วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2015, 20:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิมีคุณที่ทำให้เห็นความจริงของรูปนามชัดเจน แต่ความยึดถือที่เกิดจากสมาธิทำให้ไม่รู้ความเป็นจริง จิตไม่เคลื่อนไปกับความจริง จมแช่อยู่ สมาธิลักษณะนี้เป็นการรวมศูนย์ ในขณะทำสมาธิก็สร้างแรงร้อยร้ดหทัยวัตถุ เป็นการสร้างภพอย่างหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2015, 06:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติในลักษณะนี้จะมีอินทรีย์ 5 ที่มีสมาธิเป็นตัวนำปัญญา

การปฏิบัติอีกรูปแบบหนึ่งใช้สมาธิที่มีพอประมาณ ไม่ต้องสร้างสมาธิเพิ่ม ใช้การรู้รูปนามเพื่อคลายเจตสิกหยาบ (พลังนิวรณ์)
เมื่อพลังได้คลายออกแลัวสมาธิจะตามมา สมาธิลักษณะนี้
จะกระจายออกจากศูนย์ เพราะสิ่งห่อหุ้มจิตสลายลง และไม่ได้สร้างแรงร้อยรัดเพิ่ม จิตจึงโปร่งเบาสบาย การปฏิบัติเช่นนี้จะไม่ทุกข์มากเช่นแนวทางแรก เพราะใช้ปัญานำสมาธิ

แต่อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติจะเป็นอย่างใหนขึ้นอยู่กับความถึ่ในการสั่งสมมาในอดีตชาติ ซึ่งเป็นฐานที่ต้องปรับเข้าสู่สมดุล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

คราวนี้หลังจากทำสมาธิแผ่เมตตา ก็ถึงเวลาเดินจงกรม เพื่อดื่มด่ำกับธรรมชาติในยามเช้า :b46: :b47: :b41:

โดยการเดินจงกรมในที่นี้ หมายถึงการเดินแบบธรรมชาติธรรมดาที่เคยเดินตามปรกติ ด้วยความเร็วตามปรกติหรือช้าลงสักหน่อย แบบที่เรียกว่า เดินทอดน่องนั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

เพื่อให้จิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ได้มีเวลารับรู้ (รู้ตัวทั่วพร้อม) และเข้าถึง รู้สึกได้ในธรรมชาติที่สะอาด สว่าง สงบ ของยามเช้าอันเบิกบาน :b39: :b46: :b41:

และไม่จำเป็นต้องเดินกลับไปกลับมา หรือกำหนดจังหวะการเดิน ๖ จังหวะ ฯลฯ ตามรูปแบบของการฝึกเดินจงกรมตามปรกติ :b49: :b50: :b49:

เอาว่า ให้เดินอย่างมีสติรู้สึกตัวไปตามทางที่สามารถชมความงามตามธรรมชาติไปได้โดยสะดวกก็แล้วกัน :b50: :b55: :b50:


ซึ่งการเดินจงกรมในยามเช้าแบบนี้ แนะนำว่าควรจะอาบน้ำอาบท่าก่อนด้วยน้ำเย็น เพื่อให้ร่างกายตื่นจากความง่วงเหงา และสดชื่นกระปรี้กระเปร่า โดยอาจจะดื่มน้ำ หรือหาอะไรทานนิดหน่อยเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ และสมองได้มีน้ำตาลไปหล่อเลี้ยง เพื่อไม่ให้ความหิวเข้ามารบกวนในการฝึก :b48: :b47: :b48:

และที่สำคัญ ควรรอให้เป็นเวลาเช้าขึ้นอีกสักเล็กน้อย พอที่จะมองเห็นสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติรอบตัวได้โดยง่าย :b49: :b50: :b39:

ถ้าภาษาพระ ก็คงต้องบอกว่า รอให้ฟ้าสางได้อรุณ จนเห็นลายมือกันเสียก่อนที่จะออกเดินบิณฑบาตนั่นหล่ะครับ
:b1: :b46: :b39:

ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในหนทางที่จะเดินไป อีกทั้งสามารถซึมซับความสงบงามของธรรมชาติ ผ่านทางทุกอายตนะได้อย่างเต็มที่ :b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการเดินในแบบเซ็นมหายาน จะเป็นการเปิดช่องทางรับรู้โลกในทุกผัสสะ เพื่อรับรู้ทั้งสภาวะแวดล้อมของกายใจ ทั้งภายในภายนอกอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม :b46: :b47: :b46:

โดยรับรู้ หรือรู้สึกลงในความสงบงามของธรรมชาติที่สัมผัสด้วยกายใจอย่างตรงๆ อย่างซื่อๆ อย่างเป็นเช่นนั้นเอง โดยปราศจากความคิดฟุ้งปรุงแต่ง :b47: :b48: :b47:

ซึ่งเป็นการรู้กายใจและสภาวะแวดล้อมแบบรวมๆ ไม่เป็นการแยกรู้ :b46: :b47: :b46:

คือไม่แยกผู้สังเกต ออกจากสิ่งที่ถูกสังเกต ไม่แยกผู้รู้ ออกจากสิ่งที่ถูกรู้ :b50: :b51: :b53:

เพื่อให้จิตรู้สึก และซึมซับได้ถึงความงดงาม ความเป็นหนึ่ง ที่ต้องพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกันของธรรมชาติทั้งหลาย ไม่ว่ากายใจ ไม่ว่าสายหมอกหรือดอกไม้ ต่างมีสภาวะแห่งความเป็นธาตุที่เปลี่ยนแปลง และพึ่งพาอาศัยระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา :b46: :b47: :b41:


ก็ให้ผู้ปฏิบัติ เดินฝ่าเข้าไปในธรรมชาติด้วยหัวใจที่เบิกบาน กายและใจกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่บริสุทธิ์นั้น .. :b46: :b47: :b48:

ตาได้เห็นสายหมอกและดอกไม้ เห็นยอดอ่อนของพรรณพืชที่กำลังแตกใบ .. หูได้ยินเสียงนกร้อง เสียงลมพัดไหว เสียงลมหายใจของธรรมชาติ .. จมูกได้สูดไอดินกลิ่นหญ้า หรือความหอมของธรรมชาติในยามเช้า .. กายได้สัมผัสสายลมสายหมอกตามธรรมชาติ ด้วยใจที่เปิดกว้าง รับรู้ได้ในความสงบงาม เป็นหนึ่งเดียวกันของทุกสรรพสิ่ง :b46: :b39: :b41:

แต่ถ้าเมื่อใดที่ใจเริ่มไหวไปคิด ก็ให้เฝ้าดูการเกิดดับของความคิดด้วยใจที่เป็นกลาง ดูกลับเข้าไปถึงรากของความคิดว่าเกิดจากอะไร ดูกลับเข้าไปถึงความสุขทุกข์ หรือเฉยๆ ดูกลับเข้าไปถึงภาพแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวก่อนที่จะก่อกำเนิด กลายเกิดเป็นความคิดต่อเนื่องออกไป :b46: :b47: :b46:

นั่นคือการดูความหมายรู้ (สัญญา) หรือดูเวทนาที่เกิดนำขึ้นมาก่อนการฟุ้งคิดนั่นเอง :b50: :b49: :b48:

และตรงนี้ก็คือการฝึกสติผ่านการรู้ใจ ตามคำสอนของพระบรมครู ผ่านการเดินจงกรมในยามเช้า :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อรู้เท่าทันความคิดที่ผุดขึ้น ความคิดก็จะสงบลง จิตใจก็จะปรอดโปร่งเป็นอิสระจากความคิด เหลือแต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม :b46: :b47: :b46:

และนี่คือการมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง คือมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะให้ได้มากที่สุด รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ลงที่กาย และโดยเฉพาะรู้ลงที่ใจ ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์งดงาม :b50: :b49: :b51:

และเมื่อแรกได้สัมผัสถึงความบริสุทธิ์งดงามที่เป็นหนึ่งเดียวกัน จิตของนักปฏิบัติก็จะพบกับความอัศจรรย์ คือความเบิกบานดื่มด่ำอยู่กับปัจจุบันขณะ เหมือนในการปฏิบัติอานาปานสติจตุกกะที่ ๓ ข้อที่ ๒ นั่นคือการทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ ซึ่งเป็นความเบิกบานอย่างมีสติที่บริสุทธิ์ตามพระสูตร ต่างจากปีติ สุข ในสมาธิในฌานที่เป็นแบบจมแช่ :b47: :b48: :b47:

และถ้าประคองการมีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ อยู่กับปัจจุบันได้ยาวนานต่อเนื่องออกไปอีก การเดินจงกรมนี้ ก็จะนำพาจิตเข้าสู่สภาวะความมีจิตที่ตั้งมั่น (อานาปานสติ จตุกกะ ๓ ข้อที่ ๓) จนถึงการปล่อยจิตที่ตั้งมั่นแล้วนั้น ให้เป็นไปเช่นนั้นเองโดยไม่ต้องคอยประคองจิตให้ตั้งมั่นอยู่อีก (อานาปานสติ จตุกกะ ๓ ข้อที่ ๔) :b46: :b47: :b39:

ซึ่งตรงนี้คือการเจริญอานาปานสติผ่านการเดินจงกรมนั่นเอง :b46: :b47: :b46:

และณ.จุดที่จิต ปล่อยให้จิตตั้งมั่นได้เองโดยไม่ต้องประคองอีกแล้วนี้นั้น ก็จะเป็นจุดเชื่อมต่อจะหว่างจิต กับสัจจภาวะ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือการน้อมจิตเข้าไปลึกซึ้งถึงความไม่เที่ยง การเกิดดับแห่งนามรูป (อนิจจานุปัสสี อานาปานสติ จตุกกะ ๔ ข้อที่ ๑) จนถึงซึ่งความจางคลายออกแห่งกิเลสและความยึดมั่นถือมั่น (วิราคานุปัสสี อานาปานสติ จตุกกะ ๔ ข้อที่ ๒) :b46: :b47: :b46:

จิตจะโล่งโปร่งเบาและเบิกบานด้วยอำนาจแห่งวิราคะ คือความจางคลายลงของกิเลส ของอุปาทาน จนเข้าสู่ความดับไม่เหลือแห่งกิเลส (นิโรธานุปัสสี อานาปานสติ จตุกกะ ๔ ข้อที่ ๓) :b48: :b49: :b50:

ซึ่งณ.จุดนี้ เมื่อสำรวจจิตลงไป จิตจะว่างจากกิเลสเหมือนกับการควานมือลงไปในตุ้มน้ำแล้วไม่เจอน้ำ มีแต่ความโล่ง ความว่างเปล่าที่เบิกบาน :b51: :b50: :b49:

จนกระทั่งจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว แล้วสลัดคืนกิเลส พร้อมสลัดคืนจิต ให้แผ่กระจายออกไปรวมกับธรรมชาติรอบข้าง อย่างกว้างขวาง อย่างไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ (ปฏินิสสัคคานุปัสสี อานาปานสติ จตุกกะ ๔ ข้อที่ ๔) :b46: :b47: :b39:

จิตจะค่อยๆเบ่งค่อยๆบาน และลอยตัวแผ่กระจายออกไปแบบไม่มีน้ำหนักแห่งจิต เข้าไปร่วม และรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งหลายโดยรอบ อย่างไม่มีเขตแดน :b49: :b48: :b41:

และเมื่อนั้น จิตก็จะเข้าถึงซึ่งสัจจภาวะ เข้าถึงซึ่งความไม่มีตัวตน เข้าถึงซึ่งศูนยตา เข้าถึงในความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายทั้งปวงอย่างแท้จริง :b46: :b47: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยสภาวะของอานาปานสติผ่านการเดินจงกรมตรงนี้ เป็นเหตุและผลต่อเนื่องกันไปตรงตามคำของพระบรมครู จากอานาปานสติสูตรจตุกกะที่ ๓ คือเมื่อเข้าสู่ฌาน ๔ ที่มีสติบริสุทธิ์ สัมปชัญญะรู้ธรรมทั้งหลายชัด ตามที่เป็นจริง :b46: :b47: :b46:

สมาธิที่เป็นเอกัคคตาในฌาน ๔ จะชักนำจิตให้เข้าสู่จุดเชื่อมต่อกับสัจจภาวะในอานาปานสติจตุกะที่ ๔ ไล่เรียงจากการลึกซึ้งลงในอนิจจานุปัสสี คือการเห็นความไม่เที่ยง จนถึงอานาปานสติข้อสุดท้าย คือปฏินิสสัคคานุปัสสี สลัดคืนกิเลสออกไป พร้อมสลัดคืนจิตสู่ธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง :b50: :b49: :b48:

เมื่อนั้น "ฉัน" และ "ไม่ใช่ฉัน" จะหมดไป การแบ่งแยกระหว่างผู้ชมธรรมชาติและตัวธรรมชาติเอง ก็จะไม่มี :b50: :b51: :b50:

การชมธรรมชาตินั้น ก็จะเป็นประสบการณ์อันน่าอัศจรรย์ ที่ไม่มีการแบ่งแยกระหว่าง "ฉันผู้ชมธรรมชาติ" และ "ธรรมชาติที่ไม่ใช่ฉัน" อีกต่อไป :b46: :b47: :b46:

ซึ่งสำหรับนักปฏิบัติที่ชำนาญในอานาปานสติแล้ว จะสามารถใช้ความจำได้หมายรู้ในศูนยตาหรืออนัตตาที่เคยผ่านมาแล้ว (อนัตตสัญญา) เป็นทางลัดในการนำจิตขณะเดินจงกรมให้เข้าสู่การสลัดคืนจิตสู่ธรรมชาติได้โดยเร็ว จิตจะค่อยๆเบ่งบานแผ่ออกไปรวมกับธรรมชาติรอบๆตัวอย่างไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ :b46: :b47: :b41:

และตรงนี้ ก็คือการใช้ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ เป็นตัวนำจิตให้เข้าสู่สภาวะศูนยตาที่เคยผ่านมาแล้วนั่นเอง :b46: :b47: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชำนาญในทางลัดของอานาปานสติ ก็ให้เดินอย่างมีสติ หมายรู้กายใจและธรรมชาติแบบรวมๆ พยายามสัมผัสกับธรรมชาติผ่านทางผัสสะต่างๆ ด้วยความร่าเริงเบิกบานให้ได้มากที่สุด :b46: :b47: :b41:

เมื่อเดินชมธรรมชาติไปพอสมควร อาจจะหาที่นั่งพัก และทดลองรับรู้ สัมผัสปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ผ่านผัสสะทีละทวาร :b47: :b48: :b47:

ซึ่งอาจจะเริ่มต้นด้วยการมอง และสังเกตความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติ :b46: :b47: :b41:

เช่น การเข้ามารวมตัวกันของไอน้ำ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ของก้อนเมฆและสายหมอกบนยอดเขา แล้วที่สุดก็แตกแยกสลายตัว กระจัดกระจายกันออกไป ก่อนที่จะเข้ามารวมกันใหม่อีกครั้ง ในรูปร่างที่ต่างจากเดิมออกไป ฯลฯ อันแสดงถึงความอนิจจัง ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าสังเกตอย่างลึกซึ้งให้ดี ก้อนเมฆอันเก่านั้นไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่แปรเปลี่ยนและรวมกันเข้ามาเป็นก้อนเมฆอันใหม่ ซึ่งสะท้อนสัจจภาวะที่ว่า ทุกสรรพสิ่งต่างต้องพึ่งพา และเป็นองค์ประกอบของกันและกันไปตามกฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติ :b48: :b47: :b46:

นั่นคือ ทุกสรรพสิ่งไม่มีการเกิด ไม่การตาย มีแต่สิ่งที่เปลี่ยนเฟสไปตามเหตุปัจจัยที่ไหลเลื่อนเคลื่อนไป :b46: :b47: :b42:
(no birth and no death, just simply the continuity of transformation)
:b46: :b47: :b41:

เพราะก้อนเมฆไม่ได้สูญสลายหายไปอย่างถาวร (อุจเฉททิฎฐิ) แต่ก็ไม่ได้คงอยู่อย่างยั่งยืน (สัสสตทิฎฐิ) :b46: :b47: :b42:

.. มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน .. :b46: :b47: :b46:

โดยถ้าหันกลับมามองในความเป็นมนุษย์ตามธรรมชาติแล้วนั้น ต่างก็ไม่มีใครเกิด และไม่มีใครตาย :b46: :b47: :b46:

เนื่องเพราะไม่มี "ใคร" ที่ไหนมาตั้งแต่ตน :b46: :b47: :b46:

นั่นหมายความว่า เมื่อทิ้งสมมติ ก็จะเห็นเพียงแต่กระแสของธรรมชาติล้วนๆที่เป็นไป .. :b46: :b55: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้นให้หลับตาลงแล้วลองฟังเสียงของธรรมชาติ เสียงลมพัดยอดหญ้าพริ้วไหว เสียงน้ำไหล เสียงนกร้อง เสียงระลอกคลื่น เสียงใบไม้ที่ไหวแกว่งไกว .. หรือแม้กระทั่งเสียงของความเงียบ .. :b46: :b47: :b46:

และด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง ผู้ปฏิบัติก็อาจจะเข้าถึงได้ในกระแส ในความแปรเปลี่ยนไป ในความไม่คงตัวหยุดอยู่นิ่งของธรรมชาติทั้งหลาย และเห็นได้ในความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกระแสของเหตุปัจจัยในธรรมชาติของคลื่นเสียง หามีตัวตน บุคคล เราเขาใดๆได้ไม่ :b49: :b50: :b49:

จากนั้นให้ทดลองเอาความรู้สึกมาไว้ที่จมูก เพื่อให้ได้กลิ่นหอมของธรรมชาติรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นไอดิน กลิ่นหมอก ความหอมเย็นจากป่า จากสายน้ำ จากกลิ่นดอกไม้ที่โชยมาแผ่วๆ หรือการรวมกันของทุกกลิ่นจนกลายเป็นกลิ่นเฉพาะของธรรมชาติในขณะนั้น ฯลฯ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าตั้งใจดมกลิ่นหอมของธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ผู้ปฏิบัติก็อาจจะเข้าใจได้ในความเป็นธาตุที่เสมอกันของธรรมชาติทั้งหลาย ที่ระเหยกลิ่นอันประกอบขึ้นมาจากธาตุพื้นฐานไม่กี่ชนิด :b46: :b47: :b46:

และด้วยธาตุไม่กี่ชนิดนี้เอง ที่ไหลผ่านจมูก ผ่านปาก เข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้เติบใหญ่แข็งแรงขึ้นมา .. :b47: :b49: :b50:

จนสุดท้ายก็เสื่อมสลายกลับคืนลงไปสู่ธาตุดั้งเดิม .. :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้นให้ทดลองสัมผัสในความเย็นสบายของสายลม หรือความอบอุ่นจากแสงแดดในยามเช้า ใช้ความรู้สึก สัมผัสได้ถึงธาตุทั้ง ๔ ต่างๆในร่างกาย ที่พึ่งพาอาศัยในการกินอยู่หายใจ และเป็นสิ่งเดียวกับต้นไม้ใบหญ้า ผืนดินสายน้ำ ลมพัดเมฆหมอก แม้กระทั่งกว้างไกลออกไปถึงดวงอาทิตย์และจักรวาลทั้งปวง :b46: :b47: :b39:

และเมื่อจิตอิ่มเอมกับการรู้ลงในธรรมชาติรอบกายทีละผัสสะอย่างลึกซึ้ง จิตก็จะผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) และตั้งมั่น (สมาธิ) :b46: :b47: :b46:

และเมื่อจิตมีสมาธิตั้งมั่น ก็ให้หันมาพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกันของขันธ์ทั้ง ๕ และสรรพสิ่ง ตามแนวทางสมาธินำปัญญา หรือวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า ด้วยวิธีการที่หลวงปู่นัท ฮันห์ท่านได้อธิบายวิธีเอาไว้ในการนั่งสมาธิ (แต่เราเอามาปรับใช้ในการเดินจงกรม) นะครับ :b1: :b46: :b39:

"มีใครบางคนกล่าวไว้ว่า "ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน เวลามอง .. คุณก็จะไม่เห็น, ฟัง .. แต่จะไม่ได้ยิน, กิน .. แต่จะไม่ได้ลิ้มรส"

หากเราฝึกการเจริญสติจริงๆ ในขณะที่เดินไปตามทางเข้าหมู่บ้าน เราจะรู้สึกว่าการก้าวเท้าออกไปแต่ละก้าวนั้นเป็นความมหัศจรรย์อย่างยิ่ง และจิตของเราจะเบิกบานเหมือนดอกไม้ นำเราก้าวเข้าสู่โลกของความเป็นจริง

ครูชอบเดินไปคนเดียวตามทางเท้าในชนบท มีต้นข้าวต้นหญ้าเขียวขจีสองข้างทาง ค่อยๆ วางเท้าลงไปทีละก้าว ทีละก้าว อย่างมีสติ รู้ตัวว่ากำลังก้าวไปบนแดนมหัศจรรย์ ในชั่วขณะจิตเช่นนั้น การดำรงอยู่ของชีวิตเป็นความจริงที่ลึกลับปาฏิหาริย์

คนเรามักจะคิดว่า การเดินบนน้ำหรือบนอากาศเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ แต่ครูว่าปาฏิหาริย์ที่แท้จริงมิใช่การเดินบนน้ำบนอากาศหรอก หากแต่การเดินบนพื้นโลกนี่แหละ

เราอยู่กับความอัศจรรย์ทุกๆ วันแต่เราไม่ตระหนักเอง ควง เธอลองคิดดู ท้องฟ้าสีคราม หมู่เมฆสีขาว ใบไม้สีเขียว และสีดำของดวงตาที่อยากรู้อยากเห็นคู่นั้นของไห เทรียว อัม ลูกสาวของเธอ ดวงตาของเธอเองด้วยก็เป็นสิ่งอัศจรรรย์ เช่นเดียวกันกับท้องฟ้า หมู่เมฆ ใบไม้หลากสี และดวงตาของหนูน้อยคู่นั้น"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2015, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


".. ในขณะที่เธอนั่งสมาธิ (หรือเดินจงกรม - วิสุทธิปาละ) อยู่นั้น เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว เธอสามารถหันมาพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง

การพิจารณานั้นไม่ใช่เป็นการขบคิดถึงความรู้ทางปรัชญาอย่างเอาเป็นเอาตาย หากเป็นการชำแรกจิตลงไปสู่จิตอีกทีหนึ่ง ใช้กำลังสมาธิของตนทำให้วัตถุที่เราเพิ่งพิจารณา เปิดเผยธรรมชาติแท้จริงออกมา

.. การพิจารณาความเกี่ยวเนื่องกัน เป็นการมองลึกเข้าไปในธรรมทั้งปวง เพื่อที่จะเข้าถึงธรรมชาติจริงของมัน เป็นการมองให้เห็นสิ่งๆหนึ่ง ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริงอันยิ่งใหญ่ และมองให้เห็นว่า ความจริงอันยิ่งใหญ่นั้น ไม่สามารถจะแบ่งแยกออกไปได้ ไม่สามารถตัดออกมาเป็นชิ้นๆ แล้วให้แต่ละชิ้นมีความเป็นอยู่ของมันเองต่างหากได้

ผู้ปฏิบัติธรรม ย่อมเห็นกายของตนว่าเป็นปรากฏของรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยสังเกตพิจารณาองค์ประกอบของชีวิตเหล่านี้ จนกระทั่งเห็นว่า สิ่งนี้ มีความเกี่ยวเนื่องอยู่อย่างใกล้ชิดกับโลกภายนอกตัวเรา

ถ้าโลกไม่มี การประกอบกันขึ้นของขันธ์ ๕ ก็ไม่มี

ผู้ปฏิบัติธรรมมองดู "การกุมกันเข้า" ของขันธ์ทั้ง ๕ ในตัวเองในลักษณะเช่นเดียวกัน เขามองดูจนกระทั่งเขาแลเห็นธรรมแห่งความเป็นหนึ่งในตัวเขา และสามารถแลเห็นว่าชีวิตของเขา และชีวิตของจักรวาลนั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ถ้าหากขันธ์ ๕ กลับคืนไปสู่แหล่งที่มา ตัวเราก็ไม่มีอยู่อีกต่อไป

ชีวิตของเราจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจักรวาล .. มีปรากฏการณ์มากมายดำรงอยู่ในชีวิตของเรา และตัวเราเองก็อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆ .. เราคือชีวิต และชีวิตนั้นปราศจากขอบเขต .. หากชีวิตของเราปราศจากขอบเขต ชันธ์ทั้ง ๕ ที่ประชุมกันขึ้นเป็นตัวเราก็ไม่มีขอบเขตเช่นกัน

(ถึงตรงนี้) สามัญลักษณะของจักรวาลอันประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความสำเร็จและความล้มเหลวของชีวิต ก็ไม่สามารถที่จะทำร้ายเราได้อีกต่อไป เมื่อเธอเห็นแจ้งและแทงลึกเข้าไปในความเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันของความเป็นจริง เมื่อนั้นก็จะไม่มีอะไรมาเบียดเบียนเธอได้อีกต่อไป .. เธอได้รับการปลดปล่อยแล้ว"


"ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ" หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

คราวที่แล้วได้เล่าถึงวิธีการเดินจงกรมตามแบบเซ็น เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างกายใจ (หรือขันธ์ทั้ง ๕) กับทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติรอบๆตัว :b46: :b47: :b41:

ซึ่งเป็นการพิจารณาธรรมชาติแห่งความเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของปรากฏการณ์ต่างๆ (ปรตันตระ) ความเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง (เอกภาวะ) :b46: :b47: :b42:

เพื่อแก้ไขมุมมองที่มองสรรพสิ่งอย่างแปลกแยก (ทวิภาวะ นี่คือฉัน นั่นคือโลก) เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงของชีวิตที่กลมกลืน เป็นเนื้อเดียวกันกับจักรวาลอันกว้างใหญ่ ที่หาขอบเขตไม่ได้นั้น :b47: :b46: :b47:

โดยเป็นการพิจารณาตนเองและสรรพสิ่งให้เป็นกระแสของก้อนธาตุ คือสสารและพลังงานที่กำลังไหลเวียนเปลี่ยนแปรไป เกิดดับตามเหตุปัจจัย ไม่มีความเที่ยงแท้ถาวรในตัวตน :b47: :b48: :b47:


นั่นคือ เป็นการมองธรรมชาติอย่างที่เป็นองค์ประกอบของกันและกัน มองเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอก มองใบอ่อนที่กำลังผลิใบจากเหตุปัจจัย มองจนเห็นก้อนดิน หยาดน้ำค้าง ก้อนเมฆ สายลม แสงแดด ฯลฯ ที่เป็นเหตุปัจจัย เป็นองค์ประกอบซึ่งสืบทอดอยู่ภายในเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอก และใบอ่อนที่กำลังผลิใบเหล่านั้น :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในภาคส่วนของการปฏิบัตินั้น ให้ผู้ปฏิบัติ ลองนั่งพิจารณาธรรม จนกระทั่งมองเห็นก้อนเมฆที่เปลี่ยนแปลง เป็นอนิจจัง แต่ไม่ได้ดับหายไปไหน เพียงแต่แปรเปลี่ยนไป กลายมาเป็นไอน้ำ หยาดฝน เป็นน้ำในเนื้อเยื่อของผู้คนและพรรณพืช เป็นลำห้วย เป็นทะเล และระเหยเป็นไอ กลับกลายมาเป็นก้อนเมฆก้อนใหม่ :b48: :b49: :b51:

พิจารณาจนกระทั่งมองเห็นภูเขา มองเห็นต้นไม้ มองเห็นก้อนเมฆ มองเห็นแผ่นกระดาษ ฯลฯ ว่านั่นคือการมองเห็นเป็นสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงกันตามกระแสของเหตุปัจจัย และต่างก็ไม่มีตัวตนที่แท้จริงถาวร :b46: :b47: :b41:

กระดาษแผ่นหนึ่ง ก่อนที่จะมาเป็นกระดาษ มันเป็นอย่างอื่นมาก่อน .. :b46: :b47: :b42:

.. มนุษย์เราก็เช่นกัน .. :b46: :b47: :b44:

.. ทุกสรรพสิ่งก็เช่นกัน .. :b46: :b47: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"death and rebirth are in hear and now for every aspect, it is continuation

(in fact) no birth and no death, just simply a continuity of transformation

everything cannot become from nothing, it must become from something

look into a paper, you can see a tree, the sun, the cloud, and many things else ..

.. so you can see the previous life of this paper ..

it is the nature of no birth and no death, no permanence and no impermanence

.. it is the nature of Nirvana .. Nirvana is the true nature of reality"


Venerable Thich Nhat Hanh

"การเสื่อมสลายและการเกิดขึ้นมาใหม่ของสรรพสิ่งนั้น ต่างปรากฏให้เห็นอยู่ในทุกปัจจุบันขณะ ในทุกแง่ทุกมุมของทุกสรรพสิ่ง .. นี้เป็นกระแสของการดำเนินต่อเนื่องกันไป

แต่ในอันที่จริงแล้ว การเกิดก็ไม่ปรากฏ .. การตายก็ไม่ปรากฏ .. ทุกสรรพสิ่งเพียงแสดงออกซึ่งธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง อันดำเนินต่อเนื่องกันไป

ทุกสรรพสิ่งไม่สามารถเกิดมาจากความไม่มีอะไร .. มันต้องมีที่กำเนิดมาจากอะไรซักอย่าง

เมื่อเรามองให้ลึกซึ้งเข้าไปในกระดาษ .. เราจะเห็นองค์ประกอบของความเป็นต้นไม้ ความเป็นแสงแดด ความเป็นก้อนเมฆ และอื่นๆอีกมากมาย

ดังนั้น เราจึงเห็นสภาวะในชีวิตก่อนหน้าของกระดาษแผ่นนั้น

นี้คือธรรมชาติที่พ้นไปจากการเกิดและการตาย .. พ้นไปจากความคงอยู่อย่างถาวร (สัสสตทิฏฐิ) หรือความสลายสิ้นไปอย่างขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ)

นี้คือธรรมชาติของพระนิพพาน .. พระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของสัจจธรรม"


หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในขณะเดินจงกรม ก็ให้ผู้ปฏิบัติ อิ่มเอมและเบิกบาน มีความสุขกับลมหายใจ กับสิ่งแวดล้อม กับปัจจุบันขณะ :b46: :b47: :b39:

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันไม่จำเป็นว่าเราจะเบิกบานได้เฉพาะยามที่เราออกเที่ยวชมธรรมชาติ แต่เราสามารถอิ่มเอมและเบิกบานได้กับทุกสภาวะแวดล้อม เนื่องด้วยเราทุกคนมีทรัพยากรที่เพียงพออยู่แล้ว ในการที่จะมีความสุขในทุกขณะ ในทุกสภาวการณ์ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งทรัพยากรที่ว่านั้นก็คือ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ อันนำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกตามความเป็นจริง คือความเป็นศูนยตาของทุกสรรพสิ่ง :b47: :b48: :b47:

เพียงแต่คนเราไม่ค่อยนำทรัพยากรอันล้ำค่า ที่มีติดตัวมาด้วยกับการเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ออกมาฝึกใช้งาน เพื่อให้เกิดความอิ่มเอมและเบิกบานอยู่ได้ในทุกปัจจุบันขณะ :b46: :b47: :b41:


และเมื่อมีสติ สัมปชัญญะ สมาธิ อันนำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกตามความเป็นจริงแล้ว บ้านหลังใหญ่ รถคันหรู หรืออาหารที่อร่อยวิเศษ ก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป :b46: :b47: :b46:

ตราบใดที่ปัจจัย ๔ ยังคงมีครบเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ การใช้ชีวิตในเพศฆราวาส ก็จะไม่แตกต่างอะไรจากนักบวช ที่มีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมที่เบิกบาน ที่สันโดษเพียงพอ และพอเพียง ที่จะทำให้เกิดความสุขจากปัจจุบันขณะได้แล้ว :b46: :b47: :b41:

นั่นเองที่จะทำให้เรารับรู้ได้อย่างลึกซึ้งว่า .. เพียงแค่นี้ ก็เพียงพอแล้ว :b47: :b48: :b47:

I know .. this is enough .. :b46: :b42: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2015, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และนั่นเอง ที่จะทำให้เราซาบซึ้งขึ้นไปอีกว่า ปัจจัยแห่งความสุขนั้น มีอยู่ในทุกที่ทุกเวลา ในทุกปัจจุบันขณะ แม้ในธรรมชาติที่สงบปราณีต หรือแม้ในเวลาที่ยากลำบาก :b46: :b47: :b46:

ปัญหาคือ เรามีความสามารถในการเข้าถึงปัจจัยแห่งความสุขจากตรงนั้นหรือไม่ :b46: :b47: :b39: :b39:

ที่นี่และเดี๋ยวนี้ .. here and now .. จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จึงแล้วแต่ท่าที (ทิฏฐิ) ของแต่ละคนที่สะสมไว้ :b46: :b47: :b46:

ถ้าตั้งท่าทีที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) โดยคิด (มิจฉาสังกัปปะ) ว่าสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมันไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย หรือหน้าที่การงานที่จะต้องทำในขณะนั้นนั้นมันยาก มันน่าเบื่อหน่าย .. :b7: :b5: :b2:

here and now หรือปัจจุบันขณะนั้น ก็จะเป็น suffering คือความทุกข์ .. และเป็นความทุกข์ หรือเป็น suffering แบบ here and now เสียด้วย :b7: :b5: :b2:

แต่ถ้าเรามีท่าทีที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) here and now หรือปัจจุบันขณะใดๆก็ตาม ก็จะเป็น here and now ที่เต็มไปด้วยสติ สัมปชัญญะ สมาธิ อันนำมาซึ่งปัญญารู้แจ้งสภาวะปัจจุบันขณะตามที่เป็นจริง :b46: :b47: :b41:

ซึ่งไม่ว่าสภาวะแวดล้อมจะดูไม่น่าอภิรมย์เพียงไหน หรือจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นไรก็ตาม ปัจจุบันขณะนั้นๆในทุกขณะ ก็จะเต็มไปด้วยความอิ่มเอม และความเบิกบาน :b46: :b47: :b41:


[๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ ภิกษุในศาสนานี้

ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้น ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่

ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้น ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่

ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่

ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้น มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร