วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ค. 2016, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ บุถุชน ก็เขียน

อัตตา ตัวตน, อาตมัน, ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เทียบอนัตตา

อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน

อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวมิใช่ตน (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์) ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ เช่น

๑. เป็นของสูญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมข้าวขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2016, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริเทวนาการ ความร่ำไรรำพัน, ความคร่ำครวญ, ความรำพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ

ปรินิพพาน การดับรอบการดับสนิท ๑.กิเลสและทุกข์สิ้นเชิง, บรรลุอรหัตผล (ได้แก่ กิเลสปรินิพพาน) ๒. ตาย (ได้แก่ ขันธปรินิพพาน ใช้แก่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์) ในภาษาไทยบางทีแยก ให้ใช้แก่พระพุทธเจ้าว่า ปรินิพพาน และให้ใช้แก่พระอรหันต์ทั่วไปว่า นิพพาน แต่ในภาษาบาลี ไม่มีการแยกเช่นนั้น)

ปรินิพพานบริกรรม การกระทำขั้นต้น ก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อน แล้วเสด็จปรินิพพาน

ปรินิพพานสมัย เวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน


ปริวิตก ความคิดนึก, คำนึ่ง, ไทยใช้หมายความว่านึกเป็นทุกข์หนักใจ, นึกห่วงใย


ปริสวิบัติ เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, บกพร่องเพราะบริษัท หมายถึงเมื่อสงฆ์จะทำสังฆกรรม ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กำหนด, หรือครบแต่ไม่ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมา, หรือมีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทำ


ปริสสมบัติ ความพร้อมมูลแห่งบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือ ไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่างประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)



ปริสัญญุตา ความรู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไปจะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดเช่นนี้เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)


ปริสุปัฏฐาปกะ ภิกษุผู้เป็นนิสัยมุตก์ คือ พ้นจากการถือนิสัยแล้ว มีคุณสมบัติสมควรเป็นผู้ครองหมู่ สงเคราะห์บริษัทได้

ปรีชา ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความกำหนดรู้


ปลงตก พิจารณาเห็นจริงตามสภาพของสังขารแล้ววางใจเป็นปกติได้

ปลงสังขาร ทอดอาลัยในกายของตนว่าจะตายเป็นแน่แท้แล้ว

ปลงอาบัติ แสดงอาบัติเพื่อให้พ้นจากอาบัติ, ทำตนให้พ้นจากอาบัติด้วยการเปิดเผยอาบัติของตนแก่สงฆ์หรือแก่ภิกษุอื่น, แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย, ใช้สำหรับอาบัติที่แสดงแล้วพ้นได้ คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนยะ ทุกกฎ และทุพภษสิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2016, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปลิโพธ เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง

ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกัมมัฏฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกัมมัฏฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ

๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่

๒. กุลปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก

๓. ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ

๔. คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ

๕.กรรมปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง (กรรม แปลว่า การงาน)

๖. อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ

๗. ญาติปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น

๘.อาพาธปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับเจ็บไข้ของตนเอง

๙. คันถปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน

๑๐. อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)


ในทางพระวินัยเกี่ยวกับการกรานกฐิน ปลิโพธ หมายถึงความกังวลที่เป็นเหตุให้กฐินยังไม่เดาะ (คือยังรักษาอานิสงส์กฐินและเขตแห่งจีวรกาลตามกำหนดไว้ได้) มี ๒ คือ

๑. อาวาสปลิโพธ ความกังวลในอาวาส (ยังอยู่ในวัดนั้นหรือหลีกไปแต่ยังผูกใจว่าจะกลับมา)

๒. จีวรปลิโพธ ความกังวลในจีวร (ยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำค้างอยู่ หรือหายเสียในเวลาทำแต่ยังไม่สิ้นหวังว่าจะได้จีวรอีก) ถ้าสิ้นปลิโพธครบทั้งอย่าง จึงเป็นอันเดาะกฐิน (หมดอานิสงส์ และสิ้นเขตจีวรกาลก่อนกำหนด)

ปวัตตมังสะ เนื้อที่มีอยู่แล้ว คือเนื้อสัตว์ที่เขาขายอยู่ตามปกติสำหรับคนทั่วๆไป ไม่ใช่ฆ่าเพื่อเอาเนื้อมาถวายพระ ตรงข้ามกับ อุทิสสมังสะ

ปวัตตินี คำเรียกผู้ทำหน้าที่อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ค. 2016, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปหานะ ละ, กำจัด, การละ, การกำจัด, เช่น ละตัณหา, กำจัดกิเลส,กำจัดบาปอกุศลธรรม

ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสังขารได้ (ข้อ ๓ ในปริญญา ๓)

ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรมทั้งปวง (ข้อ ๕ ในสัญญา ๑๐)

ปัจจยปฏิเสวนศีล ศีลในการเสพใช้สอยปัจจัย ๔ คือ มีพฤติกรรมในการเสพบโภคด้วยปัญญา ไม่บริโภคด้วยตัณหา โดยรู้จักพิจารณาที่จะกินใช้ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงตามความหมายของสิ่งนั้น อันจะมีผลเป็นการเสพบริโภคอย่างพอดี ที่เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา (เป็นปาริสุทธิศีล ข้อที่ ๔ ปัจจยสันนิสิตศีล ก็เรียก)

ปัจจยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย, พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา, เป็นปาริสุทธิศีล ข้อที่ ๔ เรียกเต็มว่า ปัจจยสันนิสิตศีล หรือปัจจยปฏิเสวนศีล

ปัจจยสันนิสิตศีล ศีลที่อิงอาศัยปัจจัย ๔ หรือศีลที่เนื่องด้วยปัจจัย ๔ ได้แก่ พิจารณาเสพใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงตามความหมายของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา , (เป็นปาริสุทธิศีล ข้อที่ ๔ ปัจจยปฏิเสวนศีล ก็เรียก)


ปัจจัย ๑ เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุเครื่องหนุนให้เกิด ๒. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่ง ห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)


(เหตุปัจจัยๆ นำไปพูดกันบ่อย ทำความเข้าใจให้ชัด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิกรรม “การทำคืน” “การแก้กรรม” การแก้ไข, การกลับทำใหม่ให้เป็นดี, เป็นคำสอนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำกรรม มีสาระสำคัญ คือ ยอมรับความผิดพลาดที่ได้ทำไปแล้ว ละเลิกบาปอกุศลหรือการกระทำผิดพลาดเสียหายที่เคยทำนั้น และหันมาทำความดีงามถูกต้องหรือบุญกุศล แก้ไขปรับปรุงตนเปลี่ยนแปรกรรมให้ดี,

ในทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้าได้ทรงนำหลักปฏิกรรมมาวางเป็นระบบวิธีปฏิบัติทางสังคม คือ ในด้านวินัย ขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ ได้แก่

๑.วินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เรื่องอาปัตติปฏิกรรม ซึ่งแปลกันว่าการทคืนอาบัติ คือการที่ภิกษุหรือภิกษุณีบอกแจ้งความผิดของตน เพื่อจะสังวรต่อไป แม้แต่แค่สงสัย ดังเช่น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความสงสัยว่าตนอาจจะได้ต้องอาบัติ ก็บอกแจ้งแก่ภิกษุอื่นรูปหนึ่ง (เช่น วินย. 4/186/246) (ตัดข้อความบาลีออก)

(ท่านครับ ผมมีความสงสัยในอาบัติชื่อนี้ หายสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น, “ปฏิกริสฺสามิ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

๒. วินัยบัญญัติ (สำหรับพระสงฆ์) เรื่องปวารณากรรม คือหลังจากอยู่ร่วมกันมาตลอดพรรษา ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายประชุมกัน และแต่ละรูปกล่าวคำเปิดโอกาสหรือเชิญชวน เริ่มด้วยรูปที่เป็นผู้ใหญ่ที่สุดว่า (วินย.4/226/314) (....)

(เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลาย จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำคืน “ปฏิกริสฺสามิ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

๓. อริยวินัย (สำหรับทั้งพระสงฆ์ และคฤหัสถ์) เรื่องอัจจยเทศนา คือ การแสดงความยอมรับหรือสำนึกผิด ในการที่ตนได้ทำความผิดละเมิดหรือล่วงเกินผู้อื่น และมาบอกขอให้ผู้อื่นนั้น ยอมรับความสำนึกของตน เพื่อที่ตนจะได้สำรวมระวังต่อไป ดังเช่นในกรณีนายขมังธนูที่รับจ้างมาเพื่อสังหารพระพุทธเจ้า แล้วสำนึกผิด และเข้ามากราบทูลความสำนึกผิดของตน

พระพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อความที่เป็นหลักในเรื่องนี้ว่า (วินย.7/369/180) (....)

(เพราะการที่เธอมองเห็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงยอมรับโทษนั้นของเธอ การที่ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสังวรต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย “ปฏิกโรสิ” และ “ปฏิกโรติ” เป็นรูปกริยาของปฏิกรรม)

ประสาท ๑ เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์, ในอภิธรรมว่าเป็น ประสาทรูป (คำบาลีว่า ปสาทรูป) ๒. ความเสื่อมใส ๓. ยินดีให้ โปรดให้

ปักษ์ ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือเดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรกเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด) ขุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ ก็เรียก

ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย, ทุกจร ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชนคนสามัญ ยังมีสติไม่สมบูรณ์ ย่อมมีวันพลั้งเผลอมทำผิดทำพลาดไปบ้าง ต่อเมื่อสำนึกได้ในภายหลัง ควรทำปฏิกรรม เริ่มต้นทำกุศลไปใหม่


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลัง แล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่...."

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ค. 2016, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ปุถุชนคนสามัญ ยังมีสติไม่สมบูรณ์ ย่อมมีวันพลั้งเผลอมทำผิดทำพลาดไปบ้าง ต่อเมื่อสำนึกได้ในภายหลัง ควรทำปฏิกรรม เริ่มต้นทำกุศลไปใหม่


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลัง แล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่...."

Kiss
:b12:
จิตไม่มีเพศไม่มีวัยค่ะ เพราะการรู้สภาวธรรมนั้นรู้ด้วยใจ มิใช่ใช้เพศ วัย อายุไปรู้
การรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้รู้ได้เป็นการระลึกรู้ตรงความจริงที่กำลังปรากฏ
ไม่ใช่รู้เป็นเรื่องราวการดำเนินชีวิตแต่รู้ธรรมชาติของจิตที่มีปกติไม่รู้สิ่งที่กำลังมี
คุณกรัชกายคะ ขอถามหน่อย ข้างล่างนี่อ่ะค่ะ แล้วปุถุชนคนนั้นรู้ได้ไงว่าจะดีได้
:b16:
อ้างคำพูด:
ปุถุชนคนสามัญ ยังมีสติไม่สมบูรณ์ ย่อมมีวันพลั้งเผลอมทำผิดทำพลาดไปบ้าง ต่อเมื่อสำนึกได้ในภายหลัง ควรทำปฏิกรรม เริ่มต้นทำกุศลไปใหม่

:b44: :b44:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร