วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 72, 73, 74, 75, 76, 77, 78 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการฝึกโดยผ่านการนั่งซาเซ็นของทางมหายานนี้ ก็ลงกันได้ดีกับการฝึกอานาปานสติของทางเถรวาทตามคำของพระบรมครู เพียงแต่ถ้ายึดตามวิธีการจากคำสอนของพระบรมครู จะเข้าใจได้ในขั้นตอนของวิธีปฏิบัติแบบ how to อย่างละเอียดถึง ๑๖ ขั้น จากง่ายไปยาก และสภาวะทุกอย่างก็ดำเนินไปตามนั้นอย่างไม่ผิดเพี้ยน :b46: :b47: :b46:

ซึ่งจะลงรายละเอียดขยายความตามคำสอนจากพระบรมครูในภาคส่วนการปฏิบัติของอานาปานสติ (รวมถึงสติปัฏฐานสี่ บรรพะอื่นๆอีก ๒๐ บรรพะ) ทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ตามสติปัญญาและประสบการณ์การปฏิบัติที่พอจะแบ่งปันกันได้ ในช่วงของอธิปัญญาสิกขานะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วคราวหน้ามาต่อกันด้วยบทฝึกหัดอื่นๆที่เหลือในภาคเช้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2015, 15:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่ง่ายรู้โดยทั่วไป ในวงกว้างเมื่อรู้นานเข้า ก็อาจเกิดความเข้าใจว่ามีทางนี้เท่านั้น เช่น สติปัฏฐาน4 ที่รู้รูปนามอย่างเป็นธรรมชาติ จึงเป็นการปิดบังทางอื่นที่ลึกสุขุมที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ เช่น ธรรมที่ตรัสสอนปัจจวัคคีย์ คือภิกขุไม่ควรติดยึดในสองส่วน ซึ่งเป็นธรรมที่เหมาะสำหรับผู้ฝึกสมาธิมามากซึ่งในประเทศไทยมีกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มแรก ทางนี้จะพบสมาบัติ8 ตามแนวที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ในพระสูตร ในลักษณะลักณูนิปฌาน หากมีผู้ค้นพบแล้วบอกกล่าวแบบเป็นstepใครจะเชื่อ และจะปรามาสกันหรือไม่ เพราะทุกคนเชื่อสิ่งที่ทำตามกันมา

การบอกกล่าวว่าเห็นธรรมทั้งที่ปารถนาดี ซึ่งจะเป็นการชี้ทางที่ง่ายเพราะเข้าใจนัยยะที่ลึกซึ้ง ที่ซ่อนอยู่ในคำสอน แต่อีกมุมหนึ่ง จะเป็นการทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าผู้พูดมีอัตตา? ซึ่งผู้ยึดถือแนวทางที่ครูอาจารย์บอกสอนมาและที่ทำมาก็จะเชื่อว่านี่ใช่แล้ว ซึ่งความเชื่อดังกล่าวผมก็เคยเป็นมาแล้ว จึงเป็นการตรองระหว่างผลได้เสีย จึงปรับใช้กับกลุ่มของตนเอง นอกจากนี้การคุยกันของ2ฝ่ายโดยไม่ได้เรียนรู้ถึงสภาวธรรม จึงห่างไกลในความเข้าใจ เพราะภาษาสื่อไม่ถึงสภาวะ

จึงเป็นเหตุผลที่ผู้รู้ไม่กล้ากล่าวว่าเป็นผู้รู้ หากมีผู้ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าถึงธรรมแล้ว ธรรมที่กิเลสส่วนใหนถูกประหารแล้วจะไม่กลับมากำเริบอีก จิตย่อมเปลี่ยน ณ วันที่เข้าถึง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

คราวที่แล้วได้เล่าถึงการสวดมนต์และการนั่งสมาธิในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของวันสำหรับการภาวนา เพราะร่างกาย โดยเฉพาะสมองได้รับการพักผ่อนมาอย่างเต็มอิ่ม :b48: :b49: :b48:

ซึ่งการนอนอย่างเต็มอิ่ม ก็เหมือนกับการได้ reset และ refresh ระบบของทั้งร่างกายให้ไม่มีความเหนื่อยล้า และของทั้งสมองให้ไม่มีข้อมูลที่สับสนวุ่นวายใดๆค้างอยู่ใน memory :b46: :b39: :b46:

อีกทั้งในช่วงเช้านั้น ผัสสะต่างๆในชีวิตประจำวันยังไม่เข้ามากระทบมาก ทำให้นิวรณ์ธรรมต่างๆถูกทำให้สงบระงับลงไปได้ชั่วคราว บวกกับบรรยากาศที่สงบงาม อากาศที่เย็นสบาย ทำให้การภาวนาใดๆในยามเช้าจึงทำได้อย่างปรอดโปร่งโล่งเบา สบายทั้งกาย (รวมถึงสมอง) และเบิกบานทั้งใจ :b46: :b47: :b41:

ซึ่งการทำสมาธิภาวนาที่แนะนำไปในคราวที่แล้ว ก็เป็นการทำสมาธิเพื่อไว้สำหรับฝึกสติสัมปชัญญะตามคำของพระบรมครูในสมาธิสูตร
:b8: :b46: :b39:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป

รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป

รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ"


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1188&Z=1233

ซึ่งจะลงรายละเอียดของการปฏิบัติอีกทีในช่วงของการฝึกสติสัมปชัญญะผ่านการรู้ใจนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการฝึกสติสัมปชัญญะผ่านการรู้ใจนี้ ก็ยังเป็นการปูพื้นสำหรับให้เข้าถึงการทำสมาธิเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย :b46: :b42: :b39:

คือเป็นการชักนำให้เข้าสู่สัมมาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วยสติ สัมปชัญญะ และมรรคองค์อื่นๆครบทั้ง ๘ จนเห็นถึงวิเสสลักษณะ และสามัญลักษณะของอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ :b47: :b48: :b42:

ซึ่งก็คือความเกิดขึ้น ความเสื่อมลง และความดับไปแห่งกองทุกข์นั่นเอง ตามคำของพระบรมครูในสมาธิสูตร
:b48: :b47: :b48:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้

เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้

สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้

สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้

วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ"


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=1188&Z=1233


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งสัมมาสมาธิตรงนี้จะต่างจากสมาธิทั่วไปที่เอาไว้ใช้พักผ่อนเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน หรือเป็นวิหารธรรมในแง่ที่ว่า :b46: :b47: :b46:

สมาธิทั่วไปที่เอาไว้ใช้พักผ่อนนั้น เป็นการทำสมาธิแบบจมแช่ลงไปในองค์ธรรมของฌาน คือ จมแช่ลงไปในวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา หรืออุเบกขา ทำให้ไม่เห็นการเกิดขึ้นและการเสื่อมลงไปขององค์ธรรมต่างๆเหล่านั้น ได้แต่เพียงพักผ่อนสงบสุข นิ่งอยู่เฉยๆในอารมณ์เดียว :b49: :b50: :b49:

นั่นคือไม่ได้ตั้งอยู่บนสติปัฏฐาน หรือไม่ได้ตั้งอยู่บนสัมมาสติ อันผู้ปฏิบัติ จะต้องเห็นถึงความเกิดและความเสื่อมขององค์ธรรม ตามคำของพระบรมครูในมหาสติปัฏฐานสูตร
:b50: :b51: :b53:

หมายความว่า การทำสมาธิภาวนาที่แนะนำไปในคราวที่แล้ว อาจจะต่อเนื่องไปถึงการทำสมาธิแบบมีสติ แยกจิตซึ่งเป็นผู้รู้ ออกจากองค์ธรรมของสมาธิ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา :b48: :b49: :b48:

และเมื่อแยกจิตออกมาเป็นเพียงผู้รู้ผู้ดู คอยเฝ้าดูการเกิดขึ้นและการเสื่อมลง หรือการทำงานของวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขา (รวมถึงเจตสิกธรรมอื่นๆอีก) ตรงตามสภาวะ ทั้งวิเสสลักษณะและสามัญลักษณะ ตามที่เขาเป็น โดยปราศจากความคิด :b46: :b47: :b46:

ก็จะเป็นการปฏิบัติที่เรียกว่า สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป (สมถวิปสฺสนํ ยุคนทฺธํ) จนเกิดปัญญาที่รู้เห็นสามัญลักษณะของกายใจจากของจริง ตามสภาวธรรมที่เป็นจริงๆ
:b46: :b47: :b46:

(ซึ่งจะลงรายละเอียดกันอีกครั้งในอธิจิตตสิกขาส่วนของการทำสมาธิในฌาน และอธิปัญญาสิกขา ในส่วนอานาปานสติ นะครับ) :b1: :b46: :b39:

ตัดตัวอย่างการปฏิบัติตรงนี้จากคำของพระบรมครู ที่ทรงเล่าถึงแนวทางการปฏิบัติขององค์พระสารีบุตรมาให้ได้ศึกษากันก่อนสักนิดนะครับ :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็นดังต่อไปนี้ ฯ

[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เราย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป

เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่

ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ


(ที่เหลือตั้งแต่ทุติยฌานจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ข้อความคล้ายๆกัน แต่สภาวะในรายละเอียดไม่เหมือนกันในแต่ละระดับของสมาบัติ ซึ่งยังจะไม่กล่าวถึงในตอนนี้นะครับ เดี๋ยวจะยาวออกนอกเรื่องไปไกล)

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&pagebreak=0

ส่วนรายละเอียดเชิงลึกซึ่งมีเยอะพอสมควรของพระสูตรนี้ และการปฏิบัติแนวสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปนี้ ไว้มาลงลึกกันอีกทีในช่วงของอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ในส่วนของการทำสมาธิภาวนาเพื่อความสิ้นไปของอาสวะทั้งหลายนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้หลังจากนั่งสมาธิในช่วงเช้าแล้ว อาจจะต่อด้วยการแผ่เมตตา :b46: :b47: :b41:

(หรือจะแผ่เมตตาก่อนนั่งสมาธิก็ได้นะครับ แต่ที่ให้แผ่เมตตาหลังนั่งสมาธิ เนื่องจากการแผ่เมตตาแบบมหายานหรือแบบเซ็นนั้น เป็นการแผ่เมตตาออกไปอย่างไม่มีประมาณ หรือที่ทางเถรวาทเรียกว่า เมตตาอัปปมัญญา ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลตามแบบเถรวาท ก็ต้องอาศัยกำลังของสมาธิในขั้นอัปปนา หรือขึ้นรูปฌาน ๔ ขึ้นไปในการแผ่เมตตา) :b48: :b49: :b48:

โดยการแผ่เมตตาในวิถีแบบมหายานหรือแบบเซ็น คือการแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่มีความเสมอกัน มีความผูกพัน อิงอาศัยซึ่งกันและกันอยู่ในสามแดนโลกธาตุ โดยไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ :b47: :b46: :b47:

และการแผ่เมตตาแบบด้านบน หรือที่ทางเถรวาทเรียกว่า เมตตาอัปมัญญา หรืออัปปมัญญาพรหมวิหารนี้ จะทำได้ดีที่สุดเมื่อจิตอยู่ในสภาวะของรูปฌาน ๔ (เมตตาอัปปมัญญา) อรูปฌาน ๑ (อากาสานัญจายตนะ กรุณาอัปปมัญญา) อรูปฌาน ๒ (วิญญาณัญจายตนะ มุทิตาอัปปมัญญา) อรูปฌาน ๓ (อากิญจัญญายตนะ อุเบกขาอัปปมัญญา) :b49: :b50: :b48:

หรือออกจากฌาน ๔ แล้วเข้าผลสมาบัติ (พรหมวิหารอัปปมัญญา) โดยให้ผู้ปฏิบัติ ทำการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ออกไปในขณะเดียวกับที่จิต แผ่กระจายรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมธาตุทั้งหลาย :b48: :b49: :b50:

คือเอาการแผ่กระจายออกไปอย่างไม่มีประมาณของจิต เป็นคลื่น เป็นสื่อ หรือเป็น Carrier นำความเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา หรือพรหมวิหารธรรมนั้น ให้แผ่ออกไปทั่วทุกทิศ อย่างไม่มีขอบเขต อย่างไม่มีประมาณ อย่างไพบูลย์ อย่างกว้างใหญ่ อย่างไพศาล ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ ในทุกสรรพสิ่งที่เสมอเหมือนกันหมดตลอดสามแดนโลกธาตุไปพร้อมๆกันนะครับ
:b1: :b46: :b39:

(ดูเพิ่มเติมเรื่องอัปปมัญญาที่มีได้เฉพาะในรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๑-๓ จากคำเทศน์ขององค์สมเด็จพระญาณสังวร และองค์หลวงปู่เทสก์ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้นะครับ) :b8: :b46: :b39:

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-207.htm

http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php?topic=1242.0;wap2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการแผ่เมตตา ให้ผู้ปฏิบัติทำสมาธิจนเข้ารูปฌานที่ ๔ และอาศัยบาทฐานของสมาธิในรูปฌานที่ ๔ แผ่ความรักความสุข ความเมตตาให้กับเหล่าสรรพสัตว์ และเหล่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง โดยกำหนดการแผ่ออกไปให้กว้างขวาง ครอบคลุมเหล่าสรรพสัตว์ และเหล่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตลอดสามแดนโลกธาตุ :b46: :b47: :b41:

สำหรับการแผ่ความกรุณา ให้ผู้ปฏิบัติออกจากฌานที่ ๔ เพื่อเข้าสู่อรูปฌานที่ ๑ หรืออากาสานัญจายตนะ โดยจินตนาการถึงความว่างอย่างกว้างขวางไม่มีประมาณตามที่ได้เคยยกตัวอย่างมาก่อนหน้านี้เมื่อนานมาแล้วนะครับ จนกระทั่งจิต ไหลอย่างนิ่มนวลเข้าสู่การเอาสภาพว่างเปล่าที่ไม่มีขอบเขตนั้นเป็นอารมณ์ :b47: :b48: :b47:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=176

และในช่วงที่จิต ไหลอย่างนิ่มนวลเข้าสู่สภาพว่างเปล่าที่ไม่มีขอบเขตนั้น ก็ให้ทำการแผ่ความกรุณาออกไปพร้อมๆกัน ในขณะเดียวกัน :b46: :b47: :b46:

คือเอาอารมณ์ของสภาพว่างเปล่าที่ไม่มีขอบเขตนั้น เป็นคลื่น เป็นสื่อ หรือเป็น carrier ในการนำความกรุณา ความต้องการให้เหล่าสรรพสัตว์พ้นจากทุกข์เช่นเดียวกับจิตของพระโพธิสัตว์ แผ่ออกไปอย่างกว้างขวางตามสภาพว่างเปล่าที่แผ่ออกไปอย่างไม่มีเขตแดน :b47: :b49:

ส่วนการแผ่มุทิตา หรือความยินดีกับความสุขในเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็ให้ผู้ปฏิบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนฌาน เข้าสู่วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยการเพิกที่ว่าง แล้วใช้จิตมองจิต คือการเอาจิต หรือเอาตัวรู้ที่รู้ในที่ว่างนั้นเองเป็นอารมณ์ :b50: :b49: :b48:

และเมื่อเอารู้มาดูรู้ ก็จะเห็นรู้ซ้อนรู้ต่อออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งในช่วงนี้เองที่เห็นรู้ซ้อนรู้ออกไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ก็ให้แผ่ความยินดีให้กับสรรพสัตว์ และเหล่าสรรพสิ่ง ออกไปพร้อมๆกัน โดยเอาตัวรู้ที่ต่อเนื่องออกไปเป็นลูกโซ่นั้นหล่ะครับ เป็นสื่อ หรือเป็น carrier ให้กับความยินดีที่ติดออกไปด้วยกัน :b46: :b47: :b46:

ส่วนการแผ่อุเบกขา หรือความเฉยแบบมีสติ มีปัญญารู้เท่าทัน ก็ให้ผู้ปฏิบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนฌาน เข้าสู่อากิญจัญญายตนฌาน โดยจินตนาการถึงความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ไปสักพัก จิตก็จะไหลเข้าสู่ความไม่มีอะไร สักนิดสักหน่อยก็ไม่มี เป็นอารมณ์ของจิต :b49: :b50: :b51:

ซึ่งในช่วงที่จิต ผละจากการเอาจิต หรือตัวรู้ที่ต่อเนื่องกันเป็นอารมณ์ เพื่อเข้าสู่การเอาความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันนั้น จิตก็จะทรงอุเบกขาแต่มีสติรู้สภาพไม่มีอะไรเลย ต่อเนื่องอยู่ในอุเบกขานั้น ก็ให้แผ่อุเบกขานั้นออกไปพร้อมๆกัน :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความแล้ว การแผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารตามแบบเถรวาท ที่ใช้อัปปนาสมาธิเป็นบาทฐานตรงนี้อาจจะยากไปสักนิดนะครับ เพราะจะทำได้สำหรับเฉพาะผู้ที่เป็นฌานลาภีบุคคล ที่ได้ฌานถึงในระดับอากิญจัญญายตนะเท่านั้น :b46: :b47: :b46:

แต่สำหรับท่านที่ยังไม่สามารถทำสมาธิได้ถึงฌาน ก็อาจจะอาศัยบทสวดทิเบตตามลิ้งค์ด้านล่าง บวกกับสมาธิขั้นขณิกะหรือขั้นอุปจาระ เพื่อกำหนดจิต แผ่เมตตาออกไปให้โดยรอบ โดยกว้างขวาง ตลอดสามแดนโลกธาตุได้เช่นเดียวกัน :b48: :b47: :b46:

https://www.youtube.com/watch?v=IJf5hFi25kk

http://buddhaspeech.exteen.com/20121017/entry-4


โดยสามารถ download บทสวดดังกล่าวเข้าไว้ในมือถือ พร้อมกับเปิดดู สวดตาม (หรือถ้าสวดได้แล้วโดยไม่ต้องเปิดดูก็ยิ่งดี) พร้อมกับกำหนดจิตให้แผ่เมตตาถึงสิ่งที่ต้องการแผ่เมตตาออกไปตามบทสวด ภายใต้บรรยากาศที่สงบงามในยามเช้า ก็จะได้อานิสงค์ในการภาวนาไม่น้อยนะครับ :b1: :b46: :b39:

คือจะได้จิตที่เป็นสมาธิตั้งมั่น จดจ่ออยู่กับการสวดมนต์ และได้สภาพจิตที่เป็นพรหมวิหาร มีความอ่อนโยน นุ่มนวล ควรค่าแก่การงานไปด้วยในตัว :b46: :b47: :b46:

แล้วมาต่อด้วยการเดินจงกรมในยามเช้ากันในคราวหน้า :b46: :b47: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2015, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ...ยังนึกถึงท่านอยู่ว่าเมื่อไรจะมาต่อสักที่ ... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2015, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่ติดสุดโต่งในสองส่วน ที่จริงแล้วก็คือสติปัฏฐานที่แก้การติดยึดในสมาธิ ชึ่งเกิดจากการใช้ใจที่ไม่เป็นกลางไปรู้รูปนาม ทำให้รู้รูปนามเป็นจริงตามที่ตนใส่ใจ จิตเกิดสมาธิ แต่ไม่เป็นสัมมาสมาธิ ชึ่งเป็นมรรคองค์ที่8 นั่นหมายถึงไม่ได้เดินบนมรรค 1ถึง7 นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2015, 12:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวว่า ไม่ได้เดินบนมรรค1ถึง7 หมายถึง การปฏิบ้ติเพื่อเจริญ มรรค1ถึง7 แต่ยังไม่ถูกส่วน ทำให้มรรคบางตัวที่เจริญไม่เป็นไปตามความหมายที่แท้จริง เช่น สัมมาสติ ดังนั้นถึงแม้จะเจริญมรรคอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถพัฒนาเป็นโพชฌงค์ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2015, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ: 23 ก.พ. 2015, 07:18
ผมฝึกสมาธิมาประมาณ4 เดือนแล้ว แต่เหมือนไม่ค่อยก้าวหน้า ขณะทำสมาธิโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก จับสัมผัสลมกระทบกับโพรงจมูก จะรู้สึกถึงใบหน้าและกาย เวลามีอาการเกร็งที่ใบหน้า ก็เอาจิตมาจับไว้ ครู่เดียวก็หายไป ช่วงแรกๆไม่มีปัญหาอะไร
แต่มาช่วงหลังๆนี้ ผมฝึกสมาธิโดยเอาจิตมาวางไว้ที่ปลายจมูก ทำให้ใบหน้ารู้สึกว่าเกร็ง ใบหน้าตึง ก็เอาจิตมาจับไว้ในส่วนที่เกิดอาการเกร็งหรือตึง ก็ทำให้อาการเหล่านี้หายไป แต่พอเอาจิตไปวางไว้ปลายจมูกอีก ก็มีอาการเกร็งเกิดขึ้นมาอีก สลับกันไปมา ไม่สามารถคลายอาการเหล่านี้ได้ อาหารเหล่านี้เกิดจากการเพ่งมากเกินไปหรือเปล่าครับ
แต่ถ้าเอาจิตไปจับไว้กับร่างกายทั้งหมด อาการเกร็งที่ใบหน้าจะเกิดขึ้นเล็กน้อย และสามารถคลายอาการเกร็งเหล่านี้ได้ รบกวนอาจารย์ทุกท่านด้วยครับ ว่าผมควรจะปฏิบัติอย่างไร

rachen
เมื่อ: 27 ก.พ. 2015, 20:09
รบกวนอาจารย์ทุกๆท่านอีกครั้งครับ
หลังจากที่ผมกลับไปทำสมาธิโดยคำแนะนำของอาจารย์ ทุกๆท่าน ปรากกฎว่า แค่หลับตาไม่เกิน 1 นาที่ก็มีอาการเกร็งที่ใบหน้าอีก และยังมีอาการปวดหัว ทั้งๆที่ยังไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้น พอลืมตาขึ้นมาอาการเกร็งที่ใบหน้าก็ยังรู้สึกได้ อาการอย่างนี้ผมควรหยุดทำสมาธิไปสักพักหรือเปล่าครับ (มีอาการปวดหัวขณะที่คิดว่าจะทำสมาธิ กำลังจะนอน หรือขับรถ มีอาการปวดหัวแทบจะตลอดเวลา ทรมานมาก ไม่สามารถทำสมาธิได้เลย บางครั้งคลื่นไส้ อาเจียน )


อาจารย์suttiyan
เมื่อ: 28 ก.พ. 2015, 07:25
ใช่ครับ ควรหยุดทำสมาธิ สัก 2 ถึง 3 วัน แต่ถึงอย่างไรหากกลับมาทำใหม่ก็จะเป็นเหมือนเดิม การแก้ไขต้องเปลี่ยนวิธีการดังนี้
1. ให้ลืมตา เวลานั่งสมาธิ
2. ไม่ต้องดูลม
3. เวลาจะรู้เหมือนไม่ใส่ใจ ทำเล่นๆ ไม่ได้คิดว่าจะนั่งสมาธิหา พัดลมมาเปิดให้โดนตัว
4. การเริ่มต้นเมื่อเริ่มนั่ง มองสิ่งต่างๆ แบบที่เราใช้ชีวิตประจำวันคือมองสิ่งต่างๆ ผ่านไปสบายๆ จะเริ่มรู้สึกเกร็ง ชาและปวดหัวให้แตะรู้ที่อาการดังกล่าวเบาๆ เวลาเพียงชั่วขณะ ประมาณ2 ถึง 3 วินาที ในขณะรู้ให้สายตามองไปที่ภาพข้างหน้าแบบธรรมชาติไม่ต้องดูที่ศรีษะ ที่ทำเช่นนี้เพื่อไม่ให้เพ่งไปที่จุดเดียวเพราะจะทำให้เกร็งอีก เมื่อรู้ความเกร็งปวดในระยะสั้นๆ แล้ว ให้เปลี่ยนมารู้ลมที่พัดมาโดนตัว 2 ถึง 3 วินาทีแล้วเปลี่ยนไปรู้อาการปวดใหม่ ข้อควรระวังต้องทำเหมือนไม่ได้ทำคือทำเล่นๆสองอารมณ์ เพราะปัญหาเกิดจากทำจริงเกินไป และเพ่งอารมเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2015, 17:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


posting.php?mode=quote&f=2&p=372933


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2015, 18:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณี คุณrachen ที่ได้นำแนวทางไปปรับแก้ไขสภาวะปวดศีรษะ และเห็นผลแล้ว ได้ขอให้เป็นกรณีศึกษาลักษณะของอัตตกิลมถานุโยค ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ปฏิบัติมาเราเข้าข่ายนี้ ชึ่งผมคาดว่าในการปฏิบัติธรรมของบางท่านที่มีอาการมึน หนักศีรษะ ถึงขั้นปวด เมื่อทานยาก็ไม่หายเป็นที่น่ารำคาญ การปฏิบัติก็ไม่คืบหน้า ล้วนมาจากการเพ่งทั้งสิ้น ชึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 72, 73, 74, 75, 76, 77, 78 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร