วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 69, 70, 71, 72, 73, 74, 75 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะธรรมที่ว่า คือลักษณะสามัญตามธรรมชาติตามธรรมดา ที่ปรากฏ ที่แสดงตัว ที่ออกฉายแสดงอยู่ตลอดทุกวินาทีใน ๒๔ ชั่วโมง วนเวียนซ้ำไปซ้ำมา ให้ผู้ปฏิบัติสามารถเรียนรู้อยู่ได้ตลอดเวลา ทั้งอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา :b46: :b47: :b46:

แต่อาจจะเนื่องเพราะองค์ธรรมที่ว่า เป็นสิ่งใกล้ตัวและเกิดขึ้นบ่อยจนเกินไป คนเราส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยจะสนใจ ไม่ค่อยเพียรที่จะเรียนรู้ ไม่ค่อยเพียรที่จะจับเอาสิ่งที่ใกล้ตัวนี้มาโยนิโสมนสิการ :b47: :b48: :b49:

คนส่วนใหญ่จึงไม่เกิดพัฒนาการทางจิตวิญญาณ จนกระทั่งบรรลุธรรมกันได้นะครับ :b1: :b46: :b47:

แม้กระทั่งอาชีพที่มีโอกาสได้เห็นไตรลักษณ์ ชนิดที่สามารถกระแทกเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้ลึกถึงระดับจิตวิญญาณหรือจิตใต้สำนึก (Subconscious Paradigm Shift) ผ่านการรับรู้ในการเกิด แก่ เจ็บ และตาย ของชีวิต เพื่อให้เกิดการปลงและเบื่อหน่ายคลายกำหนัดได้ง่ายกว่าอาชีพอื่นทั่วไป เช่นอาชีพในวงการพระ วงการสัปเหร่อ หรือวงการแพทย์ ก็ตาม :b48: :b49: :b50:

ซึ่งอาชีพเหล่านี้ (รวมถึงอาชีพอื่นๆอีกด้วย ถ้าหมั่นสังเกตสามัญลักษณะของกายใจ ทั้งภายในภายนอกให้ดี) ต่างก็มีวัตถุดิบที่สามารถกระตุ้นโลกุตรปัญญาปรากฏอยู่ .. :b47: :b48: :b47:

ให้ "มอง (look)" อยู่ได้ตลอดในสายงานอาชีพ แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "เห็น (see)" :b46:

หรือ "เห็น (see)" แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "สังเกต (notice)" :b46:

หรือ "สังเกต (notice)" แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "คิด (think)" :b46:

หรือ "คิด (think)" แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "เข้าใจ (understand)" :b46:

หรือ "เข้าใจ (understand)" แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "ตระหนักรู้ (realize)" :b46:

หรือ "ตระหนักรู้ (realize)" แต่ก็อาจจะไม่เคยได้ "ซาบซึ้งถึงใจ (appreciate)" .. :b46:

จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จนหลุดพ้นจากกองทุกข์กันได้นะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าพลิกกลับมาใช้วัตถุดิบของปัญญาเหล่านี้เพื่อการพ้นทุกข์ คือลักษณะสามัญทั้งสามที่มีอยู่ตามธรรมชาติ :b46: :b41: :b46:

ด้วยการมองให้เห็น (look to see) :b39:

เห็นแล้วสังเกต (see to notice) :b39:

สังเกตแล้วคิด (notice .. then think) :b39:

คิดแล้วเข้าใจ (think .. then understand) :b39:

เข้าใจแล้วเกิดความตระหนักรู้ (understand .. then realize) :b39:

และตระหนักรู้ จนซาบซึ้งเข้าไปถึงจิตถึงใจ (realize .. then appreciate)
:b39:

ด้วยความเพียรอย่างลึกซึ้งตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน หรือสั้นเพียงแค่ครึ่งวัน (แต่ต้องฟังธรรมโดยตรงจากพระบรมครูนะครับ) ก็สามารถบรรลุธรรมในระดับพระอนาคามีหรือพระอรหันต์กันได้แล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

ดังนั้น ถ้าพูดถึงความเพียรของพระบรมครูในความหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้แก่คำว่า ชีวิตคือการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมคือชีวิตแล้วละก็ :b48: :b49: :b50:

ถ้านักปฏิบัติท่านไหนอ้างว่าไม่มีเวลาปฏิบัติ หรือไม่มีความเพียร คงต้องพิจารณาเสียใหม่นะครับว่า การทำความเพียร ไม่ได้มีความหมายอย่างจำกัดจำเขี่ยเพียงแค่การปฏิบัติในรูปแบบเช้าเย็น หรือหาเวลาเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมเท่านั้น :b46: :b47: :b46:

(ซึ่งในบางจังหวะของชีวิต เช่น การงานที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเกิดเร่งรัดขึ้นมา ก็จะหาเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ตามความหมายแบบแคบได้ยาก) :b47: :b48: :b49:

แต่การทำความเพียรของพระบรมครูนั้นหมายถึง เวลาในการปฏิบัติทั้งหมดของการใช้ชีวิตตลอด ๒๔ ชั่วโมงเลยทีเดียว :b46: :b47: :b46:

เพราะธรรมะนั้น แสดงตัวให้ผู้ใฝ่ปฏิบัติได้เห็น ให้ได้ศึกษาอยู่ทุกเมื่อ ทุกเวลา
:b46: :b42: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอทบทวนความหมายในสัมมาวายามะของพระบรมครูกันอีกซักครั้งนะครับ :b8: :b46: :b39:

"สัมมาวายามะ เป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
๑) เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น (สังวรปธาน : เพียรระวัง เพียรป้องกัน อกุศล)
๒) เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน : เพียรละ เพียรกำจัด อกุศล)
๓) เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น (ภาวนาปธาน : เพียรทำให้เกิด เพียรเจริญ กุศล)
๔) เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว (อนุรักขนาปธาน : เพียรรักษา เพียรพัฒนา กุศล)
อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ"


วิภังคสูตร อริยมรรค ๘ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=174&Z=210&pagebreak=0 และที่อื่นอีกหลายที่

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้วนะครับว่า สัมมาวายามะ หรือความเพียรชอบทั้ง ๔ ข้อ เมื่อแรกศึกษา จะดูเหมือนว่าเป็นหลักการง่ายๆ แต่พอพิจารณาความหมายและปฏิบัติตามไปเรื่อยๆ จะลึกซึ้งถึงใจ (appreciate) ในคำสอนของพระบรมครูเลยว่า :b46: :b47: :b46:

ความเพียรที่ท่านทรงแจกแจงไว้ถ้วนถี่ดีแล้วทั้ง ๔ ข้อ ซึ่งเริ่มต้นด้วยลักษณะของการปฏิบัติตามคำของพระบรมครูด้วยอาการ "ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้" นั้น เป็นเรื่องของกระบวนการ หรือการกระทำทางจิต ที่ต้องประกอบด้วยการมีสติรู้เนื้อรู้ตัว มีสัมปชัญญะรู้ชัด และมีสมาธิ คือมีจิตตั้งมั่นอยู่ในกิจทั้ง ๔ ที่ต้องปฏิบัติต่อทั้งกุศลและอกุศล .. ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และที่ยังไม่เกิดขึ้น :b46: :b47: :b46:

โดยสรุปสั้นๆก็คือ เพียรมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ ป้องกันและกำจัดสิ่งไม่ดี พร้อม รักษาและเพิ่มสภาวะที่ดีงาม ให้แก่จิต
:b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งกิจดังกล่าว สามารถทำได้ทุกที่ ทำได้ทุกเวลา :b46: :b47: :b39:

คือเพียรได้ในที่ทุกสถาน เพียรได้ในกาลทุกเมื่อ แม้ในเวลาตื่น หรือแม้ในเวลาหลับ ก็สามารถประคองจิต หรือตั้งจิตบำเพ็ญเพียรได้ ยกตัวอย่างเช่น ในคราวที่พระบรมครูทรงให้อุบายพระโมคคัลลานะ ในการละความง่วงวิธีสุดท้าย ด้วยการนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ :b46: :b47: :b46:

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1873&Z=1938

ดังนั้น สำหรับนักปฏิบัติแล้วนะครับ จงหมั่นตั้งจิตไว้ว่า เราจะประกอบความเพียรด้วยการตระหนักรู้ เจริญสติสัมปชัญญะ และมีสมาธิตั้งมั่นอยู่ในกิจทั้ง ๔ ของสัมมาวายามะในทุกเมื่อที่ระลึกได้ :b47: :b46: :b47:

.. เราจะไม่ทำงานทำการทางโลกทิ้งไปวันๆโดยเสียเปล่า :b39:
.. เราจะไม่เคลื่อนไหวทิ้งไปวันๆโดยเสียเปล่า :b39:
.. เราจะไม่หายใจทิ้งไปวันๆโดยเสียเปล่า :b39:
.. เราจะไม่ปล่อยจิตคิดฟุ้งหรือล่องลอยไปวันๆโดยเสียเปล่า :b39:
.. แม้กระทั่ง เราจะไม่นอนทิ้งไปทั้งคืนโดยเสียเปล่า
:b39:

บนพื้นฐานของการปฏิบัติที่ไม่กดเพ่งเคร่งตึงจนเกินไป และไม่ปล่อยผ่อนหย่อนยานจนเกินไป นะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และสำหรับสัมมาวายามะ หรือสัมมัปปธาน ๔ ในระดับขั้นของการหลุดพ้นที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธพจน์ในตัณหาสูตรและอวิชชาสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคราวที่แล้วนะครับว่า มีอานิสงส์อย่างยิ่งใหญ่ในสองทาง :b46: :b47: :b46:

โดยทางแรกได้แก่ สัมมาวายามะที่เกี่ยวข้องกับอกุศลธรรมในสองข้อต้น คือ มีสติสัมปชัญญะสมาธิ เพียรระวังไม่ให้นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอันระงับดับลงไป :b48: :b49: :b55:

นั่นคือการหยุดป้อนนิวรณ์ที่เป็นอาหารของอวิชชา ทำให้อวิชชาเหี่ยวแห้งลงไป ตามพุทธพจน์ในตัณหาสูตรและอวิชชาสูตร
:b49: :b50: :b39:

และในทางหลัง ที่เกี่ยวข้องกับกุศลธรรมในสองข้อท้ายของสัมมาวายามะ คือ เจริญ รักษา และพัฒนากุศลธรรม อันได้แก่การเจริญสติสัมปชัญญะ, มีอินทรียสังวรศีล, สุจริต ๓, สติปัฎฐาน ๔, โพชฌงค์ ๗, จนสุดสายที่วิชชาและวิมุตติ
:b46: :b47: :b46:

(หรือจะเริ่มต้นจากกุศลธรรมข้อแรกเลย ก็คือ เพียรคบหาสัตตบุรุษ หมั่นฟังสัทธรรม จนเกิดศรัทธา อันนำพาเข้าสู่การเจริญโยนิโสฯ ไปสู่การพัฒนาสติสัมปชัญญะ .. จนสุดสายที่วิชชาและวิมุตติ ก็ได้) :b49: :b44: :b50:

หรือเอาแบบย่อๆก็คือ มีสติสัมปชัญญะและสมาธิ "ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้" เพื่อป้องกันและกำจัดนิวรณ์ + เจริญและพัฒนาสติปัฏฐาน ๔ จนกระทั่งโพชฌงค์ ๗, วิชชา, และวิมุตติ สมบูรณ์ บริบูรณ์ขึ้นมา :b46: :b47: :b39:

ซึ่งในทางปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ถ้ายึดหลักสัมมาวายามะทั้ง ๒ คู่ ๔ ข้อนี้ไว้ให้มั่น ก็จะเกิดความเพียรได้ตลอดเวลา โดยในช่วงแรกก็เอาเท่าที่ทำได้ เท่าที่ระลึกได้ มีความเพียร มีฉันทะ มีวิริยะความพยายามปฏิบัติไปเรื่อยๆ บ่มเพาะจนสติสัมปชัญญะและสมาธิมีความกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง :b50: :b49: :b48:

เหมือนที่องค์หลวงปู่ชาท่านเปรียบเทียบกับการเทน้ำจากกาทีละหยด ทีละหยด ค่อยๆเร็วขึ้นจนต่อเนื่องกันเป็นสายน้ำที่ไม่ขาดตอน :b46: :b47: :b42:

แล้วเมื่อนั้น การปฏิบัติก็จะกลายเป็นทั้งชีวิต หรือทั้งชีวิตก็จะกลายเป็นการปฏิบัติไปได้เอง :b48: :b49: :b48:

จนกระทั่งการปฏิบัติก็ไม่เป็นการปฏิบัติ แต่เป็นเพียงเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมอันสุขสงบเบิกบานของจิต เมื่อเสร็จกิจที่ควรทำ แบบสบายๆ แบบเป็นกลางๆ ไม่หย่อนไม่ตึงจนเกินไปนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ ในการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิตามรูปแบบของเซ็น (รวมทั้งเถรวาทที่เอามาปรับใช้บางส่วน) นั้น ก็จะมีบทเรียนที่เริ่มจากง่ายไปยาก :b46: :b47: :b46:

ที่ว่าง่าย ก็คือเริ่มจากการปฏิบัติในรูปแบบ ที่ไม่มีการกระทบกระทั่งทางผัสสะในส่วนลบ (ปฎิฆะ) กับผู้ปฏิบัติมาก :b48: :b47: :b46:

เช่น ขณะเดินจงกรม นั่งสมาธิเช้าค่ำ หรือการเข้าคอร์ส เข้าวัดปฏิบัติธรรม ซึ่งอาจนำให้เกิดความหลงฟุ้ง ง่วงเหงา เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย (โมหะ ที่นำให้เกิด ถีนะ มิทธะ เกิด อุทธัจจะ กุกกุจจะ เกิด วิจิกิจฉา และเกิด วิภวตัณหา อันนำไปสู่ โทสะ คือความหงุดหงิด ขุ่นในใจ) :b48: :b49: :b50:

หรือในทางตรงกันข้ามคือ เกิดความสุขจากความสงบ (โสมนัสเวทนา อันเกิดแก่สมาธิภาวนา) ความผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) หรือความเบิกบานใจจากสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา ที่เห็นโลกตามจริง :b46: :b47: :b39:

เข้าไปสู่แบบที่ง่ายน้อยลง คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ดำเนินกิจกรรมด้วยตัวคนเดียว โดยไม่ได้อยู่ในสภาวะขัดแย้งกังวลหรือกดดัน :b47: :b48: :b42:

เช่น ขณะที่ทำกิจวัตรประจำวันโดยทั่วไป หรือเวลาที่ไปเที่ยวพักผ่อนและอยู่กับตัวเองคนเดียว ซึ่งอาจนำให้เกิดความหลงฟุ้ง ง่วงเหงา เบื่อหน่าย ลังเล สงสัย (โมหะ ที่นำให้เกิด ถีนะ มิทธะ เกิด อุทธัจจะ กุกกุจจะ เกิด วิจิกิจฉา และเกิด วิภวตัณหา อันนำไปสู่ โทสะ คือความหงุดหงิด ขุ่นในใจ) :b49: :b50: :b51:

หรือในทางตรงกันข้ามคือ เกิดความสุขจากความสงบ (โสมนัสเวทนา อันเกิดแก่สมาธิภาวนา) ความผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) จากความเป็นสัปปายะของสิ่งแวดล้อม หรือความเบิกบานจากสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา ที่เห็นโลกตามจริง และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติรอบตัว :b47: :b46: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จนไปสู่แบบที่ยากขึ้น คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นภายใต้ความร่วมมืออันดี :b46: :b47: :b46:

ซึ่งแบบที่ยากขึ้นไปนี้ก็ได้แก่ ขณะทำกิจวัตรประจำวันโดยมีผู้อื่นร่วมอยู่ด้วย, ขณะทำงานในอาชีพภายใต้สถานการณ์เรียบร้อยปรกติ หรือสำเร็จตามความมุ่งหมาย, ขณะไปเที่ยวพักผ่อนกับเพื่อนฝูงหรือครอบครัว ฯลฯ :b48: :b47: :b46:

ซึ่งการใช้ชีวิตภายใต้กิจกรรมดังกล่าว อาจจะนำให้เกิดความหลงเพลินได้ง่าย (โมหะ ที่นำให้เกิด นันทิ อันเนื่องแต่ กามตัณหา และ ภวตัณหา) หรือในทางตรงกันข้ามคือ เกิดความสุขจาก ความผ่อนคลาย (ปัสสัทธิ) ความสงบตั้งมั่น เป็นกลาง (อุเบกขา) จากความเป็นสัปปายะของสิ่งแวดล้อม หรือเกิดความเบิกบานจากสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา ที่เห็นโลกตามจริง และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติรอบตัว :b47: :b46:

จนไปสู่แบบที่ยากที่สุด คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ในสภาวะที่เกิดความกดดันและ/หรือขัดแย้ง :b49: :b47: :b48:

หรือดำเนินกิจกรรมด้วยตัวคนเดียว แต่ตกอยู่ภายใต้สภาวะบีบคั้น กดดัน จนเกิดความกังวล ซึมเศร้า สับสน หรือ เคร่งเครียด ขุ่นมัว โมโห เป็นทุกข์ (โมหะ ที่นำให้เกิด วิภวตัณหา ซึ่งนำให้เกิด โทสะ ในที่สุด)
:b50: :b51: :b53:

หรือในทางตรงกันข้ามคือ เกิดความสงบ ตั้งมั่น เป็นกลาง (อุเบกขา) เกิดความเบิกบานจากสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา ที่เห็นโลกตามจริง แม้จะอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้น เคร่งเครียด ขัดแย้ง ก็ตาม :b49: :b48: :b47:

ซึ่งในสถานการณ์แบบที่ยากที่สุดนี้ก็ได้แก่ ขณะที่ต้องโต้เถียง หรือเจรจาต่อรองกับผู้อื่น, ขณะที่ต้องขึ้นพูดต่อหน้าสาธารณชน, ขณะเข้าสอบ, ขณะในที่ประชุมงานแล้วเกิดความขัดแย้ง เคร่งเครียด กดดัน, ขณะที่การงานเร่งรีบบีบคั้นหรือฉุกเฉิน, ขณะที่เกิดอาการเบื่องาน, หรือขณะการใช้ชีวิตที่เกิดทุกข์บีบคั้นส่วนตัว ขณะที่ได้ยินข่าวร้าย ฯลฯ :b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งแต่ละบทเรียนที่ธรรมะจัดสรรมาให้นั้น บางทีเราเลือกสถานการณ์ได้ แต่มากครั้งกว่า ที่เราเลือกสถานการณ์ไม่ได้ และโดยมากก็เป็นไปในทางบีบคั้นต่อชีวิต :b46: :b47: :b46:

แต่สิ่งที่เราสามารถเลือกได้ทุกครั้ง ก็คือการตั้งท่าทีที่ถูกต้อง ในการที่จะใช้บทเรียนที่ธรรมะจัดสรรมาให้ในแต่ละสถานการณ์นั้น ไว้สำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ เพื่อให้เกิดโลกุตรปัญญา เห็นโลกตามจริงได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

และการฝึกที่ชำนาญดีแล้วในบทเรียนระดับง่าย (หรือการฝึกในรูปแบบตามความหมายแคบ) ก็จะทำให้จิตเกิดความคุ้นชิน เกิดสติสัมปชัญญะและสมาธิ เข้ามาเป็นเกราะคุ้มครองการกระทบจากผัสสะและเวทนา ไม่ให้เข้ามากระแทกข้างในจิตในใจได้เองในบทเรียนระดับที่ยากขึ้นไป :b48: :b47: :b46:

ทำให้การฝึกในระดับที่ยากขึ้นไป ไม่เป็นภาระเหลือบ่ากว่าแรงสำหรับนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญแล้ว และยังทำให้สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดจาการฝึกในระดับที่ยากขึ้นไปนั้น เกิดความคมชัดเข้มแข็งสูงขึ้นไปเรื่อยๆตามบทเรียนที่ยากขึ้นไปด้วยนะครับ
:b1: :b46: :b39:

แล้วมาเริ่มบทเรียนของการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิของเซ็นในแบบง่ายน้อยหน่อย คือในเวลาที่สามารถอยู่กับธรรมชาติด้วยตัวคนเดียว ก่อนที่จะกลับมาที่แบบง่าย คือการฝึกในรูปแบบ เวลา และสถานที่ที่กำหนด :b48: :b47: :b49:

ซึ่งถ้าค่อยๆอ่านไปจนจบแล้ว ก็จะเข้าใจเหตุผลได้เองนะครับว่า ทำไมถึงยกแบบง่ายน้อยหน่อย ขึ้นมาก่อนแบบที่ง่ายที่สุดกันในคราวหน้า :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาเริ่มกันที่การฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิของเซ็นในแบบง่ายน้อยหน่อย คือในเวลาที่สามารถอยู่กับ "ธรรมชาติ" ด้วยตัวคนเดียว ก่อนที่จะกลับมาในแบบที่ง่าย คือการฝึกในรูปแบบ เวลา และสถานที่ที่กำหนดกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยคำว่า "ธรรมชาติ" ด้านบน เหตุที่ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดไว้ด้วยนี้ เพราะต้องการจะหมายความเอาตามที่ชนส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของคำว่า "ธรรมชาติ" ในแบบแคบ ซึ่งก็คือสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่สามารถสร้างความสงบเบิกบานเป็นสัปปายะ เย็นอกเย็นใจให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ :b48: :b49: :b50:

เช่น ธรรมชาติที่อยู่ท่ามกลางไอเย็นของหิมะ ภูเขา ป่าไม้ สายหมอก ดอกหญ้า ทะเล แม่น้ำ ลำห้วย ฯลฯ :b46: :b41: :b39:

ซึ่งไม่ได้หมายความถึงคำว่า "ธรรมชาติ" ที่เข้าใจได้ในระดับโลกุตรปัญญา ซึ่งเป็นความหมายแบบในแบบที่กว้างกว่า :b39: :b44: :b42:

นั่นคือ "ธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย" และ "ที่ไม่ขึ้นกับเหตุปัจจัย" :b47: :b46: :b47:

คือรวมทุกสรรพสิ่งที่มีเกิดดับ (หรือ "ธรรม" ที่ยังมีคำว่า "ชา-ติ" คือการเกิด ซึ่งเป็นเหตุให้มี "ชรา" และมี "มรณะ".. คือยังมีทุกขัง (ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขา มรณัมปิทุกขัง ฯลฯ) ซึ่งยังให้เกิดอนิจจัง คือความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ไม่เที่ยง คงตัวอยู่ไม่ได้) :b49: :b50: :b55:

และธรรมที่ไม่มีเกิด (จึง) ไม่มีดับ (คือ "ธรรม" ที่ไม่มี "ชา-ติ" จึงไม่มี "ชรา" ไม่มี "มรณะ" .. คือธรรมที่ไม่มีทุกขัง .. จึงไม่มีอนิจจัง) รวมเข้าไว้ด้วยกัน :b55: :b54: :b51:

ซึ่งถ้าจะใช้ถ้อยคำอย่างเคร่งครัดกับคำว่า "ธรรมชาติ" ที่เข้าใจได้ในระดับโลกุตรปัญญา ด้วยความหมายในแบบที่กว้างนี้ ก็จะใช้คำแทนเพียงสั้นๆ คือแค่คำว่า "ธรรม" :b48: :b49: :b50:

ซึ่งก็คือ "ธรรมทั้งหลาย" ทั้งที่ยังปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย (สังขตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป) และที่พ้นการปรุงแต่ง (อสังขตธรรม คือนิพพาน) :b46: :b47: :b46:

หรือ "สัพเพ ธัมมา" ที่เป็น "อนัตตา" ตามคำของพระบรมครูนะครับ :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นรูป (คือสสารและพลังงานในทางโลก) เช่น ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สายหมอก ฯลฯ หรือสลัมกลางดงน้ำครำ หรือบนถนนปนฝุ่นควันและรถติด จนร้อนตับแตกกลางเมืองหลวง ฯลฯ :b5: :b46: :b39:

ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้สวยในป่าใหญ่ ก้อนหินใหญ่น้อยกลางธารน้ำใส ฯลฯ หรือรถยนต์ที่วิ่งขวักไขว่กลางเมืองหลวง, เครื่องจักรเครื่องกลที่ส่งเสียงอึกทึกคึกโครมตามโรงงานหรือไซท์งานก่อสร้าง, หรืออาคารสูงระฟ้าในมหานคร ฯลฯ :b46: :b47: :b46:

หรือไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นนาม ทั้งอกุศลธรรม ทั้งอัพยากตธรรม (ในส่วนที่เป็นจิต เจตสิก และนิพพาน) และทั้งกุศลธรรม :b46: :b47: :b46:

ต่างก็เป็นธรรมชาติ หรือเป็นเพียงแค่ "ธรรม" ที่ปรากฏ เสมอเหมือนกันหมดเช่นเดียวกันในสายตาของ "ผู้เข้าถึงธรรม" :b47: :b48: :b47:

เพราะจิตของ "ผู้เข้าถึงธรรม" นั้น มีความเป็น "หนึ่งเดียวกับธรรมทั้งหลาย" แล้วนั่นเอง :b46: :b39: :b46:

เมื่อสภาวะของจิตเป็นเช่นนั้น จึงไม่มีการแบ่งแยกระหว่างผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ จึงไม่มีการให้ค่าชอบหรือชังกันอีก โลกสมมติว่าสวย ก็สวยไปตามโลก โลกสมมติว่าไม่สวย ก็ไม่สวยไปตามโลก :b49: :b50: :b51:

แต่จิตใจไม่ติดข้องด้วยตัณหาในความสวยหรือไม่สวยอีก
:b49: :b48: :b41:

คือเมื่อเกิดผัสสะแล้วมีสุขเวทนาทางกาย เช่น ขึ้นไปบนภูเขาอากาศเย็นสบาย :b46:

หรือมีทุกขเวทนาทางกาย เช่น เข้าไปอยู่ท่ามกลางฝุ่นควันร้อนอบอ้าวกลางถนน :b46:

หรือมีโสมนัสเวทนาทางใจ เช่น อยู่บนภูเขาแล้วเบิกบานใจ :b46:

หรือมีอุเบกขาเวทนาทางใจ เช่น อยู่ในสภาพที่เกิดทุกขเวทนาทางกายตามตัวอย่างที่ยกมาด้านบน คือเข้าไปอยู่ท่ามกลางฝุ่นควันร้อนอบอ้าวกลางถนน แต่ใจวางเป็นกลางๆ ด้วยเห็นว่าเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยที่กำลังขับเคลื่อนเลื่อนไหลไป :b46:

คือเมื่อเกิดผัสสะและเวทนาใดๆ (ยกเว้นโทมนัสเวทนาทางใจที่ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว) กระบวนการรับรู้ธรรมก็จบลงตรงนั้น เป็นเพียงกิริยาอาการของจิตที่รับรู้แล้วหยุดลงแค่นั้น ไม่มีปฏิกิริยาในทางสร้างภพสร้างชาติต่อกับผัสสะเวทนานั้นๆ และผัสสะเวทนาใดๆอีก :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ความหมายของคำว่า "ธรรมชาติ" ที่รับรู้กันโดยทั่วไปในแบบแคบแล้ว คราวนี้มาต่อในแง่ของการปฏิบัติกันครับ :b1: :b46: :b39:

เหตุที่มาเริ่มกันที่การฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิของเซ็นในแบบง่ายน้อยหน่อย คือในเวลาที่สามารถอยู่กับ "ธรรมชาติ" (ในความหมายแบบแคบ) ด้วยตัวคนเดียวกันก่อน เนื่องเพราะในปรัชญา (เขียนแบบสันสกฤต) หรือปัญญา (เขียนแบบบาลี) ของทางเซ็นมหายานนั้น เน้นในเรื่องของการพิจารณาความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายที่ว่างเปล่าจากตัวตน หรือศูนยตาธรรม :b46: :b47: :b41:

ดังนั้น การนำพา "ตัวตน" หรือ "กายใจ" เข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพิจารณาความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติทั้งหลาย "ที่ว่างเปล่าจากตัวตน" หรือศูนยตาธรรมดังกล่าว จึงเป็นการฝึกที่ทำให้สามารถสัมผัสศูนยตาธรรมที่ว่า ได้ง่ายกว่าวิธีโดยทั่วไป
:b48: :b49: :b48:

(แต่อาจจะไม่ค่อยสะดวกนัก หมายถึงยากกว่าการปฏิบัติในรูปแบบ ในแง่ของการหาเวลาว่าง (และหาสตางค์) ที่จะเดินทางเพื่อนำพากายใจออกไปอยู่ในบรรยากาศของธรรมชาติที่สงบสัปปายะดังกล่าวได้ยาก โดยเฉพาะนักปฏิบัติที่มีวิถีชีวิตส่วนใหญ่ที่ต้องทำมาหากินจนตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อตกันอยู่ในเมืองนะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบในทางโลกมากและอยู่ในชนบท การหาเวลาว่างและแหล่งพักผ่อนทางธรรมชาติเพื่อฝึกปฏิบัติดังกล่าว ก็จะสะดวกง่ายดายกว่า) :b46: :b47: :b41:

และ "ธรรมชาติทั้งหลาย" ที่จะพากายใจเข้าไปสัมผัส โดยเอื้อให้เกิดการพิจารณาเห็นในความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมที่ว่า ก็ต้องเป็นธรรมชาติที่ให้ความสุขความสบาย เป็นสัปปายะ ทั้งกายและใจก่อนเป็นอันดับแรก :b46: :b47: :b46:

ด้วยเหตุผลที่ว่า ความสุข ความเบิกบานจากธรรมชาติ เป็นเหตุใกล้ที่ทำให้กายสงบผ่อนคลาย ใจสงบผ่อนคลาย เกิดสมาธิได้ง่าย (จะสังเกตได้ว่า วัดในสมัยพุทธกาลจึงอยู่ในสวนในป่ากันเสียมาก) :b48: :b47: :b46:

และสมาธิที่เกิดขึ้นได้ง่ายจากความเบิกบานของธรรมชาติแวดล้อมนี้ ก็จะเป็นเหตุใกล้ให้ขบวนการพิจารณาธรรม หรือการโยนิโสมนสิการในธรรม ทำได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จนสัมผัสได้ในความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายที่ว่างเปล่าจากตัวตน หรือศูนยตาธรรม :b48: :b49: :b50:

และเมื่อเริ่มสัมผัสได้ในศูนยตาธรรมกันบ้างแล้ว จึงขยับเข้าไปพิจารณาถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติที่ไม่สบาย :b48: :b48: :b49: :b48:

เริ่มจากไม่สบายกาย แต่สบายใจ .. เข้าสู่สบายกาย แต่ไม่สบายใจ :b46: :b47: :b46:

จนกระทั่งไม่สบายทั้งกายและใจ ซึ่งจะไปว่ากันต่อในตอนท้าย คือเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดความคับข้อง บีบคั้น ขัดแย้ง ไม่ว่าจะทั้งทางกาย และ/หรือ โดยเฉพาะทางใจ นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้การหาโอกาสที่จะใช้สภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นสัปปายะ เพื่อปฏิบัติตามแนวเซ็นดังกล่าว ก็ควรเป็นช่วงเวลาที่พอจะมีวันว่างยาวๆ เช่นในวันหยุด เพื่อออกไปพักผ่อนตามทะเล ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ ฯลฯ กันนะครับ ไม่ว่าจะไปคนเดียว หรือไปกับครอบครัวเพื่อนฝูง :b46: :b42: :b41:

แต่การออกไปธุดงค์ปลีกวิเวกคนเดียวก็จะฝึกปฏิบัติง่ายหน่อย แต่ก็ต้องดูเรื่องความปลอดภัยเผื่อไว้ด้วยนะครับสำหรับคุณผู้หญิงหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งควรหานักปฏิบัติเป็นเพื่อนไปด้วยกันจะดีกว่า หรือไปฝึกร่วมกับผู้อื่นในศูนย์ปฏิบัติธรรมที่สามารถออกไปใกล้ชิดธรรมชาติได้ :b47: :b48: :b41:

หรือสำหรับผู้ที่หาวันหยุดพักผ่อน เพื่อพากายใจออกห่างจากความเครียดความบีบคั้นในการงานหรือความวุ่นวายในเมืองได้ยาก ถ้าจะเอากันแบบอัตคัตเข้ามาหน่อย ก็คือการใช้ช่วงเวลาว่างระหว่างวัน เช่น ในเวลาเช้า เวลากลางวัน หรือเวลาเย็นหลังเลิกงาน นำพากายใจเข้าไปอยู่ในธรรมชาติใกล้ๆตัว :b48: :b47: :b46:

เช่น ในสวนสาธารณะ หรือในสวนที่บ้าน ชมนกชมไม้ ฯลฯ หรือแม้แต่การนั่งมองสวนไม้น้ำในตู้ปลา ก็พอกล้อมแกล้มทำใจให้สงบเย็น จนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมที่เห็นที่สัมผัสกันไปได้บ้างนะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวถึงตรงนี้แล้ว ขอเสริมนิดนึงเกี่ยวกับสภาวะของจิต ซึ่งเป็นธรรมชาติแบบเดียวกับต้นไม้ ที่ต้องแสวงหาน้ำเย็นชุ่มฉ่ำมาราดมารด มาหล่อมาเลี้ยงให้แช่มชื่น ให้เกิดความสุขอยู่ตลอด ไม่อย่างนั้นก็จะแห้งเหี่ยวลงไป :b46: :b39: :b46:

ซึ่งโดยธรรมชาติของจิตเองแล้วนั้น ค่อนข้างจะขี้เบื่อง่ายนะครับ ภาษาทางธรรมก็คือ จิตมักจะหิวอารมณ์อยู่ตลอด ต้องดิ้นรนแสวงหาอารมณ์ภายนอก ไม่ว่าจะผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรืออารมณ์ที่สร้างขึ้นภายในใจเอง เข้ามาเปลี่ยนเข้ามาป้อน ให้จิตได้เสพได้บริโภคอารมณ์ที่ดี ทำให้จิตใจได้แช่มชื่น เพื่อเป็นการแก้อาการขี้เบื่อของจิตอยู่ทุกเมื่อ :b46: :b47: :b46:

และความต้องการบริโภคอารมณ์ที่ดีของจิตนี้ มักจะไม่ค่อยอิ่มไม่ค่อยพอ เสพอารมณ์หนึ่งไปสักพักก็จะเบื่อ แล้วพอเบื่ออารมณ์อันนี้ ก็ดิ้นรนแสวงหาอารมณ์ใหม่ที่วิเศษพิศดารขึ้นไปอีก เพื่อมาให้จิตบริโภคต่อ :b47: :b48: :b47:

ซึ่งการแสวงหาอารมณ์มาบริโภคเพื่อให้จิตเกิดความสุขความแช่มชื่นนี้ ก็มีทั้งหยาบทั้งละเอียดนะครับ โดยเป็นไปตามความสุข ๔ ระดับจากอารมณ์หยาบๆ ไปอารมณ์ที่ละเอียดปราณีต ก็คือ
:b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๑) การแสวงหาอารมณ์ หรือแสวงหาความสุขจากการเอาเข้าหาตัว (กามสุข) คือสุขจากการเสพ ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย (กามคุณ ๕ - รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) แล้วเป็นสุขที่ใจ (ปัญจทวารวิถี) หรือคิดเพ้อฝันอารมณ์ทางใจ แล้วเป็นสุขที่ใจ (มโนทวารวิถี) :b46: :b47: :b46:

ตรงนี้คือสุขจากการมีการได้ จากการเสพด้วยการเอาเข้าหาตัว แล้วทำให้จิตใจเคลิบเคลิ้ม หรือกระเพื่อม ลิงโลด ตื่นเต้น เป็นสุข เช่น ดูหนัง (ตา), ฟังเพลง ได้ฟังคำชมที่ถูกใจ (หู), ได้กลิ่นที่หอมๆ (จมูก), ทานอาหารอร่อยๆ (ลิ้น), ได้รับการนวดผ่อนคลาย มีเพศสัมพันธ์ (กาย) ฯลฯ :b48: :b47: :b48:

ซึ่งหลายกิจกรรมที่คนแสวงหา จะเป็นการรวม หรือเป็น combination ของความสุขผ่านทางประสาทหลายๆทาง เช่น การเดินทางท่องเที่ยว ก็เพราะอยากจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสในธรรมชาติ (ตา หู จมูก กาย) ได้ทานอาหารอร่อยๆ (ลิ้น) หอมๆ (จมูก) ในบรรยากาศที่ดีๆ เย็นสบาย (ตา หู กาย) ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

และความสุขจากการเสพกามคุณชนิดนี้ ก็มีหยาบมีละเอียดต่างกันออกไปอีกนะครับ เริ่มตั้งแต่หยาบที่สุดก็คือการแสวงหาสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรม เช่น การแสวงหาอบายมุข (แปลว่า ปากทางไปแห่งอบาย) มาให้จิตได้เสพได้บริโภค จนเกิดความสุขที่สามารถแก้ความขี้เบื่อของจิตได้ :b51: :b50: :b49:

ยกตัวอย่างเช่น บางพวกเบื่อขึ้นมาก็ตั้งวงกินเหล้า ตั้งวงเล่นการพนัน เที่ยวสถานบันเทิงยามค่ำคืน หรือเอกเขนกบิดขี้เกียจ เฉื่อยแฉะไปวันๆ ฯลฯ บางพวกก็หางานอดิเรกที่เบียนเบียนผู้อื่นทำ เช่น ยิงนกตกปลา ตีไก่กัดปลา หรือแกล้งสัตว์แกล้งผู้อื่นเล่นไปวันๆให้สนุก ให้หายเบื่อ :b55: :b54: :b49:

ส่วนชนบางกลุ่มที่รู้บาปบุญคุณโทษ ก็ปราณีตขึ้นมาอีกหน่อย คือหางานอดิเรกที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเองไว้ให้จิตบริโภคหรือไว้เป็นเครื่องอยู่ เครื่องพักผ่อน ให้จิตใจได้แช่มชื่นชุ่มฉ่ำ เช่น ดูหนังฟังเพลง หาอาหารอร่อยๆทาน สะสมของหายาก เล่นกีฬา หรือออกไปท่องเที่ยวพักผ่อน ฯลฯ :b51: :b50: :b53:

ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องปรกติที่ควรทำสำหรับชนส่วนใหญ่ทั่วๆไป เพื่อเป็นน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ไม่ให้จิตใจเบื่อหน่าย แล้วเกิดความห่อเหี่ยวอับเฉาลงไป จนกระทบกับการใช้ชีวิตนะครับ
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2015, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ความสุขจากการเสพกามคุณชนิดนี้ก็มีข้อเสีย อย่างกามคุณหยาบๆเช่นการเสพอบายมุขนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะเห็นโทษกันง่ายอยู่ :b46: :b47: :b46:

แต่สำหรับข้อเสียโดยรวมก็คือ เป็นความสุขที่ต้องดิ้นรนต้องแสวงหา เพื่อให้ได้วัตถุอารมณ์ (หรือวัตถุกาม) เหล่านี้มาเสพ :b48: :b49: :b50:

เช่น ต้องหาตังค์เก็บตังค์หลายเดือน กว่าจะพอให้ออกไปเที่ยวได้เพียงแค่สองสามวัน พอได้เที่ยวแล้วทิ้งไปสักพักก็จะเบื่อ และถูกความอยากคือกิเลส ผลักดันให้กลับไปแสวงหาที่เที่ยวใหม่ๆเพื่อเสพอีก และถ้าไม่ได้ตามอยาก ไม่ได้เสพ ก็ดิ้นรนเป็นทุกข์ หงุดหงิดงุ่นง่าน ด้วยแรงผลักดันจากกิเลส ฯลฯ :b55: :b54: :b49:

หรือถึงแม้ว่าจะได้เสพความสุขนั้น ความสุขนั้นก็ไม่เที่ยง เอาง่ายๆก็คือ ในตอนต้นของการเสพ กับตอนท้ายๆของการเสพ ความสุขที่ได้รับนั้น ก็แปรปรวนไม่เท่ากัน เช่น ตอนทานอาหารบุฟเฟ่ต์นั้น คำแรกสุดจะอร่อยที่สุด แต่พอเริ่มอิ่มแล้วอาหารที่ตักมายังเหลือก็จะกลายเป็นภาระไป :b51: :b45: :b51:

นั่นคือ สมการของความสุข จะเป็นปฏิภาคผกผันกับเวลา คือ ปริมาณของความสุข ค่อยๆลดน้อยถอยลงไปตามเวลาที่เสพ :b51: :b53: :b51:

หรือแม้แต่วันที่ไปเที่ยวไปพักผ่อน วันแรกๆก็รื่นเริงดี แต่พอถึงวันท้ายๆ ก็จะเริ่มเกิดอาการละห้อยห่อเหี่ยวแล้วละว่า ทำไมวันแห่งความสุขนั้น มันแสนสั้นเหลือเกิน จะต้องกลับไปทำงานอีกแล้วเหรอเนี่ยะ ยังเที่ยวไม่อิ่มเลย ฯลฯ เป็นอารมณ์ของความทุกข์น้อยๆที่แทรกเข้ามาระหว่างบริโภคความสุข เพราะความแปรปรวนไปของความสุขที่ลดน้อยลง ประมาณนั้นนะครับ :b1: :b48: :b49:

สรุปได้ว่า ความสุขจากกามสุขนี้ โดยรวมแล้วเป็นสุขที่หยาบ ทุกข์มากสุขน้อย แปรปรวนไม่แน่นอน จิตใจไม่เป็นอิสระ เพราะตกเป็นทาสของความอยากเสพ (กิเลสกามในวัตถุกาม หรือในกามคุณ ๕ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ) จึงต้องถูกกิเลสคือความอยากเสพ ผลักดันให้ต้องออกไปดิ้นรน ไปแสวงหากามคุณมาให้จิตได้เสพ เพื่อแก้อาการขี้เบื่อของจิตอยู่ตลอดเวลานั่นเอง :b46: :b39: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 69, 70, 71, 72, 73, 74, 75 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร