วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 151 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ลืมคิดเมื่อลืมฟัง
น่าสงสารความไม่รู้
ไม่รู้ว่าไม่รู้ว่าตนไม่รู้เลย
ลืมตาปริบๆก็ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล
นับไม่ถ้วนครบ6ทางทำอะไรได้ไหมคะ
https://youtu.be/DSakJ0sCQZU
:b32: :b32:

สภาพธรรมกำลังปรากฏค่ะ
ไม่ว่าท่านจะทำอะไรอยู่ที่ไหน
ความจริงก็กำลังปรากฏว่ามีแล้ว
ไม่ต้องไปทำตามคนอื่นบอกนะคะ
เพราะตถาคตบอกให้ฟังไม่ใช่ให้เชื่อและ
ไม่ได้บอกให้ไปทำตามคำสั่งใครแต่ทรงแสดง
คำวาจาสัจจะตรงกับความจริงที่ทุกท่านกำลังมีอยู่
เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจความจริงถูกตามได้ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
แต่ตัวท่านเองต้องฉลาดในการฟังให้รอบคอบทีละคำละเอียดๆ
เพื่อไม่ว่าจะฟังคำพูดของบุคคลใดก็ตามคนเหล่าไม่ได้รู้ความจริงเลยได้แต่อ้างคำของตถาคต
เพราะผู้รู้ความจริงคือธัมมะมีแค่บุคคลเดียวที่ได้สมญานามว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตราบใดท่านยังไม่รอบรู้ในคำวาจาสัจจะที่พระองค์ทรงแสดงโปรดฟังโดยใช้หลักกาลามสูตร10เพื่อรู้ชัด
พระองค์ตรัสทุกคำ45พรรษาไม่ทรงต้องการดอกไม้ธูปเทียนลาภสักการะแต่ทรงตรัสว่าทุกคำเพื่อให้เรา
ฟังความจริงเพื่อเข้าใจถูกตามได้ตรงความจริงที่กายใจกำลังมีค่ะไม่ใช่ไปทำเพื่อรู้แบบพระองค์นะคะ
:b8:
:b20: :b4:


โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 18:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
วิภังคสูตรที่ ๑.
(ความหมายของอินทรีย์ ๕)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า #สัทธินทรีย์.

● ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า #วิริยินทรีย์.

● ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า #สตินทรีย์.

● ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า #สมาธินทรีย์.

● ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนด ความเกิดความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า #ปัญญินทรีย์

.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 18:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
[๙๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่
อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

[๙๗๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?

[๙๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

[๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.

[๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน?
คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออกและในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

[๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน?
คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.

[๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้น
เป็นปัญญินทรีย์.

[๙๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
จบ สูตรที่ ๓


โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 18:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.


โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 18:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พละ ๕ (อินทรีย์พละ ๕)

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

วันนี้จะเทศน์เรื่อง “ กำลัง ” กำลังมี ๒ อย่างคือ กำลังกายเราบำรุงให้เจริญแข็งแรงได้ด้วยบำรุงสุขภาพพลานามัยดี ส่วนกำลังใจเป็นของมองเห็นได้ยาก มันต้องมีสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นกำลังที่เรียกว่า “ พละ๕ ” สำหรับบำรุงใจ พละ๕ นั้นมิใช่เป็นตัวกำลังทีเดียว มันเป็นเครื่องทำให้ใจมีกำลัง บำรุงด้วยพละ คือ “ ศรัทธาพละ ” ความเชื่อ เป็นกำลังใหญ่โต “ วิริยพละ ” ความเพียร ก็เป็นกำลังอันหนึ่ง “ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ” ก็เป็นกำลังของใจแต่ละอย่าง ธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ประกอบกันเข้าแล้วทำให้ใจมีพลังแก่กล้า สามารถที่จะทำให้มรรคผลนิพพานลุล่วงไปได้เหมือนกัน ถ้าหากว่ามีครบบริบูรณ์แล้ว เชื่อได้เลยว่าเป็นอันสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ที่พูดกันว่า บารมีไม่พอ บุญวาสนาน้อย บารมีน้อย ก็เกิดจากพละนี่เอง คือพละนี่แหละน้อย

ศรัทธาพละ ความเชื่อ เชื่อแน่วแน่ในคุณงามความดีว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครคนอื่นรับแทนได้ ตนทำตนต้องได้รับผลนั้นแน่นอน “ ท่าน ” มีพลังเต็มที่ สามารถที่จะสละสิ่งของของตนที่มีอยู่ให้ “ จาคะ ” บริจาคไปได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของมากของน้อยย่อมสละได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จงบำรุงรักษาให้เจริญงอกงาม ยินดีพอใจกับการทำทานนั้นให้แก่กล้าเสียก่อน ให้มันกำลังเต็มที่เสียก่อน เราจะเอาศรัทธานั้นไปใช้ในทางอื่นอีกต่อไป คนประมาทดูถูกศรัทธาเลยไม่กล้าทำความดีต่อไป ทีหลังศรัทธาที่จะเกิดในศีล สมาธิ ปัญญาก็เลยหมดไป ครั้นศรัทธาในการที่จาคะบริจาคไม่มีแล้ว บุญอันนั้นก็หมดไปเหมือนกัน

ศรัทธาในการรักษาศีลก็ให้แน่วแน่ เต็มที่ในการรักษาไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ กรรมบถ ๑๐ อะไรต่าง ๆ อย่าไปหวังศีล ๒๒๗ อย่างพระภิกษุเลย ถึงศีล ๒๒๗ ก็ตามเถิด ถ้าศรัทธาไม่แน่วแน่เต็มที่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร สมาธิก็เหมือนกัน ถ้าหากได้สมาธิ ขณิกะ อุปจาระ อะไรต่าง ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่ยินดีพอใจ ก็เลยทำสมาธิไม่ได้ทีหลัง เมื่อสมาธิมีเล็กน้อยก็พอใจยินดีกับสมาธินั้นแหละ ตั้งใจขยันหมั่นเพียรในสมาธินั้นให้เต็มที่มันจึงค่อยเลื่อนไหลขึ้นไปเอง ปัญญาก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราเกิดอุบายปัญญาอะไรขึ้นมานิด ๆ หน่อย ๆ ถ้าไม่ตั้งใจพิจารณาอันนั้น ไม่ประกอบศรัทธาอันนั้นให้แก่กล้า มันก็ไม่มีประโยชน์อีกเหมือนกัน

การที่ทำอะไรหละหลวมก็เพราะเหตุไม่มีศรัทธา และทำอะไรไม่แน่วแน่เต็มที่ก็เพราะไม่มีศรัทธาเหมือนกันเรา พลั้ง ๆ เผลอ ๆ หลง ๆ ลืม ๆ นั่นคือศรัทธาของเราไม่เต็มที่ ศรัทธามันขาดตรงนี้แหละ เหตุนั้นจงพากันบำรุงศรัทธาให้แก่กล้าเป็นขั้นตอน ให้ศรัทธางอกงามเสียก่อน เจริญเต็มที่เสียก่อน เมื่อศรัทธามีแล้ว วิริยะความเพียร มันวิ่งเข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือเป็นกำลังเลยขยันหมั่นเพียรประกอบกิจต่างๆเช่น ทำบุญสุนทานขยันหมั่นเพียรแสวงหาสิ่งที่จะต้องนำมาทำบุญทำทานหามาได้ก็คิดถึงการทำทาน หามาได้เท่าไรไม่ว่าของเล็กของน้อยของมากก็คิดถึงการทำทาน นี่ศรัทธามันสนับสนุนช่วยเหลืออย่างนี้

วิริยพละ เพียรพยายามอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อมีศีลก็พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาด ทีแรกก็รักษาได้เป็นครั้งคราวเพียรพยายามนานเข้าให้มันชินให้มันคุ้นเคยกับศีล มันก็เป็นศีลบริบูรณ์ขึ้นมาให้คิดถึงเรื่องศีลของตน ว่าข้อไหนบกพร่อง ข้อไหนบริบูรณ์ ผู้ไม่คิดถึงศีลเลย มีของดีแล้วได้ของดีแล้วแต่ไม่เห็นความของของดีนั้น ก็อย่างโบราณท่านว่าเหมือนลิงได้แก้ว เหมือนไก่ได้พลอย ขอให้พยายามให้เห็นคุณค่าของศีล คุณค่าของปัญญา คุณค่าของสมาธิก็เหมือนกัน เราทำสมาธิได้นิด ๆ หน่อย ๆก็ดีอักโขแล้วคิดถึงเรื่องเก่าที่เราไม่เคยทำสมาธิไม่เคยมีสมาธิเลย อายุขนาดนี่แล้วได้สมาธิครั้งหนึ่งสองครั้ง ก็ยังดีที่เราเห็นตัวสมาธิ พวกที่ไม่ได้นั้นมากมายเหลือหลาย การเห็นสมาธิทำให้เกิดความเพียรพยายาม พยายามทำอยู่นั้นแหละวันหนึ่งต้องได้แน่นอน พละมันเป็นกำลังให้เกิดได้ทีเดียว

สติพละ สติจดจ่อตั้งมั่นอยู่ในเรื่องนั้น ๆ มีศรัทธาวิริยะแล้วอาจที่จะหลงไปได้เชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกก็มี เพียรพยายามในสิ่งที่ผิดก็มี ถ้าหากสติไม่ควบคุมไว้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควรสิ่งนั้นผิดหรือถูก ถูกต้องตามธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ฟังคำครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนตักเตือนมันตรงกันหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องมีสติควบคุมระวัง จึงจะเดินถูกทาง ส่วนมากมีแต่ศรัทธา มีศรัทธาก็ต้องมีวิริยะวิ่งเข้ามาสนับสนุน มากทีเดียวที่เห็นผิด ๆ ทำผิดแล้วคนอื่นก็ไม่สามารถที่จะตักเตือนได้เสียด้วย ความถือรั้นว่าตนทำถูก คนอื่นไม่ถูก ไม่เหมือนกับตน เพราะศรัทธามั่นแรง วิริยะก็มาก แต่ผู้มีสติเดินเสมอภาคไม่เอนเอียงข้างโน้นข้างนี้ เรียกว่า “ มัชฌิมาปฏิปทา ” ธรรมดาผู้ที่มีสติแล้วไม่ถือตนว่าดีทั้งนั้น คนเรามันไม่ดีทั้งหมดหรอกเหตุนั้นจึงต้องระมัดระวังคอยสังเกตคอยฟังคนอื่นตักเตือนแนะนำสั่งสอน อาตมาจึงพูดอยู่เสมอว่า “ คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโสหรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือคนโง่ ”

สมาธิพละ เป็นหลักใหญ่ที่สุด ศรัทธา วิริยะ สติ มันต้องรวมมาเป็นสมาธิเสียก่อน ถ้าไม่รวมเป็นสมาธิมันเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โต พระพุทธศาสนาสอนไปไหนก็สอนเถอะ ถ้าไม่เข้ามาถึงใจแล้วไม่ถึงพระพุทธศาสนา สอนไปไหนก็สอนเถอะ ถ้าไม่เข้ามาถึงใจแล้วไม่ถึงพระพุทธศาสนา มันต้องรวมเข้ามาถึงใจ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ต้องมีที่รวมเป็นจุดเหมือนกัน การทำมาหากินทุกสิ่งทุกประการ ค้าขาย ทำราชการบ้านเมืองอะไรต่าง ๆ จุดรวมก็คือมาเลี้ยงตัว จุดรวมก็คือหาเงิน หาเงินแล้วก็รวมเอาเงินเข้ามาใส่ถุงไว้ ทำไร่ทำนา อย่างข้าวก็ต้องขนมารวมที่ลานข้าวแล้วยังต้องเอามารวมกันขึ้นยุ้ง เอาไปสี ไปซ้อม เอามาหุงมาต้ม เอามารวมลงในปากในท้อง นั่นแหละหมดเรื่องพระพุทธศาสนาสอนกว้างขวาง ถ้าหากไม่รวมลงเป็นสมาธิมันก็ไม่ถึงแก่นศาสนา อาตมาจึงพูดอยู่เสมอว่า “ พระพุทธศาสนานี้สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุด หมดสิ้นสงสัย หมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่นเขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด ” อย่างธรรมทั้งหลายรวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมลงที่ “ ความไม่ประมาท ” อันเดียว มรรค คือ ทางดำเนินไปให้ถึงมรรคผลนิพพานก็มารวมลงที่ “ มรรคสมังคี ” อันเดียว จึงว่าพระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้นทำไม่ถึงที่สุด

ปัญญาพละ ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารร่างกายของตน เห็นอะไร เอากระจกมาส่องดูก็ได้ หน้าตาของเรานี่ล่ะมันเห็นของแก่ของเฒ่าของชำรุดทรุดโทรม เหี่ยวแห้งอันนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเท่านี้ไม่ต้องเห็นอื่นไกลพยายามให้เห็นอยู่อย่างนั้นเสมอ เพราะเหตุที่คนจะเห็นความแก่ความชำรุดทรุมโทรม ความเสื่อมความสิ้นของสังขารไม่ใช่ของง่าย ๆ บางทีจนหนุ่มจนสาว จนเฒ่าจนแก่ก็ไม่เคยเห็นเลย แก่จะตายแล้วก็ยังมัวเมาอยู่ว่าเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ร่ำไป ผู้ที่มองเห็นความแก่ ความชรา ความชำรุดทรุดโทรมนั้นนับว่าดีที่สุด เป็นหนทางที่จะหลุดพ้นได้ทางเดียวเท่านั้น

ถ้าไม่มีปัญญาไม่เกิดสมาธิ ถ้าไม่มีปัญญาไม่มีศรัทธาไม่มีวิริยะ ศรัทธาขั้นนั้นไม่ใช่ศรัทธาวิเศษวิโสอะไรหรอกปัญญาในขั้นทำทาน มีอุบายปัญญาที่จะแสวงหาของมาทำบุญทำทานเรียกว่าปัญญา ความเพียรพยายามในการทำบุญเรียกว่าปัญญาเหมือนกัน จิตจะรวมได้ก็เพราะปัญญา จะเป็นสมาธิได้เพราะปัญญา ปัญญาพวกนั้นยังอ่อน รวมทั้งหมดเรียกว่าปัญญาทั้งนั้นแหละถ้าปัญญาชั้นสูงเป็น “ วิปัสสนาปัญญา ”

พละ ๕ นี้แหละบำรุงให้ใจมีกำลังเข้มแข็งกล้าหาญสามารถที่จะทำสมาธิ สามารถที่จะให้เกิดปัญญาอุบายอันยิ่งใหญ่ และสามารถทำให้ลุล่วงมรรคผลนิพพานได้

จากหนังสือ ธรรมลีลา ฉบับที่ 47 ตุลาคม 2547

ผู้พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์


โพสต์ เมื่อ: 25 ก.ย. 2018, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
ปฏิปทาของการสิ้นอาสวะ ๔ แบบ

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ปฏิปทา ๔ ประการ

เหล่านี้ มีอยู่ ; คือ :-

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑,

ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.

แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ; แต่ อินทรีย์ ๕

ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน

ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ

ได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็น

ความไม่งามในกาย มีสัญญาว่า ปฏิกูลในอาหาร มี

สัญญาในโลกทั้งปวง โดยความเป็นของไม่น่ายินดี

เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง

มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์

วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุ

นั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน (มีรายละเอียด

ดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป) แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า

เหล่านี้ ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้ช้า :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.



แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจาก

กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน

ทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน ... แล้วแลอยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระ

เสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ

โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ ;

แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น

ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุ

อนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว :

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.

จตุกฺก. อํ. ๒๑ / ๒๐๒ / ๑๖๓.

กิเลสอาสาวะนอนในจิตทุกท่านเดี๋ยวนี้รอไหลออกมาตอนตื่นลืมตารู้อารมณ์ครบ6ทางเดี๋ยวนี้
แค่เห็นดับเพียง3ขณะดับยังไม่ครบ6ทางกิเลสก็ไหลออกมาตามอารมณ์ที่จิตคุณมีครบ6ทางแล้ว
กะพริบตาคือจิตเห็นขณะใหม่ตลอดเลย...ไปทำอะไรหรือยังคะแค่กะพริบตาไม่รู้ก็คือกิเลสคุณสะสมแล้ว
เอาอะไรมาทันเป็นปัญญาล่ะคะ...ตอนหลับสนิทน่ะค่ะไม่รู้อารมณ์ทั้ง6ทางไม่มีกิเลสเกิดแต่เป็นไม่รู้หลายชม.
:b32: :b32: :b32:
ฟังบ้างเถ๊อะ555
:b17: :b17:


โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้ยาวเกินไปแระค่ะ

สรุปให้นะคะ

ความจริงของสภาพธรรม มันเป็นเช่นนั้นเองค่ะ ตถาตา ค่ะ



โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ย. 2018, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b1:

อ่านไปอ่านมาแล้ว งง

ปลงดีก่า ...

:b16:


ถูกต้องแล้ว... :b12: :b12: :b12:


ยังนึกอยู่ว่า อ๊บซ์ หายไปไหน

อ๊บซ์มีเรื่องแปลกอะไรจะมาเล่ามั๊ย :b13: :b13:


มีแต่เรื่อง..ไม่แปลก... :b13: :b13: :b13:

eragon_joe เขียน:
เพราะถ้าคาดไม่ผิด มันน่าจะต้องมีอะไรที่เกรียวกราวอยู่ในช่วงนี้

เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลก

:b13: :b13: :b13:


น่าน... :b12: :b12: :b12:


นี่ ไม่ใช่เวลาที่ อ๊บซ์จะจำศีลนะ

:b6: :b6: :b6:


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 04:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b1:

อ่านไปอ่านมาแล้ว งง

ปลงดีก่า ...

:b16:


ถูกต้องแล้ว... :b12: :b12: :b12:


ยังนึกอยู่ว่า อ๊บซ์ หายไปไหน

อ๊บซ์มีเรื่องแปลกอะไรจะมาเล่ามั๊ย :b13: :b13:


มีแต่เรื่อง..ไม่แปลก... :b13: :b13: :b13:

eragon_joe เขียน:
เพราะถ้าคาดไม่ผิด มันน่าจะต้องมีอะไรที่เกรียวกราวอยู่ในช่วงนี้

เกี่ยวกับสถานการณ์ของโลก

:b13: :b13: :b13:


น่าน... :b12: :b12: :b12:


นี่ ไม่ใช่เวลาที่ อ๊บซ์จะจำศีลนะ

:b6: :b6: :b6:


จำศีล....จำศีล...จำ..ศีล..

:b8:
หนังตามันหนักไปหน่อย...เลยลืมตาไม่ขึ้น.. :b9:


โพสต์ เมื่อ: 27 ก.ย. 2018, 22:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

ธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย ทำให้มาก ก็คือ ทำไปเถอะ เป็นการสร้างอาหารที่ดีต่อจิต :b12:

Quote Tipitaka:
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” หรือ “มรรคแปด” (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

* ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
* ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
* ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางมหาสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด … ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน ธรรมจักรย่อมหมุนไป ตัดกระแสแห่งวัฏฏสงสาร เพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นสภาพสิ้นทุกข์ ไม่มีความกังวล

หม้อน้ำที่ไม่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไป ได้ง่าย หม้อน้ำที่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไปได้ยากฉันใด จิตที่ไม่มี ฐานรองรับ ย่อมตกไปในที่ต่ำได้ง่าย ส่วนจิตที่มีฐานรองรับ ย่อมตกไปที่ต่ำได้ยากฉันนั้น…

ไปขอยืมมาใช้จากเว็บนี้ (ยืมไม่คืนนะ)
https://chatree81.wordpress.com/2014/02 ... %E0%B8%9A/

มรรค 8 ก็ค่อย ๆ ทำไป มันก็เป็นการสะสมความเข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ
เพียรทำไปเหมือนน้ำซึมบ่อทราย
ถ้าพิจารณาดี ๆ ในทุกข้อ ล้วนเป็นธรรมที่ส่งผลอันเป็นคุณต่อจิต
ถ้าเราเดินตามเส้นทาง หนทางโดยมากก็จะค่อนข้าง สงบ และเป็นกุศลอยู่แล้ว
ทุกอย่างหนุนกันไปอย่างสมดุล แม้ยังไม่ต้องทำสมาธิ จิตใจก็ค่อนในทางที่เป็นปกติสุข
และเมื่อจิตที่ค่อนในทางปกติสุข เมื่อทำสมาธิ สมาธิก็ดำเนินไปตามปกติสุข
เพราะความกังวลรกรุงรังที่น้อย ความยุ่งเหยิงเมื่อจิตโคจรเข้าพิจารณาสิ่งใดก็ลาดไปโดยลำดับ

เอกอนไม่ใช่คนที่คิดอะไรซับซ้อน และยาก

กับเรื่องสัมมาอาชีวะ เอกอนก็ฝึกที่จะเลี้ยงชีพชอบ
การฝึกที่จะเลี้ยงชีพชอบ ก็เป็นเครื่องคอยขัดเกลา
ซึ่งในการประกอบสัมมาอาชีวะในโลกยุคนี้ เราก็ขัดเกลาหลาย ๆ อย่างไปโดยธรรมชาติ
ฝึกความพากเพียร อดทน เสียสละ ขันติ ขัดเกลากิเลส เพื่ออยู่ในอาชีพและปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
:b1:
เอกอนไม่เคยคิดอะไรเกี่ยวกับบัญญัติธรรมอะไรมากมาย

แต่เอกอนมีแค่เป้าหมาย ว่าจะเดินในเส้นทางสัมมาอาชีวะ แค่นั้น ไม่ได้คิดจะฝึกจิต
แต่กระนั้น จิตเราก็ถูกฝึกนั่นล่ะ ...

สัมมา... ข้ออื่น ๆ ก็เช่นกัน ก็เพียงแต่เรามีเป้าหมายว่าจะทำตาม สัมมา...
เราก็เพียรทำตามเป้า ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ก็เพียรก้าวเดินในทางไปเรื่อย ๆ

จิต ก็ถูกฝึกด้วย เส้นทางมรรค สัมมา...ต่าง ๆ

บางทีผู้ปฏิบัติมักจะคิดว่า เราคิดได้ และเมื่อคิด ๆ ไป เราจะเข้าถึงธรรม

จิต ทำหน้าที่ของ จิต หน้าที่ของจิต คือ วิถี
นั่น คือ จิตไปแตะอะไร อะไรก็เข้าสู่ วิถี นี่คือเคล้าร่างง่าย ๆ ในแบบที่เอกอนเข้าใจ

เจตสิก เป็นอารมณ์ของจิต ที่สำคัญ
เจตสิต ไม่เหมือนรูป ที่เราเห็นด้วยตา แตะได้ด้วยมือ รู้ได้ด้วยลิ้น หรือ รู้ได้ด้วยการได้ยิน

ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นอะไรที่เราเลือกผัสสะได้ ว่าจะรับ หรือ ไม่รับอะไร ป้องปัดได้

แต่เจตสิก เราจะต้องเรียนรู้ที่จะ สร้างโอกาสให้จิตเข้าไปรับอารมณ์นั้นขึ้นสู่วิถีให้คุ้นชิน

มรรค ... เป็นหนทางในการสร้างเจตสิกอันเป็นกุศล

เมื่อเราใช้ชีวิตบนมรรค เมื่อจิตเข้าเสพอารมณ์ และรับรู้อารมณ์อันเป็นกุศล และคลายออกมาจากอารมณ์อันเป็นกุศล นั่นคือ เขารู้จักการเข้าถึงอารมณ์นั่นแล้ว
เมื่อจิตรู้จักอารมณ์ใดแล้ว นั่นคือจิตเขามีช่องทางไปมาหาสู่กันแล้ว

นั่นคือ เราเป็นผู้ที่ดูแลให้อาหารแก่จิต

เราต้องการให้จิตน้อมไปในทิศทางใดอย่างไร เราก็คือเป็นผู้ดูแลให้อาหารแก่จิต
เราต้องเป็นผู้ขยันเลี้ยงดูให้อาหารที่เหมาะสมกับจิต

เปรียบเทียบกับ
การขบคิดเอาปัญญาเข้ามาใส่หัว ใส่สมองก็เหมือนพยายามยัดข้าวใส่ปากเด็ก
บางทีเด็กก็ไม่พร้อมจะกิน เขาก็จะ แบ๊ะออกมา
เป็นการยัดเยียดปัญญาให้จิต


สำหรับจิตที่เสพคุ้นสภาวะอันเป็นกุศล จนถึงภาวะให้เกิดปัญญา ผลที่ออกมาต่างกัน
เพราะ จิตเป็นตัวควบคุม อายตนะ ควบคุม กาย วาจา ใจ โดยธรรมชาติเป็นเช่นนั้น
ถ้าจิตเขาเป็นปัญญา จิตเขาก็เป็นปัญญา จิตก็แสดงปัญญาออกมา

จิตที่ปัญญาขึ้นสู่วิถี นั่นคือ จิตคือปัญญา
...
เมื่อจิตเกิดปัญญา ก็แค่ดูว่า จิตแสดงอะไรออกมาให้ปรากฎ

:b1:

ผู้ฝึกจิตส่วนใหญ่ จะไม่เห็นจิตเป็นเรา

เพราะเขาเป็นผู้พิจารณา จิต อยู่เนื่อง ๆ อยู่

:b1:

และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะเห็น ว่าจิตเป็นเราก็ไม่ใช่ จิตไม่เป็นเราก็ไม่ใช่
เพราะ มันจะเห็นว่ามันแยกจากกัน ไม่ได้
...
การเห็นอะไร ก็พิจารณาไป สุดท้ายเราก็ต้องไปให้ถึง สันติ กับทุกสิ่งนั่นล่ะ

:b1:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1:

ธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย ทำให้มาก ก็คือ ทำไปเถอะ เป็นการสร้างอาหารที่ดีต่อจิต :b12:

Quote Tipitaka:
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” หรือ “มรรคแปด” (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

* ข้อ3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
* ข้อ6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
* ข้อ1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

จิตที่ดำเนินไปในเส้นทางมหาสติปัฏฐานสี่ อริยมรรคมีองค์แปด … ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมเดินไปพร้อมกัน ธรรมจักรย่อมหมุนไป ตัดกระแสแห่งวัฏฏสงสาร เพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นสภาพสิ้นทุกข์ ไม่มีความกังวล

หม้อน้ำที่ไม่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไป ได้ง่าย หม้อน้ำที่มีฐานรองรับ ย่อมกลิ้งตกไปได้ยากฉันใด จิตที่ไม่มี ฐานรองรับ ย่อมตกไปในที่ต่ำได้ง่าย ส่วนจิตที่มีฐานรองรับ ย่อมตกไปที่ต่ำได้ยากฉันนั้น…

ไปขอยืมมาใช้จากเว็บนี้ (ยืมไม่คืนนะ)
https://chatree81.wordpress.com/2014/02 ... %E0%B8%9A/

มรรค 8 ก็ค่อย ๆ ทำไป มันก็เป็นการสะสมความเข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ
เพียรทำไปเหมือนน้ำซึมบ่อทราย
ถ้าพิจารณาดี ๆ ในทุกข้อ ล้วนเป็นธรรมที่ส่งผลอันเป็นคุณต่อจิต
ถ้าเราเดินตามเส้นทาง หนทางโดยมากก็จะค่อนข้าง สงบ และเป็นกุศลอยู่แล้ว
ทุกอย่างหนุนกันไปอย่างสมดุล แม้ยังไม่ต้องทำสมาธิ จิตใจก็ค่อนในทางที่เป็นปกติสุข
และเมื่อจิตที่ค่อนในทางปกติสุข เมื่อทำสมาธิ สมาธิก็ดำเนินไปตามปกติสุข
เพราะความกังวลรกรุงรังที่น้อย ความยุ่งเหยิงเมื่อจิตโคจรเข้าพิจารณาสิ่งใดก็ลาดไปโดยลำดับ

เอกอนไม่ใช่คนที่คิดอะไรซับซ้อน และยาก

กับเรื่องสัมมาอาชีวะ เอกอนก็ฝึกที่จะเลี้ยงชีพชอบ
การฝึกที่จะเลี้ยงชีพชอบ ก็เป็นเครื่องคอยขัดเกลา
ซึ่งในการประกอบสัมมาอาชีวะในโลกยุคนี้ เราก็ขัดเกลาหลาย ๆ อย่างไปโดยธรรมชาติ
ฝึกความพากเพียร อดทน เสียสละ ขันติ ขัดเกลากิเลส เพื่ออยู่ในอาชีพและปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
:b1:
เอกอนไม่เคยคิดอะไรเกี่ยวกับบัญญัติธรรมอะไรมากมาย

แต่เอกอนมีแค่เป้าหมาย ว่าจะเดินในเส้นทางสัมมาอาชีวะ แค่นั้น ไม่ได้คิดจะฝึกจิต
แต่กระนั้น จิตเราก็ถูกฝึกนั่นล่ะ ...

สัมมา... ข้ออื่น ๆ ก็เช่นกัน ก็เพียงแต่เรามีเป้าหมายว่าจะทำตาม สัมมา...
เราก็เพียรทำตามเป้า ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ก็เพียรก้าวเดินในทางไปเรื่อย ๆ

จิต ก็ถูกฝึกด้วย เส้นทางมรรค สัมมา...ต่าง ๆ

บางทีผู้ปฏิบัติมักจะคิดว่า เราคิดได้ และเมื่อคิด ๆ ไป เราจะเข้าถึงธรรม

จิต ทำหน้าที่ของ จิต หน้าที่ของจิต คือ วิถี
นั่น คือ จิตไปแตะอะไร อะไรก็เข้าสู่ วิถี นี่คือเคล้าร่างง่าย ๆ ในแบบที่เอกอนเข้าใจ

เจตสิก เป็นอารมณ์ของจิต ที่สำคัญ
เจตสิต ไม่เหมือนรูป ที่เราเห็นด้วยตา แตะได้ด้วยมือ รู้ได้ด้วยลิ้น หรือ รู้ได้ด้วยการได้ยิน

ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นอะไรที่เราเลือกผัสสะได้ ว่าจะรับ หรือ ไม่รับอะไร ป้องปัดได้

แต่เจตสิก เราจะต้องเรียนรู้ที่จะ สร้างโอกาสให้จิตเข้าไปรับอารมณ์นั้นขึ้นสู่วิถีให้คุ้นชิน

มรรค ... เป็นหนทางในการสร้างเจตสิกอันเป็นกุศล

เมื่อเราใช้ชีวิตบนมรรค เมื่อจิตเข้าเสพอารมณ์ และรับรู้อารมณ์อันเป็นกุศล และคลายออกมาจากอารมณ์อันเป็นกุศล นั่นคือ เขารู้จักการเข้าถึงอารมณ์นั่นแล้ว
เมื่อจิตรู้จักอารมณ์ใดแล้ว นั่นคือจิตเขามีช่องทางไปมาหาสู่กันแล้ว

นั่นคือ เราเป็นผู้ที่ดูแลให้อาหารแก่จิต

เราต้องการให้จิตน้อมไปในทิศทางใดอย่างไร เราก็คือเป็นผู้ดูแลให้อาหารแก่จิต
เราต้องเป็นผู้ขยันเลี้ยงดูให้อาหารที่เหมาะสมกับจิต

เปรียบเทียบกับ
การขบคิดเอาปัญญาเข้ามาใส่หัว ใส่สมองก็เหมือนพยายามยัดข้าวใส่ปากเด็ก
บางทีเด็กก็ไม่พร้อมจะกิน เขาก็จะ แบ๊ะออกมา
เป็นการยัดเยียดปัญญาให้จิต


สำหรับจิตที่เสพคุ้นสภาวะอันเป็นกุศล จนถึงภาวะให้เกิดปัญญา ผลที่ออกมาต่างกัน
เพราะ จิตเป็นตัวควบคุม อายตนะ ควบคุม กาย วาจา ใจ โดยธรรมชาติเป็นเช่นนั้น
ถ้าจิตเขาเป็นปัญญา จิตเขาก็เป็นปัญญา จิตก็แสดงปัญญาออกมา

จิตที่ปัญญาขึ้นสู่วิถี นั่นคือ จิตคือปัญญา
...
เมื่อจิตเกิดปัญญา ก็แค่ดูว่า จิตแสดงอะไรออกมาให้ปรากฎ

:b1:

ผู้ฝึกจิตส่วนใหญ่ จะไม่เห็นจิตเป็นเรา

เพราะเขาเป็นผู้พิจารณา จิต อยู่เนื่อง ๆ อยู่

:b1:

และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็จะเห็น ว่าจิตเป็นเราก็ไม่ใช่ จิตไม่เป็นเราก็ไม่ใช่
เพราะ มันจะเห็นว่ามันแยกจากกัน ไม่ได้
...
การเห็นอะไร ก็พิจารณาไป สุดท้ายเราก็ต้องไปให้ถึง สันติ กับทุกสิ่งนั่นล่ะ

:b1:


จิต เป็นสภาพรู้ ที่ให้ เจตสิก อาศัยเกิดขึ้น
จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต

อกุศลเจตสิก ยังเป็นปัจจัยให้เกิด กุศลเจตสิก ได้ ด้วยอำนาจ อามรัมมณปัจจัย และ ปกตูปนิสสยปัจจัย

เจตสิกทุกตัวทุกประเภท จึง เป็นอาหารชั้นดีเลิศ แก่จิต
ไม่ว่ากุศล หรืออกุศล หรือที่ไม่เป็นทั้งกุศลและอกุศล

แต่ อาหารนั้น ก็ต้องสดใหม่ และรัปประทานอย่างรวดเร็วปัจจุบันในทันทีทันใด

อาหารนั้น ก็ทำให้เกิด สัมมาสติในกุศลชวนะ กริยาชวนะ และผลชวนะได้

เป็นอาหารรดชาดที่ประณีตกว่าเดิม

ส่วนอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ บูดเน่า ก็เป็นภัยแก่จิตเช่นกัน

อาหารที่ตกแต่งจากอาหารที่บูดเน่า เอาไปคิดพิจารณาซ้ำ มาปรุงแต่งเพิ่ม ก็ยังไม่ใช่อาหารชั้นดี
สวาปามเข้าไป มากๆ ก็จะสำรอกออกมา

จิตจึงไม่เคยอิ่ม จากอาหารที่ปรุงแต่งเช่นนั้น
ความหิวโหย ทำให้ต้องแสวงหามาปรุงแต่ง มาพิจารณาซ้ำต่อไปแทบไม่สิ้นสุด
เพราะไปกินอาหารผิดประเภท

และสัมมาอาชีวะ ที่ยังเห็นเงินตราเป็นพระเจ้า ไม่ได้เป็นสัมมาอาชีวะค่ะ

ระวังอ้วนนะคะ พี่เอกอน

คริคริ





โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 07:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

:b8:

:b12:

นั่นจิ่...เกรงจะกลมเรย...^^


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 07:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ
ไม่ได้เข้าห้องเสียนาน คิดถึงทุกท่านครับ


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 16:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สวัสดีครับ
ไม่ได้เข้าห้องเสียนาน คิดถึงทุกท่านครับ



cool


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำใจหน่อยก็แล้วมีแต่ภูมิธรรมสูง :b11:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 151 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร