วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2015, 22:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่งสมาธิบ่อยครั้งกับครั้งเดียวแต่นั่งนานกว่า อย่างไหนดีกว่ากันครับ

ยกตัวอย่างนั่ง30นาทีวันละ2ครั้ง กับ นั่งครั้งเดียว1ชั่วโมง


แก้ไขล่าสุดโดย yoottapong เมื่อ 24 มี.ค. 2015, 22:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2015, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


หลักสำคัญในการฝึกได้สรุปออกมาเป็น 7 ข้อ
1) ท่านั่งวางมือ จัดท่าทางให้ถูกต้องจะช่วยป้องกันอาการขาชาเป็นเหน็บ การหายใจที่ถูกต้อง ลมเดินสม่ำเสมอดีไม่ติดขัด ไม่หยุดชะงัก ทำให้สมาธิดีขึ้น
2) ถ้าฝึกสมาธิแล้ว ควบคุมจิตให้สงบสุขอยู่ได้ไม่นาน จิตใจยังฟุ้งซ่านสับสน ให้ฝึกได้ไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็ให้พัก การทนฝึกเกินหนึ่งชั่วโมงจะได้ประโยชน์น้อยอาจเกิดโทษ แต่ถ้าจิตสงบดีต่อเนื่องจึงจะสามารถฝึกเกินหนึ่งชั่วโมงได้ และไม่ควรเลิกฝึกจนกว่าจะเข้าใจ ชำนาญในการเข้าออกจากสมาธิ
3) เมื่อนั่งสมาธิไปครั้งหนึ่ง ต้องพักไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง จึงจะเริ่มฝึกต่อไปได้ และในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่ควรฝึกเกิน 3 ครั้ง ถ้ามีเวลาว่างหรืออยู่ในช่วงพักจากการนั่งสมาธิ ให้กำหนดและพิจารณาทางวิปัสสนาแทน
4) การฝึกสมาธิควรนั่งสมาธิติดต่อกันทุกวัน แม้จะฝึกเพียงวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 20-30 นาที ฝึกทุกวันจะได้ผลดีกว่าฝึกวันละหลายครั้ง หรือฝึกครั้งละนาน ๆ แต่ไม่ติดต่อกันทุกวัน
5) จงฝึกในสถานที่และเวลาที่เหมาะสมจะได้ผลเร็วกว่า อาจารย์บางท่านฝึกตอนตี 3 ของทุกวัน เพราะเป็นช่วงที่ท้องว่าง ร่างกายได้พักผ่อนพอควรแล้ว ทำให้ก้าวหน้าได้เร็ว
ุ6) เมื่อจิตผ่านความสงบสุขเพลิดเพลินจนหลงลืมร่างกาย รู้สึกมีแต่จิตลอยนิ่งอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่เหลือร่างกาย ไม่ได้ยินสรรพเสียงใด ๆ ไร้ซึ่งโลกรอบกาย ไม่มีทุกสิ่งหลงเหลืออยู่ในโลก เป็นระดับสมาธิขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) ขั้นนี้ควรพยายามดำรงสมาธิไว้ให้นานที่สุด
7) การกำหนดหรือพิจารณาทางวิปัสสนา ให้ปฏิบัติไปพร้อม ๆ กับสมาธิ เช่น การเอาจิตจดจ่อแนบแน่นอยู่ที่ลมหายใจเป็นสมถะ การรับรู้หรือพิจารณาลมหายใจสบาย เบา หลัก เย็น ร้อน สั้น หรือยาว คือ วิปัสสนา

ปล.ของพ.เอก ชม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2015, 07:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


yoottapong เขียน:
..

ุ6) เมื่อจิตผ่านความสงบสุขเพลิดเพลินจนหลงลืมร่างกาย รู้สึกมีแต่จิตลอยนิ่งอยู่โดดเดี่ยวโดยไม่เหลือร่างกาย ไม่ได้ยินสรรพเสียงใด ๆ ไร้ซึ่งโลกรอบกาย ไม่มีทุกสิ่งหลงเหลืออยู่ในโลก เป็นระดับสมาธิขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) ขั้นนี้ควรพยายามดำรงสมาธิไว้ให้นานที่สุด
ปล.ของพ.เอก ชม


หากไม่พิมพ์ผิด..ก้อ...เข้าใจผิด...ละคับ

สมาธิที่ถึงจุดที่จิตขาดจากระบบประสาท..นี้..เป็นฌาน 3 อย่างน้อยแล้วอะคับ...
ตั้งแต่ ฌาน 1 เขาเรียกอัปปนาสมาธิ..แล้วคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2015, 12:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างนั่ง30นาทีวันละ2ครั้ง กับ นั่งครั้งเดียว1ชั่วโมง

ผมว่าดีคนละอย่าง ถ้านั่ง30นาที2ครั้งสติจะมากกว่านั่ง1ชั่วโมง
ถ้าต้องการอัปปนาสมาธิให้นั่ง1ชั่วโมง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2015, 19:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการสร้างบอลพลังจิต PSI ball
เรายังคงพลังงานจากแหล่งกำเนิดอย่างต่อเนื่อง สร้างความรู้สึก ชักนำพลังงานที่เข้ามาสู่ร่างกายนั้น ให้ไปในตำแหน่งที่เรากำหนดไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก เช่น ที่ระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยกำหนดภาพให้พลังงานนั้นรวมตัวกันเป็นก้อนกลม
บอลพลังจิต
พยายามใช้ระบบประสาทสัมผัสต่างๆประกอบกับภาพที่เราสร้างขึ้น เช่น รู้สึกถึงการไหลของพลังงานผ่านไปตามส่วนต่างๆของร่างกายไหลไปที่มือทั้งสองข้าง หรือ อาจจะสัมผัสถึงเสียง เป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการฝึกการรับสัมผัสของพลังงาน

ปล.เหมือนกับวิธีที่ผมเอามืออังเทียนตาเพ่งเทียน ทำความรู้สึกว่ามีแรกดูดหรือผลักระหว่างมือเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2015, 01:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_4802366971702.jpeg
IMG_4802366971702.jpeg [ 34.69 KiB | เปิดดู 1966 ครั้ง ]
:b12:
ยิ่งมีกำหนดกฎเกณฑ์มากเท่าไร ยิ่งห่างไกลธรรมะมากเท่านั้น

ไร้กฎเกณฑ์ ไร้วิธีการ กายใจนั้นอยู่กับธรรมในทันที

แต่ก่อนจะเข้าถึงภาวะเช่นนี้ ต้องอิงอาศัยกฎเกณฑ์ที่พระบรมศาสดาทรงแนะนำ

ดังเช่น "พึงทรงอารมณ์ที่เปี่ยมไปด้วยสัมปชัญญะและสติ เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในผัสสะทั้งปวง ที่มาทางกาย เวทนา จิต ธรรม"

onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร