วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2017, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มันไม่เห็นมีอะไรแปลก..จนต้องอธิบายอะไรเล้ย...แค่รักษาศีล..จนมีเงินแต่งภรรยาได้นี้....พิศดาลตรงไหนเชียว...พ่อคูณ...

ผมแสดงประจักรพยานจริงด้วยตัวเองว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่แสดงใว้ว่า..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์...ได้จริง...ก็แค่นั้นเอง....จะให้อธิบายเป็นตำรารึงัยพ่อคูณ


เอางั้นเลยนะ รักษาศีลแล้วมีเงิน ไหนลองบอกสิศีลข้อไหนรักษาแล้วมีได้เงิน มีเงินเอ้า ข้อไหน ๑-๕

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2017, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มันไม่เห็นมีอะไรแปลก..จนต้องอธิบายอะไรเล้ย...แค่รักษาศีล..จนมีเงินแต่งภรรยาได้นี้....พิศดาลตรงไหนเชียว...พ่อคูณ...

ผมแสดงประจักรพยานจริงด้วยตัวเองว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่แสดงใว้ว่า..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์...ได้จริง...ก็แค่นั้นเอง....จะให้อธิบายเป็นตำรารึงัยพ่อคูณ


ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์..


แหมๆถือศีลแล้วร่ำรวยเกิดโภคทรัพย์ เมคเรื่องเอาเองทั้งนั้น :b1:

ให้ดูศีลที่เป็นพุทธพจน์

"คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว....

๑) อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะปลงชีวิตคนอื่น ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้

๒) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วย อาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

๓) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะประพฤติผิดในภรรยาของ เรา ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะประพฤติผิดในภรรยาของคนอื่น ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน

๔) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะทำลายประโยชน์ของเราด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะทำลายประโยชน์ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...

๕) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วย คำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าใครจะยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตรด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...

๖) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน.

๗) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน,

สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ เหมือนกัน สิ่งใดตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้" (สํ.ม.๑๙/๑๔๕-๑๔๖๕/๔๔๒-๖)

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลาย เคยได้เห็น หรือได้ยินบ้างไหมว่า บุรุษนี้ละปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว พระราชาทั้งหลายจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้ เธอทั้งหลาย เคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?

“ไม่เคยเลยพระเจ้าข้า”

“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ฆ่าหญิง หรือชายตาย พระ ราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้ เธอทั้งหลายเคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น หรือได้ยินบ้างไหมว่า (บุรุษผู้นี้ ละอทินนาทาน เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว....จากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว....จากมุสาวาท แล้ว...จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานแล้ว) พระราชาทั้งหลาย จับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการเว้นจากอทินนาทาน....จากกาเมสุมิจฉาจาร....จากมุสาวาท...จากสุรา เมรยมัชชปมาทัฏฐานเป็นเหตุ”

“ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า”

“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...
มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน หรือจากป่า...
คนผู้นี้ประพฤติละเมิดในสตรี หรือในบุตรีของผู้อื่น....
คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ....
คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วฆ่าหญิง หรือชายตาย ....
คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วลักทรัพย์เขาจากบ้านหรือจากป่า... .
คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วประพฤติละเมิดในสตรี หรือบุตรีของผู้อื่น... .
คนผู้นี้ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ พระราชาทั้งหลาย จึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะอทินนาทาน....กาเมสุมิจฉาจาร...มุสาวาท...สุราเมรัยฯ เป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม?"

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า" *(องฺ.ปญฺจก.22/178/232 แปลรวบความ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2017, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (เป็นศีล = อธิศีลสิกขา)

ศีลพื้นฐาน

สำหรับคนทั่วไป ท่านผ่อนลงมา เหมือนจับเอาศีลพื้นฐานนี้ ส่วนที่จำเป็นอย่างยิ่ง มาแสดงเป็นข้อกำหนดอย่างต่ำที่สุดในทางความประพฤติของมนุษย์ เท่าที่พอจะให้สังคมมนุษย์อยู่กันโดยปกติสุข ให้แต่ละคนมีชีวิตที่ไม่เป็นโทษภัย หมู่ชนไม่เบียดเบียนกันจนเดือดร้อนมากนัก
เรียกข้อกำหนดนี้ว่า สิกขาบท (ข้อศึกษา หรือข้อฝึกความประพฤติ) ๕ หรือที่นิยมเรียกกันเป็นสามัญว่า ศีล ๕ ได้แก่

๑. เว้นจากปาณาติบาต คือ ไม่ทำลายชีวิต จับสาระว่า ความประพฤติ หรือการดำเนินชีวิต ที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านชีวิตร่างกาย

๒. เว้นจากอทินนาทาน คือ ไม่เอาของที่เขามิได้ให้ หรือไม่ลักขโมย จับเอาสาระว่า ความประพฤติ หรือดำเนินชีวิต ที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์

๓. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือ ไม่ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย จับเอาสาระว่า ความประพฤติ หรือดำเนินชีวิต ที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านคู่ครอง บุคคลที่รักหวงแหน ไม่ผิดประเพณีทางเพศ ไม่นอกใจคู่ครองของตน ไม่ทำลายสายตระกูลวงศ์ของผู้อื่น

๔. เว้นจากมุสาวาท คือไม่พูดเท็จ จับเอาสาระว่า ความประพฤติ หรือดำเนินชีวิต ที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยวาจาเท็จโกหกหลอกลวงตัดรอนประโยชน์หรือแกล้งทำลาย

๕. เว้นจากสุราเมรัย และของมีนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือไม่เสพของมึนเมา จับ เอาสาระว่า ความประพฤติ หรือดำเนินชีวิต ที่ปราศจากความประมาทพลั้งพลาดมัวเมาเนื่องจากการใช้ สิ่งเสพติดที่ทำให้เสียสติสัมปชัญญะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2017, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกมุมหนึ่ง


ไตรสิกขา ถ้าแปลตามรูปศัพท์ และตามแบบแผนแท้ๆ จะได้ความหมาย ดังนี้


๑. อธิศีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง


๒. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตให้เกิดสมาธิอย่างสูง


๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง

บาลีเดิมแสดงคำจำกัดความไตรสิกขาสำหรับพระภิกษุเท่านั้น คือ

อธิศีลสิกขา = ปาติโมกขสังวรศีล,

อธิจิตตสิกขา = ฌาน ๔,

อธิปัญญาสิกขา = การรู้อริยสัจ บ้าง การประจักษ์แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไร้อาสวะ บ้าง (องฺ.ติก. 20/529-530/303)


ในสมัยอรรถกถา ท่านนิยมแสดง สิกขา ๓ ในแง่ที่เป็นระดับขั้นต่างๆของการละกิเลส คือ

๑. ศีล เป็นวีติกกมปหาน (เป็นเครื่องละวีติกกมกิเลส คือกิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย วาจา)


๒. สมาธิ เป็นปริยุฏฐานปหาน (เป็นเครื่องละปริยุฏฐานกิเลส คือกิเลสอย่างกลาง ที่เร้ารุนอยู่ในจิตใจ ซึ่งบางท่านระบุว่า ได้แก่นิวรณ์ ๕)

๓.ปัญญา เป็นอนุสยปหาน (เป็นเครื่องละอนุสยกิเลส คือกิเลสอย่างละเอียด ที่แอบแนบนอนคอยอยู่ในสันดาน รอแสดงตัวในเมื่อได้เหตุกระตุ้น ได้แก่ อนุสัย ๗)

นอกจากนี้ ท่านยังได้แสดงในแง่อื่นๆ อีก เช่น ศีลเป็นตทังคหาน สมาธิเป็นวิกขัมภนปหาน ปัญญาเป็นสมุจเฉทปหาน


ศีลเป็นเครื่องละทุจริต สมาธิเป็นเครื่องละตัณหา ปัญญาเป็นเครื่องละทิฏฐิ ดังนี้เป็นต้น (ดู วินย.1/22 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2017, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มันไม่เห็นมีอะไรแปลก..จนต้องอธิบายอะไรเล้ย...แค่รักษาศีล..จนมีเงินแต่งภรรยาได้นี้....พิศดาลตรงไหนเชียว...พ่อคูณ...

ผมแสดงประจักรพยานจริงด้วยตัวเองว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่แสดงใว้ว่า..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์...ได้จริง...ก็แค่นั้นเอง....จะให้อธิบายเป็นตำรารึงัยพ่อคูณ


ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์..


แหมๆถือศีลแล้วร่ำรวยเกิดโภคทรัพย์ เมคเรื่องเอาเองทั้งนั้น :b1:

ให้ดูศีลที่เป็นพุทธพจน์


คำว่า.."ถือศีลแล้วร่ำรวยเกิดโภคทรัพย์"..เป็นคำที่กักกายเขียนขึ้นมาเองนะ...

คำที่ผมเขียน..มีแค่..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์..
..เท่านั้น..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2017, 19:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3381&Z=3492

อ้างคำพูด:

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

อภัพพสูตร

[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชาติ ๑ ชรา ๑
มรณะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีในโลก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคต
ทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม
๓ ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิด
ในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่
ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ
วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ในใจโดย
อุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
*ปรามาสได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละ
การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิดความหดหู่แห่งจิตได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑
ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว
ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่
แห่งจิตได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละ
ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรม
ของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่
ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มี
สัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่
ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
ความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความทุศีล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่
ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความ
เป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
ความทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้
ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม
๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้าน ๓ ประการเป็นไฉน
คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก
ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่มีหิริ ๑ ความไม่มี
โอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการ
นี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท
ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้
บุคคลเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความ
ประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน
ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้
ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิด
แข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มี
สัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละ
ความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้
บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้
บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉาก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ
โทสะ โมหะแล้วก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ฯ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
มันไม่เห็นมีอะไรแปลก..จนต้องอธิบายอะไรเล้ย...แค่รักษาศีล..จนมีเงินแต่งภรรยาได้นี้....พิศดาลตรงไหนเชียว...พ่อคูณ...

ผมแสดงประจักรพยานจริงด้วยตัวเองว่าพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่แสดงใว้ว่า..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์...ได้จริง...ก็แค่นั้นเอง....จะให้อธิบายเป็นตำรารึงัยพ่อคูณ


ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์..


แหมๆถือศีลแล้วร่ำรวยเกิดโภคทรัพย์ เมคเรื่องเอาเองทั้งนั้น :b1:

ให้ดูศีลที่เป็นพุทธพจน์


คำว่า.."ถือศีลแล้วร่ำรวยเกิดโภคทรัพย์"..เป็นคำที่กักกายเขียนขึ้นมาเองนะ...



คำที่ผมเขียน..มีแค่..ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดโภคทรัพย์..
..เท่านั้น..



เอามาให้ดูอีกที

อ้างคำพูด:
กบนอกกะลาพูด # 2

เมื่อก่อน...ผมทำงาน..มีเงินเดือนเยอะนะ...แต่..บ้าน..รถ..ไม่มี..แต่งงานก็ไม่ได้เพราะไม่มีเงิน

แต่พอเห็นทุกข์..อยากพ้นทุกข์...ศึกษาทางพ้นทกข์..เริ่มลงมือปฏิบัติก็เริ่มจากการรักษาศีลก่อนเลยนี้แหละ...ธุรกิจส่วนตัวที่ทำก็ใช่ว่าจะดีนะ..มีขาดทุนเรื่อยเพราะเศรษฐกิจไม่ดี..กำไรที่พอมีก็น้อยกว่าเงินเดือนที่เคยได้รับซะอีก. ..แต่เงินทองก็มีมาเรื่อย..มีคนเมตตาเราเยอะ...ให้เราเยอะ..ให้เฉยๆนี้แหละ...จนมีบ้าน..มีรุถ...แต่งภรรยาได้...ก็ประหลาดนะ...เมื่อไม่กี่วันมานี้..ก็จะให้รถเรามาอีกคัน..แต่ไม่เอา..ที่มีอยู่ก็พอแล้ว...

http://larndham.org/index.php?/topic/44 ... ntry819070


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2017, 19:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเอามากี่รอบ..ก็ไม่เคยบอกว่า..ร่ำรวยโภคทรัพย์..

แต่..ให้เยอะ....ให้มาก.จริง....ให้มาเรื่อย..เลย... :b1:

เท่าที่ให้มานี้..มันก็เยอะแล้วสำหรับผม..เสื้อผ้าที่ใส่เขาให้มาก็เยอะนะ..มือสองก็มี..ของคนตายไปแล้วก็มี.. :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2017, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
จะเอามากี่รอบ..ก็ไม่เคยบอกว่า..ร่ำรวยโภคทรัพย์..

แต่..ให้เยอะ....ให้มาก.จริง....ให้มาเรื่อย..เลย... :b1:

เท่าที่ให้มานี้..มันก็เยอะแล้วสำหรับผม..เสื้อผ้าที่ใส่เขาให้มาก็เยอะนะ..มือสองก็มี..ของคนตายไปแล้วก็มี.. :b32: :b32: :b32:


ศีลหาเมีย ศีลหาเสื้อผ้าบริจาค ศีลหารถ คิกๆๆ อีกหน่อยก็เป็นศีลขอทาน

บอกหลายทีแล้ว ว่าเสียเวลาเปล่า :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร