วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 77, 78, 79, 80, 81, 82, 83 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2015, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาว่ากันถึงการฝึกในกรณีที่ ๑ กันก่อน ได้แก่กรณีที่ทั้งปัจจัยภายใน คือสภาวะของจิต และปัจจัยภายนอก คือเนื้องานนั้นๆ เอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน โดยที่เป็นการทำงานด้วยตัวคนเดียว ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

กรณีนี้เป็นการฝึกที่ง่ายที่สุดในทั้ง ๔ กรณี เนื่องเพราะจิตมีแรงจูงใจให้ทำงานได้เอง ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีปฏิฆะมากระทบกระทั่ง :b42: :b43: :b42:

ซึ่งการฝึกในกรณีที่ผู้ปฏิบัติ ทำงานด้วยตัวคนเดียว และมีใจที่อยากจะทำงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกสองชนิด ได้แก่ :b50: :b49: :b55:

๑.๑) งานที่ต้องใช้สมาธิมาก เช่น การนั่งคิดงานที่ซับซ้อน การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การตัดเย็บเสื้อผ้า การฝึกทำโจทย์ของนักเรียนนักศึกษา การควบคุมหรือการซ่อมแซมเครื่องจักรที่ซับซ้อน ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

กับ

๑.๒) งานที่ไม่ค่อยต้องใช้สมาธิมากเท่าไหร่ เช่น การทำอาหาร การทำงานบ้าน การคิดในเรื่องที่ง่ายๆไม่ซับซ้อน การเลี้ยงสัตว์จับปลาปลูกต้นไม้ของเกษตรกร ฯลฯ :b51: :b53: :b45:


โดยในการฝึกสำหรับงานทั้งสองชนิด จะพิจารณาองค์ธรรมโดยแยกออกเป็นสองส่วนนะครับ คือองค์ธรรมของสติสัมปชัญญะ กับองค์ธรรมของสมาธิ :b46: :b47: :b46:

ที่ต้องแยกพิจารณาองค์ธรรมออกจากกันนี้ เนื่องเพราะว่า สำหรับงานที่ต้องใช้สมาธิมาก เช่น การนั่งคิดวิเคราะห์งานที่ยาก หรือการฝึกทำโจทย์ที่ยาก หรืองานที่ละเอียดซับซ้อนและต้องใช้โฟกัสในการลงมือทำงาน ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้องค์ของสมาธิในการจดจ่อกับงานเยอะ จนกระทั่งองค์ของสมาธินั้น เข้มเด่นแซงหน้าองค์ของสติสัมปชัญญะไป :b39: :b44: :b49:

นั่นคือผู้ปฏิบัติ จะจมลึกลงไปในงานที่คิด หรือจะรู้เฉพาะลงในงานที่ทำ โดยไม่สามารถรู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังคิด หรือกำลังทำงานนั้นๆอยู่เลย :b49: :b48: :b49:

ซึ่งเป็นเหมือนกับที่ครูบาอาจารย์บางท่านกล่าวไว้ว่า รู้เรื่องที่คิด แต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังคิด หรือรู้เรื่องที่ทำ แต่ไม่รู้ตัวว่ากำลังทำ นั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2015, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นหมายความว่า ผู้ปฏิบัติ ก็จะได้แต่การฝึกสมาธิแบบจมแช่ ซึ่งมีประโยชน์เอาไว้ใช้สำหรับคิดงานหรือทำงานที่ละเอียดลึกซึ้ง สลับซับซ้อน โดยไม่สามารถฝึกสติสัมปชัญญะได้มากเท่าไหร่นักนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเรื่องปรกติของงานในประเภทนี้ ที่องค์สมาธิถูกดึงมาใช้งานอย่างมาก จนกลบบังองค์ของสติสัมปชัญญะไป :b49: :b50: :b51:

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้ใช้องค์ของสติสัมปชัญญะไปเสียทีเดียวเลยนะครับ โดยการฝึกองค์ของสติสัมปชัญญะนั้น สามารถฝึกได้ในตอนแรก ก็คือตอนเริ่มต้นก่อนลงสมองคิด หรือเริ่มต้นก่อนลงมือทำงานที่ละเอียดสลับซับซ้อนนั้น ก็จะต้องตั้งสติสัมปชัญญะกำกับกันไว้เสียก่อน :b45: :b44: :b43:

คือรู้เนื้อรู้ตัว และตระหนักรู้กันไว้ก่อนว่า เรากำลังจะเริ่มคิด หรือเริ่มลงมือทำอะไร เพื่อจุดมุ่งหมายและประโยชน์อะไร เป็นบุญหรือเป็นบาป หรือไม่ใช่ทั้งบุญและบาป (สาตถกสัมปชัญญะ) ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุดที่สามารถจัดการได้ (สัปปายสัมปชัญญะ) โดยตั้งจิตไว้ว่าจะไม่วอกแวกเฉไฉออกไปนอกเนื้องานนั้นๆ (โคจรสัมปชัญญะ) :b47: :b48: :b49:

และรู้ชัดในงานที่ทำหรือที่คิดนั้น โดยที่จิตไม่หลงไหลฟั่นเฟือน วอกแวกออกไปที่อื่น (อสัมโมหสัมปชัญญะ) :b50: :b49: :b55:


และอีกจังหวะที่สติสัมปชัญญะได้ออกโรงมาปฏิบัติการ ก็คือเมื่อจิตไหลวอกแวกออกจากเรื่องที่คิดหรือที่ทำ โดยไปคิดหรือทำเรื่องอื่น หรือเหม่อลอยไม่ได้คิดไม่ได้ทำอะไร แล้วเกิดสติสัมปชัญญะขึ้นมาเตือนจิต ดึงจิตให้กลับมาอยู่ในเรื่องที่คิดหรือที่ทำใหม่ :b46: :b47: :b46:

หรือในจังหวะที่คิดไม่ออกทำไม่ได้แล้วพักการคิดการทำไว้ชั่วคราว หรือจิตคิดงานทำงานเสร็จ แล้วจิตถอยออกจากสมาธิมารู้เนื้อรู้ตัวใหม่ คือกลับมามีสติอยู่กับเครื่องรู้ของจิต ไม่ว่าจะรู้ลงในกาย (เช่น กลับมารู้ลงในลมหายใจ) หรือรู้ลงในจิตเอง นิ่งเฉยรู้อยู่ :b50: :b51: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2015, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น สำหรับการฝึกในกรณีที่ ๑.๑ ที่ต้องใช้สมาธิเป็นองค์นำนี้นั้น ผู้ปฏิบัติ ก็จะต้องฝึกให้มีสติสัมปชัญญะก่อนที่จะเริ่มทำงาน :b46: :b47: :b46:

คือรู้เนื้อรู้ตัวกันก่อนว่า เรากำลังจะเริ่มคิด หรือเริ่มลงมือทำอะไร เพื่อจุดมุ่งหมายและประโยชน์อะไร เป็นบุญหรือเป็นบาป หรือไม่ใช่ทั้งบุญและบาป (สาตถกสัมปชัญญะ) ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีที่สุดที่สามารถจัดการได้ (สัปปายสัมปชัญญะ) โดยตั้งจิตไว้ว่าจะไม่วอกแวกเฉไฉออกไปนอกเนื้องานนั้นๆ (โคจรสัมปชัญญะ) และรู้ชัดในงานที่ทำหรือที่คิดนั้นโดยไม่หลงไหลฟั่นเฟือน (อสัมโมหสัมปชัญญะ) :b48: :b49: :b42:

หลังจากนั้นจึงใช้สมาธิที่ฝึกมาเข้มแข็งดีแล้ว เป็นตัวช่วยให้จิตจดจ่อตั้งมั่นลงในแดนงานที่ทำหรือที่คิด :b50: :b49: :b48:

โดยรู้เฉพาะเรื่องที่กำลังทำงาน หรือรู้เฉพาะในเรื่องที่คิด เพื่อให้งานที่ทำหรืองานที่คิด ออกมาดีที่สุด :b49: :b50: :b49:

(ส่วนจะดีที่สุดขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาทางโลก หรือความถนัดทางโลกในเรื่องนั้นๆแล้วละครับ) :b1: :b46: :b39:

แล้วถ้าในขณะที่คิด หรือขณะที่ทำงานนั้นๆอยู่ แล้วจิตเคลื่อน วอกแวกออกจากแดนงาน ก็ให้มีสติสัมปชัญญะและสมาธิ ดึงจิตกลับมารู้ลงในแดนงานนั้นใหม่ :b55: :b54: :b49:

หรือถ้าคิดหรือทำงานไปสักพักแล้วต้องการหยุดพักผ่อน ก็ให้มีสติสัมปชัญญะและสมาธิ กลับมารู้เนื้อรู้ตัว กลับมาพักผ่อนอยู่กับเครื่องรู้ หรือวิหารธรรมของจิต ก่อนที่จะคิด หรือลงมือทำงานนั้นใหม่ :b43: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2015, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับงานชนิดที่ ๑.๒ ซึ่งได้แก่งานที่ผู้ปฏิบัติ ทำงานด้วยตัวคนเดียว และมีใจที่อยากจะทำงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องใช้สมาธิที่มาก ในการคิดหรือในการทำงานนั้น :b46: :b46: :b47:

เราสามารถนำองค์ธรรม คือ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ มาฝึก หรือนำมาใช้งานควบคู่กับไปทั้ง ๓ องค์ธรรมได้เลย โดยที่ไม่มีองค์ธรรมไหนเด่นขึ้นมาจนกลบองค์ธรรมที่เหลือไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

ยกตัวอย่างเช่น เวลาคิดงานง่ายๆ เช่น ท่องสูตรคูณ คิดบวกลบคูณหารเลขง่ายๆ ท่องบทสวดมนต์ ฯลฯ หรือทำงานง่ายๆ เช่น ประกอบชิ้นส่วนหรือคุมเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อน การพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำต้นไม้ ฯลฯ เราสามารถใช้สมาธิออกมาจดจ่อในงานที่ทำหรือที่คิด พร้อมกับการมีสติสัมปชัญญะรู้ว่ากำลังทำหรือกำลังคิดอะไรอยู่ไปพร้อมกันได้เลย :b50: :b49: :b50:

คือรู้ทั้งงานที่ทำหรืองานที่คิด และรู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังทำหรือกำลังคิดไปด้วยกันได้เลยในขณะเดียวกัน :b46: :b47: :b48:

ตรงนี้ก็ให้ผู้ปฏิบัติ ฝึกการใช้งานสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ไปด้วยพร้อมๆกันได้เลยนะครับ จนกระทั่งถึงเวลาพัก หรืองานที่ทำหรือที่คิดนั้น เสร็จสมบูรณ์ จึงค่อยกลับมาอยู่กับวิหารธรรม ซึ่งอาจจะเป็นการรู้กาย เช่น รู้ลมหายใจ หรือรู้ใจ อันได้แก่การรู้ลงในจิตที่นิ่งๆว่างๆอย่างเบิกบานนั้น เพื่อรอการทำงานในครั้งต่อไป :b46: :b39: :b46:

แล้วมาต่อการฝึกสำหรับงานในกรณีที่ ๒ ซึ่งได้แก่ การฝึกในขณะที่ต้องทำงาน หรือต้องคิดงานด้วยตัวคนเดียว แต่มีแรงบีบคั้นจากตารางเวลาที่ต้องให้เสร็จเมื่อนั่นเมื่อนี่ หรือเป็นงานที่น่าเบื่อหน่าย ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการทำงาน หรือเป็นงานที่มีอุปสรรคที่ไม่ได้เกิดจากคน แต่เกิดจากธรรมชาติอื่นๆ จนทำให้เกิดความท้อแท้ในงานได้ง่าย กันในคราวหน้า :b48: :b47: :b49:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2015, 14:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมหากถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว ย่อมได้รับผลตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ จากสภาวะธรรมที่หยาบสู่ละเอียด ซึ่งจะกล่าวถึงสภาวะธรรมระดับที่ละเอียด ดังนี้

1.ปฐมฌาน เป็นภาวะที่จิตดำเนินสู่ความสงัด วิเวก เนื่องจากเป็นภาวะที่นิวรณ์ธรรม ซึ่งเป็นข้าศึกของสมาธิได้ดับลง เกิดภาวะจิตเปลี่ยนแปลงจากการที่จิตเคลื่อนไหวอย่างสับสน เปลี่ยนไปสู่ภาวะเงียบงันชั่วขณะ ที่เรียกว่า “ สงัด” จนต่อมาเกิดภาวะสงบ ระงับ ที่เรียกว่า” วิเวก”
สรุปได้ว่า สุขของปฐมฌานเป็นสุขที่เกิดจากนิวรณ์ธรรมดับลง
ฐานของจิต ปฐมฌานจิตจะมีตำแหน่งอยู่เหนือสะดือ จิตจะทรงตัว สงบ ณ ตำแหน่งนี้ และหากสังเกตให้ดีจะพบว่าจะมีความเหนื่อยล้าเหมือนอยากพัก เกิดร่วมกับความสงบนี้ด้วย ภาวะนี้คือเศษเหลือที่เกิดจากนิวรณ์ธรรมดับลง ภาวะเหนื่อยล้านี้ คือภาวะทุกขังที่ปรากกฎในปฐมฌาน นอกจากนี้ตำแหน่งหัวใจหรือหทัยวัตถุ จะมีแรงครอบงำหนาแน่นมาก แรงนี้คือเหตุที่ทำให้ปฐมฌานทรงอยู่ได้ และถ้าตัวรู้ยังทำงานต่อเนื่อง แต่ถ้าตัวรู้อ่อนกำลังลงนิวรณ์ธรรมก็จะค่อยๆกลับมา จึงขึ้นอยู่กับกำลังสติและสมาธิที่เกื้อหนุน ซึ่งสิ่งนี้สำหรับปถุชนก่อนบรรลุยังต้องมีสมาธิถึงระดับปฐมฌานเป็นบาทมรรควิถีและภายหลังเป็นอริยชนขั้นต้นที่บรรลุโสดาบันโดยสมาธินำปัญญา การละสักกายะทิฏฐิ แล้ว จะทำให้นิวรณ์ออ่นกำลังลง จึงง่ายต่อการเข้าฌาน และสามารถเข้าผลสมาบัติได้ แต่หากเป็นประเภทปัญญานำสมาธิจะได้ปฐมฌานขณะจิตตอนมรรควิถี หลังจากนั้นอาจเข้าฌานไม่ได้ จึงเข้าผลสมาบัติไม่ได้จนกว่าระดับสมาธิจะพัฒนาขึ้นไปอีก
ผู้ได้ลักขณูณิชฌานจะสัมผัสได้ว่าภาวะฌานยังมีทุกข์ซ่อนอยู่ จากความยึดถือในการดำรงฌาน ซึ่งก็คือแรงที่ครอบคลุมหทัยวัตถุ(ที่ตำแหน่งหัวใจ) ซึ่งแรงนี้จะมีทุกฌาน จึงสรุปได้ว่าในความสุขก็จะมีความทุกข์ซ่อนหรือกำกับอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 14:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิปัสสนาในฌาน ทำได้ 2 แนวทางคือ
1 การไม่ใช้เจตนาร่วม เป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 แบบธรรมชาติ กล่าวคือ เป็นการรู้รูปนามที่ละเอียดอย่างเป็นธรรมชาติ รูปที่ละเอียดที่เป็นปรากฏการณ์ของร่างกายได้แก่ อาการวูบวาบของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 4 ส่วนนามละเอียด ได้แก่ การรู้สภาพธรรมของ ปิติ สุข เอกคตารมณ์ การรู้แบบธรรมชาติคือ สภาวธรรมใดปรากฏก็รู้ ความเกิดดับของสภาพธรรมต่อเนื่องกันไป การรู้จะไม่มีเจตนามั่นหมายว่าจะรู้อะไร การปฏิบัติลักษณะนี้สมาธิที่เกิดจะค่อยเป็นค่อยไป จนสุขุม สมาธิแต่ละระดับจะเป็นไปอย่างช้าๆ(ช้าแต่มั่นคง) การเจริญวิปัสสนาในฌานไม่ใช้เจตนาร่วมนี้ เหมาะสำหรับผู้มีปัญญานำสมาธิ หากเปรียบวิธีนี้กับการกำจัดสิ่งสกปรกของพื้นบ้าน ก็เป็นการใช้ไม้กวาดละเอียด(สมาธิไม่มาก) ถ้าสิ่งสกปรกมีขนาดใหญ่ (นิวรณ์) จะทำได้ยาก ต้องทำต่อเนื่อง แต่หากผ่านนิวรณ์ได้แล้วจะทำได้ดี
2 การใช้เจตนาร่วม เป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 แบบไม่ติดในสองส่วน เหมาะสำหรับผู้มีสมาธินำปัญญา เพราะผู้มีสมาธิมาก หากรู้แบบธรรมชาติคือ การตามรู้ความเกิดดับของสภาพธรรมต่อเนื่องกันไป จะทำให้อึดอัด เนื่องจากการใช้จิตที่ยึดแนบแน่นไปรู้รูปนามเพื่อแยกรูปแยกนาม ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นผู้มีสมาธิมากจึงต้องคลายสมาธิลงเป็นปกติก่อน จึงใช้รู้ที่คลายความยึดถือไปรู้รูปนามต่อไป แต่หากยังไม่สามารถรู้รูปนามแบบธรรมชาติได้ โดยวิเคราะห์จากเมื่อผ่อนสมาธิแล้วพอไปจับลมหายใจ หรือรูปนามแล้วยังมีอาการมึน ปวดศรีษะ แสดงถึงจิตที่ใช้รู้ยังไม่เป็นกลางหรือเป็นธรรมชาติพอ ต้องปรับใหม่อีก สำหรับการแก้ไขจิตที่ไม่เป็นกลางจะกล่าวในโอกาสต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

ในส่วนของการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ สำหรับการทำงานในกรณีที่ ๒ ซึ่งได้แก่ การฝึกในขณะที่ต้องทำงาน หรือต้องคิดงานด้วยตัวคนเดียว แต่มีแรงบีบคั้นจากตารางเวลาที่ต้องให้เสร็จเมื่อนั่นเมื่อนี่ โดยที่ไม่สามารถจะเลื่อนเส้นตายออกไปได้ :b47: :b48: :b47:

หรือเป็นงานที่น่าเบื่อหน่าย ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการทำงาน :b50: :b49: :b48:

หรือเป็นงานที่มีอุปสรรคจากธรรมชาติอื่นๆนอกเหนือจากคน ที่มากจนทำให้เกิดความท้อแท้ในงานได้ง่ายๆ :b48: :b49: :b41:

จะเห็นได้ว่า อุปสรรคของการฝึกในกรณีที่ ๒ นี้ก็คือ กรณีที่ถูกจำกัดด้วยเวลา จิตต้องทำงานแบบเร่งรีบทำเพราะมีแรงบีบคั้นในเรื่องเวลาเข้ามาเป็นอุปสรรค หรือถ้าเป็นงานที่น่าเบื่อ จิตจะไม่มีแรงจูงใจให้สามารถทำงานด้วยตัวจิตเอง ต้องอาศัยกำลังใจเป็นตัวผลักดันให้ต้องฝืนทำ หรือถ้าเป็นงานที่มีอุปสรรคจากธรรมชาติมาก จิตจะมีเรี่ยวแรงทำในช่วงแรก แต่เรี่ยวแรงนั้นจะค่อยๆฝ่อลงไปเมื่อมีอุปสรรคเข้ามาบั่นทอนกำลังใจลงไปเรื่อยๆ :b50: :b55: :b49:

ว่ากันในกรณีที่มีแรงบีบคั้นจากเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยงานในลักษณะนี้ นอกจากองค์ของสัมปชัญญะทั้ง ๔ ที่ต้องมีตั้งแต่ตอนแรกเพื่อให้รู้ว่ากำลังทำอะไร เป็นกุศลหรืออกุศล ฯลฯ และองค์ของสมาธิ ที่จะต้องตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในแดนงานแล้ว ผู้ปฏิบัติยังต้องมีองค์ของสติ เป็นตัวคอยเตือนให้ระลึกรู้ในเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนั้นด้วยขณะทำงาน :b55: :b54: :b48:

และสิ่งที่จะแทรกเข้ามาในจิตระหว่างทำงานก็คือ ความกังวลว่างานนั้นจะเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา และผลเสียที่ตามมาถ้าทำงานไม่เสร็จ โดยความกังวลที่ว่า ก็จะพัฒนาไปเป็นความร้อนรน กระวนกระวาย และเสียสมาธิในการทำงาน ซึ่งจะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่หมดลงไปเรื่อยๆ
:b47: :b46: :b47:

โดยแนวทางช่วยเหลือวิธีหนึ่ง ที่นักจิตวิทยาได้ให้ไว้ในการลดแรงกดดันก็คือ ให้นึกถึงกรณีเลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น (worst case scenario) ว่า ถ้าไม่ทันเวลาจริงๆแล้ว ความเสียหายจะกว้างขวางและรุนแรงแค่ไหน :b47: :b48: :b46:

ซึ่งถ้ายังอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้ หรือยังมีวิธีแก้ไขความเสียหายที่ตามมานั้น ก็จะทำให้เราคลายกังวลลงได้ระดับหนึ่ง และความกังวลนั้นก็จะเข้ามาเป็นอุปสรรครบกวนสมาธิได้น้อยลงไปในการทำงานให้สำเร็จตามกำหนดเวลา :b47: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าจะใช้วิธีของพระบรมครูเข้ามาช่วย ตามประสบการณ์ที่เคยฝึกมาแล้วนะครับ อย่างน้อยมี ๔ วิธีที่ใช้ได้ผลดี ก็คือ :b46: :b47: :b46:

๑) กรรมฐานในหมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b42:

๒) กรรมฐานในหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b39:

๓) กรรมฐานในหมวด สัจจบรรพ ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน :b40:

๔) การระลึกถึงอนัตตสัญญาที่เคยผ่านมา
:b44:


ซึ่งทั้ง ๔ วิธีนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการลดความกังวล ลดความร้อนรนลงแล้ว แต่สิ่งที่ได้มากกว่าก็คือ สามารถทำให้เห็นถึง และยอมรับได้ในความเป็นจริงของกฏธรรมชาติ อันได้แก่กฏแห่งสามัญลักษณะ และกฏแห่งอริยสัจจ์ ซึ่งจะว่ารวมๆแล้วก็คือ กฏแห่งเหตุปัจจัย อันนำไปสู่หนทางในการพ้นกังวล พ้นทุกข์ได้อย่างถาวรในที่สุด :b48: :b51: :b50:

(ตรงนี้พูดถึงกรณีปุถุชน อริยบุคคลในระดับโสดาบัน และอริยบุคคลในระดับสกทาคามี ที่ยังมีความกังวลกันได้นะครับ ที่เหนือขึ้นไปกว่านั้นคืออริยบุคคลในระดับอนาคามีและพระอรหันต์นั้น ไม่ต้องมาปฏิบัติหรือฝึกอะไรตรงนี้กันอีกแล้ว เนื่องจากปฏิฆะสังโยชน์ได้ถูกตัดขาดลงแล้วแบบถอนราก ทำให้โทสะทุกชนิด ซึ่งรวมถึงความกังวลต่างๆนั้น ไม่ปรากฏขึ้นมาในจิตได้อีก จิตจะเห็นปัญหาหรืออุปสรรคดังกล่าว เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย ที่กำลังไหลเลื่อนเคลื่อนไปกับกาลเวลา เพียงเท่านั้น) :b54: :b48: :b49:

ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องขับรถด้วยตัวคนเดียวเพื่อไปให้ทันตามนัดหมายสำคัญแล้วเกิดรถติดขึ้นมา จนต้องควักเอาวิชาในการขับรถซอกแซกซอกซอนไปตามตรอกซอกซอยที่เป็นทางลัด หรือแทรกเบียดในพื้นที่ช่องว่างต่างๆที่เปิดโอกาสให้ขับไปได้บนท้องถนน โดยไม่เกิดอุบัติเหตุหรือโดนบีบแตรด่า :b51: :b50: :b49:

ซึ่งความกังวล ความร้อนรนที่แทรกเข้ามาว่าจะไปไม่ทันตามนัดหมาย มักจะผุดพรายขึ้นมาบีบคั้นจนเป็นความทุกข์ขึ้นมาในจิต ทำให้ไม่สามารถมีสติ มีสัมปชัญญะ และมีสมาธิที่จะรักษาความผ่อนคลาย ความสงบเยือกเย็นเป็นอุเบกขาในการขับรถขึ้นมาได้ :b46: :b42: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาว่ากันถึงการฝึกปฏิบัติในวิธีที่ ๑ ได้แก่จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานกันก่อนนะครับ ซึ่งกรณีนี้ ได้แก่การมีสติระลึกรู้ในความเป็นคู่ขององค์ธรรมที่เกิดตามกันขึ้นมาในจิต :b41: :b42: :b43:

ซึ่งก็คือ เมื่อจิตมีความกังวลที่จะไปไม่ทันตามนัด (ซึ่งเป็นโทสะชนิดหนึ่ง) ก็ให้มีสติระลึกรู้ว่าจิตมีความกังวลว่าจะไปไม่ทันตามนัด (หรือก็รู้ว่า มีโทสะขึ้นในจิต) :b47: :b48: :b47:

และหลังจากที่จิต เกิดการระลึกรู้ว่าจิตมีความกังวล โดยถ้ารู้ได้อย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะเกิดตามกันขึ้นมาติดๆก็คือ ความกังวลจะดับหายไปชั่วขณะ ในช่วงที่มีสติ เข้าไป "ตามระลึกรู้" ได้ในอาการกังวลที่เกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:

ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นโอกาสทอง ให้ผู้ปฏิบัติสามารถสังเกตเห็นได้ในอีกอาการอันเป็นคู่กันแห่งจิต ได้แก่อาการของความกังวลที่ดับหายไป :b48: :b49: :b50:


นั่นก็คืออาการที่จิตปราศจากความกังวล หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศความกังวล หรือจิตปราศจากจากโทสะ ตามคำของพระบรมครูที่ปรากฏในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในท่อนที่ว่า "จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ" นั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b47:

(แต่จะมีการปฏิบัติในบางกรณีที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถระลึกรู้ได้ในฝั่งเดียว ซึ่งก็คือ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ ซึ่งในกรณีนี้ จะเกิดขึ้นได้บ่อยๆในขั้นสกทาคามีที่โทสะเบาบางลงไปมากแล้ว หรือในขั้นอนาคามีที่ไม่มีโทสะเหลืออยู่ และมีสติเกิดระลึกรู้ได้เกือบตลอดเวลาในสภาวะที่จิตเป็นกลาง คือจิตเป็นอุเบกขาซึ่งไร้โทสะ .. เอาไว้ไปว่ารายละเอียดกันอีกทีในภาคส่วนของมหาสติปัฏฐานสูตรในช่วงอธิปัญญาสิกขาแล้วกันนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ พระบรมครูยังทรงให้พิจารณาความไม่เที่ยงแห่งธรรมที่เกิดขึ้นในจิตต่อไปอีก อันได้แก่ พิจารณาให้เห็นการเกิดขึ้นของความกังวล หรือพิจารณาเห็นความเสื่อมไปของความกังวล หรือพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของความกังวล ตามคำของพระบรมครูในมหาสติปัฏฐานสูตรในท่อนท้ายที่ว่า "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง" :b8: :b46: :b39:

ตรงนี้ขออธิบายคำว่า "พิจารณา" ที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรท่อนนี้สักหน่อยนะครับ :b1: :b46: :b39:

ก่อนจะอธิบาย ขอเท้าความกลับไปถึงขั้นตอนในการทำความเข้าใจในธรรมกันสักเล็กน้อย :b48: :b49: :b48:

โดยกระบวนการที่จะทำให้เกิดความเข้าใจจนซาบซึ้งในธรรมนั้น จากอาการเริ่มเห็นการก่อกำเนิดขององค์ธรรมหรือกระบวนธรรม (see) จนกระทั่งมองเห็นองค์ธรรมแล้ว (look) และเริ่มเฝ้าดูกระบวนธรรม (watch) :b46: :b47: :b46:

จนกระทั่งสังเกตเห็นได้ในปรากฏการณ์ (notice) ไปหลายๆครั้งจนเริ่มเกิดปัญญาคือความเข้าใจในธรรม (understand) ซึ่งก็คือธรรมชาติแห่งองค์ธรรมหรือธรรมชาติแห่งกระบวนธรรมไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่ความตระหนักรู้ในธรรม (realize) :b48: :b49: :b50:

จนกระทั่งสุดท้ายก็คือ เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือในระดับ ซาบซึ้งถึงจิตถึงใจ (appreciate) ในธรรม คือธรรมชาติแห่งองค์ธรรม หรือธรรมชาติแห่งกระบวนธรรมนั้น นั่นเอง :b46: :b47: :b46:


(เริ่มเห็น --> มองเห็นแล้ว --> เฝ้าดู --> สังเกตได้ --> เริ่มเกิดปัญญาเข้าใจ --> ตระหนักรู้ --> ซาบซึ้งถึงใจ)
(see --> look --> watch --> notice --> understand --> realize --> appreciate)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งขั้นตอนของพระสูตรในประโยคที่ว่า "จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ" ตรงนี้ เป็นแค่กระบวนการของจิต ที่ใช้สติ เข้าไประลึกรู้ หรือเริ่มเห็น (see) การก่อกำเนิดขององค์ธรรม จนมองเห็น (look) การปรากฏขององค์ธรรม นั่นคือ โทสะ ว่ามี หรือ ไม่มี แค่นี้เองนะครับ :b1: :b46: :b39:

ส่วนขั้นตอนต่อมา คือในส่วนที่ว่า "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง" :b49: :b50: :b49:

ตรงนี้เริ่มเข้าสู่ขบวนการเริ่มเฝ้าดูกระบวนธรรม (watch) จนสังเกตเห็นได้ในปรากฏการณ์ (notice) ของกระบวนธรรม ซึ่งได้แก่อาการเกิดขึ้น อาการเสื่อมไป หรือกระบวนธรรมทั้งหมด คือทั้งอาการเกิดขึ้นและอาการเสื่อมไป แห่งองค์ธรรม คือตัวโทสะนั้น นั่นเอง :b48: :b47: :b46:

ซึ่งการเฝ้าดูจนสังเกตเห็นได้ในปรากฏการณ์ตรงนี้ ก็จะนำเข้าสู่ตัวปัญญาในระดับแรก ซึ่งได้แก่ความเข้าใจ (understand) ในองค์ธรรม หรือในกระบวนธรรมว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามธรรมชาติ เช่นนั้นเอง :b46: :b47: :b48:


และที่ว่ามานี้ ก็คือข้อสรุปของคำว่า "พิจารณา" ในพระสูตรนั่นเอง ซึ่งรวมๆคือขั้นตอนการเฝ้าดูจนสังเกตได้และเข้าใจในองค์ธรรม หรือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้น :b48: :b49: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อผู้ปฏิบัติ ได้เฝ้าดู (watch) จนสังเกตเห็น (notice) และเริ่มเข้าใจ (understand) ได้ในการเกิดขึ้นและเสื่อมไปของโทสะ (หรือองค์ธรรมอื่นๆ เช่น โลภะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ที่ปรากฏในพระสูตร) ไปเรื่อยๆ ก็จะเริ่มตระหนักรู้ (realize) ในความไม่เที่ยงขององค์ธรรมที่ปรากฏขึ้นในจิต :b46: :b47: :b46:

จิตจะเริ่มเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จนกระทั่งเกิดปัญญาในระดับโลกุตระ คือความซาบซึ้งถึงใจในสามัญลักษณะขององค์ธรรมที่ปรากฏขึ้นในจิต จนกระทั่งละคลายอุปาทานในขันธ์ คือไม่ถือมั่นอะไรๆในโลกได้เองนะครับ ตามคำของพระบรมครูที่ทรงปิดท้ายไว้ในทุกบรรพของสติปัฏฐานที่ว่า :b47: :b48: :b47:

"อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย .. เวทนา .. จิต .. ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย .. เวทนาในเวทนา .. จิตในจิต .. ธรรมในธรรมอยู่ ฯ" :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในกรณีจิตตานุปัสสนานี้ หมายถึงการเห็นอนัตตาในจิต เห็นจิตเพียงแค่สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าระลึก คือรู้ว่าจิตเป็นเพียงแค่ธาตุรู้ และมีเจตสิกอันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามเหตุปัจจัย โดยเห็นเป็นแค่กระบวนธรรมที่ไม่มีบุคคลตัวตนเราเขาอยู่ในจิต :b46: :b42: :b46:

นั่นคือการเห็นที่วิเศษ เพื่อให้เกิดกระบวนการละอุปาทานในจิตและในองค์ธรรมที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก :b49: :b50: :b51:


โดยที่เราเรียกการปฏิบัติ ที่เริ่มตั้งแต่เห็น จนกระทั้งมีผลให้ซาบซึ้งถึงจิตถึงใจในองค์ธรรมและไตรลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นในจิตนี้ว่า จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐานนั่นเอง :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปในการปฏิบัติตรงนี้ก็คือ เมื่อจิตมีความกังวลว่าจะไปไม่ทันตามนัดเกิดขึ้น ก็ให้มีสติระลึกรู้ว่า "จิตมีความกังวล (โทสะ) ก็รู้ว่าจิตมีความกังวล (โทสะ), จิตปราศจากความกังวล (โทสะ) ก็รู้ว่าจิตปราศจากความกังวล (โทสะ)" :b46: :b46: :b47:

มีสัมปชัญญะและสมาธิอันตั้งมั่น เห็นและรู้ชัดในธรรมอันแสดงอนิจจลักษณะ ซึ่งได้แก่ "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น (ของความกังวล) ในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม (ของความกังวล) ในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม (ของความกังวล) ในจิตบ้าง" :b49: :b50: :b51:

ถ้าผู้ปฏิบัติ เห็นและพิจารณาเช่นนี้ทุกครั้งที่ความกังวลเกิดขึ้นในขณะขับรถ ณ.ช่วงเวลานั้น ความกังวลนั้นก็จะเกิดขึ้นถี่น้อยลง และแต่ละครั้งก็กินระยะเวลาสั้นลงไปเรื่อยๆได้เองนะครับ :b1: :b46: :b39:

นอกจากนี้แล้ว การสะสมปัญญาด้วยการเห็นและพิจารณาเช่นนี้ไปเรื่อยๆกับสภาวะแห่งโทสะ และสภาวะอื่นๆที่พระบรมครูได้ทรงกล่าวไว้ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานสูตร เช่น สภาวะแห่งราคะ สภาวะแห่งโมหะ สภาวะแห่งความหดหู่ สภาวะแห่งความฟุ้งซ่าน ฯลฯ ก็จะส่งผลให้เห็นอนัตตา ละอุปาทาน จนเกิดปัญญาในระดับโลกุตระขึ้นได้เองในเวลาไม่ช้าไม่นานอีกด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

นั่นคือจะเกิดความตระหนักรู้ จนระทั่งซาบซึ้งถึงใจในความไม่เที่ยง เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จนจิตตั้งมั่นเป็นกลาง รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ไม่มีตัวตนของผู้เข้าไปรู้ไปเห็น และสิ่งที่รู้ที่เห็น คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ก็ด้วยเหตุปัจจัย
:b47: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นได้แก่การเข้าไปเห็นถึงอนัตตา เพื่อลดละอุปาทานในขันธ์ ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก ตามคำของพระบรมครูในพระสูตร จนเข้าสู่ขบวนการพ้นทุกข์เป็นขั้นเป็นลำดับไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วเมื่อนั้น การทำงานทำการที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่จำกัดเข้ามาบีบคั้น หรืออุปสรรคใดๆเข้ามาปิดกั้นความสำเร็จ ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะจิตรับรู้และซาบซึ้งถึงใจในเรื่องของอนัตตา ซึ่งก็คือเรื่องของเหตุและปัจจัย หามีตัวตนผู้แบกรับปัญหาใดๆไม่ :b49: :b50: :b49:

และการทำงานเช่นการขับรถเพื่อไปให้ทันตามนัด ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องมุ่งทำตามเหตุปัจจัย คือเผื่อเวลารถติดให้มากขึ้นอีกสักหน่อย หรือถ้าเผื่อแล้วก็ทำท่าว่าจะยังไปไม่ทันอีก จิตก็จะมุ่งแต่การทำเหตุปัจจัยให้ดีที่สุด คือการขับรถซอกแซกให้ถึงจุดหมายได้เร็วและปลอดภัยที่สุด โดยไม่มีจิตไปคิดกังวลว่าจะไปไม่ทัน หรือไปคิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นมาหากไปสาย ซึ่งทำให้ใจไม่โดนบีบคั้นจนเป็นทุกข์ขึ้นมาได้อีกนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งพอจิตมีสัมมาทิฏฐิ สามารถวางใจลงได้อย่างนี้ การทำงานก็จะทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง จิตใจก็จะเบิกบานเบาสบาย ไม่ต้องไปห่วงไปกังวลกับผล เพราะตระหนักรู้จนซาบซึ้งถึงใจดีแล้วว่า ผลนั้นก็จะดำเนิน และเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง
:b48: :b47: :b46:

แล้วมาต่อกันในส่วนของการฝึกในวิธีที่ ๒ ซึ่งได้แก่กรรมฐานในหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานกันในคราวหน้า :b48: :b49: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2015, 08:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังอยากรู้เรื่อง เวทนานุปัสสนาเลยครับ
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 77, 78, 79, 80, 81, 82, 83 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร