วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 04:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:

บทสวดมนต์

บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ.........


อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

onion onion

ไม่มีไม่เห็น หรือมีก็ไม่เน้นเป็นประเด็นสำคัญนะครับท่านเช่นนั้น
s004

ไม่เน้นเป็นประเด็นสำคัญ ... จริงหรือครับ อโศกะ
พระพุทธองค์แสดง พระสูตรไหนก่อนครับ

s004
ก็ปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตนสูตร นี่ไงครับ

ต้องธัมมจักกัปปวัตนสูตรนะครับ ไม่ใช่ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรอย่างที่ท่านเช่นนั้นพิมพ์มาในท่อนก่อน มิฉนั้นความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปเยอะเลยเชียวครับ

หรือท่านเช่นนั้นไปรู้มาว่าทรงแสดงสูตรอื่นก่อนก็โปรดนำมาเล่าสู่กันฟังให้เป็นบุญหูบุญตานะครับขอบพระคุณ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:

บทสวดมนต์

บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ.........


อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

onion onion

ไม่มีไม่เห็น หรือมีก็ไม่เน้นเป็นประเด็นสำคัญนะครับท่านเช่นนั้น
s004

ไม่เน้นเป็นประเด็นสำคัญ ... จริงหรือครับ อโศกะ
พระพุทธองค์แสดง พระสูตรไหนก่อนครับ

s004
ก็ปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตนสูตร นี่ไงครับ

ต้องธัมมจักกัปปวัตนสูตรนะครับ ไม่ใช่ ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรอย่างที่ท่านเช่นนั้นพิมพ์มาในท่อนก่อน มิฉนั้นความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปเยอะเลยเชียวครับ

หรือท่านเช่นนั้นไปรู้มาว่าทรงแสดงสูตรอื่นก่อนก็โปรดนำมาเล่าสู่กันฟังให้เป็นบุญหูบุญตานะครับขอบพระคุณ
smiley

เมื่ออโศกะ ทราบว่า ธัมมจักรกัปปวัตนสูตรนั้นแสดงก่อน อนัตตลักขณสูตร
ถามอโศกะต่อนะครับว่า
นักบวชโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เพราะฟังอนัตตลักขณะสูตร หรือ ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร

และต่อมาปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ทูลขอบรรพชา จิตของปัญจวัคคีย์ทั้งห้า สิ้นสงสัยมีความเลื่อมใสในพระศาสดา
ขณะนั้นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 บรรลุโสดาปัตติผล เพราะการพิจารณา อนัตตาตามอนัตตลักขณะสูตรหรือไม่ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 28 ก.ย. 2015, 14:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 17:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b43:
ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเมื่อพิจารณาตามอริยสัจ4 อันแสดงในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ไม่ใช่ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

แล้วบรรลุอรหันต์ด้วยเห็นชัดอนัตตา เรียงตามลำดับจนครบทั้ง 5 .องค์ ด้วยอนัตตลักขณสูตร ครับ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:

... นักปฏิบัติจะไม่รู้วิธีดับอัตตาหรอก ถ้านักปฏิบัติยังไม่รู้วิธีดับอาสวะ

:b8: :b8: :b8:

อ่านแค่นี้ความคิด....ก็นึกสิ่งที่ไม่ได้นึก..มานาน...ไม่ได้อ่านต่อ..ก็ว่าจะโมทนาลย

พออ่านต่อ...ก็เจอ...ไม่ต้องนึกแล้ว..อิอิ
อ้างคำพูด:
asoka เขียน:
:b30: :b30: :b30:

นักปฏิบัติ (จริง ๆ) จะรู้ว่า"อัตตา" กับ "อาสวะ" มันสัมพันธ์กันอย่างไร ... นะ

นักปฏิบัติที่รู้จัก "อาสวะ"
เมื่อนักปฏิบัติเห็น "อาสวะ" ก็จะเห็น "อวิชชา" ก็จะเห็น "อัตตา" ก็จะเห็น "วิชชา/ปัญญา"

:b8: :b8: :b8:


:b8: :b8: :b8:

55555555555
เมื่อครั้งปฐมเทศนาและอีก5 วันให้หลังพระบรมศาสดาทรงแสดงเพียง 2 สูตรคือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรมิได้ทรงแสดงเรื่องอาสวะทั้ง 4 ไว้เลยแต่ก็ยังเกิดพระอรหันต์ขึ้นมาในโลกอีกถึง 5 องค์

ความรู้จักอัตตาและอนัตตานั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำลายเหตุทุกข์


:b38:


ขออนุญาต... :b32: :b32: :b32: ..หน่อยนะคับ

ถ้าไม่แสดง...แสดงว่าไม่มี...ต้องแสดง..จึงจะเรียกว่า..มี...ใช่มั้ยคับป่ม...??

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2015, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b43:
ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเมื่อพิจารณาตามอริยสัจ4 อันแสดงในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ไม่ใช่ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

แล้วบรรลุอรหันต์ด้วยเห็นชัดอนัตตา เรียงตามลำดับจนครบทั้ง 5 .องค์ ด้วยอนัตตลักขณสูตร ครับ
onion

eragon_joe เขียน:
นักปฏิบัติ (จริง ๆ) จะรู้ว่า"อัตตา" กับ "อาสวะ" มันสัมพันธ์กันอย่างไร ... นะ

นักปฏิบัติที่รู้จัก "อาสวะ"
เมื่อนักปฏิบัติเห็น "อาสวะ" ก็จะเห็น "อวิชชา" ก็จะเห็น "อัตตา" ก็จะเห็น "วิชชา/ปัญญา"
asoka เขียน:
55555555555
เมื่อครั้งปฐมเทศนาและอีก5 วันให้หลังพระบรมศาสดาทรงแสดงเพียง 2 สูตรคือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรมิได้ทรงแสดงเรื่องอาสวะทั้ง 4 ไว้เลยแต่ก็ยังเกิดพระอรหันต์ขึ้นมาในโลกอีกถึง 5 องค์

ความรู้จักอัตตาและอนัตตานั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำลายเหตุทุกข์


อโศกะ แสดงออกมาว่า ท่านอัญญาโกณฑัญญะเห็นธรรมเมื่อพิจารณาตามอริยสัจจ์ 4 อันแสดงในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
อาสวะไหนถูกทำลายให้เกิดดวงตาเห็นธรรม
และในอริยสัจจ์ 4 ที่ทรงแสดง มีอาสวะไหนได้ถูกเปิดออกมาให้ เหล่าปัญจวัคคีย์ได้ทราบ..
การที่พระองค์แสดง อริยสัจจ์4 นั้นเป็นการทำลายอาสวะใดให้เบาบางลงไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 17:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
asoka เขียน:
:b43:
ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมเมื่อพิจารณาตามอริยสัจ4 อันแสดงในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ไม่ใช่ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร

แล้วบรรลุอรหันต์ด้วยเห็นชัดอนัตตา เรียงตามลำดับจนครบทั้ง 5 .องค์ ด้วยอนัตตลักขณสูตร ครับ
onion

eragon_joe เขียน:
นักปฏิบัติ (จริง ๆ) จะรู้ว่า"อัตตา" กับ "อาสวะ" มันสัมพันธ์กันอย่างไร ... นะ

นักปฏิบัติที่รู้จัก "อาสวะ"
เมื่อนักปฏิบัติเห็น "อาสวะ" ก็จะเห็น "อวิชชา" ก็จะเห็น "อัตตา" ก็จะเห็น "วิชชา/ปัญญา"
asoka เขียน:
55555555555
เมื่อครั้งปฐมเทศนาและอีก5 วันให้หลังพระบรมศาสดาทรงแสดงเพียง 2 สูตรคือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรมิได้ทรงแสดงเรื่องอาสวะทั้ง 4 ไว้เลยแต่ก็ยังเกิดพระอรหันต์ขึ้นมาในโลกอีกถึง 5 องค์

ความรู้จักอัตตาและอนัตตานั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำลายเหตุทุกข์


อโศกะ แสดงออกมาว่า ท่านอัญญาโกณฑัญญะเห็นธรรมเมื่อพิจารณาตามอริยสัจจ์ 4 อันแสดงในธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
อาสวะไหนถูกทำลายให้เกิดดวงตาเห็นธรรม
และในอริยสัจจ์ 4 ที่ทรงแสดง มีอาสวะไหนได้ถูกเปิดออกมาให้ เหล่าปัญจวัคคีย์ได้ทราบ..
การที่พระองค์แสดง อริยสัจจ์4 นั้นเป็นการทำลายอาสวะใดให้เบาบางลงไป

:b12:
ไม่มีแสดงไว้ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร กับอนัตตลักขณสูตร ว่าอาสวะไหนถูกทำลาย

ต่ที่แสดงให้เห็นชัดในธัมมจักกัปปวัตนสูตรจนท่านอัญญาโกณฑัณญะได้ดวงตาเห็นธรรมคือท่านได้เห็นว่า

"ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ ถ้าเหตุดับผลก็ดับ"

และที่แสดงให้เห็นชัดในอนัตตลักขณสูตรคือ

"สัพเพธัมมา อนัตตา". เมื่อรู้ชัดในอนัตตา อัตตาความเห็นผิดยึดผิดก็ดับ

ส่วนเรื่องที่จะลงเป็นอาสวะข้อไหนนั้นเป็นเรื่องที่ท่านเช่นนั้นจะมาวิเคราะห์และตัดสินใจเอาเองเพื่อให้ลงล๊อคที่ตนเองพูดไว้
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 19:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


https://sites.google.com/site/smartdham ... d-xwichcha

อ้างคำพูด:
สัมมาทิฏฐิ ๓๐

อาสวะเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา



สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

ได้แสดงข้อสัมมาทิฏฐิตามเถราธิบาย แห่งท่านพระสารีบุตรมาโดยลำดับ และได้แสดงอธิบายแต่ละข้อ จะได้กล่าวสรุปข้อที่ได้แสดงอธิบายแล้ว ตั้งแต่ต้นจนจบสักครั้งหนึ่ง และจะได้แจ้งว่าข้อใดที่ได้แสดงอธิบายมาแล้ว และข้อใดที่จะแสดงอธิบายต่อไป ท่านพระสารีบุตรได้ประทานเถราธิบายข้อสัมมาทิฏฐิแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ได้กราบเรียนท่านถามท่าน และเมื่อท่านได้แสดงอธิบายหมวดหนึ่งแล้ว ท่านภิกษุทั้งหลายก็ถามต่อไป ท่านก็แสดงต่อไปอีกโดยลำดับ

และหลักในการตั้งอธิบายของท่าน ก็ตั้งหลักอธิบายตามหลักแห่งอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นั้นแหละ จับตั้งต้นแต่แสดงอธิบายว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบก็ได้แก่ความเห็นตรงถูกต้อง

ซึ่งทำให้ผู้มีสัมมาทิฏฐิได้ความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม นำมาสู่สัทธรรมคือพระธรรมวินัยนี้ ก็ได้แก่ รู้จักอกุศล รู้จักอกุศลมูล มูลรากของอกุศล รู้จักกุศล รู้จักกุศลมูล มูลรากของกุศล รู้จักอาหาร รู้จักสมุทัยเหตุเกิดแห่งอาหาร รู้จักนิโรธความดับอาหาร รู้จักมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร รู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ รู้จักนิโรธความดับทุกข์ รู้จักมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

สัมมาทิฏฐิตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ต่อจากนี้ท่านก็แสดงอธิบายไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น ย้อนหลังขึ้นมา คือท่านแสดงอธิบายว่า สัมมาทิฏฐิก็ได้แก่ รู้จักชรามรณะ รู้จักสมุทัยเหตุเกิดชรามรณะ รู้จักความดับชรามรณะ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับชรามรณะ

และท่านก็ได้แสดงว่าเหตุเกิดชรามรณะก็คือชาติ ท่านจึงแสดงต่อไปว่า รู้จักชาติคือความเกิด รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดชาติ รู้จักความดับชาติ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับชาติ สมุทัยเหตุเกิดแห่งชาตินั้นก็ได้แก่ภพ

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักภพ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดภพ รู้จักความดับภพ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับภพ และสมุทัยคือเหตุเกิดแห่งภพนั้นก็ได้แก่อุปาทาน

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักอุปาทาน รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดอุปาทาน รู้จักความดับอุปาทาน รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอุปาทาน ก็สมุทัยเหตุให้เกิดอุปาทานนั้นก็ได้แก่ตัณหา

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักตัณหา รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดตัณหา รู้จักความดับตัณหา รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา ก็สมุทัยเหตุให้เกิดตัณหาก็ได้แก่เวทนา

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักเวทนา รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดเวทนา รู้จักความดับเวทนา รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา ก็สมุทัยคือเหตุให้เกิดเวทนา ก็ได้แก่สัมผัสหรือผัสสะ

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักผัสสะ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดผัสสะ รู้จักความดับผัสสะ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับผัสสะ ก็สมุทัยคือเหตุให้เกิดผัสสะก็ได้แก่สฬายตนะ คืออายตนะทั้ง ๖

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักอายตนะทั้ง ๖ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดอายตนะทั้ง ๖ รู้จักความดับอายตนะทั้ง ๖ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอายตนะทั้ง ๖ ก็สมุทัยเหตุให้เกิดอายตนะทั้ง ๖ ก็คือนามรูป

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักนามรูป รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดนามรูป รู้จักความดับนามรูป รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับนามรูป ก็สมุทัยคือเหตุให้เกิดนามรูปก็ได้แก่วิญญาณ

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักวิญญาณ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดวิญญาณ รู้จักความดับวิญญาณ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับวิญญาณ ก็สมุทัยคือเหตุให้เกิดวิญญาณก็ได้แก่สังขาร

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักสังขาร รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดสังขาร รู้จักความดับสังขาร รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับสังขาร ก็สมุทัยคือเหตุให้เกิดสังขารก็ได้แก่อวิชชา

ท่านจึงแสดงต่อไปว่า รู้จักอวิชชา รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดอวิชชา รู้จักความดับอวิชชา รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอวิชชา

เหตุเกิดอวิชชา

ก็ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอาไว้ ก็สิ้นสุดลงแค่อวิชชานี้ แต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อท่านได้แจกออกเป็น ๔ ในหมวดอวิชชา ข้อ ๒ คือเหตุเกิดอวิชชา ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไป ว่าเหตุเกิดอวิชชานั้นก็ได้แก่อาสวะ

ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่า รู้จักอาสวะ รู้จักสมุทัยเหตุให้เกิดอาสวะ รู้จักความดับอาสวะ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ และเมื่อท่านได้แสดงว่าสมุทัยเหตุให้เกิดอาสวะ ท่านจึงแสดงอธิบายต่อไปว่าอวิชชานั้นเอง เพราะอวิชชาเกิด อาสวะก็เกิด ก็เป็นอันว่า วนมาหาอวิชชาอีก และเมื่อวนมาหาอวิชชาอีกดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าท่านได้แสดงอธิบาย แม้ว่าจะเพิ่มอาสวะว่าเป็นเหตุเกิดอวิชชา แต่เมื่อท่านแสดงเหตุเกิดอาสวะ ท่านก็เอาอวิชชาอีกนั่นแหละมาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็วนมาหาอวิชชาอีก

เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันว่าก็ยุติลงที่อวิชชา เป็นแต่เพียงว่า อวิชชานั้นเกิดขึ้นก็เพราะอาสวะเกิดขึ้น

และอาสวะจะเกิดขึ้นก็เพราะอวิชชาเกิดขึ้นอีกนั่นแหละ ก็เป็นอันว่า อวิชชามีก็เพราะอาสวะ อาสวะมีก็เพราะอวิชชา จึงเป็นอันว่าวนกันอยู่ตรงนี้ จึงยุติกันอยู่ตรงนี้ อาสวะเกิดก็เพราะอวิชชา อวิชชาเกิดก็เพราะอาสวะ อาสวะเกิดก็เพราะอวิชชา อวิชชาเกิดก็เพราะอาสวะ ก็เป็นอันว่าสิ้นสุดอยู่แค่นี้ เพราะถ้าไม่สิ้นสุดลงแค่นี้ ก็จะแล่นออกไปนอกทาง

อริยสัจจ์สายเกิดทุกข์

เพราะฉะนั้น อวิชชาและอาสวะนี้ จึงนับว่าเป็นที่สิ้นสุดของสายเกิดทุกข์ ซึ่งเมื่อสาวขึ้นมา คือสาวผลหาเหตุขึ้นมา เมื่อจับอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เป็นหลัก ทุกข์ ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ และ มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันเป็นอริยสัจจ์ ๔ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงทั่วไป และทุกข์นั้น ก็ได้ทรงชี้เอาว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์เป็นต้น ดังที่เราทั้งหลายสวดกันอยู่ว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายเป็นทุกข์

เพราะฉะนั้น ท่านจึงจับมาชี้แจงในทุกขสัจจะนี่แหละ ขึ้นเป็นที่ตั้ง คือยกเอา ชาติ ชรา มรณะ เป็นที่ตั้ง โดยที่จับแสดงอธิบายเพื่อให้เกิดปัญญา รู้จักอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ โดยพิสดาร คือจับเอา ชรา มรณะ ความแก่ ความตาย ขึ้นมาแยกออกไปเป็นอีก ๔ ข้อ ก็เป็นอริยสัจจ์ ๔ ในข้อชรามรณะ โดยที่ให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาให้ได้สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบความเห็นตรง คือรู้จักชรามรณะ รู้จักเหตุเกิดชรามรณะ รู้จักความดับชรามรณะ รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับชรามรณะ เอาอริยสัจจ์ ๔ กันแค่นี้ก่อน แล้วท่านก็ชี้ว่าชรามรณะคืออะไร เหตุเกิดชรามรณะคืออะไร ก็คือชาติความเกิด ดับชรามรณะก็คือดับชาติความเกิด เมื่อดับชาติความเกิดได้ ก็ดับชรามรณะได้ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับชรามรณะ ก็คือมรรคมีองค์ ๘

ในที่นี้จึ่งได้แสดงอธิบายในอริยสัจจ์ ๔ ที่ท่านจำแนกออกโดยละเอียดดั่งนี้ ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงเอาไว้ ตามที่ได้ทรงพิจารณา คือได้แสดงอธิบายจำเพาะข้อที่ ๑ ของแต่ละหมวด ว่าชรามรณะคืออะไร ชาติคืออะไร ภพคืออะไร อุปาทานคืออะไร ตัณหาคืออะไร เวทนาคืออะไร ผัสสะคืออะไร อายตนะ ๖ คืออะไร นามรูปคืออะไร วิญญาณคืออะไร สังขารคืออะไร อวิชชาคืออะไร อาสวะคืออะไร

คือแสดงอธิบายในข้อที่ ๑ มาโดยลำดับ ส่วนข้อที่ ๒ ของแต่ละหมวดนั้น คือเหตุเกิดของแต่ละข้อ เหตุเกิดของชรามรณะก็คือชาติ เรื่อยขึ้นมาจนถึงเหตุเกิดของอวิชชาก็คืออาสวะ เหตุเกิดของอาสวะก็คืออวิชชา เป็นเหตุเกิดกันอย่างไร ในข้อนี้ยังมิได้อธิบาย เพราะฉะนั้น จึงจะจับอธิบายในข้อที่ ๒ นี้ว่าเป็นเหตุเกิดกันอย่างไร จับตั้งแต่อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะอย่างไร อาสวะเป็นเหตุเกิดอวิชชาอย่างไร เรื่อยมาจนถึงชาติเป็นเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างไร

อวิชชา ๘ กาลเวลาที่ไม่รู้จัก

สำหรับอวิชชานั้นก็ได้แสดงอธิบายแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้แสดงอธิบายไว้ ก็ได้แก่ ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักนิโรธ ความดับทุกข์ ไม่รู้จักมรรค คือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านแสดงไว้ก็คืออวิชชา ๔ แต่ในที่อื่นได้มีแสดงไว้เป็นอวิชชา ๘ คือเพิ่มขึ้นอีก ๔ ข้อ ได้แก่ ไม่รู้เงื่อนต้น ไม่รู้เงื่อนปลาย ไม่รู้ทั้งเงื่อนต้นทั้งเงื่อนปลาย ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น

อีกนัยหนึ่ง ๔ ข้อหลังนี้ยกกาลเวลาขึ้นเป็นที่ตั้ง คือไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักอนาคต ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น ซึ่งก็ได้แสดงอธิบายแล้ว

แต่ในที่นี้ก็จะได้เพิ่มเติมในแนวอธิบายที่เกี่ยวกับกาลเวลาอีกปริยาย คือทางอันหนึ่ง ที่ว่าไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักอนาคต ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต กาลเวลาที่ไม่รู้จักดั่งนี้ ก็ทำให้ไม่รู้จักทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์ด้วย ก็เพราะว่าสภาพที่จริงคือทุกข์นั้น ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงอธิบายไว้ ว่าชาติความเกิดเป็นทุกข์ ชราความแก่เป็นทุกข์ มรณะความตายเป็นทุกข์

ทไวลักษณ์ ไตรลักษณ์

จนถึงกล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการเป็นทุกข์ และข้อที่เป็นทุกข์นี้ พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสแสดงอธิบายไว้ โดยปริยายคือแนวทางอธิบายต่างๆ เป็นอันมาก ที่เป็นพหุลานุสาสนี คือคำสั่งสอนเป็นอันมาก ดังที่เราทั้งหลายสวดกันอยู่ ก็ดังที่ได้ตรัสสอนไว้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงคือทั้งที่เป็นสังขารและทั้งที่เป็นวิสังขาร เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน เป็น ทไวลักษณะ คือ ลักษณะ ๒

อีกนัยหนึ่งที่ตรัสแสดงไว้ก็เป็นไตรลักษณ์ อนิจจะ ไม่เที่ยง ทุกขะ เป็นทุกข์ อนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน ก็เพื่อที่จะให้รู้จักทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ นั้นเอง อนิจจะคือไม่เที่ยง ก็คือต้องเกิดต้องดับ ไม่ยั่งยืน อนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน ก็เพราะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ และหากว่าจะเติมทุกขะให้เป็นไตรลักษณ์ ก็เพราะตั้งอยู่คงที่มิได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ ซึ่งย่อลงเป็นนามรูป ให้เห็นไตรลักษณ์ หรือ ทไวลักษณ์ ลักษณะ ๒ อนิจจะอนัตตาบังเกิดขึ้น จึงจะเห็นทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์

เครื่องกำบัง อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา

แต่ว่าท่านแสดงไว้ว่า

เครื่องกำบัง อนิจจตา ความไม่เที่ยง ก็คือสันตติ ความสืบต่อ

เครื่องกำบัง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ก็คือความสุข ความผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ

เครื่องกำบัง อนัตตตา ความเป็นอนัตตา ก็คือความเป็นก้อนเป็นแท่ง

เครื่องกำบังเหล่านี้ทำให้มองไม่เห็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา

จะยกตัวอย่างข้ออนิจจะไม่เที่ยง เครื่องกำบังก็คือสันตติความสืบต่อ ดังเช่น หายใจเข้าหายใจออกสืบต่อกันอยู่เสมอ ชีวิตจึงดำรงสืบต่อกันอยู่เสมอ จึงทำให้ไม่เห็นความดับ เห็นความเกิด และความดำรงอยู่ความตั้งอยู่ ไม่เห็นความดับ สันตติคือความสืบต่อนี้ ก็คือความสืบต่อของอดีต ปัจจุบันและอนาคตด้วย คือมองไม่เห็นอดีต มองไม่เห็นอนาคต และก็มองไม่เห็นปัจจุบัน เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงรู้สึกเหมือนอย่างว่าเที่ยง รู้สึกเหมือนอย่างว่าขันธ์ ๕ นี้เที่ยง ชีวิตนี้เที่ยง เกิดตั้งอยู่ แต่ไม่ดับ หรือว่าตั้งอยู่แต่ไม่ดับ

เมื่อเที่ยงตั้งอยู่ไม่ดับ ก็คือไม่มีอดีต และเมื่อไม่มีอดีต ก็ไม่ต้องมีอนาคต มีปัจจุบันคือตั้งอยู่ มองไม่เห็นอดีต คือส่วนที่ดับ และก็ไม่เห็นมองไม่เห็นอนาคต คือส่วนที่เข้ามาสืบต่อ และก็ไม่รู้จักปัจจุบัน เพราะมองเห็นเหมือนอย่างว่า เป็นปัจจุบันคือตั้งอยู่อย่างไม่ดับ และไม่ดับก็ไม่ต้องเกิด ก็เหมือนอย่างไม่เห็นเกิด

เหมือนอย่างคนเราทั้งหลายที่มีความรู้สึกกันอยู่ในชีวิต ในนามรูปที่ดำรงกันอยู่นี้ ว่ารู้สึกว่า เป็นอยู่ ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เป็นความเที่ยงอยู่ ไม่ดับ

เมื่อไม่ดับ ก็ไม่ต้องเกิด และไม่ต้องมีอนาคต เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันชื่อว่าไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักอนาคต ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต เพราะอันที่จริงนั้น ความเป็นไปของนามรูป ของชีวิตนี้ มีเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เหมือนอย่างมีหายใจเข้า ก็มีหายใจออกอยู่ตลอดเวลา มีเกิดดับอยู่ตลอดเวลา รูปก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา เวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ดับก็เป็นอดีตไป และเมื่อเป็นอดีตไป อนาคตก็เข้ามาเป็นปัจจุบัน เมื่อเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันก็เป็นอดีตดับไป อนาคตก็เข้ามาเป็นปัจจุบัน

ลักษณะที่เรียกว่าไม่เที่ยง

เพราะมีอนาคตเข้ามานี่แหละ จึงมีสันตติคือความสืบต่อ เหมือนอย่างว่ากลางวันกลางคืน กลางวันล่วงไปกลางคืนก็มา ขณะที่ยังเป็นกลางวันอยู่ กลางคืนก็เป็นอนาคต และเมื่อกลางวันหมดไป กลางคืนมา กลางคืนก็มาเป็นปัจจุบัน และเมื่อกลางคืนหมดไป กลางวันซึ่งเป็นอนาคต รุ่งขึ้นก็มาเป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ จึงวนเวียนสืบต่อกันอยู่ดั่งนี้ แต่ว่าเมื่อไม่คิดก็ไม่รู้ ว่าเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบันกันอยู่ดั่งนี้ และเมื่อคิดจึงจะรู้ และเมื่อรู้จึงจะรู้ว่านี่แหละคือตัวไม่เที่ยง เพราะอดีตนั้นก็คือที่ดับไป อนาคตก็คือว่าที่มาแทนส่วนที่ดับไปนั้น มาเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันก็เป็นอดีตดับไป อนาคตก็เข้ามาแทน จึงมีสันตติคือความสืบต่อ ถ้าความสืบต่อนี้สิ้นสุดเมื่อใด ความดับในที่สุด ก็สิ้นสุดเมื่อนั้น ความดับในที่สุดก็ปรากฏเมื่อนั้น

ดังจะพึงเห็นได้ว่า ลมหายใจเข้าล่วงไปก็เป็นอดีต ลมหายใจเข้าใหม่ก็มาแทนซึ่งเป็นอนาคต ก็เข้ามาแทนเป็นปัจจุบัน เมื่ออดีตอนาคตปัจจุบันยังมาสืบต่อกันอยู่ดั่งนี้ ชีวิตก็ดำรงอยู่

แต่เมื่อลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออก เป็นปัจจุบัน แล้วก็เป็นอดีต แต่ไม่มีอนาคตเข้ามาทดแทนสืบต่อ คือหยุดหายใจในที่สุด ชีวิตก็สิ้นสุด นั่นคือว่าสันตติขาด แต่คนเราที่ยังมีสันตติความสืบต่อกันอยู่ดั่งนี้ ก็เพราะว่ามีอดีตมีอนาคตมีปัจจุบัน นี่แหละสืบต่อกันอยู่ กาลเวลานี้เอง เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักอดีตรู้จักอนาคตรู้จักปัจจุบัน จึงจะมองเห็นความไม่เที่ยง คือเห็นว่าเกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อดับแล้วก็มีอนาคตเข้ามาทดแทน ไม่มีอนาคตเข้ามาทดแทนเมื่อใด ก็สิ้นสุดเมื่อนั้น

หากไม่รู้จักกาลเวลา ก็ไม่รู้จักทุกขสัจจะ

เพราะฉะนั้น หากไม่รู้จักกาลเวลา ไม่รู้จักอดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต ก็เป็นอันว่าไม่รู้จักทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์ มองไม่เห็น อนิจจะไม่เที่ยง ทุกขะเป็นทุกข์ อนัตตามิใช่อัตตาตัวตน ต่อเมื่อรู้จักกาลเวลาดังที่กล่าวมานี้จึงจะมองเห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดดับอยู่ตลอดเวลา เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน กันอยู่ตลอดเวลา แต่ว่ามีอนาคตมาทดแทน มาเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นอดีตไป แล้วก็มีอนาคตมาเป็นปัจจุบันแทน จึงไม่สิ้นสุด ยังสืบต่อกันอยู่

และอันที่จริงนั้นหาใช่ว่าเที่ยงคือหยุดอยู่เฉยๆ ไม่ เกิดดับๆ อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นอดีตปัจจุบันอนาคตอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันก็เป็นอดีต อนาคตก็เข้ามาเป็นปัจจุบัน แล้วเป็นอดีต อนาคตเข้ามาเป็นปัจจุบันแล้วเป็นอดีต เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักอดีตอนาคต รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคตดั่งนี้ จึงเป็นอันมองเห็น อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา มองเห็นทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์ เป็นวิชชาขึ้นได้

ฉะนั้น เมื่อยังมีอวิชชาอยู่ จึงยังมองไม่เห็น อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ยังยึดถือว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตาตัวตน เป็นเราเป็นของเรา เมื่อเป็นดั่งนี้จึงได้ก่ออาสวะขึ้น ดังที่ได้แสดงถึงความเกิดอาสวะอนุสัยมาแล้ว เมื่อเห็นอะไรทางตา ได้ยินอะไรทางหูเป็นต้น จึงยึดถือเป็นตัวเรา เป็นของเรา เกิดยินดียินร้าย เกิดอกุศล บาปธรรมทั้งหลายไหลเข้ามาดองจิตสันดานเป็นอาสวะ หรือเมื่อประสบเวทนาทั้งหลายก็ยินดียินร้าย ไม่รู้ ก็เป็นอนุสัยนอนเนื่องอยู่ในจิต ก็เพราะอวิชชาคือไม่รู้ดั่งนี้ เมื่อไม่รู้ดั่งนี้จึงยึดถือ และก่ออาสวะอนุสัยขึ้นในจิตใจ เพราะฉะนั้น อวิชชานี้เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ให้เกิดอาสวะ

ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2015, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 2&i=10&p=1

คัดมาเพียงบางส่วน ที่เนื้อหาน่าสนใจ...

:b1: แต่ ยาวหน่อยนะ :b12:

Quote Tipitaka:
.....
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้ละอาสวะอันจะพึงละด้วยทัสสนะนั้น แล้วแสดงวิธีการละอาสวะเหล่านั้น หรือเพื่อทรงแสดงการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะเหล่านั้นของปุถุชนผู้ไม่ได้ใส่ใจโดยแยบคายแล้ว จึงทรงแสดงวิธีการละของบุคคลผู้ผิดตรงกันข้ามนั้น ในบัดนี้จึงตรัสคำว่า สุตวา จ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความของคำนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง จนถึงบาลีประเทศว่า โส อิทํ ทุกขํ ดังนี้ และโดยบุคคลที่ตรงกันข้ามจากบุคคลที่กล่าวมาแล้ว.

ก็บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับ เป็นผู้ฉลาดในอริยธรรมและถูกแนะนำด้วยดีในอริยธรรมโดยปัจนีกนัย คือโดยความเป็นข้าศึกต่อบุคคลผู้ไม่รู้และไม่ได้ถูกแนะนำในอริยธรรมโดยอาการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่งแล บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกด้วยอรรถอันสมควรแก่เหตุนั้น ตั้งแต่วิปัสสนาที่ถึงยอดจนถึงโคตรภู.

ก็ในข้อว่า โส อิทํ ทุกฺขนฺติ โยนิโส มนสิกโรติ ดังนี้เป็นต้นนี้มีการบรรยายความให้ชัดเจนดังต่อไปนี้.

อริยสาวกผู้เจริญกัมมัฏฐานในสัจจะ ๔ นั้นในชั้นแรกทีเดียว ต้องเรียนกัมมัฏฐานประกอบด้วยสัจจะ ๔ ในสำนักของอาจารย์อย่างนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะโทษคือตัณหา ตัณหาชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ความไม่เป็นไปแห่งทุกข์และทุกขสมุทัยทั้ง ๒ ชื่อว่านิโรธ ทางให้ถึงความดับชื่อว่ามรรคดังนี้แล้ว.

โดยสมัยต่อมา เธอก้าวขึ้นสู่ทางแห่งวิปัสสนา ย่อมใส่ใจถึงขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านั้นโดยแยบคายว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ คือย่อมรำพึง และพิจารณาเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง.


ก็ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาโดยยกมนสิการเป็นสำคัญทีเดียวจนถึงโสดาปัตติมรรค.
พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็ตัณหานี้ใดเป็นสมุฏฐาน คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแหละ ตัณหานี้นั้นชื่อว่าสมุทัย. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็เพราะทุกข์นี้ด้วยทั้งสมุทัยนี้ด้วย ครั้นมาถึงฐานะนี้แล้วย่อมดับไปคือไม่เป็นไป ฉะนั้น ฐานะนี้จึงชื่อว่านิพพาน นี้แลชื่อทุกขนิโรธ. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นเหตุให้ถึงนิโรธว่า นี้คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ คือย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง.

ในข้อนั้นมีอุบาย (กำหนด) ดังนี้ :-
ชื่อว่าความยึดมั่นย่อมมีในวัฏฏะ หามีในวิวัฏฏะไม่ ฉะนั้น พระโยคาวจรกำหนดภูตรูป ๔ ในสันตติของตนโดยนัยเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ นี้มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ และกำหนดอุปาทายรูปตามทำนองแห่งภูตรูปนั้นแล้วกำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ดังนี้ เมื่อกำหนดรูปขันธ์นั้น ก็ย่อมกำหนดธรรมคือจิตและเจตสิกอันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์เกิดขึ้นแล้วว่า ธรรม ๔ ประการนี้เป็นอรูปขันธ์ ต่อแต่นั้นย่อมกำหนดว่าขันธ์ ๔. เบญจขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์ ก็เบญจขันธ์เหล่านั้นโดยสังเขปมี ๒ ส่วนเท่านั้น คือนามและรูป และนามรูปนี้มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น.

พระโยคาวจรย่อมกำหนดเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้นมีอวิชชา ภพ ตัณหา กรรมและอาหารเป็นต้นว่านี้เป็นปัจจัย. ต่อแต่นั้น พระโยคาวจรกำหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย และธรรมซึ่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้ไม่มีแล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้เป็นทุกข์ เพราะความที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อนัตตลักษณะว่า ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ.

พระโยคาวจร ครั้นยกธรรมเหล่านี้ขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลำดับ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้. ในขณะนั้น เธอย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔ ด้วยการแทงตลอดด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอาการตรัสรู้ด้วยญาณดวงเดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดโดยการกำหนดรู้ ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอดโดยการละ ย่อมแทงตลอดนิโรธด้วยการแทงตลอดโดยการทำให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอดโดยการเจริญ.

อนึ่ง เธอย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้โดยการกำหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้โดยการเจริญ หาใช่ตรัสรู้สัจจะ อีกข้อหนึ่งด้วยญาณอีกญาณหนึ่งไม่.

ความจริง พระโยคาวจรนี้ย่อมแทงตลอดและย่อมตรัสรู้นิโรธสัจจะโดยความเป็นอารมณ์ และสัจจะที่เหลือโดยความเป็นกิจด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น.

ก็ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ดังนี้หรือ ฯลฯ หรือว่า เราย่อมยังมรรคให้เจริญ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อเธอทำให้แจ้งซึ่งนิโรธด้วยสามารถแห่งปฏิเวธ โดยทำให้เป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ญาณนั้นชื่อว่าย่อมทำหน้าที่กำหนดรู้ทุกข์บ้าง ทำหน้าที่ละสมุทัยบ้าง และทำหน้าที่เจริญมรรคบ้าง. เมื่อเธอใส่ใจโดยแยบคายโดยอุบายอย่างนี้ เธอย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘ สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลําศีลและพรตว่าความบริสุทธิ์มีได้เพราะศีล ความบริสุทธิ์มีได้เพราะพรต.

บรรดาอาสวะทั้ง ๔ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ สีลัพพตปรามาส ท่านสงเคราะห์ด้วยทิฏฐาสวะ คือเป็นทั้งอาสวะเป็นทั้งสังโยชน์ วิจิกิจฉาเป็นสังโยชน์อย่างเดียวไม่เป็นอาสวะ แต่ชื่อว่าเป็นอาสวะเพราะนับเนื่องในบาลีนี้ว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา อาสวา ดังนี้ เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้จึงเรียกว่าปหาตัพพธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ว่า เป็นอาสวะที่ชื่อว่าทัสสนปหาตัพพธรรม จึงได้ตรัสไว้.

อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐินี้ใดที่ท่านจำแนกไว้โดยสรูปนั้นแลอย่างนี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่าง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสักกายทิฏฐินั้น จึงตรัสว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้.

ก็เพราะสักกายทิฏฐินั้น พระโยคาวจรย่อมละได้พร้อมกับวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสที่เกิดร่วมกันและมีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ. ความจริง เมื่อพระโยคาวจรละทิฏฐาสวะได้แล้ว กามาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ในจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต ๔ ดวง ซึ่งเกิดร่วมกับทิฏฐาสวะนั้น พระโยคาวจรย่อมละได้เช่นเดียวกัน.

ส่วนภวาสวะซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จความปรารถนาของนาคและครุฑเป็นต้น ในจิตซึ่งเป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงชื่อว่าธรรมที่มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ.

อาสวะทั้ง ๓ ที่เหลืออย่างนี้ คืออวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนี้ก็ดี อวิชชาสวะอันเป็นตัวทำให้บังเกิดอกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นในโทมนัสจิต ๒ ดวงก็ดี อวิชชาสวะซึ่งสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาจิตเช่นเดียวกันก็ดี พระโยคาวจรย่อมละได้โดยประการทั้งปวง.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิทเทศเป็นพหุวจนะไว้ฉะนี้แล. ในที่นี้เนื้อความพึงทราบดังว่ามานี้. คำอธิบายของท่านพระโบราณาจารย์ก็เช่นนี้.

บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทัสสนะ. อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นอันทัสสะนั้นพึงละ.

ถามว่า เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ?
ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก.
ถามว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นก่อนกว่ามิใช่หรือ?
ตอบว่า โคตรภูญาณย่อมไม่เห็นเลยก็ไม่ใช่. แต่ว่า โคตรภูญาณนั้น ครั้นเห็นแล้วจะทำกิจที่ควรกระทำไม่ได้ เพราะละสังโยชน์ไม่ได้ ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่าย่อมเห็น ดังนี้.

ก็ในเรื่องนี้มีบุรุษชาวบ้านแม้ได้เห็นพระราชาในที่บางแห่งแล้วถวายเครื่องบรรณาการกล่าวอยู่ว่า แม้ในวันนี้ เราก็ไม่ได้พบพระราชา เพราะความสำเร็จกิจตนมองไม่เห็นเป็นตัวอย่าง.

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัพพาสวสังวรสูตร ว่าด้วยการสังวรในอาสวะทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 04:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:

... นักปฏิบัติจะไม่รู้วิธีดับอัตตาหรอก ถ้านักปฏิบัติยังไม่รู้วิธีดับอาสวะ

:b8: :b8: :b8:

อ่านแค่นี้ความคิด....ก็นึกสิ่งที่ไม่ได้นึก..มานาน...ไม่ได้อ่านต่อ..ก็ว่าจะโมทนาลย

พออ่านต่อ...ก็เจอ...ไม่ต้องนึกแล้ว..อิอิ
อ้างคำพูด:
asoka เขียน:
:b30: :b30: :b30:

นักปฏิบัติ (จริง ๆ) จะรู้ว่า"อัตตา" กับ "อาสวะ" มันสัมพันธ์กันอย่างไร ... นะ

นักปฏิบัติที่รู้จัก "อาสวะ"
เมื่อนักปฏิบัติเห็น "อาสวะ" ก็จะเห็น "อวิชชา" ก็จะเห็น "อัตตา" ก็จะเห็น "วิชชา/ปัญญา"

:b8: :b8: :b8:


:b8: :b8: :b8:

55555555555
เมื่อครั้งปฐมเทศนาและอีก5 วันให้หลังพระบรมศาสดาทรงแสดงเพียง 2 สูตรคือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรมิได้ทรงแสดงเรื่องอาสวะทั้ง 4 ไว้เลยแต่ก็ยังเกิดพระอรหันต์ขึ้นมาในโลกอีกถึง 5 องค์

ความรู้จักอัตตาและอนัตตานั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการทำลายเหตุทุกข์


:b38:


ขออนุญาต... :b32: :b32: :b32: ..หน่อยนะคับ

ถ้าไม่แสดง...แสดงว่าไม่มี...ต้องแสดง..จึงจะเรียกว่า..มี...ใช่มั้ยคับป่ม...??

:b12: :b12:

:b12:
สุภาพเรียบร้อยดีมากเลยนะคุณกบ


ถ้าไม่แสดงอาจมีอยู่จริงก็ได้ไม่มีก็ได้
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าในธัมมจักกัปปวัตนสูตรและอนัตตลักขณะสูตรพระพุทธองค์มิได้ทรงแสดงเรื่องอาสวะทั้ง4. ทรงแสดงเรื่องอริสัจ4 และอนัตตาก็สามารถทำให้ปัญจวัคคีย์ทั้ง5 เห็นเหตุเห็นผลเห็นเหตุทุกข์แล้วทำลายเหตุทุกข์ได้จนได้ถึงความเป็นพระอรหันต์กันทั้งหมด


เรื่องของอาสวะทั้ง 4. นั้นก็ดีอยู่ ถูกต้องอยู่ จะบรรลุธรรมเป็นอรหันต์ได้ก็ต้องชำระได้หมดก็ถูกต้องอยู่ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องรู้เรื่องอาสวะทั้ง 4 เสียก่อนจึงจะบรรลุธรรม

พระสูตรแต่ละสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระองค์ได้ทรงเลือกแล้วว่าเหมาะกับเหตุการณ์ สถานการณ์ ชุมชนบุคคล บุญวาสนาบารมีของแต่ละคนสามารถทำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจง่ายจนบรรลุธรรมได้จึงทรงแสดง ดูตัวอย่างเช่นอาทิตตปริยายสูตร สุญญตสูตร สติปัฏฐานสูตร

พระบรมศาสดามิได้ทรงสอนย้ำเรื่องอาสวะทั้ง 4. ทุกครั้งไปไม่ แต่ทุกสูตรก็สามารถทำลายอาสวะหรือโอฆะทั้ง4 ได้

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 05:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
อนุโมทนาสาธุกับคุณเอก้อนที่ยกธรรมบรรยายที่เกี่ยวกับการทำลายอาสวะทั้ง 4. มาเสียยาวยืดเพื่อประกอบสนับสนุนคุณเช่นนั้น

ลูกทุ่งกับลูกกรุงนี่เวลาทำงานมักมีจุดยืนที่ต่างกัน การเรียนรู้และกรรมวิธีก็ต่างกันแต่ก็ไปถึงความสำเร็จได้เหมือนกันนะครับ

ลูกทุ่งมักชอบความลัดสั้นเรียบง่ายรู้เรื่องกันเร็วๆ ใจรู้สึกอย่างไรก็คิดพูดและทำไปอย่างนั้น

ส่วนลูกกรุงนั้นค่อนข้างจะยืดเยื้อยืดยาวละเอียดละออประดิษฐ์ประดอยวิจิตรพิสดารมากไปหน่อยแต่ก็สวยงามดีน่าทึ่งน่าเชื่อถือ

ใครชอบอย่างไรก็ไปตามที่ชอบนะครับทางใครทางมัน
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 06:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นเรื่อง...ก็วงกลม..มรณะ..ไป..อวิชชา..ของอโสกะ..นั้นแหละ

อ้างว่าเอามาจากวงกลมพม่า...พอเอามาจริงก็ไม่ได้เป็นวงกลมอย่างที่อโสกะทำ...มรณะ...ไป..อวิชชา

ไปๆมาๆ ก็เรื่อง..การเอา..อภิชฌา และ โทมนัส..ออก..ตรง..เวทนา อีก

พอกระผมว่า..ถ้าออกจากวงปฏิจจะ..ตรงจุดไหนได้..อภิชฌาและโทมนัส...ก็เอาออกได้เหมือนกัน

แล้วอโสกะก็ว่าผม..ผิดธรรม..ซะ

กระผมก็เลยถามกลับ..ว่า..ถ้าอรหันต์ที่หักออกจุดอื่น..ที่ไม่ใช่การดูที่เวทนา..อภิชฌาและโทมนัส..ยังจะมีอยู่รึไม่?

อโสกะก็ตอบว่า....ไม่มี..หรือถึงมีก็เป็นเพียงกริยา..

ตลก....แทงกั๊ก...และ...ที่ว่ากัน...มีเพียงกิริยานั้น..เขาเรียกถึงการแสดงออกทางกายแต่ใจไม่ได้คิด...ส่วนอภิชฌาและโทมนัส...มันเป็นเรื่องทางใจล้วน ๆ...แทงกั๊กก็แทงผิด..

กระผมเคยบอกอโสกะ..มานานปีดีดักแล้ว....ว่า...อภิชฌาและโทมนัส...สงบลงตรงเวทนา...ด้วยการใช้สติรู้ทันเวทนา...นั้น...เป็นได้ทั้ง..สมถะ..และ..วิปัสสนา

บางคนก็ว่าตัวเองใช้ปัญญาพิจารณาอยู่หน่า....แต่เท่าที่ดู..เป็นปัญญาในชั้น...สุตตมยปัญญา..ท่อง ๆ ว่ามันเป็นอย่างนั้น..มันเป็นอย่างนี้...อย่างดีก็แค่จินตมยปัญญา...ก็เข้าใจว่า..ตนใช้ปัญญาแล้ว...ก็เลยตัดสินว่า..ที่อภิชฌาและโทมนัส..สงบลงนั้น..เป็นผลจากการใช้ปัญญา..เป็นวิปัสสนาแน่...

บางคนคิดอย่างที่ว่ามานี้...

มันจึงยากที่จะบอกคนผู้นี้ว่า...ยังไม่ใช่...ปัญญาที่ใช้ก็เป็นสุตต..จินตะ..อยู่..ความสงบที่ได้..เป็นสมถะอยู่..

พอมาเห็น....การแสดงความเห็น...ทำนอง...ไม่ต้องเห็นอาสวะ (อวิชชา)...ก็ตัดอภิชฌาและโทมนัส..ได้..ตรงตามสติปัฏฐาน 4 แล้ว...ว่างั้น..นี้เขาเข้าใจเอง..ว่าตรงแล้ว

ก็ยิ่งชัดเจนเลยว่า....คุณยังไม่มีปัญญาเห็นตามจริง...ปัญญาที่ใช้เป็นปัญญาจำมา..ผลของความสงบที่คุณได้พบ...จึงเป็นสมถะ...เท่านั้น....เพราะคุณยังไม่เห็นต้นเหตุ..ต้นตอ..บ่อเกิด...ของทุกข์ทั้งมวล..นั้นเอง

นี้คือบอกด้วยหวังดี...

คนจะเอาดี..ก็ควรพิจารณาตามด้วยดี...

พิจารณาด้วยดี..แม้ยังไม่เห็นตาม...คนดีเขาจะสำรวมสังวรการแสดงออก...เขาจะคิดว่า..เขาอาจจะดีไม่พอที่จะเห็นตามได้..เขาจะมุ้งสร้างความดี...เก็บไปพิจารณาเรื่อย ๆ

แต่คนที่คิดว่าตนดีแล้ว..นะ...ก็จะเป็นอย่างเทวทัตนั้นแหละ...แม้พระศาสดาก็ไม่เชื่อ..ไม่ฟัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ต้นเรื่อง...ก็วงกลม..มรณะ..ไป..อวิชชา..ของอโสกะ..นั้นแหละ

อ้างว่าเอามาจากวงกลมพม่า...พอเอามาจริงก็ไม่ได้เป็นวงกลมอย่างที่อโสกะทำ...มรณะ...ไป..อวิชชา

ไปๆมาๆ ก็เรื่อง..การเอา..อภิชฌา และ โทมนัส..ออก..ตรง..เวทนา อีก

พอกระผมว่า..ถ้าออกจากวงปฏิจจะ..ตรงจุดไหนได้..อภิชฌาและโทมนัส...ก็เอาออกได้เหมือนกัน

แล้วอโสกะก็ว่าผม..ผิดธรรม..ซะ

กระผมก็เลยถามกลับ..ว่า..ถ้าอรหันต์ที่หักออกจุดอื่น..ที่ไม่ใช่การดูที่เวทนา..อภิชฌาและโทมนัส..ยังจะมีอยู่รึไม่?

อโสกะก็ตอบว่า....ไม่มี..หรือถึงมีก็เป็นเพียงกริยา..

ตลก....แทงกั๊ก...และ...ที่ว่ากัน...มีเพียงกิริยานั้น..เขาเรียกถึงการแสดงออกทางกายแต่ใจไม่ได้คิด...ส่วนอภิชฌาและโทมนัส...มันเป็นเรื่องทางใจล้วน ๆ...แทงกั๊กก็แทงผิด..

กระผมเคยบอกอโสกะ..มานานปีดีดักแล้ว....ว่า...อภิชฌาและโทมนัส...สงบลงตรงเวทนา...ด้วยการใช้สติรู้ทันเวทนา...นั้น...เป็นได้ทั้ง..สมถะ..และ..วิปัสสนา

บางคนก็ว่าตัวเองใช้ปัญญาพิจารณาอยู่หน่า....แต่เท่าที่ดู..เป็นปัญญาในชั้น...สุตตมยปัญญา..ท่อง ๆ ว่ามันเป็นอย่างนั้น..มันเป็นอย่างนี้...อย่างดีก็แค่จินตมยปัญญา...ก็เข้าใจว่า..ตนใช้ปัญญาแล้ว...ก็เลยตัดสินว่า..ที่อภิชฌาและโทมนัส..สงบลงนั้น..เป็นผลจากการใช้ปัญญา..เป็นวิปัสสนาแน่...

บางคนคิดอย่างที่ว่ามานี้...

มันจึงยากที่จะบอกคนผู้นี้ว่า...ยังไม่ใช่...ปัญญาที่ใช้ก็เป็นสุตต..จินตะ..อยู่..ความสงบที่ได้..เป็นสมถะอยู่..

พอมาเห็น....การแสดงความเห็น...ทำนอง...ไม่ต้องเห็นอาสวะ (อวิชชา)...ก็ตัดอภิชฌาและโทมนัส..ได้..ตรงตามสติปัฏฐาน 4 แล้ว...ว่างั้น..นี้เขาเข้าใจเอง..ว่าตรงแล้ว

ก็ยิ่งชัดเจนเลยว่า....คุณยังไม่มีปัญญาเห็นตามจริง...ปัญญาที่ใช้เป็นปัญญาจำมา..ผลของความสงบที่คุณได้พบ...จึงเป็นสมถะ...เท่านั้น....เพราะคุณยังไม่เห็นต้นเหตุ..ต้นตอ..บ่อเกิด...ของทุกข์ทั้งมวล..นั้นเอง

นี้คือบอกด้วยหวังดี...

คนจะเอาดี..ก็ควรพิจารณาตามด้วยดี...

พิจารณาด้วยดี..แม้ยังไม่เห็นตาม...คนดีเขาจะสำรวมสังวรการแสดงออก...เขาจะคิดว่า..เขาอาจจะดีไม่พอที่จะเห็นตามได้..เขาจะมุ้งสร้างความดี...เก็บไปพิจารณาเรื่อย ๆ

แต่คนที่คิดว่าตนดีแล้ว..นะ...ก็จะเป็นอย่างเทวทัตนั้นแหละ...แม้พระศาสดาก็ไม่เชื่อ..ไม่ฟัง
พูดเหมือนตนเองรู้ดีนะกบ. แค่เลิกท่องคาถาเรียกเงินยังไม่ได้ ทำไมคุยเหมือนรู้ต้นต่อล่ะ. มันยังไกลนะ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 30 ก.ย. 2015, 07:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 06:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าแต่...ได้อ่านจนหมดรึเปล่า..จึงว่า...พูดดูดี..นะ

รึ..ทนอ่านไม่จบ..
รึ..อ่านจนจบด้วยความอดทน..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2015, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ว่าแต่...ได้อ่านจนหมดรึเปล่า..จึงว่า...พูดดูดี..นะ

รึ..ทนอ่านไม่จบ..
รึ..อ่านจนจบด้วยความอดทน..

กบบอกอะไรอย่างนะ. ผมคิดว่ากบเป็นคนดีนะ(อันนี้จากใจ)แต่กบยังท่อง ยังทำอะไรที่ดูแล้วยังมีความหลงไม่ตรงหลักการของอริยทิฎฐิอยู่. เวลากบมาคุยเรื่องอะไรที่ละเอียดๆเกี่ยวกับการปฎิบัติเนี่ย ผมมีความรู้สึกยอมรับกับสิ่งที่กบคุยไม่ได้เลยจริงๆ. เพราะการวินิจฉัยธรรมของกบแค่เรื่องนอกกายใจที่หยาบๆกบยังละไม่ได้เลย. ผมจึงไม่ค่อยได้สนใจในคำกล่าวของกบเลยนะบอกตรงๆ. ไม่รู้สินะว่าเป็นอย่างไร ไม่น่าติดตามเลยในการกล่าวธรรมนะ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร