วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 02:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2016, 19:06 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“คาถากันฝน” ของพระป่า

รูปภาพ
จากซ้าย : สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์,
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร


:b39:

ตอนที่ได้รับการทูลฟ้องว่า “ท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ” ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามพระวินัย

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งยังเป็นที่ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ และเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต ได้ขอออกธุดงค์กับพระอาจารย์กงมาเพียงสองต่อสอง และทรงขอร้องไม่ให้บอกผู้ใดว่าพระองค์เป็นใคร จากนั้นพระอาจารย์กงมาได้นำพาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยออกธุดงค์มาแล้ว


วันหนึ่งได้ไปปักกลดพักอยู่ที่เชิงเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรี เกิดลมพายุฝนตก กลดไม่สามารถป้องกันน้ำฝนได้ อนึ่ง การปักกลดของพระธุดงค์ก็ต้องอยู่ห่างกันพอสมควร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเปียกปอนไปหมด ส่วนพระอาจารย์กงมาก็นั่งตากฝนแต่บริขารไม่เปียก เมื่อฝนหยุด ท่านก็ครองผ้าเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทำให้พระองค์เกิดความฉงน


สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ จึงตรัสถามว่า ทำไมจึงไม่เปียก ได้รับคำตอบว่า มี “คาถาดี” ภายหลังเสด็จกลับจากเดินธุดงค์สู่วัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรีแล้ว พระองค์จึงตรัสถาม “สามเณรวิริยังค์ บุญฑีย์กุล (พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร) จึงได้ทราบว่า เมื่อเวลาฝนตกพระองค์ต้องเก็บของทั้งหมดใส่ลงไปในบาตร แล้วปิดฝาบาตรให้สนิท ถึงตอนนี้ทำให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ทรงเข้าใจชัดว่า คาถาดีป้องกันฝนได้นั้นคืออย่างนี้เอง

หลังจากธุดงค์หนึ่งอาทิตย์เศษ พระองค์ก็ตรัสว่า “การธุดงค์ของท่านกงมาและพระปฏิบัติกรรมฐานนี้ได้ประโยชน์เหลือหลาย อย่างนี้ธุดงค์มากๆ ก็จะทำให้พระศาสนาเจริญยิ่ง” นับแต่นั้นมา พระองค์ทรงให้ความสนับสนุนคุ้มครอง และสรรเสริญพระอาจารย์กงมาโดยตลอด


*********

:b8: :b8: :b8:
ขอขอบคุณที่มาจาก :
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=33519

*********

:b44: รวมคำสอน “หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44339

:b44: ประมวลภาพ “หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=48557


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2016, 19:13 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บาตรของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

รูปภาพ
“หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” ฉันจังหันร่วมกับ “หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี”
องค์หลวงปู่ทั้ง ๒ รูปท่านเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาก
จากภาพจะเห็นขนาดบาตรเหล็กใบใหญ่ของหลวงปู่ฝั้นได้อย่างชัดเจน


:b44: :b44:

ถ้าหากสังเกตจากภาพประกอบข้างต้น
หรือหากได้เยี่่ยมชมเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

เราจะเห็นบาตรเหล็กใบจริงของ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร”
ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่ยิ่งกว่าบาตรพระทั่วๆ ไปที่พบเห็นกันในปัจจุบัน
บาตรเหล็กของหลวงปู่ฝั้นดังกล่าว
ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนถึงบาตรของพระธุดงคกรรมฐาน


ดังที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้อรรถาธิบายไว้
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๒ ดังนี้


“พระกรรมฐานไปไหน จึงไม่มีห่วงหน้าห่วงหลัง มีแต่บริขาร ๘ เท่านั้น
สิ่งที่เลยบริขาร ๘ ไปก็คือกาน้ำ พวกมุ้ง พวกกลด
ขนาดนั้นก็เอาไปได้สบายๆ ไม่เห็นมีอะไร ไปอยู่ที่ไหนก็สบาย
ถ้าว่าจะไปก็จับของเหล่านั้นมาใส่บาตร บรรจุในบาตรปั๊บเต็มบาตร
พอดีสะพายบาตร เพราะฉะนั้นพระกรรมฐานจึงมีบาตรใหญ่กว่าปกติอยู่บ้าง

บางคนเขาไม่เข้าใจ...ว่า เอ๊ะ พระกรรมฐานนี่
ว่าเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ทำไมจึงต้องมีบาตรใหญ่นักหนา
เขาไม่เข้าใจความหมายของพระกรรมฐาน
ว่าทำบาตรใหญ่เพื่อที่จะได้อาหารมากๆ มาฉัน
ความจริงบาตรใหญ่นั้นใช้แทนกระเป๋าเดินทาง
ถ้าบาตรลูกเล็กๆ ใส่สังฆาฏิตัวเดียวมันก็หมดแล้ว
ทีนี้ของนั้นจะเอาใส่ที่ไหน ไม่มีที่ใส่ เมื่อบาตรใหญ่มุ้งก็ลงที่นั่น
สังฆาฏิก็ลงที่นั่น แน่ะ โคมไฟก็เอาลงที่นั่นพอดี
เทียนไข ไม้ขีดไฟที่มีติดตัวไปบ้างก็เอาลงที่นั่น สะพายพอดีเลย
หนักก็พอดี ไม่หนักมาก กลดก็แบกเสีย บาตรก็สะพายเสีย
ย่ามเล็กใส่ทางบ่าข้างหนึ่งแล้วไปธุดงคกรรมฐานได้อย่างคล่องตัว”


และที่สำคัญเวลาออกธุดงคกรรมฐาน แล้วเกิดฝนตก
ของที่เก็บรักษาไว้ในบาตรใบใหญ่ก็จะไม่เปียกด้วย


*********

:b8: :b8: :b8:
ขอขอบคุณที่มาจาก :
••• บาตรของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร •••
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=44253

*********


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร