วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 23:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 15:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอความรู้หน่อย ที่สภาวธรรมและความเป็นปกติอยู่ดี นั้นเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร แล้วอาการอย่างไรจึงเรียกว่าปกติ

smiley
สภาวธรรม คือสิ่งที่เกิดขึ้นในกายหรือจิต อย่างเช่น ความร้อน หนาว สุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ความหนัก เบา แข็ง อ่อน อธิบายไม่ได้แต่สัมผัสรู้ได้ที่ใจ คนที่เคยสัมผัสสภาวธรรมอย่างเดียวกันมาแล้วย่อมรู้และเข้าใจ แต่คนที่เคยสัมผัสสภาวธรรมนั้นๆไม่สามารถบอกให้คนไม่เคยสัมผัสสภาวธรรมนั้นรู้ได้แต่บอกวิธีที่จะได้สัมผัสสภาวธรรมนั้นๆได้
ตัวอย่างเช่นฝรั่งที่ไม่เคยรู้ความหมายของคำว่า เค็ม คนไทยจะอธิบายความเค็มยังไงให้ฝรั่งนั้นรู้ก็ไม่ได้ แต่อาจบอกวิธีสัมผัสความเค็มได้โดยอาจบอกให้ฝรั่งนั้นเอาเกลือมาแตะลิ้น

คำว่าปกติ นั้นได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น ว่ามีปกติของสามัญชน ไม่ประกอบด้วยศีล กับ ปกติของผู้ทรงศีล

สภาวปกติของผู้ทรงศีลนั้นคือสภาวะที่ไร้ปฏิกิริยาไปชั่วคราวหรือถาวร ธรรมชาติทุกอย่างอยู่ตามที่ของมันไม่เกี่ยวข้องกัน ต้องสัมผัสสภาวจริงแล้วจึงจะเข้าใจ
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 15:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


อาการหลงนั้นคือ ความเห็น เช่น เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา

มีอาการของผลกระทบ เพราะเหตุที่เกิดจากหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตัญหาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง

แนวทางที่จะสังเกตุอาการหลงได้คือวิปัสสนาภาวนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 16:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอความรู้หน่อย ที่สภาวธรรมและความเป็นปกติอยู่ดี นั้นเป็นอย่างไร มีอาการอย่างไร แล้วอาการอย่างไรจึงเรียกว่าปกติ


:b1: ... แปลกดีแฮะ

วันนี้ ตอนสาย ๆ เอกอนได้ยินคำถามนี้ผุดขึ้นมาในหัว
...
และเอกอนก็เลยได้ตรึกคำตอบนี้ไว้ในใจ... :b1: ...บังเอิญเน๊อะ

คือ...สิ่งต่าง ๆ ล้วนมีปกติที่ต่างกันไปตามปัจจัย

ปกติของ รูปนาม
ปกติของ อายตนะ
ปกติของ ขันธ์
ปกติของ อารมณ์
ปกติของ ตัณหา
ปกติเกิด-ดับ
ปกติ ไม่เกิด-ไม่ดับ... :b1:

ปกติของ จิตที่ประกอบด้วย วิชชา ก็จะแสดงออกมาอย่างหนึ่ง
และปกติของ จิตที่ประกอบด้วย อวิชชา ก็จะแสดงออกมาอีกอย่างหนึ่ง

:b1:

ตราบเท่าที่ยังมีการปฏิบัติใดเพื่อความเป็นปกติ นั่นแสดง....ปกติที่ทะยานปราถนา :b1:
ตราบเท่าที่ยังมีการพยายามรักษาอารมณ์อันเราคิดว่าเป็นปกตินั้นไว้
นั่นแสดงถึง... ปกติที่ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ปล่อยวาง :b1:

หากเมื่อเข้าใจในเรื่องของปัจจัย จิตย่อมลาดไปสู่การปล่อยวางเป็นปกติ
และย่อมลาดไปสู่การปล่อยวางความปกติด้วย

เพราะ ธรรมที่แสดงความเป็นปกติ หรือ ไม่ปกตินั้น ก็ล้วนแต่ตั้งอยู่ในความเป็น อนัตตา...

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 02 ต.ค. 2014, 22:27, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 17:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


และก็แปลกที่ เอกอนก็ได้ยินคำถามนี้ผุดขึ้นในหัวเช่นกัน...

:b1: :b1: :b1:

และเอกอนก็ตรึกคำตอบนี้...ว่า...

:b1: ...

ก็ประหนึ่งเหมือนต้นไม้กะผืนดิน

มนุษย์ เทวดา ยักษ์ ... พรหม หลงในรูป-นาม หลงในภพ ...
ซึ่งเมื่อหลงแล้วก็ยาก หรือ ไม่อาจจะรู้เท่าทัน จึงต่างยังคงติดอยู่ในภพภูมิ :b1:

สิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง ก็ตัณหา สังโยชน์

ส่วนการสังเกต ผู้หลงย่อมไม่อาจจะสังเกตความหลงได้ เพราะมันเป็นการเข้าไปตั้งอาศัย
คลุกเคล้ากันอยู่
แต่ผู้หลง สามารถที่จะพิจารณา รูป-นาม และภพที่รูปนามนั้นเข้าไปตั้งอยู่ได้
... :b1: ...
ซึ่งการเพียรกระทำการพิจารณาธรรม...ดังกล่าว...
ทำให้จิตมีแนวโน้มไม่คล้อยไปตามอารมณ์เดิม ๆ...
เมื่อจิตไม่เข้าไปตั้งอยู่ได้ด้วยดีในอารมณ์เดิม ๆ ผู้เฝ้าเพียรอยู่ย่อมเห็นการถอดถอนได้ในที่สุด
เพราะ ธรรมที่มีปรากฎเกิด ย่อมมีปรากฎดับเป็นธรรมดา
ซึ่งก็เป็นไปด้วยเหตุปัจจัย

...
เมื่อผู้เพียรพิจารณาอยู่ ย่อมเห็นรูปแบบแห่งการ
การหย่อนลงของเมล็ดพันธ์สู่ดิน
การเลี้ยง บำรุงดูแล ให้น้ำให้อาหาร พรวนดิน จนเป็นต้นไม้
และ...สุดท้าย
คือการดึงถอนต้นไม้นั้น จากดิน
...
ผู้เพียรเมื่อเฝ้าพิจารณาอยู่ เมื่อเห็นธรรมตามนั้น
ย่อม...เข้าใจซึ่งความหลง เหตุแห่งความหลง และการถอดถอนซึ่งความหลง

...

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 22:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หามาฝากครับ...
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 051&Z=2118

ขอให้เจริญในธรรม...ครับ

อ้างคำพูด:
[๑๘๒] ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระโยคาว-
*จรมนสิการโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อม
เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข
จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความ
เป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความ
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
มนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยความ
เป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ เมื่อมนสิการ
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยความ
ไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อ
เบื่อหน่ายย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
ธรรมมีความปราโมทย์เป็นเบื้องต้น ๙ ประการนี้ ฯ
[๑๘๓] ธรรมมีโยนิโสมนนิการเป็นเบื้องต้น ๙ ประการ เมื่อพระ
โยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความไม่เที่ยง ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปิติ เมื่อใจมีปิติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมได้เสวยความสุข ผู้มีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เมื่อพระโยคาวจรมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นทุกข์ ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ... เมื่อมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิด
ปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นทุกข์
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการรูปโดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นอนัตตา
ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ โดยอุบายอันแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย โดยความ
เป็นทุกข์ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยอุบายอันแยบคาย
โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อถึงความปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบย่อมได้เสวยสุข ผู้มีความสุข จิตย่อม
ตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงด้วยจิตอันตั้งมั่นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมีโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น ๙
ประการนี้ ฯ
[๑๘๔] ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่ง
ธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น ความต่างแห่ง
สัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่ง
สัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความ
ต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหา
อาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัย
ความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ


ไม่คิดว่าจะหามาได้..นะเนี้ย
ขอบคุณ...กูลเกิล...อิอิ
:b9: :b9: :b9:


นาน ๆ จะเห็นอ๊บซหยิบยกธรรมงาม ๆ มาฝากเพื่อน ๆ สักที

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2014, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


:b8: คุณtoy1

ความเศร้าหมอง ความกระวนกระวาย ความเป็นทุกข์ นี่เป็นอาการของความหลงที่พอจะสังเกตได้ครับ

ส่วนสิ่งที่ทำให้เกิดการหลงคือ อาสวะ ครับ

ผู้ที่ยังละอาสวะเหล่านั้นไม่ได้ พระพุทธองค์เรียกว่า ผู้หลง
ผู้ที่ละอาสวะเหล่านั้นได้แล้ว พระพุทธองค์เรียกว่า ผู้ไม่หลง

:b8:

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


เราๆที่ใช้กันอยู่นี่แหละ เช่น หลงรัก หลงเกลียด หลงโกรธ หลงอยากได้
หลงดีใจ หลงเพลิดเพลิน หลงเป็นทุกข์ หลงว่าเป็นจริง หลงผิด หลงกิน เป็นต้น

คำว่า "หลง" องค์ธรรม คือ ตัวโมหะ หรืออวิชชา
เป็นความไม่รู้ที่ทำให้การกระทำทางกาย วาจา ใจ ที่เป็นไปในทางอกุศล ที่เรียกว่าอกุศลกรรม

เราจะสังเกตุได้จาก การพูด การคิด การกระทำ ที่มันไม่ตรงกับความเป็นจริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 11:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็นครับ เราเองมักได้ยินได้ฟังเรื่องโลภ โกรธ หลงบ่อยๆ พูดได้บ่อยๆ ว่าหลงรัก หลงเกลียด หลงอยากได้ หลงดีใจ หลงเพลิดเพลิง หลงทุกข์ หลงว่าเป็นจริง หลงผิด หลงกิน เป็นต้นเหมือนอย่างลุงหมานว่า แล้วอยากถามว่าความหลงนี้มันเป็นกรรมหรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อยากถามเรื่องสภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นไปอย่างไร มีอาการเช่นไร อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร


"สภาวะที่เรียกว่าหลงนั้นเป็นอย่างไร"

ก็เหมือนมีของอย่างหนึ่ง มันมีรูปพรรณสันฐานแบบหนึ่ง แต่เราดันมองมันว่าเป็นอีกแบบหนึ่ง แบบนี้ก็คือหลง

"มีอาการเช่นไร"

ก็ออกจะเหมือนคนมึนๆ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแน่ ความจริงไปทางนึง แต่ความคิดคำพูดการกระทำไปอีกทางนึง แบบนี้น่ะครับ

"อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการหลง"

หลงไปในเรื่องไหน ก็คือเข้าใจผิดในเรื่องนั้นครับ เข้าใจผิดเรื่องไหน ก็เพราะไม่รู้จักเรื่องนั้นละเอียดถี่ถ้วนพอครับ ดังนั้นสิ่งที่ทำให้หลงคือ "ความไม่รู้"

"เรามีแนวทางพอสังเกตอาการของความหลงได้อย่างไร"

อันนี้ต้องแบ่งเป็นสองกรณีครับ ถ้าคนที่ไม่หลงมองคนหลงก็จะมองออกง่ายๆ เพราะเขาผ่านมาก่อนแล้ว รู้จักเรื่องนั้นๆที่อีกคนหลงไปดีแล้ว

แต่ถ้าถามว่าคนที่หลงอยู่ จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังหลง แบบนี้พูดยากครับ คนหลงไม่รู้ คนรู้ไม่หลง

ไม่ใช่คนหลงทุกคนจะรู้ตัวได้หรอกครับว่าตัวเองหลงอยู่

คนหลงที่มีคุณสมบัติพิเศษบางคนเท่านั้นที่เมื่อเจอปัจจัยกระตุ้นที่เหมาะสม จะเกิดความเอะใจขึ้นมาได้ว่าเอ๊ะ ตกลงเราหลงหรือเรารู้กันแน่เนี่ย

คุณสมบัติพิเศษก็เช่น การเป็นคนซื่อตรงต่อความรู้สึกตัวเอง การมีจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับสิ่งใหม่ๆ แม้จะขัดใจตัวเอง การต้องการพัฒนาตัวเอง การเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย การเป็นคนมีเหตุมีผล การเชื่อในศักยภาพของตัวเอง ความพากเพียรไม่ยอมแพ้ การยอมรับได้ว่าตัวเองอาจจะผิด เป็นต้น

ปัจจัยกระตุ้นก็เช่น วันดีคืนดีไปได้ยินใครพูดเรื่องบางเรื่อง หรืออ่านหนังสือบางเล่ม หรือเจอเรื่องราวบางอย่างที่บีบคั้น หรือกระตุ้นใจให้คิด เกิดอาการ "เอ๊ะ" ขึ้นมา

สรุปว่า ถ้าเราหลงอยู่ เราไม่รู้ตัวหรอกครับว่าเราหลง

อาการของความหลง จริงๆดูง่ายนะ ทำ คิด หรือพูดอะไรที่ขัดความจริงคืออาการชัดมากของความหลงอยู่ในตัวอยู่แล้ว

แต่มันลำบากตรงที่ คนหลง จะคิดว่าสิ่งที่ตัวเองรู้เป็นความจริง โดยไม่เคยถามตัวเองเลย ว่าจริงๆแล้ว ความเชื่อในหัวมันมาจากความเป็นจริงหรือเปล่า

ประเด็นคือ เราสามารถเอาความคิดในหัวมาเทียบกับความจริงได้ไหมล่ะ ว่าอะไรจริงกันแน่

ใครทำไม่ได้ ก็หลงต่อไป

ใครทำได้ ก็อาจจะเริ่มรู้ตัวว่าหลง

แต่จากนี้ก็ยังมีงานอีกเยอะเลยนะ กว่าจะหายหลงได้จริงๆ

:)

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อคิดเห็นครับ เราเองมักได้ยินได้ฟังเรื่องโลภ โกรธ หลงบ่อยๆ พูดได้บ่อยๆ ว่าหลงรัก หลงเกลียด หลงอยากได้ หลงดีใจ หลงเพลิดเพลิง หลงทุกข์ หลงว่าเป็นจริง หลงผิด หลงกิน เป็นต้นเหมือนอย่างลุงหมานว่า แล้วอยากถามว่าความหลงนี้มันเป็นกรรมหรือไม่


ตัวหลงนั้น ได้แก่ "โมหะ" หรือ "อวิชชา"
ตัวหลงเป็น"เหตุ"ครับ ตัวกรรมนั้นได้แก่ตัว"เจตนา"

พุทธศาสนสุภาษิตว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "เจตนานั่นแหละเป็นกรรม"
อันมาจากพุทธพจน์ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"
แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว
บุคคลย่อมกระทำกรรมโดย ทางกาย วาจา ใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 21:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับลุงหมาน ขอถามต่อคือเรื่องของอุปาทานที่เราหลงเข้าไปยึดถือ เช่นทิฐิความคิดเห็นที่เกิดในตน เรื่องของสัญญาอดีตบ้างเช่นคนนี้เคยทำไม่ดีกับเรา เราก็นึกโกรธ นึกเกลียด ไม่ชอบใจ นึกตำหนิติเตียน เราควรทำอย่างไรเพื่อละอุปาทานความยึดถือในเรื่องเหล่านี้ที่เกิดในตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2014, 21:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะ....หายไป

s002 s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
ขอบคุณครับลุงหมาน ขอถามต่อคือเรื่องของอุปาทานที่เราหลงเข้าไปยึดถือ เช่นทิฐิความคิดเห็นที่เกิดในตน เรื่องของสัญญาอดีตบ้างเช่นคนนี้เคยทำไม่ดีกับเรา เราก็นึกโกรธ นึกเกลียด ไม่ชอบใจ นึกตำหนิติเตียน เราควรทำอย่างไรเพื่อละอุปาทานความยึดถือในเรื่องเหล่านี้ที่เกิดในตน

คำว่า "อุปาทาน" คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น
ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ คือ ร่างกาย และจิตใจรวมกันว่าเป็น"ตัวตน" และยึดมั่น
ถือมั่นในสิ่งที่ถูกใจ อันมาเกี่ยวข้องด้วยว่าเป็น"ของตน" เช่น
รูปมากระทบตา ก็ยึดมั่นถือมั่นว่า"เรา"เห็น
เสียงที่มากระทบกับหูก็ยึดมั่นถือว่า "เรา" ได้ยิน

ความจริงนั้น รูปก็อย่างหนึ่ง ตาก็อย่างหนึ่ง ตัวรู้รูปก็อย่างหนึ่ง
รูปก็ไม่ใช่เรา ตาก็ไม่ใช่เรา ตัวรู้รูป(เห็น)ก็ไม่ใช่เรา ทั้ง ๓ มาประชุมพร้อมกัน
จึงมี(ทิฎฐิ)ความเห็นผิดว่าเราเห็น

เสียงก็เช่นเดียว เสียงก็อย่างหนึ่ง หูก็อย่างหนึ่ง ตัวได้ยินก็อย่างหนึ่ง เมื่อมาประชุมพร้อมกัน
จึงมีความเห็นผิดยึดถือว่าเราได้ยินเสียง ในทวารทั้ง ๖ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

คำว่าอุปาทานนั้นยังแบ่งได้ ๔ คือ

๑. กามุปาทาน ยึดติดในกาม (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์)
๒. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
๓. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
๔. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวเอง ของตัวเอง

พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ขันธ์ ๕ ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"

ดังนั้น ขันธ์ ๕ ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่
ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า"ตัวเรา" ว่า"ของเรา"นี้โดยตรง
ดังมีพุทธภาษิตว่า "คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2014, 07:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงที่มากระทบกับหูก็ยึดมั่นถือว่า "เรา" ได้ยิน
เสียง หู โสตวิญญาณ ที่ประกอบขึ้นมาสื่อให้ตัวเรารับรู้ มีอารมณ์คอยปรุงแต่งจิตให้ยินดีพอใจหรือไม่พอใจในเสียง เหมือนในชีวิตประจำวันที่เราใช้อยู่พอใครมาด่าว่าเรา ก็มีอารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นมา มีอารมณ์หงุดหงุดบ้าง อารมณ์โมโหบ้าง.....แสดงออกทางหน้าตา....อารมณ์ที่ก่อตัวขึ้นมานี้บางครั้งก็ยังพอขันติอดทนต่ออารมณ์ได้ แต่พอเจอบ่อยๆ บางครั้งก็ตบะแตก เสียจริต ยอมไม่ได้ละไม่ได้ จึงต้องทำไปตามอารมณ์ที่สั่งให้มีกายกรรมวจีกรรมเช่นข่มเหงเขา ดูถูกเขา เหยีอดหยามเขา เฉือดเฉือนเขา ทำให้เขาเดือดร้อนทุกข์เพราะเราไม่ปกติวิปริตไปตามอารมณ์ จนเป็นผู้ขาดเหตุผลเหมือนคนไม่รู้จักกรรมดีกรรมชั่ว แต่ก็ยังหลงตัวเองว่าดีแล้วทำดีแล้ว แล้วเราจะเดินไปตามทางสายกลางที่ไม่เบียดเบียดตนเองไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ก่อทุกข์ให้กับตนเองไม่ก่อทุกข์ไห้กับผู้อื่นได้อย่างไร ควรจะจัดการบริหารอย่างไรในสิ่งที่เผชิญในชีวิตอันน้อยนิด

แล้วเราควรฝึกฝนตัวเราอย่างไร เพราะขณะเสียงกระทบหูสื่อเข้ามาทางโสตวฺิญญาณนั้นมันรวดเร็ว อารมณ์ก็มาเร็วเหมือนกัน เหมือนกระแสไฟฟ้ากระตุกให้กายนี้ขันธ์ห้านี้มีทิฐิความคิดเห็นเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ จนดูเหมือนเป็นธรรมชาตินิสัยสันดานสัญชาตญาณที่ตนเองเคยกระทำ จนไม่มีสติระลีกรู้เพื่อแก้ไขพิจารณาปรับปรุงตนเองเพื่อกระทำในสิ่งที่เป็นคุณ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร