วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...

กาลครั้งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นหนู มีตัวโตขนาดลูกหมู มีบริวาร ๕๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีหมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ใกล้กับที่อยู่ของหนู คิดจะลวงกินหนู ในวันหนึ่ง มันจึงทำทียืนด้วยขาข้างเดียว อ้าปาก แหงนมอง จ้องดูดวงอาทิตย์อยู่

หนูพระโพธิสัตว์ เห็นมันแล้วคิดว่า " หมาจิ้งจอกตัวนี้คงจะเป็นผู้ทรงศีล " จึงเดินเข้าไปใกล้ไต่ถามดูว่า "ท่านชื่ออะไร ? " หมาจิ้งจอกตอบว่า " เราชื่อธรรมิกะ (ผู้ทรงธรรม)"
หนู " ทำไมท่านยืนเท้าเดียว ไม่ยืนทั้ง ๔ เท้า ? "
หมาจิ้งจอก " ถ้าเรายืน ๔ เท้า แผ่นดินจะไหว จึงยืนเท้าเดียว "
หนู " ทำไมท่านยืนอ้าปาก ? "
หมาจิ้งจอก " เราไม่กินอย่างอื่น กินลมเป็นอาหาร"
หนู " ทำไมท่านจ้องดูดวงอาทิตย์ ? "
หมาจิ้งจอก " เรานอบน้อมพระอาทิตย์ "

หนูเชื่อว่าหมาจิ้งจอกว่าเป็นผู้ทรงศีล จึงพากันบำรุงมันอยู่ ฝ่ายหมาจิ้งจอกก็จับหนูตัวสุดท้ายกินเป็นอาหารทุกวัน กินเสร็จก็เช็ดปากยืนต่อ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนหนูลดน้อยลง

วันหนึ่ง หนูโพธิสัตว์คิดจะตรวจดูว่าหนูบริวารหายไปไหน จึงไปบำรุงหมาจิ้งจอกเป็นตัวสุดท้าย พอได้โอกาสหมาจิ้งจอกก็จับหนูโพธิสัตว์ไว้เพื่อจะกิน หนูรู้เรื่องราวทั้งปวง จึงกล่าวคาถาว่า
" ผู้ใด กล่าวเชิดชูธรรมให้เป็นธงชัย
ล่อลวง ให้สัตว์ทั้งหลายตายใจแล้วซ่อนตนประพฤติชั่ว
ความประพฤติของผู้นั้น ชื่อว่า เป็นความประพฤติของแมว "

หนูพูดพลางก็กระโดดเกาะคอหมาจิ้งจอกกัดที่ซอกคอมันตายทันที ฝูงหนูได้กลับมากัดกินหมาจิ้งจอกเป็นอาหาร และอยู่สุขสบายสืบมา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เล่ห์เหลี่ยมของคนมีมาก ก่อนจะเชื่อใครควรศึกษาให้ถ่องแท้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2015, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรมสอนเรื่องปัญญาโดยตรง

แนะนำว่าฟังการสอนการปฏิบัติวิปัสสนาจากครูอาจารย์พระอภิธรรมตามสื่อต่างๆกันก่อนค่ะ
เพื่อจะได้เข้าใจบ้าง จะได้ไม่เข้าใจผิดและกล่าวล่วงเกิน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
พระอภิธรรมสอนเรื่องปัญญาโดยตรง

แนะนำว่าฟังการสอนการปฏิบัติวิปัสสนาจากครูอาจารย์พระอภิธรรมตามสื่อต่างๆกันก่อนค่ะ
เพื่อจะได้เข้าใจบ้าง จะได้ไม่เข้าใจผิดและกล่าวล่วงเกิน


การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ

ชอบใจลายเซ็น พูดน้อย ความหมายมาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2015, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น :b20:

แหะ แหะ :b9: :b9:
:b8:

:b41: :b41:
เมื่อก่อน ตอนเด็ก ชอบคิด ว่าอยากเป็นเทวดาน้างฟ้า :b12:
แต่ที่ถามตอนนี้..ไม่มีอยาก หรือไม่อยากเป็นอะไร
แต่แค่..อยากรู้(อีกละ :b9: )
ว่า..แต่ละภพภูมิ..เป็นยังไง
แบบว่าเมื่อเป็นมนุษย์..ก็ต้องหาทางหลุดพ้น
เป็นสวรรค์..ชั้นพรหม..ฯ เป็นยังไง? ไปยังไง?

คือ..เมื่อเข้ามาปฏิบัติ..มักเข้าใจ ทำอย่างนี้ แล้วจะเป็นอย่างนี้.....
มากเข้า...ทำอย่างนี้ แล้วกรรมจะส่งผลต่อไปอย่างนี้
หรือ...เป็นอย่างนี้ เพราะผลกรรมอันนี้ ส่งผลมา

แต่มีแต่กรรม..ไม่ดีอะค่ะ กับกรรมดี..แบบเบาบาง
เลยคิดว่ากรรมดีเช่นภาวนา ที่ทำส่งผล..ยังไง
เช่นว่า...ชาตินี้ยังไม่มุ่งไปพระนิพพาน ..แม้จะเป็นเป้าหมาย
ไอเดียเชื่อว่า..มีหลายคน เพราะกำลังใจยังไม่ถึง :b55: :b55: แต่ละคน จะรู้ใจตัวเองดี

เพราะฉะนั้นก็เลยว่าอยากจะเข้าใจไว้หน่อย เพราะระหว่างทางที่จะเดินต่อไป.......
จะมัวเดินอ้อมๆ..เล่นๆ :b12: ..หรือสบายๆ เมื่อเห็นทุกข์กะโทษกะโอกาสหลงทาง :b23:
อาจจะทำให้เราหันมาเร่งความเพียรกันค่ะ :b9: :b9:
นะคะ :b55: :b55: :b12:

ถ้ามีความอยากรู้อยากทราบ ว่าการเป็นเทวดา นางฟ้า มีการเข้าถึงได้อย่างไร
อ่านเอาจากพระสูตร ซึ่งพระพุทธองค์แสดงไว้ จะดีกว่าครับ
จะกล่าวพอสังเขป ก่อน เพื่อทำความเข้าใจในพระสูตรนะครับ
ภพภูมิ ในพระศาสนานี้ มีความต่างกัน
คือ ภพ มี 3 ภพ
ส่วนภูมิ มี 4 ภูมิ

ภพ มี สามภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภูมิ มี4 ภูมิ คือ กามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ

โดยคร่าวๆ เป็นดั่งนั้นครับ
ก็ข้ามไป คือที่สนใจ คือ ภพ

ภาพรวมของภพ มี 2 ประการ คือ ทุคติภพ กับ สุคติภพ

ทุคติภพ พวก นรก เดรัจฉาน เปรตวิสัย วินิบาต
สุคติภพ คือ มนุษย สวรรค์

สวรรค์ มี หลายระดับ ตั้งแต่ เทวดา จอมเทพ รูปพรหม อรูปพรหม เป็นชื่อเรียกตามกำลังบุญ กำลังฌานของปุถุชนที่ไปถึงได้ หรืออริยสาวกที่ไปถึงได้

ชื่อเรียกเทวดา ก็มากมาย เช่นพวกเจ้าที่เจ้าทางคือเทวาที่ครองพื้นที่ 3 จำพวก; พวกวลาหกเทวา 5 จำพวก; มนาปกาเทวา 1 จำพวก; คัพธัพพะเทวา 10 จำพวก ... จาตุมหาราชิกา; เทวาดาวดึงส์; ยามา;
ดุสิตา; นิมานนรดี; ปรนิมิตตวัสวัตตี; จอมเทพ เป็นต้น
เทดากลุ่มเหล่านี้ ก็มีการเข้าถึงด้วย ศีล ด้วยอุโบสถศีล ด้วย ทาน ด้วยจาคะ ด้วยความชาญฉลาดอันดีงามเป็นต้นครับ
แม้แต่พวกเหล่าพรหม พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกว่ากลุ่มเทวดาครับ แต่การเข้าถึงก็ประณีตขึ้นครับ
คือได้ฌานสมาบัติ เช่น พรหมวิหารฌานสมาบัติ; ปฐมฌาน; ทุติยฌาน; ตติยฌาน; จตุตถฌาน; รูปฌาน;
อรูปฌาน; โลกกุตตรฌาน

ดังนั้นประเภทต่างๆ ของเหล่าเทวดา จึงขึ้นอยู่กับการทำเหตุ และศรัทธาของแต่ละสัตว์ครับ

พระพุทธองค์ไม่ได้จำแนก 31 ภพภูมิ อย่างที่เชื่อกันตามศาสนานอกรีต ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2015, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เต่ากับปลาอาศัยอยู่ที่บึงใหญ่แห่งหนึ่ง คบหากันเป็นเพื่อนสนิทและนัดพบกันที่ริมกอขอบบึงทุกวัน มาคราวหนึ่งเต่าไม่มาตามนัด ปลาจึงมารอเก้อพร้อมกับสงสัยว่าเต่าหายไปไหน เจ็บไข้ตายไปหรืออย่างไรผ่านไป ๒-๓ วันเต่าจึงปรากฏตัว ปลาจึงถามขึ้นว่า
“เพื่อนไปไหนมา หายไปตั้งหลายวัน”
“เราไปเที่ยวบนบกมาเพื่อน” เต่าตอบ
เนื่องจากปลาเป็นสัตว์น้ำไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นบก ส่วนเต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คืออยู่ในน้ำก็ได้อยู่บนบกก็ได้ ปลาจึงถามเต่าด้วยความสงสัย
“บกมันเป็นอย่างไรหรือเพื่อนเหมือนกอแฝกนี่ไหม”
“ไม่ใช่หรอกเพื่อน บกไม่เหมือนกอแฝก” เต่าตอบ
“เหมือนโคลนไหม”
“ไม่ใช่หรอก”
“เหมือนจอกเหมือนแหนไหม”
“ไม่ใช่หรอก”
ปลาพยายามเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตนได้เห็นในบึงว่าเป็นเหมือนบกไหม เต่าก็ตอบว่าไม่ใช่ๆทุกอย่างไป ทำให้ปลางุนงงสงสัยหนักขึ้นเพราะเกิดมาไม่เคยสัมผัสกับบก ส่วนเต่าเล่าก็ไม่รู้จะอธิบายสภาพของบกให้ปลาฟังอย่างไร ยิ่งอธิบายบนบกนั้นมีสัตว์มากมาย มีช้าง มีม้า มีควาย มีภูเขา มีต้นไม้ใหญ่ มีคน มีบ้านเรือน ปลาก็ยิ่งซักถามหนักขึ้นว่าเหมือนอันนั้นอันนี้ในบึงใช่ไหม เต่าก็ตอบอยู่อย่างเดียวว่าไม่ไม่เหมือนตลอด
เต่าไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เรียกว่าบกให้ปลาเข้าใจได้ และปลาก็ไม่อาจเข้าใจบกตามที่เต่าเล่าให้ฟังได้ ทำไปทำมาปลาเลยสรุปว่า
“ถ้าอย่างนั้นบกก็ไม่มีจริง เพราะไม่สามารถบอกสภาพให้เราเห็นได้”
“บกมีจริงๆเราไปเที่ยวมาประจำ กว้างใหญ่ไพศาลมากนะเพื่อน” เต่ารับรอง
“แต่ปลาไม่เชื่อเสียแล้ว ทำไปทำมาเต่ากับปลาก็เริ่มเถียงกันดังลั่น เริ่มมีอารมณ์ด้วยกันทั้งคู่ จนกระทั่งอ่อนแรงไปด้วยกัน จึงต่างฝ่ายต่างแยกย้ายกันไป และหลังจากนั้นมิตรภาพของทั้งสองก็แตกสลายไม่ได้มาพบปะกันอีกเลย.
เรื่องนี้สื่อความได้ว่า :…
การอธิบายสภาวะที่สัมผัสได้ยาก
ให้คนที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นฟังนั้น เป็นเรื่องยากเย็นแท้
เพราะจะอธิบายอย่างไร เปรียบเทียบอย่างไร
เพื่อให้มองเห็นภาพนั้นตามเป็นจริง
อีกฝ่ายซึ่งไม่เคยสัมผัสไม่เคยได้เห็นมาก่อน ย่อมจะไม่เข้าใจอยู่ดี
ยิ่งคนที่ไม่เคยได้สัมผัสมาด้วยตัวเอง เป็นแต่ได้ฟังมาจากคนอื่น หรือจำมาจากตำรา แล้วอธิบายให้คนที่ไม่เคยสัมผัสเหมือนกันฟัง ก็ยิ่งพากันหลงทางมากขึ้น ต่างก็จะเข้าใจไปคนละทางสองทาง ขืนอธิบายไปก็จะมีแต่เถียงทะเลาะกัน เหมือนเต่าซึ่งสัมผัสได้ทั้งน้ำและบกย่อมรู้เรื่องทั้งเรื่องน้ำเรื่องบก แต่ไม่อาจอธิบายให้ปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำเข้าใจได้ และปลาก็จะไม่มีวันเข้าใจบกได้ดีเท่าเต่า เพราะได้สัมผัสแต่น้ำ มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องน้ำและสิ่งที่อยู่ในน้ำเท่านั้น

เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นว่าอีกฝ่ายไม่สามารถเข้าใจได้แน่นอน ก็หยุดอธิบาย หยุดพูดคุยกันถึงเรื่องนั้นดีกว่า หรือหาเรื่องอื่นมาคุยกันดีกว่า ขืนดันทุรังจะให้อีกฝ่ายรู้และเข้าใจตามที่ตนต้องการให้ได้ ก็จะได้แต่การเถียงกันทะเลาะกันเท่านั้น เผลอๆอาจถึงแตกคอกันก็ได้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2015, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลที่มีปัญญา มีชาติเป็นบัณฑิตจึงไม่ควรปฏิเสธพระไตรปิฎก
ก็น่าจะสำเหนียกกันอย่างนี้บ้างว่า การที่พระไตรปิฎกมีอายุยืนนานนับเป็นพันปี ที่ยังอยู่จนถึงสมัยนี้ ยังไม่สูญหายไปไหน นั้นเป็นเพราะเหตุใด? เป็นเพราะคนในสมัยก่อนๆ ช่วยกันรักษาสืบทอดกันมาใช่หรือไม่? ถ้าหากพระไตรปิฎกไม่ใช่ของดีมีคุณค่าควรศึกษาแก่การเล่าเรียนจริงแล้วไซร้ ไฉนท่านเหล่านั้นจึงได้ทุ่มเทความวิริยะอุตสาหะช่วยกันรักษาไว้ โดยวิธีศึกษาเล่าเรียนด้วยตนเอง ทรงจำไว้และบอกต่อกันไป เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องทำไม่ง่ายเลย เพราะฉะนั้นพึงเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าพระไตรปิฎกเป็นของดีมีประโยขน์แท้

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมานี้ น่าจะเป็นเครื่องยืนยันและเตือนสติให้นักเผยแผ่พระศาสนาบางท่านฉุกคิดบ้างว่า การที่เที่ยวประกาศอยู่เสมอว่า "พระไตรปิฎกมีความผิดพลาด ไม่มีความเชื่อถือเป็นสาระ ไม่ใช่พุทธพจน์" อะไรๆ ทำนองนี้นั้น เป็นการกระทำที่สมควรแล้วหรือไม่ และการเที่ยวประกาศอย่างนี้นั้น ไม่กลัวเป็นทางให้ผู้อื่นติฉินนินทาเอาได้ว่า "ผู้นี้ไม่มีความรู้ในพระไตรปิฎก กลัวว่าเขาจะซักถามความรู้ในพระไตรปิฎก จึงได้ปฏิเสธพระไตรปิฎก" อย่างนี้บ้างเลยหรือ อีกอย่างหนึ่งก็เที่ยวประกาศว่าอย่าเชื่อถือเลยพระไตรปิฎก มาเชื่อถือกระผมดีกว่า เชื่อฉันดีกว่า เชื่ออาตมาดีกว่า อย่างนี้นั่นเอง

ส่วนสำหรับพวกที่กล่าวว่า ตนเองไม่เชื่อพระไตรปิฎกแล้วชอบยกเอาพุทธพจน์ในเกสปุตตสูตร ที่รับสั่งกะพวกกาลามชน ว่า "มา ปิฎกสมฺปทาเนน" อันแปลว่า อย่าได้เชื่อถือโดยการอ้างอิงปิฎก" หมายความว่าผู้ใดผู้หนึ่งยกปิฎกคือตำรามาอ้างอิง ก็อย่าพึงเชื่อถือ เพราะเหตุที่เขาอ้างตำรานั้น โดยมุ่งหวังจะโจมตีผู้ที่เชื่อถือพระไตรปิฎกนั้น แม้แต่พุทธพจน์นี้ก็ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ทราบว่าตัวเขาเองก็อ้างพระไตรปิฎกนั่นแหละ เพราะการพูดมันไม่คล้อยตามกัน

ก็แลในเกสปุตตสูตรนั้น ผู้ศึกษาควรพิจารณาอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้มีปกติตรัสสรรเสริญภิกษุผู้ว่าง่าย ไฉนในเกสปุตตสูตรนี้ กลับสอนว่าไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ ที่ตรัสไว้อย่างนั้นเพื่อเป็นหลักความเชื่อ ๑๐ ประการที่ตรัสไว้นี้ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์สำหรับพวกกาลามชนผู้สดับตรับฟังในเวลานั้นเท่านั้น เพื่อหวังให้กาลามชนผู้สดับตรับฟังแล้วให้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งแล้วค่อยเชื่อ อย่างนี้เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2015, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


idea เขียน:
เป็นคำถามหนึ่งนะคะ
เคยได้ยินมาว่าผู้เข้าถึงแต่ละฌาน จะได้รับอานิสงส์ไปเกิดบนสวรรค์ในแต่ละชั้นแล้วแต่ระดับฌานที่ได้
s006
คือเข้าใจว่าเรื่องนี้มีเสื่อมถอยเป็นธรรมดา หากการได้นั้นถึงขั้นเกิดเป็นความชำนาญ
จนแค่เพียงแต่ระลึกถึงอารมณ์(ตรงนี้ไม่รู้ว่าใช้คำเรียกผิดรึเปล่า)ในแต่ละฌานนั้น ก็เข้าได้ทันที
ไม่ระบุจะเป็นสถานที่ใดอาจจะกลางหมู่ผู้คนมากก็สามารถ..
*ตรงนี้หากใช้คำว่า แค่นึกอยากเข้าฌาน..ก็ทำได้ จะถูกรึเปล่า :b55: :b55:

วสี ๕ ครับ เรียกอาวัชชนวสี (อาวัชชะนะวะสี) อาการที่นึกถึง เป็นอาวัชชนะ อาการที่เข้าฌาน เรียก สมาปัชชนวสี. ตามที่ถามมา นั่นหมายถึง อธิษฏฐานวสี เช่นได้ระหว่างฌาน ๑ ฌาน ๒ พอนึกถึงอารมณ์ที่ตนเคยได้ฌานนี้มีอารมณ์อย่างนี้ ปราศจากนิวรณ์ เป็นธรรมเอกปรากฏขึ้น บริสุทธิ์ผ่องใสภายใน ตอนนึกถึงเป็นอาวัชชนะ ตอนเข้าเป็นสมาปัชชนะ ตอนทรงไว้ในอารมณ์เดิมได้เป็น อธิษฏฐานะ :b39:


idea เขียน:
*แล้วหากว่าเสื่อมถอยแล้ว เมื่อถึงเวลาจะตาย ยังจะจะเกิดอานิสงส์ให้อีกรึเปล่าคะ

ให้นึกถึงอารมณ์ตอนที่ ปฏิบัติธรรม ใหม่ๆ รู้สึกตัวมีสติตลอดเวลาเนืองๆ ไม่ค่อยมีอารมณ์อะไรอื่นๆ หลากหลายอย่างเคยๆ พอใครพูด ใครทำอะไรที่ไม่ค่อยชอบ มันรู้ แต่มันก็ไม่โต้ตอบทันที ยังนิ่งๆ ทรงๆ ได้ ปล่อยได้วางได้ นั่นแหละอานิสงส์ฌาน แล้วก็นึกดูเอาว่า

พอร้างลาการภาวนาการปฏิบัติ จิตไม่มีฌาน จิตไม่เป็นสมาธิ อย่าไปนึกว่ายังเป็นนะ :b44: ให้คิดไว้ว่าตายแล้วด้วยซ้ำ จะได้เข้าใจง่ายๆ ว่าหลังจากตายแล้ว (จิตไม่มีธรรมรักษา ไม่มีสมาธิ) พอเวลาเจอสถานการณ์เก่าๆ เดิมๆ อะไรที่ไม่ชอบไม่พอใจทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ยังวนเวียนทำร้ายเราได้หรือเปล่า ถ้าปรากฏว่า ชีวิตโดนทำร้าย ก็แปลว่าเมื่อตายแล้วในความหมาย ในนัยนี้ ค่อนข้างยากมากที่จะ ได้รับอานิสงส์ หรือเกิดอานิสงส์เดิมๆ อีก เพราะต่างกรรมต่างวาระ :b39:

มีพระสูตรตรัสไว้ พรหมโดยมากจะเกิดเป็นพรหมอีกมีน้อย ส่วนมากเกิดในลำดับที่ต่ำกว่าลงไป เกิดเป็นเทวดามนุษย์แทน หรือเผลอๆ ก็ไปเกิดในอบายเลยก็มี เช่นกัน เทวดามนุษย์โดยมากจะเกิดเป็นเทวดามนุษย์อีกมีน้อย ส่วนมากเกิดในลำดับที่ต่ำกว่าลงไป หรือเกิดในอบายได้อีกเช่นกัน นั่นเพราะต่างกรรมต่างวาระ พูดเรื่องตาย ให้วัดกันที่กรรม ที่เหตุปัจจัย ที่จิตดวงสุดท้าย อภิธรรมเรียก มรณสันวิถี

กรรมที่เป็นกุศลที่ให้ผลทันที เรียกคุรุกรรม คือได้ฌานสมาบัติ การปฏิบัติธรรม ทำจิตให้เป็นสมาธิ พวกนี้แหละกรรมทางกุศลที่ให้ผลมาก หรือหนักหน่วง คุรุแปลว่า หนัก ท่านเรียก กรรมหนักทางกุศล ให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ พอทำกรรมอย่างนี้บ่อยๆ ประกอบเหตุปัจจัยนี้บ่อยๆ จิตดวงสุดท้ายก็จะ มีกำลัง เหมือนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ทรงสติสัมปชัญะได้ เข้าออกฌาน ทบทวนปัจจเวกขณะ ทำตามคำสั่งสอน แล้วจากไปอย่างสงบ เหลือไว้เพียงธรรมที่สั่งสอน :b8:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2015, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


nongkong เขียน:
จริงๆคุนน้องก็มีคำถามในเรื่องของ อานิสงส์ฌาน
ขอบคุนคุนไอเดียที่ตั้งกระทู้นี้ บางทีคลื่นเราคงจูนกันมั้งค่ะ :b9: :b45:
คุนน้องรบกวนอยากถามผู้รู้ :b8:
1. ทำไมคนที่ทำสมาธิได้ฌาน เขาถึงเรียกว่าตาข่ายดักพรหม ละเจ้าค่ะ :b10:

คุณลุงหมาน ตอบเอาไว้ดีแล้วนะครับ จะนำมาขยายถึงพระสูตรที่ตรัสไว้ ส่วนคำว่า ตาข่ายดักพรหมเป็นคำของครูบาอาจารย์ที่ได้ศึกษาพระสูตรนี้ แล้วพูดกันโดยย่อ ว่าตาข่ายดักพรหม :b39:

อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.

------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... A=0&Z=1071


อ่อ...ทำไมคนทำสมาธิได้ฌาน ถึงเรียกว่าตาข่ายดักพรหม ก็เพราะไม่ว่าจะเป็นพรหมชั้นไหนๆ ก็ยังมีทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๖๒ ทิฏฐินี้ พรหมชาลสูตรนี้ จึงเป็นพระสูตรแรกที่สังคยนาขึ้นเพื่อกำจัดความยึดถือเห็นผิดเอาไว้ก่อนเลยทีเดียว คือถึงไม่ภาวนาไม่ปฏิบัติ อ่านเอานึกเอา คาดคะเนเอา ก็เข้าไปอยู่ในข่ายนี้ด้วย ว่าทำสมาธิแล้วนึกไป เห็นนี่นั่น ระลึกชาติได้ จำได้ตนเป็นนี่เป็นนั่น อย่างนี้ก็เข้าข่ายในทิฏฐิ ๖๒ แต่เราจำกัดความ ถามตอบกันในมุมที่ว่า ทำไมถึงเรียกตาข่ายดักพรหม ก็เพราะ คนทำสมาธิได้ฌาน หรือได้อานิสงส์ของฌานที่ยิ่งกว่า คือได้โลกียญาน หรือได้อภิญญาจิต ก็แปลว่าไม่ใช่ของดีที่สุดอยู่ดี ทรงตรัสเปรียบเหมือนปลาตัวใหญ่ๆ ยังติดอยู่ในแห ไม่ไปไหน :b44:

nongkong เขียน:
2. แล้วเป็นพรหมก็ยังไม่ใกล้ถึงพระนิพพานหรือ?? แล้วบนชั้นพรหมเป็นระยะเวลายาวนานมาก แบบนี้ก็ไม่เหมาะกับการบำเพ็ญบารมีของเหล่าโพธิสัตว์ ใช่หรือไม่เจ้าค่ะ?

ถ้านิพพานดับเย็นสุด พรหมก็ดับทุกข์ดับโศกกว่าเทวดามนุษย์ ที่พรหมยังไม่ใกล้นิพพาน นั่นเพราะต่างกันในตอนภาวนานิดเดียว พรหมนั้นเพ่งอารมณ์ นิพพานเพ่งลักษณะ จะเห็นนิพพานต้องเริ่มต้น เห็นไตรลักษณ์ รู้ลักษณะไตรลักษณ์ จับอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันต่างกันอย่างนี้ เพ่งอารมณ์ก็ไปอย่าง เพ่งลักษณะก็ไปอีกอย่าง เพ่งลักษณะนี้ไม่เข้าไปในโลก ไม่เป็นสมมติสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขา เพ่งอารมณ์นี้ ดับชั่วคราว พอคลายแล้วก็ยังวนเวียนเข้าไปในโลก ในบัญญัติ ต่างกันอย่างนี้ :b39:

ถ้าความเป็นเทวดาเพลินมากสุขมาก การที่เทวดายังเพลินมากสุขมาก แปลว่าพหรมยิ่งเพลินยิ่งสุขมากยิ่งๆ กว่า เพราะความที่สุขสบายยิ่งกว่านี่แหละ(เปรียบเหมือนมีอายุยืนนานด้วยนามกาย) จะให้อดทนสร้างบารมีที่ยิ่งยวด อย่างยอดคน หากใจไม่ถึงจริงๆ ไม่เสียสละจริงๆ ไม่ยอมลำบากเพื่อคนอื่นจริงๆ คงยากมาก และไม่เหมาะกับคนที่อัธยาศัย รักตัวเองหรือเห็นแก่ตัว อย่าว่าแต่พรหมเลย มีระยะเวลานาน แค่เพลินๆ อย่างเทวดา แค่เราๆ ท่านๆ ได้นั่งได้พักสบายๆ สักครู่เดียว แล้วต้องลุกไป ทำงานบ้าน อดดูหนัง เล่นไลน์ เล่นเฟส ไปทำกิจธุระ ก็ไม่อยากจะบำเพ็ญละ ไม่ต้องพูดถึงสร้างบารมี แหะๆ อันนี้แซวตัวเองนะครับ :b9:

nongkong เขียน:
3 คนที่ได้ฌาน ถ้าไม่ตายอยู่ในฌาน สามารถเลือกเกิดเป็นเทวดาชั้นอื่นได้ไหม หรือปฏิสนธิตามวิบากจิต คือได้ฌานแม้ไม่ตายในฌาน ก็จุติเป็นพรหมเหมือนเดิม??

ข้อนี้ขอตอบเหมือนความเห็นก่อนครับ พูดเรื่องตายๆ ให้ไปวัดกันที่กรรม ที่เหตุปัจจัย ที่จิตดวงสุดท้ายเนาะ :b41:

nongkong เขียน:
ปล.ถามให้ตนเองค่ะ คือคุนน้องคิดว่าสามารถเกิดบนสวรรค์ขั้นดุสิต ได้หรือไม่ เพราะเราสามารถลงมาบำเพ็ญบารมีต่อได้ ไม่ต้องรอจนเสวยบุญหมด
หรือเราเลือกไม่ได้ ถ้าได้ฌานก็จุติเป็นพรหมเท่านั้น
ขอประทานอภัยนะค่ะ ถ้าคำถามคุนน้องค่อนข้างสับสน :b8:

อ่อ...นี่คงคล้ายๆ คุณ Idea คิดว่าถ้าตาย ไม่ตาย ได้ฌาน ไม่ได้ฌาน เอางี้ครับ ให้คิดว่าตายแล้วดีกว่า ไม่มีฌาน จิตไม่เป็นสมาธินั่นเรียกว่าตายแล้ว อย่าคิดเองว่ายังเป็นๆ แปลว่าจบเลย คำถามว่าต้องรอเสวยบุญไหม ตอบเลยรู้ยัง ว่าไม่ต้องรอ...

ถัดมาคือ ขณะนี้ บำเพ็ญอยู่ในบารมีใดบารมีหนึ่งหรือเปล่า ถ้าทำอยู่ ในขณะนั้น ไม่มีอกุศลจิตใดๆ ให้ขุ่นมัวคุณ คุณน้องก็ได้สิทธินั้นเดี๋ยวนั้นครับ ถ้าทำสมาธิเพ่งอารมณ์ ทำฌานทำเมื่อไหร่ก็ได้เมื่อนั้น แต่จำไว้อย่างว่า ต่างกรรมต่างวาระ ทำแล้วก็แล้วไป อย่าได้ยึดถือสำคัญเป็นนั่นเป็นนี่จะดีที่สุด จะได้มูฟเข้าหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาง่ายๆ ไม่คลอนแคลน จิตนะครับเปลี่ยนแปลงเร็ว กว่าตัวเราเองจะไปรู้ตัว จิตเขามีลักษณะเป็นอนัตตา เกิดดับๆ บางครั้งบางทีเขาไปเกิดไหนต่อไหนทั้งวันมาเยอะเลย แต่เราไม่รู้ดันมาคิดว่า จะเกิดเท่านั้น จะเป็นเท่านี้อย่างนี้ก็มี อันนี้ก็หมายถึงตัวเองอีกเหมือนกันนะครับแหะๆ :b39:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2015, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อันนี้ขออนุญาตคุณ idea และคุณลุงหมานร่วมสนทนาด้วยนะครับ :b8:

idea เขียน:
:b8: อีกนิดค่ะคุณลุง
พรหมตั้งแต่ปฐมฌานภูมิ ถึงเวหัปผลาภูมิที่เป็นปุถุชนก็ย่อมสามารถที่เจริญวิปัสสนา
เปลี่ยนเป็นพระอริยะบุคคลได้

ตรงนี้หมายถึง ผู้ได้ฌาน1-4ใช่ใหมคะ ก็คือเป็นพรหมก็ต่อจนบรรลุพระนิพพานได้
:b41: :b41:

ข้างต้นได้เรียนไปแล้วนะครับ การภาวนามี ๒ ลักษณะ คือเพ่งอารมณ์ กะ เพ่งลักษณะ อารัมมณูปนิชฌานและ ลักขณูปนิชฌาน พหรมนี้ยังมีที่เกิด ยังเกิดก็ยังมีดับ ตายๆ เกิดๆ ไม่จบไม่สิ้นนะครับ แต่ถึงกระแสนิพพานเนี้ย ไม่เกิดไม่ตายแล้ว พ้นโลกแล้ว พ้นสมมติแล้ว ที่ลุงหมานบอก คือตั้งแต่ปฐมฌานภูมิ ถึงเวหัปผลาภูมิ ถูกต้องครับ หมายถึง ผู้ได้ฌาน ๑ ถึง ฌาน ๔ คือทำฌานจิตมา เพ่งอารมณ์ทำฌานสมาบัติมา ถ้าจะพัฒนาทำอริยสัจให้แจ้ง ก็ต้องหันมา อบรมวิปัสสนา ทำลักขณูปนิชชฌานให้แจ้ง หรือรู้รูปรู้นาม เข้าใจสมมติแล้วถอนสมมติ รู้บัญญัติแล้วละบัญญติ ถอนความยึดถือเห็นผิดในสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เหมือนความเห็นก่อนๆ อย่าคิดว่าเป็นอยู่นะ ให้คิดว่าตายแล้วต่างหาก :b44:


idea เขียน:
ส่วนพรหมที่ชั้นอรูปภูมิ ถ้าเป็นปุถุชนจะไม่สามารถจะสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลได้เลย 
จะมีอายุยืนมากนับเป็น ๘๔.๐๐๐ อสงไขยกัปป์

1.ตรงนี้หมายถึง ผู้ได้ฌาน5-8ใช่ใหมคะ

จริงๆ อริยะบุคคลก่อนจะเป็นก็เป็นมาแต่ปุถุชนนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าจะเป็นปุถุชนอยู่ในภูมิไหน เป็นมนุษย์เทวดา(กามภูมิ) เป็นรูปพรหม อรูปพรหมภูมิ ก็ว่ากันไปอีกที ในหลักๆ ๓ ภูมินี้ปุถุชนก็วนเวียนกันไปตามอัธยาศัย ชอบสงบรักสงบ ก็ไปพรหมมีรูปก็มี ไม่มีรูปก็มี หรือชอบบำเพ็ญชอบสร้าง ชอบช่วยก็ที่กามาวจรภูมิ (มนุษย์เทวดา) ถามว่าตรงอรูปภูมิ หมายถึงฌาน ๕ ถึงฌาน ๘ ใช่ไหม ก็ถูกต้องครับ :b39:

idea เขียน:
2.เมื่อได้ถึงฌาน8 ก็ต้องมีความชำนาญในทุกฌานอยู่แล้ว ก่อนตายจึงสามารถกำหนดจิตให้อยู่ในฌานใดก็ได้?

ไม่แน่ครับ สมมติคนได้ฌาน ๘ เหมือนคนมีความรู้ระดับป.โท สมมติเขาเดินไปบนถนน ก็ไม่มีใครรู้คุณวุฒิทางการศึกษาของเขาบังเอิญ ไปโดนคนด่าเข้าว่า คนไม่มีการศึกษา ไม่ต้องฌาน ๘ ไม่ต้องจบป.โท ฏีกาน้อยเองอาจไม่โกรธ แต่ก็อายๆ หน้าแดงร้อนวูบๆ วาบๆ ขึ้นมาทันทีแน่ๆ :b3:

การจบมาใหม่ๆ สำเร็จการศึกษา สมมติเรามาเปรียบเหมือนได้ฌานจิต ถามว่าใครจะมานั่งนึกได้ตลอดว่าตนเองจบจากอนุบาล จนถึงป.โท เอาในเวลาใกล้ตาย s005

เพราะต่างกรรมต่างวาระ เรื่องของจิต จิตเขาเป็นไปต่างๆ นาๆ ในคืนหนึ่งวันหนึ่งมากมายกว่าเราจะรู้สึกตัวอีกครับอย่างที่ตอบไปก่อนหน้านั่นแล้ว อย่าไปคิดเอาว่ายังเป็นอยู่ คิดว่าถ้าไม่มีสมาธิ ไม่มีฌานจิต ก็เสื่อมแล้ว ตายแล้วนี่แหละ จุติละ เคลื่อนแล้ว อารมร์หยาบดับไป อารมณ์ละเอียดปรากฏเกิดขึ้น ถ้าอบรมสติปัฏฐานมาดีๆ มีวิชชาเกิดขึ้นก็สามารถระลึกขันธ์ในอดีตได้ รู้ว่าไม่ใช่สภาพสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขา รู้อริยสัจ ๔ ก็ไปถูกทิศถูกทางฯลฯ

idea เขียน:
3.มีคำว่าถ้าเป็นปุถุชน
ตรงนี้หมายถึง ตั้งแต่โสดาบันบุคคล จนถึงพระสกิทาคามี ก็มีไปเกิดที่นี่ และบรรลุต่อนิพพานได้
แต่ปุถุชนไม่ได้

4.คนส่วนมากคิดว่า หากไม่สำเร็จในชาตินี้แล้วควรจะไปเกิดแดนไหนดีค่ะ..เพื่อการปฏิบัติจะได้ต่อเนื่องบรรลุได้ง่าย

:b9: :b9:

อันนี้ก็ว่ากันไปครับ อนุโมทนาสาธุ :b8:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2015, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ขอบคุณ นายฏีกาน้อยค่ะ :b8:
บรรยายได้ชัดเจนดี
แถมมีคติเตือนใจเยอะเลย s005


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร