วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกบ้างต่อบ้าง ว่ากันไป ดีกว่าอยู่เปล่าๆ :b16: จริงไม่จริงคุณโรส เถียงสิเถียง :b32:

ต่อ

ในพุทธพจน์ แสดงปฏิปทา ๔ ว่าด้วยแนวการปฏิบัติธรรมของบุคคล ที่แตกต่างกันไปเป็น ๔ ประเภท คือ
บางพวกปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
บางพวกปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
บางพวกปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
บางพวกปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงว่า ตัวการที่กำหนดให้รู้ช้าหรือเร็ว ก็คือ อินทรีย์ ๕ กล่าวคือ
ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนไป ก็รู้ช้า
ถ้าอินทรีย์ ๕ แก่กล้า ก็รู้ได้เร็ว * (ดู องฺ.จตุกฺก. 21/161-3/200-4)
แม้แต่การที่พระอนาคามีแตกต่างกันออกไปเป็นประเภทต่างๆ ก็เพราะอินทรีย์ ๕ เป็นตัวกำหนดด้วย * (องฺ.จตุกฺก. 21/169/209)



กว้างออกไปอีก ความพรั่งพร้อม และความหย่อนแห่งอินทรีย์ ๕ นี้แล เป็นเครื่องวัดความสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นต่างๆ ทั้งหมด กล่าวคือ
เพราะอินทรีย์ ๕ เต็มบริบูรณ์ ก็เป็นพระอรหันต์
ถ้าอินทรีย์ ๕ อ่อนกว่านั้น ก็เป็นพระอนาคามี
อ่อนกว่านั้น เป็นพระสกทาคามี
อ่อนกว่านั้น ก็เป็นพระโสดาบันประเภทธัมมานุสารี
อ่อนกว่านั้นอีก ก็เป็นพระโสดาบันประเภทสัทธานุสารี ดังนี้เป็นต้น
ตลอดจนว่า ถ้าไม่มีอินทรีย์ ๕ เสียเลยโดยประการทั้งปวง ก็จัดเป็นพวกปุถุชนคนนอก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำสรุปว่า ความแตกต่างแห่งอินทรีย์ ๕ ทำให้มีความแตกต่างแห่งผล

ความแตกต่างแห่งผล ทำให้มีความแตกต่างแห่งบุคคล หรือว่า อินทรีย์ต่างกัน ทำให้ผลต่างกัน ผลต่างกัน ทำให้บุคคลต่างกัน * (สํ.ม.19/876-900/265-271 ฯลฯ)


คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม ที่อินทรีย์ ๕ จะกำจัด เป็นคู่ๆ จะยกมากล่าวไว้ พร้อมทั้งหน้าที่ หรือกิจของอินทรีย์เหล่านั้น * (ขุ.ปฏิ.31/425/302; 452/332)


๑. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่งหรือปลงใจให้ กำจัดอกุศล คือ ความไม่เชื่อถือ

๒. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศล คือ ความเกียจคร้าน

๓. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศล คือ ความประมาท

๔. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศล คือ อุทธัจจะ

๕. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คือ อวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นไหมอ่ะ โยคีบุคคลเพียงคุมจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำ อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำให้ขณะนั้นๆ โดยมิต้องอยากมีอยากเป็นอะไร แล้วธรรมะมันจัดสรรค์ให้เอง แบบนี้เรียกธรรมะจัดสรรค์ได้ :b32:

หรือคุณโรสจะเถียง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2018, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวถึงความสำคัญของการปรับอินทรีย์ทั้งหลายให้เสมอกัน โดยย้ำว่า
ถ้าอินทรีย์อย่างหนึ่งอย่างใดแรงกล้าเกินไป และอินทรีย์อื่นอ่อนอยู่ อินทรีย์เหล่านั้น ก็จะเสียความสามารถในการทำหน้าที่ของตน
เช่น
ศรัทธาแรงไป วิริยะก็ทำหน้าที่ยกจิตไม่ได้ สติก็ไม่สามารถดูแลจิต สมาธิก็ไม่สามารถทำจิตให้แน่ว ปัญญาก็ไม่สามารถเห็นตามจริง ต้องลดศรัทธาเสีย ด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะแห่งธรรม หรือมนสิการในทางที่ไม่เป็นการเพิ่มกำลังให้แก่ศรัทธา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามหลักทั่วไป ท่านให้ปรับอินทรีย์เสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ให้ศรัทธาสมหรือเสมอ กับ ปัญญา และให้สมาธิสมหรือเสมอ กับ วิริยะ

@ ถ้าศรัทธากล้า ปัญญาอ่อน ก็อาจเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่น่าเลื่อมใส ถ้าปัญญากล้า ศรัทธาอ่อน ก็จะเอียงไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคเกิดจากยาเสียเอง

@ ถ้าสมาธิกล้า วิริยะอ่อน โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้านก็เข้าครองงำ เพราะสมาธิเข้าพวกได้กับโกสัชชะ แต่ถ้าวิริยะแรง สมาธิอ่อน ก็เกิดความฟุ้งซ่าน เป็นอุทธัจจะ เพราะวิริยะเข้าพวกกันได้กับอุทธัจจะ

เมื่ออินทรีย์ ๒ คู่นี้เสมอกันดี การปฏิบัติธรรมก็เดินหน้า ได้ผลดี หลักนี้ท่านให้นำมาใช้กับการเจริญสมาธิด้วย

อย่างไรก็ตาม ท่านว่า ถ้าเจริญแต่สมาธิอย่างเดียวล้วน คือบำเพ็ญสมถะ ถึงศรัทธาจะแรงกล้า ก็ได้ผลเกิดอัปปนาสมาธิได้ หรือสมาธิแก่กล้า ก็เหมาะแก่การเจริญสมาธิอยู่ดี ตรงข้ามกับในการเจริญวิปัสสนา ถึงปัญญาจะแรงไป ก็ไม่เป็นไร เพราะกลับจะเกิดความรู้แจ้งดีด้วยซ้ำ นี้เป็นกรณีพิเศษ

แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักทั่วไป คือให้อินทรีย์ ๒ คู่เท่าเสมอกัน ก็ได้ผลดี เช่น ให้เกิดอัปปมาสมาธิได้อยู่นั่นเอง

ส่วนสติเป็นข้อยกเว้น ท่านว่า ยิ่งสติมีกำลัง ก็ยิ่งดี มีแต่จะช่วยองค์ธรรมข้ออื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยรักษาจิตไม่ให้ตกไป ทั้งข้างอุทธัจจะ และข้างโกสัชชะ การยกจิต ข่มจิต ต้องอาศัยสติทั้งนั้น ทั้งนี้ ท่านอ้างพุทธพจน์ว่า สติมีประโยชน์ ต้องใช้ในทุกที่ทุกกรณี * (สํ.ม.19/572/185) และสติเป็นที่พึ่งที่อาศัยของใจ * (สํ.ม.19/969/289)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามจาก พท. จขกท. เดินจงกรม 2 ชม. นั่งกำหนดอารมณ์ 2 ชม. เจอแต่ขาชา แล้วก็หายไป (นี่มันเป็นไตรลักษณ์) แต่น่าจะตามหาทุกขเวทนาแบบสุดๆ :b1: และเมื่อเจอกะทุกขเวทนาแบบที่คิดแล้ว จะได้เจอะกับไตรลักษณ์ที่ต้องการ

รูปภาพ


อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิไม่มีเวทนา ต้องเพิ่มเวลาไหมคะ

ตอนนี้เดิน 2 ชม นั่ง 2 ชม ไม่มีเวทนา นอกจากขาชา แต่ก็ทนได้แล้วหายไป เราควรเพิ่มเวลาเพื่อให้เจอกะเวทนา เพื่อกำหนดไตรลักษณ์ ไหมเจ้าคะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเป็นญาณไหนก็ตามถ้าไม่เริ่มที่สัจญาณไม่มีทางเกิดปัญญา
เพราะสัจญาณคือปริยัติรอบรู้ในคำทุกคำทีละ1คำตรงความจริง
ที่กำลังมีตรงที่กายใจตนกำลังปรากฏว่ามีเท่านั้นไม่ใช่แค่คิดจำคำ
ปัญญาคือญาณคือวิปัสสนาคือสัมมาทิฏฐิเกิดเมื่อเริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
จะเป็นญาณไหนก็ตามถ้าไม่เริ่มที่สัจญาณไม่มีทางเกิดปัญญา
เพราะสัจญาณคือปริยัติรอบรู้ในคำทุกคำทีละ1คำตรงความจริง
ที่กำลังมีตรงที่กายใจตนกำลังปรากฏว่ามีเท่านั้นไม่ใช่แค่คิดจำคำ
ปัญญาคือญาณคือวิปัสสนาคือสัมมาทิฏฐิเกิดเมื่อเริ่มต้นฟังพระพุทธพจน์



ฟังพุทธพจน์ที่ไหน นั่นฟังบริหารสุวรรณเขตหลอก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปจะลง ญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ) ที่เคยได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ อันที่จริงท่านก็จัดครอบทั้งวิปัสสนาญาณ ๙ วิสุทธิ ๗ ไตรสิกขา ไว้ด้วยกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตัดชื่อคัมภีร์ที่ท่านอ้างอิงออก)

เบื้องแรก พึงเข้าใจความหมายของศัพท์สำคัญก่อน

วิสุทธิ แปลว่า ความหมดจด คือ ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นเป็นขั้นๆ หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน จำแนกเป็น ๗ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน หรือรอบด้าน แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นตามสภาวะ ของมัน เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่มีลักษณะกำหนดได้ หมายรู้ ดังนี้ เป็นต้น (= รู้ว่าคืออะไร)

๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ รู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ ได้แก่ รู้ถึงการที่สิ่งนั้น ๆ เป็นตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาและสัญญานั้น ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น (= รู้ว่า เป็นอย่างไร)

๓) ปหานปริญญา กำหนด รู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดถือ เป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆได้ ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้นๆ ได้ (= รู้ว่าจะทำอย่างไร)

วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณ หรือ ปัญญาในวิปัสสนา หรือ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือ ญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส และกองทุกข์ได้ แบ่งเป็น ๙ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป คือ สรุปสาระสำคัญของวิสุทธิมัคค์ทั้งหมด

ก. ระดับศีล (อธิสิลสิกขา)

๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลตามภูมิชั้นของตน คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอา ปาริสุทธิศีล ๔ คือ

๑) ปาฏิโมกข์สังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต รักษาวินัย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย

๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ ระวังไม่ให้อกุศลธรรมความชั่วครอบงำจิตใจในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖

๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ เลี้ยงชีวิตโดยทางชอบธรรม

๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ ได้แก่ การใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ไม่บริโภคด้วยตัณหา ปัจจยปฏิเสวนศีล ก็เรียก

นอกจากศีล ท่านแนะนำให้เลือกสมาทานคือถือธุดงค์ 13 บางข้อ ที่ทรงอนุญาตและเหมาะกับตน เพื่อส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ สงัด เพียร และเลี้ยงง่าย เป็นต้น เป็นการขูดเกลากิเลส อันจะช่วยให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี และช่วยให้บำเพ็ญข้อวัตรทั้งหลายได้สำเร็จพร้อม เป็นการเกื้อกูลแก่ภาวนาต่อไป

(อธิสีลสิกขา ท่านกล่าวเฉพาะภิกษุ แต่สำหรับคฤหัสถ์ก็มีศีลตามชั้นภูมิของตน)


ข. ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต จนเกิดสมาธิ พอเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง ๘ และแสดงวิธีเจริญสมาธิ จนถึงได้ผลพิเศษ คือ โลกิยอภิญญาทั้ง ๕

(อธิจิตตสิกขา คือ สมาธิท่านพูดสุดเขตของสมาธิเลย แต่ภาคปฏิบัติสมาธิยืดหยุ่นได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

- ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

3. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า

๐) นามรูปปริจเฉทญาณ (1) หรือเรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อเห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือ การเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตัวเลขในวงเล็บ เริ่มนับโสฬสญาณแล้ว)

- ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ

4. กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม หรือ
ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรมและรูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยกัน อันเป็นความรู้ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต และปัจจุบัน ความรู้นี้ เป็นญาณขั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่า

๐) นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง


ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบันน้อย เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

- ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)

5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรม และนามธรรมทั้งหลายขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามลำดับ และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท 12 และอะไรก็ได้ทุกๆอย่าง ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5 นั่นเอง) จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เรียกว่า เกิดเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ

ในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการ ขึ้นมา ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึด เอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่าเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป
แต่ถ้ามีสติ สัมปชัญญะ แก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง พ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง หรือมรรคาแท้จริง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป
เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.

ในวิสุทธิข้อนี้ มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ

การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาโดยนัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น ว่า รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม ฯลฯ ล้วนไม่เที่ยงดังนี้ เป็นต้น)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง เรียกว่า

๐) สัมมสนญาณ (3) แปลว่า ญาณที่พิจารณา หรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)

เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไป จนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมสลายไปของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป
มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า ตรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ

ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้ กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2018, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้

6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8 กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ
แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือสุดวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้

1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4) ญาณหรือปัญญา อันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร
หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้


2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5) ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด


3. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ (6) ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น


4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7) ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็น ของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์


5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8) ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ


6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกัน 9) ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น


7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10) ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอา สังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป


8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกัน 11) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึง วางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย
ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร


9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (12) ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป
เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (13) (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร