วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 71, 72, 73, 74, 75, 76, 77 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาถึงการฝึก โดยใช้ความสุขจากความสงบงามของธรรมชาติเป็นส่วนช่วยเหนี่ยวนำ ในการทำให้เกิดสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาตามแบบเซ็นกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งในช่วงแรกนี้ก็จะเป็นการฝึกในแบบสุขาปฏิปทา คือใช้ความสุขจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่สงบงามเป็นตัวนำ เพื่อบ่มเพาะให้เกิดสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาที่เข้มแข็ง :b49: :b48: :b49:

ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนที่ยากขึ้น โดยเอาความทุกข์ (ทุกขัง) ซึ่งเป็นลักษณะธรรมดาสามัญที่แปรปรวนไปของธรรมชาติ ที่เข้ามากระทบแล้วจิตให้ค่าเป็นความทุกข์ ความบีบคั้นต่างๆ เป็นวัตถุดิบให้จิตได้เรียนรู้ ซึ่งเป็นการฝึกในแนวทางทุกขาปฏิปทาในช่วงท้ายกันนะครับ :b1: :b46: :b42:

และการฝึกเพื่อให้จิตสงบ เกิดสติ สัมปชัญญะ สมาธิที่ดีขึ้นนี้ ก็จะอาศัยการฝึกในเวลาที่ออกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ โดยจะยกตัวอย่างจากที่เคยปฏิบัติผ่านๆมา พร้อมกับกุศโลบายในการฝึกจากครูบาอาจารย์ท่านต่างๆพอให้เห็นเค้า เพื่อเอาไปปรับใช้ตามรูปแบบของแต่ละท่านกันนะครับ :b1: :b48: :b41:

โดยแนวทาง หรือหลักการที่สำคัญในการฝึกก็คือ :b46: :b47: :b46:

ทำ "ความรู้สึก" ให้ดื่มด่ำ ลึกซึ้ง เป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติที่ได้เข้าไปสัมผัสนั้น จนซาบซึ้งลงที่ใจ :b46: :b47: :b46:

โดยพยายามบันทึก จดจำ "ความรู้สึก" ดังกล่าวไว้ ให้ลึกซึ้ง ให้แนบแน่น เก็บเป็นสัญญา "ประทับ" เข้าไว้ในใจ (ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า "ความรู้สึกประทับใจ") :b47: :b48: :b49:

และในยามที่ต้องกลับเข้ามาฝึกในรูปแบบประจำวัน ก็ให้ดึงเอา "ความรู้สึกประทับใจ" หรือสัญญาที่สงบงามดังกล่าวที่ว่านั้น ออกมาใช้ เพื่อชักนำจิตใจให้เกิดสติ สัมปชัญญะ และโดยเฉพาะสมาธิ และปัญญาที่ "รู้สึกได้" ในความตั้งมั่น เป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมชาติทั้งหลาย :b48: :b49: :b48:

(ความสุขจากสุขสัญญาเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ และสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา)
:b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยอาจกำหนดวันที่จะออกไปเที่ยวออกไปปฎิบัติ หรือถ้าจะว่ากันโดยเปรียบเทียบ ก็คือการออกไปธุดงค์ตามแบบฉบับของฆราวาสนี้นั้น เป็น "วันแห่งการฝึกสติ" หรือ "วันออกไปกระตุ้นเมล็ดพันธุ์แห่งการตื่นรู้" :b46: :b47: :b39:

เพื่อที่จะได้ทำให้จิต เกิดความตั้งใจ และระลึกได้เมื่อเผลอเพลินจมแช่ไปกับความสุขจากธรรมชาตินั้น ว่าเผลอเพลินออกจากการมีสติรู้กายรู้ใจไปแล้ว
:b48: :b49: :b48:

และวันที่จะออกไปธุดงค์นี้ ควรเลือกวันที่สะดวกปลอดโปร่งจากการงานที่คั่งค้าง เพื่อป้องกันการโดนโทรตาม และป้องกันความกังวลในงานวนเวียนเข้ามาในหัว เข้ามารบกวนการปฏิบัตินะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยอาจจะกำหนดวันปฏิบัติไว้เป็นตารางเวลาคร่าวๆสำหรับฝึก เช่นเดียวกับการฝึกตามรูปแบบในสำนักปฏิบัติธรรมได้ก็จะดี :b48: :b49: :b48:

เพียงแต่ว่าเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายไม่เคร่งเครียด หมายกำหนดการต่างๆจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเคร่งตึงเป็ะๆ เอาแบบพอสบายๆ ที่เราสามารถกำหนดและรักษาวินัยในการฝึกได้ แต่ก็ไม่ควรย่อหย่อนจนเป็นเพียงได้แค่การออกไปตามใจกิเลสเพื่อเที่ยวหาความสุขเท่านั้น :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มตั้งแต่การเตรียมสิ่งของที่จะออกไปธุดงค์ในวันแห่งสติกันก่อน :b48: :b49: :b48:

เนื่องจากเป็นการท่องเที่ยวแบบพิเศษ คือเป็นการท่องเที่ยวเพื่อปฏิบัติธรรม หรือเป็นการออกธุดงค์ในรูปแบบของฆราวาส สิ่งของที่นำไปด้วยจึงต้องเป็นไปเพื่อเอื้อต่อการปฏิบัติ :b50: :b51: :b53:

คือเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย เป็นไปเพื่อความสันโดษ (ที่หมายความว่าพอเพียง พอดี) เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเสพสุขแต่เพียงถ่ายเดียว
:b51: :b50: :b45:

ดังนั้น สิ่งของที่เอาไปจึงควรพอเหมาะพอดีกับกาละและเทศะ เช่น รองเท้าเสื้อผ้าควรเป็นชนิดที่เบาสบาย ใส่กันแล้วไม่อึดอัดรัดติ้ว แต่กระชับพอให้สมบุกสมบันได้บ้าง เครื่องสำอางค์ต่างๆงดได้ก็ควรงดที่จะเอาไป เพราะไม่ได้ไปประกวดความหล่อความงามกันที่ไหน :b51: :b50: :b55:

เพลงป๊อปเพลงโปรดก็ทิ้งไว้ในมือถือโดยไม่เปิดฟังให้จิตฟุ้ง พร้อมกับปิดมือถือไปด้วยได้ก็ดี แต่ถ้าต้องการเปิดเผื่อไว้ ก็ให้ปิดเสียงมือถือและกลับมาเช็คเพื่อโทรกลับสายเข้าในเวลาที่กำหนด เช่นในตอนเย็น :b48: :b49: :b50:

ส่วนการหลับนอน ถ้านอนเต๊นท์ได้ก็ยิ่งดีเพราะไม่สบายจนเกินไปและได้ใกล้ชิดธรรมชาติ แต่ถ้าไม่สะดวก การพักรีสอร์ทที่ไม่พลุกพล่านไม่ใหญ่โต ให้ความเป็นส่วนตัวได้ก็โอเคแล้วนะครับ เอาแบบไม่ต้องหรูหรามาก :b48: :b49: :b43:

ส่วนขนมของขบเคี้ยวงดได้ก็ควรงด (ยกเว้นเอาไว้แก้ง่วงตอนขับรถ) แต่สำหรับนักปฏิบัติมือใหม่ ถ้าจะเอาขนมขบเคี้ยวไปก็ให้ทานได้เป็นเวลา เช่นตอนจิบน้ำชาเพื่อดื่มด่ำกับธรรมชาติยามบ่าย ไม่ใช่เมื่ออยากทานเมื่อไหร่ก็ตามใจกิเลส แล้วควักออกมาทานได้โดยไม่เลือกเวลา :b47: :b48: :b47:

(คือไม่ปฏิเสธสุขโดยชอบธรรม แต่ต้องรู้เท่าทันความอยากและความพอใจในขณะเสพ) :b49: :b50: :b43:

ส่วนอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเป็นเครื่องช่วยในการฝึกปฏิบัติ ก็จะอธิบายรวมเข้าไว้ในกิจกรรมต่างๆที่แทรกไว้ระหว่างวัน เพื่อเป็นกุศโลบายในการฝึกสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา ให้งอกงามขึ้นได้โดยง่ายนะครับ :b1: :b46: :b39:

อ้อ .. แล้วก็สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ควรพกติดตัวไปด้วยโดยตลอดเวลาของการปฏิบัติก็คือ สติในการอยู่กับปัจจุบัน และรอยยิ้มน้อยๆ พร้อมกับจิตใจที่ร่าเริงสดใสเบิกบาน มองโลกในแง่บวก ซึ่งท้ายที่สุด จะนำพาเข้าสู่การมองโลกในแง่ที่เป็นจริง นะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยโปรแกรมการปฏิบัติ (ถ้าไม่นับการฝึกสติช่วงระหว่างการเดินทางเข้าที่พัก) ก็อาจจะเริ่มตั้งแต่การตื่นนอนในตอนเช้า ซึ่งควรกำหนดให้เป็นเวลาเช้ามืดสักหน่อย เช่นตีห้าหรือหกโมงเช้า :b47: :b46: :b48:

หรือถ้าจะให้เข้มข้นขึ้นมาอีกนิด การเริ่มตื่นตั้งแต่ตีสี่ก็จะดีไม่น้อย เพื่อให้สัมผัสได้ในบรรยากาศที่สงบ อากาศที่บริสุทธิ์ เสียงนกร้องในยามเช้า และความเย็นสบายของธรรมชาติ นานขึ้นมาอีกหน่อย :b46: :b47: :b46:

ซึ่งการกำหนดว่าจะเข้านอนกี่โมงแล้วตื่นกี่โมงมีหลักง่ายๆก็คือ ควรให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เพื่อให้การปฏิบัติตลอดทั้งวันนั้นเต็มไปด้วยความสดชื่น ไม่ให้ถีนมิทธะนิวรณ์คือความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามารบกวนได้ แต่ไม่นอนมากเกินไปจนมึนซึมไม่สดชื่น :b50: :b39:

โดยพอรู้สึกตัวตื่น และรู้ว่าร่างกายเขาได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอแล้ว ก็อย่าตามใจกิเลสด้วยการนอนต่อนะครับ ให้ทำความรู้สึกตัว ลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาอาบน้ำทำธุระส่วนตัวด้วยความมีสติ แปรงฟันเพื่อแปรงฟัน ล้างหน้าเพื่อล้างหน้า อาบน้ำเพื่ออาบน้ำ มีสติอยู่กับกายที่เคลื่อนไหว และใจที่รู้ทันความคิดฟุ้งปรุงแต่ง
:b46: :b47: :b46:

โดยสัมผัสได้ในความฉ่ำเย็นของน้ำที่อาบ ความสงบของธรรมชาติ อากาศที่บริสุทธิ์ และจิตใจที่เบิกบานใสสะอาดในตอนเช้าที่ปราศจากความวุ่นวาย สบายๆ สดชื่นสดใสอยู่ได้ตลอดช่วงของการฝึกสติรู้กายในการทำกิจวัตรประจำวันช่วงเช้า :b49: :b48: :b39:

อ้อ .. อีกประการเรื่องการอาบน้ำ น้ำที่อาบไม่ควรเป็นน้ำอุ่นจัดหรือน้ำร้อนนะครับ เพราะน้ำอุ่นจัดหรือน้ำร้อนจะทำให้เส้นเลือดขยายตัวแล้วความดันตก อาจจะสุขสบายแต่ก็ทำให้ร่างกายสบายเกินจนเฉื่อยชาและขี้เกียจ ไม่ทำให้สดชื่นเท่ากับการอาบน้ำเย็น :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการอาบน้ำเย็นโดยราดรดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว แก้ความขี้เกียจง่วงเหงาหาวนอนที่อาจยังหลงเหลืออยู่ จิตใจก็จะสัมผัสได้ในธาตุของความเย็นฉ่ำตามธรรมชาติของสายน้ำ เกิดความสดชื่นสดใส เป็นการปลุกร่างกายให้ตื่นจากการพักผ่อน และความสดชื่นนี้ก็จะยืนระยะอยู่ได้ยาวนานกว่าการอาบน้ำอุ่น :b47: :b46: :b47:

โดยถึงแม้อากาศภายนอกจะเยือกเย็นแค่ไหน ไม่ว่าหิมะจะตก อุณหภูมิภายนอกจะติดลบก็ตาม การอาบน้ำเย็นแค่ซู่เดียวจะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และผลิตความร้อนออกมาสู้ความหนาวเย็นในภายนอกได้ดีขึ้นนะครับ :b1: :b46: :b39:

(อันนี้พูดถึงคนที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปรกตินะครับ อาจมีข้อยกเว้นสำหรับผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่การอาบน้ำเย็นเป็นสิ่งที่ควรยกเว้น) :b49: :b48: :b47:

หรือถ้าสถานที่ที่ไปเที่ยวอยู่ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน หรืออยู่ริมลำห้วย น้ำตก หรือสายน้ำตามธรรมชาติ การได้ลงไปอาบน้ำตามแหล่งธรรมชาติยามเช้า ก็จะทำให้ได้ความรู้สึกที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอย่างที่สุด :b46: :b47: :b41:

(แต่ให้ดูเรื่องความปลอดภัยในการลงไปอาบน้ำหรือเล่นน้ำตามแหล่งธรรมชาติในตอนเช้าด้วยนะครับ เช่น ควรรอให้เช้าขึ้นอีกสักหน่อยพอมองเห็นได้ และควรใส่ชูชีพทุกครั้งที่ลงน้ำ อีกทั้งควรหยั่งดูความลึกความแรงของกระแสน้ำเพื่อความไม่ประมาทไปด้วย) :b49: :b50: :b49:

ซึ่งในระหว่างที่อาบน้ำในห้องน้ำ หรือจมแช่ลงไปในน้ำทั้งตัวในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ให้หลับตาและทำใจให้สงบ ใช้ความรู้สึกรับรู้ลงในความสงบงาม และสภาวะของธาตุต่างๆที่แฝงอยู่ในสายน้ำ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น รับรู้ในความเย็นฉ่ำ หรือความอุ่น (ธาตุไฟ) ของสายน้ำ (น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำในตอนเช้านี้จะอุ่นกว่าอากาศนิดหน่อยนะครับ ตอนเช้าจึงสังเกตได้ถึงสายหมอกที่ลอยอ้อยอิ่งอยู่เหนือผิวน้ำในวันที่ลมสงบ) :b46: :b47: :b41:

หรือรับรู้และรู้สึกได้ในความอ่อนโยนของน้ำ (ธาตุดิน) หรือความเคลื่อนไหว ไหลไปได้ของน้ำ (ธาตุลม) ขณะกระทบผิวหรือขณะแหวกว่าย หรือในอาการเอิบอาบแผ่ไปทั่วของมวลน้ำ (ธาตุน้ำ) :b47: :b48: :b47:

ซึ่งการรับรู้ผ่านความรู้สึก (ที่ไม่ใช่นึกคิด) นี้ ไม่จำเป็นต้องรู้สึกให้ครบทั้ง ๔ ธาตุนะครับ เอาธาตุใดธาตุหนึ่งที่รู้สึกได้ชัด ไว้เป็นกรรมฐานปฏิบัติขณะอาบน้ำในห้องน้ำ หรือแหวกว่ายจมแช่ในสายน้ำก็เพียงพอแล้ว :b46: :b47: :b46:

และสิ่งสำคัญคือ ให้ทำความรู้สึกนั้นเข้ามาที่ใจในขณะหลับตา (เพื่อตัดผัสสะที่ไม่จำเป็นออกไป ให้เกิดขึ้นแค่ที่ใจ) ก็จะเกิดความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาเองว่า มีแต่ใจ กับสิ่งที่รู้สึก คือความเป็นธาตุต่างๆเท่านั้น โดยความรู้สึกของกาย จะหายไปรวมกับธาตุที่รู้สึก
:b49: :b50: :b51:

เช่น ถ้าหลับตาขณะอาบน้ำหรือจมแช่ในสายน้ำ แล้ว "รู้สึก" ในความเอิบอาบ หรือในความเย็นหรือความอุ่นของน้ำ ก็จะเหลือแค่ผู้รู้ คือใจ กับสิ่งที่ถูกรู้ คือความเอิบอาบ (ธาตุน้ำ) หรือความเย็นความอุ่น (ธาตุไฟ) ของสายน้ำที่อาบหรือที่แช่อยู่ โดยที่ไม่ไปกำหนดรู้ที่กาย (คือไม่ไปทำความรู้สึกรู้ที่ประสาทของผิวสัมผัสที่ถูกน้ำกระทบ หรือที่จมแช่อยู่ในสายน้ำนั้น) :b46: :b48: :b39:

เมื่อนั้น ใจก็จะรู้ได้ด้วยใจเองว่า กายหายไป "รวม" เป็นส่วนเดียวกันกับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งก็คือความเอิบอาบ ที่เป็นธาตุน้ำ หรือความเย็นความอุ่น ที่เป็นธาตุไฟนั้น นั่นเอง :b46: :b47: :b39:

และนี่ ก็คือการฝึกที่ทำให้จิตได้เรียนรู้ใน "ความเป็นธาตุที่เสมอกัน" ระหว่างธาตุในกาย กับธาตุในธรรมชาติของสายน้ำ ซึ่งเป็นตัวแทนของธรรมชาติทั้งหลายนั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:

ฝึกเช่นนี้ภายใต้บรรยากาศที่สงบงามไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดปัญญารู้และเข้าใจ ในความเป็น "หนึ่งเดียวกัน" ของกาย และของธรรมชาติทั้งหลายได้เอง
:b46: :b47: :b41:

จบแบบฝึกหัดแรกแล้ว คราวหน้ามาว่ากันในแบบฝึกหัดต่อไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้กายใจนี้ ในเบื้องต้นส่วนของกายจะเป็นการรู้อายตนะภายนอก คือ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย และการกระทบสู่อายตนะภายในคือใจ แต่ในเบื้องกลางและปลาย จะเป็นการกระทบอายตนะภายในกับภายในเช่นสัญญากระทบต่อเวทนา เวทนากับใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

คราวที่แล้วได้เล่าถึงการฝึก "รู้" ในความเป็นหนึ่งเดียวกันของกายกับธรรมชาติรอบตัวโดยผ่านสายน้ำ ไม่ว่าจะมาจากสายน้ำที่รดราดผ่านขันน้ำ ผ่านฝักบัวในห้องน้ำ หรือผ่านแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ เช่น ในแม่น้ำลำห้วย ในอ่างเก็บน้ำ หรือในน้ำตกก็ตาม :b46: :b47: :b46:

ซึ่งการอาบน้ำผ่านแหล่งน้ำตามธรรมชาติแบบจมแช่หรือปล่อยให้ไหลรดผ่านไปทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า จะให้ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้ดีกว่าการอาบน้ำอยู่ในห้องน้ำนะครับ :b1: :b46: :b46: :b39:

ลองนึกถึงการไปเที่ยวน้ำตกหรือลำห้วยลำธารที่มีน้ำไหลรินพอจะลงไปนอนแช่ได้ การปล่อยให้น้ำตกหรือน้ำในลำห้วยที่เย็นใส ไหลผ่านแบบสัมผัสไปทั้งกายกับสายน้ำ ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เป็นอะไรที่วิเศษมากๆกับการได้ใกล้ชิดธรรมชาติ :b47: :b46: :b41:

หรือการได้ออกไปเล่นน้ำฝนตอนที่ฝนตกหนักๆ ความรู้สึกอิสระ ผ่อนคลาย มักจะทำให้หวนระลึกถึงความสุขตอนเล่นน้ำฝนในวัยเด็กที่ไม่ค่อยมีอะไรให้ต้องเป็นห่วงเป็นกังวลกันได้อีกครั้ง :b48: :b49: :b49: :b47: :b47:

หรือการไปเที่ยวอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน แล้วใส่ชูชีพลงไปนอนลอยตัวแหงนหน้ามองท้องฟ้าที่กว้างใหญ่สุดสายตา จะเป็นความรู้สึกที่ได้ใกล้ชิดธรรมชาติอย่างยิ่ง แล้วก็จะรู้สึกได้อีกว่า ตัวเองก็เป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับธรรมชาติที่กว้างใหญ่ ตัวตนจะเล็กจ้อยหรือละลายหายกลมกลืนไปกับธรรมชาติ จิตใจจะเป็นอิสระเสรีภายใต้ความกว้างใหญ่ของท้องน้ำด้านล่าง และผืนฟ้าด้านบน :b46: :b47: :b46:

ซึ่งความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ เกิดความอิสระเสรีของจิตใจแผ่ออกไปแบบกว้างขวางนั้น ก็ให้นักปฏิบัติจดจำสภาวะและความรู้สึกแบบนี้ไว้ให้มั่น เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ด้วยการดึงเอาสุขสัญญาดังกล่าว มาใช้ในการปฏิบัติตามรูปแบบ เช่น ในการนั่งสมาธิภาวนา (ความสงบสุข ความผ่อนคลาย เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ) ก็จะทำให้การเข้าสู่สมาธิเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ลองมาดูกิจกรรมสำหรับการปฏิบัติอย่างอื่นในภาคเช้ากันอีกบ้าง :b46: :b47: :b39:

หลังจากอาบน้ำอย่างมีสติ โดยทำความรู้สึกให้เป็นหนึ่งเดียวกับสายน้ำไปจนร่างกายสดชื่นแล้ว ก็ให้ยิ้มน้อยๆด้วยความเบิกบาน ก่อนจะสวดมนต์และทำสมาธิภาวนาซักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง :b46: :b47: :b46:

ซึ่งสำหรับการสวดมนต์ ควรเลือกเอาบทสวดที่เกี่ยวกับเรื่องของอนัตตาหรือศูนยตา เช่น อนัตตลักขณสูตร หรือปรัชญาปารมิตตาสูตร โดยสวดแบบมีคำแปลไปด้วย เพื่อจูงจิตให้ซาบซึ้งดื่มด่ำกับพระธรรมในส่วนของความว่างจากตัวตน ก่อนที่จะนั่งทำสมาธิภาวนาภายใต้ความสงบงามของธรรมชาติในยามเช้า :b49: :b48: :b41:

โดยก่อนนั่งสมาธิ ถ้าจะเริ่มต้นด้วยการยิ้มน้อยๆ และฟังเสียงระฆัง เหมือนที่หลวงปู่นัท ฮันห์แห่งหมู่บ้านพลัมท่านใช้เป็นอุบายในการกลับมาอยู่กับความรู้ตัวทั่วพร้อม ก็จะได้ประโยชน์หลายอย่างนะครับ
:b1: :b46: :b39:

ซึ่งอุปกรณ์ที่เอาไปด้วยก็หาได้ไม่ยาก คือนอกจากระฆังที่มีรูปร่างคล้ายถ้วยหงาย หรือกังสดาลพร้อมไม้ตี ที่หาซื้อได้ตามร้านเครื่องทองเหลืองแล้ว สมัยยุคไอทีนี้ก็มีแอพลิเคชั่น หรือไฟล์เสียงระฆังแบบ mp3 ให้ดาวน์โหลดติดไปกับมือถือไปด้วยได้โดยง่าย :b46: :b47: :b46:

http://www.freemindfulness.org/download
http://www.thichnhathanhfoundation.org/ ... unds/c14kg
http://plumvillage.org/mindfulness-prac ... -software/

แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว การตีระฆังหรือกังสดาลจริงๆ จะให้เสียงและความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่านะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังเสียงระฆังก่อนนั่งสมาธิก็คือ :b40: :b46: :b47:

(๑) เป็นการปลุกจิตให้ตื่น ให้จิตมีสติกลับมาอยู่กับกายใจ อยู่กับการรู้ตัวทั่วพร้อม :b40: :b46: :b47:

(๒) เสียงระฆังยังทำให้ระลึกได้ถึงความสงบในวัดวาอาราม เกิดพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ :b40: :b46: :b39:

(๓) การตามเสียงระฆังที่ค่อยๆแผ่วเบาจนเงียบเสียงลงไป จะเป็นเครื่องช่วยให้เข้าสู่ความสงบ คือทำให้จิตดิ่งลงสู่สมาธิได้ง่ายขึ้น :b40: :b46: :b47:

(๔) และการตามเสียงระฆังที่ว่า นอกจากทำให้เข้าสมาธิได้ไวแล้ว ยังช่วยสอนจิตให้เกิดปัญญา เห็นในการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการค่อยๆดับลงไปของการปรุงแต่ง คือเสียงระฆังนั่น ที่เป็นตัวแทนของการปรุงแต่งทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

ซึ่งสามารถกระจายการปฏิบัติออกมาได้ในวิปัสสนาภูมิทั้ง ๖ ไม่ว่าจะพิจารณาการเกิดขึ้นและการเสื่อมลงไปในแง่ของขันธ์ ๕, ธาตุ ๑๘, อายตนะ ๑๒, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจจ์ ๔, หรือปฏิจจสมุปบาท ๑๒ :b40: :b46: :b44:

และ

(๕) ได้สอนจิตให้เข้าใจในธรรมชาติของเหตุปัจจัยในแนวปรัชญาเซ็นที่ว่า เสียงระฆังนั้นอยู่ที่ไหน มาได้อย่างไร :b40: :b46: :b47:

คือเสียงระฆังไม่ได้อยู่ในระฆัง และไม่ได้อยู่ในไม้ตีระฆัง แต่เสียงระฆัง เกิดจากเหตุปัจจัย คือการกระทบกันของระฆังกับไม้ตีระฆัง จนระฆังเกิดอาการสั่นไหว หาได้แฝงตัวแอบอยู่ในวัตถุใดๆแต่ดั้งเดิมไม่
:b46: :b47: :b46:

ซึ่งเป็นเช่นเดียวกันกับเปลวไฟ ที่ไม่ได้อยู่ในเชื้อไฟหรืออยู่ในไม่ขีดไฟ แต่เปลวไฟเกิดแต่เหตุปัจจัยจากเชื้อไฟ ไม้ขีด และการลุกไหม้ :b48: :b47: :b46:

หรือถ้าจะพูดในแง่วิทยาศาสตร์หน่อยก็คือ เปลวไฟนั้นเกิดจากการประชุมกันของเชื้อไฟ ออกซิเจน และความร้อน .. เปลวไฟไม่ได้อยู่ในเชื้อไฟ อีกทั้งไม่ได้อยู่ในออกซิเจน และไม่ได้อยู่ในความร้อน .. ซึ่งถ้าเหตุปัจจัยประชุมครบทั้ง ๓ ในระดับที่เหมาะสมได้ ก็จะเกิดการติดไฟและเกิดเปลวไฟ .. แต่ถ้าเหตุปัจจัยอันหนึ่งอันใดเกิดอันตรธารหายไป เปลวไฟก็ดับไปตามธรรมชาติ "เช่นนั้นเอง" :b46: :b47: :b46:

และเช่นเดียวกันกับเปลวไฟในใจ คือความโกรธ ความโศกเศร้า และความทุกข์ทั้งหลาย ที่ไม่ได้อยู่ในกาย หรืออยู่ในใจมาแต่ดั้งเดิม :b46: :b47: :b46:

แต่ความโกรธ ความโศกเศร้า และความทุกข์ทั้งหลาย เกิดจากเหตุ ๓ และปัจจัยอีก ๒๓ อันมีรากฐานมาจากอาสวะ อวิชชา อนุสัย ที่นอนเนืองอยู่ในจิต โดยรอคอยการกระทบทางอายตนะจนเกิดผัสสะ เวทนา .. ลุกลามไปจนกระทั่งกองทุกข์ทั้งปวงถูกจุดติดขึ้นตามปฏิกิริยาลูกโซ่อันเนื่องด้วยวงจรในปฏิจจสมุปบาท .. :b46: :b42: :b46:

และเป็นไปตามกฏธรรมชาติ "เช่นนั้นเอง" นะครับ จนกว่าจะกำจัดเหตุปัจจัยออกไปได้อย่างถาวร
:b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากฟังเสียงระฆังเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้ง ๕ อย่างแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการนั่งสมาธิ :b46: :b47: :b46:

ซึ่งการนั่งสมาธินี้ ก็อาจจะนำความประทับใจกับสายน้ำก่อนหน้า มาเป็นอุบายช่วยให้จิตได้แช่มชื่นผ่อนคลาย มีปีติสุข และสงบดิ่งลงไปในสมาธิได้โดยง่าย :b46: :b39: :b46:

หรืออาจจะนำอุบายที่หลวงปู่นัท ฮันห์ ท่านแนะนำด้วยการจินตนาการว่า ตนเองเป็นก้อนกรวดที่กำลังจมดิ่งลงไปในลำธารน้ำที่ใสสะอาด โดยปราศจากเจตนาใดๆ .. ค่อยๆจมดิ่งลงไป จนวางสงบนิ่งอยู่บนพื้นทรายที่เรียบละเอียดของท้องน้ำ :b48: :b49: :b50:

จินตนาการถึงก้อนกรวดนั้น เพื่อเป็นวัตถุสำหรับภาวนาไปจนกระทั่งร่างกายและจิตใจอยู่ในภาวะพักผ่อนสมบูรณ์เต็มที่ เหมือนก้อนกรวดที่พักอย่างสงบนิ่งบนพื้นทรายใต้ท้องน้ำ .. :b50: :b49: :b48:

.. หรือถ้าต้องการนั่งสมาธิเพื่อฝึกสติด้วยการรู้ใจในแบบฉบับของเซ็นสายญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า ซาเซ็น ก็จะมีวิธีตามข้อความด้านล่างนะครับ
:b1: :b46: :b39:

ในการปฏิบัติซาเซ็นนี้ ท่านโดเก็นได้อธิบายไว้ดังนี้

ณ ที่นั่งประจำของท่าน ปูเสื่อหนาๆ แล้ววางหมอนลงบนเสื่อ นั่งขัดสมาธิเพชร หรือสมาธิดอกบัว

ในท่าสมาธิเพชร ให้วางเท้าขวาบนขาซ้ายและเท้าซ้ายบนขาขวา ในท่าสมาธิดอกบัว ท่านเพียงวางเท้าซ้ายบนขาขวาเท่านั้น

ท่านควรห่มจีวรและคาดรัดประคดแต่หลวมๆ แต่เข้าที่ให้เรียบร้อย แล้ววางมือขวาบนขาซ้าย และวางฝ่ามือซ้ายในท่าหงายขึ้นบนฝ่ามือขวาโดยให้ปลายนิ้วโป้งจรดกัน นั่งตรงในท่าที่ถูกต้อง อย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวา อย่าเอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง

เมื่อท่านั่งเรียบร้อยแล้ว สูดลมหายใจลึก ๆ หายใจเข้าออก โคลงร่างไปทางซ้ายทีขวาทีแล้วปล่อยให้หยุดนิ่งสมดุลในท่านั่ง คิดถึงการไม่คิด

จะคิดถึงการไม่คิดได้อย่างไร โดยปราศจากการคิด สิ่งนี้เองคือ หัวใจแห่งศิลปะการนั่งซาเซ็น

(สุวรรณา สถาอานันท์, 2534: 49 - 50)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การนั่งซาเซ็นนี้เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนให้จิตหลุดพ้นจากกรอบอ้างอิงเดิมที่เคยคิด เคยเชื่อ เคยยึดมั่นถือมั่น ไปสู่การปราศจากการคิด ซึ่งหมายถึงการที่จิตพ้นไปจากการแบ่งแยกเชิงทวิลักษณ์ เพื่อก้าวเข้าสู่ความว่างอันเป็นหนึ่งเดียวกับจิตเดิมแท้

ประเด็นเรื่องปราศจากความคิดนี้ อาจารย์คาสุลิส (T. P. Kasulis, 1981: 71 - 77) ได้อธิบายไว้ว่า

“การคิด” คือ การกำหนดมโนทัศน์ต่างๆ อันเป็นกิจกรรมทางจิตให้กับสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจด้วยว่า ชอบ ไม่ชอบ เชื่อ ไม่เชื่อ เป็นต้น เช่น การรับรู้ว่าอะไรคือโต๊ะ อะไรคือเก้าอี้

“การไม่คิด” คือ การปฏิเสธที่จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ หรือกล่าวได้ว่า การไม่คิดคือการปฏิเสธกระบวนการรับรู้สิ่งต่างๆ ทั้งหมด แต่การจงใจปฏิเสธการคิดนี้ในแง่หนึ่งก็เป็นตัวการคิดนั้นเอง คือมีกรอบกำหนดเพื่อการปฏิเสธ

ส่วน“การปราศจากความคิด” แตกต่างจากการคิดและการไม่คิดในแง่ที่ว่า การปราศจากการคิด จิตไม่มีความมุ่งหมายใด (intentionality) ไม่ใช่ทั้งการยืนยันและปฏิเสธ ไม่ใช่ทั้งเชื่อและไม่เชื่อ ไม่ได้มุ่งปฏิเสธอย่างเดียวกับการไม่คิด แต่เป็นการปล่อยให้สิ่งต่างๆ ปรากฏอย่างที่มันเป็น (pure presence of things as they are) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นสภาวะก่อนการแยกแยะเชิงมโนทัศน์

การปราศจากการคิดนี้อาจเปรียบได้กับการที่เรายืนดูความงามของธรรมชาติบนยอดเขา โดยเราจะซาบซึ้งและซึมซับความงามจนอยู่ในสภาวะที่ปราศจากคำพูดหรือคำบรรยายใดๆ

การปฏิบัติซาเซ็นจึงมิใช่การนั่งสมาธิแบบปฏิเสธการรับรู้ แต่เป็นการนั่งสมาธิที่เต็มไปด้วยการรับรู้ แต่เป็นการรับรู้โลกและประสบการณ์ตามอย่างที่เป็นโดยปราศจากความจงใจใดๆ การรับรู้นี้เป็นการรับรู้ที่ตัวผู้รับรู้กับสิ่งที่ถูกรับรู้ได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นการดำรงอยู่ภายใต้กาลภาวะนั้นๆ

การปฏิบัติซาเซ็นเป็นฐานของการฝึกใช้ปัญญาในการคิดพิจารณาสภาวะธรรมและปริศนาธรรม แต่สำหรับโดเก็น ตัวซาเซ็นเองก็คือปริศนาธรรม มิใช่เป็นฐานสำหรับการฝึกใช้ปัญญาเพื่อขบคิดปริศนาธรรม


http://www.philospedia.net/zen%20buddhism.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขยายความเพิ่มเติมจากข้อเขียนที่ยกมาด้านบนสักเล็กน้อยนะครับ (ก่อนที่จะไปขยายความแบบลงรายละเอียดในช่วงของการฝึกสติผ่านการรู้ใจ ตามคำของพระบรมครูในสมาธิสูตรที่เคยยกมาก่อนหน้า) :b1: :b46: :b39:

การนั่งซาเซ็นเป็นขบวนการฝึกที่ได้ทั้งสติ (ระลึกรู้ รู้ตัวทั่วพร้อม) ได้ทั้งสัมปชัญญะ (ทั้ง ๔ ข้อ โดยเฉพาะอสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดตามความเป็นจริงที่มันเป็น) และได้ทั้งสมาธิ (ความตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว หรือเอกัคคตาของจิต) รวมถึงได้ทั้งปัญญา ซึ่งเป็นโลกุตรปัญญาในการเข้าถึงสภาวะของศูนยตาในช่วงท้าย :b46: :b47: :b41:

โดยการฝึกแบบเซ็นนี้ ปรกติท่านจะให้นั่งลืมตาโดยให้ทอดสายตาลงต่ำเหมือนพระพุทธรูป แต่พอนั่งไปสักพักจะปิดตาลงไปก็ได้ไม่ผิดกติกาอะไรนะครับ เพราะหลักใหญ่ใจความไม่ได้อยู่ที่ลืมตาหรือหลับตา :b46: :b47: :b46:

แต่หลักสำคัญจะอยู่ที่การ "วางจิต" ให้มีแต่อาการ "รู้" แบบกลางๆ นิ่มๆ เบาๆ สบายๆ .. :b42: :b43: :b41:

คือ รู้ในอาการรู้ หรือรู้ในอาการเห็น (กรณีนั่งลืมตา) .. :b46: :b47: :b42:

๑) "ตามที่มันเป็น" ซึ่งเป็นการฝึก (อสัมโมหะ) สัมปชัญญะ "รู้ชัดตามเป็นจริง" คือการรู้ในวิเสสลักษณะและสามัญลักษณะ ไม่มีตัวตนเราเขา ตามที่ได้เคยกล่าวไว้แล้ว :b47: :b46: :b48:

และ

๒) "โดยปราศจากความคิด" ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างสุดโต่งทั้งสองข้าง คือ "การคิด" (ทั้งจงใจคิดและฟุ้งคิด) และ "การไม่คิด" (คือการกด ข่ม เพ่ง ให้จิตไม่คิด แต่ถ้าจิตฟุ้งมากๆ ก็อาจจะต้องใช้วิธีนี้บ้างในบางครั้ง) :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการนั่งซาเซ็นโดยปราศจากความคิด เป็นเหมือนกับการนั่งแบบสบายๆ ชิลๆ รู้สักแต่ว่ารู้ และคอยสังเกตการทำงานของความคิด (วิตกเจตสิก ที่อยู่ในหมวดสังขารขันธ์) หรือการทำงานของความจำได้หมายรู้ (สัญญาขันธ์) หรือเวทนา (เวทนาขันธ์) ที่ผุดขึ้นมา :b46: :b47: :b46:

ซึ่งถ้ามีความคิดโผล่ขึ้นมา ก็ให้รู้ทันการปรุงแต่งของจิตตามที่มันเป็น :b47: :b47: :b48: :b47:

และการรู้ทันความคิดที่เกิดขึ้นนี้เอง ก็จะทำให้ความคิดดับลงไป ซึ่งเป็นการฝึกสติให้ทันต่อสังขารที่ถูกปรุงขึ้นมา ผ่านการรู้ใจ :b46: :b42: :b39:

ซึ่งจะเห็นการทำงานได้เองของสังขารขันธ์ (วิตกเจตสิก ที่มาพร้อมกับอุทธัจจเจตสิก) ที่ก่อกำเนิด หรือถูกนำมาก่อนด้วยสัญญาขันธ์หรือเวทนาขันธ์ โดยมีจิตเป็น "ผู้รู้" ในการรู้การผุดเกิด หรือการทำงานของนามขันธ์ต่างๆที่ปรากฏอยู่ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท .. (ตรงนี้ไว้ลงรายละเอียดอีกทีในช่วงของการฝึกสติผ่านการรู้ใจนะครับ) :b47: :b48: :b49:

แต่ถ้ายังไม่ชำนาญในการ "รู้" ในอาการเห็น (กรณีลืมตา) หรือ "รู้" ในอาการรู้ (ทั้งกรณีลืมตาและหลับตา) ตามที่มันเป็น "โดยปราศจากความคิด" แล้วละก็ :b50: :b49: :b48:

การเริ่มต้นด้วยการบริกรรม แล้วมารู้ลมหายใจเข้าออก หรือรู้ลงในท้องพองยุบ (หรือรู้ในกายตามรูปแบบอื่นๆ) "ตามที่มันเป็น" + "โดยปราศจากความคิด" ก็เป็นวิธีที่ง่ายขึ้นสำหรับการเริ่มฝึกปฏิบัติใหม่ๆนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2015, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการรู้กาย และการรู้ใจ หรือการรู้ทันความคิดปรุงแต่ง ก็จะเป็นการฝึกสติ (ระลึกรู้ รู้ตัวทั่วพร้อม) ฝึกสัมปชัญญะ (อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดตามที่มันเป็น) และในขณะเดียวกันก็เป็นการฝึกสมาธิไปด้วย เพราะการฝึกดังกล่าว จะนำพาให้จิตสงบขึ้นเรื่อยๆ :b46: :b47: :b46:

นั่นคือนิวรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะความคิดฟุ้งปรุงแต่ง (อุทธัจจะ) ก็จะสงบระงับลงไปเรื่อยๆ (เพราะจิตรู้เท่าทันการปรุงแต่ง) จนเข้าสู่สภาวะที่สติมีความบริสุทธิ์ "รู้ในอาการรู้" + "ตามที่มันเป็น" + "โดยปราศจากความคิด" แบบนิ่มๆ เบาๆ สบายๆ ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงได้เองเมื่อชำนาญในการฝึกเพียงพอแล้วตามเหตุปัจจัยที่ต้องสั่งสม ฝึกฝนขึ้นมา :b49: :b50: :b51:

ซึ่งนี่คือการฝึกเพื่อลดการปรุงแต่งทางจิตลง และกลับเข้าสู่ธาตุรู้ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งในการฝึกช่วงแรกๆ ก็จะเห็นว่า ธาตุรู้นั้นคือ "ผู้รู้" :b48: :b49: :b48:

คือยังมีผู้รู้ และสิ่งที่ถูกรู้อยู่ นะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่เมื่อจับเอาผู้รู้ มาเป็นสิ่งที่ถูกรู้เสียเอง คือการรู้ลงในผู้รู้ "ตามที่เขาเป็น" .. ผู้รู้นั้นก็จะแสดงสภาวธรรมอันเป็นสามัญลักษณะออกมาให้ได้รู้ให้ได้เห็น จนเกิดปัญญาได้เองว่า ที่แท้แล้ว ผู้รู้นั้นก็เป็นเพียงแค่ "ธาตุรู้" เสมอเหมือนกันกับธาตุต่างๆที่เป็นธรรมธาตุทั้งหลาย :b47: :b46: :b41:

เมื่อนั้น จิตก็จะเกิดโลกุตรปัญญา เข้าถึงศูนยตา คือสภาวะที่ว่างเปล่าจากตัวตน ไม่มีการแบ่งเขาแบ่งเรา และจะเกิดปัญญาเห็นได้เองอีกว่า ทุกธรรมชาติ ทุกธรรมธาตุ หรือทุกสรรพสิ่ง เป็นหนึ่งเดียวรวด (All is One, One is All) :b46: :b47: :b41:

จิตเกิดอาการรวมแล้วแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ (ที่พระบรมครูทรงใช้คำว่า อปฺปมาณเจตโส บ้าง วิมริยาทิกเตน เจตสา บ้าง (ที่แปลว่า มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน)) ตามที่เคยอธิบายมาในช่วงก่อนหน้านะครับ
:b1: :b46: :b39:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 71, 72, 73, 74, 75, 76, 77 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร