ตามนอน อยู่ในทุกขเวทนา

อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด

ปฏิฆานุสัยตามนอน อยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด

อวิชชานุสัยตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัย ตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

ปฏิฆานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้

อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ใน อทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอะไร จะพึงละได้ในสุขเวทนา

ธรรมอะไร จะพึงละได้ในทุกขเวทนา

ธรรมอะไร จะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา

(หมายความว่า ไม่ไปยึดติดยึดถือหรือไม่ติดเพลินในสุขเวทนา ที่ถึงอย่างไรก็ยังคงต้องเกิดคงมีเช่นนั้นเองตามธรรม)

ปฏิฆานุสัย จะพึงละได้ใน ทุกขเวทนา

(หมายความว่า ไม่ไปยึดติดยึดถือหรือไม่ขุ่นเคืองในทุกขเวทนา ที่ถึงอย่างไรก็ยังคงต้องเกิดคงมีเช่นนั้นเองตามธรรม)

อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา.

(หมายความว่า รู้ชอบจึงไม่ปรุงแต่งหรือไม่ฟุ้งซ่านไปในอทุกขมสุขเวทนาอันแลว่าไม่มีโทษ จนแปรเป็นสุขเป็นทุกข์ในที่สุด ที่ถึงอย่างไรก็ยังคงเกิดคงมีเช่นนั้นเองตามธรรม)

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด

ปฏิฆานุสัยจะพึง ละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด

อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หรือหนอแล?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคานุสัยจะพึงละเสียได้ในสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

ปฏิฆานุสัยจะพึงละเสียได้ในทุกขเวทนาทั้งหมด หามิได้

อวิชชานุสัยจะพึงละเสียได้ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้

ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

ย่อมละราคาด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง

(เมื่ออยู่ในปฐมฌาน ยังมีวิตก วิจาร อยู่ กล่าวคือมีสติในการพิจารณาธรรมได้ โดยปราศจากการรบกวนจากราคะทั้งหลาย จึงเหมาะแก่การใช้ปฐมฌานในการพิจารณา)

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่ ในบัดนี้ ดังนี้

เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้น

(โทมนัส ย่อมเกิดจากความอยาก อันแม้เป็นกุศลตัณหาในธรรมก็ตามที ก็ย่อมยังให้เกิดทุกข์ขึ้นได้)

เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น อนึ่ง

(เมื่อเกิดความอยากดังนั้น ย่อมเกิดการขุ่นเคือง(ปฏิฆะ)ด้วยทุกข์นั้น ก็ให้ละปฏิฆะความขุ่นเคืองด้วยทุกข์นั้น จากความอยากนั้นเสีย ด้วยรู้เข้าใจแล้วในโทษแม้ในกุศลตัณหานั้น ปฏิฆานุสัยก็จะไม่นอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสนั่นเอง)

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้

มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุตถฌานนั้น.

[๕๑๒] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง สุขเวทนา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ราคะ เป็นส่วนเปรียบแห่ง สุขเวทนา.

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง ทุกขเวทนา?

ธ. ปฏิฆะ เป็นส่วนแห่งเปรียบแห่ง ทุกขเวทนา.

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง อทุกขมสุขเวทนา?

ธ. อวิชชา เป็นส่วนเปรียบแห่ง อทุกขมสุขเวทนา.

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง อวิชชา?

ธ. วิชชา เป็นส่วนเปรียบแห่ง อวิชชา.

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง วิชชา?

ธ. วิมุติ เป็นส่วนเปรียบแห่ง วิชชา.

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง วิมุติ?

ธ. นิพพาน เป็นส่วนเปรียบแห่ง วิมุติ

วิ. อะไรเป็นส่วนเปรียบแห่ง นิพพาน?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ท่านล่วงเลยปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาส่วนสุดแห่งปัญหา ได้

ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ เพราะพรหมจรรย์หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงใน เบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด

ถ้าท่านจำนงอยู่ ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อความนี้เถิด

พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงจำทรงพระพยากรณ์นั้นไว้ อย่างนั้นเถิด.

วิสาขอุบาสกสรรเสริญธรรมทินนาภิกษุณี

[๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณี แล้ว

ลุกจากอาสนะ อภิวาทธรรมทินนาภิกษุณี ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว

ได้กราบทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมกถากับธรรมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ.

เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า

ดูกรวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา

แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว

เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.

จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 22:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: :b9: :b9:

ต้องขอโทษอาจารย์กรัชกายด้วยนะคะ
ท่าทางเอกอนทำกระทู้แตกประเด็นออกไปไกลจากหัวข้อแล้วล่ะค่ะ

:b12: :b12: :b12:

ไม่เจตนาค่ะ แค่โพสต์จนลืมหัวข้อ :b9:

เอกอนเจออาการแปลไทยไม่ออกมาหลายความเห็น

เอกอนเลยสับโสนนน นิดโหน่ยยยย

:b9: :b9: :b9:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 23:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:
ความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะคือเดี๋ยวนี้ต้องกำลังเป็นไปจริงๆ
ถ้าเดี๋ยวนี้คิดนึกอ่านจำแล้วก็คิดว่าต้องปลีกตัวออกไปทำนั่นน่ะไม่รู้ถึงคิดไปทำ
เพราะกิเลสอาสาวะนอนมาในจิตตนเองรอไหลออกมาตอนลืมตาตื่นมาเห็นค่ะ

:b12:
:b4: :b4:


:b10: :b10: :b10:

เหมือน ก๊อกน้ำ เลยยยย

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:

ปัญญาไม่เกิดพร้อมกิเลสเพราะเป็นโสภณเจตสิกเกิดได้เมื่อเริ่มฟังคำสอน

:b12:
:b4: :b4:


:b20: :b20: :b20:

โสภณเจตสิก คือ เสียงงงงง

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 08 ต.ค. 2018, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:

แต่พอตื่นปุ๊บกิเลสก็ไหลออกมาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทันที

:b12:
:b4: :b4:


:b16: :b16: :b16:

ก๊อกน้ำ มาอีกแล้ววววววววววว

:b16: :b16: :b16:

กิเลสไหลออก ก็ดีสิ่ ไม่ไหลเข้า

ดีแล้วที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นดั่ง ก๊อกน้ำ ให้กิเลสไหลออก

ไม่เป็นปั๊มน้ำ ไม่งั๊น คงจะปั๊มกิเลสเข้ามา บึ้ม บึ้ม

:b12:


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 01:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:

ปัญญาไม่เกิดพร้อมกิเลสเพราะเป็นโสภณเจตสิกเกิดได้เมื่อเริ่มฟังคำสอน

:b12:
:b4: :b4:


:b20: :b20: :b20:

โสภณเจตสิก คือ เสียงงงงง

:b16: :b16: :b16:

:b12:
ปัญญาแรกเกิดแบบนี้ค่ะ
สุตมยปัญญาแปลว่าอะไร
จิต+เจตสิกเกิดดับพร้อมกัน
จิตเป็นประธานเจตสิกเป็นกรรม
เดี๋ยวนี้กำลังมีวิบาก/กรรม/กิเลส
มีแล้วจะไปไหนก็หอบตัวตนไปทำ
ไม่รู้ว่าไม่ต้องทำเพราะมีตามเหตุปัจจัย
กำลังเกิดดับด้วยหลงผิดมีตัวตนไปทำไม่รู้เพิ่ม
สุตมยปัญญาคือหนทางแรกอันเอกเพื่อพึ่งคำตถาคต
เพื่อรู้ความจริงตามคำของพระองค์ทุกคำผู้ที่ไม่มีกิเลสคือบรรลุอรหัตตผล
ที่เหลือน่ะกิเลสไหลมาให้ดูตามเหตุปัจจัยไม่ขาดสายไม่รู้จักกิเลสตนเองจะดับยังไงคะขาดสุตะไงคะ
:b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:
ความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบันขณะคือเดี๋ยวนี้ต้องกำลังเป็นไปจริงๆ
ถ้าเดี๋ยวนี้คิดนึกอ่านจำแล้วก็คิดว่าต้องปลีกตัวออกไปทำนั่นน่ะไม่รู้ถึงคิดไปทำ
เพราะกิเลสอาสาวะนอนมาในจิตตนเองรอไหลออกมาตอนลืมตาตื่นมาเห็นค่ะ

:b12:
:b4: :b4:


:b10: :b10: :b10:

เหมือน ก๊อกน้ำ เลยยยย

:b16: :b16: :b16:

:b32:
ผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วไม่เกิดที่เกิดลืมตาปริบๆนี่ที่มีกิเลส
ดูความจริงสิคะโลภะติดในเห็นที่กำลังเห็นอยู่นี่แหละ
ถึงมาอ่านอยู่นี้น่ะไม่รู้ว่าเห็นได้แค่สีหลงผิดจำตัวอักษร
จำเป็นชื่อคนสัตว์วัตถุทั้งหมดเลยจำทุกอย่างผิดไงคะคิดเห็นผิด
จะไปรู้ความจริงตอนไหนก็กำลังเห็นผิดไม่ได้เห็นสีแค่1สีรู้ตัวไหมคะ
:b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
:b12:

แต่พอตื่นปุ๊บกิเลสก็ไหลออกมาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจทันที

:b12:
:b4: :b4:


:b16: :b16: :b16:

ก๊อกน้ำ มาอีกแล้ววววววววววว

:b16: :b16: :b16:

กิเลสไหลออก ก็ดีสิ่ ไม่ไหลเข้า

ดีแล้วที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจเป็นดั่ง ก๊อกน้ำ ให้กิเลสไหลออก

ไม่เป็นปั๊มน้ำ ไม่งั๊น คงจะปั๊มกิเลสเข้ามา บึ้ม บึ้ม

:b12:

:b32:
ไหลเททิ้งหมดเหมือนฝนตกซึมลงดินระเหยกลายเป็นไอ
รอเกิดก้อนเมฆตกลงมาใหม่เป็นฝนแล้วก็ซึมหายไปหมด
ตาไม่บอดหูไม่หนวกคือภาชนะรองรับการฟังคำสอนนะคะ
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร