วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2015, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




1252382054.jpg
1252382054.jpg [ 44.26 KiB | เปิดดู 3967 ครั้ง ]
ชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ ๕ แต่ย่อลงคงได้แก่ รูปกับนาม

ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่,ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์
คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ ๕ ส่วน หรือ ๕ ขันธ์ คือ

๑. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
๒. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
๓. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
๔. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
๕. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
วิญญาณขันธ์ จัดเข้าใน จิต ๘๙
เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก ๕๒
รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป ๒๘
การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน

ชีวิตคืออะไร
ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้
กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว
ยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือความเป็นอยู่ของร่างกาย
จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ

ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ในทางธรรมเรียกว่า รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก
นึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป

ส่วน จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม เรียกสั้น ๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ
และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้

ดังนั้น ตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิต และเจตสิก
ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม
ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรม
จึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เท่านั้น

คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด
ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย

สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก
ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้ว มีแต่รูปกับนามเท่านั้น
ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลย ที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้ว
ก็ยังไม่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน
หรือผู้ที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิกที่มีการเกิดดับ
อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้
จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา
เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น
ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเรา และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง
เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย
อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการปฏิบัติ
เพื่อให้เข้าถึง ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรม ที่เป็นความจริงตาม
ธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลง
เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2015, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




21935ab4.jpg
21935ab4.jpg [ 189.94 KiB | เปิดดู 3965 ครั้ง ]
ภาพแสดงปรมัตถธรรม ๔

ปรมัตถธรรมหมายถึงธรรมที่มีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลง ไม่วิปริตผันแปร มี ๔ กลุ่มคือ
(จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน)
ส่วนบัญญัติธรรมหมายถึงสิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมติขึ้นเพื่อเรียกขาน ปรมัตถธรรมจึงมีทั้ง
สามัญลักษณะและวิเสสลักษณะ แต่บัญญัติธรรมนั้นไม่มี วิเสสลักษณะ

สามัญลักษณะคือลักษณะที่ธรรมทั้งหลายมีอยู่ร่วมกันเป็นสามัญ
สำหรับสังขตธรรมนั้นสามัญลักษณะมี ๓ ประการ จึงเรียกว่าไตรลักษณ์
ได้แก่ อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ลักษณะที่ไม่เป็นสามัญ
หรือลักษณะที่ทำให้ธรรมตัวหนึ่งแตกต่างจากธรรมตัวอื่น เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
ของปรมัตถธรรมเรียกว่า วิเสสลักษณะ วิเสสลักษณะมีลักษณะ ๔ ประการที่ต้องพูดถึง ได้แก่
ลักษณะ (เครื่องแสดง), รสะ (หน้าที่), ปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฎ) และปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2015, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




Rup28.gif
Rup28.gif [ 25.63 KiB | เปิดดู 3963 ครั้ง ]
รูป ที่เรียกว่า รูปขันธ์ ก็หมายถึง รูป ๒๘ ตามความหมายของพระอภิธรรม
จัดเป็นกองใหญ่ๆ ได้ ๒ กอง คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔ ตามที่แสดงภาพสมมุติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2015, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




ef0a8145.jpg
ef0a8145.jpg [ 94.49 KiB | เปิดดู 3939 ครั้ง ]
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทาง"ธาตุรู้"หรือ "ธาตุรู้คิด" ที่มีกระบวนการ
เปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับ
ไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ

ในอภิธรรมกล่าวว่ามี ๘๙ หรือ ๑๒๑ คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่น
มักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ

จิตอันเป็นนามธรรมให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเองได้ และความสามารถในการพัฒนาคุณสมบัติ
อันพิเศษทางจิตนี้ยังช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบปัญญาแห่งความรู้แจ้งนานัปการ รวมถึงปัญญา
แห่งการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป มนุษย์จึงถูกเรียกว่าเป็น "สัตว์ประเสริฐ"

ในขณะที่สัตว์โลกชนิดอื่นๆ ที่ต่ำกว่ามนุษย์ลงไปนั้นล้วนเป็นเพียงสัตว์เดรัจฉาน
ซึ่งมีเพียงอาการของสัญชาตญาณของการเป็นสัตว์โลกเท่านั้น จึงทำให้พวกมันไม่อาจเข้าใจ
ในนามธรรม (พลังจิต) และไม่อาจพัฒนาสิ่งที่เป็นนามธรรมอันวิเศษนี้ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2015, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมาน ออกแบบตัดต่อ.JPG
ลุงหมาน ออกแบบตัดต่อ.JPG [ 89.83 KiB | เปิดดู 3873 ครั้ง ]
เจตสิกมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวม ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑. อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้
ทั้งกลุ่มกุศลจิต กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)
อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม(แถว) ได้แก่
๑. กลุ่มเจตสิก ๗ ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง)
เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง ๗ ดวง แยกจากกันไม่ได้ จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า
สัพพสาธารณะเจตสิก ๗
๒. กลุ่มเจตสิก ๖ ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ
จะเข้าไม่พร้อมกันก็ได้ แยกกันประกอบได้ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก ๖

๒. อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น
กลุ่มอกุศลจิต มี ๑๔ ดวง แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ความหมายของแต่ละดวง จะกล่าวในบทต่อไป
ในที่นี้จะแสดงเพียงชื่อของกลุ่ม และเจตสิกในกลุ่มก่อน กล่าวคือ
๑. กลุ่มโมหะเจตสิก ๔ ดวง(โมจตุกะ ๔) ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
๒. กลุ่มโลภะเจตสิก ๓ ดวง(โลติกะ๓) ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ มานะ
๓. กลุ่มโทสะเจตสิก ๔ ดวง(โทจตุกะ ๔) ได้แก่ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
๔. กลุ่มที่ทำให้หดหู่ ท้อถอย(ถีทุกะ ๒) ได้แก่ ถีนะเจตสิก มิทะเจตสิก
๕. กลุ่มความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา๑) ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก (มีเพียง ๑ ดวง)

๓. โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับโสภณจิต
(ยกเว้นกลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มอเหตุกจิตแล้ว จิตที่เหลือชื่อว่าโสภณะจิต)
โสภณเจตสิกมี ๒๕ ดวง แบ่งเป็น ๔ กลุ่มดังนี้
๑. โสภณสาธารณะเจตสิก ๑๙ ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตัปปะ..... เป็นต้น
๒. วิรตีเจตสิก ๓ ได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก
๓. อัปมัญญาเจตสิก ๒ ได้แก่ กรุณาเจตสิก มุฑิตาเจตสิก
๔. ปัญญาเจตสิก ๑ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรีย์เจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2015, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ได้นำมาแสดงไว้ทั้งหมดนั้น อยู่ในคัมภีร์พระอภิธรรมมัตถสังคหะ
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้รจนาไว้ เพื่อให้นักศึกษาพระอภิธรรมได้เข้าใจง่ายขึ้น
เพื่อสะดวกแก่การศึกษา

ให้เห็นได้ชัดเจนในด้านการเรียนปริยัติ
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องว่าอันไหนคือ รูป อันไหนคือ นาม
เพื่อเจริญไปในทางสู่อารมณ์ของวิปัสสนาโดยตรง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2015, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 64.52 KiB | เปิดดู 3817 ครั้ง ]
ภูมิทั้งหมดมี ๓๑ ภูมิ ได้แก่


กามภูมิมี ๑๑ ภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ กามสุคติภูมิ ๗

รูปภูมิมี ๑๖ ภูมิคือ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ จตุตถฌานภูมิ ๗

อรูปภูมิมี ๔ คือคือ อากาสานัญจายตนฌานภูมิ. วิญญาณัญจายตนฌานภูมิ. อากิญจัญญายตนฌานภูมิ.
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานภูมิ.

ใน ๓๑ ภูมินั้น สัตว์ที่เกิดตามภูมิต่างๆ บางภูมิก็มี ขันธ์ ๕ บางภูมิก็มีขันธ์ ๑ บางภูมิก็มีขันธ์ ๔

กามภูมิ ๑๑ มีขันธ์ ๕
ในรูปภูมิ ๑๖ เว้น (อสัญญสัตตาพรหม) มีขันธ์ ๕
อสัญญสัตตาพรหม มีขันธ์ ๑ (มีแต่รูป)
ในอรูปภูมิ ๔ มีขันธ์ ๔ (มีแต่นาม)

ในการที่พระองค์อุบัติขึ้นในโลกจะไม่ไปเทศนาโปรด ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ กับอรูปภูมิ ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2015, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
...อนุโมทนากับลุงหมานค่ะ...
...ขออนุญาตท่านผู้ศึกษา...
...ควรจำกัดรูปและนามตน...
...ให้พิจารณาสิ่งที่กำลังมี...
...เป็นปัจจุบันทีละ1ขณะ...
...จึงจะเข้าใจความจริง...
...ที่ไม่ใช่การท่องจำค่ะ...
rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2015, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
...อนุโมทนากับลุงหมานค่ะ...
...ขออนุญาตท่านผู้ศึกษา...
...ควรจำกัดรูปและนามตน...
...ให้พิจารณาสิ่งที่กำลังมี...
...เป็นปัจจุบันทีละ1ขณะ...
...จึงจะเข้าใจความจริง...
...ที่ไม่ใช่การท่องจำค่ะ...
rolleyes rolleyes rolleyes

ช่วยอธิบายกำจัดรูปนามโดยวิธีไม่ต้องท่องจำมาให้ดูหน่อยซิ
มีวิธียังไง ขยายความให้ดูหน่อย ตามความเข้าใจ เพื่อสหายธรรมในลานธรรมจักรครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2016, 19:39 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2948


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2018, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร