วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 13:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 66, 67, 68, 69, 70, 71, 72 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อในภาคส่วนของการเจริญสติ และการปฏิบัติเพื่อเห็นแจ้งในสภาวะศูนยตาของทางพุทธมหายานกันนะครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า เนื้อหาที่เป็นแก่นของพระสูตรมหายานตามที่ยกมา ก็คือคำสอนที่สรุปลงได้ใน ๓ เรื่อง อันได้แก่ ศูนยตา, โพธิจิต, และโพธิสัตว์ :b46: :b44: :b39:

ซึ่งทั้งสามเรื่อง ต่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันในแง่ของสัจจธรรมที่ว่า ..

ทุกสรรพสิ่งที่เนื่องด้วยการปรุงแต่ง ต่างก็ถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากเหตุปัจจัย :b47: :b48: :b47:

ทุกสรรพสิ่งจึงปรากฏอยู่ และเปลี่ยนแปลงไปอย่างนั้น ตามกระแสแห่งเหตุปัจจัย ที่เปลี่ยนแปลงไป :b41: :b41: :b41:

และเมื่อประกอบกันขึ้นจากเหตุปัจจัย .. อีกทั้งเหตุปัจจัย ยังมีลักษณะที่ถูกบีบคั้นจนแปรปรวนไปได้อยู่ตลอด :b41: :b41: :b41:

ทุกสรรพสิ่ง จึงไม่เที่ยง จึงไม่ยั่งยืนคงตัว :b41: :b41: :b41:

เมื่อไม่ยั่งยืนคงตัว เปลี่ยนแปลงไปได้อยู่ตลอดเวลา .. ดุจฟองน้ำ ดุจพยับแดด .. :b42: :b42: :b42:

ทุกสรรพสิ่ง จึงมีลักษณะ "ว่าง" จากตัวตนที่ถาวรเที่ยงแท้ :b42: :b48: :b41:

และเมื่อว่างจากตัวตนที่ถาวรเที่ยงแท้ จึงหามีผู้ใดเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ หรือบงการให้เป็นไปตามใจอยากได้ไม่ :b46: :b47: :b46:

(มีแต่การทำให้ตรงตามเหตุ ตรงตามปัจจัย เพื่อให้สรรพสิ่งเป็นไป ตามที่จะต้องไปเป็น)


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 18 ม.ค. 2015, 00:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ..

เนื่องเพราะสรรพสิ่ง ต่างปรุงแต่งจากเหตุปัจจัย ที่ก็ยังต้องแปรเปลี่ยนไป :b42: :b41:

สรรพสิ่ง จึงไม่มีทั้ง "ตัวตนที่ถาวร เที่ยงแท้แน่นอน" และไม่มีทั้ง "ตัวตนที่เป็นเจ้าเข้าเจ้าของ" :b46: :b39: :b46:

นั่นคือ สำหรับความจริงที่เป็นสัจธรรมแล้ว จะไม่มีทั้งคำว่า "ตัวตน (ที่ถาวรเที่ยงแท้)" และคำว่า "ของตัว ของตน" :b42: :b41:

คือไม่มีทั้งคำว่า "เจ้าของ" และคำว่า "สิ่งที่ถูกเป็นเจ้าของ" :b46: :b47: :b46:

เพราะทั้งสิ่งที่สมมติว่าเป็น "เจ้าของ" และทั้งสิ่งที่สมมติว่า "ถูกเป็นเจ้าของ" ต่างก็ไม่มีตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร :b42: :b41:

สรรพสิ่ง จึงมีสภาพสูญ มีสภาพว่างเปล่าจากตัวตน (ศูนยตา) :b42: :b41:

(มิไยต้องกล่าวให้ไกลไปถึงสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยการปรุงแต่ง .. ซึ่งก็เพราะสิ่งนั้นไม่เนื่องด้วยการปรุงแต่งนั่นเอง จึงไม่มีอะไรมาปรุงมาแต่งให้เป็นตัวให้เป็นตน ให้เป็นของๆตนเสียแต่ทีแรกแล้ว)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ที่ปุถุชนยังเห็นว่า เป็นตัวเป็นตน มีของตัวของตนกันอยู่ ก็เพราะมีความไม่รู้ (อวิชชา) มีความเข้าใจสัจจธรรมที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนออกไปจากความจริงแท้ :b46: :b47: :b46:

จึงทำให้สรรพสัตว์ ยังคงมี "เหตุ" ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ และยังคงต้องเป็นทุกข์จากการเกิด (ชาติ), จากการแก่ การเก่า การเสื่อมลงไป (ชรา), จากการตาย การสลาย การสูญสิ้น (มรณะ) :b42: :b41:

ยังคงต้องเป็นทุกข์จากความโศกเศร้า (โสกะ), ความครวญคร่ำรำพัน (ปริเทวะ), ความทุกข์กาย (ทุกข์), ความทุกข์ใจ (โทมนัส), ความคับแค้นใจ (อุปายาส), การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น .. อยู่นั่นเอง :b42: :b41:

ดังนั้น การกำจัดไปเสียซึ่ง "เหตุ" คือความเห็นผิด อันได้แก่ การทำความเห็นให้ถูกต้อง ตรงตามธรรม (ทิฏฐุชุกรรม อันนำไปสู่ วิชชา คือโลกกุตรสัมมาทิฏฐิ) ด้วยการพิจารณา และเห็นในสภาวะศูนยตาของธรรมทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง :b46: :b47: :b46:

นี้จึงเป็นทางออกจากทุกข์ ทางออกจากวัฏฏะของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย :b46: :b39: :b46:

ซึ่งความสามารถในการทำความเห็นให้ถูกต้องจนพ้นทุกข์ไปได้ .. หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การมีเชื้อเกิดแห่งความเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี้นั้น เป็นคุณสมบัติประจำตัวที่ฝังอยู่ในจิตในใจของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในภายในอยู่แล้ว :b49: :b55: :b50:

เป็นเสมือนกับเชื้อแห่งการเกิดที่แฝงอยู่ประจำตัว เป็นคุณสมบัติประจำภายในอยู่ในเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมงอกทุกเมล็ดพันธุ์ :b51: :b53: :b51:

เป็นเสมือน intrinsic genetic property ที่ฝังอยู่ในยีนส์ ฝังอยู่อยู่ใน DNA ทางจิตวิญญาณของเหล่าสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลาแล้วนั่นเอง ไม่ว่าสรรพสัตว์เหล่านั้น จะดี จะเลว, จะฉลาด จะโง่, จะสูงส่ง จะต่ำต้อย, จะเป็นพรหม จะเป็นสัตว์ในนรก หรืออาศัยอยู่ในภพภูมิไหนๆก็ตาม
:b44: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งเชื้อเกิดแห่งพุทธะนี้ ถ้าบ่มเพาะให้ดี ด้วยการได้ไปเกิดในภพภูมิตามผลแห่งกรรมที่ถูกที่ และได้รับการดูแล ด้วยการปฏิบัติที่ถูกทาง :b46: :b39: :b46:

เปรียบเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ที่ได้ไปตกในดินดี และได้รับการดูแลใส่ปุ๋ยให้น้ำ ฯลฯ อย่างถูกต้อง ตรงตามเหตุปัจจัย :b46: :b39: :b46:

เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะนี้ ก็จะสามารถงอกงามและพัฒนาขึ้นมาได้ จากจิตใจที่มืดบอดด้วยอวิชชา จนเป็นจิตใจที่มุ่งตรงต่อโพธิคือการตรัสรู้ :b51: :b53: :b46:

ซึ่งเราเรียกเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ หรือจิตที่งอกงามขึ้นมาจนมุ่งตรงต่อโพธิ หรือการตรัสรู้นี้ว่า โพธิจิต นั่นเอง :b46: :b39: :b46:

ดังนั้น หน้าที่เบื้องต้นของเหล่าสรรพสัตว์ หรือของเหล่านักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ จึงเพียงแค่การกระตุ้นเมล็ดพันธุ์แห่งโพธินี้ให้งอกงาม จนพัฒนาเป็นโพธิจิตให้ได้ :b51: :b46: :b53:

เหมือนดั่งเช่นพระบรมครูเมื่อครั้งยังเป็นสุเมธดาบส ใช้ศรัทธาในพระทีปังกรพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา) เป็นเชื้อกระตุ้นให้มุ่งสู่ความเป็นพุทธะในเบื้องแรก :b8: :b46: :b44:

และท้ายสุดที่พระองค์ทรงใช้สภาวะของเทวฑูตทั้ง ๔ อันได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และความเป็นสมณะ เป็นเชื้อกระตุ้นให้มุ่งสู่ความเป็นพุทธะในพระชาติสุดท้าย
:b8: :b46: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งโพธิจิตที่พัฒนาไปจนเห็นในสภาวะว่างเปล่าจากตัวตน (ศูนยตา) ก็ด้วยเพราะเห็นในความเป็นเหตุเป็นปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) :b47: :b48: :b49:

และเพราะเห็นในความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ก็จะเห็นในความพันเกี่ยว .. เห็นในความเป็น "หนึ่งเดียว" .. คือเป็นเหตุเป็นปัจจัย "ซึ่งกันและกัน" ของสรรพสิ่ง (inter-dependence) :b49: :b50: :b45:

และการเห็นในความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ในความเป็นหนึ่งเดียว "ซึ่งกันและกัน" ของสรรพสิ่ง ก็จะเป็นการเห็นที่ทำให้เกิดจิตที่มีเมตตากรุณาต่อทุกสรรพสิ่งอย่างไม่มีประมาณ :b46: :b39: :b46:

นั่นคือความเมตตากรุณา "แบบไม่มีประมาณ" อย่างเช่นตัวอย่างที่หลวงปู่นัท ฮันห์ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนมือขวาที่ตอกค้อนพลาดจากตะปูลงไปบนมือซ้าย แต่มือซ้ายก็ไม่กล่าวโทษ ไม่ถือโกรธมือขวา :b47: :b46: :b47:

และมือขวานั้นหล่ะ ที่ช่วยเข้าไปประคอง เข้าไปช่วยบีบนวดมือซ้ายให้หายเจ็บ :b49: :b50: :b51:

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า มือขวาไม่เห็นว่ามือซ้ายเป็นอื่น .. มือซ้ายก็ไม่เห็นว่ามือขวาเป็นอื่น .. มือขวาจึงเมตตากรุณาต่อมือซ้าย และมือซ้ายจึงเมตตากรุณาต่อมือขวา เพราะต่างเห็นว่า เป็นองค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีแบ่งแยกเราเขาออกจากกัน :b46: :b39: :b46:

จึงมีเมตตากรุณาให้แก่กันอย่างไม่มีประมาณ ..
:b48: :b47: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น โพธิจิตที่แท้ ในท้ายที่สุดแล้ว ก็จะนำพาไปสู่ความมีเมตตากรุณาอย่างหาประมาณ อย่างหาที่สุดมิได้ :b41: :b41: :b41:

ซึ่งก็คือการพัฒนาขึ้นไปจากจิตธรรมดา จนเป็นจิตของพระโพธิสัตว์ ที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังมืดบอด ให้รอดตามไปด้วยให้ได้มากที่สุด อย่างไม่มีอคติ .. ไม่มีเงื่อนไข .. ไม่มีประมาณนะครับ :b46: :b39: :b46:

แล้วด้วยการที่เหล่าสรรพสัตว์ มีจิตใจของพระโพธิสัตว์ หรือใกล้เคียงพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นมากเท่าไหร่ โลกนี้ก็จะลดการแบ่งแยกเราเขา ลดความขัดแย้งทางสีผิว เชื้อชาติ หรือความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนาที่แตกต่างลงไปได้ :b46: :b39: :b46:

อีกทั้งยังลดความขัดแย้งกับธรรม หรือธรรมชาติทั้งหลายที่ทางคติตะวันตกพยายามจะเอาชนะ เนื่องเพราะจิตของพระโพธิสัตว์ จะทำให้เหล่าสรรพสัตว์ อยู่ร่วมกันกับสรรพสิ่ง ด้วยความไม่เบียดเบียนกัน ด้วยความเมตตากรุณาแก่กันอย่างไม่มีประมาณ :b46: :b39: :b46:

ด้วยเหตุดังนี้ ทุกสรรพสิ่งก็จะเป็นอยู่ด้วยความประสานกลมกลืนไปกับธรรม (living in peaceful harmony .. with all beings and nature)
:b8: :b46: :b39:

และนี่คือหลักการปฎิบัติที่เป็นแก่นของพุทธมหายาน ซึ่งสามารถสรุปตามที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วในตอนต้นก็คือ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2015, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสติและสมาธิ เพื่อความสงบสุขและพิจารณาสภาวธรรม จนสัมผัสรู้ได้ถึงสภาวะของการเป็นดั่งกันและกัน (inter-dependence, inter-beings) ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (One is All .. All is One) ของธรรมทั้งหลาย :b8: :b46: :b39:

ซึ่งก็คือสภาวะของความเชื่อมโยง เป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่งทั้งปวง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมชาติ ภายใต้กระแสแห่งเหตุปัจจัย ว่างจากตัวตนที่เที่ยงแท้ทั้งหลาย เพื่อตัดตรงเข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ของจิต (ที่ถูกอวิชชาปิดบังไว้) และเป็นสภาวะเดิมแท้ของธรรมทั้งหลายทั้งปวง :b8: :b46: :b39:

.. อันได้แก่สภาวะแห่งอนัตตาหรือศูนยตา (ความว่างจากอัตตาตัวตน), อิทัปปัจจยตา (ความเป็นไปตามสัมพันธ์แห่งกระแสของเหตุปัจจัย), และตถตา (ความเป็นเช่นนั้นเอง) :b8: :b46: :b39:

จนแจ้งในธรรมอีกด้านหนึ่ง คือธรรมที่ไม่เนื่องด้วยเหตุปัจจัย (นิพพาน) :b8: :b46: :b39:

โดยเมื่อจิต เริ่มสามารถที่จะสัมผัสได้ถึงสภาวะของความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งปวงแล้ว จิตก็จะค่อยๆเต็มเปี่ยมไปด้วยความอ่อนโยนทางปัญญาแห่งความเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต ต่อทุกสรรพสิ่ง เพราะเห็นแล้วว่าทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่ง ต่างเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน :b8: :b46: :b39:

และด้วยพื้นฐานอันควรค่าแก่การงานดังกล่าว ผู้ปฏิบัติ ก็จะเอาความรู้แจ้งที่พร้อมด้วยกรุณาปัญญาแล้วนั้น ออกมาช่วยเหลือสังคมและหมู่มวลสรรพสัตว์ รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งความงดงามแห่งธรรมชาติทั้งหลาย :b8: :b46: :b39:

เป็นการทำพุทธศาสนาให้มีชีวิต (engaged buddhism) เพื่อที่จะสร้างศานติสุขให้เกิดขึ้นในโลก :b8: :b46: :b39:

ดังคำกล่าวของพ่อแม่ครูอาจารย์สายมหายานและวัชรยานที่ว่า ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2015, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา คือ พ่อ .. เมตตากรุณา คือ แม่ ..

โดยความรักของพ่อและแม่ .. บุคคลก็จะบรรลุความเป็นพุทธะโดยสมบูรณ์

ปัญญาที่ปราศจากความศรัทธา .. ความรู้ที่ปราศจากความรัก .. เหตุผลที่ปราศจากความกรุณา .. นำไปสู่ความสูญเปล่า

ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผล .. ความรักที่ปราศจากความรู้ .. ความกรุณาที่ปราศจากปัญญา .. นำไปสู่ความยุ่งยาก เสื่อมสลาย

แต่ในที่ใดที่ปัญญา .. กรุณา .. และความรักอันลึกซึ้งรวมตัวกัน .. ในที่นั้นย่อมมีความสมบูรณ์ และบรรลุการตรัสรู้อันสูงสุด


Venerable Khenpo Sonam Rinpoche

แล้วมาลงรายละเอียดของภาคปฏิบัติกันในคราวหน้า ว่าจะฝึกสติและสมาธิอย่างไรให้เกิดปัญญา เพื่อเข้าถึงสภาวะดังกล่าวตามแนวทางของมหายาน โดยที่ไม่ใช่เป็นการมองโลกสวย แต่เป็นการมองโลกตามที่เป็นจริง ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติต่อโลกให้ตรง และถูกต้องตามธรรม เพื่อให้ความเจริญงอกงามแห่งธรรมนั้น ได้แผ่ขยาย ได้แพร่ขจายออกไปอีกอย่างกว้างขวางนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2015, 12:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นทุกขสัจจะ เมื่อรู้เท่าทันปรากฏการณ์ของรูปนาม จนปรากกสภาวะเกิดดับ จึงปลดปล่อยพลังงาน(ทุกขัง) และว่างชั่วขณะ(อนัตตา) ภาวะของอนัตตานี้ อาจจัดได้ว่าเป็นภาวะสุญญตาเทียม เนื่องจากยังไม่เข้าถึงมรรคญาณ สำหรับผู้เข้าถึงมรรคญาณครั้งแรก ก็จะพบสุญญตา เพียงชั่วขณะเร็วเพียงฟ้าเล็บ ที่ยังไม่สามารถดำรงได้นานเกิดจากกำลังของสมาธิที่ไม่สามารถดำรงความเป็นอัปปนาสมาธิได้ ประกอบกับมรรคเบื้องต้นกำลังของกิเลส ยังมีกำลังอยู่มาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2015, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




here and now.jpg
here and now.jpg [ 187.21 KiB | เปิดดู 4876 ครั้ง ]
.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2015, 11:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จุดกำเนิดของรูปธรรม ในจักรวาล เกิดจากความแตกต่างของภาวะ 2 ส่วน คือการรวมตัวกับการกระจายตัว การรวมตัวเป็นลักษณะพื้นฐานของสรรพสิ่งคือธาตุที่มีประจุบวกและลบ การดึงดูดของประจุที่ต่างกันเกิดการรวมตัวเป็นเครือข่าย เกาะกุมเกิดเป็นมวลหนาแน่นขึ้น โดยอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกขณะ ผ่านกาลอันยาวนานจนถึงจุดหนึ่งก็เกิดแรงดันแตกกระจายออกไป เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด

จุดกำเนิดของนามธรรม ก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกับรูปธรรม เกิดจากความแตกต่างของภาวะ 2 ส่วน คือ ความยึดถือและการปล่อยวาง(เปลี่ยนเรื่องที่ยึด) สำหรับความหมายของการปล่อยวางในที่นี้ ไม่ใช่ผลของการปล่อยวางจากสติ แต่เป็นลักษณะธรรมชาติของจิตที่รับอารมณ์ใหม่อยู่เสมอ ความยึดถือและการปล่อยวางนี้ อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกขณะ เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด

การจะหลุดจากภาวะ 2ส่วน ของนามนี้ทำได้ 2 แนวทาง คือ มีสติรู้ในภาวะของรูปนาม กับอีกวิธีคืออยู่ท่ามกลางระหว่างภาวะคู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้มีสมาธิมาก เช่น ปัจจวัคคีย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2015, 14:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


กลุ่มผู้ปฏิบัติที่จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม จึงมีแนวแนวทางปฏิบัติ ให้ถึงความพ้นทุกข์ที่แตกต่างกันคือ
1.วิปัสสนายานิก (ปัญญานำสมาธิ)ใช้แนวทางสติปัฏฐาน 4
2.สมถยานิก (สมาธินำปัญญญาหรือบำเพ็ญสมาธิมามากกว่าปัญญา) ใช้แนวทางการไม่ติดใน 2 ส่วน
สำหรับสัดส่วนจำนวนผู้ปฏิบัติของกลุ่ม พบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ปฏิบัติเป็นสมถยานิก ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจกลุ่มผู้ปฏิบัติสมถยานิก

สมาธิมากกว่าปัญญา(สัมปชัญญะ) ยากต่อการบรรลุธรรม แต่หากพบทางเข้าถึงกระแสพระนิพานแล้ว จะใกล้นิพพานอย่างยิ่ง
เหตุของสมาธิมาก
1.เป็นผู้ชอบความสงบ สันโดษ
2.เป็นผู้จดจ่อในเรื่องที่กระทำ
3.เป็นผู้มีความเพียรสูง
อุปสรรคของผู้มีสมาธิมาก
1.ไม่ใส่ใจต่อสภาพธรรมตามธรรมชาติ ใส่ใจเฉพาะสิ่งที่จะกระทำ จึงรู้ความจริงไม่รอบด้าน ไม่เป็นปัจจุบัน
2.มีความมุ่งมั่นสูง เป็นเหตุให้เกิดความยึดถือเหนียวแน่น
3.ทำให้เกิดสภาพทุกข์ต่อร่างกายและจิตใจ เกิดจากการทรมานตน
4.พยายามมาก หวังผลมาก(โลภะ) เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวัง จึงขุ่นของใจ(โทสะ) ดังนั้นยิ่งปฏิบัติมากกิเลสจึงมากเป็นเงาตามตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2015, 17:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2015, 10:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


5.ผลจากข้อ1 การใส่ใจเฉพาะสิ่งที่จะทำ หรือสิ่งที่สนใจ เช่น การรู้ลมหายใจเข้าออก จากการรู้ดูเสมือนเป็นการตามรู้ลม แต่ความจริง เป็นการบังคับลม ถ้าหากเป็นการตามรู้ลมโดยไม่บังคับลม จะพบว่าจิตรู้จะเคลื่อนออกจากลม โดยมีความนึกคิดผุดออกมา ซึ่งเป็นการระบายสิ่งที่เราสะสมไว้ (ดีทอกซ์) แต่เรามักเข้าใจผิดว่าความคิดแทรกเข้ามา เป็นการหลุดออกจากสมาธิ โดยเฉพาะผู้สอนกรรมฐานที่บอกว่าอย่าวอกแวก ให้อยู่กับลม ทำให้ผู้ปฏิบัติปฏิเสธความคิด(เป็นผลให้เกิดโทมนัส) ตั้งใจกลับไปรู้ลม(เป็นผลให้เกิดอภิชชา) ทำให้เกิดความชา มึนงง ปวดศีรษะ (อดีนารีนหลั่งออกมา) ซึ่งแท้จริงแล้วมัชฌิมาปฏิปทา คือดำรงจิตไม่ให้เกิดอภิชชาและโทมนัส

การพยายามอยู่กับลม(บังคับลม) เช่นนี้ เป็นการผนวกลมกับตัวรู้ ซึ่งส่วนที่เป็นต้วรู้ประกอบด้วยจิตและเจตสิก(เวทนา สัญญา สังขาร) ก็จะผนวกเข้าด้วยกัน เป็นการปฏิบัติที่สวนทางกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ปฏิบัติเพื่อแยกรูปแยกนาม และต่อมาแยกนามคือแยกจิตกับเจตสิก เป็น 1(นามรูปปริเฉทญาณ) ในวิปัสสนาญาณ 9


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2015, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแก้ไขครับ
นามรูปปริเฉทญาณ เป็นญาณ 1 ในญาณ16


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 66, 67, 68, 69, 70, 71, 72 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร