วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 03:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)


ปัญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


ปัญญาขันธ์ กองปัญญา, หมวดธรรมว่าด้วยปัญญา เช่น ธรรมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรม กัมมัสสกตาญาณ ความรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว เป็นต้น (ข้อ ๓ ในธรรมขันธ์ ๕)


ปัญญาธิฏฐาน ที่มั่นคือปัญญา, ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจให้เป็นฐานที่มั่น คือ ปัญญา, ผู้มีปัญญาเป็นฐานที่มั่น (ข้อ ๑ ในอธิษฐาน ๔)


ปัญญาภูมิ ธรรมที่เป็นภูมิของปัญญา


ปัญญาวิมุต "ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา" หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน


ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตผล และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป


ปัญญา ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา, ข้อ ๑ ในอธิษฐานธรรม ๓ ข้อ ๕ ในอินทรีย์ ๕ ข้อ ๕ ในพละ ๕, ข้อ ๕ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕ ข้อ ๗ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๗ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๔ ในบารมี ๑๐)


ปัญญา ๓ คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)


๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาจากปรโตโฆสะ)


๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา หรือทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญานั่นแหละ ขมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย)

ตาม ที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ในที่นี้ เรียงลำดับตามพระบาลีในพระไตรปิฏก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา.11/228/231) และอภิธรรม (อภิ.วิ.35/797/422) เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก

การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาก่อน หรือสุตมยปัญญาก่อนนั้น พอจับได้ว่า ท่านมองที่บุคคลเป็นหลัก คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน ว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักโยนิโสมนสิการด้วยตนเอง ก็สามารถเรียงต่อไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอดหยั่ง เห็นความจริงได้ ท่านจึงเริ่มด้วยจินตามยปัญญา แล้วต่อเข้าภาวนามยปัญญไปเลย แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่ว่ไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า

บุคคลเล่าเรียนสดับฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา นำไปใคร่ครวญตรวจสอบพิจารณา เกิดเป็นสุตมยีปัญญา อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป เกิดเป็นจินตามยีปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย แล้วเกิดญาณเป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยีปัญญา, น่าสังเกตว่า

ใน คัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมปิฎก ท่านอธิบายภาวนามยปัญญาว่า ได้แก่ "สมาปนฺนสฺส ปญฺญา" (ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติ) แต่มีคำอธิบายของคัมภีร์ต่างๆ เช่น ปรมัตถมัญชุสา ว่า คำอธิบายดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยสาระก็มุ่งเอาการเห็นแจ้งความจริงที่เป็นมัคคปัญญานั่นเอง


ปัญญา ๓ อีกหมวดหนึ่ง ที่น่ารู้ ได้แก่ ปัญญาที่มีชื่อว่า โกศล คือความฉลาด ๓ อย่าง

โกศล, โกสัลละ ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ มี คือ

๑. อายโกศล ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ

๒. อปายโกศล ความฉลาดในทางเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อม และเหตุของความความเสื่อม

๓. อุปายโกศล ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ทั้งในการป้องกันความเสื่อมและในการสร้างความเจริญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

:b6:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ


แนะๆมีเถียงๆ

หน้าที่ของโสต คือ ได้ยินเสียง ถ้าหูไม่หนวกไม่พิการนะ จริงไม่จริง อย่างหนึ่ง

คนที่ไม่ยินอีกอย่างหนึ่ง คือ มัวแต่สนใจทางอื่น คนที่ไม่สนใจฟัง แม้มีหูก็ไม่ได้ยิน

อีกอย่างหนึ่ง คือ คนที่ทำสมาธิถึงระดับหนึ่ง สนใจแต่กรรมฐานที่ตัวกำหนด แม้มีเสียงอื้ออึงภายนอกก็ไม่ได้ยิน จริง ไม่จริง

เอาล่ะทีนี้ถึงตาตัวเองบ้าง ว่าไปสิเอ้า

อ้างคำพูด:
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



อนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น่า หมายถึงยังไง

อนัตตาคืออะไร อะไรคืออนัตตา ว่าไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 มิ.ย. 2016, 17:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจฉิมาชนตา ชุมชนที่มีในภายหลัง, หมู่ชนที่จะเกิดตามมาภายหลัง, คนรุ่นหลัง,

โดยทั่วไป มาในข้อความเกี่ยวกับจริยาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ที่คำนึงถึงประโยชน์ของคนรุ่นหลัง หรือปฏิบัติเพื่อให้คนรุ่นหลังมีแบบอย่างที่จะยึดถือ เช่น ที่ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรามองเห็นอำนาจ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว กล่าวคือ มองเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง" (องฺ.ทุก.20/274/77) และที่พระมหากัสสปะกราบทูลพระพุทธเจ้าถึงเหตุผลที่ว่า ถึงแม้ท่านจะเป็นผู้เฒ่าชราลงแล้ว ก็ยังขอถือธุดงค์ต่อไป ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ ... กล่าวคือ เล็งเห็นความอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน และจะอนุเคราะห์ชนในภายหลัง ด้วยหมายว่า ชุมชนในภายหลังจะพึงถึงทิฏฐานุคติ" (สํ.นิ.16/481/239) คำบาลีเดิมเป็น ปจฺฉิมา ชนตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ (ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๒ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๒ ในอนุสัย ๗)

ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด, ทุกข์เรี่ยราย, ทุกจร ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย,


ปปัญจะ กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่ปั่นให้เชือนแชชักช้าอยู่ในสังสารวัฏ หรือปั่นสังสารวัฏให้วนเวียนยึดเรื้อ, กิเลสที่เป็นตัวการปั่นเรื่องทำให้คิดปรุงแต่งยึดเยื้อแผกเพี้ยนพิสดาร พาให้เขวออกไปจากความเป็นจริง และก่อปัญหาความยุ่งยากเดือดร้อนเพิ่มขยายทุกข์ มี ๓ คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ


ปธาน ความเพียร, ความเพียรชอบ, ที่เป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ

๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น

๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว

๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์

สัมมัปปธาน ก็เรียก



ปมาทะ ความประมาท, ความขาดสติ, ความเลินเล่อ, ความเผอเรอ, ความเผลอ, ความผัดเพี้ยน, ความปล่อยปละละเลย, ความชะล่าใจ, เทียบ อัปปมาทะ


ประเทศบัญญัติ บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย

ประเคน ส่งของถวายพระภายในหัตถบาส, ส่งถึงมือ, องค์แห่งการประเคนมี ๕ คือ

๑. ของไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป พอคนปานกลางคนเดียวยกได้

๒. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส คือห่างประมาณศอกหนึ่ง

๓. เข้าน้อมของนั้นเข้ามาให้

๔. น้อมให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือโยนให้ก็ได้

๕. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ (ถ้าผู้หญิงประเคน ใช้ผ้ากราบหรือผ้าเช็ดหน้าที่สะอาดรับ)


สมัย คราว, เวลา, ลัทธิ, การประชุม การตรัสรู้

ปาง ครั้ง, คราว, เมื่อ, เรียกพระพุทธรูปที่สร้างอุทิศเหตุการณ์ในพุทธประวัติเฉพาะครั้งนั้นๆ โดยมีรูปลักษณะเป็นพระอิริยาบถหรือท่า ที่สื่อความหมายถึงเหตุการณ์เฉพาะครั้งนั้นๆ ว่าเป็นปางชื่อนั้นๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวด หมวดละ ๖ อย่าง คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ มี รูปสัญญา เป็นต้น ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม ธรรมที่เป็นปรมัตถ์, ธรรมที่เป็นประโยชน์สูงสุด, สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์, สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด, สภาวธรรม,
นิยมพูดกันมาเป็นหลักทางพระอภิธรรมว่ามี ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน


พึงสังเกตเค้าความที่เป็นมาว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" (บาลี ปรมตฺถธมฺม) นี้ ไม่พบที่ใช้ในพระไตรปิฎกมาแต่เดิม (ในพระไตรปิฎก ใช้เพียงว่า "ปรมตฺถ" หรือรวมกับคำอื่น มีคำว่าปรมัตถธรรม ซึ่งท่านผู้แปลใส่หรือเติมเข้ามาตามคำอธิบายของอรรถกถาบ้าง ตามที่เห็นเหมาะบ้าง)
ต่อมาในชั้นอรรถกถา "ปรมัตถธรรม" จึงปรากฏบ้าง ๒-๓ แห่ง แต่หมายถึงเฉพาะนิพพาน หรือไม่ก็ใช้อย่างกว้างๆ ทำนองว่าเป็นธรรมอันให้ลุถึงนิพพาน ดังเช่นสติปัฏฐานก็เป็นตัวอย่างของปรมัตถธรรม ทั้งนี้ เห็นได้ว่าท่านมุ่งความหมายในแง่ว่าประโยชน์สูงสุด


ต่อมา ในคัมภีร์ชั้นฎีกาลงมา มีการใช้คำว่าปรมัตถธรรมบ่อยครั้งขึ้นบ้าง (ไม่บ่อยมาก) และใช้ในความหมายว่า เป็นธรรมตามความหมายอย่างสูงสุด คือ ในความหมายที่แท้จริง มีจริง เป็นจริง ซึ่งตรงกับคำว่าสภาวธรรม ยิ่งเมื่อคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะเกิดขึ้นแล้ว และมีการศึกษาพระอภิธรรมตามแนวของอภิธัมมัตถสังคหะนั้น ก็มีการพูดกันทั่วไป ถึงหลักปรมัตถธรรม ๔ จนกล่าวได้ว่าอภิธัมมัตถสังคหะเป็นแหล่งเริ่มต้นหรือเป็นที่มาของเรื่อง ปรมัตถธรรม ๔


อย่างไรก็ดี ถ้าพูดอย่างเคร่งครัด ตามตัวอักษร ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้นเอง ท่านไม่ใช้คำว่า "ปรมัตถธรรม" เลย แม้แต่ในคาถาสำคัญเริ่มปกรณ์หรือต้นคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทตั้งหลักที่ถือว่าจัดประมวลปรมัตถธรรม ๔ ขึ้นมาให้ศึกษานั้น แท้จริงก็ไม่มีคำว่า "ปรมตฺถธรรม" แต่อย่างใด ดังคำของท่านเองว่า

ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมีติ สพฺพุถา

แปล: "อรรถแห่งอภิธรรม ที่ตรัสไว้ในพระอภิธรรมนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑"

(นี้เป็นการแปลกันตามคำอธิบายของอภิธัมมัตถวิภาวินี แต่มีอีกฎีกาหนึ่งในยุคหลังค้านว่าอภิธัมมัตถวิภาวินี บอกผิด ที่ถูก ต้องแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่ข้าพเจ้าคือพระอนุรุทธาจารย์กล่าว ในคำว่าอภิธัมมัตถสังคหะนั้น....")

ท้ายปริเฉทที่ ๖ คือรูปสังคหวิภาค ซึ่งเป็นบทที่แสดงปรมัตถ์มาครบ ๔ ถึงนิพพาน ก็มีคาถาคล้ายกัน ดังนี้


อิติ จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิจฺจปิ

ปรมตฺถํ ปกาเสนฺติ จตุธาว ตถาคตา



แปล: "พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงประกาศปรมัตถ์ไว้เพียง ๔ อย่าง คือ จิต ๑ เจตสิก ๑ รูป ๑ นิพพาน ๑ ด้วยประการฉะนี้"


เมื่อพินิจดูก็จะเห็นได้ที่นี่ว่า คำว่า "ปรมัตถธรรม" เกิดขึ้นจากประการแรก ผู้จัดรูปคัมภีร์ (อย่างที่ปัจจุบันเรียกว่า บรรณกร) จับใจความตอนนั้นๆ ตั้งขึ้นเป็นหัวข้อ เหมือนอย่างในกรณีนี้ ในคัมภีร์บางฉบับ ตั้งเป็นหัวข้อขึ้นเหนือคาถานั้นว่า "จตุปรมตฺถธมฺโม" (มีในฉบับอักษรพม่า, ฉบับไทยไม่มี) และประการที่สอง ผู้แปลเติมหรือใส่เพิ่มเข้ามา เช่น คำบาลีว่า "ปรมตฺถ" ก็แปลเป็นไทยว่า ปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นกันทั่วไป


ในคัมภีร์รุ่นต่อมาที่อธิบายอภิธัมมัตถสังคหะ เช่น อภิธัมมัตถวิภาวินี มีการใช้คำบาลีเป็น "ปรมตฺถธมฺม" บ้าง แม้จะไม่มาก แต่ก็ไม่มีที่ใดระบุจำนวนว่าปรมัตถธรรมสี่ จนกระทั่งในสมัยหลังมาก มีคัมภีร์บาลีแต่ในพม่าบอกจำนวน ก็บอกเพียงว่า "ปรมัตถ์ ๔" (จตฺตาโร ปรมตฺเถ, ปรมตฺถทีปนี สงฺคหมหาฎีกาปาฐ, 331)

แล้วก็มีอีกคัมภีร์หนึ่ง แต่งในพม่ายุคไม่นานนี้ ใช้คำว่าปรมัตถธรรมโดยระบุว่าสังขารและนิพพาน เป็นปรมัตถธรรม (นมกฺการฎีกา 45) ยิ่งกว่านั้น ย้อนกลับไปยุคเก่า อาจจะก่อนพระอนุรุทธาจารย์ แต่งอภิธัมมัตถสังคหะเสียอีก คัมภีร์ฎีกาแห่งอรรถกถาของสังยุตตนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก ซึ่งถือว่ารจนาโดยพระธรรมปาละ ผู้เป็นอรรถกถาจารย์ในท่านหนึ่ง ใช้คำปรมัตถธรรม ในข้อความที่ระบุว่า "ปรมัตถธรรมอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาท" (สํ.ฎี.2/3303/651) นี่ก็คือบอกว่า ปรมัตถธรรม ได้แก่ ประดาธรรม ชุดที่เรียกกันว่าปัญญาภูมิ หรือวิปัสสนาภูมิ นั่นเอง

ตามข้อสังเกตและความที่กล่าวมา พึงทราบว่า

๑. การแปลขยายศัพท์อย่างที่แปลปรมัตถะว่า ปรมัตถธรรมนี้ มิใช่เป็นความผิดพลาดเสียหาย แต่เป็นเรื่องทั่วไปที่ควรรู้เท่าทันไว้ อันจะเป็นประโยชน์ในบางแง่บางโอกาส (เหมือนในการอ่านพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาไทย ผู้อ่านก็ควรทราบเป็นพื้นไว้ว่า คำแปลอาจจะไม่ตรงตามพระบาลีเดิมก็ได้ เช่น ในพระไตรปิฎกบาลีเดิมว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร (คือที่ประทับ) แต่ในฉบับแปล บางทีท่านแปลผ่านคำอธิบายของอรรถกถาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฎี)

๒. การประมวลอรรถแห่งอภิธรรม (โดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นการประมวลธรรมทั้งหมดทั้งปวงนั่นเอง) จัดเป็นปรมัตถ์ ๔ (ที่เรียกกันมาว่าปรมัตถธรรม ๔) ตามนัยของอภิธัมมัตถสังคหะนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นระบบอันเยี่ยม ซึ่งเกื้อกุลต่อการศึกษาธรรมอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นแนวอภิธรรม แต่ถ้าพบการจัดอย่างอื่น ดังที่ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง (เป็นสังขาร และนิพพาน บ้าง เป็นอย่างที่เรียกว่า ปัญญาภูมิ บ้าง) ก็ไม่ควรแปลกใจ พึงทราบว่าต่างกันโดยวิธีจัดเท่านั้น ส่วนสาระก็ลงเป็นอันเดียวกัน เหมือนจะว่า เบญขันธ์ หรือว่านามรูป ก็อันเดียวกัน ก็ดูแต่ว่าวิธีจัดแบบไหนจะง่ายต่อการศึกษาหรือเอื้อประโยชน์ที่มุ่งหมายมากกว่ากัน

๓. ในคาถาเริ่มปกรณ์ (ในฉบับอักษรไทย ผู้ชำระ คือผู้จัดรูปคัมภีร์ ตั้งชื่อให้ว่า "ปกรณารมฺภคาถา" แต่ฉบับอักษรพม่าตั้งชื่อว่า "คนฺถารมฺภกถา" ) มีข้อความที่เป็นบทตั้ง ซึ่งบอกใจความทั้งหมดของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ คาถานี้จึงสำคัญมาก ควรตั้งอยู่ในความเข้าใจที่ชัดเจนประจำใจของผู้ศึกษาเลยทีเดียว

ในกรณีนี้ การแปลโดยรักษารูปศัพท์ อาจช่วยให้ชัดขึ้น เช่นอาจแปลว่า "อภิธัมมัตถะ ที่กล่าวในคำว่า "อภิธัมมัตถสังคหะ" นั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นโดยปรมัตถ์ มี ๔ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน" (พึงสังเกตว่า ถ้าถือเคร่งตามตัวอักษร ในคาถาเริ่มปกรณนี้ ท่านว่ามีอภิธัมมัตถะ ๔ ส่วนในคาถาท้ายปริจเฉทที่หก ท่านกล่าวถึงปรมัตถะ ๔ แต่โดยอรรถ ทั้งสองนั้น ก็อย่างเดียวกัน)

โดยเฉพาะคำว่า อภิธัมมัตถะ จะช่วยโยงพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดเข้ามาสู่เรื่องที่ศึกษา เพราะท่านมุ่งว่าสาระในอภิธรรมปิฎกทั้งหมดนั่นเอง ประมวลเข้ามาเป็น ๔ อย่างนี้ ดังจะเห็นชัดตั้งแต่พระอภิธรรมปิฎกคัมภีร์แรก คือธัมมสังคณีตลอดหมดทั้ง ๒๕๘ หน้า ที่แจงกุสลัตติกะ อันเป็นปฐมอภิธัมมมาติกา ก็ปรากฏออกมาชัดเจนว่าเป็นการแจงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพาน นี่เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท (ปะ-ติด-จะ-สะ-หมุบ-บาด) การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม , สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา,

มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้

๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี

๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี

๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี

๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

๗.เวทนาปจฺจยา ตณฺหา
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี

๘.ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี

๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ
เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี

๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงมีพร้อม

เอวมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาทที่ธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กันไปตามลำดับอย่างนี้ แสดงทุกขสมุทัย คือ ความขึ้นแห่งทุกข์ จึงเรียกว่า สมุทัยวาร (พึงสังเกตว่า คำว่า สมุปบาท กับ สมุทัย มีความหมายเหมือนกันว่า ความเกิดขึ้นพร้อม) เมื่อทุกข์เกิดขึ้นอย่างนี้


การที่จะดับทุกข์ ก็คือดับธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ดังนั้น ท่านจึงแสดงกระบวนธรรมแบบที่ตรงข้ามไว้ด้วย คือ ปฏิจจสมุปบาทที่ธรรมอันเป็นปัจจัยดับต่อๆกันไป (เริ่มตั้งแต่ว่า เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ) เป็นการแสดงทุกขนิโรธ คือ ความดับแห่งทุกข์ จึงเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบ นิโรธวาร

ปฏิจจสมุปบาทนี้ บางทีเรียกชื่อเต็มเป็นคำซ้อนว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท (ภาวะที่อันนี้ๆ มีเพราะอันนี้ๆเป็นปัจจัย หรือประชุมแห่งปัจจัยเหล่านี้ๆ กล่าวคือการที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม)

ในคัมภีร์ท้ายๆ ของพระสุตตันตปิฎก และในพระอภิธรรมปิฎก มีคำเรียกปฏิจจสมุปบาท เพิ่มอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ (อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน) เนื่องจากปฏิจจสมุปบาทแสดงอาการที่ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันต่อเนื่องไปเป็นวงจร หรือหมุนเป็นวงวน และเมื่อมองต่อขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ก็เห็นสภาพชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เร่ร่อนว่ายวนเวียนไปในภพภูมิต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ก็ได้เกิดมีคำเรียกความเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทนั้นว่า “วัฏฏะ” (สภาพหมุนวน) บ้าง “สังสาระ” (การเที่ยวเร่ร่อนไป) บ้าง “สังสารวัฏฏ์” (วงวนแห่งการเที่ยวเร่ร่อนไป) บ้าง ตลอดจนคำในชั้นอรรถกถา ซึ่งบางทีเรียกปฏิจจสมุปบาท “ภวจักร” และ “สังสารจักร”


ในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าเองก็ตรัสไว้ว่าเป็นธรรมลึกซึ้งนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้พยายามชี้แจงโดยจัดองค์ ๑๒ ของปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นกลุ่มเป็นประเภทและเป็นช่วงๆ คือ องค์ที่ ๑ อวิชชา องค์ที่ ๘ ตัณหา และองค์ที่ ๙ อุปาทาน สามอย่างนี้เป็น กิเลส

องค์ที่ ๒ สังขาร และองค์ที่ ๑๐ ภพ สองอย่างนี้เป็น กรรม

องค์ที่ ๓-๗ วิญญาณ นามรูป สฬสยตนะ ผัสสะ เวทนา และองค์ที่ ๑๑-๑๒ ชาติ ชรามรณะ เจ็ดองค์นี้เป็น วิบาก

เมื่อมองตามกลุ่มหรือตามประเภทอย่างนี้ จะเห็นได้ง่ายว่า กิเลสเป็นเหตุให้ก่อกรรม แล้วกรรมก็ทำให้เกิดผลที่เรียกว่าวิบาก (แล้ววิบากก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส)

เมื่อมองความเป็นไปตลอดปฏิจจสมุปบาทครบทั้ง ๑๒ องค์ เป็นการหมุนวนหนึ่งรอบ ก็คือ ครบ ๑๒ องค์นั้น เป็นวัฏฏะ ก็จะเห็นว่าวัฏฏะนั้นแบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงกิเลส ช่วงกรรม และช่วงวิบาก

เมื่อวัฏฏะมีสามช่วงอย่างนี้ ก็จึงเรียกปฏิจจสมุปบาทว่าเป็น ไตรวัฏฏ์ (วงวนสามส่วน หรือวงวนสามซ้อน) ประกอบด้วย กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และวิปากวัฏฏ์


การอธิบายแบบไตรวัฏฏ์นี้ เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น อย่างน้อยในขั้นเบื้องต้น ต่อจากนั้น อธิบายลึกลงไป โดยแยกแยะอีกชั้นหนึ่งว่า ในรอบใหญ่ ที่ครบ ๑๒ องค์นั้น มองให้ชัดเจนจะเห็นว่า มีไตรวัฏฏ์ต่อกัน ๒ รอบ คือรอบที่ ๑ องค์ที่ ๑ อวิชชา เป็นกิเลส
องค์ที่ ๒ สังขารเป็นกรรม
องค์ที่ ๓-๗ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นวิบาก

รอบที่ ๒ องค์ที่ ๘ ตัณหา และองค์ที่ ๙ อุปาทาน เป็นกิเลส
องค์ที่ ๑๐ ภพ เป็นกรรม
องค์ที่ ๑๑-๑๒ ชาติ ชรามรณะ เป็นวิบาก


จากนั้น อธิบายต่อไปว่า องค์ที่เป็นกิเลส เป็น กรรม เป็นวิบาก ในรอบที่ ๑ มองดูแตกต่างกับองค์ที่เป็นกิเลส เป็นกรรม เป็นวิบาก ในรอบที่ ๒ แต่ที่จริง โดยสาระไม่ต่างกัน ความแตกต่างที่ปรากฏนั้น คือการพูดถึงสภาวะอย่างเดียวกัน แต่ใช้ถ้อยคำต่างกัน เพื่อระบุชี้องค์ธรรมที่ออกหน้ามีบทบาทเด่นเป็นตัวแดสงในวาระนั้น

ส่วนองค์ธรรมที่ไม่ระบุ ก็มีอยู่ด้วยโดยแฝงประกบอยู่ หรือถูกรวมเข้าไว้ด้วยคำสรุป หรือคำที่ใช้แทนกันได้ เช่น ในรอบ ๑ ที่ระบุเฉพาะอวิชชาเป็นกิเลสนั้น ที่แท้ตัณหา อุปาทาน ก็พ่วงพลอยอยู่ด้วย

ส่วนในรอบ ๒ ที่ว่าตัณหา อุปาทานเป็นกิเลสนั้น ในขณะที่ตัณหา อุปาทานเป็นเจ้าบทบาทออกโรงอยู่ ก็มีอวิชชาเบื้องหลังตลอดเวลา

ในรอบ ๑ ที่ยกสังขารขึ้นมาระบุว่าเป็นกรรม ก็เพราะเน้นที่การทำงาน

ส่วนในรอบ ๒ ที่ระบุว่าภพเป็น กรรม ก็เพราะจะให้มองที่ผลรวมของงานที่ทำคือกรรมภพ และชาติ ชรามรณะ

ที่ว่าเป็นวิบากในรอบ ๒ นั้น ก็หมายถึงการเกิดเป็นต้น ของวิญญาณ นามรูป ฯลฯ ที่ระบุว่าเป็นวิบากในรอบ ๑ นั่นเอง ดังนี้เป็นต้น

ดู ไตรวัฏฏ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓ วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วยสังขาร ภพ ๓ วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส) คือ

กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบาก คือ ผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบาก คือ ได้ของนั้นมาเสพเสวย เกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรง และมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือ

ในทางตรงข้าม ถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือ โทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรม คือ ประทุษร้ายเขา ฯลฯ เมื่อเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอาการหมุนวน หรือวงกลมอันหมุนวน ที่เรียกว่า ภวจักร สังสารจักร หรือสังสารวัฏ

ไตรวัฎ ก็เขียน ดูปฏิจจสมุปบาท

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 มิ.ย. 2016, 20:24, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายองค์ธรรมสั้นๆแห่งปฏิจจสมุปบาท

๑. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ความเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา

๒. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้

๓. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต

๔. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ

๕.สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๖.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์

๗.เวทนา การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ

๘. ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป อยากเลี่ยง สลาย หรือทำลาย

๙. อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ ใฝ่นิยม เทิดค่า การถือรวมเข้ากับตัว

๑๐.ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล

๑๑.ชาติ การเกิดมีตัวตนที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาทความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ

๑๒. ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้น แห่งการที่ตัวได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ


โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้า เสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปมก่อปัญหาต่อๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ขยันพิมพ์ ขยันมาก จำไหวไหม
:b27:
อนุโมทนาค่ะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2016, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
ขยันพิมพ์ ขยันมาก จำไหวไหม
:b27:
อนุโมทนาค่ะ
:b4: :b4:



:b1: พิมพ์ไว้หมดแล้วลิงค์ข้างล่าง แต่มันยากไม่มีใครเข้าไปอ่าน เลยขี่มอไซมาส่งถึงบ้าน

อ่านเข้าใจแล้ว ไม่ต้องจำมากหรอกครับ เห็นโฮฮับพูดๆโยงไปไขว่มาเป็นทางด่วนยกระดับก็เห็นถึงใส้ติ่งแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2016, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

:b6:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ


แนะๆมีเถียงๆ

หน้าที่ของโสต คือ ได้ยินเสียง ถ้าหูไม่หนวกไม่พิการนะ จริงไม่จริง อย่างหนึ่ง

คนที่ไม่ยินอีกอย่างหนึ่ง คือ มัวแต่สนใจทางอื่น คนที่ไม่สนใจฟัง แม้มีหูก็ไม่ได้ยิน

อีกอย่างหนึ่ง คือ คนที่ทำสมาธิถึงระดับหนึ่ง สนใจแต่กรรมฐานที่ตัวกำหนด แม้มีเสียงอื้ออึงภายนอกก็ไม่ได้ยิน จริง ไม่จริง

เอาล่ะทีนี้ถึงตาตัวเองบ้าง ว่าไปสิเอ้า

อ้างคำพูด:
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



อนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น่า หมายถึงยังไง

อนัตตาคืออะไร อะไรคืออนัตตา ว่าไป

:b12:
ก็คุณกรัชกายถามใช่ไหมว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกำหนดอะไรไม่ได้ยังไง
อ้างคำพูด:
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม
:b6:

อนัตตาคือบังคับและเปลี่ยนแปลงตามต้องการมิได้
ข้าพเจ้าก็บอกลองกำหนดเหตุปัจจัยของตนที่คุณมี
อ้างคำพูด:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ

:b1:
ก็หูไม่หนวกใช่ไหมคุณกรัชกายจะไม่ได้ยินได้ไหม
เพราะอะไรทราบไหมก็เหตุปัจจัยกำลังมีการเกิดดับ
ไปบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการไม่ได้เหตุมีผลจึงมี
ถ้าเหตุไม่มีเช่นคนหูหนวกเค้าอยากจะได้ยินตนทำได้ไหม
อนัตตาทุกอย่างที่ปรากฏผ่านอายตนะ6มีแล้วกำลังเกิดดับ
ไม่ต้องไปทำเหตุอื่นเพราะที่ดับไปแล้วไม่รู้ตรงเหตุอนัตตาแล้ว
เปลี่ยนสิ่งที่ดับไปแล้วที่สะสมเป็นกรรมที่รอให้ผลแล้วเป็นไปไม่ได้
:b17:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ตั้งแต่ต้นจนจบฟังให้เข้าใจค่ะว่าอนัตตาแค่ไหน
ถ้าเผลอสติฟังไม่ทันก็สะสมแล้วอกุศลจิตตนค่ะ
:b4: :b4:
https://www.youtube.com/watch?v=1QiDX0jN9jU


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

:b6:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ


แนะๆมีเถียงๆ

หน้าที่ของโสต คือ ได้ยินเสียง ถ้าหูไม่หนวกไม่พิการนะ จริงไม่จริง อย่างหนึ่ง

คนที่ไม่ยินอีกอย่างหนึ่ง คือ มัวแต่สนใจทางอื่น คนที่ไม่สนใจฟัง แม้มีหูก็ไม่ได้ยิน

อีกอย่างหนึ่ง คือ คนที่ทำสมาธิถึงระดับหนึ่ง สนใจแต่กรรมฐานที่ตัวกำหนด แม้มีเสียงอื้ออึงภายนอกก็ไม่ได้ยิน จริง ไม่จริง

เอาล่ะทีนี้ถึงตาตัวเองบ้าง ว่าไปสิเอ้า

อ้างคำพูด:
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



อนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น่า หมายถึงยังไง

อนัตตาคืออะไร อะไรคืออนัตตา ว่าไป

:b12:
ก็คุณกรัชกายถามใช่ไหมว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกำหนดอะไรไม่ได้ยังไง
อ้างคำพูด:
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม
:b6:

อนัตตาคือบังคับและเปลี่ยนแปลงตามต้องการมิได้
ข้าพเจ้าก็บอกลองกำหนดเหตุปัจจัยของตนที่คุณมี
อ้างคำพูด:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ

:b1:
ก็หูไม่หนวกใช่ไหมคุณกรัชกายจะไม่ได้ยินได้ไหม
เพราะอะไรทราบไหมก็เหตุปัจจัยกำลังมีการเกิดดับ
ไปบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการไม่ได้เหตุมีผลจึงมี
ถ้าเหตุไม่มีเช่นคนหูหนวกเค้าอยากจะได้ยินตนทำได้ไหม
อนัตตาทุกอย่างที่ปรากฏผ่านอายตนะ6มีแล้วกำลังเกิดดับ
ไม่ต้องไปทำเหตุอื่นเพราะที่ดับไปแล้วไม่รู้ตรงเหตุอนัตตาแล้ว
เปลี่ยนสิ่งที่ดับไปแล้วที่สะสมเป็นกรรมที่รอให้ผลแล้วเป็นไปไม่ได้
:b17:
:b4: :b4:



เอางี้แล้วกันประเด็นนี้ คุณโรสเข้าวิน กรัชกายเคยฝันว่า ถ้าเถียงกะผู้หญิง ผิดถูกยังไงก็ยอมๆไปเถอะ เพื่อว่าโลกจะไม่ร้าวฉาน คิกๆๆ คุณโรสเก่งยารีส :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2016, 13:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



เวรกรรม :b1:

"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม

:b6:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ


แนะๆมีเถียงๆ

หน้าที่ของโสต คือ ได้ยินเสียง ถ้าหูไม่หนวกไม่พิการนะ จริงไม่จริง อย่างหนึ่ง

คนที่ไม่ยินอีกอย่างหนึ่ง คือ มัวแต่สนใจทางอื่น คนที่ไม่สนใจฟัง แม้มีหูก็ไม่ได้ยิน

อีกอย่างหนึ่ง คือ คนที่ทำสมาธิถึงระดับหนึ่ง สนใจแต่กรรมฐานที่ตัวกำหนด แม้มีเสียงอื้ออึงภายนอกก็ไม่ได้ยิน จริง ไม่จริง

เอาล่ะทีนี้ถึงตาตัวเองบ้าง ว่าไปสิเอ้า

อ้างคำพูด:
ทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น๊า



อนัตตากำหนดอะไรไม่ได้น่า หมายถึงยังไง

อนัตตาคืออะไร อะไรคืออนัตตา ว่าไป

:b12:
ก็คุณกรัชกายถามใช่ไหมว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกำหนดอะไรไม่ได้ยังไง
อ้างคำพูด:
"อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" กำหนดได้ไหม
:b6:

อนัตตาคือบังคับและเปลี่ยนแปลงตามต้องการมิได้
ข้าพเจ้าก็บอกลองกำหนดเหตุปัจจัยของตนที่คุณมี
อ้างคำพูด:
ไหนลองกำหนดให้หูไม่ได้ยินสิ

:b1:
ก็หูไม่หนวกใช่ไหมคุณกรัชกายจะไม่ได้ยินได้ไหม
เพราะอะไรทราบไหมก็เหตุปัจจัยกำลังมีการเกิดดับ
ไปบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการไม่ได้เหตุมีผลจึงมี
ถ้าเหตุไม่มีเช่นคนหูหนวกเค้าอยากจะได้ยินตนทำได้ไหม
อนัตตาทุกอย่างที่ปรากฏผ่านอายตนะ6มีแล้วกำลังเกิดดับ
ไม่ต้องไปทำเหตุอื่นเพราะที่ดับไปแล้วไม่รู้ตรงเหตุอนัตตาแล้ว
เปลี่ยนสิ่งที่ดับไปแล้วที่สะสมเป็นกรรมที่รอให้ผลแล้วเป็นไปไม่ได้
:b17:
:b4: :b4:



เอางี้แล้วกันประเด็นนี้ คุณโรสเข้าวิน กรัชกายเคยฝันว่า ถ้าเถียงกะผู้หญิง ผิดถูกยังไงก็ยอมๆไปเถอะ เพื่อว่าโลกจะไม่ร้าวฉาน คิกๆๆ คุณโรสเก่งยารีส :b32:

Kiss
ความจริงน่ะมีไหม
ก็ทุกอย่างเป็นธัมมะ
ไม่อยู่ในอำนาจใคร
เกิดเองดับเองมีแล้ว
ตามเหตุตามปัจจัยตน
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร