วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


"..การปฏิบัติธรรมเป็น การปฏิบัติ
ที่ตัวของเราตัวของเราประกอบด้วย
รูปธรรมและนามธรรมรูปธรรมนั้น
ก็คือร่างกาย นามธรรมนั้น ก็คือใจ
เราปฏิบัติธรรมก็คือ ปฏิบัติกายกับใจของเรา
กายของเราก็ไม่ให้ไปทำชั่วผิดศีล
ใจของเราก็ไม่ต้องไปผูกพยาบาทอาฆาต
จองเวรใครเมื่อทำได้อย่างนี้ ก็ถือว่า เป็นการ
ปฏิบัติธรรม แล้ว.."
(โอวาทธรรมหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)





"...ทั้งขันธ์หยาบ (รูปขันธ์) ทั้งขันธ์ละเอียด (นามขันธ์) สงเคราะห์ลงในความพังพินาศเสมอกัน ไม่มีใครมีอำนาจราชศักดิ์ไปยึดเอาขันธ์เหล่านี้มาเป็นขันธ์เที่ยง ขันธ์เป็นสุข ขันธ์ไม่มีทุกข์ ขันธ์เป็นอัตตา คือนึกเอาตามใจหวังได้แม้แต่รายเดียว ผู้พิจารณาหยั่งลงถึงไตรลักษณะ ด้วยไตรลักษณญาณจริง ๆ แล้วก็มีอยู่ทางเดียว คือต้องรีบออกไปให้พ้นจากป่าช้าแห่งความเกิดตายทุกประเภทเท่านั้น ไม่ต้องมาเป็นกังวลซากศพของเขาของเรา ซึ่งเป็นสภาพที่น่าทุเรศเสมอกันทั้งสัตว์ทั้งคนอีกต่อไป

ฉะนั้น นักค้นคว้าทางด้านจิตใจ จึงควรคำนึงถึงฐานที่เกิดและดับของขันธ์ทั้งสองประเภทนี้ ด้วยปัญญาอันหลักแหลมว่า ขันธ์เหล่านี้เกิด-ดับ เกิด-ดับจากอะไร ฐานที่ตั้งของเขาคืออะไร นอกจากจิตดวงงมงายซึ่งกำลังเป็นเขียงเช็ดเท้าและเป็นผู้ให้กำเนิดของเขาแล้ว สมมุติเครื่องกังวลน้อยใหญ่ไม่มีทางเกิดได้ ก็จิตดวงงมงายนี้มีอะไรแทรกซึมเขา เขาจึงกลายเป็นจิตที่มีโรคเบียดเบียนเป็นประจำ ไม่มีความแยบคายพอจะถอนตัวออกจากหล่มลึก คือความเกิดตายได้

ลองใช้จอบและดาบเพชร คือ สติปัญญาขุดค้นฟาดฟันดูดวงใจนั้นด้วยความเพียร จะเห็นซากของอวิชชาทั้งเป็น เกาะกินอยู่ในจิตดวงนั้น เมื่ออวิชชาถูกจอบและดาบเพชรขุดค้นฟาดฟันอย่างหั่นแหลก ก็แตกกระเด็นออกจากใจ เสียงดังสะท้านหวั่นไหว ประหนึ่งแผ่นดินถล่มทั่วขอบเขตจักรวาล เสียงสะเทือนสะท้านทั่วทั้งไตรภพ..."

เทศนาธรรมคำสอน..
องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน





"...การพูดถึง ภาวนา เราก็อาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะเข้าใจ อาจคิดไปว่าหลักของการภาวนานี้มีแต่รูปแบบการนั่ง มีแต่วัตรปฏิบัติต่างๆ สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำอาจจะคิดกลัวไป แต่สำหรับผู้ที่เคยสัมผัสบ้าง ก็อาจจะพอใจ กระตือรือร้น

เพราะว่า การเจริญภาวนานี้จะได้ผลเป็นกอบเป็นกำขึ้นมาจริงๆ มันไม่เหมือนกับเราทำนา ทำไร่ ทำสวนเราทำนา ทำไร่ ทำสวน ต้องรอเป็นครึ่งปี เป็นปีจึงจะได้ผลของสิ้งที่เราทำ

แต่หลักของการภาวนานี้ไม่ต้องรอ ทำเดี๋ยวนี้ได้เดี๋ยวนี้ และก็คิดว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดของการทำคุณความดี..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงพ่อคำเขียน สุวัณฺโณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
การปฏิบัติธรรมคือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญาขึ้นมาดูและสังเกตการทำงานของรูปนามกายใจ จนได้เห็นหรือได้รู้ความจริงว่า
มีแต่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วนเวียนไปมาไม่รู้จบ
ทุกสิ่งจะหยุดสงบเมื่อมีชีวิตอยู่ด้วยอนัตตา คือปราศจากความเห็นผิดยึดผิดว่า กายใจนี้เป็นอัตตา ตัวกู ของกู

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


การปฏิบัติธรรมคือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญาขึ้นมาดูและสังเกตการทำงานของรูปนามกายใจ จนได้เห็นหรือได้รู้ความจริงว่า
มีแต่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วนเวียนไปมาไม่รู้จบ
ทุกสิ่งจะหยุดสงบเมื่อมีชีวิตอยู่ด้วยอนัตตา คือปราศจากความเห็นผิดยึดผิดว่า กายใจนี้เป็นอัตตา ตัวกู ของกู


ความหมายที่แท้ คำว่า “ปฏิบัติธรรม” ได้แก่การนำเอาธรรมะไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือการดำเนินชีวิตตามธรรม แต่ปัจจุบัน มักเข้าใจคำนี้ไปในความหมายว่า เป็นการฝึกอบรมทางจิตปัญญาขั้นหนึ่งระดับหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปแบบ และทำไปตามแบบแผนที่ได้กำหนดวางไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

การปฏิบัติธรรมคือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญาขึ้นมาดูและสังเกตการทำงานของรูปนามกายใจ จนได้เห็นหรือได้รู้ความจริงว่า
มีแต่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วนเวียนไปมาไม่รู้จบ
ทุกสิ่งจะหยุดสงบเมื่อมีชีวิตอยู่ด้วยอนัตตา คือปราศจากความเห็นผิดยึดผิดว่า กายใจนี้เป็นอัตตา ตัวกู ของกู


ความคิดท่านอโศกสุดโต่ง มีโทษต่อจิตใจและการดำรงชีวิตของตนเอง


ปฏิบัติธรรม

หลักการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา คือ การนำหลักธรรมที่เป็นส่วนปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ มาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการเป็นแนวทางดำเนินชีวิตให้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา กระบวนการนำหลักอริยมรรคมาลงมือปฏิบัติเชิงบูรณาการตามลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนที่สุด เรียกว่า

ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจัดเป็นตัวแท้ของการปฏิบัติ เป็นกระบวนการศึกษาปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา โดยสามารถนำหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้นมาย่นย่อลงมือบูรณาการปฏิบัติครอบคุลมได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ในการเข้าสู่กระบวนการศึกษาปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา ซึ่งเรียกว่า ปฏิบัติธรรม นั้น มีรูปแบบหรือลักษณะการปฏิบัติอยู่ ๒ รูปแบบด้วยกัน คือ

๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ)

๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ)

การปฏิบัติธรรมทั้งสองรูปแบบนี้มีคำจำกัดความ และความมุ่งหมายที่กว้าง และแคบต่างกัน ดังนี้


๑) ปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (สามัญธรรมปฏิบัติ: General Dhamma Practice) หมายถึง การนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยสามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น

การที่คนเรามีสติสัมปชัญญะในการทำกิจการต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะบีบคั้นกดดันต่างๆ ที่เผชิญอยู่ การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณนั้นให้เหมาะสม หรือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น

การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ ในที่นี้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือสติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือหิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม บุคคลผู้นั้น ชื่อว่าปฏิบัติธรรมทั้งนั้น

การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้ จึงกินความกว้างมาก สุดแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในการทำกิจหน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหน เพียงไร ซึ่งการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบนี้ เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อปฏิบัติกิจ หรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม

ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การงานนั้นๆ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เช่น ในการทำงาน เมื่อนำหลักธรรมที่อำนวยให้ประสบผลสำเร็จ คืออิทธิบาท ๔ อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

แม้แต่การออกไปที่ท้องถนนหรือการขับรถ ถ้าขับโดยเคารพวินัยจราจร รักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมาไม่ขับ ไม่ตัดหน้า ไม่ฝ่าไฟแดง หรือง่วงนอนหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยดีโดยไม่ประมาท มีความสุภาพ หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใส สบายใจ ในเวลาที่ขับรถอยู่กลางถนนนั้น ท่ามกลางรถรามากมาย เช่นนี้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม

นอกจากนี้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส เที่ยงธรรม ขยันหมั่นเพียร มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานการบริการที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผล ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ก็ชื่อว่าปฏิบัติธรรม หรือ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้าราชการผู้ใดก็ตามปฏิบัติราชการโดยนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในชีวิตราชการ เช่น

นำหลักอิทธิบาท ๔ โดยมีฉันทะ ยินดีพอใจในการเป็นข้าราชการ รักอาชีพราชการ มีวิริยะ มุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยทุ่มเท สู้งาน ไม่หวั่นย่อท้อต่อปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน มีจิตตะ เอาใจใส่สนใจรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และมีวิมังสา คอยหมั่นไตร่ตรอง ตรวจสอบ ติดตามประเมินผลในการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ผลดีอยู่เสมอ
เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จะโดยรู้ตัวว่านำหลักพุทธธรรม คือ อิทธิบาท ๔ มาใช้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ข้าราชการผู้นั้น ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม แต่เป็นการปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ


๒) ปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้น (วิสามัญธรรมปฏิบัติ: Intensive Dhamma Practice) หมายถึง การเน้นนำหลักธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติโดยตรง หรือหลักธรรมในระดับที่สูงกว่าขั้นศีลธรรมมาฝึกอบรมจิต และพัฒนาปัญญา ที่เรียกว่า ปฏิบัติธรรมด้วยวิธีภาวนา หรือบำเพ็ญกัมมัฏฐาน โดยการปลีกตัวออกไปจากสังคม หามุมสงบประคบประหงมจิต เช่น ไปปฏิบัติบำเพ็ญอยู่ที่วัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม หรือไปหาสถานที่ที่สงบอื่นๆ เพื่อลงมือปฏิบัติฝึกหัดทดลองควบคุมจิตใจ เมื่อประสบสิ่งที่ใจไม่ปรารถนา ซึ่งวิธีที่จะควบคุมจิตใจได้ดีที่สุด ก็คือความใส่ใจใฝ่ฝึกศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแล้วนำมาปฏิบัติโดยการฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนาในวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ที่มีพระภิกษุผู้มุ่งวิปัสสนาธุระเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนวิชากัมมัฏฐานทั้งสายสมถะและวิปัสสนาโดยตรง
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมด้วยการปลีกตัวไปฝึกสมาธิ เจริญวิปัสสนา จึงจัดเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเน้นหรือลงลึกเฉพาะเรื่อง โดยมุ่งฝึกฝนพัฒนาจิตใจ อย่างมีระบบ กำหนดเป็นหลักสูตรเพื่อให้ได้รับปฏิเวธ คือผลจากการฝึกปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


การปฏิบัติธรรมคือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญาขึ้นมาดูและสังเกตการทำงานของรูปนามกายใจ จนได้เห็นหรือได้รู้ความจริงว่า
มีแต่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วนเวียนไปมาไม่รู้จบ
ทุกสิ่งจะหยุดสงบเมื่อมีชีวิตอยู่ด้วยอนัตตา คือปราศจากความเห็นผิดยึดผิดว่า กายใจนี้เป็นอัตตา ตัวกู ของกู


ความรู้สึกนึกคิดท่านอโศกเหมือนถูกตั้งโปรแกรมเอาไว้ :b1: เหมือนคนไม่รู้เหนือรู้ใต้ (ขออภัย ถ้าเจ็บ :b8: :b1: ) พูดเอาทั้งเพ แต่ยังไม่เคยเห็นผ่านภาคปฏิบัติซึ่งผ่านบททดสอบจากรูปนามกายใจ จนพ้นความเห็นผิดว่ากายใจเป็นอัตตา ตัวกู ของกูสักที เห็นแต่พูดพร่ำเอา คิดไปยัน 6 โมงเช้า

เขาเป็นอารัยท่านอโศก

อ้างคำพูด:
เดี๋ยวนี้ไม่ได้นั่งสมาธิเลยค่ะ กลัวอะไรก็บอกไม่ถูก เมื่อก่อนเวลานั่งสักพักรู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่อยู่ที่ขา ลูบดูก็ไม่มี
วันต่อๆ มาก็เป็นอีก จุดเดิม ที่เดิม เหมือนเดินไต่ไปเรื่อยๆ แต่รู้ว่ามันไม่มีอะไรไต่จริง แต่ก็ไม่รู้มันคืออะไรบางครั้งก็ได้ยินเสียงดัง "ปัง" ดังมากด้วย เหมือนอะไรตกบนบ้าน แต่ถามแม่ แม่กลับไม่ได้ยิน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


huh
กรัชกายเอ๋ย....อ้อมค้อมเกินไปไม่ทันการที่ยกมาพูดเสียยาวยืด

ทำยังไงให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นความจริงในชีวิตตามอริยสัจ 4 โดยเร็วที่สุด จนขุดถอนความเห็นผิดยึดผิดออกเสียได้
นั่นเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะคนที่ถอนความเห็นผิดยึดผิดออกได้แล้ว ชีวิตประจำวันของเขาจะเป็นศีลเป็นธรรมเองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องสั่งไม่ต้องกำหนด

:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2016, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


กรัชกายเอ๋ย....อ้อมค้อมเกินไปไม่ทันการที่ยกมาพูดเสียยาวยืด

ทำยังไงให้ผู้ปฏิบัติได้เห็นความจริงในชีวิตตามอริยสัจ 4 โดยเร็วที่สุด จนขุดถอนความเห็นผิดยึดผิดออกเสียได้
นั่นเป็นสิ่งสำคัญ หลังจากนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เพราะคนที่ถอนความเห็นผิดยึดผิดออกได้แล้ว ชีวิตประจำวันของเขาจะเป็นศีลเป็นธรรมเองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องสั่งไม่ต้องกำหนด



ท่านอโศกขอรับ ต่อให้ด้านหนึ่งของชีวิตเป็นพระพุทธเจ้า อีกด้านหนึ่งของชีวิตก็ต้องบิณฑบาตเลี้ยงชีพ เออ จริงไม่จริง

มองมาที่ชาวบ้าน ต่อให้รู้ธรรมขนาดไหน บอกว่าเป็นชาติสุดท้าย ตื่นเช้าก็ต้องไปทำงานหาเลี้ยงชีวิต คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2016, 08:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


grin
มัวแต่ไปมองในมุมของชาวบ้าน ไม่พยายามมองเข้าในตัวเองอย่างที่ชาวธรรมควรจะทำ จึงฟุ้งซ่านไปกับความรู้วิชาการอย่างไม่รู้จบสิ้น

เหนื่อยนะกรัชกาย ชาตินี้จะเกิดมาตายเสียเปล่าไม่เข้าการ
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2016, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
grin
มัวแต่ไปมองในมุมของชาวบ้าน ไม่พยายามมองเข้าในตัวเองอย่างที่ชาวธรรมควรจะทำ จึงฟุ้งซ่านไปกับความรู้วิชาการอย่างไม่รู้จบสิ้น

เหนื่อยนะกรัชกาย ชาตินี้จะเกิดมาตายเสียเปล่าไม่เข้าการ
:b7:


ที่กรัชกายพูดข้างบนนะถูกไหมล่ะ

ท่านอโศกนี่ไม่เข้าใจสาธารณนาม อิอิ ชาวบ้านก็รวมหมดนั่นแหละ ทั้งอโศก ทั้งกรัชกาย นี่คือชาวบ้านทั่วๆไป จินไม่จินหือ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2016, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
grin
มัวแต่ไปมองในมุมของชาวบ้าน ไม่พยายามมองเข้าในตัวเองอย่างที่ชาวธรรมควรจะทำ จึงฟุ้งซ่านไปกับความรู้วิชาการอย่างไม่รู้จบสิ้น

เหนื่อยนะกรัชกาย ชาตินี้จะเกิดมาตายเสียเปล่าไม่เข้าการ
:b7:


ที่กรัชกายพูดข้างบนนะถูกไหมล่ะ

ท่านอโศกนี่ไม่เข้าใจสาธารณนาม อิอิ ชาวบ้านก็รวมหมดนั่นแหละ ทั้งอโศก ทั้งกรัชกาย นี่คือชาวบ้านทั่วๆไป จินไม่จินหือ :b13:

grin
ชาวบ้านโดยทั่วไปจะมองและดิ้นรนอยู่แต่ในเรื่อง

กิน
ขี้
สี่
นอน

ชาวธรรมนั้นจะมองหาทางหลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิดให้ทันในชาตินี้

กรัชกายไม่เห็นความแตกต่างในเรื่องนี้หรือ

อนิจจา!
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2016, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
grin
มัวแต่ไปมองในมุมของชาวบ้าน ไม่พยายามมองเข้าในตัวเองอย่างที่ชาวธรรมควรจะทำ จึงฟุ้งซ่านไปกับความรู้วิชาการอย่างไม่รู้จบสิ้น

เหนื่อยนะกรัชกาย ชาตินี้จะเกิดมาตายเสียเปล่าไม่เข้าการ
:b7:


ที่กรัชกายพูดข้างบนนะถูกไหมล่ะ

ท่านอโศกนี่ไม่เข้าใจสาธารณนาม อิอิ ชาวบ้านก็รวมหมดนั่นแหละ ทั้งอโศก ทั้งกรัชกาย นี่คือชาวบ้านทั่วๆไป จินไม่จินหือ :b13:

grin
ชาวบ้านโดยทั่วไปจะมองและดิ้นรนอยู่แต่ในเรื่อง

กิน
ขี้
สี่
นอน

ชาวธรรมนั้นจะมองหาทางหลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิดให้ทันในชาตินี้

กรัชกายไม่เห็นความแตกต่างในเรื่องนี้หรือ

อนิจจา!


ตราบเท่าที่ยังไม่ถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดอย่างถูกต้องแล้วแล้วล่ะก็ ยังต้องกิน ขี้ อี้ นอน ทั้งนั้นแหละท่านอโศก ตัวอย่าง นางวิสาขา มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น นี่เป็นอริยชนนะ ยังบริหารครอบครัว บริหารราชการบ้านเมืองยัง กิน ขี้ อี้ นอน จริงไม่จริง :b32:

พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร เป็นต้น ก็ยัง กิน ขี้ (เว้นสี่) นอน แต่ก็ยังทำงานพระศาสนา คือสั่งสอนประชาชนนะ ท่านอโศกว่าจริงไหม หือ หรือท่านอโศกว่าไม่กิน ไม่ขี้ ไม่นอน :b10:

อ้างคำพูด:
ชาวธรรมนั้นจะมองหาทางหลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิดให้ทันในชาตินี้


ไม่ทั้งหมดหรอกท่านอโศก หนทางหลุดพ้น ถ้าไม่รู้จักทาง อยากๆๆแบบท่านอโศกนี่ อยากจนขี้ไม่ออก อิอิ คืออยากจนท้องผูก ก็ไม่พ้น เพราะอะไร เพราะมีแต่ความอยาก คือตัณหาอย่างเดียว :b32: แต่ไม่รู้จักทางไปห้องน้ำห้องส้วม :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2016, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
อโศกะทำตามหน้าที่ที่ชาวพุทธทุกคนพึงกระทำ ไม่ใช่ทำไปด้วยความทะยานอยาก อย่างที่กรัชกายเข้าใจผิดไป

ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เจริญเหตุสุข ละเหตุทุกข์ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส นี่คืองานและหน้าที่ของชาวพุทธ

ถ้าจะทำตามโอวาทปาติโมกข์ก็

ละชั่ว
ทำแต่ดี
เพียรชำระจิตของตนให้ขาวรอบ


ชาตินี้จงเน้นหนักเรื่องการชำระจิตของตนให้ขาวรอบด้วยวิปัสสนาภาวนา ให้มากที่สุด เมื่อเหตุพอ ผลก็เกิด

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2016, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
[size=150]อโศกะทำตามหน้าที่ที่ชาวพุทธทุกคนพึงกระทำ ไม่ใช่ทำไปด้วยความทะยานอยาก อย่างที่กรัชกายเข้าใจผิดไป

ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เจริญเหตุสุข ละเหตุทุกข์ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส นี่คืองานและหน้าที่ของชาวพุทธ

ถ้าจะทำตามโอวาทปาติโมกข์ก็

ละชั่ว
ทำแต่ดี
เพียรชำระจิตของตนให้ขาวรอบ


ชาตินี้จงเน้นหนักเรื่องการชำระจิตของตนให้ขาวรอบด้วยวิปัสสนาภาวนา ให้มากที่สุด เมื่อเหตุพอ ผลก็เกิด


โหนวิปัสสนาภาวนาอีก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2016, 22:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอน
เป็นวิธีชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนต้องรู้และปฏิบัติได้

กรัชกายจะพูดว่า โหน หรืออะไรก็ไม่มีปัญหา ขอให้ทำวิปัสสนาภาวนาให้เป็นก็แล้วกัน

กรัชกายทำเป็นไหมล่ะ?

ถ้าทำเป็น ลองสรุปวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาให้ฟังให้อ่าน
ดูซิ

ถ้าสรุปมาไม่ได้ ก็จงอย่ามาทำไก๋ แสดงธรรมเผยแพร่ธรรมไม่จริงในลานนี้เลย พึงพิจารณาตัวเองได้แล้ว

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2016, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสอน
เป็นวิธีชำระจิตของตนให้ขาวรอบ
เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนต้องรู้และปฏิบัติได้

กรัชกายจะพูดว่า โหน หรืออะไรก็ไม่มีปัญหา ขอให้ทำวิปัสสนาภาวนาให้เป็นก็แล้วกัน

กรัชกายทำเป็นไหมล่ะ?

ถ้าทำเป็น ลองสรุปวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาให้ฟังให้อ่าน
ดูซิ

ถ้าสรุปมาไม่ได้ ก็จงอย่ามาทำไก๋ แสดงธรรมเผยแพร่ธรรมไม่จริงในลานนี้เลย พึงพิจารณาตัวเองได้แล้ว


บอกหลายครั้งไม่จำมั่ง ได้หน้าลืมหลัง คิกๆๆ

ย้ำให้อีกที

สัมปชัญญะก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ (เป็นอิสระจากกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองจิตใจ) นี่แหละคือวิปัสสนา

"วิปัสสนาภาวนา" หมายถึง การเจริญปัญญา, การทำให้ปัญญาเกิดมีขึ้น ฯลฯ นี่คือความหมายคำว่า วิปัสสนาภาวนา

จึงมีคำถามว่า ท่านอโศกเราๆท่านๆ ทำยังไงกันล่ะ ที่จะให้ปัญญามันมีมันเป็นขึ้นมา ไม่ใช่ไปโหนไปอ้างแต่ชื่อนั่นนี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร