วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 13:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:
รูป ที่บาลีเรียก"รูปัง"นั้น ไม่ใช่กาย แต่เป็นองค์ธรรมในสังขตธรรม(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)
รูป เป็นเหตุให้เกิด....มหาภูติรูป๔
ส่วนกายก็คือ.....ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ



ไม่เข้าใจตรง
รูป เป็นเหตุให้เกิด....มหาภูติรูป๔

มหาภูติรูป๔ ไม่ใช่ ธรรมแท้ ที่ไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่ง เหรอ?
ทำไมว่า ว่ามีเหตุเกิดจาก รูปล่ะ




โฮฮับ เขียน:


สิ่งที่เห็นด้วยตาในทางโลกเขาเรียกว่าภาพ แสง สี

ถ้าเป็นทางธรรม ท่านว่า สิ่งที่มากระทบกับจักขุคือ....วัตถุธรรม

รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ ....แบบนี้ผิด เพราะรูปารมณ์ ไม่ใช่ รูป+อารมณ์

แต่รูปารมณ์หมายถึง จักขายตนะ+รูปายตนะ



เมื่อว่า รูปารมณ์ ไม่ใช่ รูป+อารมณ์
แล้ว รูป+อารมณ์ มันมีไหม?
(ตรงนี้ ถามไปอย่างงั้น ไม่ได้สนใจนัก)

:b1:
ในทางธรรมรูป เป็นธรรม อย่างหนึ่ง อารมณ์ เป็นธรรม อีกอย่างหนึ่ง
การเกิดดับของสภาพธรรม ไม่ได้เกิดธรรมลอยๆอย่างเดียว อาศัยเกิดร่วมกัน
การรู้สภาพธรรมก็มี 2 อย่างคือ 1.รู้ในสภาพที่รู้อาการ กับ 2.รู้ในสภาพไม่รู้ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้
ตั้งต้นที่จิตตน จิตเป็นสภาพรู้สิ่งที่ปรากฏแต่ละทางเป็น6โลกที่รู้ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิตเป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ต่างๆทั้ง6ทางผ่านอายตนะ6 จิตตนจึงเป็นสภาพที่รู้อามณ์ต่างๆ
รูปเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้คือรู้อารมณ์ การรู้อารมณ์ของจิตจึงต้องมีทางที่ถูกรู้ ก็คือ รูป+อารมณ์=รูปารมณ์
สรุปสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้จึงมี3อย่างคือจิต+รูป+รูปารมณ์6โลกก็ต้องมี6ทางไม่ปนกัน
:b44:
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
student เขียน:
จิตวิญญาณยังทุกข์อยู่เพราะเหตุปัจจัยแห่งขันธ์5 (รวมทั้งรูป)

ความหมายของคำว่า "จิต"ก็คือชื่อหรือบัญญัติที่ใช้เรียกกระบวนการในกายใจที่เรียกว่า.....ขันธ์๕
กระบวนการนี้เกิดเกิดกับบุคคลทุกระดับ .......ยกเว้นพระอรหันต์

และที่บอกว่า "รูป"นั้น พระอรหันต์ไร้ซึ่งรูปด้วยประการทั้งปวง นั้นเป็นเพาะพระอรหันต์ผ่านการเจริญ
สติปัฏฐานมาอย่างสมบูรณ์แล้วนั้นเอง ในส่วนของ"รูป" ถ้าเป็นพระอรหันต์ท่านเรียกว่า....กาย

student เขียน:
จิตสังขารไม่ปรุงแต่งธรรมอีกต่อไปเพราะกิเลส(อวิชชา)โดนทำลาย เป็นวิมุติธรรม


พูดไม่ถูกครับ จะต้องบอกว่า กายใจของพระอรหันต์ไม่ปรุงแต่งธรรม
และไม่ได้เรียกว่าจิตสังขาร แต่เรียกว่า......วิสังขาร


student เขียน:
จิตวิญญาณไม่เที่ยง


ไม่ใช่จิตวิญญานไม่เที่ยง วิญญานกับจิตเป็นคนละอย่างกัน
และสิ่งที่ไม่เที่ยงคือ...สังขารไม่ใช่จิต จิตเป็นชื่อของกระบวนการขันธ์๕


student เขียน:
จิตสังขารไม่เที่ยงเพราะเหตุปัจจัยแห่งขันธ์5



ปัจจัยแห่งขันธ์๕คือ สังขาร ไม่ใช่จิต ....จิตและสังขารเป็นคนละอย่างกัน

student เขียน:
แต่พระนิพานเที่ยง


"เที่ยง" ไม่มีจริงในโลกธรรม ในโลกธรรมล้วนไม่เที่ยง
เหตุนี้จึงต้องพูดว่า พระนิพพานคือหลุดพ้นจากโลกธรรม
พระนิพพานจึงหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงของโลกธรรม.....พระนิพพานจึงไม่ใช่ทั้งความเที่ยงและไม่เที่ยง

student เขียน:

จิตสังขารหรือจิตวิญญาณคือคนละสภาวะกันกับนิพพาน


พระนิพพานไร้ซึ่งจิต ....เพราะกายใจของอรหันต์มีแต่อนัตตาและอสังขตลักษณะ
ไร้ซึ่งสังขาร.....เพราะสภาวธรรมของพระอรหันต์ เป็น...วิสังขาร
ไร้ซึ่งวิญญาน...เพราะกายใจอรหันต์ไร้ซึ่งอัตตา

student เขียน:
เพราะนิพพานคือสภาวะธรรมหลังจากสิ้นอายุ เรียกดับขันธ์นิพพาน


ไม่ใช่! นิพพานเป็นชื่อที่ใช่เรียกลักษณะของกายใจ
ถ้ากล่าวถึงนิพพานก็ให้เข้าใจว่้า เป็นบัญญัติที่กล่าวในเชิงของปุคคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐาน
ความหมายโดยรวมก็คือ เป็นผู้มีชีวิตอยู่

นิพพานเป็นธรรมาธิษฐาน
พระอรหันต์เป็นปุคคลาธิษฐาน.....ยังมีชีวิต
ธรรมทั้งสองต้องอยู่คู่กัน เพราะเป็นปัจจัยแก่กัน
อย่างหนึ่งเป็นตัวบุคคลและอีกอย่างเป็นลักษณะประจำตัวครับ

โฮฮับ มั่วได้ใจจริงๆ 555555555

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บาลี จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน แปลเป็นไทย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

มหาเปรียญแปลไทยได้มั่วมาก คำว่ากาย(บาลี) ดันแปลเป็นไทยว่า กาย
แบบนี้เขาเรียกว่าแปลหรือ
คำว่ามโนก็เหมือนกัน ดันไปแปลว่าใจ....ถามหน่อยใจมันคิดได้หรือเปล่า

คำว่า "กาย"ในบาลี มันหมายถึง.... ผิวหนัง
คำว่า"มโน"ในบาลี มันหมายถึง.....สมอง
แบบนี้เขาถึงจะรู้เรื่อง


กรัชกาย เขียน:
สิ่งที่เห็นด้วยจักษุ (ตา) ภาษาธรรมเรียกรูป (รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์) ทั้งหมด :b9:


สิ่งที่เห็นด้วยตาในทางโลกเขาเรียกว่าภาพ แสง สี

ถ้าเป็นทางธรรม ท่านว่า สิ่งที่มากระทบกับจักขุคือ....วัตถุธรรม

รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ ....แบบนี้ผิด เพราะรูปารมณ์ ไม่ใช่ รูป+อารมณ์

แต่รูปารมณ์หมายถึง จักขายตนะ+รูปายตนะ

คนไม่รู้ภาษา จะพูดอย่างโฮฮับ
ภาษา มีพยัญชนะ และอรรถ
การพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง คือจับเอาแต่พยัญชนะ ไม่รู้อรรถของพยัญชนะ

จึงด้นเอาเอง ว่ามหาเปรียญมั่ว
โฮฮับ....
รูปารมณ์ คือพยัญชนะ มีการสมาสสนธิของอักษร
อรรถ คือเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ว่าในพยัญชนะนั้นๆ หมายถึงอะไร
อรรถเป็นสมมติเพื่อการรับรู้ร่วมกันของพยัญชนะนั้นๆ
โฮฮับ......
หากจะมั่วถ้อยคำ ก็ควรจะอยู่ในร่องในรอยของภาษา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อเสกขบุคคล มีบันทึกไว้ให้ศึกษา
คือ
อรหัตมรรคจิต
อรหัตผลจิต
กิริยาจิต

ในขณะแห่งจิตที่ดำเนินไปในการละสังโยชน์เบื้องสูงคือกิเลสอันละเอียดอ่อนสุด 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา จิตนั้นเป็นกุศลสูงสุด เรียกว่า อรหัตมรรคจิต ไม่เป็นทุกข์เพราะเหตุว่าดำเนินไปอยู่ในการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง

เมืออรหัตมรรคจิตทำกิจเสร็จสมบูรณ์ อรหัตผลจิตจึงปรากฏ
จิตนั้นจึงบรรลุความสิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ไม่ต้องทำเหตุใดๆ เพื่อการดับทุกข์อีกต่อไป
แต่
ท่านก็ยังมีขันธวิบากซึ่งยังไม่หมดอายุขัยที่ยังต้องดำเนินอยู่
แต่การกระทำนั้นไม่เป็นอันก่อกรรม เพื่อความเกิด ความแก่ ความตาย เพื่อความตั้งแห่งภพไหนๆ
การกระทำนั้น ก็เพราะด้วยอรหัตผลจิต การกระทำด้วยอรหัตผลจิตจึงเป็นกิริยาจิต คือจิตเพื่อการกระทำทางกาย ทางวาจา และความคิดเท่านั้นเอง
จิตนี้เรียกว่า กิริยาจิต เป็นจิตที่ตั้งอยู่ในวิชชาวิมุติตลอดเวลาจนกว่าวิบากขันธ์นั้นหมดอายุขัยลง
ก็เป็นอันว่า ไม่มีบัญญัติแลโวหารใดให้เรียกอีกต่อไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 ก.ค. 2016, 17:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ ของอเสขบุคคลดับสิ้นเชิงด้วยประการทั้งปวง
ในขณะที่วิบากขันธ์ยังไม่หมดอายุขัย

ทุกข์ คือโสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
ทุกข์ คือ ความประสบสิ่งที่ไม่สมปราถนา
ทุกข์คือ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
ทุกข์คือ อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่อขันธ์ 5
ทุกข์เหล่านี้ ดับลง

ทุกข์คือ ความ เกิด ความชรา ความตาย ก็ดับลงด้วยเหตุว่า
เมื่อขันธวิบากสิ้นอายุขัย จิตของท่านไม่มีเหตุที่จะทำให้ท่านกลับมาเกิด มาชรา มาตายอีก

ทั้งสิ้นทุกข์ทั้งปวงนี้จึงเป็นความดับทุกข์โดยประการทั้งปวงครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิริยาจิต เที่ยง เป็นทุกข์ไหม

กิริยาจิต ก็ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ครับ
เพราะต้อง
รู้อารมณ์ และเคลื่อนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์หนึ่ง เกิดดับไปกับอารมณ์ เป็นสังขตธาตุ


กิริยาจิต เที่ยงครับ
เพราะกิริยาจิต เที่ยงต่อนิพพานอยู่ตลอดทุกขณะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 ก.ค. 2016, 18:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บาลี จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน แปลเป็นไทย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

มหาเปรียญแปลไทยได้มั่วมาก คำว่ากาย(บาลี) ดันแปลเป็นไทยว่า กาย
แบบนี้เขาเรียกว่าแปลหรือ
คำว่ามโนก็เหมือนกัน ดันไปแปลว่าใจ....ถามหน่อยใจมันคิดได้หรือเปล่า

คำว่า "กาย"ในบาลี มันหมายถึง.... ผิวหนัง
คำว่า"มโน"ในบาลี มันหมายถึง.....สมอง
แบบนี้เขาถึงจะรู้เรื่อง


กรัชกาย เขียน:
สิ่งที่เห็นด้วยจักษุ (ตา) ภาษาธรรมเรียกรูป (รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์) ทั้งหมด :b9:


สิ่งที่เห็นด้วยตาในทางโลกเขาเรียกว่าภาพ แสง สี

ถ้าเป็นทางธรรม ท่านว่า สิ่งที่มากระทบกับจักขุคือ....วัตถุธรรม

รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ ....แบบนี้ผิด เพราะรูปารมณ์ ไม่ใช่ รูป+อารมณ์

แต่รูปารมณ์หมายถึง จักขายตนะ+รูปายตนะ

คนไม่รู้ภาษา จะพูดอย่างโฮฮับ
ภาษา มีพยัญชนะ และอรรถ
การพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง คือจับเอาแต่พยัญชนะ ไม่รู้อรรถของพยัญชนะ

จึงด้นเอาเอง ว่ามหาเปรียญมั่ว
โฮฮับ....
รูปารมณ์ คือพยัญชนะ มีการสมาสสนธิของอักษร
อรรถ คือเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ว่าในพยัญชนะนั้นๆ หมายถึงอะไร
อรรถเป็นสมมติเพื่อการรับรู้ร่วมกันของพยัญชนะนั้นๆ
โฮฮับ......
หากจะมั่วถ้อยคำ ก็ควรจะอยู่ในร่องในรอยของภาษา


เลอะเทอะ! ไอ้ที่คุณมั่วอ้างว่าเป็นพยัญชนะแล้วก็บลาๆๆ
ก็ต้องสอนกันอีกแล้วละว่า ใช่มันเป็นพยัญชนะ แต่ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่พยัญชนะ
พยัญชนะเป็นเพียงสื่อทางเลือก ตัวธรรมแท้ๆมันอยู่ที่ การออกเสียงหรือสำเนียงให้ตรงกับ
มุขปาฐะที่สาวกได้ทำสังคายนาในครั้งแรก


ไม่เกี่ยวเลยกับเรื่องที่เช่นนั้นเอามั่วพูด พุทธพจน์แรกเริ่มมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น
จะมาสมาสสนธิอะไรเลอะเทอะไม่ได้ พุทธพจน์ไม่ใช่วิชาภาษาไทยของเด็กประถมจำไว้

คำว่า "รูปารมณ์" ไม่ใช่คำสมาสหรือสนธิบ้าบอคอแตกอย่างที่เช่นนั้นมั่ว
รูปารมณ์เป็นคำหนึ่งคำไม่มีคำผสมใดๆทั้งนั้น
รูปารมณ์เป็นคำเดียว มีความหมายว่า อารมณ์อันเกิดจากผัสสะหรือจักษุสัมผัส


โมฆะบุรุษจงสำเหนียกไว้ว่า ....
พุทธพจน์ท่านให้ความสำคัญที่สำเนียง การออกเสียงต้องตรงกับสำเนียงบาลี
ไม่ใช่ตัวหนังหรือพยัญชนะตามที่โมฆะบุรุษเข้าใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

โมฆะบุรุษจงสำเหนียกไว้ว่า ....
พุทธพจน์ท่านให้ความสำคัญที่สำเนียง การออกเสียงต้องตรงกับสำเนียงบาลี
ไม่ใช่ตัวหนังหรือพยัญชนะตามที่โมฆะบุรุษเข้าใจ

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่แสดงว่า โฮฮับไม่รู้จักภาษา :b32: :b32:


โดยพยัญชนะ ไม่ใช่โดยตัวอักขระ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
จิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับ อเสกขบุคคล มีบันทึกไว้ให้ศึกษา
คือ
อรหัตมรรคจิต
อรหัตผลจิต
กิริยาจิต


อ้างเรื่อยเปื้อย! บอกว่า" มีบันทึกไว้ให้ศึกษา" แล้วไอ้บันทึกที่ว่ามันคืออะไรตีเนียนไปเลย
ว่าคนอื่นด้นเดา แบบที่เช่นนั้นทำเรียกว่ากระไรครับ มั่วนิ่มหรือเปล่า :b32:

เช่นนั้น เขียน:
ในขณะแห่งจิตที่ดำเนินไปในการละสังโยชน์เบื้องสูงคือกิเลสอันละเอียดอ่อนสุด 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา จิตนั้นเป็นกุศลสูงสุด เรียกว่า อรหัตมรรคจิต ไม่เป็นทุกข์เพราะเหตุว่าดำเนินไปอยู่ในการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง

เมืออรหัตมรรคจิตทำกิจเสร็จสมบูรณ์ อรหัตผลจิตจึงปรากฏ
จิตนั้นจึงบรรลุความสิ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ไม่ต้องทำเหตุใดๆ เพื่อการดับทุกข์อีกต่อไป
แต่
ท่านก็ยังมีขันธวิบากซึ่งยังไม่หมดอายุขัยที่ยังต้องดำเนินอยู่
แต่การกระทำนั้นไม่เป็นอันก่อกรรม เพื่อความเกิด ความแก่ ความตาย เพื่อความตั้งแห่งภพไหนๆ
การกระทำนั้น ก็เพราะด้วยอรหัตผลจิต การกระทำด้วยอรหัตผลจิตจึงเป็นกิริยาจิต คือจิตเพื่อการกระทำทางกาย ทางวาจา และความคิดเท่านั้นเอง
จิตนี้เรียกว่า กิริยาจิต เป็นจิตที่ตั้งอยู่ในวิชชาวิมุติตลอดเวลาจนกว่าวิบากขันธ์นั้นหมดอายุขัยลง
ก็เป็นอันว่า ไม่มีบัญญัติแลโวหารใดให้เรียกอีกต่อไป


ฟุ้ง! เชช่นนั้นฟังให้ดีนะว่า สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมโดยหลักแล้วมีอยู่๔
นั้นก็คือ จิต ๑. เจตสิก ๑. รูป ๑.......และนิพพาน ๑.

ถามเช่นนั้น นิพพานใช่จิตหรือเปล่า ถ้าใช่ทำไมถึงได้แบ่งแยก จิตกับนิพพานออกจากกัน
จิต เจตสิก รูป......เป็นสภาวธรรมในกายใจของ เสขะ
นิพพาน ...............เป็นสภาวธรรมของ อเสขะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ ของอเสขบุคคลดับสิ้นเชิงด้วยประการทั้งปวง
ในขณะที่วิบากขันธ์ยังไม่หมดอายุขัย


ในความเป็นธรรมฐิติหรือกายใจของอรหันต์ที่ตั้งอยู่ ท่านดับเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)แล้ว
แต่ตัวทุกข์ในชาติปัจจุบันยังคงอยู่ เพียงแต่ตัวทุกข์ในชาติที่เป็นอนาคตไม่มีแล้ว
นั้นเพราะอเสขะดับเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ในชาติปัจจุบันแล้ว

โดยสรุปก็คือ โมฆะบุรุษเช่นนั้นไม่รู้อริยสัจจฯนั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ คือโสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส


มั่ว! ทุกข์หมายถึงอริยสัจจฯ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส(ปฏิจจฯ) หมายถึง ผลขันธ์หรือกองขันธ์๕

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ คือ ความประสบสิ่งที่ไม่สมปราถนา


โวหารเขาพูดอย่างไร ก็ไม่แยกแยะ
ความไม่สมปรารถนาท่านเรียกว่า....... อนิจจัง

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก

ความพลัดจากสิ่งที่รักท่านเรียก ตัณหาและรูปราคะ

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่อขันธ์ 5
ทุกข์เหล่านี้ ดับลง

ความยึดมั่นไม่ใช่ต่อขันธ์ห้า ขันธ์ห้าเกิดหลังจากการยึดมั่นแล้ว
และการยึดมั่นไม่ใช่ทุกข์ แต่เป็นอัตตา
เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ ความ เกิด ความชรา ความตาย ก็ดับลงด้วยเหตุว่า
เมื่อขันธวิบากสิ้นอายุขัย จิตของท่านไม่มีเหตุที่จะทำให้ท่านกลับมาเกิด มาชรา มาตายอีก

ทั้งสิ้นทุกข์ทั้งปวงนี้จึงเป็นความดับทุกข์โดยประการทั้งปวงครับ


ทุกข์ก็คือวัฏฏสงสาร วัฏฏะของอรหันต์จะดับต่อเมื่อ สิ้นสุดวัฏฏะก็คือตายหรือปรินิพพานนั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ฟุ้ง! เชช่นนั้นฟังให้ดีนะว่า สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมโดยหลักแล้วมีอยู่๔
นั้นก็คือ จิต ๑. เจตสิก ๑. รูป ๑.......และนิพพาน ๑.

ถามเช่นนั้น นิพพานใช่จิตหรือเปล่า ถ้าใช่ทำไมถึงได้แบ่งแยก จิตกับนิพพานออกจากกัน
จิต เจตสิก รูป......เป็นสภาวธรรมในกายใจของ เสขะ
นิพพาน ...............เป็นสภาวธรรมของ อเสขะ


พระพุทธองค์ ไม่เคยสอนว่า ปรมัตถธรรมมีหลัก อยู่ 4
คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 ก.ค. 2016, 18:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บาลี จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน แปลเป็นไทย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

มหาเปรียญแปลไทยได้มั่วมาก คำว่ากาย(บาลี) ดันแปลเป็นไทยว่า กาย
แบบนี้เขาเรียกว่าแปลหรือ
คำว่ามโนก็เหมือนกัน ดันไปแปลว่าใจ....ถามหน่อยใจมันคิดได้หรือเปล่า

คำว่า "กาย"ในบาลี มันหมายถึง.... ผิวหนัง
คำว่า"มโน"ในบาลี มันหมายถึง.....สมอง
แบบนี้เขาถึงจะรู้เรื่อง


กรัชกาย เขียน:
สิ่งที่เห็นด้วยจักษุ (ตา) ภาษาธรรมเรียกรูป (รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์) ทั้งหมด :b9:


สิ่งที่เห็นด้วยตาในทางโลกเขาเรียกว่าภาพ แสง สี

ถ้าเป็นทางธรรม ท่านว่า สิ่งที่มากระทบกับจักขุคือ....วัตถุธรรม

รูปารมณ์ = รูป+อารมณ์ ....แบบนี้ผิด เพราะรูปารมณ์ ไม่ใช่ รูป+อารมณ์

แต่รูปารมณ์หมายถึง จักขายตนะ+รูปายตนะ

คนไม่รู้ภาษา จะพูดอย่างโฮฮับ
ภาษา มีพยัญชนะ และอรรถ
การพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง คือจับเอาแต่พยัญชนะ ไม่รู้อรรถของพยัญชนะ

จึงด้นเอาเอง ว่ามหาเปรียญมั่ว
โฮฮับ....
รูปารมณ์ คือพยัญชนะ มีการสมาสสนธิของอักษร
อรรถ คือเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ว่าในพยัญชนะนั้นๆ หมายถึงอะไร
อรรถเป็นสมมติเพื่อการรับรู้ร่วมกันของพยัญชนะนั้นๆ
โฮฮับ......
หากจะมั่วถ้อยคำ ก็ควรจะอยู่ในร่องในรอยของภาษา


เลอะเทอะ! ไอ้ที่คุณมั่วอ้างว่าเป็นพยัญชนะแล้วก็บลาๆๆ
ก็ต้องสอนกันอีกแล้วละว่า ใช่มันเป็นพยัญชนะ แต่ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่พยัญชนะ
พยัญชนะเป็นเพียงสื่อทางเลือก ตัวธรรมแท้ๆมันอยู่ที่ การออกเสียงหรือสำเนียงให้ตรงกับ
มุขปาฐะที่สาวกได้ทำสังคายนาในครั้งแรก


ไม่เกี่ยวเลยกับเรื่องที่เช่นนั้นเอามั่วพูด พุทธพจน์แรกเริ่มมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น
จะมาสมาสสนธิอะไรเลอะเทอะไม่ได้ พุทธพจน์ไม่ใช่วิชาภาษาไทยของเด็กประถมจำไว้

คำว่า "รูปารมณ์" ไม่ใช่คำสมาสหรือสนธิบ้าบอคอแตกอย่างที่เช่นนั้นมั่ว
รูปารมณ์เป็นคำหนึ่งคำไม่มีคำผสมใดๆทั้งนั้น
รูปารมณ์เป็นคำเดียว มีความหมายว่า อารมณ์อันเกิดจากผัสสะหรือจักษุสัมผัส


โมฆะบุรุษจงสำเหนียกไว้ว่า ....
พุทธพจน์ท่านให้ความสำคัญที่สำเนียง การออกเสียงต้องตรงกับสำเนียงบาลี
ไม่ใช่ตัวหนังหรือพยัญชนะตามที่โมฆะบุรุษเข้าใจ


อ้างคำพูด:
คำว่า "รูปารมณ์" ไม่ใช่คำสมาสหรือสนธิบ้าบอคอแตกอย่างที่เช่นนั้นมั่ว
รูปารมณ์เป็นคำหนึ่งคำไม่มีคำผสมใดๆทั้งนั้น
รูปารมณ์เป็นคำเดียว มีความหมายว่า อารมณ์อันเกิดจากผัสสะหรือจักษุสัมผัส


เคยพยากรณ์ไว้ว่า ศาสนาโฮฮับ อุบัติขึ้นแล้วในลานแห่งนี้ คิกๆๆ ไม่ผิดหรอกเห็นชัดๆ ว่าเขาบัญญัตินั่นนี่ขึ้นเองแล้ว

กำลังคลั่งขนาดหนัก :b32: เกินเยียวยาแล้วครับท่าน :b13:

อ้างคำพูด:
"รูปารมณ์" ไม่ใช่คำสมาสหรือสนธิบ้าบอคอแตกอย่างที่เช่นนั้นมั่ว
รูปารมณ์เป็นคำหนึ่ง คำไม่มีคำผสมใดๆทั้งนั้น



รูปารมณ์ (รูป+อารมณ์) สัททารมณ์ (สัทท+อารมณ์) คันธารมณ์ (คันธ+อารมณ์) รสารมณ์ (รส+อารมณ์) โผฏฐัพพารมณ์ (โผฏฐัพพ+อารมณ์) ธัมมารมณ์ (ธัมม+อารมณ์)

ไม่ไหวเละครับ ไร้สาระ ไปห้องสัพเพเหระเถอะนะ เสียเวลา เกินแก้แล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ ของอเสขบุคคลดับสิ้นเชิงด้วยประการทั้งปวง
ในขณะที่วิบากขันธ์ยังไม่หมดอายุขัย


ในความเป็นธรรมฐิติหรือกายใจของอรหันต์ที่ตั้งอยู่ ท่านดับเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)แล้ว
แต่ตัวทุกข์ในชาติปัจจุบันยังคงอยู่ เพียงแต่ตัวทุกข์ในชาติที่เป็นอนาคตไม่มีแล้ว
นั้นเพราะอเสขะดับเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)ในชาติปัจจุบันแล้ว

โดยสรุปก็คือ โมฆะบุรุษเช่นนั้นไม่รู้อริยสัจจฯนั้นเอง

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ คือโสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส


มั่ว! ทุกข์หมายถึงอริยสัจจฯ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส(ปฏิจจฯ) หมายถึง ผลขันธ์หรือกองขันธ์๕

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์ คือ ความประสบสิ่งที่ไม่สมปราถนา


โวหารเขาพูดอย่างไร ก็ไม่แยกแยะ
ความไม่สมปรารถนาท่านเรียกว่า....... อนิจจัง

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก

ความพลัดจากสิ่งที่รักท่านเรียก ตัณหาและรูปราคะ

เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นต่อขันธ์ 5
ทุกข์เหล่านี้ ดับลง

ความยึดมั่นไม่ใช่ต่อขันธ์ห้า ขันธ์ห้าเกิดหลังจากการยึดมั่นแล้ว
และการยึดมั่นไม่ใช่ทุกข์ แต่เป็นอัตตา
เช่นนั้น เขียน:
ทุกข์คือ ความ เกิด ความชรา ความตาย ก็ดับลงด้วยเหตุว่า
เมื่อขันธวิบากสิ้นอายุขัย จิตของท่านไม่มีเหตุที่จะทำให้ท่านกลับมาเกิด มาชรา มาตายอีก

ทั้งสิ้นทุกข์ทั้งปวงนี้จึงเป็นความดับทุกข์โดยประการทั้งปวงครับ


ทุกข์ก็คือวัฏฏสงสาร วัฏฏะของอรหันต์จะดับต่อเมื่อ สิ้นสุดวัฏฏะก็คือตายหรือปรินิพพานนั้นเอง


Quote Tipitaka:
[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์
ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กิริยาจิต เที่ยง เป็นทุกข์ไหม

กิริยาจิต ก็ไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ครับ
เพราะต้อง
รู้อารมณ์ และเคลื่อนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์หนึ่ง ละเกิดดับไปกับอารมณ์ เป็นสังขตธาตุ


กิริยาจิต เที่ยงครับ
เพราะกิริยาจิต เที่ยงต่อนิพพานอยู่ตลอดทุกขณะครับ


สักกายทิฐิแท้หนอ! กิริยาก็คือกิริยายังจะเอาจิตมาต่อท้าย
กิริยาเป็นอาการภายในกายใจของอรหันต์ มันเป็นตถตา

เพราะมันเป็นตถตา มันจึงไม่ใช่กรรมหรืออัตตา
กรรมหรืออัตตาเป็นเหตุหรือเป็นกระบวนแห่งจิต

คำว่าอนิจจังหรือไม่เที่ยง ท่านหมายถึงอัตตา ไม่ได้หมายถึงอย่างอื่นเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2016, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ฟุ้ง! เชช่นนั้นฟังให้ดีนะว่า สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมโดยหลักแล้วมีอยู่๔
นั้นก็คือ จิต ๑. เจตสิก ๑. รูป ๑.......และนิพพาน ๑.

ถามเช่นนั้น นิพพานใช่จิตหรือเปล่า ถ้าใช่ทำไมถึงได้แบ่งแยก จิตกับนิพพานออกจากกัน
จิต เจตสิก รูป......เป็นสภาวธรรมในกายใจของ เสขะ
นิพพาน ...............เป็นสภาวธรรมของ อเสขะ


พระพุทธองค์ ไม่เคยสอนว่า ปรมัตถธรรมมีหลัก อยู่ 4
คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน


มันก็เหมือนในอดีตที่เช่นนั้นพร่ำพูดแต่ว่า พระพุทธองค์ไม่เคยสอนพระอภิธรรม
เมื่อไม่รู้อภิธรรม ก็ป่วยการที่จะอธิบายถึงเหตุผล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร