วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 22:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 46, 47, 48, 49, 50, 51, 52 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 14:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
smiley
สวัสดีครับคุณเอก้อน
อ่านดูจากลิ้งค์ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำพูดถึงอารมณ์พระโสดาบัน ก็ดูยังไม่ละเอียดพอในเรื่องของการเข้าสัมผัสรสแห่งพระนิพพานของพระโสดาบันนะครับเป็นการพูดลักษณะกว้างๆตามสังโยชน์ 3 แต่ไม่เจาะลึก คุณเอก้อนจะเอามาตัดสินว่าพระโสดาบันยังไม่สัมผัสนิพพานนั้นน่าจะไม่ใช่นะครับ


:b27:


แม้ใครจะเห็นว่าไม่ละเอียด แต่มันก็มีข้อมูลมากพอที่จะให้ผู้อ่านได้ ฉุกคิด

สังโยชน์ เป็นสิ่งที่เกิดประกอบอยู่กับจิตรึเปล่าล่ะ ...
สังโยชน์ ละได้เพียง 3 ยังเหลืออีก 7

นิพพาน นิพพานที่จิตรึเปล่า ...

:b6: :b6: :b6:

จิตที่เป็นนิพพาน ประกอบด้วยเจตสิกยังไง...
ท่านอโศกะผู้รู้จักจิตนิพพานช่วยอธิบายหน่อย

จิตอันเป็น นิพพาน จะประกอบด้วยสังโยชน์ที่เหลืออีก 7 ตัวปะปนอยู่ได้ด้วยเหร๋อ

:b6: :b6: :b6:

:b38:
ก่อนที่โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลจะเกิดนั้น จิตของผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาจะเจริญขึ้นมาถึงญาณที่ 10 คือสังขารุเปกขาญาณ สังขารความปรุงแต่งนึกคิดเป็นอุเบกขาไปชั่วคราว ช่วงตอนนั้นจิตเป็นอนัตตาล้วนๆไม่มีอนิจจังทุกขัง หมดปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง กิเลส อนุสัย สังโยชน์ทั้งหลายทั้งหมดก็ออกฤทธิ์ไม่ได้ เป็นความสงบสุดยอดจนบางท่านเรียกตรงนี้ว่า "นิพพานหลอก" ธรรมต่างๆที่บำเพ็ญมาจะมารวมเป็นหนึ่งต่อจากนี้ ท่านเรียกว่า "อนุโลมญาณ" หรือ "มรรคสมังคี" เป็นกำลังส่งต่อให้เกิด โคตรภูญาณ มรรคญาณ ผลญาณ แล้วเข้าสู่นิพพาน

จึงไม่มีสังโยชน์ตัวใดมากั้นขวางโสดาปัตติมรรคได้ เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นแล้วสังโยชน์ตัวแรกคือ สักกายทิฏฐิตาย หลังปัจจเวกขณญาณเกิด วิจิกิจฉาและสีลัพพัตปรามาสตาย เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนเรียงกันไปตามลำดับ

เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ตามตรรกะแต่รู้ได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา และธรรมวิจัยสัมโพชงค์ครับ

จิตที่เป็นนิพพานไม่มีเจตสิกเพราะนิพพานเป็นธรรมธาตุ เหนือจิต เจตสิก รูป
ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ต่อเมื่อปัจจเวกหรือธรรมวิจัยภายหลังครับ

:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

:b38:
ก่อนที่โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลจะเกิดนั้น จิตของผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาจะเจริญขึ้นมาถึงญาณที่ 10 คือสังขารุเปกขาญาณ สังขารความปรุงแต่งนึกคิดเป็นอุเบกขาไปชั่วคราว ช่วงตอนนั้นจิตเป็นอนัตตาล้วนๆไม่มีอนิจจังทุกขัง หมดปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง กิเลส อนุสัย สังโยชน์ทั้งหลายทั้งหมดก็ออกฤทธิ์ไม่ได้
:b36:


:b1: ...ท่านว่าเป็นการอธิบายที่แปลกมั๊ย

อุเบกขาจิต ก็เป็นอนัตตาอยู่แล้ว
แล้วไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง ได้ไง

:b5:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 16:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 15:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
จึงไม่มีสังโยชน์ตัวใดมากั้นขวางโสดาปัตติมรรคได้ เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นแล้วสังโยชน์ตัวแรกคือ สักกายทิฏฐิตาย หลังปัจจเวกขณญาณเกิด วิจิกิจฉาและสีลัพพัตปรามาสตาย เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนเรียงกันไปตามลำดับ

เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ตามตรรกะแต่รู้ได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา และธรรมวิจัยสัมโพชงค์ครับ

จิตที่เป็นนิพพานไม่มีเจตสิกเพราะนิพพานเป็นธรรมธาตุ เหนือจิต เจตสิก รูป
ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ต่อเมื่อปัจจเวกหรือธรรมวิจัยภายหลังครับ
:b36:


ถ้าไม่มีสังโยชน์ใดมาขวาง จะทะลุไปอรหันต์จิตได้

คุณจะ Touching จิตอรหันต์ รู้วาระอารมณ์จิตอรหันต์
แล้วกลายเป็นตกมาอยู่เป็นผู้เดินอยู่ในกระแสได้ไง

เหมือนกับว่าถ้าคุณเคยไปสัมผัสทะเลตรังแล้ว
เมื่อต้องระลึกถึงอารมณ์ที่ได้สัมผัสทะเลตรังมาแล้วนั้น คุณย่อมทำได้

แล้วกลับมาเดินอยู่ในอารมณ์ทะเลประจวบได้อย่างไร

:b1:

นี่เอกอนไม่ได้ใช้หลักอะไรซับซ้อนเลยนะ
แค่ใช้หลัก ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แค่นั้น

ซึ่งสิ่งที่ถูกรู้ กับ เจตสิก จะมีความสืบเนื่องสัมพันธ์กัน

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 17:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 16:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านเพลิน ๆ ไปตามประสาประดับความรู้เรื่องจิต

จริง ๆ เอกอนยังไม่ได้อ่านเหมือนกัน...ก็อ่านไปพร้อม ๆ กันนี่ล่ะ :b1:

จิตตสังเขป
โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์
http://www.dhammastudy.com/thpar14.html

บทที่ ๑๓

จิตต่างกันโดยสัมปยุตตธรรมที่เป็น "เหตุ" สภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมนั้นจะเกิดขึ้นมาเองลอยๆ โดยไม่อาศัยปัจจัยอะไรเลยไม่ได้ ปรมัตถธรรมที่เป็นสังขารธรรม มี ๓ คือ จิต เจตสิก รูป จิตอาศัยเจตสิกเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้น และจิตบางดวงก็อาศัยเจตสิกและรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และรูปบางรูปก็อาศัยจิตและเจตสิกและรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้น ฉะนั้น จิตต่างกันโดยเหตุ คือ จิตบางดวงก็เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุ และจิตบางดวงก็เกิดร่วมกับเจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ ปรมัตถธรรมที่เป็นเหตุนั้น ได้แก่เจตสิก ๖ ดวง เท่านั้น คือ

โลภเจตสิกเป็นโลภเหตุ ๑
โทสเจตสิกเป็นโทสเหตุ ๑
โมหเจตสิกเป็นโมหเหตุ ๑
รวมเป็นอกุศลเหตุ ๓

อโลภเจตสิกเป็นอโลภเหตุ ๑
อโทสเจตสิกเป็นอโทสเหตุ ๑
ปัญญาเจตสิกเป็นอโมหเหตุ ๑
รวมเป็นโสภณเหตุ ๓

นอกจากเจตสิก ๖ ดวงนี้แล้ว สภาพธรรมอื่นทั้งหมดไม่ใช่เหตุปัจจัย เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับจิตต่างก็เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่เหตุปัจจัย คือ ไม่ใช่เป็นปัจจัยโดยเป็นเหตุ เพราะเหตุปัจจัยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในสภาพธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยต่างๆ กันถึง ๒๔ ปัจจัย (โดยประเภทปัจจัยใหญ่ใหญ่ๆ) เจตสิก ๖ ดวงที่เป็นเหตุนั้น อุปมาเหมือนกับรากแก้วของต้นไม้ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นไม้นั้นเจริญสมบูรณ์งอกงาม มีดอกมีผลมากมายฉันใด เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ เหตุนี้ เมื่อเกิดขึ้นก็ทำให้สภาพธรรมทั้งหลายเจริญงอกงามและผลิตผลต่างๆ เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยังมีกุศลเหตุและกุศลเหตุ เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วดับทั้งอกุศลเหตุและกุศลเหตุ อโลภเจตสิกและอโทสเจตสิกและปัญญา (อโมห) เจตสิก ที่เกิดกับจิตของพระอรหันต์ จึงเป็น อัพยากตเหตุ คือ ไม่ใช่อกุศลเหตุและกุศลเหตุ

สภาพธรรมที่เป็นอัพยากตธรรมนั้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล ฉะนั้น วิบากจิต กิริยาจิต วิบากเจตสิก กิริยาเจตสิก รูป และนิพพานจึงเป็นอัพยากตธรรม เพราะไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล
เหตุ ๖ จำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ

อกุศลเหตุ ๓ ได้แก่ โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑
โสภณเหตุ ๓ ได้แก่ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑

ควรสังเกตว่าไม่ใช้คำว่า กุศลเหตุ ๓ แต่ใช้คำว่าโสภณเหตุ ๓ เพราะกุศลเหตุเป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบากซึ่งเป็นผล แต่โสภณเหตุซึ่งเป็นเหตุที่ดีนั้นเกิดกับกุศลจิตก็ได้ กุศลวิบากจิตก็ได้ และโสภณกิริยาจิตก็ได้ โสภณเหตุจึงไม่ได้เกิดแต่เฉพาะกับกุศลจิตเท่านั้น

ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เมื่อกล่าวโดยเหตุ
จิต ไม่ใช่เหตุ
เจตสิก ที่เป็นเหตุมีเพียง ๖ เจตสิกอื่นทั้งหมด (๔๖ เจตสิก) ไม่ใช่เหตุ
รูป ไม่ใช่เหตุ
นิพพาน ไม่ใช่เหตุ

ธรรมที่ไม่ใช่เหตุนั้น ภาษาบาลีเรียกว่า นเหตุ ฉะนั้นธรรมทั้งหลายจึงจำแนกเป็นหมวด ๒ ได้คือ เหต ุและ นเหตุ

เจตสิก ๖ ดวงเป็นเหตุ จิต รูป นิพพาน และเจตสิกอื่น ๔๖ ดวง เป็นนเหตุ
จิต และเจตสิก ๔๖ ดวงเป็นเหตุ คือไม่ใช่เหตุ แต่จิตและเจตสิกบางดวงก็มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย จิตและเจตสิกบางดวงก็ไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย จิตและเจตสิกใดที่ไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ดวงเกิดร่วมด้วยเลย จิตและเจตสิกนั้นเป็นอเหตุกจิตและอเหตุกเจตสิก จิตและเจตสิกใดมีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย จิตและเจตสิกนั้นเป็นสเหตุกจิตและสเหตุกเจตสิก

จักขุวิญญาณที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏนั้นมีเจตสิกเกิดกับจักขุวิญญาณเพียง ๗ ดวง คือ ผัสสเจตสิก ทำกิจกระทบรูปารมณ์ที่กระทบจักขุปสาท เวทนาเจตสิก ทำกิจรู้สึกเฉยๆ เป็น อุเบกขเวทนา (อทุกขมสุข) สัญญาเจตสิก ทำกิจทำรูปารมณ์ เจตนาเจตสิก ทำกิจจงใจ ตั้งใจ ขวนขวาย กระตุ้นจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกันให้สำเร็จกิจนั้นๆ ชิวิตนทริยเจตสิก ทำกิจบำรุงเลี้ยงสหชาตธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลายให้ดำรงอยู่ในฐิติขณะ เอกัคคตาเจตสิก ทำกิจตั้งมั่นในอารมณ์ที่ปรากฏ มนสิการเจตสิก ทำกิจใส่ใจในรูปารมณ์นั้น เจตสิก ๗ ดวงนี้ไม่ใช่เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ฉะนั้น จักขุวิญญาณจิตจึงเป็นอเหตุกจิต ส่วนโลภมูลจิตที่เกิดหลังจากจักขุวิญญาณนั้นมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ คือ มีโลภเจตสิก สภาพที่พอใจติดข้องในสิ่งที่ปรากฏเกิดร่วมด้วย และมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิตจึงเป็นสเหตุกจิต
เมื่อกล่าวโดยเหตุ ธรรมทั้งหลายจำแนกได้เป็น ๒ หมวด คือ เหตุและนเหตุ สเหตุกะและอเหตุกะได้ ดังนี้ คือ

นิพพานและรูป เป็น นเหตุ และอเหตุกะ
จิต เป็น นเหตุ และบางดวงเป็นสเหตุกะ บางดวงเป็นอเหตุกะ
เจตสิก ๔๖ เป็น นเหตุ และบางดวงเป็นสเหตุกะ บางดวงเป็นอเหตุกะ เจตสิก ๖ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก เป็นเหตุ และเป็น สาเหตุกะ เว้นโมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิต เพราะโมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกะ

โลภเจตสิกเป็นสเหตุกะ เพราะต้องมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ถ้าโมหเจตสิกไม่เกิด โลภเจตสิกก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้น โลภเจตสิกจึงเป็นสเหตุกะ เพราะมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

โทสเจตสิกก็เป็นสเหตุก โดยนัยเดียวกับโลภเจตสิก

โมหเจตสิกที่เกิดกับโลภเจตสิกในโลภมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโลภเจตสิกซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย
โมหเจตสิกที่เกิดกับโทสเจตสิกในโทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโทสเจตสิกเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย
โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกะ เพราะไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ผัสสเจตสิกเป็นนเหตุ แต่ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ถ้าจิตดวงใดเกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุหนึ่งเหตุใดในเหตุ ๖ ผัสสเจตสิกนั้นก็เป็นสเหตุกะ ถ้าจิตดวงใดเป็นอเหตุกะ คือ ไม่มีเจตสิก ๖ ซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ผัสสเจตสิกซึ่งเกิดกับอเหตุจิตนั้นก็เป็นอเหตุกะด้วย ฉะนั้น ผัสสเจตสิกจึงเป็นนเหตุ และบางขณะก็เป็นสเหตุกะ บางขณะก็เป็นอเหตุกะ

ชีวิตของทุกท่านในวันหนึ่งๆ นั้นมีทั้งสเหตุกจิตและอเหตุกจิต แต่เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรมก็ไม่ทราบว่าขณะไหนเป็นสเหตุกจิตและขณะไหนเป็น อเหตุกจิต พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสภาพจิตแต่ละขณะไว้อย่างละเอียดว่า จิตขณะใดเป็นอเหตุกจิต ขณะใดเป็นสเหตุกจิต และจิตที่เป็น สเหตุกนั้นเกิดร่วมกับเหตุกี่เหตุและมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยกี่ดวง

โมหมูลจิตมีโมหเหตุเกิดร่วมด้วยเหตุเดียว จึงเป็นเอกเหตุกะ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับ ๒ เหตุ คือ โมหเหตุ และโลภเหตุ จึงเป็นทวิเหตุกะ
โทสมูลจิตเกิดร่วมกับ ๒ เหตุ คือ โมหเหตุ และโทสเหตุ จึงเป็นทวิเหตุกะ สำหรับกุศลจิตนั้น ก็ต้องมีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วยมิฉะนั้นก็เป็นกุศลจิตไม่ได้ กุศลจิตมี ๒ ประเภท คือ กุศลจิตที่ไม่เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก และกุศลจิตที่เกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก ฉะนั้น กุศลจิตที่ไม่เกิดร่วมกับปัญญาจะมีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุและอโท สเหตุ จึงเป็นทวิเหตุกะ และกุศลจิตที่เกิดร่วมกับปัญญาจะมีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ จึงเป็นติเหตุกะ กุศลจิตไม่เป็นเอกเหตุกะเลย เพราะต้องมีทั้งอโลภเจตสิกและอโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง จึงจะเป็นกุศลจิตได้
คำว่า เหตุ กับคำว่า ปัจจัย ต่างกันอย่างไร

ปัจจัย เป็นสภาพธรรมที่อุปการะเกื้อกูลให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น หรือดำรงอยู่ตามควรแก่ประเภทของปัจจัยนั้นๆ เช่น ผัสสเจตสิกไม่ใช่โลภเจตสิก แต่ทั้งผัสสเจตสิกก็ดี โลภเจตสิกก็ดี เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้ธรรมอื่นๆ คือ จิต เจตสิก และรูปเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อสภาพลักษณะและกิจของผัสสเจตสิกต่างกับสภาพลักษณะและกิจของ โลภเจตสิก ผัสสเจตสิกจึงเป็นสภาพปัจจัยที่ต่างกับโลภเจตสิก

ผัสสเจตสิกเป็นปัจจัยโดยเป็น อาหารปัจจัย อาหารเป็นสภาพธรรมที่นำมาซึ่งผล แต่ไม่มั่นคงถึงกับทำให้งอกงามไพบูลย์อย่างรากแก้วของต้นไม้ ส่วนสภาพธรรมที่เป็นเหตุนั้นเป็นปัจจัยโดยความเป็นเหตุ ซึ่งอุปมาเหมือนรากแก้ว ต้นไม่จะเจริญเติบโตโดยมีแต่รากแก้วอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีดิน น้ำเป็นอาหาร แต่ถ้าขาดรากแก้ว ดิน น้ำก็ทำให้ต้นไม้งอกงามไพบูลย์ไม่ได้ ต้นไม้ที่มีรากแก้วกับพืชที่ไม่มีรากแก้วนั้นย่อมเจริญงอกงามไพบูลย์ เพราะปัจจัยต่างกันฉันใด เจตสิกอื่นและสภาพธรรมอื่นนอกจากเจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ก็เป็นปัจจัยโดยเป็นปัจจัยอื่น ไม่ใช่โดยเป็นเหตุปัจจัย

ในคัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ ๗ เป็นคัมภีร์สุดท้ายของพระอภิธรรมปิฎกนั้น แสดงสภาพธรรมทั้งหลายโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยประเภทของ ปัจจัยต่างๆ ปัจจัยแรก คือ เหตุปัจจัย แสดงให้เห็นความสำคัญของสภาพธรรมซึ่งเป็นเหตุ ในงานศพ เมื่อพระภิกษุท่านสวดพระอภิธรรม จะเริ่มต้นด้วย "เหตุปจฺจโย" คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เพื่อเตือนให้รู้ว่าสภาพธรรมซึ่งเป็นตัวเหตุที่จะให้เกิดผลเกิดภพเกิดชาตินั้น ได้แก่ เจตสิก ๖ ดวง คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก และอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก

ความจริงสภาพธรรมแต่ละประเภทมีความสำคัญเฉพาะของตนๆ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงเฉพาะเหตุปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว มิได้ทรงแสดงเฉพาะอารมณ์ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นโดย (อารมณ์นั้น) เป็น "อารัมมณปัจจัย" แก่จิตเพียงปัจจัยเดียว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปัจจัยต่างๆ โดยครบถ้วนละเอียด โดยประเภทปัจจัยใหญ่ ๒๔ ปัจจัยนั้นด้วย

จักขุปสาทรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัยอื่นๆ ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย และจักขุปสาทก็เป็นปัจจัยด้วยโดยเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นอินทริยปัจจัย คือ เป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน จักขุปสาทเป็นจักขุนทรีย์ เป็นรูปซึ่งมีสภาพเป็นใหญ่ในการเป็นปัจจัจให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ ปรากฏ ทางตา ถ้าไม่มีจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท และกายปสาท รูปร่างกายนี้จะเหมือนอะไร ก็เหมือนท่อนไม้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ฉะนั้น ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้จึงเป็นปัจจัยโดยเป็น อินทริยปัจจัย คือ เป็นใหญ่เฉพาะในกิจของตน เช่น จักขุปสาทรูป เป็นใหญ่ในการกระทบรูปารมณ์ เป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะรูปอื่นไม่สามารถจะกระทำกิจนี้ได้ และสิ่งที่ปรากฏทางตาจะปรากฏชัดเจนหรือไม่ชัดก็แล้วแต่สภาพ ความใสของจักขุปสาทรูป ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับเจตนาหรือความปรารถนาความต้องการของใครเลย แต่ขึ้นกับอินทริยปัจจัยของการเห็น คือ จักขุปสาทรูป

สภาพธรรมทุกประเภทเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดโดยเป็นปัจจัยต่างๆ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก และอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก เป็นปัจจัยโดยเป็นเหตุ ในวันหนึ่งๆ นั้น มีอกุศลเหตุเกิดมาก กุศลเหตุก็มีบ้าง แต่เมื่อเทียบส่วนแล้ว กุศลเหตุก็น้อยกว่าอกุศลเหตุมาก

เมื่อไหร่กุศลเหตุจะค่อยๆ เจริญขึ้นๆ จนกระทั่งมีกำลังมากกว่าฝ่ายอกุศลเหตุเสียที ต้อง อบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น เป็นปัญญาเจตสิก เป็นอโมหเหตุ ตราบใดที่ปัญญายังไม่รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้โลภเหตุ โทสเหตุหรือโมหเหตุเจริญงอกงามไพบูลย์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไม่มีธรรมอื่นเลยที่จะละคลายและดับอกุศลเหตุได้ นอกจากปัญญาซึ่งเป็นอโมหเหตุ เมื่อศึกษาพระธรรมและเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ และเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน กุศลที่เป็นอโมหะคือปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น เมื่อรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลเมื่อไร เมื่อนั้นจึงจะดับอกุศลธรรมเป็นประเภทๆ ได้ จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์

ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีนั้น เป็นพระเสกขบุคคลซึ่งจะต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไปอีก จนกว่าจะดับหมดทั้งอกุศลเหตุและกุศลเหตุเพราะถ้ายังมีกุศลเหตุอยู่ก็เป็น ปัจจัย ให้เกิดกุศลวิบากไม่จบสิ้น พระอรหันต์ผู้ดับอกุศลเหตุและกุศลเหตุแล้วนั้น ถึงแม้ว่าจิตจะเกิดร่วมกับอโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นอัพยากตเหตุไม่เป็นเหตุที่จะให้เกิดวิบากต่อไป เมื่อไหร่จะถึงวันนั้น ย่อมถึงได้ในวันหนึ่ง เมื่อเพียรอบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ ผู้ที่บรรลุผลเช่นนั้นในอดีตมีแล้วเป็นอันมาก ถ้าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยก็จะไม่มีผู้ใดสามารถบรรลุผลเช่นนั้นได้ แต่ผลนั้นย่อมไม่เร็วตามที่หวัง ต้องตามควรแก่เหตุ คือเมื่อปัญญายังไม่เกิด ยังไม่เจริญขึ้น ก็ดับกิเลสไม่ได้ และปัญญาก็ต้องเกิดขึ้นเจริญขึ้นตามลำดับขั้นที่สามารถประจักษ์แจ้ง ลักษณะ ของสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนกว่าจะดับกิเลสได้จริงๆ

ฉะนั้น ควรระลึกเสมอว่าการศึกษาให้เข้าใจเรื่องจิต เจตสิก รูปนั้น ก็เพื่ออบรมเจริญสติปัฏฐานรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิก รูป ที่เกิดขึ้นปรากฏแต่ละขณะตามความเป็นจริง ไม่คลายเคลื่อนจากที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดง ถ้าศึกษาเข้าใจอย่างหนึ่งแต่ปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ไม่รู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามที่ได้ศึกษา ก็ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้

สำหรับอกุศลเหตุนั้นจะเป็นชาติอื่นไม่ได้เลย ไม่ว่าโลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิกเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นเป็นชาติอกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลจิตในขณะนั้น และสะสมต่อไปในอนาคตด้วย แต่โสภณเหตุ ๓ คือ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑ นั้น เป็นชาติกุศลก็มี เป็นชาติวิบากก็มี เป็นชาติกิริยาก็มี เพราะอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิกเกิดกับกุศลจิตก็ได้ เกิดกับกุศลวิบากก็ได้ เกิดกับโสภณกิริยาจิตก็ได้ คำว่า "โสภณ" มีความหมายกว้างกว่า คำว่า กุศล เพราะโสภณธรรมได้แก่ สภาพธรรมที่เป็นกุศล หรือเป็นกุศลวิบาก หรือเป็นโสภณกิริยา ฉะนั้น เมื่อจำแนกธรรมทั้งหลายโดยหมวด ๓ เป็น กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา ก็จำแนกแจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ออกเป็นเหตุ ๙ คือ

อกุศลเหตุ ๓ ได้แก่
โลภเจตสิก ๑
โทสเจตสิก ๑
โมหเจตสิก ๑

กุศลเหตุ ๓ ได้แก่
อโลภเจตสิก ๑
อโทสเจตสิก ๑
ปัญญาเจตสิก ๑

อัพยากตเหตุ ๓ ได้แก่
อโลภเจตสิก ๑
อโทสเจตสิก ๑
ปัญญาเจตสิก ๑


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 19:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:

:b38:
ก่อนที่โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลจะเกิดนั้น จิตของผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาจะเจริญขึ้นมาถึงญาณที่ 10 คือสังขารุเปกขาญาณ สังขารความปรุงแต่งนึกคิดเป็นอุเบกขาไปชั่วคราว ช่วงตอนนั้นจิตเป็นอนัตตาล้วนๆไม่มีอนิจจังทุกขัง หมดปฏิกิริยาตอบโต้กับผัสสะทั้งปวง กิเลส อนุสัย สังโยชน์ทั้งหลายทั้งหมดก็ออกฤทธิ์ไม่ได้
:b36:


:b1: ...ท่านว่าเป็นการอธิบายที่แปลกมั๊ย

อุเบกขาจิต ก็เป็นอนัตตาอยู่แล้ว
แล้วไม่มีอนิจจัง ไม่มีทุกขัง ได้ไง

:b5:

:b12:
555555
ดีนะที่คิดเอาๆๆไม่ทดสอบเสียก่อน


จิตอุเบกขา แปลว่าเฉยนั้นดูเหมือนว่าเป็นอนัตตาแต่ไม่ใช่ครับเพราะอุเบกขายังเป็นเวทนาอยู่มันยังพร้อมที่จะไปยินดียินร้ายได้ทันทีตลอดเวลา

และถ้าเราจะถามง่ายๆว่า "ใครเฉย" คำตอบมันยังจะบอกได้ว่า "ฉันเฉย หรือ กู เฉยอยู่ เฉยหรืออุเบกขาจึงเป็นเพียงแค่ อนัตตาคิดเอาเอง


แต่ที่สังขารุเปกขาญาณนั้น กู หรือ อัตตา มันถูกสติปัญญากั้นไว้จนขึ้นมาสั่งบังคับจิตไม่ได้มันจึงเป็นภาวะที่ยิ่งกว่าเฉย

ถ้าจะดูลำดับของเวทนาหรืออารมณ์ เราจะเรียงจากหยาบไปหาละเอียดดังนี้

กระทบผัสสะของทวารทั้ง 6

ยินดี ยินร้าย (สติปัฏฐาน 4 ทำงาน สลายยินดียินร้ายไปเรื่อยๆ)

เฉย (อุเบกขาเวทนา)

ปกติ(หยุดปฏิกิริยาต่างๆไปชั่วคราวเหมือนสมาร์ทโฟนหลับสะแตนด์บาย)


หมดปฏิกิริยาไปชั่วคราว (สังขารุเปกขาญาณ)คล้ายฌาณ 4 แต่ไม่เหมือนฌาณ 4 เพราะมาจากการขุดถอนนิวรณ์ด้วยวิปัสสนาปัญญา ส่วนฌาณ 4 นั้นเป็นการกลบบังนิวรณ์ 5 ไว้ด้วยสมถะภาวนา

ที่ว่าไม่มีอนิจจัง ทุกขังนั้นก็เพราะคล้ายกับการ เข้าฌาณ 4 ลมหายใจหยุดทำงาน อนิจจัง ทุกขัง ไม่เกิดหรือไม่เห็นเพราะจิตดิ่งยึดอยู่ในเอกัคตารมณ์ อัตตาทำงานไม่ได้

ที่สังขารุเปกขาญาณนั้นก็เช่นกัน อัตตาไม่ปรากฏขึ้นมาทำงานได้ ชั่วคราว

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 19:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
จึงไม่มีสังโยชน์ตัวใดมากั้นขวางโสดาปัตติมรรคได้ เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นแล้วสังโยชน์ตัวแรกคือ สักกายทิฏฐิตาย หลังปัจจเวกขณญาณเกิด วิจิกิจฉาและสีลัพพัตปรามาสตาย เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนเรียงกันไปตามลำดับ

เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ตามตรรกะแต่รู้ได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา และธรรมวิจัยสัมโพชงค์ครับ

จิตที่เป็นนิพพานไม่มีเจตสิกเพราะนิพพานเป็นธรรมธาตุ เหนือจิต เจตสิก รูป
ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ต่อเมื่อปัจจเวกหรือธรรมวิจัยภายหลังครับ
:b36:


ถ้าไม่มีสังโยชน์ใดมาขวาง จะทะลุไปอรหันต์จิตได้

คุณจะ Touching จิตอรหันต์ รู้วาระอารมณ์จิตอรหันต์
แล้วกลายเป็นตกมาอยู่เป็นผู้เดินอยู่ในกระแสได้ไง

เหมือนกับว่าถ้าคุณเคยไปสัมผัสทะเลตรังแล้ว
เมื่อต้องระลึกถึงอารมณ์ที่ได้สัมผัสทะเลตรังมาแล้วนั้น คุณย่อมทำได้

แล้วกลับมาเดินอยู่ในอารมณ์ทะเลประจวบได้อย่างไร

:b1:

นี่เอกอนไม่ได้ใช้หลักอะไรซับซ้อนเลยนะ
แค่ใช้หลัก ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แค่นั้น

ซึ่งสิ่งที่ถูกรู้ กับ เจตสิก จะมีความสืบเนื่องสัมพันธ์กัน

:b1:

:b12:
5555
นั่นเป็นการนั่งคิดเอาตามมโนของเอก้อน
มันมีอะไรลึกซึ้งกว่าที่เอก้อนจะคิดเอาได้ทั้งหมด


แต่ในภาคปฏิบัติจริงๆนั้นมันอาจจะเป็นเช่นนั้นก็ได้หรือไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้อย่างพระพุทธเจ้า หรือท่านพาหิยะซึ่งทำมรรค 4 มรรคให้สำเร็จในคราวเดียวกัน ทะลุอรหันต์ แต่ในอภิธรรมจริงๆนั้น มันเกิด ดับๆต่อเนื่องกันไปเป็นชั้นๆจนจบ

สำหรับพระอรรคสาวก มหาสาวกนั้นจะทำ 2 ครั้งโดย

อาจจะทะลุ มรรค 1 ก่อนแล้วทำอีก 3 มรรคพร้อมกันอีกครั้งหนึ่งอย่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลาน

หรืออาจทำ 2 มรรคแรกต่อเนื่อง แล้วทำ 2 มรรคที่เหลือต่อเนื่อง เป็น 2 ครั้ง

บางองค์บางท่านก็ทำได้ทีละมรรคทิ้งช่วงห่างกัน บางองค์ห่างกันนับเป็นนาทีหรือชั่วโมง วัน เดือน ปี

ครูบาอาจารย์ที่เมืองต้างยานเคยเตือนไว้ว่า ใครที่ทำมรรคหนึ่งได้แล้ว อย่าเพิ่งละความเพียรไปหลงเสวยวิมุติสุขในโสดาปัตติผล เพราะจะทำให้ติดค้างอยู่นานในภพชาติ(แต่ไม่เกิน 7 ชาติ)อย่างเช่นนางวิสาขาและอนาบิณฑกะเศรษฐี

ถ้าทะลุมรรคหนึ่งแล้วทำความเพียรต่อไปเลยอย่างนี้ มรรค 2 จะเกิดขึ้นต่อเนื่องโดยเร็วนับเป็นชั่วโมงได้เลยอย่างหลวงพ่อธีนี่มรรค 1 ต่อไปมรรค 2 นี่ดูเหมือนไม่เกิน 3 ชั่วโมง (ท่านใดสนใจให้ไปหาอ่านจากหนังสือการรีดนมจากเขาวัว)

ที่มันทะลุพรวดถึงอรหัตผลไม่ได้เพราะวิบากกรรมและอนุสัยที่ยังฆ่าตายไม่หมดเขาจะมาแทรกกั้นไว้โดยธรรมตามอดีตกรรม บาป บุญ บารมีที่สร้างสมมาของแต่ละท่านแต่ละคนซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากต้องวิเคราะห์กันเป็นเฉพาะๆรายไปนะครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

เอกอนยังไม่ได้เข้าข้างท่านอโศกะ หรือ ท่านเช่นนั้นนะ
เพราะ ท่านอโศกะก็ยังชี้แจงอะไรไม่ค่อยเคียร์ ส่วนท่านเช่นนั้นยังไม่ได้ชี้แจงอะไรเลย

ส่วนเอกอนก็เพียงแค่ตั้งข้อสังเกตในเรื่อง นิพพานเป็นอารมณ์ นี่ล่ะ
และ วิมุตติแต่ละนัยยะ

ที่ท่านอโศกะว่า โสดาบันก็เข้าออกนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์
สกทาคาก็ได้ผ่านนิพพาน อนาคาก็ได้ผ่านนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เหมือนกัน
แต่ทำไม ผลกลับไม่เหมือนกัน นิพพานเหมือนกันแต่คุณภาพกลับไม่เหมือนกัน

และอาการวูบ อาการดับในสมาธิ ก็มีแนวโนม้ที่จะถูกตีความเป็น นิพพาน ได้เช่นกัน
และก็มักจะถูกยึดถือหมายมั่นได้เช่นกัน

ซึ่งดูเหมือนเอกอนชอบที่จะสืบค้นไปเจออาจารย์สุจินต์ ทุกทีเลย
ซึ่งท่านก็มักจะอธิบายธรรมได้อย่างน่าฟัง

http://www.dhammahome.com/audio/topic/8989

อ้างคำพูด:
ส. เรื่องของโลกุตตรจิต ให้ทราบว่า มีทั้งหมด ๘ ดวง ตายตัว คือว่านอกจากโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติผลจิต สกทาคามิมรรคจิต สกทาคามิผลจิต อนาคามิมรรคจิต อนาคามิผลจิต อรหัตมรรค อรหัตผลจิตแล้ว จิตอื่นแม้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ชื่อว่า โลกุตตรจิต อย่างนี้ก็ชักจะงงอีก เพราะเหตุว่าที่แรกก็คิดว่า เฉพาะโลกุตตรจิตเท่านั้นที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ถ้าศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า กามาวจรจิต คือ มหากุศลญาณสัมปยุตต์สามารถที่จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ เช่น โคตรภูจิต ซึ่งเกิดก่อนมรรคจิต ในวิถีที่มรรคจิตจะเกิด คือการที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิดก็ดี หรือว่าฌานจิตจะเกิดก็ดี จิตเหล่านี้ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมีปัจจัย อย่างเสียงกระทบหู แล้วจิตได้ยินก็เกิด หรือว่ากลิ่นกระทบจมูกแล้วจิตได้กลิ่นก็เกิด ไม่ใช่อย่างนั้น จะต้องมีการอบรมเจริญด้วยปัญญาเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ แล้วไม่ใช่ว่าเล็กน้อยเลย ถ้าเป็นฝ่ายสมถะ ความสงบ ชื่อว่า มหัคคตะ มีผลไพบูลย์ เพราะว่ากว่าจิตจะค่อยๆสงบ จนกระทั่ง สามารถที่จะดับหรือกั้นระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ เป็นสมถภาวนา ก็ต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะประกอบด้วยปัญญาจริงๆ กว่าจิตจะสงบจนกระทั่งถึงอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ เป็นฌานจิตขั้นต่างๆ

เพราะฉะนั้นฌานวิถีก็ดี มรรควิถีก็ดี ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆก็มีฌานจิตเกิด หรือว่าโลกุตตรจิตเกิด จะต้องมีกามาวจรกุศลซึ่งเป็นญาณสัมปยุตต์เกิดก่อนตามลำดับ ซึ่งเราจะยังไม่กล่าวถึง แต่ให้ทราบว่า จิตเหล่านี้เกิดตามลำพังไม่ได้

เพราะฉะนั้นก่อนที่โสดาปัตติมรรคจิตจะเกิด จิตที่เกิดก่อนเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า “โคตรภู” แต่แม้กระนั้นก็ไม่ใช่มรรคจิต ไม่ใช่ผลจิต ไม่ใช่โลกุตตรจิต เพราะเหตุว่ายังไม่ได้กระทำกิจดับกิเลส เพียงแต่ว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนคำอุปมาที่ว่าคนที่จะไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน แต่ว่าเห็นพระองค์อยู่ไกลๆ ยังไม่มีโอกาสที่จะเข้าใกล้ หรือปราศรัย หรือได้สนทนากันเลย เพียงแต่เห็น ฉันใด โคตรภูก็ฉันนั้น จึงไม่สามารถที่จะกระทำกิจดับกิเลสได้ แต่เวลาที่โคตรภูจิตดับไปแล้ว มรรคจิตเกิด ขณะนั้นเองเป็นขณะที่ประจักษ์แจ้งในสภาพของนิพพานโดยดับกิเลส

เพราะฉะนั้นจะใช้คำว่า “ประจักษ์แจ้งนิพพานโดยดับกิเลส” ซึ่งเป็นกิจของมรรคจิต การที่จิตทุกขณะเกิดขึ้นก็ทำกิจแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง ตามสภาพของจิตนั้น สำหรับกุศลจิตทั้งหมดก็ทำชวนกิจ แม้แต่โลกุตตรจิต คือ มรรคจิตก็ทำชวนกิจ แต่ไม่ได้ทำชวนกิจอย่างกุศลอื่นๆ แต่ทำกิจดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เพราะทุกคนจะทราบว่า กว่า จะถึงการดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ต้องเห็นโลภะ เพราะเหตุว่าอริยสัจมี ๔ ทุกขอริยสัจจะ ทุกขสมุทยอริยสัจจะ ถ้าไม่เห็นโลภะ แล้วจะดับโลภะไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้นต้องเห็นโลภะอย่างละเอียดจริงๆ กว่าจะไปถึงการหน่ายในสังขารทั้งหลาย แล้วก็มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ เพราะเหตุว่าตราบใดที่แม้ประจักษ์การเกิดขึ้นแล้วดับไปของนามธรรมและรูปธรรม เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ แต่ถ้าขณะใดที่ยังไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ดับกิเลสไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ถาม ขออภัย ขอประทานโทษ ผมคิดว่าทุกคนก็อยากจะทราบเหมือนกันว่า คำว่านิพพานเป็นอารมณ์นั้น จริงๆแล้วมันเป็นอะไร

ส. ปรมัตธรรมมี ๔ จิตมีไหมคะ มี เพราะเป็นปรมัตธรรมหนึ่ง เจตสิกมีไหมคะ มี เพราะเป็นปรมัตธรรมหนึ่ง รูปมีไหมคะ มี เพราะเป็นปรมัตธรรมหนึ่ง นิพพานมี เพราะว่าเป็นปรมัตธรรม ที่กล่าวถึงแล้วก็มีกามาวจรกุศลซึ่งเกิดก่อน แต่ยังไม่ใช่โลกุตตรจิต เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ทำกิจดับกิเลส มรรคจิตเกิดขึ้นทำกิจดับกิเลสใด กิเลสนั้นดับเป็นสมุจเฉท ไม่เกิดอีกเลย แต่ถ้าตราบใดที่ยังไม่แจ้งในลักษณะของนิพพานดับกิเลสยังไม่ได้ แม้ว่าจะมีนามรูปซึ่งกำลังเกิดดับเป็นอารมณ์ก็ตาม เยื่อใยของความผูกพัน ความเป็นตัวตน เหนียวแน่นจริงๆ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดก็ตามซึ่งเกิด แม้ว่าจะดับก็ยังเกิดอีก

เพราะฉะนั้นให้เห็นความพอใจความติดข้องในสภาพธรรมที่เกิดว่า ไม่มีใครพ้นไปจากความที่จะพอใจอยู่ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดแล้วก็ดับไป นอกจากสภาพธรรมที่เป็นนิพพานเท่านั้นซึ่งไม่เกิด นั่นจึงจะเป็นที่ดับของโลภะ ซึ่งจิตที่ประจักษ์แจ้งได้ก็คือ โลกุตตรจิตเท่านั้น ที่จะดับกิเลสได้ด้วย แล้วเมื่อโสดาปัตติมรรคจิตเกิดแล้วดับไป จะไม่เกิดอีกเลย โสดาปัตติมรรคจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะในสังสารวัฏ ดับกิเลสใด กิเลสนั้นไม่เกิดอีก เพราะฉะนั้นเมื่อประจักษ์แจ้งนิพพานอีกครั้งหนึ่งโดยดับกิเลสเป็นสกทามิมรรค สกทามิมรรคก็เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แล้วก็ไม่เกิดอีกเลย สำหรับผู้ที่เป็นพระสกทาคามี โสดาปัตติผลก็เกิดอีกไม่ได้ หรือว่าโสดาปัตติมรรคจิตก็เกิดอีกไม่ได้ เพราะเหตุว่าโสดาปัตติมรรคผลเกิดแล้วดับกิเลส แล้วก็หมดเลย หมดหน้าที่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ส่วนโสดาปัตติผลจิต ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฌาน ก็ยังจะมีการน้อมระลึกถึงโสดาปัตติผลจิต และโสดาปัตติผลจิตก็เกิดขึ้นแทนฌานที่มีอารมณ์อื่น แต่หมายความว่าฌานนั้นมีผลจิต คือโสดาปัตติผลจิตเกิดขึ้น มีนิพพานเป็นอารมณ์ ชื่อว่า ผลสมาบัติ หมายความว่าต่างจากฌานสมาบัติ ซึ่งฌานสมาบัติจะมีกรรมฐานหนึ่งกรรมฐานใด อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดของฌานเป็นอารมณ์ แต่สำหรับผลสมาบัติแล้ว จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลประเภทไหน ถ้าเป็นพระโสดาบันบุคคล โสดาปัตติผลจิตก็เกิด ตลอดระหว่างที่เป็นผลสมาบัติ แล้วแต่ว่าจะเป็นระยะเวลานานเท่าไรก็ตามโดยไม่มีภวังคจิตคั่นเลย

นี่คือความหมายของสมาบัติซึ่งจะต้องถึงขั้นอัปปนาสมาธิ จึงจะถึงกาลที่จะให้จิตนั้นๆเกิดขึ้นโดยไม่มีภวังคจิตเกิดขั้น

นี่ก็คงจะเข้าใจตลอดจนไปกระทั่งถึงอรหัตมรรคจิต อรหัตผลจิต


ดังนั้น นิพพาน//วิมุตติสุข ที่ท่านเช่นนั้นน่าจะหมายถึงนั้น
น่าจะเป็นการหมายเจาะจง นิพพานในนัยยะการบรรลุอรหันต์ ที่กิเลสทั้งหมดดับไปอย่างสิ้นเชิง
คือ นิพพาน 100 %

ส่วนนิพพานในระดับอื่น ๆ ... นับว่าไม่ใช่สมบูรณ์ เพราะเป็นการดับกิเลสได้เพียงบางตัว
ซึ่งทัศนะเกี่ยวกับนิพพาน อารมณ์เกี่ยวกับนิพพาน ก็ไม่สมบูรณ์

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 20:08, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
จึงไม่มีสังโยชน์ตัวใดมากั้นขวางโสดาปัตติมรรคได้ เมื่อโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นแล้วสังโยชน์ตัวแรกคือ สักกายทิฏฐิตาย หลังปัจจเวกขณญาณเกิด วิจิกิจฉาและสีลัพพัตปรามาสตาย เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนเรียงกันไปตามลำดับ

เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ตามตรรกะแต่รู้ได้ด้วยวิปัสสนาภาวนา และธรรมวิจัยสัมโพชงค์ครับ

จิตที่เป็นนิพพานไม่มีเจตสิกเพราะนิพพานเป็นธรรมธาตุ เหนือจิต เจตสิก รูป
ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ต่อเมื่อปัจจเวกหรือธรรมวิจัยภายหลังครับ
:b36:


ถ้าไม่มีสังโยชน์ใดมาขวาง จะทะลุไปอรหันต์จิตได้

คุณจะ Touching จิตอรหันต์ รู้วาระอารมณ์จิตอรหันต์
แล้วกลายเป็นตกมาอยู่เป็นผู้เดินอยู่ในกระแสได้ไง

เหมือนกับว่าถ้าคุณเคยไปสัมผัสทะเลตรังแล้ว
เมื่อต้องระลึกถึงอารมณ์ที่ได้สัมผัสทะเลตรังมาแล้วนั้น คุณย่อมทำได้

แล้วกลับมาเดินอยู่ในอารมณ์ทะเลประจวบได้อย่างไร

:b1:

นี่เอกอนไม่ได้ใช้หลักอะไรซับซ้อนเลยนะ
แค่ใช้หลัก ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ แค่นั้น

ซึ่งสิ่งที่ถูกรู้ กับ เจตสิก จะมีความสืบเนื่องสัมพันธ์กัน

:b1:


:b12:
5555
นั่นเป็นการนั่งคิดเอาตามมโนของเอก้อน
มันมีอะไรลึกซึ้งกว่าที่เอก้อนจะคิดเอาได้ทั้งหมด

:b8:


:b32: :b32: :b32:

มันก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรนักหรอกท่าน มันเป็นเรื่องราวที่สัมพันธ์กัน

กิเลส ความชัดเจนของนิพพาน ทัศนะที่ปรากฏ การรับรู้ถึงการเข้าสู่กระแสนิพพาน
และการ หมายเอาอารมณ์นิพพาน

ดังนั้น นิพพานเหมือนกันก็จริง แต่คุณภาพต่างกัน ผลออกมาก็ต่าง
ทัศนะออกมาก็ต่าง วิมุตติก็ต่าง

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูท่าอโศกะ ไม่มีความขวนขวายในการทำความศึกษา ในพระไตรปิฎก ยังคงเอาตำรับตำราอาจารย์ที่ไม่มีความสมบูรณ์ในคำสอนมาเรียนมาปฏิบัติ....

ในบรรดาญาณ 73 ซึ่งพระสารีบุตรทรงพรรณา ไว้ในปฏิสัมภิทามรรค นั้น
มีการบรรยาย ถึง อาสวักขยญาณ คือปัญญาในการทำให้สิ้นไปซึ่งอาสวะ ตามพุทธดำรัสว่ามี อยู่ สามชั้นด้วยกัน

การมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นสำนวนที่ใช้ในอาสวักขยญาณ นี้

อโศกะ เรียนพยัญญชนะมาไม่ดี อรรถจึงพร่องไปไม่บริบูรณ์ หลงคิดว่า การมีนิพพานเป็นอารมณ์ นั้นคือการสัมผัสนิพพาน

นิพพาน ก็อย่างหนึ่ง
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง

ในอาสวักขยญาณ ยังจำแนกออกไป เป็นลำดับแห่งปัญญา 3 ระดับ แก่บุคคล 8 คู่บุรุษ ไม่ปรากฏแก่ปุถุชน หรือบุคคลนอกพระศาสนานี้

ปัญญา 3 ระดับ คืออินทรีย์ 3 มีอาการ 64 ....ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์

นิพพาน เป็นความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อวัฏฏะ ไม่ประกอบด้วยอาสวะ
อริยมรรคที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เจริญขึ้น เกิดขึ้นเป็นกุศล ของเหล่าบุรุษ 4 คู่นั้นจึงกล่าวว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์ จนกว่าจะถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันเป็นอรหัตผล จึงบรรลุนิพพาน ถึงกระนั้นก็ตาม ขณะแห่งอรหัตผล ก็ยังมีนิพพานเป็นอารมณ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 02 พ.ย. 2015, 02:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ 73 ซึ่งจำแนกไว้ คืออาสวักขยญาณ
มีอินทรีย์ 3 อันมี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑
อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ โดย
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ นั้น เป็นปฐมญาณ ของญาณอันเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

Quote Tipitaka:
[๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อนัญญตัญญัส-
*สามิตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓
ประการนี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นในเพราะโสดาปัตติมรรค อันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป แก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง

ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (อัญญินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น

ปัจจเวกขณญาณ (อัญญาตาวินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบแก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษ แล้ว ผู้คงที่ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

ถ้าว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรีย์ ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้นชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
ฉะนี้แล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 21:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอาจารย์ผู้แปลบาลี ได้ทำการแปลสังคีติ ไว้เพื่อให้ผู้อ่านคนไทยได้รู้จัก อินทรีย์ 3 อย่างไว้ดังนี้
Quote Tipitaka:
อินทรีย์ ๓ อย่าง
๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเรา
จักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้]
๒. อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้]
๓. อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 02 พ.ย. 2015, 02:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวักขยญาณ ญาณเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันมีนิพพานเป็นอารมณ์
ปรากฏแก่คู่บุรุษ 4 คู่ 8 บุคคลอย่างไร

Quote Tipitaka:
อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ
เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร ฯ


อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค

อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค

อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะ ๑ คืออรหัตตผล ฯ


เมื่อถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ในอรหัตผลแล้วเท่านั้น จึงบรรลุนิพพาน

คู่บุรุษอื่นใดนอกจากอรหัตผลนั้นไม่ได้ สัมผัสนิพพานเลย เพียงมีนิพพานเป็นอารมณ์เท่านั้น

นิพพานจึงไม่ใช่เข้าๆ ออกๆ 2-3 ขณะจิตในการนั่งมโนเอาเองนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะสัมผัสพระนิพพานเมื่อไร
เมื่ออรหัตมรรคเกิด
ทำปัจเวกแล้วอรหัตผลสำเร็จลง
จิตบรรลุนิพพาน
Quote Tipitaka:
ปัจจเวกขณญาณ (อัญญาตาวินทรีย์)
ย่อมเกิดขึ้นว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ แก่พระขีณาสพผู้พ้นวิเศษแล้ว
ผู้คงที่ ภายหลังแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึงนั้น เพราะความสิ้นไปแห่งกิเลส
เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ถ้าว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรีย์
ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้นชนะมารพร้อมทั้ง
พาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าไปหลงศึกษา ลำดับญาณ 16 ภายหลังเลย

ญาณ 73 มีความบริบูรณ์ เป็นของเก่าแก่ น่าศึกษากว่ามากนะครับ อโศกะ
มีหลักฐานการบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก ตกทอดมาสู่ยุคเราๆ นะครับ

เมื่อศึกษาและนำไปปฏิบัติให้ดี จะรู้แจ่มแจ้งว่า

นิพพาน และมีนิพพานเป็นอารมณ์นั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

จะได้ไม่หลงเข้าใจไปปฏิบัติ เข้าออกนิพพาน 2-3 ขณะจิต

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
......ดังนั้น นิพพานเหมือนกันก็จริง แต่คุณภาพต่างกัน ผลออกมาก็ต่าง
ทัศนะออกมาก็ต่าง วิมุตติก็ต่าง

:b1: :b1: :b1:

นิพพาน มีประการเดียว

อริยมรรค มีนิพพานเป็นอารมณ์
ความแตกต่างอยู่ที่ ลำดับแห่งมรรคและลำดับแห่งผล
คุณภาพของการละอาสวะ ต่างๆ

การละอาสวะนั่นเอง คือการมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งไม่ใช่นิพพาน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 46, 47, 48, 49, 50, 51, 52 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร