วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 15:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 11:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แนบไฟล์:
004ศีลและสังโยชน์04.01.61.jpg
004ศีลและสังโยชน์04.01.61.jpg [ 133.66 KiB | เปิดดู 5095 ครั้ง ]


:b44: ศีลไม่ได้ทำให้คนเป็นอริยะบุคคล :b44:

การละสังโยชน์ต่างหากที่ทำให้คนเป็นอริยะบุคคลได้.. :b44:

คำนี้..มันทำให้ได้ทบทวนในใจตนว่า..

บางคนถือศีลแปดตลอดชีวิต ยังเป็นอริยะบุคคลไม่ได้

เพราะ ศีลเป็นพื้นฐานเท่านั้น

เป็นฐานที่มั่นคงเอื้อให้ในการเป็นอริยะ

แต่สิ่งที่จะทำให้เป็นอริยะบุคคลได้แท้ๆคือ..การละกิเลส ละสังโยชน์ในจิต :b8: :b44:
.
.
.
:b48: ในสมัยพุทธกาล มีฆราวาสหลายท่านที่เป็นอริยะ

ไม่ว่าจะเป็น โสดาบัน กสิทาคามี หรือ อนาคามี :b8:

ดั่งมีตัวอย่างให้เห็นในพระสูตรหลายๆเรื่อง :b53:
.
.
:b48: ฉะนั้น ศีลไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกใครๆว่า คนนั้นเป็นอริยะบุคคล

แต่ศีลเป็นพื้นฐานให้เกิดความเป็นอริยะต่างหาก

การยึดมั่นๆในศีล จนลืมละกิเลส ยึดจนแน่นโดยไม่รู้ตนว่า..

แท้จริงตนควรละกิเลสออกจากจิตให้หมดไป.. :b53:
.
.
เมื่อยึดศีลจนแน่น อัตตาก็มา..
.
.
..แตะฉันไม่ได้..
.
.
...ฉันรักษาศีล 8 ศีล10 รักษาศีล227 ข้อ..

มันจึงกลายเป็นสังโยชน์ข้อ ศีลัพพตปรามาสไป.. :b8: :b44:


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: ข้อความที่เขียนอธิบายมานี้ไม่เห็นด้วยทุกประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 13:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
:b38: ข้อความที่เขียนอธิบายมานี้ไม่เห็นด้วยทุกประการ



:b12: :b12: นานาจิตตังคะ..ทุกคนมีสิทธิ์เห็นต่าง.. :b8: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, ทั้ง ๓ นี้
เป็นองค์ของศีลและพร้อมทั้งเป็นองค์มรรคด้วย
เมื่อกล่าวว่าไม่มีคุณค่าแก่การทำลายสังโยชน์
ก็เป็นไปไม่ได้ การทำลายสังโยชน์ของโสดาปัตติมรรค
ย่อมต้องอาศัยมรรค ๘ เป็นมัคสมังคีย์

เหมือนการจะสร้างพระเจดีย์ย่อมต้องสร้างฐานให้มั่นคง
ยอดพระเจดีย์จึงจะมีขึ้นมาได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 15:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รักษาศีล ..ได้ดี...ให้ดีจริงๆ..เฮอะ....ก็เป็นอริยะบุคคลต้นต้นได้....ศีล..นี้ต้องเป็นศีลที่พระพุทธเจ้าบอกสอน..นะ...

ทำไม่นะหรือ?...

การจะรักษาศีล..ได้นี้...หากจะระงับแค่การแสดงออกทางกาย..ทางวาจา...อันเป็นการภายนอกอย่างเดียว...ไม่รอดหรอกครับ...ทำได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น...สักพักเด้วก็กดข่มไม่อยู่....คนที่รักษาศีลได้ต้องมีหลายๆองค์ประกอบ..แต่หากจะทำได้ตลอด..ต้องเป็นการรักษาที่จุดเริ่มต้นตอของการกระทำ...นั้นคือ...เจตนา...ศีลที่รักษาด็จะไม่เป็นสีลัพตปรามาสแล้วละครับ

การจะหันมารักษาศีลที่พระพุทธเจ้าสอนสั่งได้....ก็ต้องเชื่อก่อนละว่า..พระพุทธเจ้าดีจริง...พระธรรมที่พระองค์ก็ต้องดีจริงๆตามไปด้วย...แล้วสงฆ์สาวกของพระองค์ที่ปฏิบัติตามพระองค์ก็ต้องดีตามพระองค์ได้เช่นกัน... เท่ากับว่า...ละวิจิกิจฉาลงไปได้

คนที่จะรักษาศีลได้จริงนี้..หากไม่มีปัญญาประกอบ...ทำไม่ได้แน่...ดังนั้นการจะเห็นด้วยปัญญาว่า...ทุกๆสิ่งที่เกิด..จะต้องแตกสลายตายไปอย่างแน่นอน...นั้นง่ายนิดเดียว...

ดังนั้น..คนรักษาศีลได้จริง....เป็นอริยะบุคคลได้ง่ายๆ..

มุมมองที่คุณสายน้ำเมย..ว่ามา...เป็นการขาดมุมมองที่ลึกซึ่งของศีล..ไปครับ..


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 16:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, ทั้ง ๓ นี้
เป็นองค์ของศีลและพร้อมทั้งเป็นองค์มรรคด้วย


:b8: :b12: ...ในสัมมาวาจา สัมมากัมมตะ สัมมาอาชีวะ และศีล นั้น

อาจศีลเป็นสัมมามรรคในทางโลกได้ แต่อาจไม่ถูกทางที่จะเดินไปในอริยมรรค :b8: :b53:

อ้างคำพูด:
เมื่อกล่าวว่าไม่มีคุณค่าแก่การทำลายสังโยชน์
ก็เป็นไปไม่ได้ การทำลายสังโยชน์ของโสดาปัตติมรรค
ย่อมต้องอาศัยมรรค ๘ เป็นมัคสมังคีย์


:b48: สามารถเป็นโสดาปัตติมรรคได้คะ

แต่ไม่สามารถถึงโสดาปัตติผล :b8: :b12:

ถ้าไม่สามารถละสังโยชน์สามได้ :b53:
.
.
แม้จะเดินสัมมามรรค นานแค่ไหน..

แต่เป้าหมายการเดินมรรคไม่เป็นอริยมรรค

ที่มุ่งไปเพื่อละสังโยชน์ในจิตโดยตรง :b8:

มันก็ไม่สามารถละกิเลสออกจากจิตได้เลยคะ :b8: :b53:
.
.
:b48: ศีลจึงเป็นพื็นฐานให้สมาธิ สมาธิเป็นพื้นฐานให้ปัญญา

เพื่อใชัปัญญาในการพิจารณาเพื่อตัดสังโยชน์ในจิตตน :b8: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 16:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
รักษาศีล ..ได้ดี...ให้ดีจริงๆ..เฮอะ....ก็เป็นอริยะบุคคลต้นต้นได้....ศีล..นี้ต้องเป็นศีลที่พระพุทธเจ้าบอกสอน..นะ...

ทำไม่นะหรือ?...

การจะรักษาศีล..ได้นี้...หากจะระงับแค่การแสดงออกทางกาย..ทางวาจา...อันเป็นการภายนอกอย่างเดียว...ไม่รอดหรอกครับ...ทำได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น...สักพักเด้วก็กดข่มไม่อยู่....คนที่รักษาศีลได้ต้องมีหลายๆองค์ประกอบ..แต่หากจะทำได้ตลอด..ต้องเป็นการรักษาที่จุดเริ่มต้นตอของการกระทำ...นั้นคือ...เจตนา...ศีลที่รักษาด็จะไม่เป็นสีลัพตปรามาสแล้วละครับ

การจะหันมารักษาศีลที่พระพุทธเจ้าสอนสั่งได้....ก็ต้องเชื่อก่อนละว่า..พระพุทธเจ้าดีจริง...พระธรรมที่พระองค์ก็ต้องดีจริงๆตามไปด้วย...แล้วสงฆ์สาวกของพระองค์ที่ปฏิบัติตามพระองค์ก็ต้องดีตามพระองค์ได้เช่นกัน... เท่ากับว่า...ละวิจิกิจฉาลงไปได้

คนที่จะรักษาศีลได้จริงนี้..หากไม่มีปัญญาประกอบ...ทำไม่ได้แน่...ดังนั้นการจะเห็นด้วยปัญญาว่า...ทุกๆสิ่งที่เกิด..จะต้องแตกสลายตายไปอย่างแน่นอน...นั้นง่ายนิดเดียว...

ดังนั้น..คนรักษาศีลได้จริง....เป็นอริยะบุคคลได้ง่ายๆ..

มุมมองที่คุณสายน้ำเมย..ว่ามา...เป็นการขาดมุมมองที่ลึกซึ่งของศีล..ไปครับ..


:b8: ขอบคุณนะคะ :b53:

ในส่วนตัวนะคะ ศีลไม่ยากเลย สำหรับตน :b8:

เพียงตั้งจิตว่าจะรักษาศีลห้าสำหรับฆราวาสให้ผ่อง ก็แค่นั้นเอง :b53:

ที่เหลือ ปฎิบัตตนตามกรรมฐาน เพื่อมุ่งละสังโยชน์สาม :b8: :b53:

จึงเห็นศีลเป็นเครื่องมือในการไปช่วยให้ละสังโยชน์ได้ง่ายขึ้นแค่นั้นนะคะ :b12: :b53:
.
.
.
:b48: :b48: ..สิ่งใดที่เราคิดว่ายาก...มันก็ยากที่จะทำ.. :b48: :b48:

:b48: :b48: ..สิ่งใดคิดว่าง่ายเราทำได้...มันก็ง่ายที่จะทำเสมอ :b48: :b48:

:b8: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สามารถเป็นโสดาปัตติมรรคได้คะ

แต่ไม่สามารถถึงโสดาปัตติผล :b8: :b12:



ตรงนี้ไปเอาความรู้มาจากไหน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 18:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
สามารถเป็นโสดาปัตติมรรคได้คะ

แต่ไม่สามารถถึงโสดาปัตติผล :b8: :b12:



ตรงนี้ไปเอาความรู้มาจากไหน


:b12: :b12: คุณลุงหมานก๊อปตกไปบันทัดนึงคะ
ความหมายของประโยค จึงเพี้ยนไป :b12: :b12:
เมยก๊อปมาให้ไหม่นะคะ คุณลุง :b12: :b53:

อ้างคำพูด:
สามารถเป็นโสดาปัตติมรรคได้คะ

แต่ไม่สามารถถึงโสดาปัตติผล ถ้าไม่สามารถละสังโยชน์สามได้


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสายน้ำเมย..อาจจะคิดว่า..ศีลเป็นฐานไปละสังโยชน์...

สายน้ำเมย เขียน:
ในส่วนตัวนะคะ ศีลไม่ยากเลย สำหรับตน :b8:

เพียงตั้งจิตว่าจะรักษาศีลห้าสำหรับฆราวาสให้ผ่อง ก็แค่นั้นเอง :b53:

ที่เหลือ ปฎิบัตตนตามกรรมฐาน เพื่อมุ่งละสังโยชน์สาม :b8: :b53:

จึงเห็นศีลเป็นเครื่องมือในการไปช่วยให้ละสังโยชน์ได้ง่ายขึ้นแค่นั้นนะคะ :b12: :b53:

:b8: :b53:


แต่กระผมกลับมองเห็นว่า..ตัวศีลกับการละสังโยชน์..เป็นเรื่องเดียวกัน...

โดยเฉพาะเหล่าบรรดาพุทธจริต..ซึ่งส่วนใหญ่จะหัวดื้อ...เจ้าปัญญาดี...มักจะเห็นสักกายทิฏฐิหยาบได้ง่ายเพราะใช้ปัญญา..แต่จะมีปัญหากับ..วิจิกิจฉาสังโยชน์..กับ..สีลลัพตปรามาสสังโยชน์...คือการรักษาศีล..นั้นแหละ...บางคนผิดศีลบางข้อเป็นปกติเพราะไม่เห็นว่าจะเกี่ยวกับความเป็นคนดีอะไร..ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนซะหน่อย...พอจะมารักษาศีลเลยเป็นเรื่องลำบาก..หากพวกนี้รักษาศีลได้..ก็เป็นโสดาบันได้ง่ายๆเลย

ซึ่งจะต่างจากเหล่าบรรดาศรัทธาจริต...ซึ่งเขาจะรักษาศีลได้ง่าย...ไม่ค่อยจะมีจิตคิดสงสัยในพระรัตนตรัย..แต่จะให้มองให้เห็นว่า..ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา..เราไม่มีในร่างกายนี้...กลับเป็นเรื่องยาก

จุดไหนเป็นปัณหา..จุดนั้นเป็นกุญแจของคนคนนั้น..

แต่ไม่ว่าจริตแบบไหน...ศีลกับการละสังโยชน์...ก็เป็นเรื่องเดียวกัน..นะครับ..นี้พูดถึงกรณีที่คนคนนั้นตั้งใจปฏิบัตินะ...


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... 4%CA%D2%C3

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



[๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีล
วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี
อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิ
วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัด
เสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี
สัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะชื่อว่า
มีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ
ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะ
ของต้นไม้นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อความปราโมทย์มีอยู่ ปีติของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความปราโมทย์ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิ
มีอยู่ สุขของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
สุขมีอยู่ สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามีอยู่
วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะ
มีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุ
สมบูรณ์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะ
ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์
ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติ-
*ญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๓



..ปราโมทย์..ปีติ..ปัสสัทธิ..สุข..ยถาภูตญาณทัสนะ...นิพพิทา...ฯ

หากนักปฏิบัติที่พอจะมีประสบการณ์บ้าง..ก็พอจะทราบได้ว่า..มันเกิดพร้อมๆกัน..ไล่เรียงกันไป ณ..ตรงนั้น

จากพระสูตร..ที่นำมาอ้างอิงข้างต้น..ว่าด้วยคุณของศีล...ศีลก็ต้องมีในขณะนั้น..มิได้แยกไปว่า..ต้องเป็นศีลของวันวาน..หรือศีลของเดือนก่อน..มาเป็นฐานแต่อย่างใด...แต่เป็นศีลในขณะนั้นนั้น..นั่นเอง


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=24&A=7604&w=%CD%C7%D4%BB%AF%D4%CA%D2%C3

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



[๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีล
วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี
อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิ
วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัด
เสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี
สัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุ
อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะชื่อว่า
มีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ
ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะ
ของต้นไม้นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อความปราโมทย์มีอยู่ ปีติของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความปราโมทย์ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมีอยู่
ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิ
มีอยู่ สุขของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
สุขมีอยู่ สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาของบุคคลผู้
สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามีอยู่
วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะ
มีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุ
สมบูรณ์ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะ
ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์
ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของ
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติ-
*ญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๓



..ปราโมทย์..ปีติ..ปัสสัทธิ..สุข..ยถาภูตญาณทัสนะ...นิพพิทา...ฯ

หากนักปฏิบัติที่พอจะมีประสบการณ์บ้าง..ก็พอจะทราบได้ว่า..มันเกิดพร้อมๆกัน..ไล่เรียงกันไป ณ..ตรงนั้น

จากพระสูตร..ที่นำมาอ้างอิงข้างต้น..ว่าด้วยคุณของศีล...ศีลก็ต้องมีในขณะนั้น..มิได้แยกไปว่า..ต้องเป็นศีลของวันวาน..หรือศีลของเดือนก่อน..มาเป็นฐานแต่อย่างใด...แต่เป็นศีลในขณะนั้นนั้น..นั่นเอง



ศีลเพื่อสมาธิ <==> สมาธิเพื่อปัญญา <==> ปัญญาเพื่อวิมุตติ ต่างก็อาศัยกันและกัน

ก็ตามไตรสิกขานั่นแหละ ศีล สมาธิ ปัญญา (ศีล สมถะ วิปัสสนา)

จะเอาแค่ตัวใดตัวหนึ่งหาถึงเป้าหมายไม่ ท่านเปรียบเหมือนรถ ๗ พลัด

นั่งถือศึลอย่างเดียว ก็ไม่ถึงจุดหมาย ถ้าไม่ได้ฝึกสมาธิ มีแต่สมาธิอย่างเดียวก็ไม่ถึงจุดหมาย ถ้าขาดปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ม.ค. 2018, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2018, 00:09
โพสต์: 203

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่กระผมกลับมองเห็นว่า..ตัวศีลกับการละสังโยชน์..เป็นเรื่องเดียวกัน.


ไม่ขัดแย้งคะ :b53:

ที่คุยอยู่นี่ เป็นการคุยกันเน้นตัวอักษรมากไป..จึงลืมดูเนื้อความของเนื้อหาทั้งหมด :b53:

ศีลเป็นฐานไปละสังโยชน์..มันไม่เป็นเรื่องเดียวกันตรงไหนคะ?

เพียงแต่ในเรื่องเดียวกัน จะมีศีลเป็นพื้นฐานเสมอ...

เพื่อมุ่งไปละสังโยชน์ในตอนปลาย(ของเรื่องเดียสกัน)

การให้ความสำคัญในอักษรมากไป..จนลืมสาระ..ของเรื่องที่แท้จริง :b53:

จึงมีความเห็นมากมายไม่รู้จบ..

(รู้ละเอียด รู้เยอะ รู้มาก..แล้วเอาตัวให้รอดจากวัฎฎะได้ยัง?..นี่คือสาระ)

นอกเหนือนั้น..ไม่มีสิ่งใดเป็นสาระ...

หาความสำคัญของการปฎิบัติธรรมให้เจอ..ว่าเราทำมาทั้งหมดเนี้ยะ..เพื่ออะไร?

ได้คำตอบแล้วมุ่งไปทางนั้น

พระสัมมาท่านพูด สอนธรรมตลอดเวลา เพื่อกวาดเหล่าสัตว์

ให้พ้นวัฎฎะเป็นจุดมุ่งหมายหลัก

ย้อนกลับมาถามตนเองนะ ถามตนเองว่า...ที่วันๆเราทำกันอยุ่...เพื่ออะไร

เพื่ออรรถ ที่ล้ำลึกแตกฉาน หรือเพื่อผันนำมันไปใช้จริง

ถ้าเพื่อผันมันไปใช้จริง....มันต้องแบกบัญญัตไว้มากมายขนาดนี้เลยหรือ?

สิ่งที่เราๆเดินอยู่ ไม่ได้มุ่งเข้าละสังโยชน์กันหรอกหรือ?

แล้วเราจะเพียรสะสมบารมีสิบ ไปเพื่ออะไร

พูดกันมากมาย มีเหตุผลมาขัดแย้งกันเยอะ

เวลาทำจริง..มันไม่ได้ใช้คำพูดพวกนี้เลย

แล้วอะไรคือสาระ..


โพสต์ เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 19:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สายน้ำเมย เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่กระผมกลับมองเห็นว่า..ตัวศีลกับการละสังโยชน์..เป็นเรื่องเดียวกัน.


ไม่ขัดแย้งคะ :b53:

ที่คุยอยู่นี่ เป็นการคุยกันเน้นตัวอักษรมากไป..จึงลืมดูเนื้อความของเนื้อหาทั้งหมด :b53:

ศีลเป็นฐานไปละสังโยชน์..มันไม่เป็นเรื่องเดียวกันตรงไหนคะ?

เพียงแต่ในเรื่องเดียวกัน จะมีศีลเป็นพื้นฐานเสมอ...

เพื่อมุ่งไปละสังโยชน์ในตอนปลาย(ของเรื่องเดียสกัน)

การให้ความสำคัญในอักษรมากไป..จนลืมสาระ..ของเรื่องที่แท้จริง :b53:

จึงมีความเห็นมากมายไม่รู้จบ..

(รู้ละเอียด รู้เยอะ รู้มาก..แล้วเอาตัวให้รอดจากวัฎฎะได้ยัง?..นี่คือสาระ)

นอกเหนือนั้น..ไม่มีสิ่งใดเป็นสาระ...

หาความสำคัญของการปฎิบัติธรรมให้เจอ..ว่าเราทำมาทั้งหมดเนี้ยะ..เพื่ออะไร?

ได้คำตอบแล้วมุ่งไปทางนั้น

พระสัมมาท่านพูด สอนธรรมตลอดเวลา เพื่อกวาดเหล่าสัตว์

ให้พ้นวัฎฎะเป็นจุดมุ่งหมายหลัก

ย้อนกลับมาถามตนเองนะ ถามตนเองว่า...ที่วันๆเราทำกันอยุ่...เพื่ออะไร

เพื่ออรรถ ที่ล้ำลึกแตกฉาน หรือเพื่อผันนำมันไปใช้จริง

ถ้าเพื่อผันมันไปใช้จริง....มันต้องแบกบัญญัตไว้มากมายขนาดนี้เลยหรือ?

สิ่งที่เราๆเดินอยู่ ไม่ได้มุ่งเข้าละสังโยชน์กันหรอกหรือ?

แล้วเราจะเพียรสะสมบารมีสิบ ไปเพื่ออะไร

พูดกันมากมาย มีเหตุผลมาขัดแย้งกันเยอะ

เวลาทำจริง..มันไม่ได้ใช้คำพูดพวกนี้เลย

แล้วอะไรคือสาระ..


เอาเป็นว่าเข้าใจตรงกันนะว่า..ศีล..ณ..ขณะนั้น

เพราะอะไระหรือ?..ก็เพราะเคยมีคนคะนองปากบอกว่าไม่ต้องรักษาศีล.มาก่อนก็สำเร็จพระอรหันต์ได้..โดยยก..ท่านสันตติมหาอำมาตย์..มาเป็นตัวอย่าง..ว่าเมาเหล้าทั้งวัน..ยังจบพรหมจรรย์ได้เลย..เป็นต้น...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ หน้า 113


ไหนไหน...ก็พูดการละสังโยชน์..เพื่อละสังโยชน์

อ้างคำพูด:
ย้อนกลับมาถามตนเองนะ ถามตนเองว่า...ที่วันๆเราทำกันอยุ่...เพื่ออะไร

เพื่ออรรถ ที่ล้ำลึกแตกฉาน หรือเพื่อผันนำมันไปใช้จริง

ถ้าเพื่อผันมันไปใช้จริง....มันต้องแบกบัญญัตไว้มากมายขนาดนี้เลยหรือ?

สิ่งที่เราๆเดินอยู่ ไม่ได้มุ่งเข้าละสังโยชน์กันหรอกหรือ?

แล้วเราจะเพียรสะสมบารมีสิบ ไปเพื่ออะไร

พูดกันมากมาย มีเหตุผลมาขัดแย้งกันเยอะ

เวลาทำจริง..มันไม่ได้ใช้คำพูดพวกนี้เลย

แล้วอะไรคือสาระ..


เอาละ...ไม่แบกบัญญัติ..ละ...

แล้ว...ทำยังงัย..เจ้าการละสังโยชน์นี้นะ...คุณสายน้ำเมยมีเทคนิคส่วนตัวยังงัยครับ...ค่อยๆปะหานทีละตัว..หรือทำยังงัย...พอจะพูดเป็นแนวทางหรือจะพูดชัดๆเลยก็ได้..ครับ


โพสต์ เมื่อ: 27 ม.ค. 2018, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สายน้ำเมย เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่กระผมกลับมองเห็นว่า..ตัวศีลกับการละสังโยชน์..เป็นเรื่องเดียวกัน.


ไม่ขัดแย้งคะ :b53:

ที่คุยอยู่นี่ เป็นการคุยกันเน้นตัวอักษรมากไป..จึงลืมดูเนื้อความของเนื้อหาทั้งหมด :b53:

ศีลเป็นฐานไปละสังโยชน์..มันไม่เป็นเรื่องเดียวกันตรงไหนคะ?

เพียงแต่ในเรื่องเดียวกัน จะมีศีลเป็นพื้นฐานเสมอ...

เพื่อมุ่งไปละสังโยชน์ในตอนปลาย(ของเรื่องเดียสกัน)

การให้ความสำคัญในอักษรมากไป..จนลืมสาระ..ของเรื่องที่แท้จริง :b53:

จึงมีความเห็นมากมายไม่รู้จบ..

(รู้ละเอียด รู้เยอะ รู้มาก..แล้วเอาตัวให้รอดจากวัฎฎะได้ยัง?..นี่คือสาระ)

นอกเหนือนั้น..ไม่มีสิ่งใดเป็นสาระ...

หาความสำคัญของการปฎิบัติธรรมให้เจอ..ว่าเราทำมาทั้งหมดเนี้ยะ..เพื่ออะไร?

ได้คำตอบแล้วมุ่งไปทางนั้น

พระสัมมาท่านพูด สอนธรรมตลอดเวลา เพื่อกวาดเหล่าสัตว์

ให้พ้นวัฎฎะเป็นจุดมุ่งหมายหลัก

ย้อนกลับมาถามตนเองนะ ถามตนเองว่า...ที่วันๆเราทำกันอยุ่...เพื่ออะไร

เพื่ออรรถ ที่ล้ำลึกแตกฉาน หรือเพื่อผันนำมันไปใช้จริง

ถ้าเพื่อผันมันไปใช้จริง....มันต้องแบกบัญญัตไว้มากมายขนาดนี้เลยหรือ?

สิ่งที่เราๆเดินอยู่ ไม่ได้มุ่งเข้าละสังโยชน์กันหรอกหรือ?

แล้วเราจะเพียรสะสมบารมีสิบ ไปเพื่ออะไร

พูดกันมากมาย มีเหตุผลมาขัดแย้งกันเยอะ

เวลาทำจริง..มันไม่ได้ใช้คำพูดพวกนี้เลย

แล้วอะไรคือสาระ..


เอาเป็นว่าเข้าใจตรงกันนะว่า..ศีล..ณ..ขณะนั้น

เพราะอะไระหรือ?..ก็เพราะเคยมีคนคะนองปากบอกว่าไม่ต้องรักษาศีล.มาก่อนก็สำเร็จพระอรหันต์ได้..โดยยก..ท่านสันตติมหาอำมาตย์..มาเป็นตัวอย่าง..ว่าเมาเหล้าทั้งวัน..ยังจบพรหมจรรย์ได้เลย..เป็นต้น...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ หน้า 113


ไหนไหน...ก็พูดการละสังโยชน์..เพื่อละสังโยชน์

อ้างคำพูด:
ย้อนกลับมาถามตนเองนะ ถามตนเองว่า...ที่วันๆเราทำกันอยุ่...เพื่ออะไร

เพื่ออรรถ ที่ล้ำลึกแตกฉาน หรือเพื่อผันนำมันไปใช้จริง

ถ้าเพื่อผันมันไปใช้จริง....มันต้องแบกบัญญัตไว้มากมายขนาดนี้เลยหรือ?

สิ่งที่เราๆเดินอยู่ ไม่ได้มุ่งเข้าละสังโยชน์กันหรอกหรือ?

แล้วเราจะเพียรสะสมบารมีสิบ ไปเพื่ออะไร

พูดกันมากมาย มีเหตุผลมาขัดแย้งกันเยอะ

เวลาทำจริง..มันไม่ได้ใช้คำพูดพวกนี้เลย

แล้วอะไรคือสาระ..


เอาละ...ไม่แบกบัญญัติ..ละ...

แล้ว...ทำยังงัย..เจ้าการละสังโยชน์นี้นะ...คุณสายน้ำเมยมีเทคนิคส่วนตัวยังงัยครับ...ค่อยๆปะหานทีละตัว..หรือทำยังงัย...พอจะพูดเป็นแนวทางหรือจะพูดชัดๆเลยก็ได้..ครับ



แล้วกบล่ะมีวิธีละสังโยชน์ยังไง ไหนว่าไปสิ เอ้า :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 53 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร