วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 21:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 159 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2016, 19:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
กรัชกายจะไม่ยิ่งกว่าพวกนิคฤนหรือเพราะเห็นมีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องโลกย์ๆตั้งเยอะแยะ โหนว่าสนทนาธรรมแต่เอาเรื่องโลกย์มาอ้างเพื่อตั้งเป็นกระทู้ธรรม

กลับตรวจดูเสียใหม่นะกรัชกาย หน้า 1-2-3 ไปเรื่อยเป็นกระทู้ปัญหาโลกย์ของกรัชกายกี่เรื่องแล้ว ไม่สงบเย็นเลย
grin


โลกย์ที่ว่าหมายถึงอารัยหือ :b1:

:b16:
โลกียะ โลกของปุถุชน เรื่องของปุถุชน กัลยาชนเขาไม่อยากจะพูดถึงกัน ยิ่งผู้เจริญมรรค 8 เต็มที่แล้วเขาจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย มันเป็นมิจฉาวาจา
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2016, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
กรัชกายจะไม่ยิ่งกว่าพวกนิคฤนหรือเพราะเห็นมีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องโลกย์ๆตั้งเยอะแยะ โหนว่าสนทนาธรรมแต่เอาเรื่องโลกย์มาอ้างเพื่อตั้งเป็นกระทู้ธรรม

กลับตรวจดูเสียใหม่นะกรัชกาย หน้า 1-2-3 ไปเรื่อยเป็นกระทู้ปัญหาโลกย์ของกรัชกายกี่เรื่องแล้ว ไม่สงบเย็นเลย
grin


โลกย์ที่ว่าหมายถึงอารัยหือ :b1:

:b16:
โลกียะ โลกของปุถุชน เรื่องของปุถุชน กัลยาชนเขาไม่อยากจะพูดถึงกัน ยิ่งผู้เจริญมรรค 8 เต็มที่แล้วเขาจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย มันเป็นมิจฉาวาจา
onion



พระพุทธเจ้าพูดเกี่ยวกับโลกย์ไหม ตอบนะ

1. ไม่พูด

2. พูด

ข้อไหน 1 หรือ 2

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
กรัชกายจะไม่ยิ่งกว่าพวกนิคฤนหรือเพราะเห็นมีกระทู้เกี่ยวกับเรื่องโลกย์ๆตั้งเยอะแยะ โหนว่าสนทนาธรรมแต่เอาเรื่องโลกย์มาอ้างเพื่อตั้งเป็นกระทู้ธรรม

กลับตรวจดูเสียใหม่นะกรัชกาย หน้า 1-2-3 ไปเรื่อยเป็นกระทู้ปัญหาโลกย์ของกรัชกายกี่เรื่องแล้ว ไม่สงบเย็นเลย


โลกย์ที่ว่าหมายถึงอารัยหือ :b1:

:b16:
โลกียะ โลกของปุถุชน เรื่องของปุถุชน กัลยาชนเขาไม่อยากจะพูดถึงกัน ยิ่งผู้เจริญมรรค 8 เต็มที่แล้วเขาจะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านี้เลย มันเป็นมิจฉาวาจา



พระพุทธเจ้าพูดเกี่ยวกับโลกย์ไหม ตอบนะ

1. ไม่พูด

2. พูด

ข้อไหน 1 หรือ 2



ท่านอโศกตอบคำถามนี่สิขอรับ แต่กรัชกายพยากรณ์ล่วงหน้าไว้เลยว่า ไม่กล้าตอบ

ผู้เห็นสุดโต่ง ไปด้านใดด้านหนึ่งเช่นนี้ จะไม่มีวันเข้าใจพุทธธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธะเลยไม่ว่ากรณีใดๆ

สิ่งที่เห็นว่าปรมัตถ์อะไรนั่นก็เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปแล้ว :b1: :b1:

พูดให้คิดนิดหนึ่ง สัมมาทิฏฐิ ยังมีที่เป็นโลกียะ กับ โลกุตระเลย (โลกียสัมมาทิฏฐิ - โลกุตรสัมมาทิฏฐิ) ไปศึกษาความหมายให้ชัด

คำว่า โลกียะ ที่ท่านอโศกเขียน โลกย์ ความหมายทางธรรม กับ ที่เราๆท่านๆ เข้าใจ ก็ไม่ตรงกับของเขา :b1:

บอกใบ้ให้นิดหนึ่ง ถ้าจะศึกษาพุทธธรรม ให้ลบความคิดความเคยชินเดิมๆออกให้หมดก่อน แล้วมาศึกษาหลักธรรมพร้อมความหมายของเขา นั่นแหละจึงจะเข้าใจภาษาทางธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2016, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion

เหรียญสองด้านแห่งทางโลกทางธรรม อิทัปปัจจยตา ของ “โลกียะและโลกุตระ”


เหตุและผลของโลกียะ


เหตุแห่งโลกียะ คือ ความไม่รู้ (อวิชชา)
ผลแห่งโลกียะ คือ สมมุติบัญญัติ (เปลือก)


เมื่อมีความไม่รู้เป็นเหตุต้น มนุษย์จึงสมมุติสิ่งต่างๆ บัญญัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเรียก เป็นผล ขึ้นมาจดจำ ขึ้นมาปรุงแต่งว่าแบบนั้นดี แบบนี้ชั่ว แล้วยึดมั่นถือมั่นจดจำไว้ ดังนั้น ความไม่รู้เป็นเหตุ สมมุติจึงเป็นผล เรื่องของโลกีย์ จึงมีแต่เรื่องสมมุติ มายา ละครชีวิต ดั่งคำว่าโลกนี้คือละคร จบเป็นตอนๆ ผัวผวนเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนในความเป็นสมมุติมายาแห่งโลก ดังนั้น บุคคลผู้หลงโลก จึงหลงเพียงมายา หลงเพียงความสมมุติ สมมุติว่ามีเงินในธนาคารล้านล้านบาท แต่ใช้จริงๆ ได้เท่าไร เบิกจริงได้เท่าไร (บางครั้งเบิกไม่ได้ เพราะจะทำให้หุ้นตกบ้าง เป็นเงินกันสำรองของบริษัทบ้าง ฯลฯ) ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เท่าไร บางครั้ง แทบไมได้เลย เพราะต้องคุมดูแลระแวดระวังเงินจะหาย จะหด จะหมด จะสูญอยู่ตลอดเวลา จึงมีก็เหมือนว่าไม่ได้มี ใช้ก็เหมือนว่าไม่ได้ใช้ นี่มีแต่มายาแห่งโลก ความเป็นจริงของชีวิต นั้นอยู่ที่ชีวิตจริงๆ ในปัจจุบัน แต่ละขณะ ทำอะไร สมควรค่าแก่ความเป็นมนุษย์หรือไม่ เช่น บ้างานทั้งวันเหมือนหุ่นยนต์ไม่เหมือนมนุษย์ หรือมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติและจิตตนเองทั้งวัน สมค่าแก่การเกิดเป็นมนุษย์ อันนี้ลองไปดูดีๆ


ดังนี้ จึงอุปมาว่า อวิชชาและสมมุติบัญญัติ เป็นเหรียญสองด้านแห่งโลกียะ หากไม่มีอวิชชา (ความไม่รู้) ก็ไม่มีการสมมุติบัญญัติ หากไม่มีการยึดถือสมมุติบัญญัติ ก็ไม่มีอวิชชา ทั้งสองนี้ดุจเหรียญสองด้านจะขาดกันไม่ได้ ขาดด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่เต็มเหรียญ


เหตุและผลของโลกุตระ


เหตุแห่งโลกุตระ คือ ว่างจากสมมุติ (กิเลสนิพพาน)
ผลแห่งโลกุตระ คือ บรรลุสัจธรรม (แก่น)


เมื่อมีความว่างไป สูญไป หมดไปแห่งสมมุติบัญญัติใดๆ เสมือนบุคคลลอกเปลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกหมด ย่อมเห็นถึงแก่นแท้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อหมดสิ้น อาสวะกิเลส ความยึดถือในสมมุติ ในบัญญัติใดๆ ทั้งมวล ย่อมเห็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้บริสุทธิ์ไม่ปรุงแต่งตามจริง เพราะว่าการสมมุติบัญญัตินี้เองที่ปิดบังความจริง เมื่อสิ้นไปเสีย ความจริงก็ปรากฏ เพราะสัจธรรมความจริงเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อาจคะเนการกำเนิด เป็นเช่นนั้นอยู่เอง ดังนั้น จึงไม่ต้องแสวงหาที่ไหน ไม่ต้องสร้างขึ้นมา ไม่ต้องปรุงแต่งใดๆ เมื่อหมดแล้วซึ่งความหลง ความยึดถือในสมมุติบัญญัติ ความปรุงแต่ง และความหลงอยากในสมมุติมายาแห่งโลกใดๆ สัจธรรมความจริงแท้ก็ปรากฏขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อสัจธรรมความจริงแท้ปรากฏขึ้น ทำให้บุคคลเข้าใจถึงสมมุติมายาแห่งโลก ความหลง ความยึดถือสมมุติมายาที่มีมาแต่เดิม ความหลงอยากอาลัยในสมมุติมายาที่มีมาแต่เดิม ก็พลันสิ้นสูญไป เพราะความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมอันบริสุทธิ์เที่ยงแท้ได้ปรากฏขึ้นั่นเอง ดังนั้น เพราะความว่างจากสมมุติ จึงเห็นสัจธรรมตามจริง (บรรลุ) หรือเพราะความเห็นสัจธรรมตามจริง จึงว่างพ้นไปจากสมมุติ (กิเลสนิพพาน) ในกรณีแรก เป็นการเข้าถึงธรรมโดยกำลังความบริสุทธิ์ของจิตถึงก่อน เรียกว่า “เจโตวิมุติ” กรณีหลัง เป็นการเข้าถึงธรรมโดยปัญญาชำแรกเห็นธรรมก่อน จิตจึงจะบริสุทธิ์ในภายหลัง เรียกว่า “ปัญญาวิมุติ” แบบหลังนี้ หากพระโพธิสัตว์ถึงธรรมแล้ว จะยั้งจิตไม่ให้จิตบริสุทธิ์ไปหมด เพื่อจะเกิดใหม่ช่วยสรรพสัตว์ในชาติต่อไปก็ได้ ที่เรียกว่าการ “บรรลุฉับพลัน” นั่นเอง


ดังนั้น เพราะทั้งสองสิ่งเป็นเหตุและผลแก่กัน จึงอุปมาเป็นเหรียญสองด้านของโลกุตระ


โลกียะและโลกุตระเป็นเหรียญเดียวกัน


๑) เหรียญที่หมุนอย่างไม่สิ้นสุด ของ “โลกุตระและโลกียะ” (โลกหมุน)


กระบวนการเหตุและผลที่เสมือนเหรียญสองด้านนี้ ได้หมุนวน กลับด้าน จากด้านเหตุกลายเป็นผล และด้านผลกลายเป็นเหตุ ทำให้เกิดวัฏสงสารไม่สิ้นสุด ดังนี้


๑.๑) การหมุนจากด้านความไม่รู้ (อวิชชา)


โลกุตระเป็นเหตุ คือ ความบริสุทธิ์ของจิตเดิมแท้ แต่ดั่งเดิมไม่รู้เรื่องสมมุติมายาแห่งโลก จึงหลงผิดคิดว่าสมมุติมายาแห่งโลกนั้น คือ สัจธรรมความจริง จึงหลงยึดถือ นี่คือ สัจธรรมความจริงอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์เกิดมาเป็นผู้ไม่รู้แต่ต้นก่อน แม้จิตจะบริสุทธิ์ก็ตาม
โลกียะเป็นผล คือ ความหลงยึดถือในสมมุติมายาแห่งโลก ทำให้ไม่อาจพ้นโลกียะไปได้ ไม่อาจเห็นสัจธรรมตามจริงได้ หลงวนอยู่นั่นเอง โดยธรรมชาติ นี่คือ ผลเป็นโลกียะ


๑.๒) การหมุนจากด้านสมมุติบัญญัติ


โลกียะเป็นเหตุ คือ โลกแต่เดิมนั้น ก่อนบุคคลจะเกิดขึ้น ไม่มีใครรู้สัจธรรมความจริงมาก่อน จึงต้องสมมุติบัญญัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้ยึดถือไว้ชั่วคราว ให้สามารถอยู่กันได้ ดังนั้น ที่โลกต้องมีพระราชา มีทาส มีพ่อ มีลูก นั้น เพื่อให้อยู่กันสงบสุขชั่วคราวเท่านั้น
โลกุตระเป็นผล คือ การเวียนว่ายตายเกิด วัฏจักร การหมุนวนไม่สิ้นสุดของสมมุติมายาทางโลก เพราะเหตุจากการสมมุติบัญญัติ ทำให้ลูกหลานถูกสั่งสอนให้ยึดถือในสมมุติบัญญัติ จึงแทบไม่มีผู้หลุดพ้นจากสมมุติบัญญัติ อันนี้ เป็นสัจธรรมความจริงอย่างหนึ่ง


กระบวนการนี้ ก่อให้เกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด และก่อให้เกิดชาติภพใหม่ๆ ไม่สิ้นสุดของแต่ละบุคคล และเกิดวัฏจักรของโลกียะ คือ โลกแห่งสมมุติมายา ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นต่อรุ่นไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อบุคคลเกิดมายังไม่รู้ประสาอะไร ก็ต้องยึดถือจดจำสิ่งต่างๆ ไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น สมมุติมายาจึงได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้มนุษย์ผู้นั้นปรับตัวอยู่ในโลกได้ชั่วคราว นี่คือ วัฏจักรของโลก


๒) เหรียญที่หมุนอย่างมีที่สิ้นสุด ของ “โลกุตระและโลกียะ” (ธรรมจักรหมุน)


กระบวนการเหตุและผลที่เสมือนเหรียญสองด้านนี้ ได้หมุนวน กลับด้าน จากด้านเหตุกลายเป็นผล และด้านผลกลายเป็นเหตุ ทำให้เกิด “ธรรมจักร” หมุนวนไม่สิ้นสุด ดังนี้


๒.๑) การหมุนวนจากด้านสมมุติ


โลกียะเป็นเหตุ คือ ความสมมุติมายาแห่งโลก นำมาซึ่ง “ทุกข์” ทำให้บุคคลแสวงหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ และสมมุติมายานี้เอง โดยธรรมชาติของมัน นี่คือ สาเหตุ
โลกุตระเป็นผล คือ สัจธรรมความจริงอันพ้นจากสมมุติมายาแห่งโลก นำมาซึ่ง “ความพ้นทุกข์” การ “พ้นโลก” เพราะสัจธรรมความจริงนั้นเอง โดยธรรมชาติ นี่คือ ผล


การหมุนวนแบบนี้ อาศัยโลกเป็นเสมือนแรงเหวี่ยง คือ ทางธรรมไม่ใช่ผู้กระทำ ทางโลกเป็นผู้กระทำเอง บีบเค้นให้เกิดแรงเหวี่ยงให้หลุดพ้นออกจากโลก คือยิ่งโลกมีความหลงในมายามากขึ้นเท่าไร ความทุกข์ก็จะยิ่งทวีมากขึ้นเท่านั้น บุคคลหนึ่งย่อมพยายามหลีกหนีออกจากวังวนทุกข์นั้นด้วยตนเอง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้วที่จะหนีจากทุกข์ ดังนั้น ทางธรรมไม่ต้องร้อนรนใจอะไรเลย ปล่อยให้โลกมายาจัดการตัวเองไปแทน


๒.๒) การหมุนวนจากด้านสัจธรรม


โลกุตระเป็นเหตุ คือ สัจธรรมความจริงอันมีอยู่ก่อนแล้ว ได้ปรากฏให้ผู้คนได้เห็นได้เข้าใจ เช่น การตายของบุคคลที่เกิดขึ้นทุกวัน เป็นเครื่องเตือนทุกคนว่าความตายเป็นของแน่แท้ ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เพราะสัจธรรมความจริง มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จึงไม่ต้องแสวงหาหรือสร้างใหม่แต่อย่างใด ขาดเพียงคนเข้าใจแล้วนำไปอธิบายให้บุคคลอื่นเข้าใจตามได้โดยง่ายก็เท่านั้น ดังนั้น โลกุตระ หรือสัจธรรม จึงเป็นสาเหตุต้นให้เริ่มหมุน
โลกียะเป็นผล คือ ความเข้าใจในสมมุติแห่งโลกบัญญัติแห่งโลกว่าช่วยประคับประคอง ให้บุคคลที่เกิดใหม่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไร ได้เข้าใจ ยึดถือเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อความสงบเรียบร้อยของการดำเนินชีวิต จวบจนกว่าจะพบกับความวุ่นวายถึงที่สุดแล้วถูกเหวี่ยงหลุดออกมาจนพ้นโลก นั่นแหละ กระบวนการของโลก ดังนั้น จึงเข้าใจและยอมรับสมมุติมายาเหล่านี้ ไม่ไปทำลายสมมุติมายา และสามารถสร้างสรรค์สมมุติมายา สร้างบัญญัติใหม่ๆ ที่ดีงามให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น การสร้างประเพณี, สร้างศาสนา (ซึ่งเป็นสมมุติ)


การหมุนวนแบบนี้ ทำให้บุคคลบรรลุถึงสัจธรรมความจริง แล้วยังเข้าใจโลก ไม่แปลกแยกตัวเองออกจากโลก ปรับตัวเองเข้ากับสมมุติบัญญัติแห่งโลกได้ อยู่ในโลกของคนที่หลงโลกได้อย่างปกติสุข ทั้งยังมีพลังอำนาจในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แก่โลกได้ด้วย สิ่งที่สร้างใหม่นั้น มาจากสัจธรรมแก่นแท้ แต่ห่อหุ้มด้วยเปลือกสมมุติบัญญัติที่แตกต่างกันออกไปเหมาะสมตามยุคสมัยและสถานการณ์เช่น การสร้างศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้า การสร้างศาสนาคริสต์ของพระเยซู, การสร้างศาสนาฮินดูของชาวพราหมณ์, การสร้างศาสนาอิสลามของพระนบีมูฮัมหมัด ซึ่งล้วนแต่เข้าใจในสัจธรรมความจริงของโลกนี้ทั้งสิ้น แล้วจึงบัญญัติสมมุติต่างๆ ตามแต่ยุคสมัยและสถานการณ์จะเหมาะสมเอื้ออำนวยไป ทำให้ดูมีความแตกต่างกันในสมมุติบัญญัตินั้น ว่าเป็นศาสนานี้ ศาสนานั้น แท้แล้วก็เข้าถึงสัจธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่อาศัยสมมุติบัญญัติที่แตกต่างกันในการอธิบายถ่ายถอด เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง นี่คือ การหมุนวนของธรรมะ ไม่ใช่การหมุนวนทางโลก ที่เรียกว่า “ธรรมจักรหมุนแล้ว” อันเป็นหัวใจแห่งพระยูไลนั่นเอง


บทสรุปส่งท้ายบทความ


จะเห็นได้ว่า “ทางโลกก็หมุนไป” และ “ทางธรรมก็หมุนไป” การหมุนทางโลกมากไป ก็เกิดแรงเหวี่ยงให้หลุดออกจากทางโลก มาสู่ทางธรรม ดังนั้น ทางโลกและทางธรรม จึงเสมือนเป็นเหรียญเดียวกันอยู่คนละด้าน ต่างประกอบอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้วดับไป ตามแต่ละยุคละสมัยหมุนเวียนเปลี่ยนผันไม่มีวันสิ้นสุด ไม่อาจคาดคะเนจุดเริ่มได้ ในกลไกลการหมุนทางโลก อาศัยความไม่รู้อยู่ก่อน อันเป็นสัจธรรมความจริงของมนุษย์ทุกคน และอาศัยการสมมุติบัญญัติสิ่งต่างๆ เพื่อให้โลกสงบสุขอยู่ร่วมกันได้ดี เป็นกลไกลให้เกิดการหมุนในทางโลก ส่วนการหมุนในทางธรรมนั้น อาศัยกลไกลสัจธรรมความจริงแสดงตัวเอง หรือบีบคั้นให้มนุษย์เห็นมันเอง เพราะมันมีอยู่แล้ว มีอยู่ก่อน มีอยู่จริง จึงมีพลังพอที่จะขับดับมนุษย์ได้ทุกคนให้ประจักษ์แจ้งในพลังแห่งธรรมชาตินั้น เป็นด้านหนึ่งในการหมุน อีกด้านหนึ่งคือ สมมุติบัญญัติ ที่ส่งผลเป็นพิษร้ายต่อมวลมนุษย์ที่หลงมัน ได้แสดงถึงพิษ ถึงความจริงอันเป็นทุกข์ อันเป็นสัจธรรมของมันอย่างแท้จริงออกมา ทำให้เหล่ามนุษย์ ต้องประจักษ์แจ้งในความจริงนั้น และเลิกหลงสมมุติมายาแห่งโลก
อนึ่ง บทความนี้อาจดูยาก ไม่สามารถอธิบายให้ง่ายได้มากกว่านี้เพราะจะทำให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริง จึงต้องอธิบายสั้นกระชับรัดกุม ตรงประเด็นไม่เป็นอื่น และในความตรงประเด็นนั้น ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน ดุจเหรียญๆ เดียวกันแต่มีสองด้าน มีพลวัตรแห่งการหมุนขึ้น ก็เกิดกลับด้านสลับไปมา ทำให้เกิดความงุนงงแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ขอให้ค่อยๆ ลำดับความคิดไป เพราะ “เหตุก็คือผล ผลก็คือเหตุ” เกิดดับด้วยมันเองในหนึ่งเดียวกัน แล้วแต่ว่าจะสมมุติ ยึดถือดูด้านใดก่อนเป็นเหตุต้นหรือผลปลาย
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2016, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion

เหรียญสองด้านแห่งทางโลกทางธรรม อิทัปปัจจยตา ของ “โลกียะและโลกุตระ”


เหตุและผลของโลกียะ


เหตุแห่งโลกียะ คือ ความไม่รู้ (อวิชชา)
ผลแห่งโลกียะ คือ สมมุติบัญญัติ (เปลือก)


เมื่อมีความไม่รู้เป็นเหตุต้น มนุษย์จึงสมมุติสิ่งต่างๆ บัญญัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเรียก เป็นผล ขึ้นมาจดจำ ขึ้นมาปรุงแต่งว่าแบบนั้นดี แบบนี้ชั่ว แล้วยึดมั่นถือมั่นจดจำไว้ ดังนั้น ความไม่รู้เป็นเหตุ สมมุติจึงเป็นผล เรื่องของโลกีย์ จึงมีแต่เรื่องสมมุติ มายา ละครชีวิต ดั่งคำว่าโลกนี้คือละคร จบเป็นตอนๆ ผัวผวนเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนในความเป็นสมมุติมายาแห่งโลก ดังนั้น บุคคลผู้หลงโลก จึงหลงเพียงมายา หลงเพียงความสมมุติ สมมุติว่ามีเงินในธนาคารล้านล้านบาท แต่ใช้จริงๆ ได้เท่าไร เบิกจริงได้เท่าไร (บางครั้งเบิกไม่ได้ เพราะจะทำให้หุ้นตกบ้าง เป็นเงินกันสำรองของบริษัทบ้าง ฯลฯ) ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เท่าไร บางครั้ง แทบไมได้เลย เพราะต้องคุมดูแลระแวดระวังเงินจะหาย จะหด จะหมด จะสูญอยู่ตลอดเวลา จึงมีก็เหมือนว่าไม่ได้มี ใช้ก็เหมือนว่าไม่ได้ใช้ นี่มีแต่มายาแห่งโลก ความเป็นจริงของชีวิต นั้นอยู่ที่ชีวิตจริงๆ ในปัจจุบัน แต่ละขณะ ทำอะไร สมควรค่าแก่ความเป็นมนุษย์หรือไม่ เช่น บ้างานทั้งวันเหมือนหุ่นยนต์ไม่เหมือนมนุษย์ หรือมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติและจิตตนเองทั้งวัน สมค่าแก่การเกิดเป็นมนุษย์ อันนี้ลองไปดูดีๆ


ดังนี้ จึงอุปมาว่า อวิชชาและสมมุติบัญญัติ เป็นเหรียญสองด้านแห่งโลกียะ หากไม่มีอวิชชา (ความไม่รู้) ก็ไม่มีการสมมุติบัญญัติ หากไม่มีการยึดถือสมมุติบัญญัติ ก็ไม่มีอวิชชา ทั้งสองนี้ดุจเหรียญสองด้านจะขาดกันไม่ได้ ขาดด้านใดด้านหนึ่งก็ไม่เต็มเหรียญ


เหตุและผลของโลกุตระ


เหตุแห่งโลกุตระ คือ ว่างจากสมมุติ (กิเลสนิพพาน)
ผลแห่งโลกุตระ คือ บรรลุสัจธรรม (แก่น)


เมื่อมีความว่างไป สูญไป หมดไปแห่งสมมุติบัญญัติใดๆ เสมือนบุคคลลอกเปลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกหมด ย่อมเห็นถึงแก่นแท้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อหมดสิ้น อาสวะกิเลส ความยึดถือในสมมุติ ในบัญญัติใดๆ ทั้งมวล ย่อมเห็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้บริสุทธิ์ไม่ปรุงแต่งตามจริง เพราะว่าการสมมุติบัญญัตินี้เองที่ปิดบังความจริง เมื่อสิ้นไปเสีย ความจริงก็ปรากฏ เพราะสัจธรรมความจริงเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อาจคะเนการกำเนิด เป็นเช่นนั้นอยู่เอง ดังนั้น จึงไม่ต้องแสวงหาที่ไหน ไม่ต้องสร้างขึ้นมา ไม่ต้องปรุงแต่งใดๆ เมื่อหมดแล้วซึ่งความหลง ความยึดถือในสมมุติบัญญัติ ความปรุงแต่ง และความหลงอยากในสมมุติมายาแห่งโลกใดๆ สัจธรรมความจริงแท้ก็ปรากฏขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง เมื่อสัจธรรมความจริงแท้ปรากฏขึ้น ทำให้บุคคลเข้าใจถึงสมมุติมายาแห่งโลก ความหลง ความยึดถือสมมุติมายาที่มีมาแต่เดิม ความหลงอยากอาลัยในสมมุติมายาที่มีมาแต่เดิม ก็พลันสิ้นสูญไป เพราะความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมอันบริสุทธิ์เที่ยงแท้ได้ปรากฏขึ้นั่นเอง ดังนั้น เพราะความว่างจากสมมุติ จึงเห็นสัจธรรมตามจริง (บรรลุ) หรือเพราะความเห็นสัจธรรมตามจริง จึงว่างพ้นไปจากสมมุติ (กิเลสนิพพาน) ในกรณีแรก เป็นการเข้าถึงธรรมโดยกำลังความบริสุทธิ์ของจิตถึงก่อน เรียกว่า “เจโตวิมุติ” กรณีหลัง เป็นการเข้าถึงธรรมโดยปัญญาชำแรกเห็นธรรมก่อน จิตจึงจะบริสุทธิ์ในภายหลัง เรียกว่า “ปัญญาวิมุติ” แบบหลังนี้ หากพระโพธิสัตว์ถึงธรรมแล้ว จะยั้งจิตไม่ให้จิตบริสุทธิ์ไปหมด เพื่อจะเกิดใหม่ช่วยสรรพสัตว์ในชาติต่อไปก็ได้ ที่เรียกว่าการ “บรรลุฉับพลัน” นั่นเอง


ดังนั้น เพราะทั้งสองสิ่งเป็นเหตุและผลแก่กัน จึงอุปมาเป็นเหรียญสองด้านของโลกุตระ


โลกียะและโลกุตระเป็นเหรียญเดียวกัน


๑) เหรียญที่หมุนอย่างไม่สิ้นสุด ของ “โลกุตระและโลกียะ” (โลกหมุน)


กระบวนการเหตุและผลที่เสมือนเหรียญสองด้านนี้ ได้หมุนวน กลับด้าน จากด้านเหตุกลายเป็นผล และด้านผลกลายเป็นเหตุ ทำให้เกิดวัฏสงสารไม่สิ้นสุด ดังนี้


๑.๑) การหมุนจากด้านความไม่รู้ (อวิชชา)


โลกุตระเป็นเหตุ คือ ความบริสุทธิ์ของจิตเดิมแท้ แต่ดั่งเดิมไม่รู้เรื่องสมมุติมายาแห่งโลก จึงหลงผิดคิดว่าสมมุติมายาแห่งโลกนั้น คือ สัจธรรมความจริง จึงหลงยึดถือ นี่คือ สัจธรรมความจริงอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์เกิดมาเป็นผู้ไม่รู้แต่ต้นก่อน แม้จิตจะบริสุทธิ์ก็ตาม
โลกียะเป็นผล คือ ความหลงยึดถือในสมมุติมายาแห่งโลก ทำให้ไม่อาจพ้นโลกียะไปได้ ไม่อาจเห็นสัจธรรมตามจริงได้ หลงวนอยู่นั่นเอง โดยธรรมชาติ นี่คือ ผลเป็นโลกียะ


๑.๒) การหมุนจากด้านสมมุติบัญญัติ


โลกียะเป็นเหตุ คือ โลกแต่เดิมนั้น ก่อนบุคคลจะเกิดขึ้น ไม่มีใครรู้สัจธรรมความจริงมาก่อน จึงต้องสมมุติบัญญัติสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้ยึดถือไว้ชั่วคราว ให้สามารถอยู่กันได้ ดังนั้น ที่โลกต้องมีพระราชา มีทาส มีพ่อ มีลูก นั้น เพื่อให้อยู่กันสงบสุขชั่วคราวเท่านั้น
โลกุตระเป็นผล คือ การเวียนว่ายตายเกิด วัฏจักร การหมุนวนไม่สิ้นสุดของสมมุติมายาทางโลก เพราะเหตุจากการสมมุติบัญญัติ ทำให้ลูกหลานถูกสั่งสอนให้ยึดถือในสมมุติบัญญัติ จึงแทบไม่มีผู้หลุดพ้นจากสมมุติบัญญัติ อันนี้ เป็นสัจธรรมความจริงอย่างหนึ่ง


กระบวนการนี้ ก่อให้เกิดสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิด และก่อให้เกิดชาติภพใหม่ๆ ไม่สิ้นสุดของแต่ละบุคคล และเกิดวัฏจักรของโลกียะ คือ โลกแห่งสมมุติมายา ถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นต่อรุ่นไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อบุคคลเกิดมายังไม่รู้ประสาอะไร ก็ต้องยึดถือจดจำสิ่งต่างๆ ไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น สมมุติมายาจึงได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดให้ดำรงอยู่ต่อไป เพื่อให้มนุษย์ผู้นั้นปรับตัวอยู่ในโลกได้ชั่วคราว นี่คือ วัฏจักรของโลก


๒) เหรียญที่หมุนอย่างมีที่สิ้นสุด ของ “โลกุตระและโลกียะ” (ธรรมจักรหมุน)


กระบวนการเหตุและผลที่เสมือนเหรียญสองด้านนี้ ได้หมุนวน กลับด้าน จากด้านเหตุกลายเป็นผล และด้านผลกลายเป็นเหตุ ทำให้เกิด “ธรรมจักร” หมุนวนไม่สิ้นสุด ดังนี้


๒.๑) การหมุนวนจากด้านสมมุติ


โลกียะเป็นเหตุ คือ ความสมมุติมายาแห่งโลก นำมาซึ่ง “ทุกข์” ทำให้บุคคลแสวงหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ และสมมุติมายานี้เอง โดยธรรมชาติของมัน นี่คือ สาเหตุ
โลกุตระเป็นผล คือ สัจธรรมความจริงอันพ้นจากสมมุติมายาแห่งโลก นำมาซึ่ง “ความพ้นทุกข์” การ “พ้นโลก” เพราะสัจธรรมความจริงนั้นเอง โดยธรรมชาติ นี่คือ ผล


การหมุนวนแบบนี้ อาศัยโลกเป็นเสมือนแรงเหวี่ยง คือ ทางธรรมไม่ใช่ผู้กระทำ ทางโลกเป็นผู้กระทำเอง บีบเค้นให้เกิดแรงเหวี่ยงให้หลุดพ้นออกจากโลก คือยิ่งโลกมีความหลงในมายามากขึ้นเท่าไร ความทุกข์ก็จะยิ่งทวีมากขึ้นเท่านั้น บุคคลหนึ่งย่อมพยายามหลีกหนีออกจากวังวนทุกข์นั้นด้วยตนเอง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้วที่จะหนีจากทุกข์ ดังนั้น ทางธรรมไม่ต้องร้อนรนใจอะไรเลย ปล่อยให้โลกมายาจัดการตัวเองไปแทน


๒.๒) การหมุนวนจากด้านสัจธรรม


โลกุตระเป็นเหตุ คือ สัจธรรมความจริงอันมีอยู่ก่อนแล้ว ได้ปรากฏให้ผู้คนได้เห็นได้เข้าใจ เช่น การตายของบุคคลที่เกิดขึ้นทุกวัน เป็นเครื่องเตือนทุกคนว่าความตายเป็นของแน่แท้ ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เพราะสัจธรรมความจริง มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จึงไม่ต้องแสวงหาหรือสร้างใหม่แต่อย่างใด ขาดเพียงคนเข้าใจแล้วนำไปอธิบายให้บุคคลอื่นเข้าใจตามได้โดยง่ายก็เท่านั้น ดังนั้น โลกุตระ หรือสัจธรรม จึงเป็นสาเหตุต้นให้เริ่มหมุน
โลกียะเป็นผล คือ ความเข้าใจในสมมุติแห่งโลกบัญญัติแห่งโลกว่าช่วยประคับประคอง ให้บุคคลที่เกิดใหม่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไร ได้เข้าใจ ยึดถือเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อความสงบเรียบร้อยของการดำเนินชีวิต จวบจนกว่าจะพบกับความวุ่นวายถึงที่สุดแล้วถูกเหวี่ยงหลุดออกมาจนพ้นโลก นั่นแหละ กระบวนการของโลก ดังนั้น จึงเข้าใจและยอมรับสมมุติมายาเหล่านี้ ไม่ไปทำลายสมมุติมายา และสามารถสร้างสรรค์สมมุติมายา สร้างบัญญัติใหม่ๆ ที่ดีงามให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย เช่น การสร้างประเพณี, สร้างศาสนา (ซึ่งเป็นสมมุติ)


การหมุนวนแบบนี้ ทำให้บุคคลบรรลุถึงสัจธรรมความจริง แล้วยังเข้าใจโลก ไม่แปลกแยกตัวเองออกจากโลก ปรับตัวเองเข้ากับสมมุติบัญญัติแห่งโลกได้ อยู่ในโลกของคนที่หลงโลกได้อย่างปกติสุข ทั้งยังมีพลังอำนาจในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แก่โลกได้ด้วย สิ่งที่สร้างใหม่นั้น มาจากสัจธรรมแก่นแท้ แต่ห่อหุ้มด้วยเปลือกสมมุติบัญญัติที่แตกต่างกันออกไปเหมาะสมตามยุคสมัยและสถานการณ์เช่น การสร้างศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้า การสร้างศาสนาคริสต์ของพระเยซู, การสร้างศาสนาฮินดูของชาวพราหมณ์, การสร้างศาสนาอิสลามของพระนบีมูฮัมหมัด ซึ่งล้วนแต่เข้าใจในสัจธรรมความจริงของโลกนี้ทั้งสิ้น แล้วจึงบัญญัติสมมุติต่างๆ ตามแต่ยุคสมัยและสถานการณ์จะเหมาะสมเอื้ออำนวยไป ทำให้ดูมีความแตกต่างกันในสมมุติบัญญัตินั้น ว่าเป็นศาสนานี้ ศาสนานั้น แท้แล้วก็เข้าถึงสัจธรรมเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่อาศัยสมมุติบัญญัติที่แตกต่างกันในการอธิบายถ่ายถอด เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง นี่คือ การหมุนวนของธรรมะ ไม่ใช่การหมุนวนทางโลก ที่เรียกว่า “ธรรมจักรหมุนแล้ว” อันเป็นหัวใจแห่งพระยูไลนั่นเอง


บทสรุปส่งท้ายบทความ


จะเห็นได้ว่า “ทางโลกก็หมุนไป” และ “ทางธรรมก็หมุนไป” การหมุนทางโลกมากไป ก็เกิดแรงเหวี่ยงให้หลุดออกจากทางโลก มาสู่ทางธรรม ดังนั้น ทางโลกและทางธรรม จึงเสมือนเป็นเหรียญเดียวกันอยู่คนละด้าน ต่างประกอบอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้วดับไป ตามแต่ละยุคละสมัยหมุนเวียนเปลี่ยนผันไม่มีวันสิ้นสุด ไม่อาจคาดคะเนจุดเริ่มได้ ในกลไกลการหมุนทางโลก อาศัยความไม่รู้อยู่ก่อน อันเป็นสัจธรรมความจริงของมนุษย์ทุกคน และอาศัยการสมมุติบัญญัติสิ่งต่างๆ เพื่อให้โลกสงบสุขอยู่ร่วมกันได้ดี เป็นกลไกลให้เกิดการหมุนในทางโลก ส่วนการหมุนในทางธรรมนั้น อาศัยกลไกลสัจธรรมความจริงแสดงตัวเอง หรือบีบคั้นให้มนุษย์เห็นมันเอง เพราะมันมีอยู่แล้ว มีอยู่ก่อน มีอยู่จริง จึงมีพลังพอที่จะขับดับมนุษย์ได้ทุกคนให้ประจักษ์แจ้งในพลังแห่งธรรมชาตินั้น เป็นด้านหนึ่งในการหมุน อีกด้านหนึ่งคือ สมมุติบัญญัติ ที่ส่งผลเป็นพิษร้ายต่อมวลมนุษย์ที่หลงมัน ได้แสดงถึงพิษ ถึงความจริงอันเป็นทุกข์ อันเป็นสัจธรรมของมันอย่างแท้จริงออกมา ทำให้เหล่ามนุษย์ ต้องประจักษ์แจ้งในความจริงนั้น และเลิกหลงสมมุติมายาแห่งโลก
อนึ่ง บทความนี้อาจดูยาก ไม่สามารถอธิบายให้ง่ายได้มากกว่านี้เพราะจะทำให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนออกไปจากความเป็นจริง จึงต้องอธิบายสั้นกระชับรัดกุม ตรงประเด็นไม่เป็นอื่น และในความตรงประเด็นนั้น ล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน ดุจเหรียญๆ เดียวกันแต่มีสองด้าน มีพลวัตรแห่งการหมุนขึ้น ก็เกิดกลับด้านสลับไปมา ทำให้เกิดความงุนงงแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ขอให้ค่อยๆ ลำดับความคิดไป เพราะ “เหตุก็คือผล ผลก็คือเหตุ” เกิดดับด้วยมันเองในหนึ่งเดียวกัน แล้วแต่ว่าจะสมมุติ ยึดถือดูด้านใดก่อนเป็นเหตุต้นหรือผลปลาย
:b38:


ท่านอโศกได้ข้อเขียนนี้มาแต่ไหน วานบอก :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2016, 22:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13:
หลวงพ่อกูเกิ้ล
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2016, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13:
หลวงพ่อกูเกิ้ล
:b11:



นั่นสิถึงแกว่งไปแกว่งมา เหมือนแปลญวน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2016, 06:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion

เหรียญสองด้านแห่งทางโลกทางธรรม อิทัปปัจจยตา ของ “โลกียะและโลกุตระ”


เหตุและผลของโลกียะ


เหตุแห่งโลกียะ คือ ความไม่รู้ (อวิชชา)
ผลแห่งโลกียะ คือ สมมุติบัญญัติ (เปลือก)


เหตุและผลของโลกุตระ


เหตุแห่งโลกุตระ คือ ว่างจากสมมุติ (กิเลสนิพพาน)
ผลแห่งโลกุตระ คือ บรรลุสัจธรรม (แก่น)

:b38:


อโสกะ..เอ้ย..

บอกแล้ว..ให้เชื่อพระพุทธเจ้า...ให้เชื่อพระพุทธเจ้า...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อกระทู้ "พระอรหันต์ท่านไม่คิดไม่นึกอะไรจริงหรือ?"

ตัดๆ ความเป็นอยู่ของพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาให้สักเกตสักสี่ข้อ เช่น



ก) ลักษณะภายนอกและชีวิตหมู่

ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสข้อความพรรณนาความเลื่อมใสของพระองค์ต่อพระรัตน ตรัย ถวายแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงรับรองว่าเป็นธรรมเจดีย์ มีประโยชน์ เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และทรงแนะนำให้พระสงฆ์ศึกษาทรงจำไว้

ในข้อความเหล่านั้น มีข้อหนึ่งพรรณนาลักษณะความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ดังนี้



"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอีก หม่อมฉันเดินเที่ยวไปตามอารามต่างๆ ตามอุทยานต่างๆ อยู่เนืองๆ ณ ที่นั้นๆ หม่อมฉันได้เห็นเหล่าสมณพราหมณ์ ที่ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ดูไม่ชวนตาให้อยากมอง (ดูเหมือนว่าจะไม่ตั้งใจแลดูผู้คน) หม่อมฉันได้เกิดความคิดว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ คงไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่ หรือไม่ก็คงมีบาปกรรมอะไรที่ทำแล้วปกปิดไว้....


"แต่หม่อมฉัน ได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ สดชื่นร่าเริง มีใจเบิกบาน มีรูปร่างท่าทางน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม ไม่วุ่นวาย มีขนตกราบ (ใจสงบ ผ่อนคลาย มีความมั่นใจไม่ตื่นกลัว) เลี้ยงชีวิตตาแต่เขาจะให้ (ประพฤติสมควรแก่ของที่เขาให้) มีใจดังมฤคอยู่ (มีใจอ่อนโยน ไม่คิดรบกวนหรือหวังประโยชน์จากใคร รักอิสระ จะไปไหนก็ไปโดยเสรี) หม่อมฉันได้มีความคิดว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษที่ยิ่งใหญ่ขึ้นไปกว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่....


"แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุให้หม่อมฉันมีความคำนึงซาบซึ้งธรรม ในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว"


"ภิกษุเหล่านั้น เดินออกจากที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา...แต่เช้าตรู่ มีกิริยาเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ"

"ตราบใด ภิกษุทั้งหลาย จักยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันขมีขมันแก้ไขสิ่งเสียหาย พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีเสื่อมเลย"


(ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ความมีใจอิสระและมีความสุข

"ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ในธรรมวินัยนี้ ถึงยามเช้า นุ่งสบงทรงบาตรและจีวร เข้าไปหมู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอ ย่อมกล่าวธรรม ณ ที่นั้น ชาวบ้านทั้งหลายผู้เลื่อมใส ย่อมทำอาการแสดงออกแห่งผู้เลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอไม่ติด ไม่หมกมุ่น ไม่สยบ ย่อมบริโภคลาภนั้น อย่างผู้รู้เท่าทันเห็นช่องเสีย มีปัญญาทำใจให้เป็นอิสระ ลาภผลนั้น ย่อมช่วยเสริมผิวพรรณ และกำลังของพวกเธอ หาเป็นเหตุให้พวกเธอเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายไม่" (16/679/314)


"ผู้มีจิตไม่หวั่นไหว รู้แจ้งความจริง ย่อมไม่มีความคิดปรุงแต่งใดๆ เขาเลิกรำพึงรำพันหมดแล้ว จึงมองเห็นแต่ความปลอดโปร่งในที่ทุกสถาน เขาไม่ยกตัวถือตนใดๆ ไม่ว่าในหมู่คนเสมอกัน คนต่ำกว่า หรือคนสูงกว่า" (ขุ.สุ.25/422/519)

"พระอริยะไม่มีความงุ่นง่านหงุดหงิดในใจ ท่านผ่านพ้นไปแล้วจากการที่จะได้เป็นหรือจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านปราศจากภัย มีแต่สุข ไม่มีโศก แม้แต่เทวดาก็มองใจท่านไม่ถึง" (ขุ.อุ.25/65/101)

"ตัดความติดข้องต่างๆ ได้หมด กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้แล้ว ก็นอนเป็นสุข สงบสบาย เพราะใจถึงสันติ" (องฺ.ติก.20/474/175)


ค) ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" (องฺ.จตุกฺก.21/35/46)


ง) ความเป็นเอง กับ ชีวิต ความตาย การพลัดพราก และมีเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต

"จะมีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาโศกเศร้าไม่" (ขุ.อุ.25/108/142)


"ความตาย เราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง" (ขุ.เถร.26/396/403)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่ง พระอุปเสนเถระ นั่งพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ในป่าสีตวัน งูสองตัววิ่งไล่กันบนเพดานถ้ำ ตัวหนึ่งตกลงมาบนไหล่ของพระเถระ และกัดท่าน พิษซ่านไปอย่างรวดเร็ว พระเถระรู้ตัวว่าท่านจะสิ้นชีวิต แต่ท่านมิได้มีอาการกิริยาผิดปกติอย่างใดๆเกิดขึ้นเลย และยังได้บอกให้ภิกษุทั้งหลายเอาร่างของท่านนอนลงบนเตียง นำไปวางให้ท่านปรินิพพานนอกถ้ำ


ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ถามพระสารีบุตรอัครสาวกของพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระบรมศาสดามีอันเป็นอย่างไรไป คือทรงล่วงลับจากไป พระสารีบุตรจะเกิดความเศร้าโศกหรือไม่

พระสารีบุตรได้ตอบว่า

"ถึงแม้พระศาสดาจะทรงมีอันเป็นไป ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ไม่พึงบังเกิดแก่ผม ก็แต่ผมจะมีความคิดว่า ท่านผู้มเหศักดิ์ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้ลับหายไปเสียแล้วหนอ หากพระผู้มีพระภาคจะพึงทรงดำรงอยู่ยั่งยืนนาน ข้อนั้น ก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก"


พระเถระชื่ออธิมุตต์ ถูกพวกโจรจับไป ท่านไม่มีความหวาดหวั่นกลัวภัย นายโจรแปลกใจ กล่าวคำซักถาม

ต่อไปนี้เป็นคำถามของนายโจร และคำตอบส่วนหนึ่งของพระเถระ

"ก่อนนี้ เราจะฆ่าใครเพื่อบูชายัญ ก็ดี เพื่อเอาทรัพย์ ก็ดี คนเหล่านั้นล้วนกลัวภัย ตัวสั่นและพร่ำเพ้อ แต่ท่านไม่มีความกลัวเลย สีหน้าก็ผ่องใสนัก เหตุใดท่านจึงไม่คร่ำครวญ ในเมื่อภัยใหญ่ถึงเพียงนี้"

"แน่ะนายโจร ทุกข์ทางใจ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยชีวิต ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว ข้ามพ้นความกลัวทุกชนิด ...เราไม่กลัวความตาย เหมือนคนไม่กลัวที่จะวางภาระลง...

"ผู้ใดบรรลุอุดมธรรมแล้ว ไม่ต้องการอะไรในโลกทั้งหมด ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะความตาย เหมือนคนพ้นไปได้จากเรือนที่ไฟไหม้ สิ่งใดๆ ที่มีในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์จะได้ก็ดี ทั้งหมดนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นของไม่อิสระ...เราไม่มีความคิดว่า เราได้เป็น เราจะเป็นหรือจะไม่เป็น หรือว่าสังขารจักหายสูญไป แล้วจะคร่ำครวญไปทำไมเพราะเรื่องสังขารนั้นเล่า,

"นี่แน่ะนายโจร ผู้ที่มองเห็นตามเป็นจริงว่า มีแต่ความเกิดขึ้นๆ แห่งธรรมล้วนๆ มีแต่การสืบต่อแห่งสังขารล้วนๆ ย่อมไม่มีความกลัวเลย,


"เมื่อใด บุคคลมองด้วยปัญญา เห็นโลกเสมอด้วยท่อนไม้ใบหญ้า เมื่อนั้น เขาไม่พบกับการที่จะต้องยึดอะไรว่าเป็นของเรา ย่อมจะไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี ร่างกาย เราก็หมดความต้องการแล้ว ภพเราก็ไม่ปรารถนา กายนี้ จักแตกพังไป กายอื่นก็จะไม่มี ท่านมีกิจอะไรจะทำกับร่างกายของเรา ก็จงทำกิจนั้นตามที่ท่านปรารถนา เราจะไม่มีความโกรธเคือง หรือความรักใคร่ เพราะการกระทำของท่านนั้นเลย"

พวกโจรฟังคำของพระเถระแล้วขนลุกขนชัน พากันวางอาวุธ ซักถามอีกเล็กน้อยแล้ว ยอมมอบตัวเป็นศิษย์ บางคนก็ขอบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา (ขุ.เถร. 26/385/369)



"พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาต ...ประกอบด้วยความกรุณา มุ่งหวังแต่ประโยชน์แก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า ตลอดชีวิต"


"พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุข มีความเกษม....มารดาถนอมบุตรน้อยคนเดียวผู้เกิดจากตน แม้ด้วยยอมสละชีวิต ฉันใด พึงเจริญจิตเมตตาไม่จำกัดในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น"

"แม้แต่คนทั้งหลาย ที่มีลูกศรเสียบหัวใจอยู่ ก็ยังหลับได้ ไฉนเราผู้ปราศจากลูกศรแล้วจะนอนไม่หลับเล่า เราเดินทางไปในที่มีสัตว์ร้าย ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงจะหลับในที่เช่นนั้น ก็มิได้กลัวภัย กลางคืนกลางวัน ไม่มีอะไรให้เราเดือดร้อน เราไม่เห็นอะไรที่จะสูญเสีย ณ ที่ไหน ในโลกฉะนั้น เราจะหลับ ก็มีแต่ความคิดเกื้อการุณย์แก่ปวงสัตว์"

"ธรรมของมหาบุรุษ ผู้มีปัญญายิ่งใหญ่ ข้อที่ ๑ คือ) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวนมาก เพื่อความสุข แก่ชนจำนวนมาก เป็นผู้ทำเหล่าประชามากมายให้ตั้งอยู่ในทางดำเนินของอารยชน กล่าวคือ ความมีกัลยาณธรรม ความมีกุศลธรรม"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ความจากบาลีเท่าที่ยกมาแสดงไว้นี้ นอกจากมุ่งให้ผู้ศึกษามองเห็นความหมายต่างๆ ตามความพิจารณาของตนเองแล้ว ยังต้องการย้ำความอีก ๒ ข้อ

ข้อหนึ่ง ถ้าใช้ความรู้สึกของปุถุชน มองดูคำบรรยายเกี่ยวกับภายในจิตใจของพระอรหันต์ ตามหลักวิชาข้างต้น

บางคนอาจวาดภาพผิดๆไปว่า พระอรหันต์คงจะมีลักษณะเป็นคนไม่ใส่ใจใยดีอะไรกับใครทั้งสิ้น ปล่อยอะไรไปตามเรื่องตามราวเสมือนไม่มีจิตใจ จัดเป็นคนประหลาดได้พวกหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ จึงต้องให้พิจารณาเทียบกับลักษณะด้านนอก ให้เห็นว่า พระอรหันต์มีความประพฤติ และการดำเนินชีวิตที่เป็นไปด้วยความรับผิดชอบและความมีเหตุผล ให้เห็นว่า เมื่อไม่มีประสบการณ์คั่งค้างครองใจ ไม่มีกิเลสครอบงำเป็นเจ้า หัวใจ จิตเป็นอิสระแล้ว ความรู้สึกนึกคิด ลักษณะการดำเนินชีวิตของบุคคลจะเป็นอย่างไร

ความจริงลักษณะแปลกๆ ประหลาดๆ ต่างๆ มักพบในท่านที่ได้เจโตวิมุตติบางระดับและบางท่าน ส่วนพระ อรหันต์เป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติแล้ว ย่อมไม่มีแม้แต่ความยึดมั่นว่า "เราเป็นผู้ไม่ยึดมั่น"

ไม่มีกิเลสที่จะแสดงตนว่า ฉันเป็นคนไม่ยึดมั่น ไม่มีความยึดมั่นใหม่ (เช่น ยึดผลสำเร็จบางอย่างในทางจิต) ที่จะทำให้แสดงความละเลย ไม่เอื้อเฟื้อต่อสิ่งที่ตนเคยเหนื่อยหน่ายละทิ้งไปแล้ว และไม่มีแม้แต่ กิเลสที่จะทำให้แสดงความเบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงปฏิบัติตัวหรือแสดงออกไปตามเหตุผล ตามความสมควร ที่มองเห็นด้วยปัญญา อย่างน้อยก็เพื่ออนุเคราะห์แก่กุศลจิตของชาวโลก


อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอนว่าด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า

พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269...)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะอุปมา เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย เหมือนคนที่ว่ายน้ำฝ่ากระแสคลื่นลมอยู่ในทะเลใหญ่ ผู้บรรลุนิพพาน ก็เหมือนคนที่ขึ้นฝั่งได้แล้ว

ภาวะที่อยู่บนฝั่งแล้ว ซึ่งเป็นภาวะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัวของมันเอง มีความปลอดโปร่งโล่งสบาย ซึ่งบุคคลผู้นั้นประสบอยู่ภายใน ประจักษ์แก่ตนเองโดยเฉพาะ เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน

ส่วนภาวะที่ไม่ถูกบีบคั้นคุกคาม ไม่ติดขัดจำกัดตัวอยู่ในเกลียวคลื่น ไม่ถูกซัดไปซัดมา ไม่เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของคลื่นลม สามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวอย่างเป็นอิสระและได้ผลดี ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ตามปรารถนา เปรียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน

ถ้าจะอุปมาให้ใกล้ตัวมากกว่านั้น เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนเจ็บไข้ ผู้บรรลุนิพพานก็เหมือนคนที่หายป่วยแล้วหรือคนที่สุขภาพดี ไม่มีโรค

ความไม่มีโรคหรือความแข็งแรงมีสุขภาพดีนั้น เป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะประสบประจักษ์อยู่ภายในตนเองโดยเฉพาะ ภาวะนี้จะอิ่มเอิบชื่นบาน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย คล่องเบาอย่างไร เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวของผู้นั้น คนอื่นอาจจะคาดหมายตามอาการและเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถประสบเสวยได้ ภาวะนี้เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน

ส่วนภาวะอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเนื่องอยู่ด้วยกันนั่นเอง และอาจแสดงออกได้ หรือมีผลต่อการแสดงออกในการดำเนินชีวิต หรือติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ คือ ความไม่ถูกโรคบีบคั้น ไม่อึดอัด ไม่อ่อนแอ ไม่ถูกขัดขวาง ถ่วงหรือชะงักงันด้วยความเจ็บปวดและอ่อนเปลี้ย เป็นต้น สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทำอะไรต่างๆ ได้ตามต้องการ ภาวะนี้ เทียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน


(ตัดๆมาเนื้อความอาจโดดๆบ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกนิดหนึ่ง


คือถ้าพูดผ่อนลงมา นิพพานนั้นยังอาจแยกประเภทได้ และบุคคลผู้ดำเนินในวิถีทางเพื่อเข้าถึงนิพพานก็ยังแบ่งได้เป็นหลายขั้นหลายระดับ ดังจะเห็นได้ตามหลักฐานว่า
คนจำนวนมาก ผู้เข้าถึงกระแสสู่นิพพาน หรือผู้เริ่มมองเห็นนิพพานแล้ว ยังอยู่ครองเรือน มีครอบครัว มีบุตรภรรยาและสามี ดำเนินชีวิตที่ดีงามอยู่ในสังคมของชาวโลก


ควรเข้าใจไว้ก่อนว่า ตามภาวะที่แท้จริง นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่แยกประเภทออกไป ก็เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพานบ้าง พูดถึงนิพพานโดยปริยาย คือความหมายบางแง่บางด้านบ้าง *


ตามตัวอักษร นิพพาน มาจาก นิ อุปสรรค (แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิก) + วาน (แปลว่า พัด ไป หรือ เป็นไปบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง)

ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟหรือของที่ร้อน เพราะไฟ แปลว่า ไฟดับ ดับไฟ หรือดับร้อน หมายถึงหายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ)

แสดงภาวะทางจิตใจ หมายถึง เย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย หรือแปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส คือทำให้ราคะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป

ในคัมภีร์รุ่นรองและอรรถกถาฎีกาส่วนมาก นิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด หรือออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ *

…….

ที่อ้างอิง * ตามลำดับ

* อิติ.อ.215 ว่าโดยปรมัตถ์ (ความหมายสูงสุดหรือความหมายที่แท้จริง) นิพพาน ไม่มีการแบ่งประเภท แต่ที่แบ่งเป็น ๒ นั้น เป็นการแบ่งโดยปริยายเท่านั้น

* ข้อความแสดงวิเคราะห์ศัพท์นิพพาน มาในคัมภีร์มากมายหลายแห่ง โดยเฉพาะ ขุ.จู.30/381/184...นอกจากความหมายที่กล่าวมาแล้ว ยังอาจแปลว่า "ปราศจากป่า" คือ ไม่มีป่ากิเลส ไม่มีดงกิเลส องฺ.ฉกฺก. 22/314/386.
...หรือแปลว่า ดับทุกข์ทั้ง ๓ ชนิด คือ ทุกขทุกข์ วิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์ (วิสุทธิ.ฎีกา 2/246)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 20:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
กรัชกายโพสต์อะไรตั้งเยอะแยะ เห็นมีที่สนับสนุนกระทู้นี้ก็หลายตอนที่บอกว่าพระอรหันต์อยู่เหนือความนึกคิดแล้ว
:b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 159 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร