วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 22:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 06:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
สวัสดีครับลุงหมาน

ถ้ามีคำว่า "วิมุติ" หมายความว่าหลุดพ้นไปแล้วครับ นิพพานแน่ๆ ทั้งสองฝ่าย

เจโตวิมุติไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีปัญญาเทียบเท่าพวกปัญญาวิมุตินะครับ แต่มีความสามารถที่
ดีกว่า บรรลุได้รวดเร็ว เพราะกำลังของฌานเจริญวิปัสสนาได้ต่อเนื่องและไม่มีนิวรณ์รบกวน
เจโตวิมุติ บางคนจะเป็นพวกที่ได้ปฏิสัมภิทา (ผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาญาณนั้น จะบรรลุได้เป็นอย่างๆไปตามวาสนาบารมีที่บำเพ็ญมา หรือว่าได้ ครั้งเดียวทั้งหมดเลย)
และจะมีปัญญากว้างขวางมีญาณที่มีกำลัง แทงตลอดหมวดธรรมะหลายร้อยหรือพันนัยเลยทีเดียว
และสามารถจำแนกธรรมสั่งสอน ขยายความได้พิสดารมาก แสดงธรรมปาฏิหารได้ แสดงฤทธิ์หรือ
บางคนได้อภิญญา เหาะเหินได้ ระลึกชาติฯลฯ
ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ smartphone คงประมาณ iPhones 6plus ใช้Appได้มากมาย

ส่วนพวกปัญญาวิมุตินั้น ใช้กำลังปัญญาวิปัสสนาและเพียรค่อยๆสะสมไป จนปัญญาคมกล้าแล้วจึงสำเร็จ เป็นพวกที่เจริญวิปัสสนาได้ลำบากกว่ามาก ไม่ได้มีปัญญามากกว่าพวกเจโตวิมุติครับเพียงแต่สำเร็จด้วยการสะสมปัญญาจนเอาชนะกิเลสได้ด้วยปัญญา
ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ คงประมาณ Nokia

ผิดถูกกราบขออภัยด้วยครับ

:b8:
สาธุกับความเห็นนี้ครับ
:b27:
ถ้าผมจะพูดว่า

เจโตวิมุติ หลุดพ้นแล้วได้ของแถมเยอะ แต่ทำยากในตอนต้น ง่ายในตอนปลาย

ปัญญาวิมุติ หลุดพ้นแล้วไม่ค่อยมีของแถม แต่ทำง่ายตั้งแต่ต้น หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
ถ้ามีคำว่า "วิมุติ" หมายความว่าหลุดพ้นไปแล้วครับ นิพพานแน่ๆ ทั้งสองฝ่าย


ต้องขอขอบคุณกับคุณเนติปกรณ์ ที่มาร่วมสนทนาพูดคุยเพื่อให้ธรรม
ของพระพุทธเจ้า สว่างไสวขึ้นในลานธรรมจักรแห่งนี้

คำว่า "วิมุติ" ซึ่งแปลว่า หลุดพ้นแล้ว
เจโตวิมุต แปลว่า การหลุดพ้นแล้วทางใจนั่นหมายถึงพวกที่เจริญทางสายสมถกรรมฐาน
โดยใช้กรรมฐานหมวดใดหมวดหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ พวกที่เดินทางสายนี้
เมื่อเข้าถึงจตุตถฌานนั้นหมายถึงท่านนั้นหลุดพ้นแล้วจากกามตัณหาทั้งปวง มีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น
และหลุดพ้นแล้วจากโทสะอีกด้วย

และเมื่อทำฌานยิ่งสูงขึ้นไปกว่านั้นนับตั้งแต่ อากานัญจายตนะฌาน
จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานเหล่านี้ เขาย่อมละรูปได้อีก หรือหลุดพ้นแล้วจากรูปได้อีก หมายถึง เช่น พวกอรูปพรหมคือพรหมที่ไม่มีรูป แต่ท่านเหล่านี้ยังมิได้ละขันธ์ ๔

หรือหลุดพ้นจากขันธ์ ๔ ยังมี "เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน" ละได้เพียงรูปอย่างเดียว
เมื่อการเกิดขึ้นยังมีอยู่อีก นั่นก็หมายถึงไม่ใช่นิพพานที่แท้จริง นิพพานที่แท้จริงจะต้องละขันธ์ ๕ ได้
โดยไม่กลับมาเกิดอีก หรือจะไม่มีแม้แต่เทวดามารพรหมจะเห็นท่านได้อีก

ที่นี้ลองมาพิจารณาในปัญญาวิมุติ ซึ่ง แปลว่าหลุดพ้นแล้ว ด้วยปัญญา อันได้แก่การเจริญสติปัฏฐาน ๔
มีอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม เหล่านี้เป็นอารมณ์ในการเจิญวิปัสสนา หรือใช้รูปนามเป็นอารมณ์
ถ้าพิจารณาตรงนี้พอจะมองได้ว่าต้นทางของการเจริญสมถะกับวิปัสสนาต่างกันแล้วใช่หรือไม่ ?
การเจริญวิปัสสนา เป็นการเจริญทางสายมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะเข้าถึงพระนิพพาน
เท่ากับเป็นการปฏิเสธหนทางสายอื่น หนทางสายนี้เป็นหนทางที่ละกิเลส และขันธ์ทั้ง ๕ ได้อย่างสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
natipakorn เขียน:
สวัสดีครับลุงหมาน

ถ้ามีคำว่า "วิมุติ" หมายความว่าหลุดพ้นไปแล้วครับ นิพพานแน่ๆ ทั้งสองฝ่าย

เจโตวิมุติไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีปัญญาเทียบเท่าพวกปัญญาวิมุตินะครับ แต่มีความสามารถที่
ดีกว่า บรรลุได้รวดเร็ว เพราะกำลังของฌานเจริญวิปัสสนาได้ต่อเนื่องและไม่มีนิวรณ์รบกวน
เจโตวิมุติ บางคนจะเป็นพวกที่ได้ปฏิสัมภิทา (ผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาญาณนั้น จะบรรลุได้เป็นอย่างๆไปตามวาสนาบารมีที่บำเพ็ญมา หรือว่าได้ ครั้งเดียวทั้งหมดเลย)
และจะมีปัญญากว้างขวางมีญาณที่มีกำลัง แทงตลอดหมวดธรรมะหลายร้อยหรือพันนัยเลยทีเดียว
และสามารถจำแนกธรรมสั่งสอน ขยายความได้พิสดารมาก แสดงธรรมปาฏิหารได้ แสดงฤทธิ์หรือ
บางคนได้อภิญญา เหาะเหินได้ ระลึกชาติฯลฯ
ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ smartphone คงประมาณ iPhones 6plus ใช้Appได้มากมาย

ส่วนพวกปัญญาวิมุตินั้น ใช้กำลังปัญญาวิปัสสนาและเพียรค่อยๆสะสมไป จนปัญญาคมกล้าแล้วจึงสำเร็จ เป็นพวกที่เจริญวิปัสสนาได้ลำบากกว่ามาก ไม่ได้มีปัญญามากกว่าพวกเจโตวิมุติครับเพียงแต่สำเร็จด้วยการสะสมปัญญาจนเอาชนะกิเลสได้ด้วยปัญญา
ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ คงประมาณ Nokia

ผิดถูกกราบขออภัยด้วยครับ

:b8:
สาธุกับความเห็นนี้ครับ
:b27:
ถ้าผมจะพูดว่า

เจโตวิมุติ หลุดพ้นแล้วได้ของแถมเยอะ แต่ทำยากในตอนต้น ง่ายในตอนปลาย

ปัญญาวิมุติ หลุดพ้นแล้วไม่ค่อยมีของแถม แต่ทำง่ายตั้งแต่ต้น หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก
onion


เจโตวิมุติ นั้นมีอยู่แล้วกับทุกๆศาสนา แต่ปัญญาวิมุตฺ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 11:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ ลุงหมาน

@@คัดลอกข้อความของลุงหมาน@@@

ที่นี้ลองมาพิจารณาในปัญญาวิมุติ ซึ่ง แปลว่าหลุดพ้นแล้ว ด้วยปัญญา อันได้แก่การเจริญสติปัฏฐาน ๔
มีอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม เหล่านี้เป็นอารมณ์ในการเจิญวิปัสสนา หรือใช้รูปนามเป็นอารมณ์
ถ้าพิจารณาตรงนี้พอจะมองได้ว่าต้นทางของการเจริญสมถะกับวิปัสสนาต่างกันแล้วใช่หรือไม่ ?
การเจริญวิปัสสนา เป็นการเจริญทางสายมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะเข้าถึงพระนิพพาน
เท่ากับเป็นการปฏิเสธหนทางสายอื่น หนทางสายนี้เป็นหนทางที่ละกิเลส และขันธ์ทั้ง ๕ ได้อย่างสิ้นเชิง

ดูเหมือนว่าลุงหมาน ยังคงไม่ค่อยชัดเจนตรงประเด็นนี้นะครับ

คำถามของลุงหมานนะครับ: ต้นทางของการเจริญสมถะกับวิปัสสนาต่างกันแล้วใช่หรือไม่ ?

ถ้าหากสมมุติว่าคน2คน เริ่มเจริญสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมๆกัน คนที่1เจริญสมถะได้ผลดีกว่ามาก
สามารถบรรลุฌานได้ 1-4 หรือว่าถึงฌานที่8เลยก็ได้ครับ แต่ก็ยังคงเริ่มต้นเจริญวิปัสนา สติปัฐาน4
จากจุดเริ่มต้นเดียวกันนั้นแหละ

คนที่2 เจริญสมถะไม่ได้ผลดี มีนิวรณ์ขัดขวางตลอด แต่ก็เริ่มต้นเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไปด้วย ซึ่งเขาก็จะสะสมปัญญาไปเรื่อยๆอย่างช้าๆ เนื่องจากหลงลืมสติบ่อยๆ ขาดความต่อเนื่อง ปัญญาถูกปกคุมด้วยนิวรณ์
อาจจะต้องใช้เวลาเจริญวิปัสสนา ยาวนานหลายๆสิบชาติหรือร้อยชาติ กว่าจะได้ปัญญาวิมุติ

คนที่1 ก็ต้องเจริญวิปัสสนาจากจุดเดียวกันกับคนที่2 แต่สามารถทำได้นานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง
หรือหลายๆวันต่อเนื่องกันโดยที่ไม่มีอกุศลจิตเกิดขั้นเลย และเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต
ซึ่งเป็นกุศลขั้นสูง เกิดร่วมกับปัญญา สามารถพิจารณาธรรมแทงตลอดได้หลายนัยทำให้เกิดความเข้าใจถูกต้องมากขึ้น สัมมนาทิฐิและมรรค8ครบทุกองค์ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว

คนที่1 เจริญฌานได้สูงสุดเลย แต่ต้องย้อนกลับมาเข้าฌานที่4 เพื่อเจริญ อุเบกขา
(ตัตรมัชฌัชตตาเจตสิก) เป็นธรรมะที่จะก้าวขึ้นไปสู่โลกุตรธรรม เพื่อจะเปิดประตูไปสู่นิพพาน
ออกจากฌานแล้ว(โดยใช้มหากุศลจิต)เจริญวิปัสสนา จากญาน1-16 ขึ้นอยู่กับอินทรีย์5ของแต่ละคน
ที่จะตรัสรู้ได้ช้าเร็วแค่ไหน หรือถ้าไม่บรรลุในชาตินี้ ฌานไม่เสื่อมคลาย ก็จะจุติเป็นเทวดาหรือพรหม
มีอายุยืนยาว ถึงเวลาที่มีพระพุทธเจ้าองค์ใหม่มาเกิด ลงมาฟังธรรมมะ โอกาสที่จะบรรลุก็มีสูง

ถ้าเปรียบเป็นการเดินทางไกล คนที่1 เปรียบเหมือนมีรถ BMW น้ำมันเต็มถังติดเครื่องยนต์
พร้อมออกเดินทางได้เลย

คนที่2 เหมือนกับต้องเดินทางด้วยเท้าเปล่า กลางแดด ผ่านป่าเขา และสัตว์ร้าย ใช้เวลาอันยาวนาน

คุณลุงหมาน อยากจะเป็นปัญญาวิมุตติหรืออยากจะเป็นเจโตวิมุตติครับ

ผิดพลาดขออภัยด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้อ่านแล้วข้อความนี้ไม่ผิดครับ ขอความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
ผมจะขออุปมาเพื่อความกระจ่างชัดขึ้นอีกนิดหน่อยเพื่อจะได้มองภาพให้เห็นชัดเจนขึ้นอีก
อุปมาเหมือนการเดินทางของคน ๒ คน คนหนึ่งเดินทางเรือ อีกคนหนึ่งเดินทางใช้รถ
ใน ๒ คนนี้จะเห็นความเริ่มต่างโดยอุปกรณ์การเดินทางใช่หรือไม่ ?

เส้นทางรถจะสิ้นสุดอยู่ที่ปลายถนน เส้นทางสายน้ำจะสิ้นสุดที่ปลายน้ำ ทั้ง ๒ คน
จะเดินทางสิ้นสุดกันคนละที่ ฉะนั้นจะขออุปมาช้ำอีกว่า การเดินทางโดยรถ
เป็นเส้นทางสายวิปัสสนาที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ ระหว่างทางมีองค์มรรค ๘ ปลาย คือ นิพพาน
ส่วนการเดินทางเรืออุปมาเหมือสถะกรรมฐาน เส้นทางสูงสุดคือ อรูปพรหม

แต่เมื่อผู้ที่เจริญฌานหรือสมถะกรรมฐาน จะในฌานใดฌานหนึ่งก็ได้แล้วถอยออกจากฌานมา
เอาฌานนั้นๆ แลมาพิจารณาว่า กิเลสที่ละพิจารณากิเลสที่เหลืออยูเท่าไหร่่ อย่างนี้ทำได้อย่างแน่นอน
เพราะเอาองค์ฌานที่ได้มาพิจารณาเข้าสู่มรรค ๘ แต่ถ้าจะเจริญฌานแล้วยังอยู่ในฌานนั้นไม่ได้แน่นอน
เป็นเพราะอารมณ์มันคนละอย่างกัน มันอยู่ที่ต้นทางถูกหรือผิด ต้นทางผิดปลายทางก็ผิด
ต้นทางถูกปลายทางก็ถูก จะพูดให้สั้นๆหรือจะสรุปให้สั้นๆเข้าก็คือต้องสละเรือมาขึ้นรถจึงจะถูกทาง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 20:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:


ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ คงประมาณ Nokia

ผิดถูกกราบขออภัยด้วยครับ


:b32: :b32: :b32:
เห็นภาพเลย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2016, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
natipakorn เขียน:


ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ คงประมาณ Nokia

ผิดถูกกราบขออภัยด้วยครับ


:b32: :b32: :b32:
เห็นภาพเลย..


:b6: ...เก๊าไม่เคยใช้ Nokia และก็ไม่เคยใช้ Iphone ด้วยง่ะ

จินตนาการไม่ออกเลยจริง ๆ... :b10:

คุณ นติฯ มีเปรียบเปรยแบบประมาณ ซัมซุง บ้างมั๊ย :b3:

:b9: :b9: :b9:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2016, 02:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับลุงหมาน

เอาให้ชัดเจนอีกที นะครับ เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตตินั้นใช้เส้นทางวิปัสสนา(นิพพาน)ในทางเดียวกันเอง ความยาวของเส้นทางก็เท่ากัน เพียงแต่คนนึงมีตัวช่วยคือ(ฌาน) ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีฌาน
จะเดินทางไปพรหมโลกนะครับ เพียงแต่ว่าถ้าไม่บรรลุในชาตินี้ ก็มีพรหมโลกเป็นภูมิที่รองรับไว้แน่นอน

อุปมาเหมือนคนที่หนึ่งโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ ส่วนอีกคนนึงเดินเดินทางด้วยเท้า นับไม้หมอนรถไฟไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเชียงใหม่ (เส้นทางเดียวกันต่างกันที่เวลาและความยากลำบาก)

ต่างกันที่ระยะเวลาของแต่ละบุคคล เจโตจะเจริญได้รวดเร็วมากถ้าได้ฌาน (เหมือนกระต่าย)
ส่วนปัญญาวิมุตตินั้นเดินทางช้า อุปสรรคมาก (เหมือนเต่าครับ)

แต่บางทีกระต่ายก็แพ้เต่าได้ครับเพราะมัวแต่ประมาชื่นชมในฝีเท้าของตัวเอง นอนหลับเล่นอยู่

ผิดพลาดขออภัยไว้ก่อนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2016, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
สวัสดีครับลุงหมาน

เอาให้ชัดเจนอีกที นะครับ เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตตินั้นใช้เส้นทางวิปัสสนา(นิพพาน)ในทางเดียวกันเอง ความยาวของเส้นทางก็เท่ากัน เพียงแต่คนนึงมีตัวช่วยคือ(ฌาน) ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีฌาน
จะเดินทางไปพรหมโลกนะครับ เพียงแต่ว่าถ้าไม่บรรลุในชาตินี้ ก็มีพรหมโลกเป็นภูมิที่รองรับไว้แน่นอน

อุปมาเหมือนคนที่หนึ่งโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ ส่วนอีกคนนึงเดินเดินทางด้วยเท้า นับไม้หมอนรถไฟไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเชียงใหม่ (เส้นทางเดียวกันต่างกันที่เวลาและความยากลำบาก)

ต่างกันที่ระยะเวลาของแต่ละบุคคล เจโตจะเจริญได้รวดเร็วมากถ้าได้ฌาน (เหมือนกระต่าย)
ส่วนปัญญาวิมุตตินั้นเดินทางช้า อุปสรรคมาก (เหมือนเต่าครับ)

แต่บางทีกระต่ายก็แพ้เต่าได้ครับเพราะมัวแต่ประมาชื่นชมในฝีเท้าของตัวเอง นอนหลับเล่นอยู่

ผิดพลาดขออภัยไว้ก่อนครับ


ที่ผมพูดนั้นผมพยายามแยกแยะไว้ว่าเจโตวิมุตกับปัญญาวิมุติมันแตกต่างกันด้วยอุปกรณ์ที่ใช้
พวกเจโตวิมุติจะใช้สมาธิเป็นตัวนำ ส่วนพวกปัญญาวิมุติจะใช้ปัญญาเป็นตัวนำ มันคนละเส้นทางเดิน

เจโตวิมุติเป็นเส้นสายของการเจริญฌาน และในฌานนั้นจะมีองมรรค ๘ ไม่ครบ จะมีแค่มรรค ๗
เพราะเขาไปละวิตกออกไปเสีย ๑ คือสัมมาสังกัปปะมรรค วิตกนั้นเป็นองค์มรรค ๑ ในจำนวนมรรคมีองค์ ๘
จะเอาเส้นทางของเจโตวิมุติมาเป็นเส้นทางเดียวกับปัญญาวิมุตินั้นไม่ได้

แต่มีข้อแม้อยู่ว่าพวกที่เข้าถึงเจโตวิมุติแล้วจะต้องเปลี่ยนเส้นทางใหม่มาเส้นทาง
สายปัญญาวิมุติละก็อย่างนี้ได้เช่นกัน ส่วนมากคนที่เดินสายเจโตวิมุติมักจะหลงเพลิน
กับฌานหรืออภิญญาที่ตนได้มา จะมองไม่เห็นทุกข์เห็นโทษของฌานและอภิญญา

ส่วนเรื่องคุณว่ามานั้นจะปฏิบัติถึงช้าหรือเร็วนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ได้แก่ปฏิปทา ๔ อย่าง คือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2016, 06:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


natipakorn เขียน:
สวัสดีครับลุงหมาน

เอาให้ชัดเจนอีกที นะครับ เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตตินั้นใช้เส้นทางวิปัสสนา(นิพพาน)ในทางเดียวกันเอง ความยาวของเส้นทางก็เท่ากัน เพียงแต่คนนึงมีตัวช่วยคือ(ฌาน) ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีฌาน
จะเดินทางไปพรหมโลกนะครับ เพียงแต่ว่าถ้าไม่บรรลุในชาตินี้ ก็มีพรหมโลกเป็นภูมิที่รองรับไว้แน่นอน

อุปมาเหมือนคนที่หนึ่งโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ ส่วนอีกคนนึงเดินเดินทางด้วยเท้า นับไม้หมอนรถไฟไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเชียงใหม่ (เส้นทางเดียวกันต่างกันที่เวลาและความยากลำบาก)

ต่างกันที่ระยะเวลาของแต่ละบุคคล เจโตจะเจริญได้รวดเร็วมากถ้าได้ฌาน (เหมือนกระต่าย)
ส่วนปัญญาวิมุตตินั้นเดินทางช้า อุปสรรคมาก (เหมือนเต่าครับ)

แต่บางทีกระต่ายก็แพ้เต่าได้ครับเพราะมัวแต่ประมาชื่นชมในฝีเท้าของตัวเอง นอนหลับเล่นอยู่

ผิดพลาดขออภัยไว้ก่อนครับ

s004
น่าจะเป็นความเข้าใจที่เอนเอียงไปข้างสมถะนำหน้าวิปัสสนาของคุณ natipakorn นะครับ

สมถะนำหน้า
วิปัสสนานำหน้า
สมถะวิปัสสนาเจริญไปพร้อมกัน

ล้วนดี เร็ว เหมือนกันทั้ง 3 อย่าง เพราะแต่ละอย่างถูกสร้างมาให้เหมาะสมกับจริตนิสัย วาสนา บารมี ที่สร้างสมมาของจิตแต่ละดวง

ชีวิตจิตใจของมนุษย์และสัตว์โลกทุกชีวิตทุกดวงมิได้มาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในชาติปัจจุบันนี้ แต่เป็นการมาต่อยอดกุศล บาป บุญ ของตนเองใครเคยสร้างสมมาอย่างไร ถ้าค้นพบของเก่าของตนเองได้แล้วต่อยอดไป ก็ย่อมไม่เนิ่นช้าสักคน

สิ่งสำคัญคือเขาผู้นั้น จิตวิญญาณดวงนั้น จะมีโอกาสได้พบกัลยาณมิตรได้เร็วแค่ไหน ค้นพบตนเอง ความสามารถเฉพาะตนเองที่สร้างสมมาได้รวดเร็วเพียงใด

ใครพบตัวเองได้เร็วแล้วต่อยอดไปอีกนิดเดียวก็หลุดพ้น ดังพระสารีบุตร พระโมคคัลลาน ท่านอัญญาโกณทัญญะ และท่านพาหิยะ


อย่าเพิ่งยึดว่าอันนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ถ้ายังค้นไม่พบธาตุแท้ของตนเองนะครับ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มี.ค. 2016, 13:45 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2901


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2016, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




1463906952775.jpg
1463906952775.jpg [ 32.46 KiB | เปิดดู 2693 ครั้ง ]
กลับมาดันกระทู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2016, 16:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

การวิปัสสนาภาวนา..หากไม่มีความตั้งมั่นของจิตใจแล้ว...ผลมันก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน...ดีไม่ดีก็เป็นวิปัสสนึกไป..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง

สมาธิ...มันก็มีสัมมาสมาธิ..กับ..มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ...จะเป็นฐานของการโยนิโสมนสิการ..พอเหมาะพอเจาะ..เป็นสมาธิเหมาะแก่งาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2016, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

การวิปัสสนาภาวนา..หากไม่มีความตั้งมั่นของจิตใจแล้ว...ผลมันก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน...ดีไม่ดีก็เป็นวิปัสสนึกไป..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง

สมาธิ...มันก็มีสัมมาสมาธิ..กับ..มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ...จะเป็นฐานของการโยนิโสมนสิการ..พอเหมาะพอเจาะ..เป็นสมาธิเหมาะแก่งาน


แสดงว่า กบ ไม่เข้าใจธรรมะ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยังห่างไกลอีกมาก

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการเจริญ หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
ที่พระองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเดียวเป็นทางสายกลาง ได้แก่องค์มรรค ๘ เมื่อกล่าวว่าเป็นทางสายเดียว
ฉะนั้นหนทางอื่นก็ต้องไม่ใช่ การเจริญวิปัสสนาก็จะขาดสมาธิเสียมิได้เช่นกัน แต่สมาธินั้นจะใช้เพียง
เล็กน้อยเพียงแค่ขณิกสมาธิ เพื่อช่วยให้เข้าถึงความเห็นเป็นอนัตตา

ส่วนสมถะกรรมฐาน หรือที่เรียกกันจนชินหูว่าทำสมาธิหรือเจริญฌาน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง บริกรรมให้แนบแน่นในอารมณ์เดียว ปลายทางจะได้ฌาน ได้อภิญญา
เมื่อแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวจิตจะไปพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ยังไง มันผิดหลักความจริง

อธิบายแค่นี้เเหละเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจต่อไปเถอะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2016, 20:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

การวิปัสสนาภาวนา..หากไม่มีความตั้งมั่นของจิตใจแล้ว...ผลมันก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยเป็นชิ้นเป็นอัน...ดีไม่ดีก็เป็นวิปัสสนึกไป..ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอย่างหลัง

สมาธิ...มันก็มีสัมมาสมาธิ..กับ..มิจฉาสมาธิ

สัมมาสมาธิ...จะเป็นฐานของการโยนิโสมนสิการ..พอเหมาะพอเจาะ..เป็นสมาธิเหมาะแก่งาน


ลุงหมาน เขียน:

แสดงว่า กบ ไม่เข้าใจธรรมะ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนยังห่างไกลอีกมาก

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะใช้รูปนามเป็นอารมณ์ในการเจริญ หรือที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง
ที่พระองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเดียวเป็นทางสายกลาง ได้แก่องค์มรรค ๘ เมื่อกล่าวว่าเป็นทางสายเดียว
ฉะนั้นหนทางอื่นก็ต้องไม่ใช่ การเจริญวิปัสสนาก็จะขาดสมาธิเสียมิได้เช่นกัน แต่สมาธินั้นจะใช้เพียง
เล็กน้อยเพียงแค่ขณิกสมาธิ เพื่อช่วยให้เข้าถึงความเห็นเป็นอนัตตา

ส่วนสมถะกรรมฐาน หรือที่เรียกกันจนชินหูว่าทำสมาธิหรือเจริญฌาน เหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ได้แก่ กรรมฐาน ๔๐ กอง บริกรรมให้แนบแน่นในอารมณ์เดียว ปลายทางจะได้ฌาน ได้อภิญญา
เมื่อแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวจิตจะไปพิจารณาหรือโยนิโสมนสิการได้ยังไง มันผิดหลักความจริง

อธิบายแค่นี้เเหละเมื่อไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจต่อไปเถอะ


:b32: :b32: :b32:

แล้วใครให้ลุงไปพิจารณาตอนเป็นฌานนิ่ง ๆ ละลุง...

ลุงแยกออกมั้ย..อาการ..สมาธิที่เหมาะแก่งาน..กับ..สมาธิที่สงบอย่างเดียว..นะลุง

ถามอีก...สติปัฏฐาน 4...ใช้แค่ขณิกสมาธิ...แล้วมันได้ผลมั้ย? :b9: :b9:

ผมไม่เถียงนะ...ขณิกสมาธิก็ใช้สติปัฏฐาน 4 ได้...แต่มันก็ได้แค่ได้ทำ...เข้าถึงอนัตตา...คิดคิด..นะซี

อารมณ์ตอนเข้าถึงการเห็น..นั้น..มันมีอารมณ์แนบแน่นกว่าขณิกสมาธิ..เยอะนะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร