วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 09 ส.ค. 2015, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผลของการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
เมื่อกำหนดรู้







walaiporn เขียน:
อาหารของโพชฌงค์ ๗

[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้

แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและ
อกุศลที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด

โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะ
อาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 09 ส.ค. 2015, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เมื่อไม่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน
ไม่มีการกำหนดรู้






walaiporn เขียน:
เมื่อไม่กำหนดรู้(อโยนิโสมนสิการ)

[๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด

นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่ มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น
นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้

แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจพระธรรมคำสอน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสายตนสูตรที่ ๓

[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง
พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะและการกำหนดรู้



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้างเล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ



[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น
พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ



[๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป
อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้
นี้เป็นทางสลัดออกในรูป

อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา
อาการที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้
นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา

อาการที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา
อาการที่สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในสัญญาได้
นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา

อาการที่สุขโสมนัส อาศัยสังขารเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณในสังขาร
อาการที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในสังขารได้
นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร

อาการที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณในวิญญาณ
อาการที่วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้
นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ


[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ

พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตามหยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


ห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

-
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย
จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
จบ มหาปุณณมสูตร ที่ ๙

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0



หมายเหตุ;
จงมีพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ
จงมีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ เป็นสรณะ
สงฆ์ สาวก ใครเชื่อใคร เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัยทั้งสองฝ่าย
จึงทำให้มาเชื่อกัน และไม่มาเชื่อกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อโยนิโสมนสิการ(การไม่กำหนดรู้)


ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงถามอย่างนี้ว่า
“อาวุโส! ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือราคะ โทสะ โมหะ.

อาวุโส ! อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็นความแตกต่าง
อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่าง ระหว่างธรรม ๓ อย่างเหล่านั้น ? ” ดังนี้


ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า
“อาวุโส ! ราคะมีโทษน้อย คลายช้า.
โทสะมีโทษมาก คลายเร็ว.
โมหะมีโทษมาก คลายช้า”.

ถ้าเขาถามว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น,
หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้.

คำตอบพึงมีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม) ;
คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งสุภนิมิตโดยไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
และราคะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์.
อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.


ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น,
หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้.

คำตอบพึงมีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกกระทบกระทั่ง);
คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
และโทสะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์.
อาวุโส !นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.


ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น,
หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้.

คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ ( การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย) ;
คือเมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น
และโมหะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์.

อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

- ติก. อํ. ๒๐/๒๕๖/๕๐๘.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิล สมาธิ ปัญญา


นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์


ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์
ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์
ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์
ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์
นิพพิทามี วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์
วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 521&Z=7566

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2015, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค-อริยมรรค มีองค์ ๘


๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะ
อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย


พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ


[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ
สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ


[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ


[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มีนี้มิจฉาทิฐิ ฯ


[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ



[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ
องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค
เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ







[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า มิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ


[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริในกาม
ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ


[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน
นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ
วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ







[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือ
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ


[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ




[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ
นี้ สัมมาวาจา ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ



[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาวาจา ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ







[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ รู้จักสัมมากัมมันตะว่า
สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ
ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี้ มิจฉากัมมันตะ ฯ


[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมากัมมันตะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ



[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ
เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ








[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ
ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ
การโกง การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ ฯ

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ
สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ


[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ


ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่
สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ







[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘
จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐







[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี
เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็นปัจจัย ฯ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก
เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาวิมุตติ
สลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่ายอกุศล ๒๐
ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว
สมณะหรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ


[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ ที่จะติเตียน
คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว ตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว


ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะติเตียน
คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ
อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท
ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน
ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร
เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗




http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 724&Z=3923

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2015, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัทธรรมปฏิรูป

มีเกิดขึ้นนานมาแล้ว และที่กำลังมีเกิดขึ้นในยุคนี้
เหตุและปัจจัยที่ทำให้ พระสัทธรรม กำลังจะค่อยๆเลือนหายไป


๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อย และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก

และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ



[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป
สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า

สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใดตราบนั้น
พระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป

และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป


ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป
และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น

สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป

เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด
เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ



[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมา
ก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป


เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น
พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ


[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้
ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ ๑

เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ




[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ๑
ในพระธรรม ๑
ในพระสงฆ์ ๑
ในสิกขา ๑
ในสมาธิ ๑
เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น
ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ






๕. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม



อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม



อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม


อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม



อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรอง ไม่เพ่งดูด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ






ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม
ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา
ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ
ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2015, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ


[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า
ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปโตทสูตร

[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ พอเห็นเงาปะฏักเข้าก็ย่อมสลด ถึงความสังเวชว่า
วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี
นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปะฏักแล้ว
ย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวชเลยทีเดียว

แต่เมื่อถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขน จึงสลด ถึงความสังเวชว่า
วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี
นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้
เห็นเงาปะฏักแล้วย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช
แม้ถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช

แต่เมื่อถูกแทงด้วยปะฏักถึงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวชว่า
วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี
นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ




อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้
เห็นเงาปะฏักก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช

แม้ถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช
แม้ถูกแทงด้วยปะฏักถึงผิวหนังก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช

แต่เมื่อถูกแทงด้วยปะฏักถึงกระดูก จึงสังเวช ถึงความสลดว่า
วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ
เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี
นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก
มีปรากฏอยู่ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ได้ฟังว่า
ในบ้านหรือในนิคมโน้นมีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา
เขาย่อมสลด ถึงความสังเวช

เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว
เริ่มตั้งความเพียรไว้ โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ม้าอาชาไนยตัวเจริญพอเห็นเงาปะฏักย่อมสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด
เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา
แต่เขาเห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง
เขาจึงสลด ถึงความสังเวช

เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว
เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว
ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปะฏักที่ขุมขนย่อมสลด ถึงความสังเวช
แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย ผู้เจริญบางคนในโลกนี้
แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา
และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง
แต่ญาติหรือสาโลหิตของเขาถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา
เขาจึงสลด ถึงความสังเวช

เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว
เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้ง
ซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวช
แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ



อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา
และไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง
ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา

แต่เขาเองทีเดียว อันทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ
แทบจะนำชีวิตไปเสีย ถูกต้องแล้วเขาจึงสลด ถึงความสังเวช

เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว
เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย
และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปะฏักถึงกระดูก จึงสลดถึงความสังเวช
แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้
แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้แล
มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผัสสะ


[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม เมือง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็นสาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ
เขาฆ่าตัวนี้ กลับไปฆ่าตัวอื่น เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ หรือไม่

วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น
บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูกรโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกันไว้ในระหว่าง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราช สาวกของนิครนถ์ค้างอยู่เพียงนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูกรวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา
และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด
ท่านพึงซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร
ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ดังนี้ไซร้
เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้

วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอมและจักคัดค้านข้อที่ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาค
อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคข้อใด
ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า
ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร
ขอเราจงสนทนากันในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลใน สัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา
เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่า แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ...
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ดูกรวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะ
อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่ ฯ
ว. ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ



พ. ดูกรวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมบรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่
เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูกรวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้
ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน
ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ
เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้เป็นซีกๆ แล้วผึ่งลมและแดด

ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำให้เป็นขี้เถ้า
โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ
เมื่อเป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น
มีรากขาดสูญ ประดุจตาลยอดด้วน
ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด

ดูกรวัปปะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว
ย่อมได้บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีกายเป็นที่สุด

เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป
เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น ฯ



จบมหาวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์









พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้น
เพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว
อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน




พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางใจเป็นปัจจัย

เมื่อบุคคลงดเว้นจาก การกระทำทางใจแล้ว
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย


นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน






พ. ดูกรวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่าใดก่อทุกข์ เดือดร้อน
เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น
อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย

รับผลกรรมเก่า

แล้วทำให้สิ้นไปด้วย



นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามา
วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน








อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน





อุปวาณสูตร




[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า ฯ




[๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุปวาณะ
ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ





[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูกรอุปวาณะ
ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน
อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า
เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ




[๘๒] ดูกรอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป


และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน

อาการที่ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้เสวยรูป
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายในอย่างนี้แล

เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ






[๘๓] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ




[๘๔] ดูกรอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง
ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน

อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วเป็นผู้เสวยธรรมารมณ์
แต่ไม่เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า
เราไม่มีความกำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล


เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู
ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ฯ



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=908&Z=947

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมจรรย์


อุปัฑฒสูตร



[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.


[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น

ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว


ดูกรอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.





[๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?


ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ...
สัมมาวาจา ...
สัมมากัมมันตะ ...
สัมมาอาชีวะ ...
สัมมาวายามะ ...
สัมมาสติ ...
สัมมาสมาธิ
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.




[๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้

ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากชาติ

ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ

ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร

ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=26&Z=51

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ส.ค. 2015, 08:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 21 ส.ค. 2015, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ราคะ โทสะ โมหะ
อโยนิโสมนสิการ(การไม่กำหนดรู้) และ โยนิโสมนสิการ(การกำหนดรู้)





ติตถิยสูตร

[๕๐๘] ๖๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกจะพึงถามเช่นนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
ราคะ
โทสะ
โมหะ

ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้แล
ผู้มีอายุ ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์แก่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ว่าอย่างไร

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ธรรมของพวกข้าพระองค์ทั้งหลาย
มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน
มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ
มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย
ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น
จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลาย
ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์จะพึงถามเช่นนี้ว่า

ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน
คือ ราคะ โทสะ โมหะ

ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้
ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อย่างนี้ ผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์
แก่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย

ราคะมีโทษ น้อยคลายช้า

โทสะมีโทษมากคลายเร็ว

โมหะมีโทษมากคลายช้า



ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า
สุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่างาม

เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยอุบาย ไม่แยบคายถึงสุภนิมิต
ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง




ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า ปฏิฆนิมิต คือ
ความกำหนดหมายว่ากระทบกระทั่ง

เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายถึงปฏิฆนิมิต
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง



ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง

เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ
เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง

ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง




ถ้าเขาถามอีกว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้

เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า
อสุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม

เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต
ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้

ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้ราคะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้



ถ้าเขาถามต่อไปว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้


เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า
เมตตาเจโตวิมุติ

เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติ
โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้

ผู้มีอายุทั้งหลายข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละได้



ถ้าเขาถามต่อไปอีกว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้


เธอทั้งหลายควรพยากรณ์ว่า พึงกล่าวว่า
โยนิโสมนสิการ


เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้


ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯ



http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 268&Z=5319

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 21 ส.ค. 2015, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. เอตังมมสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งการถือมั่นว่าเป็นของเรา

[๔๑๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร
เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า
นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.

เมื่อเวทนามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสัญญามีอยู่ ฯลฯ เมื่อสังขารมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ
เพราะยึดมั่นวิญญาณ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.


[๔๒๐] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว
ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
ทิฏฐิจะพึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา บ้างไหม?
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล
อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้
ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัย
แม้ในทุกข์
แม้ในทุกขสมุทัย
แม้ในทุกขนิโรธ
แม้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.



http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 872&Z=4909





๑. อานันทสูตร
ว่าด้วยปัจจัยให้มีและไม่ให้มีตัณหามานะทิฏฐิ

[๑๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนทเถระเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านพระอานนท์แล้ว.
ท่านพระอานนท์ จึงได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการะมากแก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่
ท่านกล่าวสอนพวกเราด้วยโอวาทอย่างนี้ว่า

ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่น จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.

เพราะถือมั่น อะไรจึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
เพราะไม่ถือมั่นอะไร จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.

เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา
เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา.

ดูกรท่านอานนท์ เปรียบเสมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มรุ่นสาว มีนิสัยชอบแต่งตัว ส่องดู
เงาหน้าของตน ที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำ อันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดถือจึงไม่เห็นฉันใด.

ดูกรท่านอานนท์ เพราะถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา

เพราะไม่ถือมั่นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูกรท่านอานนท์ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส.
ป. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง อาวุโส ฯลฯ
ป. เพราะเหตุนี้แล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. (โดยเหตุนี้แล ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า)

ดูกรอาวุโส ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้มีอุปการะมาก แก่พวกเราเหล่าภิกษุใหม่
ท่านสอนพวกเราด้วยโอวาทนี้ ก็เราได้ตรัสรู้ธรรม เพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระปุณณมันตานีบุตร.


http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 357&Z=2383

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร