วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิจฉา ความปรารถนา, ความอยากได้, ไทยมักใช้ในความหมายว่า ริษยา

ริษยา ความไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, เห็นผู้อื่นได้ดีไม่สบายใจ, คำเดิมในสันสฤตเป็น อีรฺษา บาลีใช้ อิสฺสา (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ หมวด ๒, ข้อ ๗ ใน อุปกิเลส ๑๖)

อิสสา ความริษยา, ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, ไม่อยากให้ใครดีกว่าตน, ความคิดตัดรอนผู้ที่ดีกว่าตน, ความหึงหวง (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ใน อุปกิเลส ๑๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลก แผ่นดินเป็นที่อาศัย, หมู่สัตว์ผู้อาศัย โลก ๓ คือ

๑. สังขารโลก โลกคือสังขาร

สัตว์โลก โลกคือหมู่สัตว์

๓. โอกาสโลก โลกคือแผ่นดิน,

อีกนัยหนึ่ง

๑. มนุษยโลก โลกมนุษย์

๒. เทวโลก โลกสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้น

๓. พรหมโลก โลกของพระพรหม

สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังกิเลส ความเศร้าหมอง, ความสกปรก, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ธรรมที่อยู่ในหานภาค คือในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการ อคติ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตรงข้ามกับ โวทาน

กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์, กิเลส ๑๐ (ในบาลีเดิม เรียกว่า กิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

.............

สังเกต กิเลส ก็เรียกว่า ธรรม และคำว่า กรรม ด้วย :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) ว่าโดยสาระ กรรมก็คือเจตนา หรือ เจตนานั่นเองเป็นกรรม, การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว กรรมชั่ว

กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ

๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา (พูด)
๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ (คิด)

กุศลมูล รากเง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของอกุศล, ต้นเหตุของความชั่ว มี ๓ อย่าง โลภะ โทสะ โมหะ

อกุศลมูล รากเง้าของอกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดี มี ๓ อย่าง อโลภะ อโทสะ อโมหะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุกกุจจะ ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่น ว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง

กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสวัฏฏ์ วนคือกิเลส, วงจรส่วนกิเลส, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน

กัมมวัฏฏ์ วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งในวัฏฏ์ ๓ แห่ปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กุศลกรรม กรรมดี, กรรมที่เป็นกุศล, การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

อภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม มี ๓ อย่าง คือ

๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ

๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป

๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔
เรียกง่ายๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน

อภิสังขารมาร อภิสังขารเป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2018, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสื่อม ก. เสียไป เช่น เสื่อมเกียรติ, สิ้นไป เช่น เสื่อมศรัทธา, ค่อยหมดไป เช่น เสื่อมความจำ, น้อยไป เช่น เสื่อมกำลัง, หย่อนลง เช่น เสื่อมคุณภาพ, โทรมลง เช่น เสื่อมศีลธรรม, ถอยความขลัง เช่น เสื่อมมนตร์, เสื่อมทราม ก. เสื่อมในด้านความประพฤติ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต ฯ ๒๕๒๕ หน้า ๘๒๕

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างใกล้ๆ ถูกลบหมด :b16: เพราะเช่นนั้น เพื่อให้เห็นภาพความอิจฉาริษยาชัด ใช้ตัวอย่างไกลๆ ถึงจะใช้ตัวอย่างใกล้ไกล แต่ตราบใดที่โลกใบนี้ยังมีมนุษย์อยู่ สังคมมนุษย์ก็ยังเป็นทำนองนี้อยู่ตราบนั้น



องคุลิมาล พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์ มารดาชื่อนางมันตานีพราหมณ์ เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี เพื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพันแล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้ จึงกลายไปเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณ ตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้ว ร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่อว่า องคุลิมาล (แปลว่า มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดกลับใจได้ ขอบวช ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร