วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 215 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2018, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์


[๖๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

[๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝน
ในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

:b12:
คนที่เป็นน้ำเต็มแก้วไม่ยอมรับว่าตนไม่รู้ใครจะช่วยอะไรได้ไหมคะ
ก็ทำได้แค่ชี้ทางบอกทางกวักมือเรียกอยู่ว่ามานี่มาฟังมาดูทางนี้
เร็วๆเห็นเงาแสงสว่างส่องลงมาแต่ต้องเดินตามมาทางนี้ก็มีแต่ว่า
ไม่เชื่อหรอกแผนที่บอกไปทางนี้ทางนั้นมันตัน555ประมาทไหม
:b13:
:b32: :b32:

:b1:
บุพการีสูงสุดคือพระพุทธเจ้า
ทุกคนต้องกราบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้ากราบแต่พระธรรม
ทรงยกพระธรรมวินัยขึ้นแทนศาสดา
ทำลายแม้สิ่งเดียวที่พระพุทธเจ้ากราบ
ทราบไหมคะมีอบายภูมิเป็นที่ไปคนไม่รู้ไม่เดือดร้อน
แต่ผู้รู้ผู้เข้าใจเห็นโทษภัยจะเกิดแก่ผู้ไม่รู้ค่ะผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์น๊า
https://youtu.be/Qv_XtoiSEm8
:b12:
:b4: :b4:


แล้วใยไปเชื่อแม่บริหารฯ อยู่เล่า :b32:

cool
พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักกิเลส
เมื่อรู้ทันกิเลสตนเองคือเข้าใจ
เป็นปัญญาแทรกตามหลังกิเลส
จนกว่าจะรู้ทั่วถึงกิเลสแทรกไม่ได้
จึงเป็นสติสัมปชัญญะกิจปัญญาเจตสิก
ที่มีกำลังเพิ่มมาจากการฟังถ้าไม่ฟังก็ไม่เกิด
วิบากกรรมดีที่ประกอบด้วยปัญญาไงคะคริคริคริ
อันว่านั่งหลับตานั้นคนอินเดียคนทั่วโลกเขาก็ทำไม่ใช่คำสอนตถาคตน๊า
:b32: :b32: :b32:

:b12:
ชาติหน้าถ้าไปเกิดเป็นจิ้งจกตุ๊กแกได้ยินแต่ไม่รู้น๊า
พระพุทธเจ้าบอกให้ฟังก่อนไม่ใช่ให้เชื่อไม่ใช่หรือคะ
เพราะกิเลสนั้นไม่ยอมฟังหรอกนะแต่คำจริงตามคำสอน
เป็นคำวาจาสัจจะตรงขณะตรงกับทุกคำไม่เปลี่ยนมีพร้อม
ใครไม่ฟังแปลว่าชาติที่ไม่ได้ฟังพระสัทธรรมชาตินั้นปัญญาไม่เพิ่มคร่า
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2018, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์


[๖๗๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน?
สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

[๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝน
ในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน หรือเห็นตนมีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน หรือเห็นตนมีสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขารเป็นตน หรือเห็นตนมีสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน หรือเห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

:b12:
คนที่เป็นน้ำเต็มแก้วไม่ยอมรับว่าตนไม่รู้ใครจะช่วยอะไรได้ไหมคะ
ก็ทำได้แค่ชี้ทางบอกทางกวักมือเรียกอยู่ว่ามานี่มาฟังมาดูทางนี้
เร็วๆเห็นเงาแสงสว่างส่องลงมาแต่ต้องเดินตามมาทางนี้ก็มีแต่ว่า
ไม่เชื่อหรอกแผนที่บอกไปทางนี้ทางนั้นมันตัน555ประมาทไหม
:b13:
:b32: :b32:

:b1:
บุพการีสูงสุดคือพระพุทธเจ้า
ทุกคนต้องกราบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้ากราบแต่พระธรรม
ทรงยกพระธรรมวินัยขึ้นแทนศาสดา
ทำลายแม้สิ่งเดียวที่พระพุทธเจ้ากราบ
ทราบไหมคะมีอบายภูมิเป็นที่ไปคนไม่รู้ไม่เดือดร้อน
แต่ผู้รู้ผู้เข้าใจเห็นโทษภัยจะเกิดแก่ผู้ไม่รู้ค่ะผู้ชี้โทษคือผู้ชี้ขุมทรัพย์น๊า
https://youtu.be/Qv_XtoiSEm8
:b12:
:b4: :b4:


แล้วใยไปเชื่อแม่บริหารฯ อยู่เล่า :b32:

cool
พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักกิเลส
เมื่อรู้ทันกิเลสตนเองคือเข้าใจ
เป็นปัญญาแทรกตามหลังกิเลส
จนกว่าจะรู้ทั่วถึงกิเลสแทรกไม่ได้
จึงเป็นสติสัมปชัญญะกิจปัญญาเจตสิก
ที่มีกำลังเพิ่มมาจากการฟังถ้าไม่ฟังก็ไม่เกิด
วิบากกรรมดีที่ประกอบด้วยปัญญาไงคะคริคริคริ
อันว่านั่งหลับตานั้นคนอินเดียคนทั่วโลกเขาก็ทำไม่ใช่คำสอนตถาคตน๊า
:b32: :b32: :b32:

:b12:
ชาติหน้าถ้าไปเกิดเป็นจิ้งจกตุ๊กแกได้ยินแต่ไม่รู้น๊า
พระพุทธเจ้าบอกให้ฟังก่อนไม่ใช่ให้เชื่อไม่ใช่หรือคะ
เพราะกิเลสนั้นไม่ยอมฟังหรอกนะแต่คำจริงตามคำสอน
เป็นคำวาจาสัจจะตรงขณะตรงกับทุกคำไม่เปลี่ยนมีพร้อม
ใครไม่ฟังแปลว่าชาติที่ไม่ได้ฟังพระสัทธรรมชาตินั้นปัญญาไม่เพิ่มคร่า
:b12:
:b32: :b32:



อ้าวไปคิดเรื่องอนาคต ปัจจุบันนี่ยังหลง ยิ่งกว่าหลงถ้ำอยู่เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2018, 20:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คำพระสอน..

อ้างคำพูด:
กายกับจิตอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้น จักต้องหาความพอดีให้เจอ อย่าให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน โดยอาศัยพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักตัดสิน ทำใจให้สบาย ให้ถือว่าทำทุกอย่างด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ถ้าผลสะท้อนกลับมาเป็นผลเสีย ก็ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม อย่าไปกังวลถึงความรู้สึกว่า ใครเขาจักรู้สึกเป็นอย่างไร อย่าแคร์ความรู้สึกของคนอื่นให้มากจนเกินไป โลกนี้ไม่เที่ยง โลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้เป็นอนัตตา สลายตัวไปในที่สุด

- จงอย่ายึดถือเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ให้พิจารณาให้เข้าถึงธรรม อย่าปล่อยจิตให้เป็นโรค แล้วจึงจักพ้นทุกข์ได้




:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2018, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สำนักนี้สอนมั่วชัดอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องบุญ :b24:

รูปภาพ


น่าจะเป็นตัวอย่างของการคิดเองแล้วก็คิดผิด...นะ

ส่วนที่พระองค์สอน...เป็นอย่างนี้..

อ้างคำพูด:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๒. ปุญญสูตร


[๒๐๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระ
ผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่ง
ความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เรา
รู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตน
เสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญ
เมตตาจิตตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่ เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ
เมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานแห่งพรหมที่ว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า
เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถ
เห็นอดีต อนาคตและปัจจุบันโดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ใน
วิมานพรหมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ๓๖ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่
เป็นขอบเขต เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วย
รัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวใยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมาก
อย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น
ดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะผลวิบาก
แห่งกรรม ๓ ประการของเรา คือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไป
ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติสงบ ๑
เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุ
เกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความ
เบียดเบียน เป็นสุข ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2018, 11:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การให้ทาน...มีหลากหลาย..พระองค์ก็ทรงแจกแจงในหลายๆกรณี...ดังพระสูตรนี้

อ้างคำพูด:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ทานสูตร


[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา
ใกล้จัมปานคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมืองจัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่าน
พระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าว
กะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี
พระภาค พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟัง
ธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาค ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาใน
สำนักพระผู้มีพระภาคแน่นอน อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว
ลุกจากที่นั่ง อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสก
ชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ข้างหนึ่ง ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล
และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
พึงมีหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแล
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี และทาน
เช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี ฯ

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทาน
เช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิต
ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้
เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่อง
ลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูกร
สารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทาน
เห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน มีจิต
ผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้
เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่
แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกรสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคน
ในโลกนี้ ไม่มีหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน
ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า
ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทาน
เห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มี
จิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไป
แล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทาน
นั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้น
กรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่
ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็
ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดา
มารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วย
คิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้
จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว
ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า
เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะ
ไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วย
คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี
วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี
วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ
ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี เขาสิ้นกรรม สิ้น
ฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา
จักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ
และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิด
ความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็น
ใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ฯ
ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อ
เราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็น
เครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์
ดูกรสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้
ทานเห็นปานนี้หรือ ฯ

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน
ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เรา
ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสีย
ประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้
หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ให้ทานด้วย
คิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี
วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช-
*ฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้
ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อมใส จะเกิดความปลื้มใจและ
โสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหม เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ
หมดความเป็นใหญ่แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูกร
สารีบุตร นี้แลเหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบาง
คนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

จบสูตรที่ ๙



:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 215 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร