วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 15:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


"วิธีที่จะทำให้ความอยากหมดไป ต้องฝืนไม่ทำตามความอยาก"

เพราะมีความอยากกันไง ไอ้ตัวนี้แหละที่ทำให้ใจเราไม่สงบไม่นิ่ง ไม่มีความสุขกัน ใจเรานี่นะเป็นของวิเศษ เป็นของที่ดีกว่าของต่างๆ ที่เราอยากกัน เพราะมันให้ความสุขกับเรามากกว่าความสุขที่เราได้จากของต่างๆ ที่เราอยากได้ ถ้าใจมันนิ่งนะใจเราจะมีความสุขมาก แล้วมันจะทำให้เราไม่อยากได้อะไรเลย เพราะได้อะไรก็สู้ได้ความสงบนี้ไม่ได้
ได้ความสงบแล้วมันสบายอยู่เฉยๆ ได้ อยู่เป็นสุข

ตอนนี้พวกเราอยู่ไม่เป็นสุขกัน นั่งอยู่เฉยๆกลับอยู่ไม่ได้ ต้องไปทำอะไรให้มันวุ่นวายไปหมด แล้วทำเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มไม่พอ ต้องทำอยู่เรื่อยๆ ได้มาเท่าไรก็ไม่พอ อยากจะได้เพิ่มอยู่เรื่อยๆ เพราะความอยาก เพราะการทำตามความอยากไม่ได้เป็นการหยุดความอยากทำลายความอยาก แต่เป็นการสร้างความอยากให้มีมากขึ้นไป

วิธีที่จะให้ความอยากหมดไปก็ต้องฝืนไม่ทำตามความอยาก ฝืนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็หายไปเอง เมื่อมันอยาก รู้ว่ามันไม่ได้มันก็ไม่รู้จะอยากไปทำไม เหมือนคนมาขอเงินเรานี้ ถ้ามาขอทีไรบอกไม่มี ไม่มี เดี๋ยวต่อไปก็ไม่มาขอ ถ้ามีให้ไปเดี๋ยวก็พรุ่งนี้ก็มาใหม่ หมดก็มาอีกแล้วใช่ไหม เราไปขออะไรเขาถ้าเขาไม่ให้เรา เราก็ไม่กลับไปขอใช่ไหม ขอก็ไม่ได้ ไปทำไมไม่ไปดีกว่า
ความอยากก็เหมือนขอทานดีๆ นี่เอง ทำให้เราเป็นเหมือนขอทานขอโน่นขอนี่อยู่เรื่อยๆ แล้วขอเท่าไรก็ไม่พอ ได้เท่าไรก็ไม่พอ ก็ได้มาแล้วเดี๋ยวมันก็หมด
ชีวิตของเราก็วุ่นวายไปกับความอยาก ที่มาเกิดนี้ก็เพราะความอยากพามาเกิด อีกทั้งก็ยังอยาก ดู อยากฟัง อยากลิ้มรส อยากดมกลิ่น อยากสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ก็ต้องมีร่างกายใช่ไหม พอมีร่างกายก็มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีร่างกายเอาไว้สัมผัสต่างๆ แล้วก็ใช้ร่างกายนี้พาไปหาสิ่งต่างๆ ที่อยากสัมผัส แต่สัมผัสเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มไม่พอ แล้วเวลาไม่ได้ก็เสียใจทุกข์ใจ แล้วเดี๋ยวร่างกายแก่เวลาอยากก็ทำอะไรไม่ได้ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ จะไปไหนก็ไม่ได้เพราะแก่แล้ว เพราะเจ็บไข้ได้ป่วยทำอะไรไม่ได้ แต่ความอยากมันยังมีอยู่ ใจก็เลยวุ่นวาย แต่ถ้าเรามาฝืนอยู่เฉยๆนั่งอยู่เฉยๆ สู้กับความอยากได้ เวลาไม่สบายเราจะไม่เดือดร้อน เพราะจะไม่มีความอยากมาให้เราไปทำโน่นทำนี่ ถ้ามันอยากเราก็สู้มันได้ เราเคยชนะมันมาแล้ว เราไม่กลัว

ใครมาฟังเทศน์ที่นี่ต้องลองเอาไปปฏิบัตินะ ๖ ชั่วโมง ต้องนั่งเฉยๆ นั่งสบายๆ ไม่ต้องนั่งแบบขัดสมาธิให้มันเจ็บแข้งเจ็บขาทรมานร่างกาย ตอนนี้ยังไม่ต้องถึงขั้นนั้น เอาขั้นแค่ฆ่าความอยากแบบหยาบๆ ก่อน ความอยากที่ง่ายๆ ก่อน เมื่อผ่านความอยากที่ง่ายแล้ว ค่อยมาเอาความอยากที่ยากคืออยากให้ร่างกายนี้ไม่เจ็บก็ต้องนั่งให้มันเจ็บแล้วก็ปล่อยให้มันเจ็บไปอันนี้ยากเพราะมันเจ็บจริงๆ เจ็บกายด้วยเจ็บใจด้วย ถ้าผ่านตัวเจ็บใจได้เจ็บกายได้ ต่อไปจะไม่กลัวเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บอย่างไรจะไม่เดือดร้อนเลย ไม่ต้องกินยาแก้ปวดเลย รับรองได้เพราะที่ปวดมันปวดที่ใจ ส่วนใหญ่ที่ทรมาน ทรมานที่ใจ ใจไม่อยากเจ็บ ใจไม่อยากให้ร่างกายเจ็บ ใจก็เลยปวดทรมานก็เลยต้องกินยาแก้ปวด.

สนทนาธรรมะบนเขา
วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๐

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต






ทำเพื่อให้เป็นการกระทำ ที่ทำได้ยากเพราะมันเป็นการกระทำเพื่อคนอื่นล้วนๆ คนที่ทำอะไรเพื่อคนอื่นจึงเป็นบุคคลที่หาได้ยากที่สุดในโลก เพราะว่าคนทั้งหลายในโลก ส่วนมากไม่ว่าจะทำอะไรก็เพื่อตัวเพื่อตนเสียทั้งสิ้น การที่เป็นผู้เสียสละแรงกายแรงทรัพย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะชนจึงเป็นการสร้างบุญสร้างวาสนาให้กับเขาคนนั้นได้อย่างมากมาย..โดยไม่ต้องสงสัยอันนี้ละ จงเป็นที่มาของคำว่าเกิดมารวยเกิดมาจนเพราะมันมาจากการกระทำนั้นเอง อย่าพากันมองการเกิดเพียงแค่ชาติเดียวประเดี๋ยวเขามันสิงอกอยู่ม่องนั้น เอาพอละสิเฮ็ดงาน

โอวาทธรรม : พอจ.คำสิงห์ โฆรตโป
วัดป่าบ้านหนองสระ
อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๐




"...เมื่อถึงขั้นที่จิตสงบเด่นดวงแล้ว คำบริกรรมก็ค่อยจางไปเอง ถือความเด่นดวงของความรู้นั้น เป็นจุดที่ตั้งของสติ จับอยู่ที่ตรงนั้นเรื่อยๆเลย ทีนี้ได้หลักเข้าไปเรื่อยๆ ความสงบนั้นก็จะแน่นเข้าไปเรื่อย เพราะ สติจ่อตลอด แทนคำบริกรรมอันหนาแน่นมั่นคง

เมื่อจิตสงบแล้ว จิตย่อม "อิ่มตัว" ไม่อยากคิดถึงทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส ซึ่งเคยวุ่นวายก่อกวนเรามาเป็นเวลานานแล้ว

พอมี "สมถธรรม" คือ ความสงบ เป็นอาหารเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ ใจ ก็ได้ดื่มความสงบนี้แล้ว ไม่คิดวุ่นวาย กับ อารมณ์ภายนอก เรียกว่า "อิ่มอารมณ์" ทีนี้ จึงพาพิจารณาทางด้าน "ปัญญา" พิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ แยกสกลกาย ทุกสัดทุกส่วน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง..."

เทศนาธรรมคำสอน..
องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน






"...อันความดีนั้น ย่อมเป็นอาภรณ์ เป็นอิสริยยศของคนดี

เพราะคนดีย่อมเห็นว่า ความดีนั้นแหละเป็นยศอันยิ่งใหญ่

และพอใจประดับความดีเป็นอาภรณ์..."

พระคติธรรมคำสอน..
องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จริญ สุวัฑฺฒโน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอา อ อัตตา ออกได้
แต่มัน ก็ ยาก นะ
แต่ "อยาก" ก็หาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


...สาธุ สาธุ สาธุ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากเป็นคนดี อยากปฏิบัติธรรม อยากทำดี เรียกว่า ความอยากในกรณีนี้ไหม :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
วิธีเอาความอยากออกจากใจมี 2 วิธีใหญ่ๆคือ

1.อดทน ข่มใจ ใช้ตบะเผาผลาญความอยากจนมันตายจากใจ

2.ฆ่า "ผู้อยาก" เสียให้ตาย


onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อยากเป็นคนดี อยากปฏิบัติธรรม อยากทำดี เรียกว่า ความอยากในกรณีนี้ไหม :b10:

อยากเป็นคนดี.... ก็ยังมีอัตตาอยู่ แต่อัตตาส่วนที่เป็นกุศล
หากมีมาก ก็จะถือดี จนอวดดี ก็จะเป็นปัจจัยแก่อกุศล
ซึ่งเรียกได้ว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

อยากปฏิบัติธรรม มีสองกรณี คือ
1. เป็นสัมมาสังกับปะ ส่วนแห่งมรรคเพื่อความพ้นจากความทุกข์ทั้งหมด เพื่อละกามฉันทะ; เพื่อละความคิดประทุษร้ายความโกรธความพยาบาท; และเพื่อละความเบียดเบียน อันเป็นส่วนของอัตตา เนื่องด้วยอัตตาและเกี่ยวกับอัตตา จึงไม่ใช่ความอยากเพื่อมีอัตตา เนื่องด้วยด้วยอัตตาและเกี่ยวกับอัตตา.
2. เป็นสัมมาสัมกัปปะ เป็นส่วนแห่งมรรคแต่ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งหมด ยังข้องกับโลกอยู่แต่เป็นมรรคเพื่อเป็นคนดี เป็นเทวดา เป็นพรหม ขึ้นอยู่กับความหยาบความละเอียดของความปรารถนาของอัตตา มีส่วนแห่งอัตตา เนื่องด้วยอัตตาอยู่ ความอยากกรณีนี้ หากมุ่งเจตนาเพื่อความพ้นจากวัฏฏะสงสารก็ต้องละ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2017, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาเกี่ยวกับแรงจูงใจ

มีคำถาม และคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง ซึ่งน่าสนใจ คือคำพูดทำนองว่า

-พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้ ไม่อยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร ? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดขวางต่อการพัฒนา

-นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ ก็กลายเป็นตัณหา กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้วจะปฏิบัติได้อย่างไร คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


คำถามและคำค่อนว่า 2 ข้อนี้ ฟังดูเหมือนว่าจะกระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย ตั้งแต่การ
ดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน หรือตั้งแต่ระดับโลกีย์
จนถึงโลกุตระ
แต่ที่จริง ความสงสัยหรือการค่อนว่านั้น มิได้กระทบอะไรต่อพระพุทธศาสนา แต่กลับสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่สงสัยหรือค่อนว่าก็ตาม ไม่เข้าใจทั้งธรรมชาติของมนุษย์ และมองพระพุทธศาสนาไม่ออก

ความเข้าใจพร่ามัวสับสนที่เป็นเหตุให้เกิดคำถามและคำค่อนว่าเช่นนี้ มีอยู่มาก แม้แต่ในหมู่ชาวพุทธเอง และเป็นปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำ หรือเป็นเรื่องของภาษาด้วย

จุดสำคัญ คือ คนทั่วไปได้ยินว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา และตัณหานั้นแปลว่า ความอยาก แล้วจะด้วยเหตุใดก็ตาม ต่อมาคนทั่วๆไปนั้น ก็ไม่รู้จักแยกแยะ รู้เข้าใจเพียงแต่ว่า ตัณหา คือ ความอยาก และความอยาก ก็คือตัณหา และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆเลย

นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่น ที่มีความหมายทำนองเดียวกันนี้ แต่รังเกียจที่จะแปลว่า ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่องเกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น

ถ้าจะศึกษาธรรม ถ้าจะเข้าใจพระพุทธศาสนา จะต้องแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ เบื้องแรก พูดไว้สั้นๆก่อนว่า ตัณหาเป็นความอยาก (ชนิดหนึ่ง) แต่ความอยากไม่ใช่คือตัณหา ความอยากเป็นตัณหาก็มี ไม่เป็นตัณหาก็มี ความอยากที่ดี ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม และต้องใช้ในการพัฒนามนุษย์ ก็มี

ความอยากนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องเข้าใจกันให้ชัดเต็มที่ ถ้ามิฉะนั้นจะไม่มีทางเข้าถึงพระพุทธศาสนา

viewtopic.php?f=1&t=53534

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร