วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.
สมาธิในความหมายทั่ว ๆ ไป กับสมาธิในความหมายของพระพุทธศาสนา

- สมาธิในความหมายทั่ว ๆ ไป คือสมาธิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการเล่าเรียน การทำงาน ฯลฯ แม้ในสัตว์ก็มี ท่านเรียก "สัญชาตญาณ" เช่น สัญชาตญาณการดำรงชีวิต สัญชาตญาณการเอาตัวรอด ฯ

สมาธินี้มีมาแต่กำเนิด เรียกว่า "สชาติ" เช่น "สชาติสติ สชาติสมาธิ สชาติปัญญา" ปัญญาที่มาพร้อมกับการเกิด ในสัตว์มีข้อจำกัด แต่ในมนุษญ์สามารถพัฒนาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นได้ "สมาธิในลักษณะนี้มีนิวรณ์ห้าครอบงำเป็นปกติ"

- สมาธิในความหมายของพระพุทธศาสนา คือ "สมาธิที่ต้องละนิวรณ์ห้าได้" นิวรณ์ห้า ได้แก่ ..

๑. กามฉันท์ ความพอใจ ความกำหนัด หรือราคะ คือ ความพอใจ หรือติดใจในกามคุณ ๕
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ความอาฆาตพยาบาท ความขุ่นเคือง ความขัดข้อง
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ความหดหู่ใจ ความง่วงเหงาหาวนอน
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยในธรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติ ฯ

เมื่อจิตละนิวรณ์ห้าได้

- ชั่วขณะหนึ่ง สั้น ๆ ชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ
- ชั่วระยะหนึ่ง อาจสัก ๓๐ นาทีหรือมากกว่า เรียก อุปจาระสมาธิ
- อาจจะมากกว่า ๑ ชั่วโมงขึ้นไป หนักแน่นเป็นเอคกัตตาและอุเบกขา เรียกว่า อัปนาสมาธิ

ถ้าสมาธิ เปรียบเหมือนคน ..

- ขณิกะสมาธิ คือผู้ที่ทำงาน สั้น ๆ แล้วก็เลิก
- อุปจาระสมาธิ คือผู้ทำงาน ๓๐ นาทีหรือมากกว่า
- อัปนาสมาธิ คือผู้ที่กำลังพักผ่อน

ปัญญาวิปัสสนาหรือภาวนามยปัญญา ต้องมีสมาธิเป็นฐานและมีช่วงระยะเวลาของสมาธินานพอสมควร ไม่ใช่ ชั่วเวลาปุ๊บปั๊บ ให้พิจารณาว่าขณิกะกับอุปจาระสมาธิ อย่างไหนที่ทำประโยชน์ได้มากกว่ากัน อย่างไหนที่เหมาะกับนำไปใช้งาน

สมาธิในความหมายของพระพุทธศาสนา ต้องมีการฝึกจึงจะเกิดจะมีได้ เรียกว่า "การเจริญสติ เจริญสมาธิ" ซึ่งพระองค์วางแนวทางไว้ คือ

- สติปัฏฐาน ๔
- กรรมฐาน ๔๐


ฉะนั้น ผู้ที่จะฝึกฝน สามารถที่จะเลือกหมวดธรรมที่เหมาะกับจริตนิสสัยเพื่อนำไปพัฒนาตน ให้เกิดความเจริญ ในสติสมาธิและปัญญาสมความตั้งใจ ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ท้งหมดก็พอจะเข้าใจได้นะครับ
แต่ติดตรงที่ว่า สมาธื"สชาตื สชาธิสตื สชาธิสมาธิ สชาธิปัญญา"
อะไรยังไง เปิดหากูเกิลก็ไม่มีมันเป๋นยังไร หรือภาษาท้องถิ่นไหน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ท้งหมดก็พอจะเข้าใจได้นะครับ
แต่ติดตรงที่ว่า สมาธื"สชาตื สชาธิสตื สชาธิสมาธิ สชาธิปัญญา"
อะไรยังไง เปิดหากูเกิลก็ไม่มีมันเป๋นยังไร หรือภาษาท้องถิ่นไหน


"สติ สมาธิ ปัญญา" เป็น"สชาติ" เกิดมาพร้อมกับชาติ
ถ้าไม่มีมาตั้งแต่เกิด ก็ไม่รู้จะพัฒนาได้อย่างไร

ดูแต่สมัยเด็ก ๆ จนถึงปัจจุบันว่า เราได้พัฒนา สติ สมาธิ
ปัญญาของเรา มาอย่างไร

พระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นในภพมนุษย์ ไม่ใช่ ภพเทวดา พรหม
เพราะมนุษย์ มีสติ สมาธิ ปัญญา มาแต่เกิด ..

https://sites.google.com/site/smartdhamma/s-chati-payya

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


เห๋นแล้ว แต่ยังไงคนเขียนย่อมเข้าใจผิด
คำว่าเกิดพร้อมนั่น มันต้องเป็น "สหชาตะชาต" คือจิตเจตสิกที่เกิเดร่วมกันและพร้อมกัน นั่นหมายถึง สมาธิ สติ ปัญญา ก็ย่อมเป็นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.
สติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ตั้งของสติ ๔ แห่ง ..

- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายในกาย
- เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว
- ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เกิดกับใจ

สติปัฏฐาน ๔ คือกายกับใจ ผู้ใดมีควาตั้งมั่น ตั้งใจ วิริยะอุตสาหะประพฤติปฏิบัติเต็มกำลังความสามารถ พระองค์ตรัสไว้ อย่างช้าเจ็ดปี อย่างเร็วเจ็ดวัน ต้องเป็นพระอรหันต์หรือพระอนาคามี

ท่านว่าธรรมอื่นนอกจากนี้แล้ว "เมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วจะต้องรวมลงที่สติปัฏฐานนี้ทั้งนั้น จึงมีชื่อว่าทางสายเอก สติปัฏฐานสี่นี้เป็นทั้งสมถะและวิปัสนา เป็นทางสายเดียวจะนำผู้ปฏิบัติพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

ทำไมต้องฝึกสติ เพราะสติคือพี่เลี้ยงของจิต เป็นรั้วกั้น เป็นผู้ควบคุมจิตไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ..

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ :
สมาธินทรีย์ :
v สมาธินทรีย์ในกุศลจิต
Quote Tipitaka:
[๓๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ในสมัยนั้น
อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

V สมาธินทรีย์ในอกุศลจิต
Quote Tipitaka:
[๒๘๗] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ มิจฉา
สมาธิ
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

V สมาธินทรีย์ ในโลกุตรจิต
Quote Tipitaka:
[๒๑๐] สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ อินทรีย์คือสมาธิ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
สมาธินทรีย์ มีในสมัยนั้น.

V
ไม่มีสมาธินทรีย์ใน อัพยกตจิต เพราะเหตุกระทำไว้แล้ว จิตประกอบด้วย เอกัคคตาเจตสิก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
[color=#0000FF].
สมาธิในความหมายทั่ว ๆ ไป กับสมาธิในความหมายของพระพุทธศาสนา

- สมาธิในความหมายทั่ว ๆ ไป คือสมาธิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการเล่าเรียน การทำงาน ฯลฯ แม้ในสัตว์ก็มี ท่านเรียก "สัญชาตญาณ" เช่น สัญชาตญาณการดำรงชีวิต สัญชาตญาณการเอาตัวรอด ฯ


สมาธิในพุทธศาสนาก็คือสมาธิที่ใช้ในช๊วิตประจำวันนั้นแหล่ะ.....เพียงแต่พุทธศาสนาท่านเพิ่ม
ความเป็นสภาพธรรมแห่งความเป็นสมาธิเข้ามา ท่านแบ่งสมาธิออกเป็น รูปธรรมและนามธรรม
รูปธรรมพุทธองค์ทรงบัญญัติเรียกว่า..........สมมติสัจจะ
ส่วนนามธรรมพระพุทธองค์ทรงบัญญัติว่า....ปรมัตถสัจจะ

การจะทำให้เกิดสมาธิได้ท่าน เราต้องไปกระทำที่รูปธรรม(สมมติ)หรือสมาธิในชีวิตประจำวันนั้นเอง
เมื่อสมาธิที่เป็นรูปธรรม(สมมติ)เกิด ความเป็นสมาธิที่เป็นนามธรรม(ปรมัตถ์)ก็เกิดขึ้นพร้อมๆกัน

วิริยะ เขียน:
สมาธินี้มีมาแต่กำเนิด เรียกว่า "สชาติ" เช่น "สชาติสติ สชาติสมาธิ สชาติปัญญา" ปัญญาที่มาพร้อมกับการเกิด ในสัตว์มีข้อจำกัด แต่ในมนุษญ์สามารถพัฒนาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นได้ "สมาธิในลักษณะนี้มีนิวรณ์ห้าครอบงำเป็นปกติ"


ทั้งสติ ปัญญาและสมาธิ ไม่ได้มีมาแต่กำเหนิด
สิ่งที่มีมาแต่กำเหนิดก็คือ โทสะ โลภะและโมหะ อันสืบเนื่องมาจากขันธ์ห้าในอดีตชาติแ
สติ ปัญญาและสมาธิ รวมถึงวิริยะและศรัทธา จะต้องได้รับการสั่งสอนและฝึกฝนเสียก่อน

วิริยะ เขียน:

- สมาธิในความหมายของพระพุทธศาสนา คือ "สมาธิที่ต้องละนิวรณ์ห้าได้" นิวรณ์ห้า ได้แก่ ..

๑. กามฉันท์ ความพอใจ ความกำหนัด หรือราคะ คือ ความพอใจ หรือติดใจในกามคุณ ๕
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ความอาฆาตพยาบาท ความขุ่นเคือง ความขัดข้อง
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ความหดหู่ใจ ความง่วงเหงาหาวนอน
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความลังเลสงสัยในธรรมต่าง ๆ ในการปฏิบัติ ฯ


ไม่ถูกต้องนัก! ที่จริงต้องพูดว่า สมาธิจะเกิดได้จะต้องเจริญสติและสัมปชัญญะ
การมีสัมปชัญญะรู้ทันต่อสิ่งที่จะกระทำ(กำหนดรู้)และมีสติระลึกรู้ต่อสิ่งที่จะกระทำเมื่อเกิดความหลง
นี่คือมรรคหรือวิธีการทำให้เกิดสมาธิ

นิวรณ์ทั้งห้าเป็นเพียงธรรมายนอกที่มากระทบ สิ่งที่บุคคลจะต้องทำคือฝึกฝนให้สติสัมปชัญญะเข็มแข็ง
เพียงเท่านี้นิวรณ์ห้าก้ไม่สามารถเข้ามาครอบงำได้......สมาธิย่อมเกิดตามมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"สติ สมาธิ ปัญญา" เป็น"สชาติ" เกิดมาพร้อมกับชาติ
ถ้าไม่มีมาตั้งแต่เกิด ก็ไม่รู้จะพัฒนาได้อย่างไร

ดูแต่สมัยเด็ก ๆ จนถึงปัจจุบันว่า เราได้พัฒนา สติ สมาธิ
ปัญญาของเรา มาอย่างไร

พระพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นในภพมนุษย์ ไม่ใช่ ภพเทวดา พรหม
เพราะมนุษย์ มีสติ สมาธิ ปัญญา มาแต่เกิด ..

https://sites.google.com/site/smartdhamma/s-chati-payya

:b1:


เรื่องของเรื่องมันผิดตั้งแต่ต้น แท้จริงแล้ว ทั้งสติ ปัญญา สมาธิ รวมถึง ศรัทธาและวิริยะ
มันเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ไม่ใช่ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสิ่งเหล่านี้

ในเมื่อมันเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เราจึงต้องใช้คำว่า..... อัญญมัญญปัจจัย ปัจจัยโดยเป็นอาศัยซึ่งกันและกัน

ป,. อย่างไรก็ดี ต้องแยกแยะด้วยว่ากำลังพูดถึงการใช้ชีวิตประจำวัน
หรือพูดถึงธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
[color=#0000FF].
สติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ตั้งของสติ ๔ แห่ง ..

- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายในกาย
- เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว
- ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เกิดกับใจ


คำว่าสติปัฏฐาน แท้จริงก็คือ มหาสติปัฏฐาน คำว่าสี่(๔)เป็นคำที่ต่อเติมเกินจากพุทธพจน์
ในหลักของมหาสติปัฏฐาน จะต้องยึดเอา ธัมมานุปัสสนาฯเป็นเป็นหลัก เหตุนี้การพูดว่าสติปัฏฐาน
จึงเป็นคำพูดที่ผิดเพี้ยน

และความหมายของมหาสติปัฏฐานก็คือ......การใช้สติปัญญาไปพิจารณาธรรมที่มากระทบกายใจ(ปัจจุบัน)
มันไม่ใช่มีความหมายว่า ฐานที่ตั้งของสติ แท้จริงคือการใช้สติเป็นฐานที่ตั้งแห่งปัญญา


กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา.....ล้วนเป็นองค์มรรคหรือองค์ประกอบของ
ธัมมานุปัสสนาทั้งสิ้น การที่บุคคลจะเดินมรรคใดในสามมรรคที่ว่า เราจะต้องพิจารณาจากบรรพต่างๆ
ในธัมมานุปัสสนา ตัวอย่างเช่น ในธัมมมานุปัสสนาท่านให้พิจารณา นิวรณ์บรรพ เราก็ต้องไปเจิญมรรค
ในเรื่องของกายานุปัสสนา......สรุปก็คือเราต้องเอา ธัมมานุปัสสนาฯเป็นประธาน ส่วนกายาฯ เวทนาฯและจิตฯเป็นเพียงองค์ประกอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2016, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.. ขอบคุณทุกความเห็นครับ .. :b8: :b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2016, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
วิริยะ เขียน:
[color=#0000FF].
สติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ตั้งของสติ ๔ แห่ง ..

- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายในกาย
- เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว
- ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่เกิดกับใจ


คำว่าสติปัฏฐาน แท้จริงก็คือ มหาสติปัฏฐาน คำว่าสี่ (๔) เป็นคำที่ต่อเติมเกินจากพุทธพจน์
ในหลักของมหาสติปัฏฐาน จะต้องยึดเอา ธัมมานุปัสสนาฯเป็นเป็นหลัก เหตุนี้การพูดว่าสติปัฏฐาน
จึงเป็นคำพูดที่ผิดเพี้ยน

และความหมายของมหาสติปัฏฐานก็คือ......การใช้สติปัญญาไปพิจารณาธรรมที่มากระทบกายใจ(ปัจจุบัน)
มันไม่ใช่มีความหมายว่า ฐานที่ตั้งของสติ แท้จริงคือการใช้สติเป็นฐานที่ตั้งแห่งปัญญา


กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา.....ล้วนเป็นองค์มรรคหรือองค์ประกอบของ
ธัมมานุปัสสนาทั้งสิ้น การที่บุคคลจะเดินมรรคใดในสามมรรคที่ว่า เราจะต้องพิจารณาจากบรรพต่างๆ
ในธัมมานุปัสสนา ตัวอย่างเช่น ในธัมมมานุปัสสนาท่านให้พิจารณา นิวรณ์บรรพ เราก็ต้องไปเจิญมรรค
ในเรื่องของกายานุปัสสนา......สรุปก็คือเราต้องเอา ธัมมานุปัสสนาฯเป็นประธาน ส่วนกายาฯ เวทนาฯและจิตฯเป็นเพียงองค์ประกอบ


อ้างคำพูด:
คำว่าสี่ (๔) เป็นคำที่ต่อเติมเกินจากพุทธพจน์


รู้ไม่เท่าเขา ก็ว่าเขาทำเกิน เหมือนช่างซ่อมรถ ถอดเครื่องออกมาแล้วใส่ไม่หมด ก็บอกว่าฝรั่งทำเกิน คิกๆๆ

สี่หมายถึง 4 ข้อ (เวลาปฏิบัติท่านให้ตามดูรู้ทันที่ 4 จุดนี้) เหมือนที่ท่านอโศกพูด อานาปานสติ 16 ขั้น

ดูนะเอาสั้นๆพอเห็นเค้า

1. กายานุปัสสนา

2. เวทนานุปัสสนา

3. จิตตานุปัสสนา

4. ธัมมานุปัสสนา

อนึ่ง เวลาลงมือทำลงมือปฏิบัติจริง ไม่ใช่มานั่งทำทีละข้อๆ 1 2 3 4 ตามลำดับ ของจริง ไม่ได้เกิดตามลำดับอย่างที่เขาบันทึกเป็นตัวหน้งสือหรอก

โยคีนั่งกำหนดตามดูรู้กายอยู่ ที่เหลือเกิดได้ทุกข้อ เดี๋ยวเจ็บปวด เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหาวนอน ซึมเซา สลับไปสลับมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร