วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อแตกต่างกันอยู่มากค่ะ
สำหรับองค์ธรรมของฉฬังคุเบกขาญาณ ทั้ง6 ในมหากริยาจิตของพระอรหันต์
กับองค์ธรรมทั้ง 6 ที่เป็นกริยาจิต ของคนทั่วไปและพระอริยะระดับต่างๆ

ถ้าสำหรับกริยาจิต นั้น
การยึดมั่นถือมั่นในธรรมคำสอนทั้งปวงยังต้องมีอยู่ มีบ้างและไม่มีบ้าง ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
และยังจะต้องใช้ธรรมต่างๆเพื่อประหัตประหารกิเลสและความไม่รู้ต่อไป
แต่ในมหากริยาจิตนั้นมีธรรมอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์ มีความแจ่มชัด ไม่ได้ต้องใช้ธรรมเหล่าใดเข้าไปประหารเพราะไม่เกิดกริยาจิตตามมา อาจแปลกันว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นแต่ความหมายที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นคนละเรืองกัน


บทนี้อาจทำให้เข้าใจง่ายได้ขึ้นค่ะ

เพราะไม่ต้องใช้ธรรมอันใด ที่จะเข้าไปประหารความไม่รู้ด้วยกริยาจิตและสังขารจิต

หนูจะเทียบให้เห็นง่ายขึ้นว่า
ระยะเวลาตั้งแต่ทีท่านพาหิยะกระโดดจากยอดไม้ลงมาถึงหน้าพระพักต์พระพุทธเจ้า
ก้าวแรกที่ออกจากปลายไม้คือมหากริยา และระหว่างตีลังกาลอยลงมานั้นคือสังขารกริยาที่ตามออกมา

ลองศึกษาในวิถีจิตบทนี้ด้วย จะเข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้น
แล้วจะทำไปสู่สิ่งนั้นได้ค่ะ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็น
สักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร
พาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อ
ทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มี-
*พระภาค ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วย
พระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นทุกแง่ทุกมุม


กริยา 1. การกระทำ หมายถึงการกระทำใดๆ ที่กล่าวถึงอย่างกว้างๆ หรืออย่างกลางๆ ถ้าเป็น “กิริยาพิเศษ” คือ เป็นการกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ก่อให้เกิดวิบาก ก็เรียกว่า กรรม, การกระทำซึ่งเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่ก่อวิบาก เช่น การกระทำของพระอรหันต์ ไม่เรียกว่า กรรม แต่เป็นเพียงกิริยา (พูดให้สั้นว่า เจตนาที่ก่อวิบาก เป็นกรรม เจตนาที่ไม่ก่อวิบาก ถ้าไม่ใช่เป็นวิบาก ก็เป็นกิริยา) 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงอาการแสดงออกทางกายในเชิงมารยาท บางทีใช้ควบคู่กันว่า กิริยามารยาท 3. ในทางไวยากรณ์ ได้แก่ คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนามหรือสรรพนาม, ในไวยากรณ์ไทย บางทีกำหนดให้ใช้รูปสันสกฤตว่า กริยา แต่ในบาลีไวยากรณ์โดยทั่วไป ใช้รูปบาลี คือ กิริยา

กรรม การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม
แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) ว่าโดยสาระ กรรมก็คือเจตนา หรือ เจตนานั่นเองเป็นกรรม, การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว กรรมชั่ว

กรรม 2. กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒ คือ

๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล
๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม 3 กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ

๑. กายกรรม การกระทำทางกาย
๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา
๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2018, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมไม่ได้มีแค่สาม แต่พระพุทธองค์ท่านจัดไปถึงสี่ค่ะ

1 กรรมดำมีวิบากดำ
2 กรรมขาวมีวิบากขาว
3 กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว
4 กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิชชา ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ


อวิชชา ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือ ความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์) อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕ ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง


ตัณหา ความทะยานอยาก, ความร่านรน, ความปรารถนา, ความอยากเสพ, อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว, ความเสน่หา, มี ๓ คือ
๑. กามตัณหา - ความทะยานอยากให้กาม อยากได้อารมณ์อันน่าใคร่
๒. ภวตัณหา - ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
๓. วิภวตัณหา - ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย,


วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
๑.ตทังควิมุตติ - พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
๒.วิกขัมภนวิมุตติ - พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้
๓. สมุจเฉทวิมุตติ - พ้นด้วยเด็ดขาด
๔.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ - พ้นด้วยสงบ
๕. นิสสรณวิมุตติ - พ้นด้วยออกไป

2 . อย่างแรก เป็นโลกียวิมุตติ ๓ อย่างหลัง เป็น โลกุตตรวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตทังคนิพพาน "นิพพานด้วยองค์นั้น" นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ, นิพพานเฉพาะกรณี

ตทังคปหาน "การละด้วยองค์ธรรม" การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆว่า "การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ" เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่า การละกิเลสได้ชั่วคราว)

ตตังควิมุตติ "พ้นด้วยองค์นั้นๆ" หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกียวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตัมมยตา "ภาวะที่ไม่เนื่องด้วยสิ่งนั้น" "ความไม่เกาะเกี่ยวกับมัน" ความเป็นอิสระ ไม่ติดไม่ข้องไม่ค้างใจกับสิ่งใดๆ ไม่มีอะไรยึดถือผูกพันที่จะได้จะมีจะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ ความปลอดพ้นจากตัณหา (รวมทั้งมานะและทิฏฐิที่เนื่องกันอยู่) ภาวะไร้ตัณหา, อตัมมยตา (รวมทั้ง อตัมมโย หรือ อตัมมัย ที่เป็นคุณศัพท์) พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ในพระสูตร ๔ สูตร และมาในคำอธิบายของพระสารีบุตรในคัมภีร์มหานิทเทสอีก ๑ แห่ง

พระพุทธพจน์และคำอธิบายดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ศึกษา เข้าใจความประณีตแห่งธรรมที่ปัญญาอันรู้จำแนกแยกแยะจะมองเห็นความยิ่งความหย่อน และความเหมาะควรพอดี ถูกผิดขั้นตอนหรือไม่ เป็นต้น

ในการปฏิบัติ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อการปฏิบัติของตน เช่น ท่านกล่าวว่า (ขุ.ม.29/338/228) สำหรับอกุศลธรรม เราควรสลัดละ แต่สำหรับกุศลธรรมทั้งสามภูมิ เราควรมีอตัมมยตา (ความไม่ยึดติด)

ในสัปปุริสสูตร (ม.อุ.14/191/141) พระพุทธเจ้าแสดงสัปปุริสธรรม และอสัปปุริสธรรม ให้เห็นความแตกต่างระหว่างอสัตบุรุษ กับ สัตบุรุษว่า อสัตบุรุษถือเอาคุณสมบัติ การปฏิบัติ หรือความก้าวหน้าความสำเร็จในการปฏิบัติของตน เช่น ความมีชาติตระกูลสูง ลาภ ยศ ความเป็นพหูสูต ความเป็นธรรมกถึก การถือธุดงควัตร มีการอยู่ป่าอยู่โคนไม้ เป็นต้น จนถึงการได้ฌานสมาบัติ มาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น ส่วนสัตบุรุษ จะมีดีหรือก้าวสูงไปได้สูงเท่าใด ก็ไม่ถือเป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่นเช่นนั้น

ในเรื่องนี้ มีข้อพึงสังเกตที่สำคัญคือ ในระดับแห่งคุณสมบัติ และการถือปฏิบัติทั่วไป สัตบุรุษ "กระทำปฏิปทาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นหลัก หรือเอาการปฏิบัติที่ถูกต้องมาตั้งเป็นหลักไว้ในใจ) จึงไม่เอาคุณสมบัติใดๆ มาเป็นเหตุให้ยกตน-ข่มผู้อื่น

ส่วนในความสำเร็จในขั้นฌานสมาบัติ สัตบุรุษ "กระทำอตัมมยตาไว้ภายใน" (ใจอยู่กับอตัมมยตาที่ตระหนักรู้อยู่) จึงไม่ถือการได้ฌานสมาบัติมาเป็นเหตุยกตน-ข่มผู้อื่น (เหนือขั้นฌานสมาบัติขึ้นไป เป็นขั้นถึงความสิ้นอาสวะ ซึ่งเป็นสัตบุรุษอย่างเดียว ไม่มีอสัตบุรุษ จึงไม่มีความสำคัญมั่นหมายอะไรที่จะเป็นเหตุให้ยกตนข่มใครอีกต่อไป)


ในอตัมมยสูตร (องฺ.ฉกฺก.22/375/493) ตรัสว่า อานิสงส์อย่างแรก (ใน ๖ อย่าง) ของการตั้งอนัตตสัญญาอย่างไม่จำเพาะในธรรมทั้งปวง คือจะเป็นผู้อตัมมัยในโลก,
ในวิสุทธิมรรค กล่าวถึงอตัมมยตา ที่ตรัสในสฬายตนวิภังคสูตร ว่าเป็น วุฏฐานคามินีวิปัสสนา (ม.อุ.14/632/407 วิสุทธิ. 3/318)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2018, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลายแง่หลายมุม มีทั้งคำสอนชาวบ้านผู้ครองเรือน มีทั้งคำสอนเฉพาะภิกษุ ถ้าเปรียบก็เหมือนกับต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยกิ่งใบเปลือกกะพี้แก่นราก ... เป็นศาสนาแห่งปัญญา ถึงจะเริ่มให้ที่ศรัทธา แต่สุดท้ายต้องให้ถึงปัญญา ซึ่งต่างจากลัทธิศาสนาอื่นๆซึ่งเป็นศาสนาแห่งสัทธา ซึ่งมันเหมาะแก่จริตคนที่ต่างๆกัน ซึ่งเขาได้นำมามัดรวมกันไว้ที่ตัวสัทธาในพระผู้เป็นเจ้าเสียจะได้ไหลไปทิศทางเดียวกัน ศาสนิกของเขาจึงรวมตัวสามัคคีกันแน่นแล่นสู่จุดหมายเดียวกัน ถ้ามองในแง่นี้ ก็ต่างจากพุทธศาสนิกชน ซึ่งแล่นไปคนละทิศละทางไม่มีกำลังพอเหมือนน้ำท่อแตกแล้วรั่วออกตรงนั้นตรงนี้ ปลายสายน้ำจึงไม่แรง อีกทั้งไปติดยึดองค์ประกอบแห่งต้นไม้นั้นด้วยจึงต่างกลุ่มต่างคนแตกกันไปตุรัดตุเหร่ สังเกตดูดิ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร