วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
คุณประมาททั้งหลายคะ
แค่แวะมาบอกให้ฟังคำตถาคตบ้างน๊า
ไม่ฟังไม่มีปัญญาดับอวิชชาก็โง่ต่อไปเรื่อยๆคร่าาาา
ไม่ได้ว่าใครนะคะแต่คำว่าอวิชชาคือภาษาบาลีแปลตรงภาษาไทยว่าโง่ค่ะ
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b4: :b4:


555 เมเก๊ตค่ะ

รู้ว่าคุณยายโรสจะให้ช่วยเพิ่มยอดวิว ในยูทูป

ขอบพระคุณนะคะคุณยายโรส
เมจะไปช่วยเพิ่มยอดวิว ให้ตถาคตยูทูป ของคุณยายค่ะ

อย่าลืมไปขอขมากรรมนะคะ เอาคำพระตถาคตมา ใช้โดยอัตตะสัญญา เป็นของตนเอง
กล่าวมั่วไป ไม่เป็นวิภัชวาที ตามที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงแยก ไว้เป็นหมวดหมู่ตามพระไตรปิฎก

จะไปเอาเรื่องเดียว ไม่งามหรอกค่ะ

พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย

ไม่ใช่จับมาข้อความนึง แล้วเหมาเอา ว่าทั้งหมด รวมทั้งพระอริยะบุคคล พระอรหันต์ เป็นมิจฉาทิฎฐิ



แม้คุณยายจะตัดเม จากกกัลยาณมิตร จากลูกหลาน
เมก็ไม่ถือมั่นหรอกค่ะ

ไปแหละค่ะ
บ๊ายบายนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
คุณประมาททั้งหลายคะ
แค่แวะมาบอกให้ฟังคำตถาคตบ้างน๊า
ไม่ฟังไม่มีปัญญาดับอวิชชาก็โง่ต่อไปเรื่อยๆคร่าาาา
ไม่ได้ว่าใครนะคะแต่คำว่าอวิชชาคือภาษาบาลีแปลตรงภาษาไทยว่าโง่ค่ะ
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b4: :b4:


555 เมเก๊ตค่ะ

รู้ว่าคุณยายโรสจะให้ช่วยเพิ่มยอดวิว ในยูทูป

ขอบพระคุณนะคะคุณยายโรส
เมจะไปช่วยเพิ่มยอดวิว ให้ตถาคตยูทูป ของคุณยายค่ะ

อย่าลืมไปขอขมากรรมนะคะ เอาคำพระตถาคตมา ใช้โดยอัตตะสัญญา เป็นของตนเอง
กล่าวมั่วไป ไม่เป็นวิภัชวาที ตามที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงแยก ไว้เป็นหมวดหมู่ตามพระไตรปิฎก

จะไปเอาเรื่องเดียว ไม่งามหรอกค่ะ

พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย

ไม่ใช่จับมาข้อความนึง แล้วเหมาเอา ว่าทั้งหมด รวมทั้งพระอริยะบุคคล พระอรหันต์ เป็นมิจฉาทิฎฐิ



แม้คุณยายจะตัดเม จากกกัลยาณมิตร จากลูกหลาน
เมก็ไม่ถือมั่นหรอกค่ะ

ไปแหละค่ะ
บ๊ายบายนะคะ

คนตายนั้นไม่มีจิตฟังไม่ได้คนเป็นที่ฟังแล้วคิดตามได้
ความงามของคำวาจาสัจจะตถาคตทุกคำคือปัญญา
และถ้าไม่มีสุตะก็คือปฏิเสธความงดงามในเบื้องต้นแล้ว
เบื้องกลางและเบื้องปลายจะมาแต่ไหนจึงกระโดดไปภาวนาโลด
ไม่เริ่มทำสุตมยปัญญาคือยังไม่เปิดประตูบ้านเลยค่ะจะยืนรอหน้าประตูอยู่นอกบ้านหรือ
กว่าจะเดินสำรวจในบ้านชั้น1หมดก็หมดแรงอยู่ตรงหน้าบันไดนั่นแหละก็อยู่นอกรั้ว
ไม่ฟังก็แค่เดินสำรวจตัวบ้านข้างนอกคิดว่าตนรู้จักข้างในบ้านหมดเดาไงเพราะ
มีตำราคือภาพให้ดูว่ามีแบบแปลนแบบนี้ๆเลยคิดเองตามที่อ่าน(เห็นแต่แปลนขาวดำ)
ไม่เห็นบ้านของจริงเป็นการปฏิเสธเหตุย่อมหมายถึงปฏิเสธผลไงคะงามเบื้องต้นคือสุตมยปัญญา
เมื่อฟังเจริญจนเป็นสัจจะแล้วฟังอีกจึงเจริญขึ้นในท่ามกลางคือจินตามยปัญญาจึงล้นไปภาวนาในที่สุด
ครั้งพุทธกาลทรงตรัสแสดงพระธรรมแต่ละครั้งมีผู้บรรลุธรรมทุกระดับตามปัญญาเข้าถึงระดับแล้ว555
ปฏิเสธการฟังผลก็คือไม่มีปัญญาเกิดเพิ่มไงคะเพราะปัญญาไม่เกิดขึ้นเองทุกอย่างเกิดดับตามเหตุปัจจัย
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b32: :b22: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉา ผิด

มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์

สัมมา โดยชอบ, ดี, ถูกต้อง, ถูกถ้วน, สมบูรณ์, จริง, แท้

สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔ เห็นชอบตามคลองธรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือ มีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่า มารดาบิดา) ฯลฯ เห็นถูกต้องตามเป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ หรือเขียนลดรูปเป็น ทิฐิ แปลว่า ความเห็น หมายรวมถึง ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎีความเข้าใจตามนัยเหตุผล ข้อที่เข้ากับความเข้าใจของตน หลักการที่เห็นสม ข้อที่ถูกใจ ข้อที่เชิดชูเอาไว้ ความใฝ่นิยม หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า ค่านิยม รวมไปถึงอุดมการณ์ แนวทัศนะในการมองโลกและชีวิตที่เรียกกันว่า โลกทัศน์และชีวทัศน์ต่างๆ ตลอดจนทัศนคติพื้นฐาน ที่สืบเนื่องจากความเห็นความเข้าใจ และความใฝ่นิยมเหล่านั้น


ถ้าจะจัดเข้าเป็นพวกๆ ทิฏฐิ ก็คงมี ๒ ระดับ คือ ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับคุณค่า ว่าดี ไม่ดี ควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น เป็นต้น อย่างหนึ่ง
ความเห็น ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงว่า คืออะไร เป็นอย่างไร เพราะเหตุไร เป็นต้น อย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้ในเรื่องสัมมาทิฏฐิ ๒ ประเภท


ทิฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจ ความใฝ่นิยมยึดถือต่างๆ นั้น มีอิทธิพลครอบงำ และมีบทบาทในการกำหนดวิถีชีวิต และสังคมของมนุษย์เป็นอย่างมาก


ในกรรมบถ ท่านจัดทิฐิเข้าเป็นมโนกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่สำคัญ มีผลมากมายร้ายแรงที่สุด ยิ่งกว่ากายกรรม และวจีกรรม เพราะเป็นตัวบันดาลกายกรรม และวจีกรรม อยู่เบื้องหลังอีกชั้นหนึ่ง สามารถนำชีวิต สังคม หรือมนุษย์ชาติทั้งหมด ไปสู่ความเจริญงอกงามรุ่งเรืองหลุดพ้น หรือนำไปสู่ความเสื่อม ความพินาศก็ได้


ดังจะมองเห็นได้ในชีวิตของบุคคล ทิฏฐิเป็นตัวชักจูง และกำหนดวิถีชีวิต ทั้งในด้านรับเข้า และด้านแสดงออก กล่าวคือ จะมองเห็นโลกและชีวิตเป็นอย่างไร และจะปฏิบัติต่อโลก และชีวิตนั้นอย่างไร เริ่มตั้งแต่จะแปลความหมายของประสบการณ์ ที่รับรู้เข้ามาใหม่อย่างไร จะตีค่า จะตัดสินวินิจฉัยว่าอย่างไร จะหันไปหา หรือเลือกรับสิ่งใด ส่วนใด ในแง่ใด จะเห็นด้วยหรือไม่ จะอยู่ฝ่ายใด แล้วชักนำแนวความคิดการพูดการกระทำที่จะสนองตอบโต้ แสดงปฏิกิริยาออกไปว่าจะเอาอย่างไร พูด หรือ ทำอย่างไรกับบุคคลสิ่งสภาพแวดล้อม หรือ สถานการณ์นั้นๆ พร้อมทั้งสร้างเหตุผลประกอบ สำหรับการที่จะพูดจะทำเช่นนั้น


กล่าวสั้นๆด้วยศัพท์ธรรมว่า ปรุงแต่ง ชักนำองค์ธรรมต่างๆ ตั้งแต่สังกัปปะคือความคิด หรือความดำริ เป็นต้นไป ให้เป็นมิจฉา หรือ เป็นสัมมา ตามทิฐินั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ แบ่งเป็น ๒ ประเภท หรือ ๒ ระดับ คือ

๑. โลกิยสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบระดับโลกีย์ คือ ยังเนื่องในโลก ขึ้นต่อโลก ได้แก่ ความเห็น ความเชื่อ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่ถูกต้องตามหลักแห่งความดี เป็นไปตามคลองธรรม หรือสอดคล้องกับศีลธรรม ดังตัวอย่างในพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงไว้แล้วข้างต้น

โดยทั่วไป สัมมาทิฏฐิประเภทนี้เกิดจาก ปรโตโฆสะ คือปัจจัยฝ่ายภายนอก หรือ องค์ประกอบทางสังคม ด้วยอาศัยศรัทธาเป็นเครื่องเชื่อมโยงหรือชักนำ เฉพาะอย่างยิ่ง เกิดจากการหล่อหลอมกล่อมเกลาของสังคม เช่น การอบรมสั่งสอนทางศีลธรรม การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม เป็นต้น แม้สัมพันธ์กับโยนิโสมนสิการ ก็มักเป็นโยนิโสมนสิการแบบเร้ากุศล

ทิฏฐิระดับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่า เช่นว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด อะไรดีกว่า อะไรเลวกว่า ควรจะเป็น ไม่ควรจะเป็น หรือว่าน่าเป็น ไม่น่าเป็น อย่างไร เป็นต้น ตลอดจนหลักความเชื่อ หลักความเห็นต่างๆ ที่จะรักษาคุณค่าที่ดีงามถูกต้องไว้


เพราะเหตุที่เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม มีการถ่ายทอดโดยปรโตโฆสะ ทิฐิประเภทนี้มีลักษณะเป็นหลักการ กฎเกณฑ์ มาตรฐาน ความเชื่อถือ ชนิดที่มนุษย์ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ หรือบัญญัติวางกันขึ้น เป็นของซ้อนเข้ามา หรือต่างหากจากกฎธรรมดาของธรรมชาติอีกทีหนึ่ง และดังนั้น จึงมีลักษณะของความเป็นโลกิยะ คือ มีรายละเอียดข้อปลีกย่อยผิดแปลกแตกต่างกันออกไปตามกาลเทศะ เปลี่ยนแปลงได้ตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและความเป็นไปของสังคม


ทิฏฐิจำพวกข้อถูกใจ ความใฝ่นิยม หรือค่านิยมทั้งหลาย ล้วนรวมอยู่ในทิฏฐิประเภทโลกิยะนี้ทั้งสิ้น


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารายละเอียดข้อปลีกย่อยของทิฏฐินี้จะเปลี่ยนแปลงต่างกันไปได้ ตามถิ่นฐานและกาลสมัย แต่ก็มีหลักกลางสำหรับวัดความเป็นสัมมาทิฏฐิ คือ ความสอดคล้องกับหลักกรรม หรือกฎแห่งกรรม เพราะหลักกรรมเป็นกฎธรรมดา หรือหลักความจริง ที่รองรับความเป็นไปแห่งพฤติกรรมทั้งหมดของมนุษย์


โดยนัยนี้ โลกิยสัมมาทิฏฐิจึงมีกฎธรรมชาติรองรับอยู่ หรือสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ และด้วยเหตุนี้ บางครั้งท่านจึงจำกัดความหมายของโลกิยสัมมาทิฏฐิ โดยระบุลงไปว่า ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้ว่าคนมีกรรมเป็นของตน รู้ว่าคนเป็นเจ้าของการกระทำของตน จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น คือ ได้รับผลแห่งกรรมของตน ซึ่งเป็นความรู้เข้าใจที่สอดคล้องกับกฎแห่งกรรม หรือพูดได้ว่า รู้เข้าใจถึงการที่พฤติกรรม และผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ เป็นไปตามกฎธรรมดาของความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย

โลกิยสัมมาทิฏฐินี้ จึงส่องถึงค่านิยมพื้นฐาน เช่น ความรับผิดชอบต่อการกระทำของคน ความใฝ่ผลสำเร็จที่เกิดจากการกระทำ หรือความเพียรพยายาม ความสามารถ และสติปัญญาของตนเอง ความรู้จักพึงตนเอง และการช่วยเหลือกันด้วยเรี่ยวแรงกำลังของมนุษย์เอง เป็นต้น


พึงสังเกตด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับกรรมในระดับนี้ เป็นเพียง ความรู้ถึงที่กรรมเป็นของตน รู้ว่าแต่ละสัตว์แต่ละคนเป็นเจ้าของการกระทำของตน ที่จะทำให้รู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำของตนนั้น หรือรู้ว่ามนุษย์จะเป็นไปตามกฎแห่งกรรมนั้น อยู่ในขั้นของความรู้เข้าใจที่สอดคล้องกับกฎแห่งกรรมเท่านั้น ยังมิใช่เป็นการรู้เข้าใจตัวกฎ หรือหยั่งรู้ถึงความเป็นไปของเหตุปัจจัยนั้นโดยตรง ทั้งนี้เพราะความรู้เข้าใจที่หยั่งถึงตัวกฎหรือเหตุปัจจัยโดยตรง ย่อมจัดเข้าในจำพวก โลกุตรสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นข้อต่อไป


นอกจากนี้ อาจวัดความเป็นโลกิยสัมมาทิฏฐิด้วยวิธีพูดอย่างอื่นอีก เช่นว่า ได้แก่ ทิฏฐิชนิดที่เกื้อกูลเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม หรือว่าได้แก่ทิฐิชนิดที่ทำให้ก้าวหน้าไปในมรรคได้ คือ ส่งผลแก่องค์มรรคข้ออื่นๆได้ ตั้งแต่ช่วยให้เกิดสัมมาสังกัปปะ เป็นต้น และในเมื่อเป็นความรู้ความเข้าใจที่สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมดาของ ธรรมชาติ โลกิยสัมมาทิฏฐินี้ จึงอาจเชื่อมต่อให้ก้าวไปยังโลกุตรสัมมาทิฏฐิได้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. โลกุตรสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบระดับโลกุตระ คือ เหนือโลก ไม่ขึ้นต่อโลก ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง หรือรู้เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาติ พูดง่ายๆว่า รู้เข้าใจธรรมชาตินั่นเอง


สัมมาทิฐิประเภทนี้ เกิดจาก โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล ปรโตโฆสะที่ดี หรือกัลยาณมิตร อาจช่วยได้เพียงด้วยการกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการแล้วรู้เห็นเข้าใจเอง หมายความว่า สัมมาทิฐิประเภทนี้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เพียงด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง


ด้วยเหตุนี้ โลกุตรสัมมาทิฐิจึง ไม่เกี่ยวข้อกับหลักการ กฎเกณฑ์ ข้อยึดถือที่ปรุงแต่งหรือบัญญัติวางซ้อนเพิ่มขึ้นมาต่างหากจากธรรมดาของ ธรรมชาติ และจึงเป็นอิสระจากการหล่อหลอมของสังคม ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเองแท้ๆ ซึ่งมีสภาวะและธรรมดาเสมอเหมือนกันทุกถิ่นฐานทุกกาลสมัย


โดยนัยนี้ สัมมาทิฐิประเภทนี้จึงมีลักษณะเป็นโลกุตระ คือ ไม่ขึ้นต่อกาล ไม่จำกัดสมัย เป็นความรู้ความเข้าใจอย่างเดียวกัน จำเป็นสำหรับปรีชาญาณและความหลุดพ้นในทุกถิ่นทุกกาลเสมอเหมือนกัน


สัมมาทิฐิตามความหมายอย่างที่สองนี้ ที่ท่านจัดเป็นโลกุตระนั้น หมายเอาเฉพาะที่เป็นความรู้ความเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ถึงขั้นเป็นมรรคเป็นผล ทำให้เป็นอริยบุคคลเท่านั้น

แต่กระนั้นก็ตาม สัมมาทิฐิเป็นมรรคเป็นผลนั้น ก็สืบเนื่องไปจากสัมมาทิฐิแบบเดียวกัน ที่เป็นของปุถุชนนั่นเอง ดังนั้น จึงขอเรียกสัมมาทิฐิตามความหมายอย่างที่สองนี้ ในขั้นเป็นของปุถุชนว่า สัมมาทิฐิแนวโลกุตระ

พึงเห็นความสำคัญของสัมมาทิฐิที่เป็นโลกุตระ หรือแนวโลกุตระนี้ว่า เป็นธรรมที่มีผลลึกซึ้งกว่าโลกิยสัมมาทิฐิมาก สามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพอย่างที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน

สัมมาทิฐิระดับนี้เท่านั้น จึงกำจัดกิเลสได้ มิใช่เพียงกด ข่ม หรือทับไว้ และทำให้เกิดความมั่นคงในคุณธรรมอย่างแท้จริง ไม่แกว่งไกวไหวโอนไปตามค่านิยมที่สังคมหล่อหลอม เพราะมองเห็นความจริงผ่านทะลุกเลยระดับสังคมไปถึงสภาวธรรมที่อยู่เบื้องหลังแล้ว จึงไม่เต้นส่ายไปกับภาพปรุงแต่งในระดับสังคม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
๒. โลกุตรสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบระดับโลกุตระ คือ เหนือโลก ไม่ขึ้นต่อโลก ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตถูกต้องตามความเป็นจริง หรือรู้เข้าใจตามสภาวะของธรรมชาติ พูดง่ายๆว่า รู้เข้าใจธรรมชาตินั่นเอง


สัมมาทิฐิประเภทนี้ เกิดจาก โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายใน หรือปัจจัยภายในตัวบุคคล ปรโตโฆสะที่ดี หรือกัลยาณมิตร อาจช่วยได้เพียงด้วยการกระตุ้นให้บุคคลนั้นใช้โยนิโสมนสิการแล้วรู้เห็นเข้าใจเอง หมายความว่า สัมมาทิฐิประเภทนี้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เพียงด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง




ตัวอย่าง

อ้างคำพูด:
ลมหายใจหาย อึดอัดทนไม่ไหว ไปต่อไม่ได้ ไม่รู้วิธี กรุณาช่วยให้คำแนะนำด้วยเถอะครับ

ประเด็นที่พบ

การนั่งครั้งหลังๆมานี้ เกิดสภาวะคล้ายๆเดิม ตลอดเกือบทุกครั้ง คือ มือหายไปจากความรู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีมืออยู่ (รู้ว่ามี แต่รู้สึกว่าไม่มี ผมอธิบายไม่ถูก เชื่อว่าท่านผู้รู้คงเข้าใจผม) ก้นและต้นขาที่นั่งทับพื้นยังรู้สึกว่ามีอยู่ หลังที่นั่งพิงเก้าอี้ก็รู้สึกว่ายังมีอยู่ คือสรุปว่ามือหายทั้งสองข้าง อย่างอื่นที่เหลือยังรู้สึกถึงได้ อยู่ครบยังไม่หาย มีอาการตัวพองๆยุบๆบ้าง แต่ก็ไม่บ่อย มีอาการหายเกือบทั้งตัวบ้าง แต่น้อยมาก แต่ที่แน่ๆ คือ มือทั้งสองข้างหายทุกครั้ง, ทุกครั้งจริงๆครับ นั่งแป๊บเดียวก็หายแล้ว และหายไปจากความรู้สึกตลอดเวลาที่ยังนั่งอยู่

ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนลมหายไป เหมือนไม่ได้หายใจ ในครั้งแรกๆที่เจอสภาวะนี้ ผมตกใจทำอะไรไม่ถูก ตะลีตะลานรีบควานหาลม แล้วก็กลับมาหายใจแบบปกติ, แต่ในครั้งหลังๆ ผมจะพยายามทนอยู่กับสภาวะนี้ ซึ่งผมจะอึดอัดมาก และในที่สุดผมก็ทนไม่ไหว จนต้องบังคับให้ตัวเองหายใจด้วยการสูดยาว จึงจะกลับมารู้สึกว่าผมหายใจแล้ว ผมจึงเริ่มรู้ลมใหม่ .. แล้วลมก็แผ่ว .. แล้วลมก็หาย .. แล้วผมก็ทน .. แล้วผมก็ทนไม่ไหว .. แล้วผมก็สูดลม .. แล้วผมก็รู้ลม .. แล้วลมก็แผ่ว .. ฯลฯ วนรอบอยู่อย่างนี้ ซ้ำรอบอยู่อย่างนี้


สัมมาทิฐิประเภทนี้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เพียงด้วยการรับฟังแล้วเชื่อตามคนอื่นด้วยศรัทธา เพราะต้องเป็นการรู้จักที่ตัวภาวะเอง ต้องเอาธรรมชาตินั่นเองเป็นข้อพิจารณาโดยตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำจำกัดความของสัมมาทิฏฐิ

คำจำกัดความที่พบบ่อยที่สุด คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ ดังพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิคือ อะไร ? ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ”

คำจำกัดความนอกจากนี้ ได้แก่

รู้อกุศลและอกุศลมูล กับ กุศลและกุศลมูล: “เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรมเข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”

เห็นไตรลักษณ์: “ภิกษุเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ ก็ย่อมหน่าย เพราะสิ้นเพลินก็สิ้นการย้อมติด เพราะสิ้นการย้อมติด ก็สิ้นเพลิน เพราะสิ้นเพลินและย้อมติด จิตจึงหลุดพ้น เรียกว่า พ้นเด็ดขาดแล้ว”

“ภิกษุเห็นจักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน...รูป... เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ”

เห็นปฏิจจสมุปบาท: "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ แค่ไหน จึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ"

"แน่ะท่านกัจจายนะ โลกนี้ โดยมากอิง (ทฤษฎีของตน) ไว้กับภาวะ ๒ อย่างคือ อัตถิตา (ความมี) และนัตถิตา (ความไม่มี) เมื่อเห็นโลกสมุทัยตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา นัตถิตาในโลกก็ไม่มี เมื่อเห็นโลกนิโรธตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา อัตถิตาในโลกก็ไม่มี โลกนี้โดยมากยึดมั่นถือมั่นในอุบาย (systems) และคล้องขังไว้ด้วยอภินิเวส (dogmas) ส่วนอริยสาวก ย่อมไม่เข้าหา ไม่ยึด ไม่ติดอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุบาย ความปักใจ อภินิเวส และอนุสัยว่า "อัตตาของเรา" ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ เมื่อดับ ก็ย่อมดับ อริยสาวกย่อมมีญาณในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นเลย เพียงเท่านี้แล ชื่อว่า มีสัมมาทิฏฐิ"

“ดูก่อนกัจจานะ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ข้อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ไม่เข้าเข้าไปติดที่สุดทั้งสองนั้นว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชานั่นแหละสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”


พุทธพจน์อีกแห่งหนึ่ง แยกความหมายของสัมมาทิฏฐิ เป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นสาสวะ กับ ระดับโลกุตระ

“ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? เรากล่าวว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง”


สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรม ที่ทำไว้ดี และชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพรามหณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองมีอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”


สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? คือ องค์มรรค ข้อสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ของผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค” (ม.อุ.14/258/181)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังที่รู้อยู่แล้วว่า สัมมาทิฐิแนวโลกุตระ เกิดจากโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการจึงมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งควรย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่า
ตามปกติ พฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนจะเป็นไปตามอำนาจของค่านิยม ที่เกิดจากการหล่อหลอมทางสังคม เช่น ละเว้นการกระทำไม่ดีอย่างนั้น และกระทำการที่ดีอย่างนี้ ตามคำอบรมสั่งสอนบอกเล่าถ่ายทอดเล่าเรียน หรือจดจำแบบอย่างมา
ถ้าเมื่อใดปุถุชนไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของค่านิยมเช่นนั้น เขาก็จะตกเป็นทาสของตัณหา ที่เรียกกันในสมัยใหม่ว่าอารมณ์ของตนเอง
แต่โยนิโสมนสิการ ช่วยให้หลุดพ้นได้ ทั้งจากอิทธิพลของค่านิยมทางสังคม และจากความเป็นทาสแห่งตัณหาหรืออารมณ์กิเลสของตนเอง ทำให้มีพฤติกรรมอิสระ ที่เป็นไปด้วยปัญญา


จึงอาจพูดสรุปได้ ว่า ปุถุชนจะคิดจะทำการใดๆ ก็ตาม หากขาดโยนิโสมนสิการเสียแล้ว ถ้าไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของค่านิยมจากภายนอก ก็ย่อมตกเป็นทาสแห่งตัณหาของตนเอง เมื่อใดมีโลกุตรสัมมาทิฐิ เมื่อนั้น เขาก็จะหลุดพ้นจากอำนาจปรุงแต่งของสังคมได้อย่างแท้จริง


เมื่อใดทิฐิกลายเป็นสัมมาทิฐิ เมื่อนั้น ก็จัดเป็นปัญญา หรือไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แม้ว่าในขั้นแรกเริ่ม สัมมาทิฐิ นั้น จะยังเป็นเพียงความเห็นหรือความเชื่ออยู่ ทั้งนี้เพราะความเห็นหรือความเชื่อนั้น สอดคล้องกับความเป็นจริง มีความเข้าใจตามสภาวะหรือตามเหตุปัจจัยเป็นที่อ้างอิง เริ่มเดินหน้าออกจากอำนาจครอบงำของอวิชชาและตัณหา

ต่อจากนั้นไป แม้ว่าความเห็นหรือความเชื่อนั้นจะกลายเป็นความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งที่เรียกว่าญาณแล้ว ก็ยังคงเรียกด้วยชื่อเดิมว่าสัมมาทิฐิได้เรื่อยไป เพื่อสะดวกในการมองเห็นความเจริญเติบโตหรืองอกงามที่ต่อเนื่องกัน

โดยนัยนี้ สัมมาทิฐิจึงมีความหมายกว้าง คลุมตั้งแต่ความเห็นและความเชื่อถือที่ถูกต้อง ไปจนถึงความรู้ความเข้าใจตามสภาวะที่เป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด


มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา


โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี เทียบ อโยนิโสมนสิการ


อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอยัง คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด


มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา


โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี เทียบ อโยนิโสมนสิการ


อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำนำความคิด

:b12:
โยนิโสมนสิการะนี่คือบัญญัติคำ
ความนอบน้อมถ่อมตนมีตอนที่
กำลังน้อมจิตลงตั้งใจฟังความจริง
ที่มีผู้กล่าวตรงความจริงเดี๋ยวนี้
ให้เข้าใจถูกว่ากำลังมีตรง
กับคำไหนของคำตถาคต
น้อมเองแล้วตอนที่กำลังฟังนะคะ
:b32:
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
โลกสวย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
คุณประมาททั้งหลายคะ
แค่แวะมาบอกให้ฟังคำตถาคตบ้างน๊า
ไม่ฟังไม่มีปัญญาดับอวิชชาก็โง่ต่อไปเรื่อยๆคร่าาาา
ไม่ได้ว่าใครนะคะแต่คำว่าอวิชชาคือภาษาบาลีแปลตรงภาษาไทยว่าโง่ค่ะ
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b4: :b4:


555 เมเก๊ตค่ะ

รู้ว่าคุณยายโรสจะให้ช่วยเพิ่มยอดวิว ในยูทูป

ขอบพระคุณนะคะคุณยายโรส
เมจะไปช่วยเพิ่มยอดวิว ให้ตถาคตยูทูป ของคุณยายค่ะ

อย่าลืมไปขอขมากรรมนะคะ เอาคำพระตถาคตมา ใช้โดยอัตตะสัญญา เป็นของตนเอง
กล่าวมั่วไป ไม่เป็นวิภัชวาที ตามที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงแยก ไว้เป็นหมวดหมู่ตามพระไตรปิฎก

จะไปเอาเรื่องเดียว ไม่งามหรอกค่ะ

พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย

ไม่ใช่จับมาข้อความนึง แล้วเหมาเอา ว่าทั้งหมด รวมทั้งพระอริยะบุคคล พระอรหันต์ เป็นมิจฉาทิฎฐิ



แม้คุณยายจะตัดเม จากกกัลยาณมิตร จากลูกหลาน
เมก็ไม่ถือมั่นหรอกค่ะ

ไปแหละค่ะ
บ๊ายบายนะคะ

คนตายนั้นไม่มีจิตฟังไม่ได้คนเป็นที่ฟังแล้วคิดตามได้
ความงามของคำวาจาสัจจะตถาคตทุกคำคือปัญญา
และถ้าไม่มีสุตะก็คือปฏิเสธความงดงามในเบื้องต้นแล้ว
เบื้องกลางและเบื้องปลายจะมาแต่ไหนจึงกระโดดไปภาวนาโลด
ไม่เริ่มทำสุตมยปัญญาคือยังไม่เปิดประตูบ้านเลยค่ะจะยืนรอหน้าประตูอยู่นอกบ้านหรือ
กว่าจะเดินสำรวจในบ้านชั้น1หมดก็หมดแรงอยู่ตรงหน้าบันไดนั่นแหละก็อยู่นอกรั้ว
ไม่ฟังก็แค่เดินสำรวจตัวบ้านข้างนอกคิดว่าตนรู้จักข้างในบ้านหมดเดาไงเพราะ
มีตำราคือภาพให้ดูว่ามีแบบแปลนแบบนี้ๆเลยคิดเองตามที่อ่าน(เห็นแต่แปลนขาวดำ)
ไม่เห็นบ้านของจริงเป็นการปฏิเสธเหตุย่อมหมายถึงปฏิเสธผลไงคะงามเบื้องต้นคือสุตมยปัญญา
เมื่อฟังเจริญจนเป็นสัจจะแล้วฟังอีกจึงเจริญขึ้นในท่ามกลางคือจินตามยปัญญาจึงล้นไปภาวนาในที่สุด
ครั้งพุทธกาลทรงตรัสแสดงพระธรรมแต่ละครั้งมีผู้บรรลุธรรมทุกระดับตามปัญญาเข้าถึงระดับแล้ว555
ปฏิเสธการฟังผลก็คือไม่มีปัญญาเกิดเพิ่มไงคะเพราะปัญญาไม่เกิดขึ้นเองทุกอย่างเกิดดับตามเหตุปัจจัย
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b32: :b22: :b32: :b32:

คุณยายโรสตายแล้วหรอคะ
เห็นกันอยู่หลัดๆ ไม่น่าเร๊ยย

เมสวดให้นะคะ อนิจจังวัฎสังขารา ...

คุณยายโรสเรยฟังไม่ได้ ว่าตัวเองมั่ว ยังไง

ที่ตัวเองบอกก่อนตายว่า มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดไม่ได้เห็นสีคริคริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พอยัง คิกๆๆ


ขอบพระคุณค่ะ

เยอะเกินพอหล่ะค่ะ

แต่ คุณยายโรส ยังยืนยันหนักแน่น ตามคำศาสดายูทูป ว่า มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดไม่ได้เห็นสีคริคริคริ

พระอริยะบุคคลพระโสดาบัน พระสกิทา พระอนาคา พระอรหันต์ ท่านเห็นสีไม่ได้ เพราะไม่มีทศพลญานอาสธารณะญาน6 อันมีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นค่ะ ท่านเหล่านั้น ก็ไม่ใช่มิจฉาทิฎฐิ ตามคำกล่าวอ้างใดๆ

แต่คุณยายโรสยังบอกด้วยความเขลาเบาปัญญา ว่า มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดไม่ได้เห็นสีคริคริคริ

โดยไม่รู้เนื้อความ เรื่องสัมมาทิฎฐิ ตามที่คุณลุงยกมา

เป็นความเขลาเบาปัญญา ที่ไม่เรียนพระปริยัติ ไม่ได้เรียนพระไตรปิฏกสามเล่า
ได้แต่กล่าวตามพระศาสดายูทูปของเธอ

ไม่สอดคล้องในพระไตรปิฎก
ทั้งพระสูตร พระวจนะ ด้วยประการทั้งปวงค่ะ


คำกล่าวคุณยายโรสริน และศาดายูทูปของเธอ จึง เพ้อเจ้อ เชื่อถือไม่ได้ค่ะ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2018, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
Rosarin เขียน:
โลกสวย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
คุณประมาททั้งหลายคะ
แค่แวะมาบอกให้ฟังคำตถาคตบ้างน๊า
ไม่ฟังไม่มีปัญญาดับอวิชชาก็โง่ต่อไปเรื่อยๆคร่าาาา
ไม่ได้ว่าใครนะคะแต่คำว่าอวิชชาคือภาษาบาลีแปลตรงภาษาไทยว่าโง่ค่ะ
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b4: :b4:


555 เมเก๊ตค่ะ

รู้ว่าคุณยายโรสจะให้ช่วยเพิ่มยอดวิว ในยูทูป

ขอบพระคุณนะคะคุณยายโรส
เมจะไปช่วยเพิ่มยอดวิว ให้ตถาคตยูทูป ของคุณยายค่ะ

อย่าลืมไปขอขมากรรมนะคะ เอาคำพระตถาคตมา ใช้โดยอัตตะสัญญา เป็นของตนเอง
กล่าวมั่วไป ไม่เป็นวิภัชวาที ตามที่พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงแยก ไว้เป็นหมวดหมู่ตามพระไตรปิฎก

จะไปเอาเรื่องเดียว ไม่งามหรอกค่ะ

พระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย

ไม่ใช่จับมาข้อความนึง แล้วเหมาเอา ว่าทั้งหมด รวมทั้งพระอริยะบุคคล พระอรหันต์ เป็นมิจฉาทิฎฐิ



แม้คุณยายจะตัดเม จากกกัลยาณมิตร จากลูกหลาน
เมก็ไม่ถือมั่นหรอกค่ะ

ไปแหละค่ะ
บ๊ายบายนะคะ

คนตายนั้นไม่มีจิตฟังไม่ได้คนเป็นที่ฟังแล้วคิดตามได้
ความงามของคำวาจาสัจจะตถาคตทุกคำคือปัญญา
และถ้าไม่มีสุตะก็คือปฏิเสธความงดงามในเบื้องต้นแล้ว
เบื้องกลางและเบื้องปลายจะมาแต่ไหนจึงกระโดดไปภาวนาโลด
ไม่เริ่มทำสุตมยปัญญาคือยังไม่เปิดประตูบ้านเลยค่ะจะยืนรอหน้าประตูอยู่นอกบ้านหรือ
กว่าจะเดินสำรวจในบ้านชั้น1หมดก็หมดแรงอยู่ตรงหน้าบันไดนั่นแหละก็อยู่นอกรั้ว
ไม่ฟังก็แค่เดินสำรวจตัวบ้านข้างนอกคิดว่าตนรู้จักข้างในบ้านหมดเดาไงเพราะ
มีตำราคือภาพให้ดูว่ามีแบบแปลนแบบนี้ๆเลยคิดเองตามที่อ่าน(เห็นแต่แปลนขาวดำ)
ไม่เห็นบ้านของจริงเป็นการปฏิเสธเหตุย่อมหมายถึงปฏิเสธผลไงคะงามเบื้องต้นคือสุตมยปัญญา
เมื่อฟังเจริญจนเป็นสัจจะแล้วฟังอีกจึงเจริญขึ้นในท่ามกลางคือจินตามยปัญญาจึงล้นไปภาวนาในที่สุด
ครั้งพุทธกาลทรงตรัสแสดงพระธรรมแต่ละครั้งมีผู้บรรลุธรรมทุกระดับตามปัญญาเข้าถึงระดับแล้ว555
ปฏิเสธการฟังผลก็คือไม่มีปัญญาเกิดเพิ่มไงคะเพราะปัญญาไม่เกิดขึ้นเองทุกอย่างเกิดดับตามเหตุปัจจัย
https://youtu.be/SaO4cus51qA
:b32: :b22: :b32: :b32:

คุณยายโรสตายแล้วหรอคะ
เห็นกันอยู่หลัดๆ ไม่น่าเร๊ยย

เมสวดให้นะคะ อนิจจังวัฎสังขารา ...

คุณยายโรสเรยฟังไม่ได้ ว่าตัวเองมั่ว ยังไง

ที่ตัวเองบอกก่อนตายว่า มิจฉาทิฏฐิ=ความเห็นผิดไม่ได้เห็นสีคริคริคริ

:b32:
หลงตัวตนว่ามีตัวทุกขณะไม่เข้าใจหรือว่าขาดสุตะ
กำลังไม่รู้จักคิดตามคำสอนเลยอ่ะคะ
ตายทุกขณะจากความเป็นเรา
ไม่มีเรามีแต่ธัมมะแต่ละ1ที่
เป็นขณิกมรณานุสสติค่ะ
ดับหมดแล้วก็ไม่รู้เลย
หลงไปคิดทำลืมฟัง
ตถาคตทำแค่บอก
สาวกคือผู้ฟังค่ะ
ตรงๆไม่อ้อม
กำลังฟังม๊ะ
สุตมยปัญญา
รู้ตามการฟังได้น๊า
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร