วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 05:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อโศกะ.ยกพุทธวจนะออกมาครับ
อาจาริยาวาทะ ไม่เอาครับ

s004
ผมหาไม่เป็นครับ ท่านใดเก่งการค้นหาในคัมภีร์กรุณาช่วยค้นมาแบ่งปันกันด้วยครับ เรื่องพระโสดาบันหรืออริยะชั้นต้นเสวยวิมุติสุข หรือเข้าผลสมาบัติ
:b8:


การเข้าผลสมาบัติ ต่างกันไกลกับ เสวยวิมุตติสุขอย่างสิ้นเชิง
อโศกะ
อย่าเข้าใจว่า เข้าผลสมาบัติ คือเข้านิพพาน พอออกจากผลสมาบัติ คือการออกจากนิพพาน

อาจารย์อโศกะ ท่านใดสอนเข้าๆ ออก ๆ นิพพานสองสามขณะจิต จำไว้เลยครับมั่ว

อโศกะ ควรศึกษาพุทธวจนะให้มากนะครับ
อย่าโยนให้กัลยาณมิตรท่านอื่นช่วยหา
จงมีฉันทะขวนขวายเองครับ

เจริญธรรม

:b13: :b13: :b13:
คุณเช่นนั้นคงเข้าใจอะไรผิดไปสักอย่างแล้วกระมัง โดยอาจจะไปคิดว่าการเข้าผลหรือพละสมาบัติไปเป็นการเข้าฌาณสมาบัติของพวกฤาษี ชีไพร

มรรค ผล นิพพาน ดูกลุ่มคำนี้ให้ดี

พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านได้มรรค เข้าถึงผล คือเสวยนิพพานตามกำลังของมรรคแล้วอยู่ในผล เสวยผลนั้นตามชั้นของตนเองได้อยู่เสมอเมื่อต้องการเป็นเรื่องธรรมดาของท่าน

วิมุติสุข คือความสุขที่ได้จากการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา อัตตา มานะ ทิฏฐิทั้งปวง หรือการเข้าไปอยู่ในสภาวนิพพานเป็นการชั่วคราวตามกำลังหรือเวลาที่กำหนด เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทุกชั้นทำได้แต่จะเข้าง่ายหรือยาก นานมากน้อยเพียงไรแล้วแต่กำลังบารมีที่สร้างสมมาของแต่ละท่านแต่ละองค์

การที่คุณเช่นนั้นจะมามีความเห็นว่ามีแต่พระอรหันต์บุคคลเท่านั้นที่จะเข้านิพพานเสวยวิมุติสุขได้จึงเป็นความเห็นที่ผิดธรรม เพราะไปเห็นตามตัวหนังสือ ที่ไปตีความมาผิดๆ เห็นตามความคิดเห็น มิได้เห็นตามความปฏิบัติเห็น ตามความรู้จริงจากการสัมผัสธรรมด้วยตัวเองจริง ทั้งยังเป็นการไปลดคุณค่าของพระอริยบุคคลชั้นต้นที่ว่าเสวยผลได้แต่ความสงบอย่างนักสมาธิเท่านั้น เป็นการสร้างความยากและด่านทางใจให้กับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่ไปหลงเชื่อคุณเช่นนั้นว่า ต้องถึงพระอรหันต์เท่านั้นจึงจะได้เข้าถึงนิพพานเสวยสุขในนิพพานได้ที่เรียกว่าเสวยวิมุติสุข

แต่ก็ไม่เป็นไรเป็นความเชื่อความเห็นของคุณเช่นนั้นในตอนนี้ที่ยึดไว้ก็ให้เห็นไป
ปฏิบัติธรรมพิสูจน์ธรรมไปเรื่อยๆ อีกหน่อยก็จะรู้เอง

อนึ่งการศึกษาพุทธวัจจนะ ผมก็ได้ศึกษาเอาที่หัวใจการค้นพบและนำมาสอนของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ 4 มรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ปัจจุบันอารมณ์และสูตร คาถาอื่นที่จำเป็นสำหรับการปฏิจริงบางบทแล้วก็ลงมือทำลงมือปฏิบัติพิสูจน์ธรรม มิได้ศึกษากว้างไกลไปในคัมภีร์ทั้งหมดอย่างคุณเช่นนั้น

เวลามีปัญหาคุณเช่นนั้นคงรีบไปค้นตำรามาเปรียบเทียบแก้ไข แต่อโศกะนั้นไซร้กลับเข้าไปอ่านในตำราอันกว้างศอกยาววาหนาคืบนี้แล้วหาคำตอบมาสนทนาแก้ไขจึงไม่ชำนาญในการค้นบัญญัติมาอธิบายต้องขออภัย

เรื่องที่จะให้เอาพุทธวัจจนะมาอ้างอิงคงจะยาก แต่ถ้าจะให้อ้างสัจจะหรือธรรมอันเกิดปรากฏให้รู้เห็นในจิตในใจก็คงจะพออ้างได้อธิบายได้ดังหลวงปู่ครูบา อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายเพิ่มเติมไว้ เพราะมีมากมายหลายสิ่งที่พระบรมศาสดาไม่ทรงอธิบายไว้ละเอียดยิบจนหมด อาจจะทรงทิ้งไว้ให้ผู้ปฏิบัติได้ค้นพบด้วยตัวเองจริงด้วยภาวนามยปัญญาจึงจะมีคุณค่ายิ่งกว่า

ท่านที่มาร่วมสังเกตการณ์การสนทนาจะเชื่อตามหรือนำความเห็นไหนไปพิสูจน์ความจริงก็เป็นสิทธิโดยสมบูรณของแต่ละละท่านจะพิจารณาวินิจฉัยเอานะครับ
เพราะเรื่องที่นำมาวิเคราะห์วิจารณ์กันตอนนี้ เป็นเรื่องของผลปฏิบัติที่เป็นโลกุตระจะไม่สามารถตัดสินหรือยุติได้ด้วยตัวหนังสือหรือคำพูด ต้องพิสูจน์จนรู้ประจักษ์แก่ใจตนเองของเจ้าของ

:b38:


โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 05:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
อโศกะ.ยกพุทธวจนะออกมาครับ
อาจาริยาวาทะ ไม่เอาครับ

s004
ผมหาไม่เป็นครับ ท่านใดเก่งการค้นหาในคัมภีร์กรุณาช่วยค้นมาแบ่งปันกันด้วยครับ เรื่องพระโสดาบันหรืออริยะชั้นต้นเสวยวิมุติสุข หรือเข้าผลสมาบัติ
:b8:


การเข้าผลสมาบัติ ต่างกันไกลกับ เสวยวิมุตติสุขอย่างสิ้นเชิง
อโศกะ
อย่าเข้าใจว่า เข้าผลสมาบัติ คือเข้านิพพาน พอออกจากผลสมาบัติ คือการออกจากนิพพาน

อาจารย์อโศกะ ท่านใดสอนเข้าๆ ออก ๆ นิพพานสองสามขณะจิต จำไว้เลยครับมั่ว

อโศกะ ควรศึกษาพุทธวจนะให้มากนะครับ
อย่าโยนให้กัลยาณมิตรท่านอื่นช่วยหา
จงมีฉันทะขวนขวายเองครับ

เจริญธรรม

:b13: :b13: :b13:
คุณเช่นนั้นคงเข้าใจอะไรผิดไปสักอย่างแล้วกระมัง โดยอาจจะไปคิดว่าการเข้าผลหรือพละสมาบัติไปเป็นการเข้าฌาณสมาบัติของพวกฤาษี ชีไพร

มรรค ผล นิพพาน ดูกลุ่มคำนี้ให้ดี

พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านได้มรรค เข้าถึงผล คือเสวยนิพพานตามกำลังของมรรคแล้วอยู่ในผล เสวยผลนั้นตามชั้นของตนเองได้อยู่เสมอเมื่อต้องการเป็นเรื่องธรรมดาของท่าน

วิมุติสุข คือความสุขที่ได้จากการหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา อัตตา มานะ ทิฏฐิทั้งปวง หรือการเข้าไปอยู่ในสภาวนิพพานเป็นการชั่วคราวตามกำลังหรือเวลาที่กำหนด เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทุกชั้นทำได้แต่จะเข้าง่ายหรือยาก นานมากน้อยเพียงไรแล้วแต่กำลังบารมีที่สร้างสมมาของแต่ละท่านแต่ละองค์

การที่คุณเช่นนั้นจะมามีความเห็นว่ามีแต่พระอรหันต์บุคคลเท่านั้นที่จะเข้านิพพานเสวยวิมุติสุขได้จึงเป็นความเห็นที่ผิดธรรม เพราะไปเห็นตามตัวหนังสือ ที่ไปตีความมาผิดๆ เห็นตามความคิดเห็น มิได้เห็นตามความปฏิบัติเห็น ตามความรู้จริงจากการสัมผัสธรรมด้วยตัวเองจริง ทั้งยังเป็นการไปลดคุณค่าของพระอริยบุคคลชั้นต้นที่ว่าเสวยผลได้แต่ความสงบอย่างนักสมาธิเท่านั้น เป็นการสร้างความยากและด่านทางใจให้กับผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่ไปหลงเชื่อคุณเช่นนั้นว่า ต้องถึงพระอรหันต์เท่านั้นจึงจะได้เข้าถึงนิพพานเสวยสุขในนิพพานได้ที่เรียกว่าเสวยวิมุติสุข

แต่ก็ไม่เป็นไรเป็นความเชื่อความเห็นของคุณเช่นนั้นในตอนนี้ที่ยึดไว้ก็ให้เห็นไป
ปฏิบัติธรรมพิสูจน์ธรรมไปเรื่อยๆ อีกหน่อยก็จะรู้เอง

อนึ่งการศึกษาพุทธวัจจนะ ผมก็ได้ศึกษาเอาที่หัวใจการค้นพบและนำมาสอนของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจ 4 มรค 8 อนัตตา โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ปัจจุบันอารมณ์และสูตร คาถาอื่นที่จำเป็นสำหรับการปฏิจริงบางบทแล้วก็ลงมือทำลงมือปฏิบัติพิสูจน์ธรรม มิได้ศึกษากว้างไกลไปในคัมภีร์ทั้งหมดอย่างคุณเช่นนั้น

เวลามีปัญหาคุณเช่นนั้นคงรีบไปค้นตำรามาเปรียบเทียบแก้ไข แต่อโศกะนั้นไซร้กลับเข้าไปอ่านในตำราอันกว้างศอกยาววาหนาคืบนี้แล้วหาคำตอบมาสนทนาแก้ไขจึงไม่ชำนาญในการค้นบัญญัติมาอธิบายต้องขออภัย

เรื่องที่จะให้เอาพุทธวัจจนะมาอ้างอิงคงจะยาก แต่ถ้าจะให้อ้างสัจจะหรือธรรมอันเกิดปรากฏให้รู้เห็นในจิตในใจก็คงจะพออ้างได้อธิบายได้ดังหลวงปู่ครูบา อรรถกถาจารย์ท่านอธิบายเพิ่มเติมไว้ เพราะมีมากมายหลายสิ่งที่พระบรมศาสดาไม่ทรงอธิบายไว้ละเอียดยิบจนหมด อาจจะทรงทิ้งไว้ให้ผู้ปฏิบัติได้ค้นพบด้วยตัวเองจริงด้วยภาวนามยปัญญาจึงจะมีคุณค่ายิ่งกว่า

ท่านที่มาร่วมสังเกตการณ์การสนทนาจะเชื่อตามหรือนำความเห็นไหนไปพิสูจน์ความจริงก็เป็นสิทธิโดยสมบูรณของแต่ละละท่านจะพิจารณาวินิจฉัยเอานะครับ
เพราะเรื่องที่นำมาวิเคราะห์วิจารณ์กันตอนนี้ เป็นเรื่องของผลปฏิบัติที่เป็นโลกุตระจะไม่สามารถตัดสินหรือยุติได้ด้วยตัวหนังสือหรือคำพูด ต้องพิสูจน์จนรู้ประจักษ์แก่ใจตนเองของเจ้าของ

:b38:


โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ
เมื่อยกพุทธวจนะมาวินิจฉัยความถูกต้องต่อสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาไม่ได้ และยังถือปฏิบัติอย่างผิดๆ ก็ควรยอมรับความจริง อย่าดันทุรังแสดงนู่นนั่นนี่เรื่อยเปื่อยไป
หากคิดว่าถูกต้อง
เอาคำพระศาสดามายืนยันครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

:b32: :b32: :b32:

:b1: ...

บางทีวางอาจารย์ลง เหมือน วางตำราลงก็ดีนะ ...
วางความยึดมั่นถือมั่นในความรู้ความเข้าใจของตนลงด้วย... :b12:

http://dhammahome.com/webboard/topic/22317

อ้างคำพูด:
วิมุตติโดยนัยต่างๆดังนี้ ครับ

1.วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลส นิวรณ์ ด้วยการข่มไว้ ด้วยกำลังของฌาน
คือ สมถภาวนา

2.ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นจาก ธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะนั้น เช่น การได้วิปัสสนาญาณ บางวิปัสสนา สามารถละ หลุดพ้นจากความสำคัญว่าเที่ยง เป็นต้น

3.สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้ว อันหมายถึง ขณะที่เป็นมรรคจิต

4.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ หลุดพ้นแล้วสงบ ด้วยอำนาจที่กิเลสสงบแล้ว หลังจากการละ กิเลส คือ ขณะที่เป็นสามัญญผล 4 เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น

5.นิสสรณวิมุตติ หมายถึง พระนิพพาน หลุดพ้นคือเพราะปราศจากคือ เพราะตั้งอยู่ไกล
จากกิเลสทั้งปวง

--------------------------------------------------------------------

ดังนั้น จิตจะหลุดพ้น ก็ต้องหลุดพ้นจาก เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แต่ เจตสิกมีหลาย

ประเภท ดังนั้น อะไรที่ควรหลุดพ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี คือ หลุดพ้นจากกิเลส อกุศล

ธรรม ซึ่งจะหลุดพ้นจากกิเลสได้ ก็ต้องอาศัยการเจริญอบรมปัญญา เพราะ ขณะที่

เข้าใจธรรม ขณะนั้น หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากความไม่รู้ไปทีละขณะ จนในที่สุด

ก็ถึง การหลุดพ้นจนหมดสิ้น หลุดพ้นจากสภาพธรรมทั้งปวง ที่เกิดดับ ถึงพระนิพพาน

ที่เป็นการหลุดพ้นอย่างยิ่ง ครับ


คือ ทั้ง 5 นัยยะ ถูกหมายว่าเป็นวิมุตติได้ทั้งนั้น
แต่ อารมณ์ในแต่ละนัยยะ ย่อมไม่เหมือนกัน เมื่ออารมณ์ไม่เหมือนกันทัศนะย่อมต่างกัน
คือถ้าเข้าใจ เจตสิก ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิต ก็จะรู้ว่าวิมุตติแต่ละนัยยะย่อมปรากฏทัศนะที่ต่างกัน
มันเป็นไปได้ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะปฏิบัติแล้วไปเจอะกับ วิมุตติ


ท่านอโศกะต้องกลับไปจับประเด็นแล้ว
ว่าท่านมีแนวโนม้ที่จะเจอวิมุตตินัยยะไหน

จิต+เจตสิก --- วิมุตติต่าง --- ทัศนะต่างทันที
เหมือนท่านกับเพื่อนต่างก็ขับรถไปเที่ยว ทะเล
เมื่อท่านและเพื่อนต่างก็ถึง ทะเล
ถามว่า ทะเลที่ท่านเห็น กับทะเลที่เพื่อนท่านเห็น จะเหมือนกันมั๊ย
เมื่อท่านไปทะเลประจวบ ส่วนเพื่อนท่านไปทะเลตรัง :b6:

อรรถกถาที่ท่านอโศกะพยายามยกมา เป็นอรรถกถาที่ขยายความพระสูตร

Quote Tipitaka:
โพธิวรรคที่ ๑
๑. โพธิสูตรที่ ๑
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง
เสวยวิมุติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว ตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นแล พอสัปดาห์นั้นล่วงไป
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้น ได้ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็น
อนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะ
สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็น
ปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้น
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
อุทานนี้ในเวลานี้ว่า
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียร
เพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น
ย่อมสิ้นไปเพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ ฯ
จบสูตรที่ ๑


ซึ่งท่านหยิบอรรถกถามา ท่านต้องย้อนกลับไปอ่านพระสูตรอ้างอิงด้วย
เพื่อที่จะได้รู้ว่า นัยยะสำคัญแห่งอรรถกถานั้น เพื่อนัยยะอันใดเป็นสำคัญ

จากอรรถกถาที่ท่านอโศกะยกมา เมื่อเอกอนอ่านไปเจอท่อนนี้
เอกอนก็รู้สึกเอะใจแล้ว

Quote Tipitaka:
...แต่ผลจิตในกาลอื่น ย่อมเป็นไปด้วยผลสมาบัติ และที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านสงเคราะห์ด้วยผลสมาบัตินั้นเอง. ก็ผลสมาบัตินี้นั้นว่าโดยอรรถ เป็นวิบากแห่งโลกุตรกุศลจิต อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ พึงทราบว่าเป็นอัปปนา.

ถามว่า ผลสมาบัตินั้น พวกไหนเข้าได้ พวกไหนเข้าไม่ได้?

ตอบว่า ปุถุชนทั้งหมดเข้าไม่ได้เพราะยังไม่ได้บรรลุ อนึ่ง พระอริยเจ้าชั้นต่ำก็เหมือนกัน เข้าผลสมาบัติชั้นสูงไม่ได้ แม้พระอริยเจ้าชั้นสูงก็ไม่เข้าผลสมาบัติชั้นต่ำเหมือนกัน เพราะท่านสงบระงับด้วยการเข้าถึงความเป็นบุคคลอื่น. พระอริยเจ้านั้นๆ ย่อมเข้าผลสมาบัติของตนๆ เท่านั้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโสดาบันบุคคลและพระสกทาคามีบุคคล ย่อมไม่เข้าผลสมาบัติ พระอริยบุคคลชั้นสูง ๒ พวกเท่านั้น ย่อมเข้าได้ เพราะท่านกระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ. ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ เพราะแม้ปุถุชนก็เข้าโลกิยสมาธิที่ตนได้ อีกอย่างหนึ่ง จะป่วยกล่าวไปไยด้วยการคิดถึงเหตุในข้อนี้.


คือ เรามาฟังคำอธิบายนัยยะที่ท่านเช่นนั้นต้องการจะแสดงก่อนดีมั๊ย

... :b1: เพราะเอกอนก็อยากจะได้รับฟังความเห็นจากท่านเช่นนั้น
และคาดว่าหลายคนก็คงอยากจะฟังเช่นกัน

แล้วเมื่อท่านเช่นนั้น แสดงความเห็นตรงไหนไม่ตรงกับความเข้าใจของตนตรงไหน
ก็ค่อยค่อยแสดงความเห็นแย้ง และเหตุผลออกมาแชร์กัน
น่าจะ OK มั๊ย

:b1: :b1: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

ดูเหมือนเอกอนจะเข้ามาสอดอีกแล้ว...

เฮ้อ...อดใจไม่ได้ ยั้งนิ้วไว้ไม่อยู่เนี๊ยะน๊า huh

ท่านอโศกะกะจะชนท่านเช่นนั้นอยู่ดี ๆ พาลจะหักพวงมาลัยมาชนเอกอนแทนนี่สิ่
ท่านเช่นนั้นรับผิดชอบชีวิตเอกอนด้วยน๊ะ... :b9: :b9: :b9:


โพสต์ เมื่อ: 31 ต.ค. 2015, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รอดู อโศกะ ดิ้นโดยการทรงจำ สิ่งที่คลาดเคลื่อน มาก่อน ^ ^

จำอะไรไม่จำ จำว่า แม้โสดาบันบุคคล ก็สามารถเข้านิพพาน 2-3 ขณะจิต แล้วก็ออกได้เข้าได้
ไม่พอ ยังอ้างครูอาจารย์ออกมาอิก

นี่ยังดีไม่ระบุนะว่าครูอาจารย์องค์ไหน มะงั้นคงเน่ากว่านี้อิก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 06:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
รอดู อโศกะ ดิ้นโดยการทรงจำ สิ่งที่คลาดเคลื่อน มาก่อน ^ ^

จำอะไรไม่จำ จำว่า แม้โสดาบันบุคคล ก็สามารถเข้านิพพาน 2-3 ขณะจิต แล้วก็ออกได้เข้าได้
ไม่พอ ยังอ้างครูอาจารย์ออกมาอิก

นี่ยังดีไม่ระบุนะว่าครูอาจารย์องค์ไหน มะงั้นคงเน่ากว่านี้อิก

5555555
เช่นนั้นได้ทำอริยุวาตันตรายเองด้วยความขาดสัมปชัญญะและอหังการ มนังการของตนเสียแล้ว ปิดกั้นมรรคผลนิพพานเชียวนะถ้าแก้ไขไม่เป็น

ที่ว่าอหังการมนังการนั้นก็เพราะมีมานะทิฏฐิใหญ่ถือตัวถือรู้สำคัญตนว่าศึกษาคำภีร์มามาก รู้มากกว่าผู้ใด จนขนาดคำอธิบายธรรมของครูบาอาจารย์ อรรถกถาจารย์ทั้งหลายก็ไม่อยู่ในสายตาของเช่นนั้น เหมือนการมองข้ามหัวท่านทั้งหลายเหล่านั้นไป ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความหลงผิดยึดแน่นในตำราหรือที่ตนอ้างว่าเป็นพุทธวัจจนะจะเชื่อถือแต่พุทธวัจจนะเท่านั้น จึงทำให้ชวดเชยโอกาสที่จะได้ฟังได้รู้ ธรรมง่ายๆ ในภาษาท้องถิ่นง่ายๆของตนเอง ครั้นมีโอกาสได้อ่านได้ฟังก็กลับไปตีค่าแห่งธรรมให้ต่ำ เหมือนที่ไปลดค่าของพระอริยชั้นต้นว่าเข้านิพพานไม่ได้ เสวยวิมุติสุขไม่ได้ ซึ่งความเชื่อความเห็นอันนี้เป็นภัยอย่างมหันต์ต่อนักปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่ทุกๆคน

Onion_L
คำพูดเรื่องพระโสดาบันเข้านิพพานได้ 2-3 ขณะจิตเป็นนการรีบร้อนสรุปเอาเองตามนิสัยของเช่นนั้น

ได้บอกแล้วว่าการบรรลุโสดาปัตติมรรคเข้าถึงโสดาปัตติผลเมื่อครั้งแรกนั้น จิตของท่านผู้นั้นจะได้พบเห็นหรือเสวยพระนิพพาน 2-3 ขณะจิตก่อนแล้วดับไป หลังจากนั้นจะเกิดปัจจเวกขณะญาณจนจบ สังโยชน์อีก 2 ตัวขาดสะบั้นเกลี้ยง
ต่อจากนั้นถ้าท่านผู้นั้นทำความเพียรต่อก็อาจเข้าไปเสยผลสมาบัติคือเข้าสู่สภาวะนิพพานได้ตามกำลังของตน เป็นวินาที นาที ชั่ว โมง เป็นวันหรือหลายวันตามกำลังบารมีของตน แล้วจะเข้าได้อีกเรื่อยๆตามประสงค์ในภายหลังถ้าฝึกหัดเข้าออกเสวยผลจนชำนาญ โสดาปัตติผลอยู่ได้นาน แต่ไม่เกิน 7 ชาติ

ธรรมอันเป็นผลปฏิบัติจริงเขาเป็นอย่างนี้ แต่จะไม่มีบอกไว้ในคัมภีร์หลักทั้งหมดแต่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ อรรถกถาจารย์ท่านบอกไว้ค่อนข้างจะละเอียด
เช่นนั้นกลับไม่เชื่อ รบเร้าแต่จะเอาหลักฐานจากคัมภีร์หลักให้ได้ จึงจนใจที่จะบอกกล่าวชี้แนะ ต้องทิ้งไว้ให้เป็นกรรมของสัตว์โลกก็แล้วกัน
ยิ่งมีประมาทะต่อข้อชี้แนะเหล่านี้มากเท่าไร ก็จะยิ่งขาดทุนและเข้าเนื้อตนเองมากเท่านั้นนะเช่นนั้น

onion
ขอบคุณคุณเอก้อนที่มาร่วมแจม ขอบคุณที่แนะให้ผมปล่อยความยึดถือในคำสอนครูบาอาจารย์ ก็อย่าลืมกลับไปบอกคุณเช่นนั้นให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตำรา คัมภีร์และความรู้ทฤษฎีมากแต่ขาดการปฏิบัติรองรับอย่างสมดุลย์

เรายังมีเรื่องสนทนากันต่ออีกเยอะนะครับ

:b8:


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 11:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ขอบคุณคุณเอก้อนที่มาร่วมแจม ขอบคุณที่แนะให้ผมปล่อยความยึดถือในคำสอนครูบาอาจารย์ ก็อย่าลืมกลับไปบอกคุณเช่นนั้นให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตำรา คัมภีร์และความรู้ทฤษฎีมากแต่ขาดการปฏิบัติรองรับอย่างสมดุลย์

เรายังมีเรื่องสนทนากันต่ออีกเยอะนะครับ

:b8:


:b1: ...ท่านนี่ ดื้อก็คือดื้อจริง ๆ ...

ถ้าไม่ถือความรู้ความเข้าใจของตนเองว่าเที่ยงแท้แน่นอน
ใจเย็น ๆ วางทุกอย่างลงแล้วลองทบทวนด้วยใจอันเป็นกลาง ด้วยอารมณ์อันเป็นกลาง
โสดาบันยังเป็นผู้ที่ยังละอะไร ๆ อีกตั้งหลายอย่างไม่ขาดนะ

ดังนั้น อารมณ์ของโสดาบันที่ปรากฎให้ได้รับรู้ นั้นไม่นาจะใช่ นิพพาน แล้วล่ะ
แต่อารมณ์นั้น ๆ เพียงแต่เห็นทางที่ลาดไปสู่นิพพาน เห็นเส้นทางที่ทอดไปสู่นิพพาน
คือ เพียงแตะไปเข้ากระแสแห่งทางอันทอดไปนั้นเท่านั้น
แม้ อนาคามี ก็ยังอยู่ระหว่างทางอันลาดไป ... :b1:

อันนี้เอกอนไม่ link มาเล่น ๆ จาก
http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=195

อ้างคำพูด:
อารมณ์พระโสดาบัน

อารมณ์พระโสดาบัน

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย เวลานี้ท่านทั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปนี้ขอได้โปรดฟังคำแนะนำ อารมณ์ของพระโสดาบัน

สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงอารมณ์ของท่านที่ทรงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายจะได้ทราบไว้ว่า คนที่เป็นพระโสดาบันแล้วมีอารมณ์เป็นยังไง ส่วนใหญ่คนทั้งหลายมักจะมีความรู้สึกว่า คนที่เข้ามาเจริญพระกรรมฐาน หรือสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาญาณ และเริ่มเข้ามาเจริญแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องตัดหมดนั้นเป็นความรู้สึกผิดของท่านผู้มีความคิดอย่างนั้น

ความจริงการเจริญพระสมณธรรมมีอารมณ์เป็นขั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ทรงจิตเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิหรือ อัปปนาสมาธิ สำหรับอัปปนาสมาธินี้หมายถึงอารมณ์ฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 8 อารมณ์ประเภทนี้จะระงับได้เพียงนิวรณ์ 5 ประการ แต่ก็เป็นเพียงระงับเท่านั้นไม่ใช่ตัด ถ้ายังมีความประมาทจิตคิดชั่ว ฌานก็สลายตัว เป็นอันว่าผู้ทรงฌานโดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานโลกีย์ ยังไม่มีความหมาย ในการเจริญสมณธรรมในพระพุทธศาสนา ถึงแม้ว่าท่านผู้นั้นจะได้มโนมยิทธิก็ดี ได้อภิญญา 5 ในอภิญญา 6 ก็ดี ได้ 2 ในวิชชาสามก็ดี ก็ยังไม่มีความหมายในการตัดอบายภูมิ ท่านที่จะตัดอบายภูมิได้จริง ๆ ก็คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป

คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้

สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า

ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี

นี่ความรู้สึกของพระโสดาบันในด้านสักกายทิฏฐิ มีอยู่จุดนี้เข้าใจไว้ด้วย มีคนพูดกันว่าถ้าเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะต้องสามารถระงับทุกขเวทนาได้หมด ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ร้อน ไม่หนาว นี่ไม่ใช่ความจริง ร่างกายยังมีความรู้สึก ร่างกายยังมีมีจิตเป็นเครื่องรักษา ร่างกายยังมีวิญญาณรู้การสัมผัส ถึงแม้ว่าพระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดีก็ยังรู้สึก รู้สึกเจ็บ รู้สึกปวดเหมือนกัน

นี่ว่ากันถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน เมื่อจิตเข้าถึงพระโสดาบันแล้ว มีความไม่ประมาทในชีวิต มีความรู้สึกเสมอว่าเราจะต้องแก่ เราจะต้องตาย แล้วก็ขึ้นชื่อว่าความตายนี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ไม่ใช่ว่าจะไปกำหนดอายุการตายว่าต้องตายเท่านั้นเท่านี้ จะตายตั้งแต่ความเป็นเด็ก หรือ ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเป็นคนแก่ อาการที่จะตาย อาจจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายดึก ตายหัวค่ำก็เอาแน่นอนไม่ได้

ฉะนั้น พระโสดาบันจึงไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายก็เชิญ แต่เราจะตายอยู่กับความดี อารมณ์ของพระโสดาบันที่จะคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินศรีนั้นไม่มี คือว่าเป็นคนไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นี่เป็นอันดับที่ 2 ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา พระโสดาบันตัดสังโยชน์ตัวที่ 2 ได้ คือ ความสงสัย ที่เรียกว่า วิจิกิจฉา ขึ้นชื่อว่าความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีในพระโสดาบัน เกิดขึ้นด้วยกำลังของปัญญา ที่พิจารณาหาความจริงว่า

พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข

และอันดับ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันย่อมทรงศีลบริสุทธิ์ตามฐานะของตัว คำว่า ฐานะของตัวก็หมายความว่า ถ้าเป็นฆราวาสก็มีศีล 5 เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีเจตนาในการทำลายศีล รักษาศีลบริสุทธิ์ ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุให้บุคคลอื่นทำลายศีล แล้วก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว เป็นอันว่าพระโสดาบันเป็นผู้มีความทรงอารมณ์อยู่ในศีลเป็นสำคัญ หนักหน่วงในเรื่องของศีล ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด

ที่กล่าวมานี้หมายความว่า สังโยชน์ 3 ประการนี่ พระโสดาบันปฏิบัติมีจิตเข้าถึงตามนี้ นี่ก็พูดกันไปว่าก่อนที่จะเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจากโลกียะเป็นโลกุตตระ ตอนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โคตรภูญาณ ขณะเมื่ออารมณ์จิตของท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึงโคตรภูญาณ

คำว่าโคตรภูญาณ นี่ก็หมายความว่า จิตของท่านผู้นั้น ยังอยู่ในระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ
แต่ทว่าอารมณ์ตอนนี้จะไม่ขังอยู่นาน บางท่านจิตจะทรงอยู่เพียงแค่ชั่วโมงหนึ่ง หรือไม่ถึงชั่วโมง และบางท่านก็อยู่ถึงอาทิตย์สองอาทิตย์ถึงเป็นเดือนก็มี สุดแล้วแต่ความเข้มแข็งของจิต ในช่วงที่จิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ท่านกล่าวว่า ในขณะนั้นอารมณ์จิตของนักปฏิบัติ จะมีความรักพระนิพพานอย่างยิ่ง คือมีความรู้สึกอยู่เสมอว่ามนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี ไม่เป็นแดนแห่งความสุข ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มันก็ทุกข์ตลอดเวลา ถ้าเกิดเป็นเทวดาก็พักทุกข์ชั่วคราว หรือ พรหมก็เช่นเดียวกัน ถ้าหมดบุญวาสนาบารมีแล้วก็จะต้องจากเทวดา จากพรหมมาเกิดเป็นคนบ้าง บางรายก็เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอันว่าเขตทั้ง 3 จุด ไม่มีความหมายสำหรับใจ

จิตใจของท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงโคตรภูญาณ ใจมีความต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพานเป็นปกติ

แต่ทว่าพอจิตพ้นจากโคตรภูญาณไปแล้ว ก้าวเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบันเต็มที่ ที่เรียกว่า โสดาปัตติผล ตอนนี้อารมณ์จิตของท่านละเอียดขึ้นมานิดหนึ่ง นอกจากจะรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันเป็นของธรรมดา

การนินทาว่าร้ายที่จะปรากฏขึ้นกับบุคคลผู้ใดกล่าวถึงเรา จิตดวงนี้มีความรู้สึกว่า ธรรมดาของคนที่เกิดมาในโลกมันเป็นอย่างนี้ ความป่วยไข้ไม่สบายเกิดขึ้น การพลัดพรากจากของรักของชอบใจเกิดขึ้น มีความรู้สึกหนักไปในด้านของธรรมดา แต่ทว่าธรรมดาของพระโสดาบัน ยังอ่อนกว่า ธรรมดาของพระอรหันต์มาก

ฉะนั้น ท่านที่เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน จึงยังมีความรักในระหว่างเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า ท่านกล่าวไว้แล้วว่า พระโสดาบันมีสมาธิเล็กน้อย และก็มีปัญญาเล็กน้อย หากว่าท่านทั้งหลายจะถามว่า ถ้าคนยังมีความรักในเพศ ยังมีการแต่งงาน ยังมีการอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงก็ดูเหมือนว่าพระโสดาบันก็คือ ชาวบ้านธรรมดา

แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความรักในระหว่างเพศก็ดี ความอยากรวยก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี ของพระโสดาบันอยู่ในขอบเขตของศีล เรารักในรูปโฉมโนมพรรณ มีการแต่งงานกันได้ระหว่างสามีภรรยาของตนเอง ยอมเคารพในสิทธิซึ่งกันและกัน จะนอกใจสามีและภรรยา ขึ้นชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร จะไม่มีสำหรับพระโสดาบัน จะทำให้ครอบครัวนั้นมีอารมณ์เป็นสุข

และประการที่ 2 พระโสดาบันยังมีความโกรธ ท่านโกรธจริง พูดเป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ ทำให้ไม่เป็นที่ไม่ถูกใจท่านก็โกรธ แต่ทว่าพระโสดาบันมีแต่อารมณ์โกรธ ไม่ประทุษร้ายให้เขามีการบาดเจ็บ และไม่ฆ่าคนหรือสัตว์ที่ทำให้ตนโกรธ ให้ถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าความโกรธหรือความพยาบาทของท่าน อยู่ในขอบเขตของศีล จิตโกรธแต่ว่าไม่ทำร้าย คือ แตกต่างกับคนธรรมดาตรงนี้

สำหรับด้านความหลงของพระโสดาบัน ที่ขึ้นชื่อว่าหลง เพราะยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย เมื่อสักครู่นี้ข้ามคำว่าอยากรวยไป การอยากรวยของพระโสดาบัน คือ ต้องการความรวยในด้านสุจริตธรรมเท่านั้น เรียกว่า การทุจริตคิดร้ายคดโกงบุคคลอื่นใด ไม่มีในอารมณ์จิตของพระโสดาบัน ประกอบอาชีพด้วยความสุจริต เพราะอาศัยยังรักในความสวยสดงดงาม คือ รูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่าเพศยังมีอยู่ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง เพราะว่ายังคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ยังมีของสวยของงาม การถือตัวถือตนแบบนี้ จึงเชื่อว่ายังมีความหลง แต่ความหลงของพระโสดาบันนั้น ไม่สามารถจะนำบุคลผู้นั้น ในเวลาแล้วไปสู่อบายได้

จุดนี้ขอบรรดาท่านทั้งหลายผู้รับฟัง จงจำไว้ว่า ความจริงอารมณ์ของพระโสดาบันนั้น ไม่แตกต่างกับชาวบ้านธรรมดาเท่าไรนัก ชาวบ้านธรรมดา ยังมีความรักในเพศ ยังมีสามี ภรรยา แต่ทว่ายังมีการนอกใจภรรยา สำหรับพระโสดาบันไม่มี ชาวบ้านอยากรวยก็ยังมีการคบคิดกันคดโกง การโกงมีการยื้อแย่งฉกชิงวิ่งราวดูทรัพย์ สำหรับพระโสดาบันนี่ ถ้าต้องการรวยก็รวยด้วยการสุจริต หากินด้วยความชอบธรรม ต่างกันตรงนี้

พระโสดาบันยังมีความโกรธ ชาวบ้านโกรธแล้วก็ปรารถนาจะประทุษร้าย ถ้ามีโอกาสก็ประทุษร้ายบุคคลที่เราโกรธ ถ้าสามารถจะฆ่าได้ก็ฆ่า สำหรับพระโสดาบันมีแต่ความโกรธ การประทุษร้ายไม่มี การฆ่าการประหารไม่มี นี่ต่างกันกับชาวบ้าน

พระโสดาบันยังมีความหลง ตามที่ได้กล่าวมาด้วยอาการที่ผ่านมาแล้ว แต่ทว่าพระโสดาบันก็ไม่ลืมคิดว่า เราจะต้องตาย เมื่อเราตายแล้ว เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ตอนนี้พระโสดาบันไม่เสียใจ ไม่เสียดาย ถือว่าถ้าตายเราจะมีความสุข นี่ขอท่านทั้งหลายจำอาการอารมณ์จิตที่เข้าถึงพระโสดาบันไว้ด้วย

ตอนนี้จะขอพูดอีกนิดหนึ่งถึงอารมณ์ความจริงของพระโสดาบัน ที่เรียกกันว่า องค์ของพระโสดาบัน

คำว่า องค์ ก็ได้แก่ อารมณ์จิตที่ทรงไว้อย่างนั้นอย่างแนบแน่นสนิท นั่นก็คือ

1.พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไม่คลายในความเคารพในพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะมีเหตุผลใด ๆ เกิดขึ้น ใครจะมาจ้างให้รางวัลมาก ๆ ให้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้แต่พูดเล่นพระโสดาบันก็ไม่พูด ทั้งนี้เพราะว่าอะไร เพราะว่าท่านมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระอริยสงฆ์อย่างจริงใจ แต่ทว่าระวังให้ดี ถ้าพระสงฆ์เลว พระโสดาบันไม่ใส่ข้าวให้กิน

ตัวอย่าง ภิกษุโกสัมพี มีความประพฤติชั่ว ตอนนั้นฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้านับหมื่น ไม่ยอมใส่ข้าวให้กิน เพราะถือว่าเป็นโจรปล้นพระพุทธศาสนา เป็นผู้ทำลายความดี ไม่ใช่ว่าเป็นพระอริยเจ้าแล้วละก็ จะเมตตาไปเสียทุกอย่าง ท่านเมตตาแต่คนดีหรือว่าบุคคลผู้ใดมีความประพฤติชั่วท่าน แนะนำแล้วสามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็เมตตา ถ้าเขาชั่วแนะนำแล้วไม่สามารถจะกลับตัวได้ พระโสดาบันก็ทรงอุเบกขา คือ เฉยไม่สงเคราะห์ โปรดจำอารมณ์ตอนนี้ไว้ให้ดี
2. ในประการต่อไป พระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์ ขอพูดย่อให้สั้น เพราะองค์ของพระโสดาบันก็คือ
(1) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
(2) มีความเคารพในพระธรรม
(3) มีความเคารพในพระอริยสงฆ์
นี่จัดเป็นองค์ที่มี 3 ประการ
(4) และสิ่งที่จะแถมขึ้นมาก็คือรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทำทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังความดีมีชื่อเสียงในชาติปัจจุบัน มีความรู้สึกต้องการอยู่อย่างเดียวว่าเราทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเท่านั้น อารมณ์จิตตอนนี้ขอบรรดาท่าพุทธบริษัทภิกษุ สามเณรทุกท่านต้องจำไว้ จงอย่าไปคิดว่าพระโสดาบันเลอเลิศไปถึงอารมณ์อรหันต์โดยมากมักจะคิดว่าอารมณ์ของพระอรหันต์เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ก็เลยทำกันไม่ถึง นี่เป็นการคิดผิด ความจริงการเป็นพระโสดาบันเป็นง่าย มีอารมณ์ไม่หนักที่หนักจริง ๆ ก็ คือ ศีลอย่างเดียว

ต่อไปนี้ขอพูดถึงอาการของพระโสดาบันที่จะพึงได้ พระโสดาบันจัดเป็น 3 ขั้น คือ
1.สัตตักขัตตุง สำหรับที่ท่านเป็นพระโสดาบันมีอารมณ์ยังอ่อน จะต้องเกิดและตายในระหว่างเทวดาหรือพรหมกับมนุษย์อีกอย่างละ 7 ชาติ เป็นมนุษย์ชาติที่ 7 และเข้าถึงความเป็นอรหัตผล
2. ถ้ามีอารมณ์เข้มแข็งปานกลาง ที่เรียกกันว่า โกลังโกละ อย่างนี้จะทรงความเป็นเทวดาหรือ มนุษย์อีกอย่างละ 3 ชาติครบเป็นมนุษย์ชาติที่ 3 เป็นพระอรหันต์
3.สำหรับพระโสดาบันที่มีอารมณ์เข้มแข็งเรียกว่า เอกพิชี นั่นก็จะเกิดเป็นเทวดาอีกครั้งเดียว มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็เป็นพระอรหันต์
4.ที่พูดตามนี้ หมายความว่า ท่านผู้นั้นเมื่อเป็นพระโสดาบันแล้วเกิดใหม่ไม่ได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอทุกชาติ แต่ว่าความเป็นมิจฉาทิฏฐิในชาติต่อ ๆไป จะไม่มีแก่พระโสดาบัน เพราะว่า พระโสดาบันไม่มีสิทธิที่จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน จะเกิดได้แค่ช่วงแห่งความเป็นมนุษย์กับเทวดาหรือพรหมสลับกันเท่านั้น

เป็นอันว่าพระโสดาบันนี่ ถ้าท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของไม่ยาก
หากว่าท่านจะถามว่า พระโสดาบันทั้งสัตตักขัตตุง โกลังโกละ และเอกพีชี มีอารมณ์ต่างกันอย่างไร

ก็จะขอตอบว่า พระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุง มีจริยาคล้ายชาวบ้านธรรมดามาก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความรัก ยังมีอารมณ์รุนแรงในความโลภ ในความโกรธ ในความหลง แต่ทว่าเป็นผู้มั่นคงในศีล ไม่ละเมิด

สำหรับพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ ขั้นโกลังโกละนี้มีอารมณ์เยือกเย็นมาก หรือว่ามีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มีศีลมั่นคงมาก ความจริงเรื่องศีลนี่มั่นคงเหมือนกัน แต่ว่าจิตท่านเบาบางในด้านความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความคำนึงถึงอารมณ์อย่างนี้มีอยู่แต่ก็น้อย ถ้ามีคู่ครองเขาจะโทษว่า กามคุณท่านจะลดหย่อนลงไป ความสนใจในเพศ ความสนใจในความโลภ อารมณ์แห่งความโกรธ อารมณ์แห่งความหลงมันเบา กระทบไม่ค่อยจะมีความรู้สึก

สำหรับพระโสดาบันขั้นเอกพีชี ในตอนนี้อารมณ์ของท่านผู้นั้น จะมีอารมณ์ธรรมดาอยู่มาก ขอท่านทั้งหลายโปรดอย่าลืมว่า พระอริยเจ้าจะเป็นฆราวาสก็ดี จะเป็นพระก็ดี จะเป็นเณรก็ดี จะเป็นคนมีจิตละเอียด ไม่ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่ขัดคำสั่ง ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยและกฏหมาย อันนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาบัน ที่ท่านทั้งหลายจะพึงทราบ

สำหรับเอกพิชีนี่ ความจริงมีอาการจิตใจใกล้พระสกิทาคามี แต่ทว่าสิ่งที่จะระงับไว้ได้นั้น กดด้วยกำลังของศีล มีความรู้สึกว่าเราจะต้องประคับประคองศีลของเราให้แจ่มใสอยู่เสมอ มองดูความรักในระหว่าเพศ หรือว่าความร่ำรวย หรือว่าความโกรธ หรือหลงในระหว่างเพศ หลงในสภาวะต่าง ๆ เห็นว่าเป็นของไร้สาระ มีอารมณ์เบาในความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ แต่ทว่าก็ยังมีความปรารถนาอยู่

เอาละ บรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมครู เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ วันนี้คงไม่ได้อารมณ์แห่งการปฏิบัติ แต่ทว่าอารมณ์แห่งการปฏิบัติ ในความเป็นพระโสดาบันท่านฟังกันมาแล้วสองคืน ผมเองมีความรู้สึกว่า ท่านทั้งหลายคงจะรู้สึกว่าง่ายสำหรับท่าน แต่ถ้าหากว่าเห็นว่าอารมณ์ของพระโสดาบันยากนี่ ถ้าเป็นพระเป็นเณร ผมไม่ถือว่าเป็นพระเป็นเณร ผมถือว่าเป็นเถน เถนในที่นี้หมายความว่ามี สระเอ นำหน้า มีถอถุง และ นอหนู เขาแปลว่าหัวขโมย คือ ขโมยเอาเพศของพระอริยเจ้ามาหลอกลวงชาวบ้าน ตามปกติพระกับเณรนี่ต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว

เอาละ พุดไปเวลามันเกินไป 1 นาที ก็ขอพอไว้แต่เพียงนี้ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นั่งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนก็ได้ตามอัธยาศัย ทรงกำลังใจควบคุมความเป็นพระโสดาบันของท่านไว้ จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร สวัสดี


asoka เขียน:
Onion_L
ได้บอกแล้วว่าการบรรลุโสดาปัตติมรรคเข้าถึงโสดาปัตติผลเมื่อครั้งแรกนั้น จิตของท่านผู้นั้นจะได้พบเห็นหรือเสวยพระนิพพาน 2-3 ขณะจิตก่อนแล้วดับไป
:b8:


ดังนั้น ก็เป็นไปได้ว่า โสดาบัน จริง ๆ แล้วก็คือยังไม่ได้เสวยนิพพานเลยก็เป็นได้

:b1:

asoka เขียน:
... ก็อย่าลืมกลับไปบอกคุณเช่นนั้นให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในตำรา คัมภีร์และความรู้ทฤษฎีมากแต่ขาดการปฏิบัติรองรับอย่างสมดุลย์


:b14: :b14: :b14:

:b32: :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
สวัสดีครับคุณเอก้อน
อ่านดูจากลิ้งค์ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำพูดถึงอารมณ์พระโสดาบัน ก็ดูยังไม่ละเอียดพอในเรื่องของการเข้าสัมผัสรสแห่งพระนิพพานของพระโสดาบันนะครับเป็นการพูดลักษณะกว้างๆตามสังโยชน์ 3 แต่ไม่เจาะลึก คุณเอก้อนจะเอามาตัดสินว่าพระโสดาบันยังไม่สัมผัสนิพพานนั้นน่าจะไม่ใช่นะครับ


ผมกำลังค้นหารายละเอียดการบรรลุโสดาปัตติมรรคเข้าถึงโสดาปัตติผลตามเส้นทางญาณ 16 ซึ่งอธิบายสภาวะไว้ชัดมากแล้วจะแชร์มาให้อ่านนะครับ

แต่ถ้าว่าโดยธรรมผู้ที่จะได้ความเป็นอริยบุคคลถ้ายังมิได้สัมผัสนิพพานนั้นต้องถือว่ายังไม่ใช่อริยบุคคลนะครับใครจะมาวินิจฉัยตัดสินใจเอาเองว่าพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคามีบุคคล ยังไม่ได้สัมผัสนิพพาน เสวยผลสมาบัติหรือนิพพานยังไม่ได้ ผมจึงต้องค้านแบบหัวชนฝาเลยนะครับ

ผมไม่ค่อยเก่งการค้นบัญญัติคงต้องรอหน่อย หรือไม่ผมอาจต้องปล่อยให้เป็นเรื่องกรรมของสัตว์โลก ซึ่งมันจะเป็นกรรมของผมหรือกรรมของคุณเช่นนั้นและเอก้อนก็แล้วแต่มันจะเป็น แต่ก็ขออย่าให้ละความเพียรในการพิสูจน์ธรรมกันต่อไปวันที่เจ้าตัวได้อยู่ในฐานะของอริยบุคคลชั้นต้นจริงๆเมื่อไหร่เจ้าตัวจะรู้ด้วยตัวเองเป็นปัจจัตตังนะครับ

:b27:


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
ได้มาแล้วครับๆๆ คุณเอก้อน คุณเช่นนั้น
จากวิปัสสนาจารย์ ที่ท่านผ่านญาณ 16 มาแล้ว เมตตาและกรุณาอธิบาย

https://m.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B8% ... /?__tn__=C
:b37:
14.มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค ปัญญาที่ปหานกิเลสให้เป็น สมุทเฉทปหาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นญาณที่ถึงพระนิพพานหรือโลกุตรภูมิอย่างสมบรูณ์ ได้เชื่อว่าอริยะบุคคลในพุทธศาสนา

เป็นพระโสดาบันติมรรค ทำให้อนุสัยกิเลสเบาบางอย่างมากมายและ สามารถละกิเลส 3 ตัวได้อย่างเด็ดขาด ได้แก่

1.สักกายทิฐิสัญโญชน์ คือการยึดถือเป็นตัวตนผิดๆ ในรูปนามนั้นๆ 2. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ คือความสงสัยใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ คือการถือข้อวัตรปฏิบัติผิดไม่ถูกทาง

ซึ่งกิเลสทั้ง 3 ละขาดจากสันดานได้อย่างเด็ดขาด ก็จะก้าวสู่ญาณที่ 15 ผลญาณ ทันที
เมื่อพ้นจากโคตรภูญาณแล้วเข้าสู่มรรคญาณซึ่งมีลักษณะสภาวะแห่งความดับสําหรับความดับนี้ดังที่ได้กล่าวไว้ในโคตรภูญาณนั้นมันเป็นความดับที่ไม่จริง พอเข้าสู่มรรคญาณแล้วก็ยังอยู่ในความดับ และอาการที่อยู่ในความดับนี้มีลักษณาการไม่เหมือนกัน ดังต่อไปนี้
1.สําหรับผู้ปฏิบัติที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า ย่อมจะเห็นอนิจจลักษณะได้ชัดเจนที่สุดเพราะอนิจจลักษณะมีกําลังแรง ทําให้วิปัสสนาที่กําลังแล่นเข้าสู่มรรคดําเนินไปอยู่นั้นเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติสามารถเห็นรูปนามแสดงความไม่เที่ยงอย่างละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง จนในที่สุดก็ดับไป ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าการเข้าสู่มรรคทางอนิจจัง(อนิมิตตวิโมกข์ ดับทางอนิจจัง)
2. สําหรับผู้ปฏิบัติที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า ย่อมจะเห็นทุกขลักษณะชัดเจนที่สุดเพราะทุกขลักษณะมีกําลังแรง ทําให้วิปัสสนาที่กําลังแล่นเข้าสู่มรรคดําเนินไปอยู่นั้นเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติ เห็นรูปนามแสดงทุกขลักษณะอย่างแสนสาหัสชัดเจนที่สุดเช่น มีอาการแน่นหน้าอกเรื่อยขึ้นไปจนถึงลําคอและดับไปในที่สุด ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าการเข้าสู่ มรรคทางทุกขัง (อัปปณิหิตวิโมกข์ ดับทางทกขัง)
3. สําหรับผู้ปฏิบัติที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า ย่อมจะเห็นอนัตตลักษณะชัดเจนที่สุดเพราะอนัตตลักษณะมีกําลังแรง ทําให้วิปัสสนาที่กําลังแล่นเข้าสู่มรรคดําเนินไปอยู่นั้นเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติเห็นรูปนามแสดงความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจนที่สุด (ส่วนจะแสดงออกมาชัดในลักษณะใดบ้างนั้น ผู้รู้ท่านไม่ได้แสดงเอาไว้คงปล่อยให้เป็นเรื่องปัจจัตตังสําหรับผู้ปฏิบัติจะพึงประสบด้วยตนเอง) มีอาการละเอียดสุขุมยิ่งนักแล้วค่อยๆเล็กลงๆ เหมือนเส้นด้ายที่เล็กที่สุดและขาดดับหายไป ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าการเข้าสู่ มรรคทางอนัตตา (สุญญตวิโมกข์ ดับทางอนตตา)อนึ่ง โดยทันทีที่เข้าสู่เขตโคตรภูซึ่งเป็นญาณที่มีความรู้สุกงอมอยู่ในขณะนั้นมรรคญาณก็รอรับผู้ปฏิบัติผู้ซึ่งมีอินทรีย์สมบูรณ์นั้นอยู่และเมื่อผ่านเข้าเขตแดนแห่งมรรคญาณ เขาก็ได้บรรลุความเป็นอริยชนในฉับพลันนั้นเอง และ ณ ญาณนี้เอง ผู้ปฏิบัติจึงมีปรีชาหยั่งรู้อริสัจจย์ทั้งสี่คือ ทุกขอริยสัจ สมุทยอริยสัจ นิโรธอริยสัจและมรรคอริยสัจ อย่างทั่วถึงโดยตลอดการที่ผู้ปฏิบัติคนใดคนหนึ่งจะเข้าสู่มรรคญาณได้นั้นจะต้องเข้าทางพระไตรลักษณ์ตามอํานาจวาสนาบารมีได้สั่งสมมาแตกต่างกันของแต่ละบุคคลเท่านั้น จะไม่มีทางอื่นนอกเหนือไปจาก ๓ ทางที่กล่าวมาแล้วนี้อย่างงแน่นอน
15.ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล ปัญญาที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่มรรคญาณปหานกิเลสแล้วมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นญาณที่พระอริยะบุคคลเข้าเสวยผลของนิพพานขณะที่มีสังขารนี้อยู่ ชั่ว 2 หรือ 3 ขณะจิต หลังจากนั้นก็ขึ้นสู่ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ อันเป็นญาณสุดท้าย

ครั้นเมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้วผลญาณซึ่งเป็นผลของมรรคญาณก็จะเกิดขึ้นติดตามมาทันทีไม่มีระหว่างมาคั่นกลางเลย เพราะมรรคญาณนั้นจะปรากฏอยู่ได้เพียงระยะเวลาชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น และจะปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียวไม่ว่าจะเป็นมรรคญาณชั้นใดเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ทําการประหารกองกิเลส คือตัดสังโยชน์ตามอํานาจของมรรคญาณนั้นๆ แต่ ณ ขณะนี้กําลังพูดถึงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานชั้นต้นที่เรียกว่า ปฐมมรรค หรอโสดาปัตติมรรค ซึ่งเกดขึ้นและทําการประหาณ (การละ) กิเลสไดอย่างเด็ดขาด ก็คือ
1. สักกายทิฏฐิ คืความเห็นว่าเป็นตัวของตน
2. วิจิกิจฉา ความสงสัย
3. สีลัพพตตปรามาส ความถือมั่นในศีลพรต
4. กามราคะความกาหนัดในกาม
5. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
ปฐมมรรคนี้เกิดได้ครั้งเดียวต่อจากนั้นผลญาณจะปรากฏขึ้นติดตามมา และเป็นผลๆอยู่เรื่อยไปผลญาณนี้เมื่อกล่าวตามประเภทของผู้ปฏิบัติมีอยู่ ๒ ประเภท คือ

1. มัณฑบุคคลคือ บุคคลผู้มีปัญญาน้อย ปัญญาไม่แก่กล้าผลญาณปรากฏในระยะนี้๒ ครั้ง หมายความว่า ท่านก้าวเข้าสู่มรรคผลอย่างเชื่องช้า โดยต้องมีปริกรรมเป็นขณะแรกเสียก่อน

2. ติกขบุคคล คือ บุคคลผู้ปัญญามาก มีปัญญาแก่กล้า ผลญาณปรากฏในระยะนี้๓ ครั้ง หมายความว่า ท่านก้าวเข้าสู่มรรคผลอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีบริกรรมต่อจากผล ๓ ครั้งก็มีภวังค์มาคั่นแล้วจึงบรรลุถึงปัจเวกขณญาณ อันเป็นญาณสุดท้ายเลยทีเดียวผลญาณ คือการที่ผู้ปฏิบัติผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาได้แล่นเข้าสู่แดนเกษมอันเป็นโลกุตระโดยมีพระนิพพานเป็นอารมณ์นั่นเอง
onion


โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 12:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ...

แล้วท่านอโศกะพอจะบอก/อธิบายได้หรือไม่ว่า

นิพพานเป็นอารมณ์ ที่ปรากฏนั้น ๆ
หรือ วิมุตติที่ปรากฎให้หมายรู้นั้น ๆ มีลักษณะเช่นไร

แล้ว

ท่านคิดว่า นิพพานเป็นอารมณ์ระดับ โสดาบัน
หรือ วิมุตติที่ปรากฎแก่โสดาบัน นั้น
จะเหมือน หรือต่างกับ นิพพานที่เป็นอารมณ์ หรือวิมุตติที่ปรากฎในระดับ อรหันต์

:b1:

ทำไมโสดาบันที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ทำวิมุตติให้ปรากฎเสวยอยู่ได้
ถ้านิพพานเหมือนกัน วิมุตติเหมือนกัน
ทำไม...ยังจะต้องมีอะไรต้องทำเพื่อให้ นิพพาน เพื่อวิมุตติอีกล่ะ
แสดงว่า รสชาดที่เสวยอยู่ที่เสพอยู่นั้น ยังไม่ใช่ที่หมายจริง ๆ

ประหนึ่ง ก่อนที่อาหารจะเข้าปาก กลิ่นย่อมลอยเข้ามายังจมูกก่อน

....

ความที่ยังทำไม่สุดนั้น มันมีเหตุมีผลซ่อนอยู่ในอารมณ์ที่ปรากฎแก่จิต

อารมณ์ก็เป็นอาหารของจิต
การพบกระแสนิพพาน ก็ประหนึ่งได้กลิ่นอาหารอันโอชะลอยมา แต่ยังไม่ได้กิน
และผู้ได้กลิ่นก็จะระลึกถึงกลิ่น(กระแส) และเดินตามกลิ่นไป...

ส่วนผู้ที่เข้าถึงแล้ว ได้รู้แล้ว ย่อมหยุดตามกลิ่นแล้ว

:b1:

ท่านอโศกะต้องทำความรู้สึกตัวว่า ตนนั้นเป็นผู้ตามกลิ่นอยู่
หรือเป็น ผู้นิพพานอยู่

ไม่ต้องไปควานหาที่ไหนเลย แค่ถาม/หยั่งลงไปในใจของตัวเองดู
ก็จะได้คำตอบ

เช่นเดียวกับเอกอนก็ตอบได้อย่างไม่ต้องคิดเลยว่า
เอกอนยังไม่เคยชิม นิพพาน...


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 13:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 13:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb (2).jpg
กระบวนการทำงานของมรรค 8_100.1 Kb (2).jpg [ 69.17 KiB | เปิดดู 1628 ครั้ง ]
eragon_joe เขียน:
:b1: ...

แล้วท่านอโศกะพอจะบอก/อธิบายได้หรือไม่ว่า

นิพพานเป็นอารมณ์ ที่ปรากฏนั้น ๆ
หรือ วิมุตติที่ปรากฎให้หมายรู้นั้น ๆ มีลักษณะเช่นไร

แล้ว

ท่านคิดว่า นิพพานเป็นอารมณ์ระดับ โสดาบัน
หรือ วิมุตติที่ปรากฎแก่โสดาบัน นั้น
จะเหมือน หรือต่างกับ นิพพานที่เป็นอารมณ์ หรือวิมุตติที่ปรากฎในระดับ อรหันต์

:b1:

:b4:
นิพพานเป็นอันเดียวอย่างเดียวกันหมดทุกชั้นของพระอริยบุคคล เหมือนพระธาตุดอยสุเทพที่เชียงใหม่เป็นพระธาตุดอยสุเทพองค์เดียว แต่ผู้ไปถึงไปเยือนจะไปมองอยู่มุมไหนก็จะแสดงความเห็นอย่างนั้น

ความต่างกันนั้นก็คือความสามารถที่จะเข้าไปเสวยผลทำได้ยากง่ายมากน้อยทนนานต่างกันเท่านั้นเอง

ลักษณะของนิพพานนั้นยากจะอธิบายให้รู้ด้วยภาษามนุษย์ ดุจการพยายามจะไปอธิบายความเผ็ดของพริกหรือความเค็มของเกลือ ผู้อยากรู้ต้องไปสัมผัสดูได้ด้วยตนเอง

แต่วิธีจะไปสัมผัสนิพพานนั้นสามารถบอกกล่าวได้ดุจการอธิบายวิธีที่คนจะสัมผัสรสเผ็ดรสเค็มด้วยการไปหาพริกหรือเกลือมาใส่ปากให้มันถูกลิ้น

อาการที่เกิดขึ้นภายหลังการสัมผัสสภาวนิพพานที่ชัดเจนมากก็คือในกายในใจเหมือนมันกลวงโบ๋ๆจากความเป็นตัวเป็นตน

:b8:
โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 13:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้านิพพานเป็นอารมณ์เป็นอย่างเดียวกันหมด แล้วท่านทำนิพพานโสดาบันได้แล้ว
ท่านจะไปทำนิพพานอรหันต์อีกทำไมล่ะ

:b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 13:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 13:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

ที่นิพพาน แล้วจะไปทำนิพพานที่สูงขึ้น
เหมือนกับสะท้อนว่าแท้จริงแล้ว ไอ้ที่คิดว่านิพพานนั้นแท้จริงอารมณ์ยังไม่ได้แอ้มนิพพานเลย

เป็นเพียงแค่ ได้กลิ่น และใช้กลิ่นนั้นเป็น อารมณ์เพื่อเดินไปหา นิพพานที่แท้จริง

:b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 16:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 พ.ย. 2015, 14:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
smiley
สวัสดีครับคุณเอก้อน
อ่านดูจากลิ้งค์ที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำพูดถึงอารมณ์พระโสดาบัน ก็ดูยังไม่ละเอียดพอในเรื่องของการเข้าสัมผัสรสแห่งพระนิพพานของพระโสดาบันนะครับเป็นการพูดลักษณะกว้างๆตามสังโยชน์ 3 แต่ไม่เจาะลึก คุณเอก้อนจะเอามาตัดสินว่าพระโสดาบันยังไม่สัมผัสนิพพานนั้นน่าจะไม่ใช่นะครับ


:b27:


แม้ใครจะเห็นว่าไม่ละเอียด แต่มันก็มีข้อมูลมากพอที่จะให้ผู้อ่านได้ ฉุกคิด

สังโยชน์ เป็นสิ่งที่เกิดประกอบอยู่กับจิตรึเปล่าล่ะ ...
สังโยชน์ ละได้เพียง 3 ยังเหลืออีก 7

นิพพาน นิพพานที่จิตรึเปล่า ...

:b6: :b6: :b6:

จิตที่เป็นนิพพาน ประกอบด้วยเจตสิกยังไง...
ท่านอโศกะผู้รู้จักจิตนิพพานช่วยอธิบายหน่อย

จิตอันเป็น นิพพาน จะประกอบด้วยสังโยชน์ที่เหลืออีก 7 ตัวปะปนอยู่ได้ด้วยเหร๋อ

:b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 พ.ย. 2015, 16:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร