วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 17:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 223 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2016, 19:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


รอดู...ต่ออีกนิด.. :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2016, 19:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: :b10: :b10:

ยังจะให้ต่ออะไรน๊อออออ เกรินนำหน่อยก็ดีนะ

:b32: :b32: :b32:

จริง ๆ ว่าเห็น แม่น้องก้องแว๊บ ๆ นะช่วงนี้
ว่าจะเข้ามาทักทาย หายไปอีกแระ ... :b1:

แม้น้องก้องอยู่ป่าว พี่เอกอนคิดถึงนะ ... จิ่บอกไห่

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2016, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:

การนิ่งเฉยต่อผัสสะ...ในรูป...เฉยต่อวิญญาณ..รึเฉยต่อสัญญา..ในแบบที่ทำให้ไปสู่อรูปฌาน..กับ..ในแบบที่ทำให้ไปสู่วิปัสสนาญาณ...นี้..เหมือนกันตรงไหน..แล้วไปต่างกันตรงไหน?
.

:b48:
การนิ่งเฉยต่อผัสสะ...ในรูป...เฉยต่อวิญญาณ..รึเฉยต่อสัญญา..ในแบบที่ทำให้ไปสู่อรูปฌาน.นั้น เป็นการนิ่งเฉยที่เกิดจากการเพิกเฉยไม่ยอมรับรู้ รูป วิญญาณหรือสัญญานั้นๆโดยเอากรรมฐานที่ตนเจริญอยู่มากลบบังไว้ เป็นเฉยแบบ ซื่อบื้อ เฉยแบบไม่รู้หรือเฉยแบบไร้ปัญญา

กับความนิ่งเฉยที่ทำให้ไปสู่วิปัสสนาญาณนั้นเป็นความเฉยที่เป็นผลจากปัญญาไปรู้เห็นความจริงของรูป วิญญาณและสัญญาว่ามันเป็นเพียง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาไม่

มันเหมือนกันตรงเฉย แต่ต่างกันตรงอันหนึ่งไม่ประกอบด้วยปัญญา อันสองประกอบด้วยปัญญา

ไม่รู้ว่าตรงกับธงที่กบตั้งไว้หรือเปล่า แต่ตรงตามธรรม
onion


คือ เราต่างทำสมาธิตาม ๆ กันไป ตาม ๆ กันมา
วิปัสสนาตาม ๆ กันไป ตาม ๆ กันมา
แบบคิดกันไปเรื่อยเปื่อย และก็พูดกันไปเรื่อยเปื่อยเน๊อะ
เพราะ การสอนทำ อรูปสัญญา ในสมัยนี้ นิยมใช้คำพูดง่าย ๆ กำหนดว่าให้เพิกเฉยต่อรูป
และไปเอาอรูปมากำหนดต่อ

อ่านนี่ดีก่า รูปสัญญาลาดไปสู่อรูปสัญญาที่ไม่เรื่อยเปื่อย ... ^^
พระสารีบุตร ไม่ได้ เดินลำดับสมาธิแต่ละฌานไปแบบ จะเอา จะเอานะ
พระสารีบุตรเข้าไปรับรูปองค์ธรรมในแต่ละฌานอย่างชัดเจน จน

"เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ"


:b1: ... จึงคลายออกจากฌานหนึ่งไปสู่อีกฌานหนึ่งได้

ให้สังเกตว่า สภาวะธรรมที่ลาดไปในแต่ละระดับ จะมีอารมณ์ธรรมปรากฎน้อยลง น้อยลง

ซึ่งการตั้งอยู่ในธรรมระดับหยาบ ประกอบกับใจที่คิดจะปล่อย
จิตจะสร้างภาพสภาวะธรรมในระนาบเดิม
แต่แปรสภาพไปเพื่อให้ผู้ปฏิบัติหลงว่าสภาวะธรรมเปลี่ยนไปแล้ว
เป็นการที่ผู้ปฏิบัติสั่งจิตให้ตอบสนองต่อความต้องการให้เป็นไป ...

ส่วนพระสารีบุตรจะเป็นการตั้งอยู่ในสภาวะธรรม (ฌาน) และเสพอารมณ์ฌาน
จนรู้ชัดแจ้งในอารมณ์ที่ปรากฎ และความทรงจำในฌานที่ผ่านมาแล้ว(อดีต)ยังมี
อารมณ์ที่ปรากฎในฌานอันเคยปรากฎและดับไปในก่อน ๆ หน้า
ทำให้จิตมีอุปนิสัยที่จะเห็นว่า ฌานที่ปรากฎอยู่นี้ก็ต้องดับไปอีกเช่นกัน
และจะปรากฎฌานที่ละเอียดกว่า จิตจึงไม่ยึดติดในฌานที่ตั้งอยู่
แล้วจึงสลัดแล้วไปตั้งอยู่ในสภาพธรรมที่สลัดธรรมอันเป็นรูปได้

:b1:

Quote Tipitaka:
อนุปทวรรค
๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา
เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม
ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น
ดังต่อไปนี้ ฯ

[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรม
ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ
ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่
พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ก็ธรรมในตติยฌาน
คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา
อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเต-
*กัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตร
รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรม
นั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญ-
*จายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ก็ธรรม
ในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
กิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอัน
กระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่ง
ขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสา-
*นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตน-
*ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญ-
*จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่
มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน
ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ-
*ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็น
ผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว
ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษ
แล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่
ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น
ด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้น
แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการ
นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัด
ออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ

[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ฯ

[๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร
เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร
นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม
ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ
ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล ฯ
จบ อนุปทสูตร ที่ ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 05:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

เห็นมะ....มีต่ออีกนิด..ได้จริงๆ..
:b12: :b12:

น่าสนใจ...น่าสนใจ...ใครจะมาต่ออีกนิด....ก็ได้นะครับ....

รอชม... :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8: :b8:

เห็นมะ....มีต่ออีกนิด..ได้จริงๆ..
:b12: :b12:

น่าสนใจ...น่าสนใจ...ใครจะมาต่ออีกนิด....ก็ได้นะครับ....

รอชม... :b16: :b16:


กบจำเออ :b32: น่าสนใจ น่าสนใจว่า :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 06:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าสนใจว่า....ต่อจากที่เอกอนว่ามา..มันจะเป็นยังงัยนะ..?..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 06:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ....แฉลบออกไปอีกแระ...

หวังว่า..จะไปซุ่มซ้อม..ในอันที่จะต่อจากเอกอน..นะ

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 06:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปัดติเถเถนา ยังไม่ทันทำอะเไรสักอย่าง ไปอรูปสมาบัติแระ :b32:

grin
แพลมแซมแทรกขึ้นมากับเขาได้อยู่นะ กรัชกาย
ไอ้นิสัยยกตนข่มท่านประมาณว่าเขาไม่รู้เท่าไปทั่วนี่ยังทิ้งไม่ได้เลยนะกรัชกาย
:b34:
เอาอะไรไปรู้ไปตัดสินผู้อื่นได้ว่าเขาทำอะไรมาและยังไม่ได้ทำอะไร แค่กิเลส ตัณหา มานะ อัตตา ของตนยังมองไม่เห็นชัด ขจัดไม่ออกเลย

ปรับปรุงตัวปรับปรุงใจ ปฏิบัติภาวนาจริงๆให้มากนะกรัชกาย
จะได้ไม่หลงติดจมอยู่ ในความอวดรู้อวดดีของตน
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 06:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาน่า...ปล่อยกักกายเขาไป...

กบนอกกะลา เขียน:

หวังว่า..จะไปซุ่มซ้อม..ในอันที่จะต่อจากเอกอน..นะ

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาสาธุกับเอก้อนและกบที่มาสนทนาธรรมกันต่อแบบบัณฑิต กัลยาณมิตร ทำให้ได้ความรู้ความเข้าใจที่แตกฉานยิ่งขึ้นในธรรม
:b27:
จากเรื่องที่เอก้อนยกมาให้ศึกษาทั้งหมดจะพอวิเคราะห์และจับประเด็นได้ว่า
1.นิ่ง กับ สงบที่เอก้อนวิจารณ์นั้น โดยธรรมจะเกิดสงบก่อน
แล้วนิ่งเกิดตามหลังจากนั้นก็จะเย็น
"สำรวมกายใจ=สงบ มานิ่งรู้ (สติ+ปัญญาสัมมาทิฏฐิ)นิ่งสังเกต(ปัญญาสัมมาสังกัปปะ)=ตั้งมั่นมีสมาธิ..อยู่กับ
ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา(แสดงทุกขัง อนิจจัง อนัตตา)

ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนเหตุปัจจัยที่เกิดจากวิบากลดน้อยลงหมดลง ก็จะมีงานให้จิตทำน้อยหรือหมดงานไปเป็นพักๆ
จึงเข้าถึงความหยุดและเย็น

พูดมาอย่างนี้ไม่ทราบว่าจะเข้าใจกันอยู่หรือไม่ อย่างไรก็ลองตรอง วิจารณ์ วิจัยดูโดยต้องเทียบกับสภาวธรรมจริงที่พึงเกิดขึ้นในกายในใจด้วยนะครับจะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

2.ความติดสงบของจิตเอก้อนโดยอ้างว่าหมดความทะยานอยากในเรื่องใดๆแล้วจึงอยู่กับความสงบเย็นหมดปฏิกิริยา
อันนี้ถือว่าใช้ได้ระดับหนึ่งแต่ต้องพิจารณาว่าเป็นความสงบหลังจากทำลายเหตุ(สมุทัย)เสร็จสิ้นแล้ว หรือเหตุยังไม่ตายแต่ถูกความสงบกลบบังไว้ชั่วคราวจึงดูเหมือนไม่มีอะไร อย่างหลังนี้ต้องระวังเพราะงานยังไม่เสร็จ

3.ตัวอย่างการเดินฌาณจนถึงฌาณ 8 ของพระสารีบุตรเป็นการเข้าฌาณจากฐานปัญญาที่ไปละความยึดถือในฌาณชั้นหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียดสุดจึงหมดจดหมดภาระ ไม่เหมือนการเลื่อนฌาณที่ปราศจากปัญญาซึ่งอาศัยเปลี่ยนกรรมฐานหรือสิ่งที่ยึดให้ละเอียดขึ้นไปตามลำดับจนถึงสูงสุด

ต่างกันนิดเดียว ต้องมีความสังเกตที่ละเอียดอ่อน สติที่คมกล้าจึงจะสามารถรู้ทันความแตกต่างนี้ได้
:b38:
เอาแค่นี้ก่อนนะครับ กบกับเอก้อนคงพอพิจารณาตามได้นะครับ แต่กรัชกายคงยากเพราะจิตและสติปัญญาถูกบัญญัติอันมากมายกลุ้มรุมคลุมบังไว้เสียหมดแล้ว
onion
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 08:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่ได้พิจารณา..

มายกกระทู้...ก่อน.
:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 12:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:

1.นิ่ง กับ สงบที่เอก้อนวิจารณ์นั้น โดยธรรมจะเกิดสงบก่อน
แล้วนิ่งเกิดตามหลังจากนั้นก็จะเย็น
"สำรวมกายใจ=สงบ มานิ่งรู้ (สติ+ปัญญาสัมมาทิฏฐิ)นิ่งสังเกต(ปัญญาสัมมาสังกัปปะ)=ตั้งมั่นมีสมาธิ..อยู่กับ
ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา(แสดงทุกขัง อนิจจัง อนัตตา)

ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนเหตุปัจจัยที่เกิดจากวิบากลดน้อยลงหมดลง ก็จะมีงานให้จิตทำน้อยหรือหมดงานไปเป็นพักๆ
จึงเข้าถึงความหยุดและเย็น

พูดมาอย่างนี้ไม่ทราบว่าจะเข้าใจกันอยู่หรือไม่ อย่างไรก็ลองตรอง วิจารณ์ วิจัยดูโดยต้องเทียบกับสภาวธรรมจริงที่พึงเกิดขึ้นในกายในใจด้วยนะครับจะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


asoka เขียน:

ผมก็กำลังเบื่อมากๆกับสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นอย่างจำเจทุกวันนี้
เบื่อกิเลส ตัณหา อัตตา มานะ ทิฏฐิ ความอวดรู้อวดเก่ง แข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกันในสังคม เบื่อเรื่องการบ้านการเมือง
เบื่อตนเองที่ยังมาหลงสนุกกับการเขียนและโต้ตอบกระทู้ในลานธรรมต่างๆ

อยากอยู่สงบเย็นกับ "ความไม่มีอะไร" ให้นานๆทั้งวันทั้งคืน
จนอาจจะต้องลาจากสังคมอันวุ่นวายนี้เสียที
55555555

grin
Onion_no



:b1: :b1: :b1:

อืมม์ ... ใช่มั๊ยนะ

ท่านจะพิจารณาแยกแยะความเป็นไปของ ความนิ่ง กับ ความสงบ ยังไง
ในเมื่อท่าน ยังประกาศถึง ความนิ่ง แต่ก็ยังโหยหา ความสงบ

:b1: :b1: :b1:

และที่สำคัญ ความสุข สงบ เย็น แต่ละระดับ จิตมันก็ใช่ว่านิ่ง

เหมือนกับ ท่านจับ ลิ่งให้นั่งนิ่ง ๆ หรึอ จับลิงมัดไว้เพื่อลิงอยู่นิ่ง ๆ
แต่ท่านมัดตามันไม่ให้หลอกแหลกไปมาด้วยรึเปล่าล่ะ
ท่านจับหูมันไม่ให้กระดิกไปกระดิกมาได้ด้วยรึเปล่า

ถ้าเมื่อไร ท่านเห็นลิงนั่ง นิ่ง ๆ ได้ของมันเอง ขันธ์ทุกส่วนเป็นอิสระ แต่ลิงนั่ง เอนตัวสงบอยู่ได้
ท่านก็รู้ได้เองว่า มันไม่ได้นั่งนิ่งนะ มันนั่งอยู่ในสภาพที่เป็นที่สงบสบายของมัน แค่นั่นเอง

เมื่อท่านไม่ต้องพยายามทำให้มันนิ่ง ลิงมันก็อยู่สบายดี
ผู้ดูแลลิงก็สบายอยู่ เพราะมันไม่ทำเรื่องทำราวอะไรให้เดือดร้อน
ต่างก็สบายด้วยกันไปทั้งคู่ ... ไม่มีอะไรกดดันกันและกัน ... :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 12 พ.ย. 2016, 12:53, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2016, 12:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

2.ความติดสงบของจิตเอก้อนโดยอ้างว่าหมดความทะยานอยากในเรื่องใดๆแล้วจึงอยู่กับความสงบเย็นหมดปฏิกิริยา
อันนี้ถือว่าใช้ได้ระดับหนึ่งแต่ต้องพิจารณาว่าเป็นความสงบหลังจากทำลายเหตุ(สมุทัย)เสร็จสิ้นแล้ว หรือเหตุยังไม่ตายแต่ถูกความสงบกลบบังไว้ชั่วคราวจึงดูเหมือนไม่มีอะไร อย่างหลังนี้ต้องระวังเพราะงานยังไม่เสร็จ

:b11:


:b32: บอกว่า "หมดความทะยานอยากในเรื่องใด ๆ แล้ว" ก็เกินไป :b32: :b32:

...โลกของคนเรานั้น ต่างกรรมต่างวาระ :b1:
เอกอนเป็นคนที่ชีวิตไม่ได้สร้างมาให้มีความยุ่งเหยิงอะไรมากนัก
เพราะอาศัยมรรคในการดำเนินชีวิตมาตลอด ศีลรักษาเป็นที่เรียบร้อยดี
และอะไรนักก็ไม่รู้ เอกอนจึงมีชีวิตที่ร่มเย็น ด้วยมรรค ด้วยศีล ในระดับหนึ่ง
ลูกก็ไม่มี ผัวก็ไม่มี ... :b32: :b32:
สุขภาพร่างกาย ก็เป็นไปโดยปกติสุข ง่ะ

ทุกการปรากฎแห่งความ สงบ มันมีปัจจัยของมันนะ

เอกอน มีความ สงบสุข ให้ปรากฎได้เป็นพื้นจิตโดยมาก (คือความฟุ้งก็ยังมีให้เห็น แต่ไม่มาก)
ก็เพราะเอกอนเพียรปฏิบัติสะสมมาตลอด
ในเรื่องจิปาถะต่าง ๆ นานา เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามแต่กำลังและโอกาสที่ต้องเผชิญ
ไม่ได้เพราะ คิดจะมานั่งนิ่ง เพื่อส่องหาอะไร เพียงไม่กี่อึดใจหรอก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าความ สงบ ในแบบที่เอกอนรับรู้นั้นเป็นอย่างไร
ท่านก็ต้องเพียรสะสมสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตท่าน

จิตที่ไม่ทะยานอยาก กับ จิตที่ติดสงบ มันมีลักษณะแห่งอาการและปัจจัยต่างกันนะ
คือ การดำรงชีวิตโดยอยู่บนพื้นฐานของมรรค จิตเขาทรงตัวอยู่ใน มรรค ท่าน
ถ้าจะติด ก็ติดมรรค เพราะ มรรคเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้จิต สงบ :b1:

ต้องแยกให้ออก

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2016, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:

2.ความติดสงบของจิตเอก้อนโดยอ้างว่าหมดความทะยานอยากในเรื่องใดๆแล้วจึงอยู่กับความสงบเย็นหมดปฏิกิริยา
อันนี้ถือว่าใช้ได้ระดับหนึ่งแต่ต้องพิจารณาว่าเป็นความสงบหลังจากทำลายเหตุ(สมุทัย)เสร็จสิ้นแล้ว หรือเหตุยังไม่ตายแต่ถูกความสงบกลบบังไว้ชั่วคราวจึงดูเหมือนไม่มีอะไร อย่างหลังนี้ต้องระวังเพราะงานยังไม่เสร็จ

:b11:


:b32: บอกว่า "หมดความทะยานอยากในเรื่องใด ๆ แล้ว" ก็เกินไป :b32: :b32:

...โลกของคนเรานั้น ต่างกรรมต่างวาระ :b1:
เอกอนเป็นคนที่ชีวิตไม่ได้สร้างมาให้มีความยุ่งเหยิงอะไรมากนัก
เพราะอาศัยมรรคในการดำเนินชีวิตมาตลอด ศีลรักษาเป็นที่เรียบร้อยดี
และอะไรนักก็ไม่รู้ เอกอนจึงมีชีวิตที่ร่มเย็น ด้วยมรรค ด้วยศีล ในระดับหนึ่ง
ลูกก็ไม่มี ผัวก็ไม่มี ... :b32: :b32:
สุขภาพร่างกาย ก็เป็นไปโดยปกติสุข ง่ะ

ทุกการปรากฎแห่งความ สงบ มันมีปัจจัยของมันนะ

เอกอน มีความ สงบสุข ให้ปรากฎได้เป็นพื้นจิตโดยมาก (คือความฟุ้งก็ยังมีให้เห็น แต่ไม่มาก)
ก็เพราะเอกอนเพียรปฏิบัติสะสมมาตลอด
ในเรื่องจิปาถะต่าง ๆ นานา เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามแต่กำลังและโอกาสที่ต้องเผชิญ
ไม่ได้เพราะ คิดจะมานั่งนิ่ง เพื่อส่องหาอะไร เพียงไม่กี่อึดใจหรอก

ถ้าท่านอยากรู้ว่าความ สงบ ในแบบที่เอกอนรับรู้นั้นเป็นอย่างไร
ท่านก็ต้องเพียรสะสมสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตท่าน

จิตที่ไม่ทะยานอยาก กับ จิตที่ติดสงบ มันมีลักษณะแห่งอาการและปัจจัยต่างกันนะ
คือ การดำรงชีวิตโดยอยู่บนพื้นฐานของมรรค จิตเขาทรงตัวอยู่ใน มรรค ท่าน
ถ้าจะติด ก็ติดมรรค เพราะ มรรคเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้จิต สงบ :b1:

ต้องแยกให้ออก

:b1:

s004 s004
อ้างคำพูด:
ลูกก็ไม่มี ผัวก็ไม่มี

s006 s006 s006

สงสัยและเข้าใจผิดมานานหรือเปล่า?

เอก้อนเป็นผู้หญิงหรือครับ?

s006 s006 s006
อ้อ!
ถ้าเหตุทุกข์มันถูกทำลายได้บ้างแล้ว ความสุขสงบเขาเกิดเองเป็นเองโดยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนสมบูรณ์ ไม่ต้องไปดิ้นรนขวันขวายหรือกังวลหาครับ

การเจริญมรรคต้องหมายและสังเกตที่สมุทัยว่าดับไป จางไป หายไป ตายไปได้มากเท่าไหร่แล้วเป็นสำคัญนะครับ อย่าเจริญไปเรื่อยๆตามตัวหนังสือ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 08:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s006 s006 s006

สงสัยและเข้าใจผิดมานานหรือเปล่า?

เอก้อนเป็นผู้หญิงหรือครับ?


:b14: ... :b32: :b32: :b32:
ว่าแล้ว ท่านมีปัญหาทางสายตาอย่างแรง :b32: :b32: :b32:
มิน่าเวลาจะเขียนแสดงความเห็นอะไรออกมา ต้องคอยทำตัวโต ๆ อยู่เรื่อยเลย

นะ เรื่องปัญหาทางสายตามันก็เป็นไปตามวัยนั่นล่ะ

ตอนนี้สายตาเอกอนเองก็เป็นสายตาผสมไปเรียบร้อยแล้ว (สั้น+ยาว)
ขนาดของตัวหนังสือ ไม่ได้เป็นปัญหา จะเล็กจะใหญ่ก็อ่านได้
จะมีปัญหาก็แค่ ระยะ นั่นล่ะ ไกล้นิดก็เบลอ ไกลนิดก็เบลอ

:b1:

asoka เขียน:
s006 s006 s006
อ้อ!
ถ้าเหตุทุกข์มันถูกทำลายได้บ้างแล้ว ความสุขสงบเขาเกิดเองเป็นเองโดยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนสมบูรณ์ ไม่ต้องไปดิ้นรนขวันขวายหรือกังวลหาครับ

การเจริญมรรคต้องหมายและสังเกตที่สมุทัยว่าดับไป จางไป หายไป ตายไปได้มากเท่าไหร่แล้วเป็นสำคัญนะครับ อย่าเจริญไปเรื่อยๆตามตัวหนังสือ
smiley


ถ้าคิดมรรคไปไกลตัว มันก็ไกล
ถ้าคิดว่า มรรค เป็นสิ่งที่แนบสนิทเหมือนดั่ง ลมหายใจ
มรรคก็ขนานไปกับวิถีชีวิต ... :b1:

อะไรที่ปรากฎแล้ว ทำให้ลมหายใจกระสับกระส่าย
กับอะไรที่ทำแล้ว ลมหายใจที่กระสับกระส่าย สงบลงได้ ... :b1:

มันไม่ได้ต้องมีภาษาหรือคำบรรยายใด ๆ ลมหายใจ คือคำตอบที่ชัดเจนอยู่แก่ใจอยู่แล้ว นิ

:b1:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 223 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร