วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
student เขียน:
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทคือจิตจุตติ
เช่น วิญญาณในขันธ์5อยู่ในส่วนของ ผัสสะ ในปฎิจจสมุปบาท


วิญญานเป็นองค์ธรรม(องค์ประกอบ)ของปฏิจจสมุปบาท
วิญญานไม่ใช่จิต แต่เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดกระบวนการแห่งจิต

ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมชาติ เป็นคนละส่วนกับกายใจ
แต่กายใจไม่สามารถหลีกเลี่ยงปฏิจจฯได้
เมื่อกายใจเกิดการกระทบ ทุกครั้งจะเกิดปฏิจจฯ ในลักษณะของสังขตธรรม

แยกแยะให้ดีระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ห้า
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมชาตินอกกายใจ แต่ขันธ์ห้าเป็นธรรมชาติภายในกายใจ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้นเหตุแห่งขันธ์ห้า


student เขียน:
สัญญาเป็นความจำได้หมายรู้ น่าจะอยู่ในส่วนของนามรูปในปฏิจจสมุปบาท


สัญญาคือความจำได้หมายรู้ แต่ไม่ใช่การจำได้หมายรู้แบบความจำในสมอง
สัญญาเป็นธรรมที่ทำให้กายใจจำลักษณะของวัตถุธรรมที่มากระทบได้
เช่น รู้ว่านั้นคือเสียง(ดัง เบา) รู้ว่านั้นคือรส(ขม หวาน)เป็นต้น


ความคิดและความจำอันเกิดขึ้นที่สมอง(มโนทวาร) ท่านเรียกว่า....ธัมมารมณ์ ไม่ใช่สัญญา


มาแปลก ไปแอบอ่าน ภาษาธรรมวันละคำ อักษร ส. มาสิท่า อิอิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
จขกท ผู้ถามในพันทิป

"ที่ปฏิจจสมุปบาทว่าสังขารเป็นเหตุแห่งวิญญาณ แต่มีความคิดว่าแล้วสัญญาล่ะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณเหรอ"

....

ผู้ถามเขา เอาเรื่องของปฏิจจฯ มาปนกะเรื่องขบวนการเกิดขันธ์๕

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ นั้นเป็นเรื่องมาปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท เรื่องนอกกายใน เป็นธรรมฐิติ คือธรรมดาของธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น

แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์๕
สังขตธรรม เกิดหลังผัสสะ ก็หมายถึงเกิดหลังวิญญาณไปรู้การกระทบ ทางทวารทั้ง๖


ใช้ได้ ยอดเยี่ยมครับ! :b17:



อ้างอิงไว้



อ้างคำพูด:
แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


อ้างคำพูด:
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


โฮฮับ ตามหาค้นหาขันธ์ ๕ นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในคน,ในบุคคล ใช่หรือไม่

แล้วที่ว่ายอดเยี่ยมนี่ => รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิด นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใช่บ่ :b10: :b14:

เอาาล่ะครับท่านผู้ชม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางไว้ใกล้ๆ :b32:


สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจ ว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์ว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก (ข้อ ๓ ในขันธ์ ๕)
มี ๖ อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้น, ... ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น


สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ควรกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายไม่เที่ยงแห่งสังขาร ๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง ๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย ๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ ๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธ คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันสงบประณีต ๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ขันธ์๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดาที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ค่ะ
เพราะความหลงว่ามีจริง แต่จริงๆมันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา
คือจากไม่มี แล้วเกิดมี ตั้งอยู่ชั่วคราวสั้น1ขณะ แล้วก็ดับไป
:b44:
รูป เวทนา เป็น2ขันธ์ในขันธ์ทั้งห้าที่ในพันทิปไม่เอ่ยถึง
แต่จำเป็นต้องอธิบายขยายความให้ชัดเจนเพราะอิงอาศัยกัน
ในการเกิดดับทุกขณะจิตอาศัยเหตุปัจจัยที่มีเกิดดับพร้อมกัน
:b44:
รูปเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลยเพราะไม่ใช่สภาพรู้แต่ปรากฏตามวิบากกรรมเก่าที่ส่งมาผล
เวทนาความรู้สึกสุข-ทุกข์-เฉยเป็นสภาพรู้ที่ไปรับรู้ตามสิ่งที่ปรากฏพร้อมจิต
:b1:
ที่ยกตัวอย่างจากพันทิปสงสัยขันธ์3ประการอย่างหลังคือ สัญญา สังขาร วิญญาณ
:b32:
สัญญาความจำมี2อย่างคือจำได้กับจำไม่ได้
สังขารคือความคิดปรุงแต่งเป็นไปตามสัญญา
วิญญาณเป็นสภาพรู้เป็นประธานที่รู้แจ้งเท่านั้นคือเป็นจิต1เดียว
:b44:
กลไกการทำงานของจิต
วิญญาณคือจิตแค่เป็นประธานรู้ทุกอย่างที่ปรากฏ
สัญญาทำหน้าที่จำทำงานร่วมกับจิตเป็นสัญญาเจตสิก
สังขารทำหน้าที่คิดปรุงรูปที่ปรากกฎแล้วปรุงขึ้นมาใหม่
จากนั้นเวทนาก็ทำหน้าที่ต่อโดยรู้สึกไปตามอารมณ์ทั้งหมด
แล้วสัญญาก็จำสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมดโดยไม่รู้ว่ามันดับไป
ดังนั้นขันธ์ทั้ง5ทำงานร่วมกันโดยอิงอาศัยและเป็นเหตุผลดังกล่าว
:b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาวางไว้ใกล้ๆอีก เพื่อโฮฮัยจะ จำได้หมายรู้ คือ มีสัญญาขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ใช่สัญญาตามภาษาไทยนะ "สัญญารัก" https://www.youtube.com/watch?v=cDKoaourTLI



สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น .... ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยพระมหากรุณา หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริง และประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริง และปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้ และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
จขกท ผู้ถามในพันทิป

"ที่ปฏิจจสมุปบาทว่าสังขารเป็นเหตุแห่งวิญญาณ แต่มีความคิดว่าแล้วสัญญาล่ะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณเหรอ"

....

ผู้ถามเขา เอาเรื่องของปฏิจจฯ มาปนกะเรื่องขบวนการเกิดขันธ์๕

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ นั้นเป็นเรื่องมาปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท เรื่องนอกกายใน เป็นธรรมฐิติ คือธรรมดาของธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น

แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์๕
สังขตธรรม เกิดหลังผัสสะ ก็หมายถึงเกิดหลังวิญญาณไปรู้การกระทบ ทางทวารทั้ง๖


ใช้ได้ ยอดเยี่ยมครับ! :b17:



อ้างอิงไว้



อ้างคำพูด:
แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


อ้างคำพูด:
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


โฮฮับ ตามหาค้นหาขันธ์ ๕ นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในคน,ในบุคคล ใช่หรือไม่

แล้วที่ว่ายอดเยี่ยมนี่ => รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิด นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใช่บ่ :b10: :b14:

เอาาล่ะครับท่านผู้ชม :b32:


รูป >>>>>>>>>>>รูปขันธ์

เวทนา>>>>>>>>>>เวทนาขันธ์

สัญญา>>>>>>>>>>สัญญาขันธ์

สังขาร>>>>>>>>>>สังขารขันธ์

วิญญาน>>>>>>>>>วิญญานขันธ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอามาวางไว้ใกล้ๆอีก เพื่อโฮฮัยจะ จำได้หมายรู้ คือ มีสัญญาขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ใช่สัญญาตามภาษาไทยนะ "สัญญารัก" https://www.youtube.com/watch?v=cDKoaourTLI



สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น .... ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยพระมหากรุณา หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริง และประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริง และปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้ และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน


จะมาพูดธรรมหรือจะมาเรียนภาษา ถ้าจะเรียนภาษาไปเรียนที่วัดโพธิท่าเตียนนู้น
ไม่มีหัวคิดตะบี้ตะบันลอกตำราของเด็กมาโพส ....น่ารำคาญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
จขกท ผู้ถามในพันทิป

"ที่ปฏิจจสมุปบาทว่าสังขารเป็นเหตุแห่งวิญญาณ แต่มีความคิดว่าแล้วสัญญาล่ะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณเหรอ"

....

ผู้ถามเขา เอาเรื่องของปฏิจจฯ มาปนกะเรื่องขบวนการเกิดขันธ์๕

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ นั้นเป็นเรื่องมาปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท เรื่องนอกกายใน เป็นธรรมฐิติ คือธรรมดาของธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น

แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์๕
สังขตธรรม เกิดหลังผัสสะ ก็หมายถึงเกิดหลังวิญญาณไปรู้การกระทบ ทางทวารทั้ง๖


ใช้ได้ ยอดเยี่ยมครับ! :b17:



อ้างอิงไว้



อ้างคำพูด:
แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


อ้างคำพูด:
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


โฮฮับ ตามหาค้นหาขันธ์ ๕ นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในคน,ในบุคคล ใช่หรือไม่

แล้วที่ว่ายอดเยี่ยมนี่ => รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดในกาย ใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิด นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ใช่บ่ :b10: :b14:

เอาาล่ะครับท่านผู้ชม :b32:


รูป >>>>>>>>>>>รูปขันธ์

เวทนา>>>>>>>>>>เวทนาขันธ์

สัญญา>>>>>>>>>>สัญญาขันธ์

สังขาร>>>>>>>>>>สังขารขันธ์

วิญญาน>>>>>>>>>วิญญานขันธ์



ตอบคำถามหรือต้องการสืออะไร :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เอามาวางไว้ใกล้ๆอีก เพื่อโฮฮัยจะ จำได้หมายรู้ คือ มีสัญญาขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ใช่สัญญาตามภาษาไทยนะ "สัญญารัก" https://www.youtube.com/watch?v=cDKoaourTLI



สัตว์ "ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์" สิ่งที่มีความรู้สึก และเคลื่อนไหวไปได้เอง รวมตลอดทั้งเทพ มาร พรหม มนุษย์ เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน และสัตว์นรก ในบาลีเพ่งเอามนุษย์ก่อนอย่างอื่น .... ไทยมักเพ่งเอาดิรัจฉาน

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยพระมหากรุณา หวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริง และประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริง และปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้ และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน


จะมาพูดธรรมหรือจะมาเรียนภาษา ถ้าจะเรียนภาษาไปเรียนที่วัดโพธิท่าเตียนนู้น
ไม่มีหัวคิดตะบี้ตะบันลอกตำราของเด็กมาโพส ....น่ารำคาญ



นำความหมายสัตว์ให้ดู ว่าบาลีหมายถึงอะไร :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๒. วิภังคสูตร
[๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท
นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
[๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของ
ความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่
หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ
เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน
มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ
มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิด
จำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา-
*เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
[กตมญฺจ ภิกฺขเว สฬายตนํ ฯ จกฺขฺวายตนํ โสตายตนํ
ฆานายตนํ ชิวฺหายตนํ กายายตนํ มนายตนํ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว
สฬายตนํ ]
[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ
รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ
[๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณ ฯ
[๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร
จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร

[๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่ง-
*ทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง
ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเพ่นอีก คราวนี้เพ่นจนป่าราบ คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ พระพุทธองค์ใช้คำว่า "สังขาร" ในหมวดธรรมไหน
พระองค์ก็แสดงกำกับ ถึงความหมายของ "สังขาร"...ไว้ด้วยการจำแนกของพระองค์

เป็นกรอบที่พระองค์วางไว้ให้พิจารณา ตามที่พระองค์ประสงค์แสดงให้ทราบ
ผู้ที่ตั้งกระทู้ในพันทิป ไม่เคยสดับ วิภังค์ นี้มาก่อน เลยคิดเองเออเองไปตามคำว่า "สังขาร"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พันทิบ เขียน:
ขอออกตัวว่าเป็นครั้งแรกที่ตั้งกระทู้คำถาม และยังใหม่ในการปฏิบัติธรรมหากกระทู้มีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ก่อนหน้าครับ ผมมีขัอสงสัยในความสัมพันธ์ระหว่างสังขาร และวิญญาณ และสัญญาว่ามันมาความสัมพันธ์กันตรงไหนในปฏิจจสมุปบาทไหมครับ รู้สึกงงคือในช่วงปฎิบัติแล้วพิจารณาอาการเกิดดับของสัญญาและสังขาร แล้วพิจารณากลับไปที่ปฏิจจสมุปบาทว่าสังขารเป็นเหตุแห่งวิญญาณ แต่มีความคิดว่าแล้วสัญญาล่ะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณเหรอ
ก็รู้สึกสงสัย

ขออภัยถ้าคำถามอาจจะโง่แต่มันทำให้ผมติดและพิจารณาวนอยู่นานมาก


ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่า ในโลกใบนี้จะมีธรรมชาติอย่างหนึ่งเรียกว่า...ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท เป็นกฎทางธรรมชาติที่คอยควบคุมกายใจของสัตว์โลก

การจะศึกษาปฏิจจฯนั้นผู้ศึกษาต้องมีสติ แยกแยะปฏิจจฯและกายใจของบุคคล
ปฏิจจฯก็อย่างหนึ่ง กายใจของบุคคลก็อย่างหนึ่ง

กายใจของบุคคลไม่สามารถทำให้เกิดปฏิจจฯได้ แต่ปฏิจจฯนั้นแหล่ะที่เป็นต้นเหตุของกระบวนการ
หรือสภาวธรรมในกายใจ.....ฉะนั้นอย่าบอกว่า กายใจของเราเกิดตัณหา เกิดอุปาทานฯลฯ
พูดแบบนี้มันผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง

เราต้องบอกว่า องค์ธรรมในปฏิจจฯ ทำให้เกิดสภาวธรรมหรือองค์ธรรมในกายใจอะไรบ้าง
ยกตัวอย่าง ตัณหาไม่ได้เกิดในกายใจ แต่ตัณหาเป็นธรรมชาติโดยทั่วไปที่คอยบ่งการให้กายใจ
เกิดความอยากหรือไม่อยาก.....ตัณหาไม่ใช่ความอยากหรือไม่อยาก
แต่ตัณหาสามารถทำให้กายใจเกิดความอยากหรือไม่อยากได้

ถ้ากายใจไม่สนใจ(สมาบัติ)หรือรู้แล้วปล่อยวาง ตัณหาก็เป็นเพียงองค์ธรรมหรือส่วนประกอบในปฏิจจฯ
ตัณหาในปฏิจจก็จะไม่ใช่ความอยากหรือไม่อยาก....องค์ธรรมตัวอื่น(ปฏิจจฯ)ก็เช่นกัน

ปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกับกายใจของบุคคลได้อย่างไร ก็ํด้วยการเกิดการกระทบของทวารทั้งหก
กายใจของบุคคลจะรู้ถึงความเป็นปฏิจจฯได้แต่ในสภาพของสังขตธรรม นั้นก็คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขารและวิญญาน.....อย่าลืมเป็นอันขาดว่า สังขตธรรมทั้งห้านี้เป็น อนัตตา(เกิดแล้วดับ)
ถ้ากายใจของบุคคลเข้ายึดเมื่อไร ....องค์ธรรมในปฏิจจฯจะเข้าบ่งการกายใจของบุคคลนั้นทันที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ พระพุทธองค์ใช้คำว่า "สังขาร" ในหมวดธรรมไหน
พระองค์ก็แสดงกำกับ ถึงความหมายของ "สังขาร"...ไว้ด้วยการจำแนกของพระองค์

เป็นกรอบที่พระองค์วางไว้ให้พิจารณา ตามที่พระองค์ประสงค์แสดงให้ทราบ
ผู้ที่ตั้งกระทู้ในพันทิป ไม่เคยสดับ วิภังค์ นี้มาก่อน เลยคิดเองเออเองไปตามคำว่า "สังขาร"


อ่านพระธรรมไม่ใช่แค่อ่านเพียงบทเดียวแล้วก็สรุป
มันมีที่มาที่ไปของธรรมแต่ละตัว เบื้องต้นต้องรู้ที่มาของพุทธพจน์ในแต่ละตัวเสียก่อน
ไม่ใช่พอเห็นพุทธบัญญัติที่เป็นพุทธพจน์สองคำมาผสมกันก็เหมาไปว่าเป็นอย่างนั้น

จะสอนให้ครับว่า พุทธพจน์ที่บัญญัติติกันสองคำ คุณจะต้องไปหาลักษณะธรรมของบัญญัติทั้งสอง
สิ่งที่คุณกำลังทำคือการเปลี่ยนแปลงพุทธพจน์(ผิดเพี้ยน)


ตัวอย่างเช่น กายสังขาร กายก็คำถึงความหมายหนึ่ง สังขารก็คำหนึ่งความหมายหนึ่ง
วจีสังขาร และจิตสังขารก็เช่นกัน
หลักการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เราต้องใช้หลักของ เหตุปัจจัย

กายก็คือ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
สังขารก็คือ กฎตามธรรมชาติ

กายสังขาร ก็คือ ธาตุสี่ที่สามารถขยับเคลื่อนที่ได้ ก็เป็นเพราะ มีกฎธรรมชาติที่เรียกว่าสังขาร
ไปคอยบ่งการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เมื่อ พระพุทธองค์ใช้คำว่า "สังขาร" ในหมวดธรรมไหน
พระองค์ก็แสดงกำกับ ถึงความหมายของ "สังขาร"...ไว้ด้วยการจำแนกของพระองค์

เป็นกรอบที่พระองค์วางไว้ให้พิจารณา ตามที่พระองค์ประสงค์แสดงให้ทราบ
ผู้ที่ตั้งกระทู้ในพันทิป ไม่เคยสดับ วิภังค์ นี้มาก่อน เลยคิดเองเออเองไปตามคำว่า "สังขาร"


อ่านพระธรรมไม่ใช่แค่อ่านเพียงบทเดียวแล้วก็สรุป
มันมีที่มาที่ไปของธรรมแต่ละตัว เบื้องต้นต้องรู้ที่มาของพุทธพจน์ในแต่ละตัวเสียก่อน
ไม่ใช่พอเห็นพุทธบัญญัติที่เป็นพุทธพจน์สองคำมาผสมกันก็เหมาไปว่าเป็นอย่างนั้น

จะสอนให้ครับว่า พุทธพจน์ที่บัญญัติติกันสองคำ คุณจะต้องไปหาลักษณะธรรมของบัญญัติทั้งสอง
สิ่งที่คุณกำลังทำคือการเปลี่ยนแปลงพุทธพจน์(ผิดเพี้ยน)


ตัวอย่างเช่น กายสังขาร กายก็คำถึงความหมายหนึ่ง สังขารก็คำหนึ่งความหมายหนึ่ง
วจีสังขาร และจิตสังขารก็เช่นกัน
หลักการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ เราต้องใช้หลักของ เหตุปัจจัย

กายก็คือ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
สังขารก็คือ กฎตามธรรมชาติ

กายสังขาร ก็คือ ธาตุสี่ที่สามารถขยับเคลื่อนที่ได้ ก็เป็นเพราะ มีกฎธรรมชาติที่เรียกว่าสังขาร
ไปคอยบ่งการ

มันมีที่มาที่ไปของธรรมแต่ละตัว
ก็ยกคำพระพุทธองค์มาแสดงสิโฮฮับ
ไม่ใช่การอธิบายจากคนไม่รู้ภาษา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร