วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 70, 71, 72, 73, 74, 75, 76 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) การแสวงหาอารมณ์ หรือแสวงหาความสุขจากการสละออกจากตัว (พรหมวิหารสุข) คือสุขจากการให้ ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อแรกที่เป็นสุขจากการเอาเข้าหาตัว :b46: :b42: :b46:

โดยความสุขประเภทนี้ เกิดจากการให้ออกจากตัว ซึ่งเป็นเรื่องของใจล้วนๆแล้วมาเป็นสุขที่ตัวใจเองตั้งแต่เริ่มคิดที่จะให้แล้ว ไม่ว่าจะให้ด้วยรูปธรรมสิ่งของจับต้องได้ เช่นปัจจัย ๔ ฯลฯ หรือนามธรรมจับต้องไม่ได้ เช่นให้ความรัก ให้ความเมตตา ให้คำชม ให้กำลังใจ ให้อภัย ฯลฯ
:b51: :b50: :b55:

ตัวอย่างความสุขจากการให้ก็เช่น พ่อแม่ ให้ความรัก ให้ปัจจัย ๔, ๕, ๖, ฯลฯ ให้การเลี้ยงดูแก่ลูก :b49: :b48: :b49:

หรือการทำบุญทำทานทั้งแก่ผู้อยู่สูงกว่า เสมอ หรือต่ำกว่าตน :b55: :b54: :b49:

ซึ่งความสุขประเภทนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของพรหมวิหาร ๔ คือความมีเมตตาต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณาสงสารต้องการให้ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ได้พ้นทุกข์ ความมีมุทิตายินดีกับความสุขของผู้อื่น .. :b50: :b49: :b50:

และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมีอุเบกขาปัญญาด้วยการวางใจเป็นกลาง ที่จะทำให้การให้นั้น ไม่วกกลับมาทำร้ายผู้ให้ ให้เป็นทุกข์จากการให้ :b46: :b39: :b46:

เช่น ไม่ไปมีจิตเมตตาต่อผู้อื่นจนเกินเลยกลายเป็นเสน่หา (รักเพื่อเอา ไม่ใช่รักเพื่อให้), ไม่ไปสงสารผู้อื่นจนจิตตัวเองต้องหมองหม่นจนเป็นทุกข์ลงไปด้วย, ไม่ไปยินดีกับผู้อื่นจนรื่นเริงสนุกสนานเพลิดเพลินเกินเหตุ, หรือไม่ไปอุเบกขาแบบเฉยเมย นิ่งเฉยไปเสียทุกเรื่อง โดยไม่ทำอะไรเลย ฯลฯ :b48: :b49: :b48:

และตรงนี้ก็เป็นกับดัก เป็นข้อเสีย หรือเป็นวิบัติของความสุขประเภทนี้ที่ต้องประกอบไปด้วยปัญญา ถึงจะไม่เกิดทุกข์กับผู้ให้ :b49: :b55: :b54:

หมายถึงถ้าจะให้ ก็ต้องให้ด้วยปัญญานะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่ถึงแม้จะมีข้อเสียอยู่บ้าง ถ้าเรามีปัญญา วางใจให้เท่าทันกับข้อเสียเหล่านั้น ความสุขประเภทพรหมวิหารสุขนี้ ก็จะละเอียด ปราณีต สามารถทำจิตใจให้ สุขสงบ เบิกบาน แช่มชื่น อ่อนโยน ได้มากกว่าความสุขประเภทกามสุขซึ่งมีแต่ทำให้จิตใจเคลิบเคลิ้ม หรือกระเพื่อม ลิงโลด ตื่นเต้น ได้นะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) การแสวงหาอารมณ์ หรือแสวงหาความสุขจากความสงบแห่งจิต (ฌานสุข) ได้แก่สุขในสมาธิ สุขในฌานสมาบัติ ซึ่งเป็นความสุขที่อยู่ในขั้วตรงกันข้ามกับกามสุขในข้อ ๑ (สุขจากความสงบแห่งจิต vs. สุขจากความตื่นเต้นแห่งจิต) :b46: :b39: :b47:

และฌานสุขนี้ จะเป็นความสุขที่สงบ ปราณีต ลึกซึ้งกว่าทั้งสองข้อแรก คือไม่ทำให้ใจกระเพื่อม อีกทั้งเป็นสุขที่เกี่ยวเนื่องด้วยใจล้วนๆ ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติได้ จะรู้ได้ด้วยตัวเอง ว่าละเอียด ปราณีตกว่าสุขสองประเภทแรกแค่ไหน :b46: :b47: :b46:

แต่ถ้าไม่รู้ว่าความสุขประเภทนี้นั้นมันสุขมันปราณีตแค่ไหน ก็ขอยกตัวอย่างของความสุขแบบนี้ที่พบเจอกันได้ง่ายๆ (แต่เป็นเพียงแบบผิวเผิน) สำหรับผู้ที่ทำฌานไม่ได้ :b50: :b51: :b53:

เช่น ตอนเช้าที่ตื่นขึ้นมาในวันหยุด ฝนตกพรำๆ อากาศเย็นสบายกำลังดี แล้วนอนจมแช่ด้วยความสุข สงบ สบาย อยู่บนเตียง ฯลฯ :b55: :b54: :b49:

ซึ่งสภาพความสุขความสบายจากการนอนในบรรยากาศเช่นที่ว่าบนเตียงนั้น ก็ยังแช่มชื่นอิ่มเอิบเป็นสุขไปทั่วทั้งกายใจได้ไม่เท่ากับความปีติ ความสุข ความสงบในฌานนะครับ แค่ต้องการเปรียบเทียบพอให้เห็นเค้ากันบ้างเท่านั้น :b50: :b51: :b50:

แต่ความสุข สงบ สบาย จากความสุขประเภทนี้ก็จะเป็นโทษได้ในตัวเองถ้ารู้ไม่เท่าเอาไม่ทันนะครับ ก็คือมันจะเป็นความสุขแบบจมแช่ อันนำมาซึ่งความเฉื่อยชาและติดใจจนยึดมั่นถือมั่นในสุขประเภทนี้ได้ง่าย อีกทั้งเป็นความสุขที่ยังต้องขึ้นกับเหตุปัจจัย ทั้งสภาวะภายในจิตใจ (คือมีหรือปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (สบายสัปปายะ หรือไม่สบายไม่สัปปายะ) :b50: :b49: :b51:

ดังนั้น จึงเป็นความสุขที่มีเกิดขึ้นได้ก็มีการเสื่อมลงไปได้ ซึ่งการเสื่อมจากฌานนี้ก็จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ เป็นปรกติ สำหรับนักปฏิบัติที่อยู่ในโลกที่มีการกระทบกระทั่งทางจิตใจอย่างมากมายในยุคปัจจุบันนะครับ โดยแรกๆก็อาจจะหงุดหงิดนิดหน่อยที่ทำไมฌานที่เคยเข้าได้กลับเข้าไม่ได้ แต่ถ้าลึกซึ้งในกฏแห่งเหตุปัจจัยแล้ว ก็จะวางใจเป็นอุเบกขาลงได้ และแก้ไขไปตามเหตุปัจจัย
:b44: :b39: :b40:

ดังนั้น พูดถึงฌานสุขแล้ว ก็จะมีผลเสียกับผู้ปฏิบัติอยู่บ้าง ถ้ารู้ไม่เท่า ก็จะเอาไม่ทันกับโทษของความสุขประเภทนี้ได้เหมือนกัน :b55: :b54: :b55:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๔) การแสวงหาอารมณ์ หรือแสวงหาความสุขจากการรู้แจ้งโลก รู้เท่าทันโลกด้วยปัญญา ซึ่งแบ่งอีกเป็นสองระดับ คือ :b46: :b47: :b46:

๔.๑) รู้แจ้งในเรื่องของทางโลกๆ คือในเรื่องของสสาร พลังงาน การจัดการ และศิลปะ เช่น คิดค้นทฤษฎีหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือโมเดลการบริหารงานใหม่ๆ หรือสร้างสรรค์งานศิลปะใหม่ๆได้สำเร็จแล้วใจเป็นสุข จากความภูมิใจ อิ่มอกอิ่มใจ ได้รับการยอมรับจากสังคม ฯลฯ
:b48: :b47: :b42:

ซึ่งถ้าจะว่ากันอย่างเคร่งครัดแล้วละก็ ความสุขจากการรู้แจ้งโลกในเรื่อง สสาร พลังงาน การจัดการ และศิลปะนี้ จะจัดเข้าพวกอยู่ในเรื่องของสุขข้อที่ ๑ คือกามสุข แต่เป็นกลุ่มที่รับรู้ได้ผ่านทางใจในตอนแรกตั้งแต่เริ่มคิดค้น และเกิดความลิงโลดตื่นเต้น ภูมิใจ อิ่มอกอิ่มใจ ที่ค้นคิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมาได้ :b55: :b54: :b55:

จนกระทั่งเมื่อสังเกต ทดลอง แล้วได้ผลจริงตามที่คิดค้นขึ้นมาได้นั้น ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวาร) แล้วได้รับการยอมรับ ได้รับคำชมเชย หรือรางวัลตอบแทนจากสังคม :b51: :b53: :b51:

แต่ข้อเสียของความสุขประเภทนี้ ก็เช่นเดียวกันกับความสุขในสามข้อแรกก็คือ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่งมีความแปรปรวนอยู่มาก และความรู้ในทางโลกนั้น ก็เป็นการค้นคว้าหาความรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น จึงมีที่ให้โต้แย้งได้และมีของใหม่ที่ดีกว่า ขึ้นมาล้มล้างของเก่าที่คิดค้นขึ้นมาได้อยู่ตลอดช่วงเวลาในการพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ชาติ :b48: :b49: :b50:

เช่น ถ้ามีใครมาโต้แย้งไม่เห็นด้วยในสิ่งที่เราคิดค้นได้ หรือหาทฤษฎีใหม่มาล้มล้าง หรือคิดค้นสิ่งที่ดีกว่าขึ้นมาได้ ใจของผู้คิดค้นเดิม ถ้าไม่กว้างขวางพอก็จะเป็นทุกข์ เพราะยังมีมานะอัตตา "กูเก่ง" อยู่จากความรู้ที่ได้มานั้น :b44: :b49: :b48:

ซึ่งผู้คิดค้นจะต้องถูกความรู้สึกที่ว่า "กูยังต้องเก่ง" อยู่นั้น ผลักดันให้ต้องเรียนรู้ต่อ และให้ต้องแข่งขัน ต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆขึ้นมาอีกอยู่เรื่อย เพื่อรักษาคำว่า "กูเก่ง" ให้ได้อยู่ตลอด :b47: :b42: :b49:

ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ใจก็จะไม่เป็นอิสระจากปัญญา จากความรู้ที่ได้มา ถ้ายังวางปัญญา วางความรู้ที่ได้มานั้นลงไปไม่ได้ :b47: :b46: :b47:

และความรู้ที่ได้มานั้น ถ้ารู้ไม่จริง รู้ไม่จบ หรือรู้ไม่หมด รู้ไม่รอบ หากนำไปใช้ก็อาจจะเกิดผลร้ายตามมา เช่น การคิดค้นเทคโนโลยีทางวิศวกรรมใหม่ๆ อาจมีผลกระทบต่อมนุษย์ชาติ หรือต่อธรรมชาติได้ในระยะยาว หรือการคิดค้นตัวยาใหม่ๆ อาจจะมีผลข้างเคียงในระยะยาวก็เป็นได้ ฯลฯ :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และ

๔.๒) การรู้แจ้งในทางธรรม (โลกุตรสุข) คือรู้เท่าทันว่าทุกสิ่งในโลกล้วนถูกบีบคั้น เปลี่ยนแปลง ปรวนแปรให้เป็นไป เกิดดับเองได้ตามเหตุปัจจัย โดยที่ใจไม่เป็นทุกข์ไปกับความแปรปรวนนั้นๆ จิตใจจะเป็นสุขจากความเบิกบานเป็นอิสระแห่งจิต ไม่ติดข้องในความบีบคั้นปรวนแปรใดๆในโลก :b46: :b39: :b46:

คืออยู่กับโลกได้ โดยที่ความบีบคั้นในโลกที่เข้ามากระทบ (เกิดผัสสะ เวทนา) แต่ไม่เข้ามากระแทกใจ (แต่ไม่เกิดตัณหา อุปาทาน .. ทุกข์ ฯลฯ) การทำงานทำการก็จะทำตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย คือไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย แต่จะยิ่งขยันทำอย่างฉลาดตามเงื่อนไขของเหตุปัจจัย เพราะจิตและกายที่บรรลุคุณธรรมประเภทนี้ จะมีคุณสมบัติที่ดี (คือโสภณสาธารณเจตสิก) ขึ้นมาเด่นเป็นประจำอยู่หกคู่ ได้แก่ :b48: :b47: :b48:

๑) กายสงบ ผ่อนคลาย - จิตสงบ ผ่อนคลาย (กายปัสสัทธิ - จิตตปัสสัทธิ, tranquillity of mental body and mind) :b46:

๒) กายเบา - จิตเบา (กายลหุตา - จิตตลหุตา, lightness or agility of mental body and mind) :b46:

๓) กายอ่อนโยน - จิตอ่อนโยน (กายมุทุตา - จิตตมุทุตา, pliancy or elasticity of mental body and mind) :b46:

๔) กายคล่องแคล่ว - จิตคล่องแคล่ว (กายปาคุญญตา - จิตตปาคุญญตา, proficiency of mental body and mind) :b46:

๕) กายซื่อตรง - จิตซื่อตรง (กายุชุกตา - จิตตุชุกตา, rectitude or uprightness of mental body and mind) :b46:

๖) กายควรค่าแก่การงาน - จิตควรค่าแก่การงาน (กายกัมมัญญตา - จิตตกัมมัญญตา, adaptability or wieldiness of mental body and mind) :b46:

ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้าถึงโลกุตรสุขแล้วนี้ มีกายและใจที่มีคุณภาพอย่างยิ่งในการทำงานทางโลก แต่ไม่ได้มีเป้าหมายหลักในทางโลกแล้วอีกต่อไป :b46: :b47: :b46:

คือมีความขยันที่จะทำงานทั้งในทางโลกและในทางธรรม แต่ผลสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรมนั้นจะเป็นไป "เพื่อเกื้อกูลประโยชน์ต่อชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์เกื้อการุณย์ต่อโลก" :b46: :b47: :b46:

หรือ "พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกมฺปายะ" ตามปณิธานของพระบรมครูเมื่อครั้งส่งสาวก ๖๐ รูปแรกออกไปประกาศพระศาสนานั่นหล่ะครับ
:b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และความสุข ความเบิกบานที่เกิดจากโลกุตรปัญญา จนจิตหลุดพ้นเป็นอิสระจากกิเลสและเครื่องร้อยรัดทั้งปวงไปทีละขั้นนี้ ก็จะเป็นความสุขที่ปราณีต เบิกบาน เป็นอิสระอย่างมากมายกว่าสามข้อแรก ผู้ปฏิบัติได้ จะรู้ได้ด้วยตนเองอีกนะครับว่า ความสุขประเภทนี้ ละเอียดปราณีตกว่าความสุขประเภทอื่นเป็นไหนๆ :b46: :b39: :b46:

และเป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย (สำหรับผู้เข้าถึง) คงอยู่ได้ยาวนานเกือบตลอดเวลา (เวลาที่เหลือคือสงบ เบาสบาย เบิกบานน้อยๆด้วยอุเบกขาเวทนา) และไม่ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกในการปรุงแต่งความสุขชนิดนี้ขึ้นมา ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหา เพราะเป็นคุณสมบัติที่อยู่ในภายในจิตใจ (intrinsic value) อยู่แล้วในทุกเมื่อ
:b49: :b50: :b44:

แต่ถ้าจะให้ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึง ลองสัมผัสความสุขแบบนี้กันอย่างง่ายๆ (คือสัมผัสเพียงแค่ผิวเผิน และเพื่อใช้เป็นการฝึกในรูปแบบของเซ็นที่จะอธิบายกันต่อไป) ก็เช่นในเวลาออกไปท่องเที่ยวพักผ่อน อาบน้ำอาบท่าในตอนเช้าให้สดชื่น กายเบาจิตเบา แล้วเดินออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ออกไปชมความงดงามของธรรมชาติที่สดชื่น สงบ เบิกบาน :b46: :b39: :b41:

ซึ่งจิตใจที่สุข สงบ เบิกบาน เป็นอิสระจากการงาน จากกิเลส จากความบีบคั้นกังวลทั้งปวง (แบบชั่วคราว) ในขณะนั้น จะมีคุณภาพเข้าใกล้กับจิตใจที่เป็นสุขเป็นอิสระจากการรู้แจ้งโลกตามความเป็นจริง :b49: :b48: :b49:

เพียงแต่ว่าละเอียดปราณีตน้อยกว่า กินเวลาสั้นกว่า เกิดขึ้นเพียงแค่ครั้งคราว และยังต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นตัวช่วยปรุงแต่ง เพื่อให้เกิดสภาวะของความสะอาด สว่าง สงบ สุข เบิกบานดังว่านะครับ (แต่เอาไว้ใช้ในการฝึกเพื่อเข้าใกล้สภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติได้ง่าย ซึ่งจะเล่ากันต่อไปนะครับ)
:b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้ สำหรับอริยบุคคลผู้ที่เข้าถึงโลกุตรสุขได้แล้ว ยังสามารถพัฒนาความสุขประเภท ๓ คือ ฌานสุข ได้ง่ายขึ้นกว่าปุถุชนโดยทั่วไปอีกด้วย โดยเฉพาะฌานสุขประเภทพิเศษ คือผลสมาบัติสุข (อ่านว่า ผะละสะมาบัด) ที่เป็นการจำลองความสุขในสภาวะนิพพานที่ยังมีธาตุขันธ์เหลืออยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน) ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ละเอียด สะอาด สว่าง สงบ เบิกบาน เป็นอิสระ กว้างขวาง ไร้ขอบเขต ปราณีตอย่างมากๆ ให้จิตได้เสวยในแต่ละระดับชั้นของการบรรลุคุณธรรม :b46: :b47: :b46:

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิโรธสมาบัติสุข ที่เป็นการจำลองความสุขที่ปราณีตที่สุดในสภาวะปรินิพพาน คือนิพพานโดยหมดจด โดยรอบ คือไม่มีธาตุขันธ์ที่ขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งใดๆเหลืออยู่อีกแล้ว (อนุปาทิเสสนิพพาน) เพียงแต่แทนที่จะดับลงไปทั้ง ๕ ขันธ์ ก็จะเป็นการจำลอง คือดับลงไปเพียงแค่ ๒ ขันธ์ที่สำคัญ คือสัญญาขันธ์ และเวทนาขันธ์ (รวมทั้งสังขารขันธ์ส่วนใหญ่ หรือกองเจตสิกธรรมเกือบทั้งหมด) เพื่อให้ไม่เหลืออารมณ์ใดๆให้จิตได้เสวย :b49: :b50: :b51:

(คือจิตไม่มีการเสวยอารมณ์ใดๆเลย ซึ่งเป็นการต่อเนื่องมาจากอรูปฌาน ๔ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ) ที่มีสัญญาที่ริบหรี่จวนจะดับมิดับแหล่อยู่แล้ว พอดับสัญญาลงได้ อุเบกขาเวทนาที่ทรงอยู่ ก็ดับลงไปด้วยพร้อมกันจนจิตไม่มีอารมณ์ใดๆให้เสวย .. และการที่ไม่มีอารมณ์ใดๆให้เสวย หรือสภาวะจิตที่ไม่เสวยอารมณ์ใดๆเลยนี้ กลับเป็นสภาวะที่สงบ ปราณีตกว่าการเสวยนิพพานเป็นอารมณ์อีกนะครับ ซึ่งในอรรถกถาท่านใช้คำว่า อเวทยิตสุข) :b48: :b47: :b49:

ซึ่งนิโรธสมาบัติสุข จะมีได้ในระดับอนาคามีและอรหันต์ผู้ทำฌาน ๘ ได้ (ได้สมาบัติ ๘ เพราะถ้าไม่สามารถหรี่สัญญาลงไปให้จนจวนจะดับได้ในเนวสัญญาฯสมาบัติก่อน ก็จะดับสัญญาไม่ได้) ซึ่งจะไปลงรายละเอียดกันอีกทีในช่วงของอธิจิตสิกขานะครับ :b1: :b46: :b39:


จากความสุขทั้ง ๔ ประเภทที่แจกแจงไว้แล้วนี้ สำหรับวิธีที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับความสุขความทุกข์ พระบรมครูท่านได้ทรงบอกวิธีปฏิบัติเอาไว้อีกด้วยนะครับในเทวทหสูตร :b8:
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=271&Z=282&pagebreak=0

โดยสรุปตามสำนวนท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ได้ว่า :b8: :b46: :b39:

[174] วิธีปฏิบัติต่อทุกข์-สุข 4

(หลักการเพียรพยายามให้ได้ผลในการละทุกข์ลุสุข, การปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความทุกข์และความสุข ซึ่งเป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่า ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง จะมีผลจนสามารถเสวยสุขที่ไร้ทุกข์ได้ - fruitful exertion to enjoy happiness)

1. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่มิได้ถูกทุกข์ท่วมทับ (Being not overwhelmed by suffering, one does not overwhelm oneself with suffering.)

2. ไม่สละความสุขที่ชอบธรรม (One does not give up righteous happiness)

3. ไม่สยบหมกหมุ่น (แม้)ในสุขที่ชอบธรรมนั้น (One is not infatuated even with that righteous happiness.)

4. เพียรพยายามทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป (One strives in the right way to eradicate the cause of suffering.)
ข้อที่ 4 อาจพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า “เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป”


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=174


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และอีกประการหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะแยกความสุขไว้เป็น ๔ ประเภทไล่ตามความหยาบละเอียดปราณีตแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสุขทั้ง ๔ ประเภทจะไม่สามารถมาประชุมรวมกันได้ในชีวิตมนุษย์ :b46: :b47: :b46:

คือมนุษย์มีความสามารถที่จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นรวมกันได้ทั้ง ๔ ประเภท แต่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ทำให้การรวมนั้น ก่อให้เกิดทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก
:b49: :b48: :b47:

เช่น ถ้าจะเสพสุขประเภทที่ ๑ คือกามสุข ก็ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานในการเสพ คืออย่างน้อยต้องมีศีล ๕ กำกับ ได้แก่ การไม่ฆ่าไม่ทำร้ายเพื่อให้ได้เสพ, ไม่โขมยฉ้อโกงเพื่อให้ได้เสพ, ไม่ผิดหญิงผิดชายอื่นที่ไม่ใช่คู่ครองเพื่อให้ได้เสพ, ไม่โกหกหลอกลวงเพื่อให้ได้เสพ, และไม่เสพของมึนเมาของเสพติด :b50: :b49: :b48:

คือเป็นการเสพที่มีศีลมีปัญญากำกับ เพื่อไม่ให้การเสพนั้น สร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น :b54: :b55: :b50:

หรือถ้าจะให้เกิดความสุขประเภท ๒ คือพรหมวิหารสุข ก็ต้องมีอุเบกขามีปัญญาในการให้ เช่น คนเป็นพ่อแม่ ถ้าลูกร้องจะกินอาหารขยะอยู่บ่อยๆก็ต้องอุเบกขา ไม่ต้องไปเมตตากรุณา :b54: :b55: :b54:

หรือถ้าเราให้ด้วยความเมตตากรุณาแก่ใครไปแล้วเขาไม่เห็นคุณค่าของการให้นั้น ก็ให้วางอุเบกขาไปเสีย อย่าไปอีนังขังขอบ วุ่นวายจนเกิดทุกข์ขึ้นในใจไปด้วยอาการ "ติดในดี" (คือมีดี หรือทำดี ก็ต้องไม่ไปติดในดีนั้นด้วย ถึงจะถึงซึ่งดีอย่างแท้จริง) ฯลฯ :b50: :b49: :b48:

หรือถ้าจะให้เกิดสุขประเภท ๓ คือฌานสุข ก็ต้องระวังไม่ให้ตกไปในทางเฉื่อยชาขาดความเพียร หรือถ้าเสื่อมจากฌานก็ให้รู้เท่าทันในเหตุปัจจัย ฯลฯ :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือถ้าจะให้เกิดสุขประเภท ๔.๑ คือรู้เท่าทันโลกในเรื่องของสสาร พลังงาน การจัดการ และศิลปะ ก็ต้องวางท่าทีมีทิฏฐิ หรือมีทัศนคติที่ถูกต้องว่า นั่นคือการค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ โดยที่ไม่มี "กูเก่ง" เข้าไปเกี่ยวข้องในการค้นคว้านั้น และการค้นคว้านั้นๆก็ต้องค้นคว้าข้อดีข้อเสียให้รอบ ฯลฯ :b46: :b47: :b46:

แล้วก็สุขประเภทที่ ๑ (กามสุข) มักจะเป็นอุปสรรคสำหรับสุขประเภทที่ ๓ (ฌานสุข) และ ๔.๒ (โลกุตรสุข) ในระยะยาว เช่น ถ้าดูหนังฟังเพลงมากๆจิตจะฟุ้งไปกับเพลง นั่งสมาธิอย่างไรก็ไม่สามารถลงลึกจนจิตเกิดสุขสงบได้ :b47: :b48: :b49:

และถ้าสมาธิไม่ตั้งมั่น ก็จะไม่สามารถเห็นโลกตามจริงจนเกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เพราะจิตมัวแต่ฟุ้งไหลไปกับโลก
:b49: :b48: :b47:

และจะสังเกตได้อีกว่า สุขประเภทที่ ๑ (กามสุข), ๒ (พรหมวิหารสุข), ๓ (ฌานสุข), และ ๔.๑ (รู้แจ้งในเรื่องโลกๆ) สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลที่เป็นปุถุชนทั่วๆไป :b50: :b49: :b51:

ส่วนสุขประเภทที่ ๔.๒ (โลกุตรสุข) เกิดกับปุถุชนที่ปฏิบัติธรรม หรือที่เรียกว่ากัลยาณชนได้บ้าง แต่ได้แค่ผิวเผิน แล้วก็ยังกลับกลอก ไม่แน่ไม่นอน จิตเป็นอิสระ (care free) แบบผิวเผินได้ในบางครั้งที่สภาวะสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย (เช่น ตอนไปเที่ยวธรรมชาติป่าเขา) แต่ไม่เป็นไปอย่างถาวรในทุกสภาพการณ์ (เหมือนที่หลวงปู่พุทธทาสท่านว่า นิพพานชิมลอง) :b46: :b47: :b46:

ส่วนชนที่สามารถเสพสุขทั้ง ๔ ประเภทได้แบบมีปัญญาคุ้มครองตัวแล้วแบบไม่กลับกลอก คือบุคคลที่ทางพุทธเรียกว่า อริยชน ตั้งแต่อริยชนขั้นแรกคือโสดาบัน ไปสกทาคามี ไปอนาคามี จนสิ้นสุดที่อรหันต์ :b8: :b46: :b39:

ซึ่งในอริยชนบางระดับ ก็จะไม่มีอาการ "แสวงหา" การเสพความสุขประเภทที่ ๑ แล้ว ไม่ใช่เพราะไม่มีความสามารถในการเสพ แต่เห็นคุณโทษจากการเสพและทางออกแล้ว จิตเขาไม่เอาเอง อีกทั้งมีสุขที่ปราณีตกว่า หล่อเลี้ยงจิตให้แช่มชื่นอยู่แล้ว ไม่ต้องไปหากามสุขมาหล่อเลี้ยงจิตกันอีก
:b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น การ "ขวนขวาย" เพื่อให้ได้เสพอาหารอร่อย .. จาก "มีก็ดี ไม่มีก็ได้" (ขออนุญาตยืมคำท่านเจ้าคุณอาจารย์ฯ พระพรหมคุณาภรณ์มาใช้หน่อยนะครับ) ในระดับสกทาคามี เป็น "มีก็ได้ ไม่มีก็ดี" ในระดับอนาคามีและอรหันต์ เพราะเห็นว่าการ "ขวนขวาย" ดังกล่าวเป็นเรื่องรุงรังของชีวิตไปเสียแล้ว :b46: :b47: :b46:

แต่สำหรับการละเมิดพรหมจรรย์แล้ว (อพรหมจริยา - ข้อ ๓ ในศีล ๘) ในระดับอนาคามีขึ้นไปจะเป็น "ไม่มีเลยจึงดี" เพราะเห็นคุณโทษจากการเสพและทางออกแล้ว จิตเขาไม่เอาเอง นะครับ :b1: :b46: :b39:

อีกทั้งในระดับอนาคามีและอรหันต์ที่ไม่มีราคะและโทสะแล้ว การที่จะต้องดิ้นรนแสวงหาสถานที่เพื่อไปท่องเที่ยว หรือเพื่อไปปลีกวิเวกออกไปปฏิบัติธรรมก็จะไม่จำเป็นอีก เพราะจิตจะเจอความสุข ความสงบ ความเบิกบานที่มาจากในภายในของจิตเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาความสงบจากสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมภายนอกอีก :b49: :b48: :b54:

นั่นคือ จิตเริ่มอิ่ม เริ่มเต็ม ไม่หิวอารมณ์ภายนอก เพราะเต็มอิ่มกับอารมณ์ภายในที่เป็นความสุขที่ปราณีตกว่าอยู่แล้ว ความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ความสุข ความเบิกบาน จะเป็นคุณสมบัติในภายในของจิต แนบสนิทเป็นสิ่งเดียวกันกับจิต โดยเฉพาะในระดับอนาคามีหรืออรหันต์ที่ท่านเข้าฌานได้ (ฌานลาภีบุคคล) :b49: :b50: :b49:

หรือพิเศษยิ่งไปกว่านั้น คือเวลาที่ท่านเข้าผลสมาบัติ อันมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ซึ่งเป็นการจำลองสอุปาทิเสสนิพพานตามที่ได้กล่าวไปแล้ว) :b49: :b50: :b51:

หรือที่พิเศษที่สุดก็คือ เวลาที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ ที่ไม่มีการเสวยอารมณ์ใดๆเลยทั้งสิ้น (ซึ่งเป็นการจำลองอนุปาทิเสสนิพพาน คือเป็นความสุขที่ปราณีตกว่าความสุขที่เสวยอารมณ์ แม้กระทั่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว)
:b47: :b48: :b49:


โพสต์ เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือจิตเขาจะหยุดอาการดิ้นรนไขว่คว้าที่จะต้องออกไปเที่ยวหาสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน หรืองานอดิเรกใดๆ เพื่อเป็นน้ำเลี้ยงให้จิตใจชุ่มชื่นอีก เพราะกิเลสตัณหาที่จะผลักดันให้จิตทะยานอยากออกนอกบ้านหาที่เที่ยวหาที่พักผ่อนนั้นหมดลงไป (ถ้าที่บ้านหรือที่วัดนั้นสัปปายะพอเหมาะอยู่แล้ว) :b46: :b39: :b46:

อีกทั้งเมื่อพบเจอความจริงที่ว่า ความสุขสงบนั้นอยู่ในภายในอยู่แล้ว จิตสามารถใช้ความสุขสงบเบิกบานในภายในนั้นแหละเป็นเครื่องอยู่ได้ตลอด จึงไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปไขว่คว้าหาน้ำมารดจิตใจให้ชุ่มชื่นจากภายนอกที่ไหนกันอีก
:b48: :b47: :b48:

และถึงแม้จะไม่ได้ออกไปท่องเที่ยว แต่สภาพจิตก็เหมือนกับได้ไปท่องเที่ยว หรือเป็นสุขเหนือกว่าการออกไปท่องเที่ยวอยู่ทุกวันแล้วเสียด้วยซ้ำ :b46: :b47: :b46:

หรือแม้ว่าถ้าจะต้องออกไปท่องเที่ยว การท่องเที่ยวนั้นก็จะเป็นไปเพื่อผู้อื่นที่ไปเที่ยวด้วย ไม่เป็นไปเพื่อตนเองอีก :b50: :b49: :b48:

(แต่ไม่โง่พอที่จะไม่หลบออกไปจากสถานที่ที่ไม่สบาย ไม่สัปปายะทางกายนะครับถ้ามีให้เลือกได้ แต่ถ้าเลือกไม่ได้ ก็จะไม่เดือดร้อนกับความไม่สบายกาย ไม่สัปปายะนั้น ด้วยเหตุผลที่อธิบายไว้แล้วด้านบน) :b46: :b42: :b47:

อธิบายรายละเอียดปูพื้นมาเสียจนยืดยาว เอาไว้คราวหน้าค่อยลงรายละเอียดของการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิของเซ็นในแบบง่ายน้อยหน่อย คือในเวลาที่สามารถอยู่กับ "ธรรมชาติ" ด้วยตัวคนเดียวแล้วกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

จากคราวที่แล้วที่เล่าถึงความสุขสี่ขั้น พร้อมแนวทางการปฏิบัติต่อความสุขทั้งสี่ข้อตามคำสอนของพระบรมครู :b8: :b46: :b39:

โดยเริ่มจากการไม่ควร "โง่เขลา" เอาความทุกข์มาทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์ และไม่ปฏิเสธความสุขที่ได้มาโดยชอบธรรม :b46: :b47: :b46:

แต่มีข้อแม้ว่า แม้ความสุขที่ได้มาโดยชอบธรรมนั้น ก็ต้องไม่ "หลง" ไปติดเพลิน ไม่เท่าทัน จนตกเป็นทาสของความสุขที่ชอบธรรมนั้น (ซึ่งแบ่งย่อยๆออกเป็น ติดกาม ติดฌาน และติดดี ตามที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วบ้างบางส่วน) :b47: :b48: :b47:

จนถึงขั้นสุดท้ายก็คือ เพียรพัฒนาความสุขให้ปราณีตยิ่งๆขึ้นไป จากสุขด้วยการเสพ เป็นสุขด้วยการให้ เข้าสู่สุขจากใจที่ปราณีต สงบงามแบบชั่วคราว จนกระทั่งเข้าถึงซึ่งสุขสุดท้าย คือสุขที่เกิดจากการปลดปล่อยจิตใจที่ถูกกักขังด้วยความโง่เขลาของอวิชชา ให้เป็นอิสระจากโมหะ จากอวิชชา จากกิเลส จากเครื่องร้อยรัด จากกองทุกข์ทั้งปวง :b46: :b47: :b46:

ซึ่งก็คือความสุขที่เกิดจากความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ความเบิกบาน จากความเป็นอิสระแห่งจิตอยู่ตลอดเวลา อันได้แก่ โลกุตรสุข นะครับ :b1: :b46: :b47:

โดยในคราวที่แล้วได้อธิบายสภาวะของความสุขแต่ละอย่างไปบ้างบางส่วน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความสุขโดยเปรียบเทียบระหว่างจิตของปุถุชน กับจิตของพระอริยะ จะมีความแตกต่าง กลับข้างกันอย่างเห็นได้ชัด
:b49: :b48: :b49:

นั่นคือ จิตปุถุชนจะขี้เบื่อง่าย ต้องเที่ยวแสวงหากามคุณมาให้จิตได้เสพผ่านทางทวารทั้ง ๕ อยู่ตลอด :b50: :b49: :b48:

อีกทั้งจิตของปุถุชนนั้นคุ้นเคยที่จะอยู่กับการหลง .. คือ หลงปรุง หลงแต่ง หลงคิด หลงโลภ หลงเผลอ เหม่อลอย หลงฟุ้งไปในอดีตไปในอนาคต หรือหลงไปติดในสุขที่เคยเสพ :b48: :b54: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อถูกกิเลสผลักดันให้ต้องดิ้นรนออกไปไขว่คว้าหาความสุขเข้ามาเสพ แล้วจิตไม่ได้เสพ หรือเสพแล้วแต่สุขเสื่อมลงไป ก็จะหลงละห้อยห่อเหี่ยว หลงหงุดหงิด หลงขุ่นมัว หลงขัดใจ หลงโกรธ หลงเบื่อ หลงซึมเซื่อง หลงจมแช่ลงไปในทุกข์ :b7: :b47: :b42:

และด้วยสภาวะของการใช้ชีวิตที่ต้องแข่งขันบีบคั้นในยุคปัจจุบัน จิตใจจึงแกว่งไกว โซซัดโซเซด้วยผัสสะที่เข้ามากระทบกระแทกอยู่ทั้งวัน ไม่สดใสเบิกบานอยู่ได้ตลอด จนเกิดเป็นความเคยชิน อันเป็นลักษณะส่วนใหญ่ของการใช้ชีวิต :b49: :b44: :b50:

และเมื่อเกิดอาการที่จิตใจ สงบสดใสเบิกบานเป็นช่วงสั้นๆแวะเวียนเข้ามา เช่น เมื่อได้ไปเที่ยว ไปอยู่กับธรรมชาติที่ดี อากาศที่ดี บรรยากาศที่ดีๆ ไม่มีอะไรให้ต้องห่วงต้องกังวล ก็จะรู้สึกว่า นั่นแหละคือความสุข ความเบิกบาน ความเป็นอิสระแห่งชีวิต :b55: :b54: :b41:

คือเป็นชีวิตที่ภาษาวัยรุ่นในยุคนี้เรียกว่า ชีวิตแบบ slow life ไม่เร่งรีบ นั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

ดังนั้น การออกไปท่องเที่ยว ไปเว้นวรรค ไปเบรคความเร็ว ความเร่งรีบแห่งชีวิต ก็เหมือนกับเป็นการได้ออกไปชาร์จแบตฯ แต่เป็นแบบประเดี๋ยวประด๋าว ชั่วครั้งชั่วคราว :b47: :b48: :b47:

ซึ่งพอออกจากสิ่งแวดล้อมนั้น กลับเข้ามาสู่โลกแห่งการงานการใช้ชีวิตที่ต้องรีบเร่งบีบคั้นอีกครั้ง เดี๋ยวก็กลับไป "หลง" ด้วยกิเลสอวิชชา จนก่อเกิดทุกข์ขึ้นมาใหม่ จิตใจไม่สดใส และแบตฯที่ชาร์จมาก็จะค่อยๆหมดไฟลงไป :b49: :b50: :b51:

จากนั้นก็จะถูกกิเลสผลักดันให้ต้องขวนขวายออกไปหาที่เที่ยว หาที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อออกไปชาร์จแบตฯกันใหม่อีก วนเวียนจนเป็นวัฎฎะของคนที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพในยุคปัจจุบัน
:b47: :b48: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่จิตของพระอริยะจะกลับกันนะครับ เพราะพระอริยะจะไม่มีคำว่าเบื่อง่าย และคุ้นเคยอยู่กับการ "ไม่หลง" :b46: :b47: :b39:

คือมีสติ มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ คือความตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งทำให้เกิดความสงบ ความสุข ความสดใส ความเย็นใจ ความเบิกบาน เป็นน้ำหล่อเลี้ยง เป็นวิหารธรรมประจำจิต อันเป็นความสุขที่ประณีต และแนบแน่นกับจิตอยู่แล้วในภายในเป็นส่วนใหญ่ หรือตลอดเวลา :b46: :b47: :b46:

นั่นคือมีความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ความสุข ความสดใส ความเย็นใจ ความเบิกบาน หล่อเลี้ยงจิตอยู่แล้วเป็นธรรมชาติธรรมดา :b44: :b39: :b46:

และด้วยความเป็นอิสระแห่งจิตดังว่า จึงเหมือนได้ไปอยู่ในบรรยากาศแห่งการท่องเที่ยวตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลาหรือเบิกบานยิ่งกว่า ไม่มีห่วงไม่มีกังวลเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต :b46: :b47: :b41:

โดยไม่ว่าสิ่งแวดล้อมจะเป็นเช่นไร จะอยู่ในสถานที่เช่นไร บรรยากาศแบบใด หรือการงานที่รับผิดชอบจะรีบเร่งวุ่นวายแค่ไหน แต่ภายในนั้นก็ยังคงสถานะของการใช้ชีวิตแบบ slow life อยู่ได้ แม้จะมีงานที่ต้องให้ทำ ให้รับผิดชอบเยอะแยะมากมายก็ตาม :b47: :b46: :b47:

และงานที่ต้องทำ ที่ต้องรับผิดชอบอย่างเยอะแยะมากมายนั้น ก็ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ :b46: :b47: :b46:

เนื่องเพราะผู้ทำงานนั้นทำด้วยจิตใจที่สงบตั้งมั่น อยู่กับปัจจุบัน และว่างจากตัวตน การทำงานก็ทำไปตามเหตุตามผล ตามเหตุตามปัจจัย จึงใช้ประสิทธิภาพของสมาธิและปัญญาได้อย่างเต็มที่นั่นเอง :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อมีความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ความสุข ความสดใส ความเย็นใจ ความเบิกบาน ซึ่งก็คือความประภัสสรแห่งจิตอยู่ในภายในเป็นปรกติเป็นธรรมดาอยู่ทุกเมื่อแล้ว จึงเห็นว่า สิ่งแปลกปลอม คืออาการที่จิตขยับแม้แต่นิดเดียว ออกไปจากความมีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิที่ตั้งมั่น .. :b46: :b47: :b46:

ซึ่งก็คืออาการที่จิตฟุ้งออกไปด้วยกิเลส ฟุ้งออกไปด้วยอาการ โลภ โกรธ หลง นั่นหล่ะ คือสิ่งรบกวน คือสิ่งอาพาธ คือเหตุ คือที่เกิดแห่งกองทุกข์ทั้งปวง :b50: :b49: :b55:

และเมื่อสภาวะแห่งจิตเป็นดังนั้น ชีวิตจึงเต็มไปด้วยความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ความสุข ความสดใส ความเย็นใจ ความเบิกบาน เสียเป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นอยู่ตลอดเวลาในระดับพระอรหันต์ :b51: :b50: :b44:


ไม่ต้องแสวงหา ไม่ต้องดิ้นรนออกไปชาร์จแบตฯ ไปหาความสุขให้จิตใจได้เสพจากที่ไหน เพราะความสุขรวมอยู่กับใจที่เป็นอิสระ เป็นสิ่งเดียวกันอยู่แล้วตลอดเวลา :b49: :b48: :b47:

ซึ่งตรงกันข้ามกับชีวิตของปุถุชนนะครับ ที่ต้องดิ้นรนไขว่คว้า แสวงหาความสุขจากภายนอก เพื่อมาให้จิตได้เสพ ได้แก้อาการขี้เบื่ออยู่ทุกเมื่อ :b47: :b46: :b48:

เหมือนหมาไล่เนื้อที่ทั้งกระหายทั้งหิวโหย ต้องวิ่งต้องแสวงหาน้ำหาเหยื่อเพื่อมาเสพมาบริโภคอยู่ตลอดเวลา ชีวิตจึงไม่เคยอิ่มเคยเต็ม อยู่กับความสุขเป็นส่วนน้อย อยู่กับความทุกข์เสียเป็นส่วนมาก :b49: :b48: :b47:

(และโดยเฉพาะกับพระอริยะระดับอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่เข้าผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติได้ จะยิ่งมีความสุขที่แตกต่างจากปุถุชนอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่ปุถุชนที่ดูเหมือนจะมีความสุขมากมายอย่างพระราชา คือพระอริยะที่เข้าสมาบัติทั้งสองได้ จะสามารถอยู่นิ่งๆ ไม่พูด ไม่ไหวกาย เสวยบรมสุขโดยส่วนเดียวอยู่ได้ถึง ๗ วัน ๗ คืน :b48: :b47: :b39:

ซึ่งถ้าเป็นปุถุชน ให้อยู่นิ่งๆ ไม่พูด ไม่ไหวกาย เอาแค่ชั่วโมงเดียวก็ร้อนรนจะเป็นจะตายกันแล้วนะครับ
:b1: :b46: :b39:

ขอยกเอาเรื่องความสุขของพระพุทธเจ้ากับพระเจ้าพิมพิสารในส่วนท้ายของ จูฬทุกขักขันธสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=3014&Z=3184 มาให้ได้เปรียบเทียบกันนะครับ) :b1: :b46: :b42:


โพสต์ เมื่อ: 21 มิ.ย. 2015, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิครนถ์ (นิ.) ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะประสพสุขได้ด้วยความทุกข์แท้

ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม.

พระบรมครู (พ.) เป็นการแน่นอน ที่พวกท่านนิครนถ์ทั้งหลายหุนหัน ไม่ทันพิจารณาจึงพูดว่า ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขยิ่งกว่าท่านโคดม

เออก็เราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักไซ้ไล่เลียงในเรื่องสุข เรื่องทุกข์นั้นสิว่า ใครเล่าหนอจะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง.

นิ. ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ เป็นการแน่นอนที่พวกข้าพเจ้าหุนหันไม่ทันพิจารณา จึงพูดว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสพความสุขด้วยความสุข แต่จะประสพความสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสพความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสพความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขยิ่งกว่าท่านพระโคดม

เอาละ หยุดไว้เพียงเท่านี้ บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจะต้องถามท่านพระโคดมดูบ้างว่า ใครเล่าหนอ จะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง?

พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น เราจะต้องถามพวกท่าน ในเรื่องสุขเรื่องทุกข์นั้นดูบ้าง ท่านเข้าใจอย่างใด ก็พึงแถลงอย่างนั้น

ดูกรท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจงเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหวพระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๗ คืน ๗ วัน ได้หรือ?

นิ. ไม่ไหวละท่าน.

พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหวพระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง ได้หรือ?

นิ. ไม่ไหวละท่าน.

พ. ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ เรานี้แหละสามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง สามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ ๒ คืน ๒ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน ... ๗ คืน ๗ วัน

ดูกรนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะอยู่สบายกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือเราเอง?

นิ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมสิ อยู่สบายกว่าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธ.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว เจ้าศากยมหานามทรงมีพระทัยชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 70, 71, 72, 73, 74, 75, 76 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron