วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 73, 74, 75, 76, 77, 78, 79 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1: ...ยังนึกถึงท่านอยู่ว่าเมื่อไรจะมาต่อสักที่ ... :b12:

การเรียบเรียงแต่ละครั้งต้องใช้สมาธิที่ต่อเนื่องพอสมควรหน่ะครับคุณเอกอน :b1: :b46: :b39:

เลยต้องหาเวลาและสถานที่ที่สัปปายะพอสมควรในการเรียบเรียง ซึ่งบางครั้งถ้างานทางโลกเยอะหรือสุขภาพไม่อำนวย ก็อาจจะต้องใช้เวลากันหลายอาทิตย์เลย กว่าจะหาเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม ในการกลั่นเนื้อหาออกมาได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมนะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถามใน inbox มาจากมิตรทางธรรมที่อยู่ในลานธรรมจักร ตอนแรกว่าจะตอบเป็นการส่วนตัวอย่างเดียว แต่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นด้วย :b46: :b39: :b46:

เลยขออนุญาตมาลงไว้ในกระทู้ต้นเรื่องด้วยนะครับ เผื่ออาจจะมีท่านอื่นสงสัยในประเด็นเดียวกันเนื่องจากผู้เรียบเรียงอาจจะชีแจงไม่ละเอียดพอ :b46: :b39: :b46:

*** เขียน:
หัวข้อ: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

วิสุทธิปาละ เขียน:
ซึ่งการทรงฌานในชีวิตประจำวันนี้นั้น จะเริ่มจากการทรงลักขณูปนิชฌาน คือมีไตรลักษณ์เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอด :b46: :b47: :b46:

บวกกับการทรงอารัมมณูปนิชฌานสำหรับฌานลาภีบุคคล ที่มีสติที่บริสุทธิ์, มีอุเบกขา คือใจที่เป็นกลางปราศจากชอบชังโดยสิ้นเชิง, และมีเอกัคคตารู้ในอารมณ์เดียวทีละขณะอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากอาการฟุ้ง เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ และเป็นเครื่องอยู่ของจิต ตามเหตุปัจจัยที่ฝึกฝนมาพร้อมจนเป็นอัตโนมัติ "เช่นนั้นเอง" นะครับ :b1: :b46: :b39:


ตรงนี้มีรายละเอียดอีกมาก ไว้อธิบายสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ และการทรงฌานในชีวิตประจำวันอีกทีในภาคส่วนของอธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาในมรรคบุคคลและผลบุคคลที่สูงขึ้นแล้วกันนะครับ ไม่อย่างนั้นภาคส่วนอธิศีลสิกขาของสกทาคามีมรรคจะไม่จบเสียที :b49: :b48: :b47:

เนื้อหาค่อนข้างจะยาวแล้ว .. ไว้อธิบายและยกตัวอย่างในรายละเอียดของการปฏิบัติในรูปแบบ จนกลายเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามวิถีแห่งเซ็นกันต่อในคราวหน้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


ขอคำอธิบายสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ การทรงณานในชีวิตประจำวัน

ขอบพระคุณค่า


สวัสดีครับ คุณ *** :b1: :b47: :b39:

ต้องขอโทษด้วยครับที่ตอบช้า เพราะพึ่งมาสังเกตเห็นว่ามีข้อความใหม่ใน inbox หลังจากข้อความสุดท้ายในปี 2011 (ส่วนในเมลล์ที่เชื่อมกับเวปนี้ นานๆถึงจะเข้าไปเช็คสักทีนึง) :b47: :b48: :b47:

เกี่ยวกับเรื่องสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ และการทรงฌานในชีวิตประจำวัน ขออธิบายอย่างสั้นๆก่อนนะครับ (ส่วนรายละเอียด ขอเอาไปลงในภาคส่วนของอธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาแล้วกันนะครับ) :b47: :b48: :b49:

สติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ คือสติปัญญาที่ผ่านการฝึกฝนอบรมดีแล้ว และขึ้นมาทำงานได้เองเป็นอัตโนมัติเมื่อมีผัสสะมากระทบ :b46: :b47: :b46:

คือ เกิดกุศลหรือกลางๆ (อัพยากฤต) ก็รู้ แล้วปล่อยให้วงจรเดินต่อไป, เกิดอกุศลก็รู้ แล้วดับวงจรลงได้ในเดี๋ยวนั้นทันที ซึ่งตรงนี้จะเกิดเป็นอัตโนมัติขึ้นมาเรื่อยๆตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี ไปจนอัตโนมัติอย่างเต็มที่ในขั้นอนาคามี
:b47: :b48: :b47:

และเมื่อสติปัญญาในขั้นอนาคามีเป็นอัตโนมัติถึงขีดสุดแล้ว ก็จะพัฒนาต่อจนกลายเป็นมหาสติ มหาปัญญา คือจิตเป็นกลางต่อผัสสะอย่างถึงที่สุด ไม่มีชอบไม่มีชังเมื่อเกิดผัสสะเวทนา วงจรอกุศลไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ทุกอย่างเป็นเพียงกิริยาอาการ :b46: :b47: :b46:

อันนี้เกิดขึ้นกับพระอรหันต์ที่ท่านตัดรากของกิเลสสังโยชน์ทุกตัวขาดลงได้แล้วด้วยมหาสติมหาปัญญา
:b51: :b53: :b47:


ตรงนี้อธิบายแบบย่อๆตามบัญญัติที่องค์หลวงตามหาบัวท่านให้เอาไว้ บวกเพิ่มเติมอธิบายความนิดหน่อยนะครับ :b53: :b54: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าจะให้ลงรายละเอียดขึ้นไปอีกนิด ก็จะได้ว่า :b51: :b47: :b51:

สติอัตโนมัติ และปัญญา (อันมีสัมปชัญญะเป็นเบื้องต้น) อัตโนมัติ คือสติและสัมปชัญญะที่ถูกฝึกดีแล้ว จนกระทั่งมีผัสสะอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะ ก็จะทำหน้าที่ให้จิต รู้ในผัสสะและเวทนานั้นได้ชัดอย่างเป็นอัตโนมัติ และมีปัญญาที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อผัสสะและเวทนานั้น ไปในทางที่ไม่เกิดอกุศลได้อย่างเป็นอัตโนมัติ :b53: :b48: :b47:

โดยสติ ทำหน้าที่ตรวจจับ (detecting) และปัญญาสัมปชัญญะ ทำหน้าที่ประมวลผลและสั่งการกระทำต่อ (processing & reacting) ให้กระบวนการทั้งหมดอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง อย่างเป็นอัตโนมัติ (โดยไม่ต้องผ่านการคิด) ในชั่วเสี้ยววินาที
:b51: :b49: :b50:

เหมือนนักขับรถที่ชำนาญ เมื่อตา (เปรียบได้กับสติ) เห็นอุบัติเหตุอยู่ข้างหน้า ระบบประสาทซึ่งรวมทั้งสมอง (เปรียบได้กับปัญญาสัมปชัญญะ) ก็จะสั่งการให้ขาเหยียบเบรค มือหมุนพวงมาลัยหักหลบ ฯลฯ ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกที่ช่ำชองชำนาญดีแล้วนั้น :b54: :b51: :b47:

โดยที่ในขั้นของสกทาคามี สติและปัญญาจะเริ่มเป็นกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งมีผลทำให้ผัสสะเวทนาที่ทำให้เกิดทุกข์ เกิดขึ้นได้น้อยลง ทั้งจำนวนครั้ง ความแรง และความยาวนานที่เกิดขึ้น :b51: :b47: :b48:

(ยกเว้นปัญญาที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็จะเป็นปัญญาอัตโนมัติ และนี่คือการทรงลักขณูปนิชฌานในระดับแรก ที่ผู้ปฏิบัติ จะได้ปัญญาอัตโนมัติตรงนี้ ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป)
:b54: :b49: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสติและปัญญากึ่งอัตโนมัติตรงนี้ มีผลทำให้สกทาคามี มีทุกข์เบาบาง คือเป็นสุขง่าย เป็นทุกข์ยากขึ้นมากมาย เพราะสติและปัญญาสัมปชัญญะ เริ่มรู้เท่าเอาทันกับกิเลสที่เกิดขึ้นมา :b53: :b51: :b47:

หมายถึงยังมีกิเลสเกิดขึ้นอยู่บ้างนิดหน่อย โดยเฉพาะตัวสำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างหยาบ คือ สังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะ ยังเกิดขึ้นอยู่บ้าง แต่สติรู้เท่า ปัญญาสัมปชัญญะเอาทันกับกิเลสดังว่า ทำให้ราคะและปฏิฆะเบาบางลงไป ซึ่งเป็นผลทำให้ทุกข์ในชีวิตเบาบางลงไปเป็นอย่างมาก :b54: :b49: :b50:

ซึ่งถ้าฝึกสติและสัมปชัญญะให้ยิ่งขึ้นไปอีก สติและสัมปชัญญะที่ตามผัสสะและเวทนาทัน ก็จะตัดวงจรทำให้ไม่เกิดตัณหาอย่างหยาบขึ้นมา :b47: :b48: :b47:

คือสติ จะเป็นตัวระลึกรู้ในผัสสะและเวทนาที่เกิดขึ้น ส่วนตัวปัญญาสัมปชัญญะที่เห็นคุณโทษและทางออกของกาม หรือเห็นในสามัญลักษณะของเวทนาดีพอแล้ว ก็จะทำให้เกิดโลกุตรปัญญา ซึ่งเป็นตัวตัดให้ตัณหาอย่างหยาบ คือกามตัณหา และวิภวตัณหา ให้ขาดออกไปจากใจ ทำให้สังโยชน์ข้อราคะและปฏิฆะไม่เกิดขึ้นมาใหม่อีก :b46: :b42: :b39:

นั่นคือการพัฒนาขึ้นสู่ระดับอนาคามี ที่มีสติเป็นอัตโนมัติ และปัญญาที่เป็นอัตโนมัติ ทำให้ความทุกข์ส่วนใหญ่หลุดหายไปจากใจ :b49: :b48: :b50:

(แต่ยังมีทุกข์ละเอียด คือการเกิดขึ้นแห่งชาติอยู่ (ชาติปิทุกขา) ทำให้ยังมีความฟุ้งในจิตอยู่ (แต่เป็นการฟุ้งไปในธรรมที่ยังเรียนไม่จบ ที่เรียกว่า ธัมมุจธัจจะ) จิตบางครั้งยังหมองอยู่ได้นิดหน่อย :b46: :b39: :b46:

จนกว่าจะพัฒนาสติอัตโนมัติและปัญญาอัตโนมัติ ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา ในระดับอรหันต์ที่ไม่มีเชื้อเกิด คือไม่มีการเกิดขึ้นแห่งชาติเหลืออยู่อีก ตามบัญญัติที่องค์หลวงตามหาบัวท่านว่าเอาไว้นะครับ)
:b1: :b46: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 01 ส.ค. 2015, 22:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งเมื่อนักปฏิบัติเข้าสู่ระดับอนาคามีแล้ว สติก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาธิ หรือความตั้งมั่นแห่งจิต ก็จะบริบูรณ์พร้อมกันขึ้นไปด้วยตามคำของพระบรมครู :b8: :b46: :b39:

คือจิตเขาจะเป็นผู้รู้ผู้ดูผัสสะและเวทนาอยู่ด้วยใจที่เป็นกลาง อันเนื่องมาจากอุเบกขาในโพชฌงค์ที่สมบูรณ์ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หรือโพชฌังคุเปกขา) ซึ่งจะทำให้สติ ก็จะเป็นสติที่บริสุทธิ์และต่อเนื่องด้วยผลขององค์อุเบกขาในโพชฌงค์นั้น :b51: :b47: :b48:

และด้วยสติที่บริสุทธิ์ด้วยอุเบกขา พร้อมกับสมาธิที่บริบูรณ์พร้อม ทำให้นักปฏิบัติที่เข้าสู่ขั้นของอนาคามี จะสามารถทรงฌาน (ที่เป็นอารัมมณูปนิชฌาน) อยู่ได้ในชีวิตประจำวันนะครับ :b1: :b47: :b48:

ซึ่งตรงนี้มีสภาวะเหมือนกับการอยู่ในฌาน ๔ แล้วเอาจิตมารู้โลก การรู้โลกก็จะรู้ได้ชัด ตรงตามสภาวธรรมทั้งวิเสสลักษณะและสามัญลักษณะ เหมือนดูภาพแบบ full HD โดยไม่มีคลื่นรบกวนแทรก :b49: :b50: :b49:

เนื่องเพราะจิตที่ทรงฌานในชีวิตประจำวัน จะประกอบไปด้วยองค์ธรรมที่เด่นของฌาน ๔ อันได้แก่เอกัคคตา (ความเป็นหนึ่งแห่งจิต) และอุเบกขาที่เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ความวางเฉยแห่งจิต รับรู้โลกด้วยใจที่เป็นกลาง) อยู่โดยตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลานั่นเอง
:b47: :b48: :b49:

อธิบายด้วยศัพท์ที่ยากไปหน่อย แต่คิดว่าด้วยระดับธรรมของคุณ*** น่าจะทำความเข้าใจได้นะครับ :b47: :b48: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 06:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำข้อความ คุณidea มาไว้ที่นี่

การทำสมาธิ...
ถึงจุดหนึ่ง..ที่ไอเดียจะเรียกว่าเป็นความสงบ
คือ..เกิดอาการกายเบา..จิตเบา
สว่าง..โปร่ง..โล่ง..
กาย..ลม..ยังไม่ดับ
แต่..เหมือนมีก็ไม่ใช่..ไม่มีก็ไม่ใช่
สุข..สงบ
ส่วนมากที่ทำได้..และทำความเข้าใจมาประมานนี้


s005 ..แต่..
สงสัยมาสักพักละ.. :b9: :b14:
หลายครั้งที่..เหมือนระลึกถึงความสงบ..
ในวันที่เข้าสมาธิง่ายพอสมควร..
มันจะเหมือนจับทางไปได้เลยทันทีที่หลับตาสักแป๊ป
แต่..มันเป็นความสงบ..อีกแบบ :b34:
ติดใจตรงนี้ค่ะ
ตอนนั้นจะรู้สึก..ว่ามีกาย
แต่กายเป็นสภาพใด..อยู่สัดส่วนตรงใดระบุไม่ได้
จะรู้ชัดแค่ตรงกลางอก..
รู้ตรงจุดนี้..และมันจะเคลื่อนไป..ตรงจุดนั้น..(กลางอกนั่นแหละ)
รู้ถึงอาการเคลื่อน..บางทีเร็วๆ..เหมือนควบคุมให้ชะลอ..คงเพราะฝืน
แต่มันเป็นอาการที่..เคลื่อนหมือนไม่มีที่สุด

คือว่า..ไม่เคยตามไปถึงที่สุดด้วยค่ะ..แหะๆ :b9: :b9:
เพราะมันเหมือน..ดิ่ง..อ่ะค่ะ..ดิ่งลึกไปเรื่อยๆ
ไม่มีสว่าง..โล่ง..เบา..
แต่ก็ไม่อึดอัด..คิดว่ามีความรู้ตัวดี
แต่..
มันสงบ..แบบวิเวก..อย่างเดียวเลย
มันวังเวงจนน่าตกใจอยู่นิดๆอ่ะค่ะ
จะถอยออกตลอด..แบบขืนไว้

ใครพอจะอธิบายสภาวะนี้ได้ใหมคะ
มันก็คือความสงบ..แบบหนึ่งใช่ใหม..
สัมมาสมาธิใช่ใหม..
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 06:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาสภาพธรรม ของคุณidea มี ขั้นตอน 2 คือ
1 เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลา และบางครั้งเพียงหลับตาจินก็รวมตัวกลางหน้าอก พบอาการไหว ณ จุดกลางหน้าอก ซึ่งคือปรากฏการณ์ลมละเอียด ซึ่งหากยังรู้ในลมจะเกิดอาการแน่นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ต้องเลิกสนใจลมชั่วคราว เพราะรู้ลมหายใจเข้าออก มุ่งหมายเพื่อให้ได้สมาธิ
และใช้สมาธิมารู้ความจริง

2 ให้นำสมาธิมารู้ความจริงของกายใจที่ปรากฏ ซึ่งคุณ idea
จะพบอาการ2 อย่างคือ อาการไหวไปมาและอาการแน่นๆ ที่กลางหน้าอก ให้นำตัวรู้ที่เป็นกลาง คือ รู้แบบคนพักผ่อนรู้ รู้แค่ใหนให้รู้แค่นั้น ไม่ต้องควานหาสภาวะ โดยรู้รวมๆ ในปรากฏการณ์ 2ั อย่างคืออาการไหวและการมีสิ่งทาบปกคลุมหัวใจ โดยรู้ ืืืืพร้อม 2 ปรากฏการณ์ 3ถึง5 วินาที รู้แล้วละ จิตจะค่อยๆดิ่งลง ตามรู้อาการดิ่งลง จนจิตมาหยุด อยุ่ที่ตำแหน่งหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเปลี่ยนชื่อใหม่
เราไม่ได้เอาตัวรู้ไปแนบกับแรงที่ร้อยรัดกลางอก(แรงตัณหา)
แต่เราเอาต้วรู้ไปแตะรู้แรงที่ร้อยรัดกลางอก(แตะรู้ความรู้สึกเหมือนมีอะไรแนบอยู่)
เมื่อรู้กลางอกหากรู้ต่อเนื่องอย่างที่คุณเปลี่ยนชื่อกล่าว
จิตจะยึดรวมกับแรงที่กลางอก อันนี้เป็นสมถะ ถ้าจะเป็นวิปัสนา
จะต้องแตะรู้แล้วละ รู้แล้วละหมายถึง การรู้ชั่วขณะ 3-5วินาที
แล้วปล่อยรู้
การปล่อยรู้หมายถึง รู้แล้วละ เหมือนทิ้งของที่ไม่ต้องการ เลิกใส่ใจการละก็ไม่ได้นาน
สำหรับบางท่านที่ยึดมาก ไม่สามารถปล่อยรู้ได้ อาจเป็นการยึดที่จะปล่อยรู้ กลุ่มนี้คืออัตตกิลมถานุโยค อาจใช้วิธีการเปลี่ยนรู้ คือขณะรู้แรงกลางหน้าอก 3-5วินาที ต่อจากนั้นหากมีพัดลมเปิดใส่ตัวหรือลมพัดมาโดนตัว ก็มารู้ที่ลมโดนตัว ซึ่งก็คือการเปลี่ยนรู้สิ่งใหม่ ก็คือการละสิ่งเก่า(สำหรับอัตกิลมถานุโยค) หากเป็นกลุ่มวิปัสนายานิกจิตเขาจะละเองโดยธรรมชาติ
สำหรับคุณideaเป็นวิปัสนาที่มีสมถะนำหน้าอาจใชัวิธีนี้หรือไม่ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 06:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่ปรากฏในการปฏิบัติวิปัสนาจำแนกตามอุปนิสัย

1ลักษณะจิตของวิปัสนายานิก เนื่องจากวิปัสนายานิกเป็นผู้มีสมาธิไม่มาก เจตสิกจึงมีความหลากหลาย การกำหนดจิตจึงเป็นการรู้ทันความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำที่ผุดออกมา การเคลื่อนของจิตไปตามอายตนะภายนอก เช่น ทางตาเป็นต้น การกำหนดรู้เป็นขณะตามปรากฏการณ์ของจิต นานๆจิตจะดิ่งลง เมื่อดิ่งลงก็กลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

2 ลักษณะจิตของสมถยานิก เนื่องจากเป็นชอบบำเพ็ญสมาธิมามาก เจตสิกจึงไม่หลากหลาย การกำหนดรู้จึงเป็นการรู้กายในกาย เช่น กรณีสภาวธรรมของคุณ idea ที่กล่าวมา

หลักการปฏิบัติขัันต่อไป คือ การรู้ความสัมพันธ์ของกายใจจากความจริงที่จิตเป็นเหตุสร้างปรากฏการณ์ทางกาย กล่าวคือ หากจิตมีความพอใจเอิบอิ่ม ก็จะไปบงการให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนปรเภทนั้นๆออกมากรณีนี้สมองจะสร้างสารเอ็นโดฟีนออกมาไหลจากโหนกศีรษะาผ่านข้างหูเอิบอาบตามกระแสประสาท สะสมลงสู่ไขสันหลัง เอิบอาบหมักดองตามที่พะพุทองค์ได้กล่าวไว้(อาสวะหมักดอง)

การเกิดกิเลสทางใจหนึ่งครั้งก็สร้างสารทางกายหนึ่งครั้งเกิดดับคิดเป็น1รอบ ใช้ระยะเวลาสั้นๆไม่กี่วินาที ถัาจิตโกรธก็จะสร้างสารโกรธในร่างกาย(อดีนารีน) ลองคิดดูวันหนึ่งๆจะสร้างกีสาร กี่ครั้ง กีรอบ 1เดือน กี่แสน ล้านรอบ สร้างเสร็จก็สะสมที่ใจกายนี้ นี่จึงเป็นเหตุให้เวียนตายเกิดภพชาติไม่หมดสิ้น

เมื่อใจเป็นเหตุ สารเคมีทางกายเป็นผล(ปฏิจสมุปบาทสายเกิด) ถ้าปฏิจสมุปบาทสายดับ จะย้อนปรากฏการณ์ทางกายสมมุติ การเกิดวนขวา การดับก็วนย้อนศร นี่คือความลับที่นำไปสู่การบรรลุธรรมที่ไม่มีการกล่าวถึง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 06:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงการทำงานของกิเลส ตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวทนา(ชอบ ชัง เฉย) ซึ่งเป็นผล เวทนาดังกล่าวก็จะเป็นเหตุให้เกิดสารอินทรีย์เคมีทางกาย(ผล) สารอินทรีย์เคมี(เหตุ)ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว(ผล)เกิดขึนอีก

เกิดลูกโซ่ของความเป็นเหตุ ผลเชื่อมต่อกันไประหว่างปรากฏการณ์ทางใจสัมพันธ์กับกาย จึงสรุปลงที่ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับผลจึงดับตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 07:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลเป็นปรากฏการณ์ทางกายที่หยาบกว่าเห็นง่ายกว่าใจ ที่กล่าวว่าปฏิจสมุปบาทสายดับ เป็นการวนย้อนศรของสภาวธรรมทางกายสู่ใจ กล่าวคือ การกำหนดรู้ปรากฏทางกายเช่น ขณะ
นั่งสมาธิ เมื่อมีอาการปวดเข่า เราลองเอาตัวรู้ไปแตะที่อาการปวดเป็นขณะๆ อาการปวดจะเพิ่มมากแล้วจึงค่อยๆดับลง การกำหนดรู้เช่นนี้จะต้องใช้เวลา มาก เพราะเป็นการรุ้เฉพาะทางกาย แต่ถ้าลองกำหนดรู้ความปวดเข่าเป็นขณะๆ แล้วสังเกตว่า
ณ ตำแหน่งนั่นจะเกิดความรู้สึกทางใจร่วมด้วย คือใจอึดอัดส่ายไปมา ให้เราละการรู้ในอาการปวดเปลี่ยนมารู้ความอึดอัดทางใจ3-5 วินาทีแล้วละ กลับมารู้ความปวด จะพบว่าอาการทางกายและใจจะสลายตัวลงแทบจะพร้อมกันอย่างรวดเร็ว หากการรํู้ในการปวดอย่างเดียวแล้ว (รู้ทางกายอย่างเดียว)หายปวด จะใชัเวลาเป็น3เท่า ของการรู้แบบความสัมพันธ์ของกายกับใจ ผู้ใดสนใจลองทดสอบดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2015, 07:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ิตามแนวทางที่กล่าวมา สรุปได้ 2 ขั้นตอน
1. ใช้จิตที่เป็นกลางธรรมชาติไปรู้้รูปนามตามความเป็นจริง
โดยในเบื้องต้นสิ่งใดเกิดก่อน ให้รู้สิ่งนั้น ต่อมาจะเริ่มสังเกตเห็นรูปนามแสดงความจริงในลักษณะความสัมพันธ์ (ความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
2. การรู้ความจริงแต่ละขณะเป็นการรู้ ในช่วงสั้นๆ3-5 วินาที
เป็นการล้อตามธรรมชาติของจิต ที่จะมีการเคลื่อนไม่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ และในขณะรู้ระยะสั้นนั้น ให้ปล่อยรู้หรือเปลี่ยนรู้ ชึ่งเป็นการล้อตามธรรมชาติ ที่แสดงสามัญลักษณะของรูปนามคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เข้าหลักที่รู้แล้วละ

การปฏิบัติในลักษณะนี้จะทำให้จิตเบาและเป็นสมาธิได้เร็ว เพราะหากเราจดจ่อในกรรมฐานต่อเนื่อง จะสะสมเจตนา(อุปทาน) ประกอบกับสิ่งที่เป็นขยะกายขยะใจ (พลังงาน) จะต้องคลายออก ตรงช่องว่างภายหลังรู้แล้วละ แต่เนื่องจากรู้ แล้วไม่ละคือจดจ่อกับกรรมฐาน พลังงานดังกล่าวคลายออกไม่ได้ จึงสะสมค้างอยู่ ผู้ปฏิบัติจึงรู้สึกอึดอัด จึงเข้าใจว่ายิ่งปฏิบัติยิ่งทุกข์ จึงเลิกปฏิบัติ เป็นการเสียโอกาส
เนื่องจากขาดความเข้าใจ เพราะปฏิบัติตามๆกันมา ซึ่งสิ่งนี้ผมก็เคยเป็นมาเช่นเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2015, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ปรากฏการณ์ทางจิต อาจแยกได้ 2 ส่วนคือ
การสร้างเหตุ ได้แก่การสร้างสติ และสมาธิ
การได้รับผล ได้แก่ความสงบ

การมีสติรู้ในองค์กรรมฐานเป็นไปเพื่อเกิดสมาธิ(เหตุ)
จิตละการเกาะในองค์กรรมฐานเคลื่อนที่ลงสู่ฐานของจิตเกิดความสงบ(ผล)

หากผู้ปฏิบัติยังยึดกับองค์กรรมฐาน จึงไม่พบธรรมชาติของวิถึจิตที่เคลื่อนเข้าสู่ความสงบ ชึ่งเคลื่อนไปตามตำแหน่งของร่างกาย ชึ่งเป็นไปตามหลักที่ตำแหน่งต่างๆของร่างกาย มีกระแสประสาท เชื่อมโยง และมีจุดศูนย์รวมของกระแสประสาท ที่ควบคุมความรู้สึก ได้แก่ ปิติ อบอุ่น สุข ตำแหน่งเหล่านี้ถูกเรียกว่าจักระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2015, 19:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อการเกิดฌานจิตเกี่ยวเนื่องกับ ตำแหน่งของจิต สัมพันธ์กับอารมณ์ของจิต ทำไมสิ่งนี้ไม่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏก ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเกิดฌานจิต(ลักขณูณิชฌาน)ที่เกี่ยวเนื่องกับตำแหน่ง(จักระ) จะเกิดเฉพาะการรู้ในสภาวะรูปนามที่เป็นอิสระธรรมชาติ ไม่ได้กำหนดที่เจาะจง เช่น กำหนดลมหายใจเป็นต้นที่มีการเจาะจง่ไปที่ลม แต่ถึงแม้จะเจาะจงโดยรู้ลมหายใจเข้าออก หรือรู้รูปนามอิสระ สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ อารมณ์จิต เช่น
ในปฐมฌานจะมีวิตก วิจาร ปิติ สุขและเอกคตารมณ์ ความต่างคือถ้ารู้รูปนามที่อิสระ เวลาเข้าสู่ปฐมฌาน จิตจะดิ่งลงตำแหน่งที่ท้อง แต่เนื่องจากการปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผล มีหลายสายสู่จุดเดียวกัน จึงกล่าวเฉพาะสิ่งที่มีเหมือนกัน
แต่หากได้เรียนรู้จิตที่เคลื่อนไปตามจักระเมื่อเกิดอารมณ์ฌานจิตแล้ว ก็จะเรียนรู้วิถึจิตของฌานแต่ละระดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2015, 08:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติดูลมหายใจเข้าออกก็ได้ฌาน การรู้รูปนามอย่างอิสระก็ได้ฌาน(ลักณูณิชฌาน)

ฌานทั้งสองมีสิ่งใดที่ต่างกัน
การรู้ลมหายใจเข้าออก เราต้องใส่เจตนาเพื่อตามรู้ลม แรงเจตนาก็คือแรงแอคชั่น จึงเกิดแรงโต้กลับ คือ รีแอคชั่น แรงนี้ทำให้จิตคงสมาธิไม่ ได้นาน ถึงนานก็สะสมแรง ที่ต้องล้างออกภายหลัง เพราะหลักวิปัสนาต้องสลัดทุกแรงจนอิสระจากแรงทั้งปวง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 73, 74, 75, 76, 77, 78, 79 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร