วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 22:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2017, 07:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

asoka เขียน:
grin
แต่นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ทางธรรมแก่ตัวเองไม่เป็น อย่างเช่นกรัชกาย
55555555 :b13:


ใช้ยังงัยละพ่อคูณ....ก็เห็นว่าปล่อยให้มันเป็นเอง..ไม่ใช่รึ?

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2017, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อ้างคำพูด:

asoka
สนใจอยากรู้ว่าอโศกะเคยทำภาวนาแบบไหน แล้วไปเกิดญาณ 16 จากการภาวนาแบบไหน เชนนั้นหรือ?

ถ้าสนใจก็จะเล่าให้ฟังคร่าวๆเป็นวิทยาทาน

ภาวนาที่อโศกะเคยทำมา

1.พองหนอยุบหนอ....หรือหนอให้ทันปัจจุบันอารมณ์

2.ท่องคาถาปลุกพระ ท่องคาถาหัวใจต่างๆเป็นคาบๆ

3.กำหนดต้นธรรม ตามแบบเจ้ามาวหลวง อ.อริยวังโส(ไทยใหญ่)

4.พิจารณาอนิจจัง ตามแบบหลวงพ่อพุทธวาที (พม่า)

5.สมาธิหมุน (พระอาจารย์รัตน์ รัตนยาโน)

6.พุทโธ (สายหนองป่าพง)

7.อนัตตา (หลวงพ่อธี)

8.กำหนดกระแสสั่นสะเทือนในร่างกาย (ท่านโกเอ็นก้า)

9.เจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์(ตามภัทเทกรัตคาถา)
ใช้อยู่ประจำในปัจจุบัน

ตอนที่จะรู้ชัดญาณ 16 และปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นการเจริญภาวนาตามแบบที่ 9 โดยธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งท่า ไม่ได้เข้ากรรมฐาน มันเกิดขึ้น เจริญไปและไหลไปเองตามธรรมตอน
วันแรม 14 ค่ำหลังวิสาจะบูชาปี 2542 เริ่มประมาณตีสามกว่า
จบปัจจเวกตอนเกือบหกโมงเช้า

แค่นี้ก็พอละมั้งครับกรัชกาย


ท่านอโศกได้กรุณาตอบวิธีปฏิบัติของตนเองแล้วสี่วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1,3,5,8

ถามวิธี 2 แต่ไม่ยังไม่ตอบ ขอความกรุณาบอกวิธีทำเป็นวิทยาทานแก่ สมช. ลานธรรมด้วย เผื่อมีคนสนใจ

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เพราะท่านอโศกฝึกกลั้นลมหายใจบ่อยๆ :b32: ขอถามวิธีที่ 6 พุท-โธ (สายหนองป่าพง) ด้วยเลย เล่าให้ฟังหน่อยขอรับ เขาสอนท่านอโศกฝึกยังไง ทำอยู่กี่ปี แล้วถึงไหนอ่ะคับ สาธุขอรับ

เจริญในธรรม :b8: (ยืมเช่นนั้นใช้หน่อย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2017, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

เห็นเต้นตอดแล้วรู้ไปถึงความเกิด - ดับหรือยัง ถ้ารู้ก็ทำดูตามบทกลอนที่เจ้ามาวหลวงบอกไว้อาจได้ถึงที่สุดแห่งความเกิด - ดับทันในชาตินี้



เกิด-ดับแค่เต้นตอดในร่างกายอย่างท่านอโศกว่านะ เรื่องแค่นี้แต่พระพุทธเจ้าใช้เวลาคิดค้นอยู่ถึง 6 ปี จึงรู้คือตรัสรู้นี่ กรัชกายว่าดูกระไรๆอยู่นะว่าไหม :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกไม่มาตอบวิธีปฏิบัติพุท-โธ สายหนองป่าพงนิ เป็นไงอายหรอ ตกลงจะยึดชีพจรเต้นตอดตุ๊บๆช่ายมะ หือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2017, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สันตติ นี่พูดบ่อย เอ้า แถมสำเหนียกให้ด้วย

สันตติ การสืบต่อ คือ การเกิดดับต่อเนื่องกันไปโดยอาการที่เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน
ในทางรูปธรรม ที่พอมองเห็น อย่างหยาบ เช่น ขนเก่าหลุดร่วงไป ขนใหม่เกิดขึ้นแทน ความสืบต่อแห่งรูปธรรม จัดเป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง,

ในทางนามธรรม จิตก็มีสันตติ คือเกิดดับเป็นปัจจัยสืบเนื่องต่อกันไป


สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่าสิกขา หรือศึกษา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็พูดสันตติแล้วพูดสะให้หมดเปลือกเลย ท่านอโศกจะได้เลิกมโนเสียที :b32:


สันตติ บังอนิจจลักษณะ

ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิดและความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไป ก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อหรอความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะจึงไม่ปรากฏ

สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายดอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิดดับนั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็ว คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ - เกิด-ดับ ฯลฯ

ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างตัวเราเอง หรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่าเป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน สังเกตดูหรือไม่เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีเปลี่ยนแปลงไปแล้วจากเดิม
แต่ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทีละน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง

ตัวอย่างเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นง่ายขึ้น
เช่น
ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่างเร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดู ก็เห็นชัดว่าเป็นใบพัดต่างหากกัน ๒ ใบ ๓ ใบ หรือ ๔ ใบ
หรือ
เหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวดเร็ว เป็นรูปวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้านเดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป
หรือ
เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟอยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว
หรือ
เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำที่มองดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆ มากมายมารวมกัน และไหลเนื่อง

สิ่งทั้งหลาย เช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้น และความดับไป จึงจะประจักษ์ความไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิริยาบถ ก็พูดเหมือนกัน แถมทมะให้ด้วย


อิริยาบถ “ทางแห่งการเคลื่อนไหว” ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าทีเคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อิริยาบถหลัก มี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน,
อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือจุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น

ทมะ การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าดีงามสมควรเป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตรตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นเสมอ

ทรมาน ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ

บัดนี้มักหมายถึงทำให้ลำบาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2017, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
อธิบายศัพท์ธรรมะนี่ถูกตัณหาและถนัดนักนะกรัชกาย หากินอย่างนี้ไปเถอะ ดีและเหมาะสมกับกับกรัชกายแล้ว
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดถึงอิริยาบถแล้วอีกทั้งเข้าใจความหมายแล้ว มาดูที่ท่านว่าว่าอิริยาบถบังทุกขังหรือบังทุกขลักษณะบ้าง


อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

@ ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูก อิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึง ไม่ปรากฏ

ภาวะที่ทนอยู่มิได้
หรือ
ภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้
หรือ
ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา
หรือ
ความรู้สึกของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น
ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย
หรือ
ทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน
หรือ
ผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อนก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ใน ท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆจนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดันที่คนทั่วไปเรียกว่า ทุกข์
เช่น
เจ็บ ปวด เมื่อยจนในที่สุดก็จะทนไม่ไหวและต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่าอิริยาบถอื่น เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง
ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า ความสุข เกิดขึ้นมาแทนด้วย
แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์
เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นหรืออิริยาบถอื่นเสีย
หรือ
เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้
เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถบังทุกขลักขณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
อธิบายศัพท์ธรรมะนี่ถูกตัณหาและถนัดนักนะกรัชกาย หากินอย่างนี้ไปเถอะ ดีและเหมาะสมกับกับกรัชกายแล้ว


อ้างคำพูด:
หากินอย่างนี้ไปเถอะ ดีและเหมาะสมกับกับกรัชกายแล้ว


ขอรับผม ช่วงนี้ก็อาศัยพี่คนใจดีนั่งยื้มอยู่บนเรือนี่ :b8:

https://f.ptcdn.info/545/048/000/ojnyq5 ... MQUs-o.jpg


และหานั่นนี่กินประทังชีวิตอดใจรอ อีก 15 ปีข้างหน้า รมต.ท่านให้ความหวังไว้

อ้างคำพูด:
สมคิด ชี้ให้โอกาส รบ.ทหารปฏิรูป ศก.ไทย หวังผล 15 ปี ดีขึ้นชัวร์


จาก

http://www.matichon.co.th/news/423851

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกขอรับ พุทธธรรมนั่นลึกซึ้งนัก

ความจริงก็เรื่องของชีวิตนี่แหละ แต่ทำไมเจ้าของเองยังไม่เข้าใจตัวเอง เพราะอะไร โดยเฉพาะนามธรรม (จิตใจ) แม้แต่รูปธรรมเห็นโต้งๆ เจ้าของเองยังเข้าใจไม่ครบถ้วนเลย นอนคิดดีๆ จริงไม่จริง

เมื่อพูดถึงทุกข์แล้ว มาดูความหมายคำว่าทุกข์ในพุทธธรรมกันหน่อย


เมื่อศึกษาคำว่า “ทุกข์” ในพุทธธรรม ให้สลัดความเข้าใจแคบๆ ในภาษาไทยทิ้งเสียก่อน และพิจารณาใหม่ตามความหมายในพุทธพจน์ ที่แบ่งทุกขตา (ภาวะแห่งทุกข์) เป็น ๓ อย่าง พร้อมด้วยคำอธิบาย ดังนี้

๑. ทุกขทุกขตา ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ ไม่สบาย เจ็บปวด เมื่อยขบ โศกเศร้า เป็นต้น อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อ ตามสภาพ ที่เรียกกันว่า ทุกขเวทนา (ความทุกข์อย่างปกติที่เกิดขึ้น เมื่อประสบอนิฏฐารมณ์ หรือสิ่งกระทบกระทั่งบีบคั้น)


๒. วิปริณามทุกขตา ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความผันแปรของสุข คือ ความสุขที่กลายเป็นความทุกข์ หรือทำให้เกิดทุกข์ เพราะความแปรปรวนกลับกลายของมันเอง

(ภาวะที่ตามปกติ ก็สบายดีเฉยอยู่ ไม่รู้สึกทุกข์อย่างใดเลย แต่ครั้นได้เสวยความสุขบางอย่าง พอสุขนั้นจางลงหรือหายไป ภาวะเดิมที่เคยรู้สึกสบายเป็นปกตินั้น กลายเป็นเป็นทุกข์ไป เสมือนเป็นทุกข์แฝง ซึ่งจะแสดงตัวออกมาในทันทีที่ความสุขนั้นจืดจางหรือเลือนลางไป ยิ่งสุขมากขึ้นเท่าใด ก็กลับกลายเป็นทุกข์รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น เสมือนว่าทุกข์ที่แฝงขยายตัวตามขึ้นไป
ถ้าความสุขนั้นไม่เกิดขึ้น ทุกข์เพราะสุขนั้นก็ไม่มี

แม้เมื่อยังเสวยความสุขอยู่ พอนึกว่าสุขนั้นอาจจะต้องสิ้นสุดไป ก็ทุกข์ด้วยความกังวล ใจหายไหวหวั่น
ครั้นกาลเวลาแห่งความสุขผ่านไปแล้ว ก็หวนระลึกด้วยความละห้อยหาว่า เราเคยมีสุขอย่างนี้ๆ บัดนี้ สุขนั้นไม่มีเสียแล้วหนอ)


๓. สังขารทุกขตา ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือ สภาวะของตัวสังขารเอง หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัยได้แก่ ขันธ์ ๕ (รวมถึงมรรค ผล ซึ่งเป็นโลกุตรธรรม) เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้นด้วยปัจจัยที่ขัดแย้ง มีการเกิดขึ้น และการสลายหรือดับไป ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง อยู่ในกระแสแห่งเหตุปัจจัย จึงเป็นสภาพซึ่งพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ (ความรู้สึกทุกข์ หรือทุกขเวทนา) แก่ผู้ไม่รู้เท่าทันต่อสภาพและกระแสของมัน และเข้าไปฝืนกระแสอย่างทื่อๆ ด้วยความอยากความยึด (ตัณหาอุปาทาน) อย่างโง่ๆ (อวิชชา) ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อมันด้วยปัญญา


ทุกข์ข้อสำคัญ คือข้อที่ ๓ แสดงถึงสภาพของสังขารทั้งหลายตามที่ มันเป็นของมันเอง

แต่สภาพนี้จะก่อให้เกิดความหมายเป็นภาวะในทางจิตวิทยาขึ้นได้ ในแง่ที่ว่า มันไม่อาจให้ความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ และสามารถก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ แก่ผู้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอวิชชาตัณหาอุปาทาน


ความที่กล่าวมาตอนนี้ก็คือบอกให้รู้ว่า ทุกข์ข้อที่ ๓ นี้ กินความกว้างขวางครอบคลุม ตรงตามความหมายของทุกข์ในไตรลักษณ์ (ที่ว่า สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์)

ซึ่ง อาจจะโยงต่อไปเป็นทุกข์ในอริยสัจ โดยเป็นที่ก่อให้เกิดผลของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ที่ทำให้ขันธ์ ๕ ในธรรมชาติ กลายเป็นอุปาทานขันธ์ ๕ ของคนขึ้นมา

ถ้าจับเอาเวทนา ๓ (สุข ทุกข์ อุเบกขา) ซึ่งเป็นเรื่องของความสุข - ความทุกข์อยู่แล้ว มาจัดเข้าในทุกขตา ๓ ข้อนี้ บางคนจะเข้าใจชัดขึ้นหรือง่ายขึ้น ดังจะเห็นว่า

ทุกขเวทนานั้นเข้าตั้งแต่ข้อแรก คือ เป็นทุกขทุกข์

สุขเวทนาเจอตั้งแต่ข้อ ๒ คือเป็นวิปริณามทุกข์

ส่วนอุเบกขาเวทนารอดมาได้สองข้อ แต่ก็มาเจอที่ข้อ ๓ คือ เป็นสังขารทุกข์ หมายความว่า
แม้แต่อุเบกขาก็คงอยู่เรื่อยไปไม่ได้ ต้องแปรปรวนผันแปร ขึ้นต่อเหตุปัจจัยของมัน
ถ้าใครชอบใจติดใจอยากเพลินอยู่กับอุเบกขา ก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้ เพราะมาเจอข้อ ๓ คือ สังขารทุกขตานี้
(อรรถกถาไขความว่า อุเบกขาเวทนา และบรรดาสังขารในไตรภูมิ เป็นสังขารทุกข์ เพราะถูกบีบคั้นด้วยการเกิดสลาย)

เป็นอันว่าเวทนา ๓ ไม่ว่าสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เป็นทุกข์ในความหมายนี้ หมดทั้งนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปริณาม ความแปรปรวน, ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป

เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ

๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย

๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย

๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา

อีกหมวดหนึ่ง จัดเป็นเวทนา ๕ คือ

๑. สุข สบายกาย

๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย

๓. โสมนัส สบายใจ

๔. โทมนัส ไม่สบายใจ

๕. อุเบกขา เฉยๆ

ในภาษาไทย ใช้หมายความว่า เจ็บปวด บ้าง สงสาร บ้างก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2017, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาท่านอโศกนี่พูดบ่อยมากๆ แต่เหมืือนไม่เข้าใจสภาพความเป็นอนัตตาตามหลักพระพุทธศาสนาเลยแม้เท่าตาเล็น :b1:

เอามาให้ดู


อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน

อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวมิใช่ตน


อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน
โดยอรรถต่างๆ เช่น

๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ

(ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมข้าวขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน

(ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพัง แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา


อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่

อนิจจัง ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป

อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่

๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี

๒. เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ

๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ

๔.แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว


ทุกขตา ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้

ทุกขลักษณะ เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์ คือ

๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา

๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์

๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นอนิจจัง ทุกขังว่าเห็นยากแล้ว แต่ความเป็นอนัตตาเห็นยากกว่าอีก เพราะอะไร ? เพราะถูกความเป็นกลุ่มเป็นก้อนบัง กล่าวคือ


ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

ท่านกล่าว ว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูกฆนะ คือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ

สิ่งทั้งหลาย ที่เรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลาย มารวบรวมปรุงแต่งขึ้น เมื่อ แยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวม ซึ่งเรียกว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหมายหรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวม คอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า

เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง คือ คนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี
หรือ
เด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้
เมื่อใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่ถูกต้องมา วิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2017, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆนะ ก้อน, แท่ง

ฆนสัญญา ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา



ชีวิต ความเป็นอยู่

ชีพ ชีวิต, ความเป็นอยู่

ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมกัน) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ

๑. อินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูป อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์

๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิก เป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือนามรูปชีวิตินทรีย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร