วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 61  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 18:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
ปัญหาถกเถียงกันเรื่องการตีความจากพระสูตรคำสอนของพระพุทธเจ้าออกมาไม่ตรงกันนี้มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยปลายพุทธกาลจนถึงหลังพุทธปรินิพพานจนทำให้เกิดแตกแยกเป็นนิกายใหญ่ๆออกได้ 2 นิกาย คือมหายานและหีนยาน

พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ท่านได้บอกหลักการวินิจฉัยไว้ว่า

1.ให้เอาศีลมาเป็นหลักวินิจฉัยถ้าล่วงศีลคือไม่ใช่ ถ้าไม่ล่วงศีลและไม่สนับสนุนให้ล่วงศีลคือใช่

ถ้าเป็นไปเพื่อเพิ่มพูนความละอายเกรงกลัวต่อบาป ใช่ ถ้าเป็นไปเพื่อลดทอนความละอายเกรงกลัวต่อบาป ไม่ใช่

2.ให้เอาธรรมคือธรรมสภาวะที่เกิดขึ้นจริงๆมาเป็นหลักวินิจฉัย
2.1 ถ้าป็นไปเพื่อความสละ ละ วาง เบื่อหน่าย คลายกำหนัด ใช่ ถ้าเป็นไปเพื่อความพอกพูน สะสม กิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิ ไม่ใช่
2.2 ถ้าเป็นไปเพื่อคลายพยศลดมานะละทิฏฐิ ใช่ ถ้าเป็นไปเพื่อมีพยศ เพิ่มมานะ พอกพูนทิฏฐิ ไม่ใช่

onion
จึงเป็นเรื่องที่ผู้อ่านผู้ศึกษาจะได้พิจารณาใช้เหตุผลและหลักธรรมวินิจฉัยเอาเองครับ

สุดท้าย "ธรรมะย่อมชนะอธรรม" เสมอ
กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นเอง
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2015, 19:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อัย..ยะ...ธรรมะชนะอธรรม...

:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2015, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_20150910_3156.jpg
IMG_20150910_3156.jpg [ 40.54 KiB | เปิดดู 1767 ครั้ง ]
:b36:
ฝากโฉลกธรรมมาให้มิตรสหายทั้งหลายช่วยกันวิเคราะห์ ตีความครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2015, 12:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_20150910_36150.jpg
IMG_20150910_36150.jpg [ 40.54 KiB | เปิดดู 1743 ครั้ง ]
asoka เขียน:
:b36:
ฝากโฉลกธรรมมาให้มิตรสหายทั้งหลายช่วยกันวิเคราะห์ ตีความครับ

:b38:
วัวควายหรือสัตว์ทั้งหลายในโลกมีกิจกรรมของชีวิตเพียงแค่
กิน ขับถ่าย ผสมพันธ์และนอน หากชนใดมีชีวิตอยู่เพียงเพื่อ ทำมาหากิน มีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมีที่ขับถ่ายและนอนสะดวก แล้วผสมพันธุ์ สืบเผ่าพันธ์เชื้อสายไปตามสัญชาติญาณ ก็ย่อมไม่แตกต่างไปจากสัตว์ทั้งหลาย

จนหากผลบุญกุศลที่ทำสร้างสมข้ามภพข้ามชาติมาส่งให้ได้ได้เกิดเป็นคนพบพระพุทธศาสนา ได้ฟังข้อธรรมคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาใส่ใจประพฤติปฏิบัติจนพบความจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบจึงจะพ้นไปจากความทุกข์ ความเวียนว่ายตายเกิด

:b45:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2015, 06:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_20150611_54129.jpg
IMG_20150611_54129.jpg [ 28.44 KiB | เปิดดู 1736 ครั้ง ]
s004
อีกสัก 1 โฉลกนะครับ
:b36:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 05:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




อริยสัจ 4_resize.jpg
อริยสัจ 4_resize.jpg [ 58.29 KiB | เปิดดู 1724 ครั้ง ]
asoka เขียน:
s004
อีกสัก 1 โฉลกนะครับ
:b36:

onion
จงดูอริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ เป็นหัวใจการค้นพบ เป็นขอบเขตแห่งธรรมเป็นปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ล้วนงอกเงยออกมาจากอริยสัจ ๔ นี้

พิจร์ณให้ดีอย่าข้าม
ดังนั้นการดูการศึกษาค้นคว้าเจาะลึกลงไปในอริยสัจ ๔ อย่างละเอียดถี่ถ้วนย่อมจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล เพราะในอริยสัจ ๔ นั้นได้รวมไว้ครบทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและผลแห่งธรรม เรียกได้ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท ล้วนแล้วแต่มีอยู่ครบในอริยสัจ ๔ นี้

๑.ทุกขสัจจะ ความบีบคั้นจนทนไม่ได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับกายใจของทุกชีวิต จิต วิญญาณ นั่นคือทุกขสัจจะ
ความทุกข์ที่สัตว์ มนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลายได้รับนั้นล้วนเป็นผลมาจากการกระทำทั้งในอดีตและปัจจุบันของเขาเหล่านั้น

ทุกขสัจจะ เป็นผล พระพุทธเจ้าทรงให้เพียง กำหนดรู้ ไม่ต้องไปเพียรแก้ไขทุกข์เพราะผลกรรมแก้ไม่ได้ต้องยอมรับอย่างเดียว สำคัญว่าเมื่อรับหรือเสวยผลกรรมเหล่านี้แล้วต้องระวังอย่าให้ความบีบคั้นของทุกข์นั้นไปก่อให้เกิดกรรมใหม่ที่ต่อวงจรของทุกข์ให้ยาวยืดยืนนานต่อไปอีกไม่รู้จบ

๒.สมุทัยสัจจะ เป็นเหตุ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ เพียรละเพียรละเหตุ เพราะสัตว์ทั้งหลายอันรวมหมดตั้งแต่สัตว์ในอบายภูมิทั้ง๔ มนุษย์ เทวดา พรหม เมื่อยังไม่พบและปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมจะหลงทำเหตุทุกข์กันอยู่ทุกวัน เวลา นาที วินาที มิรู้สุดสิ้นจนมีผลหรือวิบากแห่งการกระทำทั้งหมดเข้าคิวรอที่จะให้สัตว์ผู้นั้นได้เสวยผลรับผล ที่ท่านเรียกว่าเสวยวิบากแห่งกรรม วิบากแห่งกรรมที่แต่ละท่านแต่ละคนแต่ละชีวิตได้กระทำมาไม่เฉพาะชาตินี้แต่เป็นผลรวมของการกระทำที่ทำมานับชาติไม่ถ้วน ถ้าเป็นการสร้างหนี้ สัตว์โลกได้สร้างหนี้ชีวิตหนี้กรรมที่ตนจะต้องมาตายเกิดชดใช้หนี้จนยากจะอ่านนับได้

ดังนั้นการจะชดใช้หนี้ ยุติวิบากกรรมทั้งหมดไม่ให้มาตามทัน ทำให้มันกลายเป็นอโหสิหนี้ได้นั้นต้องมาใช้วิชาของพระพุทธเจ้าเข้ามาแก้ไขเท่านั้นจึงจะหมดหนี้เวรหนี้กรรมพ้นหนี้สินที่จะมาทำให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบ

วิชาของพระพุทธเจ้านั้นคือ วิปัสสนาภาวนา วิชาเจริญมรรค ๘ วิชาแก้สมุทัยเหตุทุกข์ ซึ่งเราจะได้ศึกษากันอย่างละเอียดถี่ถ้วนในเชิงปฏิบัติกันต่อไป

วันนี้เอาอริยสัจมาวิเคราะห์สู่กันฟังเพียงแค่ ๒ ข้อก่อนนะครับเพื่อไม่ให้ยาวเกินไปจนหูตาลายจับประเด็นอะไรไม่ได้สักอย่าง งานขยายความโฉลกธรรมนี้ยังมีวาระอยู่อีกนาน ถ้าผู้อ่านไม่พากันเบื่อธรรมะสำนวนชาวบ้านอย่างนี้เสียก่อน
(มีต่อ)
:b38:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 07:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ 4 มี 3 รอบ รวม 12 อาการ....

ทุกข์...
พระองค์ตรัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือทุกข์(1)...ทุกข์พึงกำหนดรู้ (2)...รู้ว่ากำหนดรู้แล้ว (3)

สมุทัย...เหตุให้เกิดทุกข์..
พระองค์ตรัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ (4)...พึงละเหตุให้เกิดทุกข์นี้..(5)....รู้ว่าละได้แล้ว (6)

นิโรธ..ความดับทุกข์
พระองค์ตัสว่า..ให้รู้ว่านี้คือความดับทุกข์(7)...ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง(8)....รู้ว่าทำให้แจ้งแล้ว(9)

มรรค8...ขัอปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
พระองค์ตัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(10)...ข้อปฏิบัติเหล่านี้ควรเจริญ(11)...รู้ว่าทำให้เจริญแล้ว(12)

กระผมมีความเห็นว่า...

รอบแรก..คือ...ให้รู้ว่านี้คือทุกข์(1)....ให้รู้ว่านี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ (4)...ให้รู้ว่านี้คือความดับทุกข์(7) ให้รู้ว่านี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(10)...
รอบนี้...เป็นขั้นต้น..ต้องศึกษา...ว่าอะไรเป็นอะไรบ้าง...เป็นขั้นปริยัติ...ถ้าว่าด้วยปัญญา..ก็เป็นขั้นสุตตมยปัญญา..ให้ลงใจจริงจริงว่า..เหล่านี้คือทุกข์...เหล่านี้คือสมุทัย...นิโรธเป็นอย่างนี้คือไม่ทุกข์...ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีอะไรบ้าง..ไล่มาตั้งแต่บุญกิริยา..บารมี 10...โพธิปักขิยธรรม37...สรุปลงที่มรรค์มีองค์8

รอบ 2...คือ..ทุกข์พึงกำหนดรู้ (2)...พึงละเหตุให้เกิดทุกข์นี้..(5)....ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง(8)....ข้อปฏิบัติเหล่านี้ควรเจริญ(11)...
รอบนี้..เป็นขั้นทั้งศึกษาทั้งปฏิบัติ...มั่นโยนิโสมนสิการ...ปฏิบัติในมรรค8...มีสติกำหนดรู้ในทุกข์...มีความเพียรชอบ 4..คือ..ละอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด..ละอกุศลที่เกิดแล้วไม่ให้เจริญ...ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด....ยังกุศลที่เกิดแล้วให้เจริญ...เป็นต้น

รอบ 3...นี้บรรลุแล้ว..เสร็จกิจแล้วก็รู้ว่าเสร็จกิจแล้ว....จึงเกิดอาการรอบที่ 3...คือ...รู้ว่าทุกข์นี้กำหนดรู้แล้ว (3)...รู้ว่าสมุทัยนี้ละได้แล้ว (6)...รู้ว่านิโรธนี้ทำให้แจ้งแล้ว(9)....รู้ว่ามรรคนี้ทำให้เจริญแล้ว(12)

หน้าที่เรา...ที่ต้องลงมือปฏิบัติ..ก็มี รอบ1 กับรอบ2...ต้องศึกษาปฏิบัติ...มีทานมีศีลมีภาวนา...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 15 ก.ย. 2015, 20:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2015, 14:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อริยสัจ 4 มี 3 รอบ รวม 12 อาการ....

ทุกข์...
พระองค์ตรัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือทุกข์(1)...ทุกข์พึงกำหนดรู้ (2)...รู้ว่ากำหนดรู้แล้ว (3)

สมุทัย...เหตุให้เกิดทุกข์..
พระองค์ตรัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ (4)...พึงละเหตุให้เกิดทุกข์นี้..(5)....รู้ว่าละได้แล้ว (6)

นิโรธ..ความดับทุกข์
พระองค์ตัสว่า..ให้รู้ว่านี้คือความดับทุกข์(7)...ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง(8)....รู้ว่าทำให้แจ้งแล้ว(9)

มรรค8...ขัอปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
พระองค์ตัสว่า...ให้รู้ว่านี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(10)...ข้อปฏิบัติเหล่านี้ควรเจริญ(11)...รู้ว่าทำให้เจริญแล้ว(12)

กระผมมีความเห็นว่า...

รอบแรก..คือ...ให้รู้ว่านี้คือทุกข์(1)....ให้รู้ว่านี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ (4)...ให้รู้ว่านี้คือความดับทุกข์(7) ให้รู้ว่านี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์(10)...
รอบนี้...เป็นขั้นต้น..ต้องศึกษา...ว่าอะไรเป็นอะไรบ้าง...เป็นขั้นปริยัติ...ถ้าว่าด้วยปัญญา..ก็เป็นขั้นสุตตมยปัญญา..ให้ลงใจจริงจริงว่า..เหล่านี้คือทุกข์...เหล่านี้คือสมุทัย...นิโรธเป็นอย่างนี้คือไม่ทุกข์...ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มีอะไรบ้าง..ไล่มาตั้งแต่บุญกิริยา..บารมี 10...โพธิปักขิยธรรม37...สรุปลงที่มรรค์มีองค์8

รอบ 2...คือ..ทุกข์พึงกำหนดรู้ (2)...พึงละเหตุให้เกิดทุกข์นี้..(5)....ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง(8)....ข้อปฏิบัติเหล่านี้ควรเจริญ(11)...
รอบนี้..เป็นขั้นทั้งศึกษาทั้งปฏิบัติ...มั่นโยนิโสมนสิการ...ปฏิบัติในมรรค8...มีสติกำหนดรู้ในทุกข์...มีความเพียรชอบ 4..คือ..ละอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิด..ละอกุศลที่เกิดแล้วไม่ให้เจริญ...ยังกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด....ยังกุศลที่เกิดแล้วให้เจริญ...เป็นต้น

รอบ 3...นี้บรรลุแล้ว..เสร็จกิจแล้วก็รู้ว่าเสร็จกิจแล้ว....จึงเกิดอาการรอบที่ 3...คือ...รู้ว่ากำหนดรู้แล้ว (3)...รู้ว่าละได้แล้ว (6)...รู้ว่าทำให้เจริญแล้ว(12)

หน้าที่เรา...ที่ต้องลงมือปฏิบัติ..ก็มี รอบ1 กับรอบ2...ต้องศึกษาปฏิบัติ...มีทานมีศีลมีภาวนา...

:b8:
นี่คืออีกแง่มุมหนึ่งของการวิเคราะห์อริยสัจ 4
อนุโมทนา
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 05:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
ต่ออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๓ นิโรธ

นิโรธ ความดับทุกข์ ๆ เป็นเรื่องของ ผล ซึ่งเราอาจเรียกว่าเป็น "ผลสุข" ก็ได้ ผลสุขที่เป็นอมตะ ถาวรและสูงสุดคือ
"นิพพาน" อันหมายถึงความดับไม่เหลือเชื้อ

ดับอะไร?

ดับเหตุทุกข์ คือกิเลส ตัณหา อัตตา สักกายทิฎฐิ มานะทิฏฐิ ความเห็นผิด ยึดผิด ดับสังโยชน์ ดับทุกข์ ดับความเวียนว่ายตายเกิดอันไม่รู้จบ

นิโรธนี้พระบรมศาสดาทรงบอกว่า "ทำให้แจ้ง" หรือทำให้ชัดเจนประจักษ์แก่ใจตน

นิโรธ เป็นผลสุข เป็นเป้าหมาสูงสุดของการปฏิบัติธรรม จักเกิดขึ้นได้เมื่อเจริญเหตุสุขได้จนถึงที่สุด

อริยสัจข้อที่ ๔ มรรค

มรรค เป็นเรื่องของ เหตุ มรรค เป็นเหตุสุข

มรรค มรรคา ทางเดิน ทางเดินที่เป็นเหตุสุขนั้นเป็นทางสายกลางจะเดินอยู่ในทางสายกลางได้นั้นต้องประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการตามที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและตรัสสอนไว้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ปัญญามรรค

ปัญญามรรคมี ๒ ข้อคือ

๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง

ความเห็นถูกต้องนั้นพระพุทธองค์ทรงสรุปชี้ชัดไว้ว่าคือ
ความเห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์และเห็นวิธีดำเนินไปให้ถึงความดับทุกข์

ในทางปฏิบัติการเวลาสัมมาทิฏฐิทำงานนั้น สัมมาทิฏฐิจะไปทำหน้าที่

ดู เห็น รู้ สภาวธรรมต่างๆตามที่มันเป็นจริง


๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง

ความคิดถูกต้องนั้นพระพุทธองค์ทรงสรุปชี้ชัดไว้ว่าคือ

ความคิดออกจากกาม ความคิดออกจากความพยาบาท ความคิดที่จะอยู่อย่างไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น

ในทางปฏิบัติการเวลาสัมมาสังกัปปะทำงานนั้น สัมมาสังกัปปะจะไปทำหน้าที่

สังเกต พิจารณา สภาวธรรม

สังเกต ไม่ใช้ความคิด เป็นการเฝ้าดูปรมัตถ์ล้วนๆ

พิจารณา ใช้ความคิด เป็นการวิตกวิจารณ์สภาวธรรมด้วยปัญญาและสัญญาเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยและตามสมมุติบัญญัติ

สัมมาสังกัปปะนี้เป็นตัวจักร ตัวทำงานที่สำคัญที่สุดในการภาวนาหรือปฏิบัติวิปัสสนา เพราะไปช่วยทำให้สัมมาทิฏฐิรู้ถูกต้องเห็นถูกต้อง

ง่ายขึ้นไปอีกให้จดจำไว้เป็นนัยยะสำคัญว่า


ความสังเกต คือหัวใจของวิปัสสนาภาวนา

ถ้าความสังเกตยังไม่เกิด ยังไม่คมกล้า วิปัสสนาภาวนาจะยังไม่เกิด

วันนี้เอาพอหอมปากหอมคอแค่ปัญญามรรคก่อนนะครับ จะได้ซึมซับและวิเคราะห์พิจารณาต่อกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเต็มที่ในประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญของการภาวนา เพราะด้วยปัญญาจึงจะขุดถอนรากเหง้าของกิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิได้หมดเกลี้ยง
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 06:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แรก ..แรก....จะงง...ว่า..แล้วนิโรธเราจะรู้ได้อย่างไร..ก็เรายังไม่นิโรธนี้นา...

แล้วมีประโยชน์อะไรที่ไปรู้ก่อนว่านิโรธเป็นอย่างไร..ทั้งๆเรายังไม่นิโรธ..สะกะหน่อย

หาคนมาอธิบายได้ยาก...

อโสกะ..พอจะอธิบายได้มั้ยว่า..เราจะรู้นิโรธก่อนได้อย่างไรก็เรายังไม่นิโรธ..และ..มีประโยชน์อะไรที่ต้องไปรู้ก่อน..ทั้งที่เราก็ยังไม่นิโรธ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แรก ..แรก....จะงง...ว่า..แล้วนิโรธเราจะรู้ได้อย่างไร..ก็เรายังไม่นิโรธนี้นา...

แล้วมีประโยชน์อะไรที่ไปรู้ก่อนว่านิโรธเป็นอย่างไร..ทั้งๆเรายังไม่นิโรธ..สะกะหน่อย

หาคนมาอธิบายได้ยาก...

อโสกะ..พอจะอธิบายได้มั้ยว่า..เราจะรู้นิโรธก่อนได้อย่างไรก็เรายังไม่นิโรธ..และ..มีประโยชน์อะไรที่ต้องไปรู้ก่อน..ทั้งที่เราก็ยังไม่นิโรธ??

นิโรธไม่ได้ให้ไปรู้ก่อน. เป็นผลเป็นความสุขเป็นอมตะเป็นเป้าหมายที่จะต้องทำให้แจ้ง เพราะคนเราปรารถนาความสุขที่แท้จริง พระองค์จึงแสดงผลก่อนเพื่อให้เป็นเป้าหมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 09:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อริยะสัจ4 มี3 รอบ มี 12 อาการ ครับ

นิโรธ..มี3 อาการ

คือ..ให้รู้ว่านี้คือนิโรธ...นิโรธนี้ควรทำให้แจ้ง..นิโรธนี้เราแจ้งแล้ว..

รอบแรก..เป็นการศึกษา
รอบสอง..เป็นการศึกษาปฏิบัติ
รอบที่สาม..เป็นผลคือรู้แจ้งแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อริยะสัจ4 มี3 รอบ มี 12 อาการ ครับ

นิโรธ..มี3 อาการ

คือ..ให้รู้ว่านี้คือนิโรธ...นิโรธนี้ควรทำให้แจ้ง..นิโรธนี้เราแจ้งแล้ว..

รอบแรก..เป็นการศึกษา
รอบสอง..เป็นการศึกษาปฏิบัติ
รอบที่สาม..เป็นผลคือรู้แจ้งแล้ว
นิโรธเป็นผลจะปฎิบัติได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระองค์บรรลุญาน3
ญานที่หนึ่งเรียกว่าสัจจญาน. รู้ในอริยสัจ ทุกข์. สมุทัย. นิโรธ. มรรค.
ญานที่สองเรียกว่ากิจญาน. กิจที่ควรทำในอริยสัจ. ทุกข์ควรกำหนดรู้. สมุทัยควรละ. นิโรธควรทำให้แจ้ง. มรรคควรเจริญ
ญานที่สามเรียกว่ากัตตญาน. รู้ว่ากิจใดที่ควรทำได้ทำแล้ว. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว. สมุทัยควรละก็ละได้แล้ว. นิโรธควรทำให้แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว. มรรคควรเจริญได้เจริญแล้ว. กิจที่ให้ทำในอริยสัจสี่ได้ทำสมบูรณ์หมดแล้วไม่มีกิจอื่นอีกแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2015, 17:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แรก ..แรก....จะงง...ว่า..แล้วนิโรธเราจะรู้ได้อย่างไร..ก็เรายังไม่นิโรธนี้นา...

แล้วมีประโยชน์อะไรที่ไปรู้ก่อนว่านิโรธเป็นอย่างไร..ทั้งๆเรายังไม่นิโรธ..สะกะหน่อย

หาคนมาอธิบายได้ยาก...

อโสกะ..พอจะอธิบายได้มั้ยว่า..เราจะรู้นิโรธก่อนได้อย่างไรก็เรายังไม่นิโรธ..และ..มีประโยชน์อะไรที่ต้องไปรู้ก่อน..ทั้งที่เราก็ยังไม่นิโรธ??

:b16:
นิโรธ เป็นผลสุข เป็นเรื่องของผล ไม่มีอะไรต้องทำ สิ่งที่ต้องทำคือมรรคหรือเหตุสุข การยกเรื่องอริยสัจ ๔ มากล่าวมาสนทนานี้เป็นเรื่องของการศึกษาของผู้กำลังประพฤติปฏิบัติก็เอาปริยัติเอานิโรธตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มาเล่าต่อสู่กันฟังยังไม่ใช่การเอาผลที่ผู้ปฏิบัติได้รับมาแสดง

ประโยชน์ที่มีในการสนทนาก็คือ ถ้าผู้ปฏิบัติรู้ว่ามรรคควรเจริญ กำลังเจริญมรรคอยู่ ก็คงเหลือที่ผลแห่งการเจริญจะปรากฏเท่านั้นเอง

ปริวัติ ๓ มีอาการ ๑๒ เป็นผลการปฏิบัติของพระบรมศาสดา
เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้กำลังปฏิบัติครับ
:b38:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 911 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 61  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร