วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 04:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 04 ต.ค. 2016, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 3037

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



"พรหมวิหารสี่กับบารมีสิบ"

ทำไม "เมตตากับอุเบกขา" จึงเป็นบารมี
เหตุใด "กรุณากับมุทิตา" จึงไม่ปรากฎในบารมีสิบ

ขอทุกท่านโปรดช่วยกันเฉลย .. ขอบคุณครับ


:b8: :b1:

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2016, 20:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16:

ขอเข้ามาปูเสื่อนั่งรอฟังด้วยคน

:b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 05 ต.ค. 2016, 21:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว.... s002

อุตส่า..รีบมาดู..


โพสต์ เมื่อ: 06 ต.ค. 2016, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตากับอุเบกขาคือการทำบารมีในตนให้เต็มเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเอง

กรุณากับมุทิตา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งนอกตัว

หรือปล่าวครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 3037

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ตุ๊กกี๊ที่มาปูเสื่อรอ ขอบคุณ คุณกบฯ ที่รีบมาดูและคุณStudent ที่ร่วมแสดงความเห็นครับ .. :b13: :b1:

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริง..ชื่อกระทู้ดี...

น่าจะมีคนมาแสดงความคิดเห็นเพิ่ม..นะ

:b12:


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)



[325] บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น — perfections)
1. ทาน (การให้ การเสียสละ — giving; charity; generosity; liberality)
2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย — morality; good conduct)
3. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม — renunciation)
4. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง — wisdom; insight; understanding)
5. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่ — energy; effort; endeavour)
6. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส — forbearance; tolerance; endurance)
7. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ — truthfulness)
8. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่ — resolution; self-determination)
9. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ — loving-kindness; friendliness)
10. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง — equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty)

ทศบารมีนี้ เรียงตามที่ถือว่าได้บำเพ็ญในทศชาติ (จัดแบบไทย) ดังนี้
1. พระเตมีย์ — เนกขัมมะ (ข้อที่ 3)
2. พระมหาชนก — วิริยะ (5)
3. พระสุวรรณสาม — เมตตา (9)
4. พระเนมิราช — อธิษฐาน (8)
5. พระมโหสถ — ปัญญา (4)
6. พระภูริทัตต์ — ศีล (2)
7. พระจันทกุมาร — ขันติ (6)
8. พระนารท — อุเบกขา (10)
9. พระวิธุร — สัจจะ (7)
10. พระเวสสันดร — ทาน (1)

บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ 3 ขั้น คือ
1. บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย — ordinary perfections)
2. อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน — superior perfections)
3. ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น — supreme perfections)

บำเพ็ญทั้ง 10 บารมี ครบ 3 ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมดึงสบารมี แปลว่า บารมี 30 ถ้วน.

Bv.6 ขุ.พุทฺธ. 33/1/414;
ขุ.จริยา. 33/36/596
.


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=325


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 20:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ 7

อ้างคำพูด:
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ

สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง

ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม

วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร

ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ

ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ

สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์

อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง



https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82 ... E0%B9%8C_7


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมโฆษ เขียน:

"พรหมวิหารสี่กับบารมีสิบ"

ทำไม "เมตตากับอุเบกขา" จึงเป็นบารมี

เหตุใด "กรุณากับมุทิตา" จึงไม่ปรากฎในบารมีสิบ

ขอทุกท่านโปรดช่วยกันเฉลย .. ขอบคุณครับ


:b8: :b1:


พรหมวิหาร 4...ส่วนตัวเราอาจสามารถแยกเป็นสองกลุ่ม..
อันแรก...กลุ่มเมตตา...ก็มีเมตตา..กรุณา..มุทิตา
อีกอัน..อุเบกขา...ตัวนี้..ปัญญาเริ่มชัดมากขึ้น...แต่ปัญญาของอุเบกขาในพรหมวิหาร4 นี้...เริ่มกันตั้งแต่ปัญญาแบบโลก ๆ...กดข่มก็มี...รึมีการมองในเรื่องกฏของกรรม..เป็นต้น

ส่วนใน..บารมี 10 ...

ตามความคิดของผมนะ...

เมตตาบารมี....ข้อนี้เพียงข้อเดียว..แต่หมายถึงพรหมวิหาร 4

ส่วน..อุเบกขาบารมี..ข้อนี้ข้อเดียว..แต่หมายถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันเป็นข้อสรุปของโพชฌงค์7...

อุเบกขาสัมโพชฌงค์...ต้องเป็นอุเบกขาที่มีปัญญาในวิปัสสนาญาณเป็นฐาน...


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 20:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


บารมี ๑๐ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

อ้างคำพูด:
บารมี ๑๐ ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์


บารมี ๑๐
บุคคลที่ทำลายพระศาสนา

เป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริง ปฏิบัติตามเขา พอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนา คนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิก แล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไปโฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้ว ไม่เห็นมีอะไรปรากฏ เป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง

ฉะนั้นนักปฏิบัติแล้ว ควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริง ก็อย่าเข้ามายุ่งทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง

ก่อนพิจารณาวิปัสสนา

ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน เข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌาน จนเต็มกำลังสมาธิที่ได้

เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อย ๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จนเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจ ไม่หวั่นไหวเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌานต่อไปเป็นลำดับ

ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้ เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้

ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ

นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์

บารมี ๑๐ นั้น มีดังต่อไปนี้

๑.ทาน

คือ การให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อสงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน

๒.ศีล

รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีลให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่นละเมิดศีล

๓.เนกขัมมะ

การถือบวช คือ ถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือสิกขาบทอย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือ ทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ปฐมฌาน

๔.ปัญญา

มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ

๕.วิริยะ

มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล

๖.ขันติ

อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน

๗.สัจจะ

มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล

๘.อธิษฐาน

ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จพระโพธิญาณเพียงใด เราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไป หรือชีวิตจะตักษัยคือสิ้นลมปราณก็ตามที พระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลก แล้วพระองค์ก็ทรงบรรลุในคืนนั้น

การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้วสำเร็จทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน

๙.เมตตา

มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติตระกูล มีอารมณ์เป็นเมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดีบางวันร้าย อย่างนี้ไม่มีหวัง

๑๐.อุเบกขา

ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจรับแล้วก็ทราบว่า ไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไป ไม่มีอะไรน่ายึดถือ พบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตกว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง

บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมาก ถ้านักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้

ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็นผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี

ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ




อ่านต่อ วิปัสสนาญาณ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


http://buddhasattha.com/2010/04/%E0%B8% ... %E0%B8%B5/


โพสต์ เมื่อ: 07 ต.ค. 2016, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 10 ต.ค. 2016, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 3037

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมโฆษ เขียน:

"พรหมวิหารสี่กับบารมีสิบ"

ทำไม "เมตตากับอุเบกขา" จึงเป็นบารมี
เหตุใด "กรุณากับมุทิตา" จึงไม่ปรากฎในบารมีสิบ

ขอทุกท่านโปรดช่วยกันเฉลย .. ขอบคุณครับ


:b8: :b1:


ความเห็นส่วนตัวนะครับ ..

เมตตา จัดเป็นเหตุที่ต้องเจริญทำให้เกิด ให้มี
กรุณาและมุทิตานั้น เป็นผลของเมตตา

อุเบกขาเป็นเหตุ ความสงบแห่งใจเป็นผล

ท่านอื่นอาจมีความเห็นต่างจากนี้ ..

.. ขอบคุณท่านกบฯ ที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ..
:b8: :b1:

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร