วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 246 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
มีข้อเสนอท่านอโศก กับ คุณโรส ไปเที่ยวบ้างไหม ไปเดินห้าง ไปเดินตลาด จ่ายกับข้าว ทำอาหารกินกัน สนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนใกล้ๆตัวบ้าง อาจเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริงมากขึ้น หมายถึงว่า ถ้าเราหมกมุ่นกับความคิด (ธรรมะ) เกินไป คิดไปคิดมาก็อ้อใช่ๆ ใช่แล้วๆ ใช่เลย ตามที่เราคิดนี่แหละใช่ :b13: :b32:

Kiss
:b12:
ไม่มีอะไรทำยึดหน้าเว็บ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
กรัชกายยังคิดจะกลับไปเวียนว่ายอยู่ในโอฆะทั้ง 4 อยู่อีกหรือ

อย่าไปห่วงเลยชาวโลกที่มากมายดุจมดปลวกแมลงเม่า
จงห่วงตัวเองให้มาก

สงเคราะห์คนที่สงเคราะห์ได้ อย่าไปคิดรื้อขนคนทั้งโลก
จงคิดอย่างพระบรมศาสดา ที่ทรงเห็นสัตว์โลกเหมือนบัวสี่เหล่า

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2016, 16:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
และแล้วก็เหลือแต่ความว่างเปล่า "ไม่มีอะไร"
:b38:
“ตอนใกล้ตาย” มันมีความรู้สึกอย่างไร? อาการของการ “ตาย” ที่คนอื่นได้ศึกษามาหรือเคยได้พูดคุยกับคนมีประสบการณ์ใกล้ตาย (near-death experience) นั้นเป็นเช่นไรคุณหัชชา ณ บางช้าง เคยค้นคว้าเรื่องนี้มาเขียนใน “ภาวะหลังตาย” และเล่าว่า “กระบวนการตาย” ในระยะต่าง ๆ นั้นเป็นเช่นไร
ท่านบอกว่ามันมี 4 ขั้นตอนอย่างนี้

๑. ระยะแรก เป็นระยะที่ธาตุดินเริ่มสลายตัวกลายเป็นน้ำ ผู้ตายจะรู้สึกอ่อนระโหย ไม่มีแรง การมองเห็นต่าง ๆ เริ่มเสื่อม มองอะไร ๆ ก็ไม่ชัด ทุกอย่างดูมัว ๆ ไปหมด ทุกอย่างที่เห็นเหมือนมองไปกลางถนนขณะแดดจัด ๆ ภาพต่าง ๆ จะเต้นระยิบระยับไปหมด

๒. ระยะที่น้ำจะกลายเป็นไฟ ช่วงนั้น น้ำในร่างกายเริ่มแห้งลง จะรู้สึก ชา ๆ ตื้อ ๆ เริ่มหมดความรู้สึก ไล่จากปลายเท้าขึ้นมา ประสาทหูเริ่มไม่รับรู้ คือเริ่มไม่ได้ยินเสียงอะไร มองไปทางไหนก็เห็นแต่ควัน

๓. ระยะนี้ไฟเปลี่ยนเป็นลม หูจะไม่ได้ยินอะไรอีกเลย รู้สึกหนาวจับใจ ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ หยุดหมด ลมหายใจอ่อนลงเรื่อย ๆ จมูกเริ่มไม่รับความรู้สึกเรื่องกลิ่น

๔. ระยะนี้ ธาตุลมจะเปลี่ยนเป็นอากาศธาตุ ตอนนี้ เจตสิกทุกอย่าง รวมทั้งการหายใจจะหยุดหมด พลังงานทั้งหลายที่เคยไหลเวียนอยู่ในร่างกายจะไหลกลับคืนไปสู่ระบบประสาทส่วนกลางหมด ลิ้นแข็ง ไม่รับรู้เรื่องรสชาติใด ๆ ความรู้สึกสัมผัสหมดไป ความรู้สึกอยากโน่น อยากนี่ต่าง ๆ ที่เคยมีก็หมดไป มีความรู้สึกเหมือนอยู่กับแสงเทียนที่กำลังลุกโพลงอยู่เท่านั้น

ท่านบอกว่าตอนนี้แหละที่แพทย์จะประกาศว่าผู้ป่วยในความดูแล “ถึงแก่กรรม” แล้ว (clinical death)

นั่นก็คือจุดที่ “เวทนา” ทั้งหมดดับไป สมองและระบบไหลเวียนต่าง ๆ ของร่างกายหยุดทำงานหมด แปลว่ารูปและนาม หรือเบญจขันธ์ ตายไปแล้ว

ก็ต้องถกกันต่อไปว่า ถ้าเราเชื่อว่า วิญญาณยังอยู่ต่อเมื่อร่างกายสลายไป จะไปอยู่ที่ไหนอย่างไรต่อไป

อ่านเจออีกแหล่งหนึ่งเรื่อง “ลักษณะการตาย” ตามแนวคิดแบบ “เซน” ที่คุณ “โชติช่วง นาดอน” เคยรวบรวมไว้ในหนังสือ “จิตคือพุทธะ” เมื่อนานมาแล้ว

ท่านบอกว่าคนเราตายได้สองลักษณะ คือ “ตายอย่างปราศจากที่พึ่ง” และ “ตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่ง”

คนที่ตายย่างแรกนั้นเวลาใกล้จะสิ้นลม มีอารมณ์ผิดไปจากปกติ จิตใจกลัดกลุ้มยุ่งเหยิง เรียกว่า “จิตวิการ” ซึ่งหมายถึงจิตเกิดความปวดร้าวทรมานเพราะยัง “ยึดติด” กับหลายเรื่อง

หรือที่ผมเรียกว่า “ไม่ยอมตายทั้ง ๆ ที่ต้องตาย” นั่นคือจิตใจยังติดข้องกับอุปาทาน ๔ ประการคือ

๑. ติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง
๒. ห่วงใยอาลัยในสิ่งที่เป็นรูป และอรูป โดยเห็นว่าเป็นของเที่ยง
๓. มีนิวรณ์ความวุ่นวาย ฟุ้งซ่าน มาห้ามจิตมิให้บรรลุความดี
๔. มีความดูแคลนเมินเฉยในคุณพระรัตนตรัย

เขาบอกว่าคนส่วนใหญ่ตายลักษณะอาการอย่างนี้ เรียกว่าตายอย่าอนาถา

ส่วนการตายอย่างสมบูรณ์ด้วยที่พึ่งนั้นแปลว่าคนใกล้ตายมีสติอารมณ์ผ่องใส ไม่หวั่นไหว และซาบซึ้งในวิธีของมรณกรรม และยึดหลัก ๔ ประการคือ

๑. มีอารมณ์เฉย ๆ ซาบซึ้งถึงกฎธรรมดาแห่งความตาย
๒. ซาบซึ้งถึงสภาพการณ์สิ่งในโลกของความไม่เที่ยง ไม่เป็นแก่นสาร
๓. รำลึกถึงกุศลกรรมที่ได้ผ่านมาในชีวิต และเกิดปิติปลาบปลื้ม
๔. ยึดมั่นเอาคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอยู่ตลอดเวลาจนสิ้นลมหายใจ

ด้วยเหตุนี้แหละ, ผมจึงเห็นว่าการ “ฝึกตายก่อนตาย” ดั่งที่ท่านพุทธทาสเคยสอนเรานั้นเป็นเรื่องประเสริฐสุด

แต่คนส่วนใหญ่กลัวตาย แม้จะเอ่ยถึงคำว่าตายก็รับไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการ “แช่ง” ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครหนีความตายได้แม้แต่คนเดียว
การเรียนรู้ “มรณาอุปายะ” หรือ “ฝึกตายก่อนตาย” นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้มันสนุกเสีย ให้มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นน่ายินดี ก็จะทำให้ความทุกข์ระหว่างมีชีวิตอยู่นั้นลดน้อยถอยลง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากโลกนี้ไปก็ไม่ตกตื่นรันทดและทรมานเพราะความกลัวและความไม่ต้องการที่จะจากไป

ชาวพุทธที่ฝึกธรรมะในสาระจริง ๆ (ไม่ใช่แค่ทำบุญแล้วนึกว่าจะต้องไปสวรรค์โดยไม่ต้องปฏิบัติธรรม) ก็จะเข้าใจว่า “ขันธ์ทั้งห้า” ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลงและทรุดโทรม และท้ายสุดก็แตกดับไป และระหว่างที่มรณกาลมาถึงนั้น ขันธ์ห้าก็ย่อมจะแปรปรวน จึงควรจะเตรียมตัวและเตรียมใจไว้

เมื่อความตายมาถึง, เราก็จะได้ไม่ทุรนทุราย และตายอย่างมีสติ และ “รู้เท่าทันความตาย” ซึ่งเป็นสุดยอดของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 23:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ถอนอุปาทาน" นั้นพูดง่ายแต่ ทำยาก ถ้าไม่อาศัยกระบวนการของสติปัฏฐาน 4 และโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

อันที่จริงแล้วปฏิจจสมุปบาทสามารถหักออกได้ทุกช่วงต่อแล้วแต่กำลังบารมีและนิสัยปัจจัยที่สร้างสมมาของแต่ละคน แต่พระพุทธเจ้าทรงมีเมตตาแนะนำให้หักออกตรงช่วงต่อระหว่างเวทนากับตัณหา เพราะเป็นจุดที่สมุทัยแสดงตัวให้เห็นได้ง่ายและชัดกว่าที่อื่น

การหักออกจากวงปฏิจจสมุปบาทที่ช่วงต่อระหว่างผัสสะกับเวทนา เป็นการแก้ทุกข์ที่ปัจจัย คือกันปัจจัยไม่ให้มากระทบเหตุ ส่วนใหญ่จะหลุดพ้นโดยเจโตวิมุติ เพราะวิธีเอาสติมากั้นที่ผัสสะเป็นวิธีของฤาษี


ส่วนการหักออกจากวงปฏิจจสมุปบาทที่ช่วงต่อของเวทนากับตัณหานั้นเป็นการแก้ทุกข์ที่เหตุ
เพราะที่เวทนานั้นสติปัญญาสามารถจะค้นลึกเห็นลึกเข้าไปถึงตัวผู้รับเวทนา คือสักกายทิฏฐิ เมื่อพิสูจน์ได้ว่าสัพเพธัมมาอนัตตา สักกายทิฏฐิความเห็นผิดก็ขาดสะบั้นลงตรงตามคุณลักษณะของโสดาปัตติมรรค

ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสรับรองได้ว่าถ้าใครเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เกิน 7 วัน 7 เดือนหรือที่สุด 7 ปีย่อมหวังผลได้ถึงอนาคามีและอรหัตผล

ทำไม?

เพราะสติปัฏฐาน 4 นั้นหมายรวมไว้ที่
"เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้าย ในโลก"

โลก คือผัสสะของทวารทั้ง 6

แต่ความยินดียินร้ายนั้นคือผลของเวทนาทางกายและทางจิต

กระบวนการเอาความยินดียินร้ายออกเสียให้ได้นั้นต้องระดมเอาโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการมาช่วยกันจึงจะเอาออกได้

สติปัฏฐานสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
มหาสติปัฏฐานสูตร บางส่วน
https://www.youtube.com/watch?v=4gz51NfdE2U

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2016, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
ถ้าหลับตาลงไปแล้วจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ ความไม่มีอะไร นั้นคือ สบายและหมดงาน

ทำอย่างไรจึงจะไปอยู่ตรงที่ไม่มีอะไรได้ตลอดเวลาที่ต้องการ นั่นเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนต้อทำให้ได้ ค้นให้พบ จึงจะจบงาน
onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 246 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร