วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 246 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ฟังเสียเลยนะกรัชกายจะได้สบายๆตามที่น้องรสรินเกริ่นนำ

https://youtu.be/eePKkhhhntw

อนุโมทนากับน้องรสริน
:b27:
กรัชกายก็จงเจริญยิ่งๆขึ้นไปในความเห็นความยึดของตน
:b38:
ฟังที่น้องเขาแนะนำแล้วลองฟังที่กรัชกายชอบพูดอีกเพลงนะ แล้วเก็บส่งเข้าในให้เป็นมรรคสอนใจตนเองด้วย ไม่ต้งห่วงอโศกะนะ ห่วงตัวเองให้มากๆ กรัชกาย

https://youtu.be/OwYbgTSvJuw
:b13:

tongue
ขอสนทนากับท่านอโศกะหน่อยค่ะ
ลองตอบชัดๆด้วยว่าทางสายกลางคืออะไร
onion onion onion

:b12:
ถ้าเอาตามปฐมเทศนาทางสายกลางอยู่ระหว่างทางสายตึง อัตตกิลมมัตถานุโยค กับทางสายหย่อน กามสุขัลลิกานุโยค คือมัชฌิมาปฏิปทาได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ครับ

มรรคมีองค์ 8 ย่อลงมาคือ ปัญญา 2 ศีล 3 สมาธิ 3
เวลาลงมือภาวนาจริงๆ ศีลเป็นฐานรองรับไว้ด้านล่าง
มีปัญญามรรคและสมาธิมรรคเป็นตัวทำงาน

ย่อลงมาคือปัญญากับสติ มีสมาธิ วิริยะป็นกองหนุน

ภาวนายังไง

สติปัฏฐาน 4 นั่นแหละคือแบบสำเร็จของการเจริญมรรค เพราะจะได้ใช้ วิริยะ ปัญญา สติ เข้าไปร่วมกันทำงานเฝ้าดูเฝ้าสังเกตกายใจให้เห็นความจริงว่าทุกข์เกิดมาจากไหนเพื่อจะได้เอาเหตุทุกข์นั้นออก

แบบสำเร็จที่พระบรมศาสดาทรงทำไว้ให้คือ
การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก คำพูดพียงเท่านี้แต่เวลาปฏิบัติจริงที่จะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายนั้น มีกระบวนการมากมายแต่ไม่ยากเพราะธรรมชาติในกายและเหตุปัจจัยพื้นฐานที่สร้างสมมาของแต่ละคนจะเข้าไปค้นพบวิธีการเฉพาะตนของเขาโดยอัตโนมัติที่จะวางยินดียินร้าย
เมื่อวางยินดียินร้ายได้ชำนาญเขาจะได้รับผลสามัญเบื้องแรกคือมีชีวิตอยู่บนทางอุเบกขา เดินบนทางเส้นนี้ไปนานๆก็จะถึงจุดสิ้นสุดความปรุงแต่งคือ สังขารุเปกขาญาณ อันเป็นฐานสำคัญที่จะส่งสู่ มรรค ผลและนิพพานหรือนิโรธสัจจะ ดังนี้

ขอบคุณน้องรสรินที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้ขียนเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างเป็นกิจลักษณะ อนุโมทนา

ถึงตรงนี้น้องรสรินลองจับประด็นดูซิว่าตรงไหนเป็นทางสายกลางบ้าง หยาบละอียดต่างกันยังไง?

smiley
อ้อเกือบลืมไป อีกนิดหนึ่งคือ สติปัฏฐานทั้ง 4 ยังรวมย่อลงในปัจจุบันอารมณ์ คำเดียว

พระบรมศาสดาจึงทรงสรุปไว้ว่า

"ปัจจุปันนัญจะโยธัมมัง ตัตถะตัตถะ วิปัสสติ อะสังหิรังอะสังกุปปังตังวิทธรามนุพรูหเย"

"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพิกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

เทคนิคการเจริญทางสายกลางที่จำง่ายทำง่ายที่สุดคือการเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 14 มิ.ย. 2016, 22:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สิ่งพระพุทธองค์แสดงคือ
Quote Tipitaka:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ
ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

อโศกะชี้มา ตรงไหนที่พระพุทธองค์ แสดงว่า ให้รักษาใจให้อยู่ระหว่างกลางความยินดียินร้ายได้อยู่เสมอ

:b13:
แปลวิเนยยะว่า กำจัด นี่ดูแรงดีแต่ใส่เจตนามากไปหน่อย

ถามคุณเช่นนั้นว่า

ถ้ากำจัดยินดีออกไป จะเหลืออะไรทิ้งไว้
ถ้ากำจัดยินร้ายออกไปจะเหลืออะไรทิ้งไว้

สิ่งที่เหลือทิ้งไว้นั้นมันเป็นกลางๆไม่ลบไม่บวกไม่ใช่หรือ

อยู่กลางๆได้บ่อยๆจนชำนาญชีวิตนี้มันก็หมดปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง จึงได้รับความปกติ อยู่เย็นเป็นสุขเป็นรางวัล
:b27:
คุณเช่นนั้นไม่สังเกตเห็นหรือว่าพระพุทธเจ้ามิได้บอกทั้งหมดจนจบแต่ทรงชี้ทางให้เราไปประสบความจริงด้วยตัวเอง
ดังเช่นทางสายกลางหรือความเป็นกลางจริงๆมี่เกิดขึ้นหลังจากพิชิตความยินดียินร้ายได้นี้
onion

เมื่ออโศกะ ชี้ไม่ได้ ก็หมายความว่าอโศกะ ไม่เข้าใจธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน
อโศกะ
ครั้งหนึ่ง อชิตะมาณพ ได้ถามพระพุทธองค์ และพระพุทธองค์ได้ตรัสตอบดังนี้
Quote Tipitaka:
อ. .กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็น
เครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้น
กระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วย
ธรรมอะไร ฯ
พ. ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่า
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิต
ย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ.

การละก็ดี การปิดก็ตาม ...กิเลสต่างๆ ก็ยังคงอยู่ตามที่มันอยู่ แต่เหตุปัจจัยให้กิเลสต่างๆปรากฏนั้นถูกละถูกปิดไปแล้วด้วยปัญญา...
ไม่ใช่ทิ้งความเป็นกลางๆไม่ลบไม่บวก ที่อโศกะเข้าใจครับ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=10976&Z=11005&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
คุณเช่นนั้นอ่านคำตอบที่ผมตอบน้องรสรินก่อนนะครับ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชฌิมาปฏิปทา ตามพุทโธวาท
Quote Tipitaka:
[๕๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน
คือ อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า ๑ นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติ
อย่างเหี้ยมเกรียม ๑ มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี เขาย่อมถึงความเป็นผู้ตกไปในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า อาคาฬหปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิชฌามปฏิปทาเป็นไฉน
อเจลกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไร้มรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา
เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ
ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกะเช้า ไม่รับ
ภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับ
ภิกษาที่คนสองคนกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของ
หญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่
นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่ได้รับเลี้ยงดูสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน
ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมัก
ดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษา
ที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ... รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง
เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียว
บ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง ... เยียวยาอัตภาพด้วย
ภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง ๒ วันบ้าง ...
๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือน
เช่นนี้ อเจลกนั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูก
เดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็น
ภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง
มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้หล่น
เยียวยาอัตภาพ อเจลกนั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุล
บ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า
เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำ
ด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ
ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะ
บ้าง เป็นผู้กระโหย่งคือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบน
หนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ
ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวาย ในการ
ทำร่างกายให้เดือดร้อนกระสับกระส่ายหลายวิธีดังกล่าวมา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้
เรียกว่านิชฌามปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา
๓ อย่างนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มัชฌิมาปฏิปทา อีกนัยหนึ่งตามพุทโธวาท
Quote Tipitaka:
[๕๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉนคือ
อาคาฬหปฏิปทา ๑ นิชฌามปฏิปทา ๑ มัชฌิมาปฏิปทา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิ
อย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี เขาย่อมถึงความเป็นผู้ตกไปในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อาคาฬหปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นิชฌามปฏิปทาเป็นไฉน อเจลกบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไร้มรรยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา
เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ
ไม่รับภิกษาที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกะเช้า ไม่รับ
ภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับ
ภิกษาที่คนสองคนกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของ
หญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่
นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่ได้รับเลี้ยงดูสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน
ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมัก
ดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษา
ที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ... รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง
เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียว
บ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง ... เยียวยาอัตภาพด้วย
ภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง ๒ วันบ้าง ...
๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือน
เช่นนี้ อเจลกนั้น เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูก
เดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็น
ภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง
มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้หล่น
เยียวยาอัตภาพ อเจลกนั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุล
บ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า
เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำ
ด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ
ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะ
บ้าง เป็นผู้กระโหย่งคือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบน
หนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ
ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวาย ในการ
ทำร่างกายให้เดือดร้อนกระสับกระส่ายหลายวิธีดังกล่าวมา ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
นิชฌามปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมามปฏิปทาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละธรรม
อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยจิตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสา-
*สมาธิและปธานสังขาร ... เจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ วิริยพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ... เจริญ
สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ... เจริญสัมมา
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงธรรมบัญญัติ ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา"
พระพุทธองค์ จะแสดงเทียบกับการปฏิบัติทางสุดโต่ง อีกสองทางประกอบกัน มีความชัดเจนต่อความเข้าใจไม่ต้องให้กำกวมๆ แม้แต่ปฐมเทศนา ก็แสดง ปฏิปทาสุดโต่งที่ไม่ควรเดินตามเช่นกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
Rosarin เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ฟังเสียเลยนะกรัชกายจะได้สบายๆตามที่น้องรสรินเกริ่นนำ

https://youtu.be/eePKkhhhntw

อนุโมทนากับน้องรสริน
:b27:
กรัชกายก็จงเจริญยิ่งๆขึ้นไปในความเห็นความยึดของตน
:b38:
ฟังที่น้องเขาแนะนำแล้วลองฟังที่กรัชกายชอบพูดอีกเพลงนะ แล้วเก็บส่งเข้าในให้เป็นมรรคสอนใจตนเองด้วย ไม่ต้งห่วงอโศกะนะ ห่วงตัวเองให้มากๆ กรัชกาย

https://youtu.be/OwYbgTSvJuw
:b13:

tongue
ขอสนทนากับท่านอโศกะหน่อยค่ะ
ลองตอบชัดๆด้วยว่าทางสายกลางคืออะไร
onion onion onion

:b12:
ถ้าเอาตามปฐมเทศนาทางสายกลางอยู่ระหว่างทางสายตึง อัตตกิลมมัตถานุโยค กับทางสายหย่อน กามสุขัลลิกานุโยค คือมัชฌิมาปฏิปทาได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ครับ

มรรคมีองค์ 8 ย่อลงมาคือ ปัญญา 2 ศีล 3 สมาธิ 3
เวลาลงมือภาวนาจริงๆ ศีลเป็นฐานรองรับไว้ด้านล่าง
มีปัญญามรรคและสมาธิมรรคเป็นตัวทำงาน

ย่อลงมาคือปัญญากับสติ มีสมาธิ วิริยะป็นกองหนุน

ภาวนายังไง

สติปัฏฐาน 4 นั่นแหละคือแบบสำเร็จของการเจริญมรรค เพราะจะได้ใช้ วิริยะ ปัญญา สติ เข้าไปร่วมกันทำงานเฝ้าดูเฝ้าสังเกตกายใจให้เห็นความจริงว่าทุกข์เกิดมาจากไหนเพื่อจะได้เอาเหตุทุกข์นั้นออก

แบบสำเร็จที่พระบรมศาสดาทรงทำไว้ให้คือ
การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก คำพูดพียงเท่านี้แต่เวลาปฏิบัติจริงที่จะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายนั้น มีกระบวนการมากมายแต่ไม่ยากเพราะธรรมชาติในกายและเหตุปัจจัยพื้นฐานที่สร้างสมมาของแต่ละคนจะเข้าไปค้นพบวิธีการเฉพาะตนของเขาโดยอัตโนมัติที่จะวางยินดียินร้าย
เมื่อวางยินดียินร้ายได้ชำนาญเขาจะได้รับผลสามัญเบื้องแรกคือมีชีวิตอยู่บนทางอุเบกขา เดินบนทางเส้นนี้ไปนานๆก็จะถึงจุดสิ้นสุดความปรุงแต่งคือ สังขารุเปกขาญาณ อันเป็นฐานสำคัญที่จะส่งสู่ มรรค ผลและนิพพานหรือนิโรธสัจจะ ดังนี้

ขอบคุณน้องรสรินที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้ขียนเรื่องนี้ขึ้นมาอย่างเป็นกิจลักษณะ อนุโมทนา

ถึงตรงนี้น้องรสรินลองจับประด็นดูซิว่าตรงไหนเป็นทางสายกลางบ้าง หยาบละอียดต่างกันยังไง?

smiley
อ้อเกือบลืมไป อีกนิดหนึ่งคือ สติปัฏฐานทั้ง 4 ยังรวมย่อลงในปัจจุบันอารมณ์ คำเดียว

พระบรมศาสดาจึงทรงสรุปไว้ว่า

"ปัจจุปันนัญจะโยธัมมัง ตัตถะตัตถะ วิปัสสติ อะสังหิรังอะสังกุปปังตังวิทธรามนุพรูหเย"

"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพิกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

เทคนิคการเจริญทางสายกลางที่จำง่ายทำง่ายที่สุดคือการเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์
:b8:

:b43:
ยาวอ่านแล้วเข้าใจยากน๊า
เอาทีละทางค่ะที่เห็นนี่ค่ะ
ปกติจิตเห็นมีอะไรปรากฏ
:b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 05:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
ค่อยๆอ่านค่อยๆพิจารณาเพราะเรื่องมันสัมพันธ์กันไปจนจบถ้อยกระบวนความ ไม่ต้องถามต่อหรือคิดต่อมากครับ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ้างคำพูด:
เทคนิคการเจริญทางสายกลางที่จำง่ายทำง่ายที่สุดคือการเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์

มีคำถามกรุณาตอบด้วยค่ะ คุณอโศกะต้องตอบเพื่อจะได้ทราบว่าเข้าใจอย่างไร
อ้างคำพูด:
ปกติจิตเห็นมีอะไรปรากฏ

ถ้าตอบไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจธัมมะก็เจริญสติปัญญาไม่ได้ค่ะ
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 09:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
อ้างคำพูด:
เทคนิคการเจริญทางสายกลางที่จำง่ายทำง่ายที่สุดคือการเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์

มีคำถามกรุณาตอบด้วยค่ะ คุณอโศกะต้องตอบเพื่อจะได้ทราบว่าเข้าใจอย่างไร
อ้างคำพูด:
ปกติจิตเห็นมีอะไรปรากฏ

ถ้าตอบไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจธัมมะก็เจริญสติปัญญาไม่ได้ค่ะ
:b12:

s004
ปกติจิต เห็น=ปกติจิต จะเห็นอะไร

ปกติ จิตเห็น=โดยปกติธรรมดา จิตจะเห็นอะไรปรากฏ

จิตเห็น=การรู้อะไรขึ้นในจิต

พูดถึงการเห็นด้วยตาปัญญาหรือตาจิตใช่ไหม

โดยปกติแล้วตาปัญญาจะเห็นหรือรู้ สภาวธรรม
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
อ้างคำพูด:
เทคนิคการเจริญทางสายกลางที่จำง่ายทำง่ายที่สุดคือการเจริญสติปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์

มีคำถามกรุณาตอบด้วยค่ะ คุณอโศกะต้องตอบเพื่อจะได้ทราบว่าเข้าใจอย่างไร
อ้างคำพูด:
ปกติจิตเห็นมีอะไรปรากฏ

ถ้าตอบไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจธัมมะก็เจริญสติปัญญาไม่ได้ค่ะ
:b12:

s004
ปกติจิต เห็น=ปกติจิต จะเห็นอะไร

ปกติ จิตเห็น=โดยปกติธรรมดา จิตจะเห็นอะไรปรากฏ

จิตเห็น=การรู้อะไรขึ้นในจิต

พูดถึงการเห็นด้วยตาปัญญาหรือตาจิตใช่ไหม

โดยปกติแล้วตาปัญญาจะเห็นหรือรู้ สภาวธรรม
onion

:b32:
คุณอโศกะกำลังมีจิตเห็นที่ปรากฏเกิดว่ามีขั่วคราวแล้วดับไปรู้ความจริงของเห็นที่กำลังเห็นอย่างไร
จิตเห็นเกิดเมื่อมีการปรากฏของแสงก่อนถ้าไม่มีแสงเห็นในความมืดจะมีการปรากฏของเห็นไหมคะ
หลังจากที่มีแสงแล้วจึงจะปรากฏสีต่างๆที่มหาภูตรูปแล้วคิดเป็นคนวัตถุสิ่งของคิดจำชื่อต่างๆ
กำลังเห็นนี้ค่ะเป็นตัวคุณอโศกะเห็นคนวัตถุสิ่งของหรือรู้ความจริงของเห็นที่กำลังเห็นคะ
:b16:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงเรียกว่าธัมมะ
ทรงแสดงธัมมะเพื่อให้ค่อยๆรู้ความจริงของธัมมะทุกขณะ
ว่าที่กำลังมีไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาวัตถุสิ่งของใดๆ
เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้สั้นเท่ากับจิต1ขณะ
เพียงหลับตานิมิตที่ปรากฏก็ไม่มีทรงแสดงให้รู้ว่า
สิ่งที่มีจริงๆคือจิตเกิดดับสืบต่อไม่ขาดสาย
จิตแต่ละ1ขณะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
เกิดดับอย่างรวดเร็วไม่ปนกัน
ไม่มีขณะไหนซ้ำกันได้เลย
เห็นเป็นแค่เห็นไม่ใช่คิด
หลับตาคิดไม่ใช่เห็น
เห็นแข็งไม่ได้ต้อง
กระทบแข็งที่มี
ตามเหตุปัจจัย
ที่กำลังรู้จริงๆ
ที่กายกับจิต
เป็นธัมมะ
มีจริงๆ
ทีละ1
ขณะ
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ตัวตน เป็นธัมมะ มีจริงๆ
รู้ได้ตามปกติ มีแล้วตามเหตุตามปัจจัย แค่รู้ตามเป็นจริง
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
ที่คิดว่ามีคนเยอะๆน่ะค่ะ ไม่มีคน มีแต่จิตเกิดดับทีละ1ขณะที่สั้นแสนสั้น ของจิตแต่ละดวง
จิตแต่ละ1ที่มีเห็น เห็นเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นแมวเห็น คนเห็น เทวดาเห็น พรหมเห็นแล้วดับ
ไม่มีสิ่งใดหรือบุคคลใดทำร้ายจิตที่ดับไปแล้วแต่ละ1ของจิตแต่ละดวงได้เลยนอกจากกิเลส
ความไม่รู้ความไม่เข้าใจความจริงของตนในสิ่งที่กำลังปรากฏทุกขณะที่ไม่รู้สะสมอกุศลแล้ว
การพึ่งพระรัตนตรัยคือการพึ่งคำจริงคำตรงที่เป็นพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้วจริงทุกกาล
พุทธบริษัทคือสาวกคือผู้ฟังคำสอนของพระองค์จำเป็นมากต้องไม่ขาดการฟังสิ่งที่กำลังมีจริงๆ
https://www.youtube.com/watch?v=jtcrV_HL4-M
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2016, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนากับการเห็นของคุณรสริน
:b27:
เมื่อยามที่สติปัญญายังตกเป็นทาสรับใช้ของอัตตาแลมานะทิฏฐินั้น ตาเนื้อและตาปัญญาก็จะเห็นสิ่งต่างๆตามที่อัตตามันพาปรุงให้เป็น

แต่เมื่อทำลายอัตตาหรือสักกายทิฏฐิขาดสะบั้นลงแล้ว สติปัญญาได้ความเป็นไทกลับมา 25% อีก 75% ยังถูกมานะทิฏฐิยึดครองอยู่ สติปัญญาจึงมีโอกาสได้เห็นสักแต่ว่าเห็นขึ้นมาบ้าง ต่อเมื่อเจริญมรรคต่อไปจนถึงที่สุดจนสติปัญญาได้ความเป็นไท 100% เมื่อนั้น จะคงเหลือเห็นสักแต่ว่าเห็นเต็ม 100% เช่นกัน ทวารอื่นที่เหลืออีก 5 ทวารก็จะมีแต่ความสักแต่ว่า เท่านั้นเอง

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2016, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อเสนอท่านอโศก กับ คุณโรส ไปเที่ยวบ้างไหม ไปเดินห้าง ไปเดินตลาด จ่ายกับข้าว ทำอาหารกินกัน สนทนาแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้คนใกล้ๆตัวบ้าง อาจเห็นโลกและชีวิตตามเป็นจริงมากขึ้น หมายถึงว่า ถ้าเราหมกมุ่นกับความคิด (ธรรมะ) เกินไป คิดไปคิดมาก็อ้อใช่ๆ ใช่แล้วๆ ใช่เลย ตามที่เราคิดนี่แหละใช่ :b13: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 246 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร