วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 71 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๓๕๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน-
*อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น
มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น
วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น ฯ
[๓๕๖] ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้นพยาบาท
วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น

อย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ

ความหมายรู้ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะพยาปาทธาตุ ความดำริในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในพยาบาท ความพอใจ
ในพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาท
บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาพยาบาท
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ

ความหมายรู้ในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ
ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในวิหิงสา
ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในวิหิงสา ความ
เร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในวิหิงสา การแสวงหา
วิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะวิหิงสา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน
ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือกาย วาจา ใจ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 05 ก.ค. 2016, 17:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๕๑๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ภพ ภพ
ดังนี้ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร
อานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้าง
หรือหนอ ฯ
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็น
พืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างเลวของสัตว์
พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึง
มีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก

ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในรูปธาตุ จัก
ไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึงชื่อว่า
เป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุอย่างกลางของ
สัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้
จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก

ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในอรูปธาตุจักไม่
มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็น
พืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างประณีต ของ
สัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการ-
*ฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก

ดูกรอานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๑๐๘๗] ในกามธาตุ มีขันธ์เท่าไร ฯลฯ มีจิตเท่าไร
ในกามธาตุ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓ อินทรีย์ ๒๒
เหตุ ๙ อาหาร ๔ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗

บรรดาธรรมเหล่านั้น ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ในกามธาตุ
อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ จักขายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ ฆานายตนะ ธัมมายตนะ เหล่านี้
เรียกว่า อายตนะ ๑๒ ในกามธาตุ
ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ ธัมมธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๑๘ ในกามธาตุ

สัจจะ ๓ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ มัคคสัจจะ เหล่านี้เรียกว่า สัจจะ ๓ ใน
กามธาตุ
อินทรีย์ ๒๒ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ อัญญาตาวินทรีย์ เหล่านี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒
ในกามธาตุ
เหตุ ๙ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ เหล่านี้เรียกว่า เหตุ
๙ ในกามธาตุ
อาหาร ๔ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ กพฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร เหล่า
นี้เรียกว่า อาหาร ๔ ในกามธาตุ
ผัสสะ ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุสัมผัส เหล่านี้เรียกว่า ผัสสะ
๗ ในกามธาตุ
เวทนา ๗ สัญญา ๗ เจตนา ๗ จิต ๗ ในกามธาตุ เป็นไฉน
คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เหล่านี้เรียกว่า
จิต ๗ ในกามธาตุ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ ก็คงอ่านไม่รู้ภาษาเช่นเคย

เพราะความไม่รู้ภาษา จึงพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธองค์ไม่ได้

โฮฮับ .... ก็ยังไม่รู้อีกนะว่า ตลอดในพระสูตร พระพุทธองค์ได้แสดงธาตุไว้ทั้งหมด 35 ธาตุ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
[๓๕๖] ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้นพยาบาท
วิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้นมิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น

อย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม
การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ [/quote-tipitaka]


ไร้เดียงสาจริงๆครับ เหมือนเด็กพึ่งหัดพูด พี่โฮจะสอนให้รู้จักการทำความเข้าใจ
กับพระสูตรบทนี้.......อยากรู้เรื่อง มันต้องไล่ขึ้นมาหาเหตุที่ทำให้เกิดกาม ไม่ใช่อ่านจากหัวไปท้าย
มันต้องไล่จากท้ายมาหัว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ
ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม..........
ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม ..........
ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม.......
การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม ........
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม .....
ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ

ท่านเน้นที่กาม และบอกเหตุที่มาแห่งกามนั้น ไล่ตั้งแต่...
กายใจที่เร่าร้อนเพราะกาม
การแสวงหากามเพราะความเร่าร้อน
ความเร่าร้อนในกามเพราะความพอใจ(ตัณหา)
ความพอใจในกามเพราะดำริในกาม
ความดำริในกามเพราะหมายรู้ในกาม
หมายรู้ในกามเพราะ...กามธาตุ

เช่นนั้นฟังให้ดีน่ะ ในพระสูตตรบทนี้ท่านไล่เหตุที่มาแห่งกามที่ละเหตุปัจจัย
จนมาถึง...ความหมายรู้ในกามบังเกิดเพราะอาศัยกามธาตุ

"ความหมายรู้ในกามบังเกิดเพราะอาศัยกามธาตุ" นี่คือที่มาของกาม.... กามบังเกิดขึ้นก็เพราะธาตุ

ในที่นี้ท่านกล่าวถึงความดำริและความหมายรู้ นั้นก็คือ ความคิดหรือมโนสังขาร
ฉะนั้นธาตุอันเป็นเหตุให้เกิดกามก็คือ........มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ(ธาตุ๑๘ในอภิธรรมภาชนีย์)

กับคนเขลาจึงเน้นให้ฟังอีกครั้งว่า...........กามไม่ใช่ธาตุ
เช่นนั้นอ่านพระสูตรไม่เป็น ใช้วิธีนกแก้วนกขุนทอง เตือนว่า อย่ามักง่าย :b32:


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ ก็คงอ่านไม่รู้ภาษาเช่นเคย

เพราะความไม่รู้ภาษา จึงพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธองค์ไม่ได้

โฮฮับ .... ก็ยังไม่รู้อีกนะว่า ตลอดในพระสูตร พระพุทธองค์ได้แสดงธาตุไว้ทั้งหมด 35 ธาตุ ^ ^


ไม่มีเวลาขอตอบตรงนี้ก่อน......"เช่นนั้น"ผู้รู้ท่านพิจารณาได้ว่าใครกันแน่ที่ไม่รู้ภาษา
ไอ้วิธีการก๊อปปี้พระสูตรหรืออภิธรรมมาโพสทั้งดุ้น.....แบบนี้เรียกว่าคนรู้ภาษาหรือ
แล้วแบบเช่นนั้นเขาไม่เรียกพิจารณา แต่เขาเรียกก๊อปปี้เป็นนกแก้วนกขุนทอง

ปัญหาของผู้เขลาเช่นนั้นก็คือ.....ขาดความเข้าใจในนิยามแห่งไตรลักษณ์และที่สำคัญ
ไม่รู้หลักการเอาความเป็นเหตุปัจจัยมาพิจารณาพระไตรปิฎก

ผมว่าคนอย่างคุณเช่นนั้น ชาตินี้ทั้งชาติก็ไม่มีทางอ่านพระไตรปิฎกรู้เรื่องหรอกครับ :b32:


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
.....พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว
กามภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ.......


Quote Tipitaka:
....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ...


Quote Tipitaka:
กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความ
ที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
.....พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว
กามภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ฯ.......


กามธาตุจักไม่มี หมายถึง ความยึดมั่นในธาตุ๑๘(อภิธรรมภาชนีย์)หมดสิ้นไป
เมื่อไม่ยึดมั่นในธาตุ๑๘ กามย่อมต้องจักไม่มี

เมื่อกามจักไม่มีแล้ว ภพอันเป็นที่อาศัยของกาม ย่อมไม่ปรากฎ

กามธาตุ ในที่นี้ กามเป็นกิเลส ธาตุเป็นทวารหรือที่รับความรู้สึก
กามภพ ในที่นี้คือ กามเป็นกิเลส ภพคือที่อาศัยของกาม
กิเลส ในที่นี้ก็คือ สังโยชน์


กามไม่ใช่ธาตุ
กามไม่ใช่ภพ

กามคือกิเลสสังโยชน์


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
...

.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ...


กายใจจะรู้ถึงกามได้นั้นจะต้องหลังจาก ธาตุ๑๘รับการกระทบจากกามเสียก่อน
คำว่ากามธาตุในที่นี้หมายถึง กาม+ผัสสะ ธาตุก็คือองค์ธรรมแต่ละตัวใน ผัสสะ๖
องค์ธรรมแต่ละตัวก็คือ ธาตุ๑๘

ในที่นี้กามไม่ใช่ผัสสะ กามเพียงอาศัยผัสสะเข้ามาในกายใจ
ในที่นี้ผัสสะไม่ใช่ธาตุ แต่องค์ธรรมแต่ละตัว(เน้นแต่ละตัว)ที่ประกอบผัสสะคือธาตุ

ยกตัวอย่าง หนึ่งในผัสสะ๖ ก็คือ จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ

ตา+รูป+จักขุวิญญาน....ไม่ใช่ธาตุ แต่ตาเป็นธาตุ รูปเป็นธาตุ จักขุวิญญานเป็นธาตุ
ลักษณะของความเป็นธาตุ ต้องเป็นธรรมเดียวโดดๆ


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ค. 2016, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Quote Tipitaka:
..กามธาตุ เป็นไฉน
ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความ
ที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้น
ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ


วรรคนี้ขอผ่าน เพราะมีความเห็นว่า....มันเป็นบทในคณะลิเก
ดันมีนรกมีเทพ อีกหน่อยก็คงมีเง็กเซียนฮ่องเต้ ไม่แน่อาจอ้างถึงเห้งเจีย ตือโป้ยก่ายเลยก็ได้
:b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
student เขียน:
โฮฮับ เขียน:
student เขียน:
ผมว่าทรงไว้
เรียกความเป็นใหญ่

ตาเอาไว้มอง
หูเอาไว้ฟัง
เป็นต้น


อธิบายให้ฟังสำหรับผู้มีความมุ่งหมั่นตั้งใจ :b13:

ลักษณะของการทรงไว้ ในที่นี้ท่านหมายถึงสภาวธรรมครับ
สภาวธรรมใดที่สามารถทรงความเป็นปัจจุบันธรรมได้นั้น....ท่านเรียกปัจจุบันธรรมนั้นว่า อินทรีย์ครับ

ในขณะที่ตามองเห็นวัตถุธรรม สิ่งที่ทรงความป็นใหญ่ในขณะนั้นเรียกว่า ...จักขุนทรีย์
หรือในขณะที่หูกำลังได้ยิน สิ่งที่ทรงความเป็นใหญ่ขณะนั้นเรียกว่า... โสตินทรีย์ .


การทรงไว้ไม่ใช่ธาตุอย่างที่นายกรัชกายแกมั่วหรอกครับ :b32:


อนุโมทนาครับ


เรา ก็น่าจะพอใจกะคำอธิบายนี้มาก
น่าจะเช่นเดียวกะ คุณ Student

ต้องสารภาพกะคุณโฮฮับว่า
เราเอง ก็ขัน เจื้อยๆ ตลอดมา ว่า ธาตุ คือ ทรงไว้ ซึ่งความเป็นธาตุ เหมือนกัน

ขอบคุณ จริงๆ ขอรับ ท่านโฮ


คุณจะพูดว่า..."ทรงไว้ซึ่งความเป็นธาตุ"ก็ย่อมได้ครับ แต่นั้นต้องหมายความว่า
คุณต้องอ้างอิงองค์ธรรมให้ถูก จึงจะเป็นวิชชาครับ

อย่างเอาคำว่า จักขุธาตุ มาบอกว่า เป็นการทรงไว้ซึ่งจักขุธาตุ นี่มันผู้ผิดจากสภาพความเป็นจริง
ความเป็นจริงของจักขุก็คือ ธาตุ๔
จักขุธาตุเป็นอวิชชาครับ ธาตุ๔จึงจะเป็น วิชชา


ฉะนั้นจะเอาคำว่า "ทรงไว้"มาใช้กับธาตุ จะต้องใช้กับ ธาตุ๔(ดิน น้ำ ลม ไฟ)และธาตุรู้เท่านั้นครับ



อ้างคำพูด:
จักขุธาตุ มาบอกว่า เป็นการทรงไว้ซึ่งจักขุธาตุ นี่มันผู้ผิดจากสภาพความเป็นจริง


อ้างคำพูด:
จักขุธาตุมาบอกว่า เป็นการทรงไว้ซึ่งจักขุธาตุ...


คิกๆๆ อย่างนั้น เขาเรียกแปลทับศัพท์ ไม่ไปไหน

จักขุธาตุ ทรงไว้ (ธาตุ) ซึ่งการเห็น = จักขุธาตุ

ถ้าจะเล่นแบบนั้น ทิ่มไปตรงๆเลย จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ฯลฯ ทับศัพท์ไปเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 71 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร