วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อโศกะครับ.....ช่วยผมหน่อย

คือ....ผมศึกษาอริยะสัจ4......มี..ทุกข์...ท่านให้กำหนดรู้...
ผมก็รำพึงไปในอดีตว่า....เป็นเด็กก็ทุกข์ที่ต้องรำเรียนเพื่อการมีอาชีพเลี้ยงชีวิต..อยากเป็นผู้ใหญ่จะได้ไม่มีใครว่า...ชีวิตที่ผ่านมาบางอย่างอยากได้..ก็ไม่ได้....ไม่อยากได้กลับได้....เป็นต้น....

หากผมทำอยากนี้..เข้าข่าย...ตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย.เป็นการไปในอดีต..ที่ไม่ควร...น่าที่อโศกะ..ว่ามาหรือไม่?

ในทำนองเดียวกัน.....เห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วยในโรงพยาบาล...เห็นคนแก่หงกๆเงิ้นๆ....เห็นแล้วรู้สึกว่าเราก็คงจะประสพกับความทุกข์เช่นนี้...เช่นกัน...เป็นต้น

อย่างนี้...จะเข้าข่ายการคิดพะวงล่วงหน้า....อย่างที่อโศกะว่า....ไม่ควร...หรือไม่?

:b8:
[color=#000080][i]ที่ยกมาถามเป็นทุกข์นอก เป็นทุกข์ในอดีตและคาดว่าจะเกิดอนาคต ไม่ควรตามคิด ไม่พึงพะวงเพราะแก้ไขอะไรไม่ได้ ไม่เอื้อต่อการค้นพบสมุทัย ถ้าจะได้ก็แค่ความคิดคำนึงรู้ถึงทุกข์ระดับผิวๆ ระดับคาดเดา

ที่ท่านให้พอกพูนการเห็นธรรมเฉพาะหน้าหรือเห็นทุกข์เฉพาะหน้าเพราะมันเป็นปัจจุบันอารมณ์อันสามารถแก้ไขได้ เพราะถ้าเรามีความสังเกตดีพอเราจะได้เห็นหรือค้นพบตัวสมุทัยเหตุทุกข์ที่กำลังแสดงปฏิกิริยาให้เกิดปัจจุบันทุกข์นั้นอยู่

ที่ท่านสอนว่า "ทุกข์ควรกำหนดรู้นั้นก็เพราะมันเป็นเหตุที่จะได้เห็นสมุทัยเหตุทุกข์



ทุกขืพึงกำหนดรู้....อันนี้อโศกะก็เห็นด้วยใช่มั้ยครับ?

แล้วอโศกะ...กำหนดรู้ทุกข์อย่างไรครับ?
อะไรคือทุกข์ของอโศกะเห็น?....

อโศกะเห็นทุกข์แล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง?

smiley
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำสรุปของพระศาสดาที่ว่า "ทุกข์ควรกำหนดรู้"เท่านั้น ไม่ใช่ทุกข์ควรเข้าไปแก้ไขอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ เพราะทุกข์มันเป็นผล ไม่ใช่เหตุ

ผมกำหนดรู้ทุกข์ด้วยการ "นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า" เพื่อจะได้สังเกตและค้นหาว่า เหตุของทุกข์มันเริ่มมาจากไหน จะได้เข้าไปแก้ไขตรงเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง

ผมเห็นทุกข์แล้วรู้สึกว่ามันเป็นวิบากของกรรมอดีตของเราที่จำต้องแบกรับหนีหรือเอาทิ้งไม่ได้ ต้องยอมรับไปจนกว่าจะหมดกำลังของเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์ก้อนยั้นั้นๆ

ถ้าเราสามารถอดทน นิ่งรู้นิ่งสังเกตทุกข์นั้นไปจนตลอดสายจนมันหมดกำลังดับไปต่อหน้าต่อตา ทุกข์อย่างนั้นจะไม่มาเกิดให้เราทุกข์ได้อีกเพราะรู้จักมันดีหมดเสียแล้ว หลอกให้เห็นผิดยึดผิดไม่ได้แล้ว
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2014, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


เอาเรื่องของพระมหาวีระหัวหน้านิคฤนมาถามทำไม คำสอนของท่านก็ดีอยู่แต่เกินธรรมดาไปนิดหนึ่งตรงที่เปลือย

กรัชกายจะแตกประเด็นย่อยออกไปตามนิสัยที่เคยชินอีกแล้วหรือ มีเรื่องที่โยงถึงปฏิจจสมุปบาทตามธรรม ธรรมภาคปฏิบัติด้วยทำไม่ไม่สนใจซักไซ้ไล่เรียงตรงนั้น น่าจะมีประโยชน์และตรงประเด็น ใกล้ประเด็นของกระทู้มากกว่า แตกประเด็นไปหาท่านหัวหน้าชีเปลือยอย่างนี้ แสดงว่ากรัชกายมองไม่เห็นจริงๆสิ่งที่ดีๆที่พึงเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติจริง


อ้างคำพูด:
เอาเรื่องของพระมหาวีระหัวหน้านิคฤนมาถามทำไม คำสอนของท่านก็ดีอยู่แต่เกินธรรมดาไปนิดหนึ่งตรงที่เปลือย



ที่นำเรื่องนี้มาเพื่อจะโยงถึงคำสอนเรื่องอดีต อนาคตไง ฟังนะ :b1:

ศาสดาของศาสนาเชน (นิครนถ์นาฎบุตร) เป็นศาสนาร่วมสมัยกับพุทธศาสนา

เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากมหาวีระสิ้นชีพแล้วเนี่ยะ ลูกศิษย์ของท่านมหาวีระเกิดทะเลาะวิวาทกันเกี่ยวกับคำสอน

พระจุนทะไปเห็นมา ท่านคำนึงถึงพระศาสนา จึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแลว้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟ้ง และพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เพราะเหตุดังนี้นั่นแล จุนทะ ในธรรมทั้งหลายที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอทั้งหลายทีเดียวพึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมกล่าวให้ลงกัน (สังคายนา) ทั้งอรรถะกับอรรถะ ทั้งพยัญชนะ กับ พยัญชนะ ไม่พึงวิวาทกัน โดยประการที่พรหมจริยะนี้จะยั่งยืน ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เพื่อเกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย

ในเวลาใกล้กันนั้น เมื่อพระสารีบุตรได้รับพุทธดำรัสมอบหมายให้แสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ในที่เฉพาะพระพักตร์ ท่านก็ปรารภเรื่องที่นิครนถนาฎบุตรสิ้นชีพแล้ว ประดานิครนถ์วิวาทกันในเรื่องหลักคำสอน แล้วท่านได้แนะนำให้สังคายนา พร้อมทั้งทำเป็นตัวอย่าง โดยประมวลธรรมมาลำดับแสดงเป็นหมวดหมู่ ตั้งแต่หมวด ๑ ถึง หมวด ๑๐ เทศนาของพระสารีบุตรครั้งนี้ได้ชื่อว่า "สังคีติสูตร" (ที.ปา.11/221/222) เป็นพระสูตรว่าด้วยการสังคายนาที่ทำตั้งแต่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่, เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสังฆเถระ ก็ได้ชักชวนพระอรหันต์ทั้งหลายประชุมกันทำสังคายนาตามหลักการที่กล่าวมานั้น โดยประมวลพระธรรมวินัยทั้งหมดเท่าที่รวบรวมได้วางลงไว้เป็นแบบแผน ตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน


คือทั้งพระจุนทะ ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งพระสารีบุตร และพระเถระอื่นๆ นำอดีต (ปรารภเรื่องมหาวีระสิ้นชีพ แล้ววางแผนเพื่ออนาคตนั่นคือสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัย) อโศกมองออกไหมขอรับ


(พระจุนทะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐิธาตุของพระสารีบุตรจากบ้านเกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน)

:b7:
กรัชกายดันทุรังและใช้เรื่องปัจจุบันอารมณ์ไม่ถูกที่ไม่ถูกธรรม เลยต้องพูดมาก อ้างมากเพื่อสนับสนุนความเห็นผิดยึดผิดของตนว่าถูกต้อง ลึกๆเหมือนพยายามจะเอาชนะให้ได้ด้วยคารมและความกลมกลิ้ง

ปัจจุบันอารมณ์นั้นเพื่อให้เห็นเหตุทุกข์ผลทุกข์เฉพาะหน้าอันสามารถแก้ไขไปได้ด้วยจริงๆคือถอนเหตุทุกข์ออก

ส่วนเรื่อที่กรัชกายก้อปยกมาแปะทั้งหลายนั้นมันไม่ใชเรื่องงานและหน้าที่โดยตรงของกรัชกายที่จะต้องไปสนใจวิตกวิจารณ์

ไฟลุกไหม้อยู่บนหัวของตัวเองยังจะไปขวันขวายดับไฟบนหัวผูอื่นอยู่หรือ ควรรีบทำการดับไฟบนหัวของตัวเองให้เป็นตัวอย่างจริงแก่คนข้างเคียงจะได้บุญเยอะกว่ามั้ง กรัชกาย
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


เอาเรื่องของพระมหาวีระหัวหน้านิคฤนมาถามทำไม คำสอนของท่านก็ดีอยู่แต่เกินธรรมดาไปนิดหนึ่งตรงที่เปลือย

กรัชกายจะแตกประเด็นย่อยออกไปตามนิสัยที่เคยชินอีกแล้วหรือ มีเรื่องที่โยงถึงปฏิจจสมุปบาทตามธรรม ธรรมภาคปฏิบัติด้วยทำไม่ไม่สนใจซักไซ้ไล่เรียงตรงนั้น น่าจะมีประโยชน์และตรงประเด็น ใกล้ประเด็นของกระทู้มากกว่า แตกประเด็นไปหาท่านหัวหน้าชีเปลือยอย่างนี้ แสดงว่ากรัชกายมองไม่เห็นจริงๆสิ่งที่ดีๆที่พึงเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติจริง


อ้างคำพูด:
เอาเรื่องของพระมหาวีระหัวหน้านิคฤนมาถามทำไม คำสอนของท่านก็ดีอยู่แต่เกินธรรมดาไปนิดหนึ่งตรงที่เปลือย



ที่นำเรื่องนี้มาเพื่อจะโยงถึงคำสอนเรื่องอดีต อนาคตไง ฟังนะ :b1:

ศาสดาของศาสนาเชน (นิครนถ์นาฎบุตร) เป็นศาสนาร่วมสมัยกับพุทธศาสนา

เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากมหาวีระสิ้นชีพแล้วเนี่ยะ ลูกศิษย์ของท่านมหาวีระเกิดทะเลาะวิวาทกันเกี่ยวกับคำสอน

พระจุนทะไปเห็นมา ท่านคำนึงถึงพระศาสนา จึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแลว้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟ้ง และพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เพราะเหตุดังนี้นั่นแล จุนทะ ในธรรมทั้งหลายที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เธอทั้งหลายทีเดียวพึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมกล่าวให้ลงกัน (สังคายนา) ทั้งอรรถะกับอรรถะ ทั้งพยัญชนะ กับ พยัญชนะ ไม่พึงวิวาทกัน โดยประการที่พรหมจริยะนี้จะยั่งยืน ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เพื่อเกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย

ในเวลาใกล้กันนั้น เมื่อพระสารีบุตรได้รับพุทธดำรัสมอบหมายให้แสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ในที่เฉพาะพระพักตร์ ท่านก็ปรารภเรื่องที่นิครนถนาฎบุตรสิ้นชีพแล้ว ประดานิครนถ์วิวาทกันในเรื่องหลักคำสอน แล้วท่านได้แนะนำให้สังคายนา พร้อมทั้งทำเป็นตัวอย่าง โดยประมวลธรรมมาลำดับแสดงเป็นหมวดหมู่ ตั้งแต่หมวด ๑ ถึง หมวด ๑๐ เทศนาของพระสารีบุตรครั้งนี้ได้ชื่อว่า "สังคีติสูตร" (ที.ปา.11/221/222) เป็นพระสูตรว่าด้วยการสังคายนาที่ทำตั้งแต่พระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่, เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสังฆเถระ ก็ได้ชักชวนพระอรหันต์ทั้งหลายประชุมกันทำสังคายนาตามหลักการที่กล่าวมานั้น โดยประมวลพระธรรมวินัยทั้งหมดเท่าที่รวบรวมได้วางลงไว้เป็นแบบแผน ตั้งแต่หลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน


คือทั้งพระจุนทะ ทั้งพระพุทธเจ้า ทั้งพระสารีบุตร และพระเถระอื่นๆ นำอดีต (ปรารภเรื่องมหาวีระสิ้นชีพ แล้ววางแผนเพื่ออนาคตนั่นคือสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัย) อโศกมองออกไหมขอรับ


(พระจุนทะ พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐิธาตุของพระสารีบุตรจากบ้านเกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน)

:b7:
กรัชกายดันทุรังและใช้เรื่องปัจจุบันอารมณ์ไม่ถูกที่ไม่ถูกธรรม เลยต้องพูดมาก อ้างมากเพื่อสนับสนุนความเห็นผิดยึดผิดของตนว่าถูกต้อง ลึกๆเหมือนพยายามจะเอาชนะให้ได้ด้วยคารมและความกลมกลิ้ง

ปัจจุบันอารมณ์นั้นเพื่อให้เห็นเหตุทุกข์ผลทุกข์เฉพาะหน้าอันสามารถแก้ไขไปได้ด้วยจริงๆคือถอนเหตุทุกข์ออก

ส่วนเรื่อที่กรัชกายก้อปยกมาแปะทั้งหลายนั้นมันไม่ใชเรื่องงานและหน้าที่โดยตรงของกรัชกายที่จะต้องไปสนใจวิตกวิจารณ์

ไฟลุกไหม้อยู่บนหัวของตัวเองยังจะไปขวันขวายดับไฟบนหัวผูอื่นอยู่หรือ ควรรีบทำการดับไฟบนหัวของตัวเองให้เป็นตัวอย่างจริงแก่คนข้างเคียงจะได้บุญเยอะกว่ามั้ง กรัชกาย
:b34:


อโศกนี่ตัวพ่อเรื่องพูดลดเลี้ยวเคี้ยวคด ตวัดลิ้นไปมาจนเกือบจะถึงใบหูอยู่แล้วเนี่ยะ ก็เรากำลังพูดถึงว่า พระพุทธเจ้าท่านก็สอนทั้งเรื่องอดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่ยกตัวอย่างนั่นมา ก็เพื่อให้อโศกเห็นที่พระพุทธเจ้า พระจุนทะ พระสารีบุตร พระมหากัสสปะ ท่านปรารภเรื่องที่ผ่านมาแล้ว (อดีต) (เรื่องมหาวีระสิ้นชีพแล้วสาวกเค้าทะเลาะกัน) แล้วทำปัจจุบันคือให้ภิกษุสังคายนา (รวบรวมคำสอน) เพื่อที่วันข้างหน้าพุทธสาวกจะได้ไม่ทะเลาะกันเรื่องพุทธธรรม และเพื่อพหูชนคนรุ่นหลัง (อนาคต)

คำว่าปัจจุบันในการปฏิบัติทางจิต ในการปฏิบัติธรรม ในการปฏิบัติกรรมฐาน ... ทางธรรม หมายถึงขณะเดียว ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่ คือมีสติตามทันสิ่งที่รับรู้ เกี่ยวข้อง หรือต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆขณะ

ซึ่งก็พูดแล้วก่อนหน้า แต่อโศกเองเข้าไม่ถึงไม่รู้ไม่เข้าใจเอง แล้วจะโทษใคร นอกจากโทษตัวอโศกเอง จริงไม่จริง :b10: :b32:

ปัจจุบันนั่นนี่ที่อโศกพูดนั่นน่า มันเลื่อนลอยในภาคปฏิบัติการ ก็อย่างที่ยกตัวอย่างบ่อยๆ อโศกเข้าใจธรรมะเหมือนคนวิ่งไล่จับปอบ วิ่งไล่จับความคิด ไล่จับภาพวาดในใจของตัวเอง แล้วก็ร้องปอบๆ แต่อโศกร้องธรรมๆๆ คิกๆ :b9: จริงไม่จริง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 09:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34:
"ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนเขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้"

"สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา"

มันเลื่อนลอยตรงไหน ช่วยวิเคราะห์และจารนัยให้ฟังดีๆหน่อยซิ กรัชกาย อยากเห็นภูมิปัญญาของกรัชกายจริงๆ
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b11:
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆอย่างแจ่มแจ้ง เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา

มันเลื่อนลอยตรงไหน ช่วยวิเคราะห์และจารนัยให้ฟังดีๆหน่อยซิ กรัชกาย อยากเห็นภูมิปัญญาของกรัชกายจริงๆ
s006



อ้างคำพูด:
นิ่งรู้ นิ่งสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา


นั่นคำพูดเอาเต็มๆ

นักปฏิบัติก็นี่เขาเป็นอะไร และจะแก้ไขเพื่อให้เดินหน้าต่อยังไง

คือเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้ประมาณ 2-3 อาทิตย์ได้ค่ะคือไม่ได้นั่งเพื่อให้บรรลุหรือว่าอะไรนะคะคืออยากให้จิตสงบ เท่านั้นแต่ตั้งแต่เมื่อคืนนี้ก็เริ่มได้ยินเสียงเหมือนพระสวดดังที่ข้างหู ตลอดเวลาตอนแรกนึกว่าหูอื้อแต่มันไม่ใช่ค่ะกระทั่งตอนนี้ก็ยังได้ยินอยู่ คืออยากขอคำแนะนำค่ะว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปและเสียงที่ได้ยินอยู่นี่ มันดีหรือไม่ดีคะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 09:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34:
ตอบแล้ว
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b34:
ตอบแล้ว
onion



แนะนำเขาอย่างอโศก เช่น "นิ่งรู้นิ่งนั่นพิจารณานี่ จนไปนั่นมานี่จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา" อะไรก็ว่าไป ไม่มีปัญหา ดังตัวอย่างที่กรัชกายนำมาถามบ่อยๆ เพราะนั่นเขาภาวนาจริงๆ ตรงสู่จิตใจเลย แต่แบบที่อโศกว่า ยังติดคิดเอาเองล่วงหน้า นี่พูดจริงๆนะ :b1: ภาคปฏิบััติ ต้องรู้ตามที่มันเป็น มิใช่ไปคิดให้เป็นแล้วดู ไม่ใช่ๆ ทำแบบนี้ร้อยปีก็ไม่พบสัจธรรมความจริง มีแต่หลอกตนเองไปทุกขณะจิต :b32:

เจริญธรรม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 10:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
บอกสาเหตุและวิธีแก้ไขไปแล้วตั้งหลายครั้งกรัชกายไม่ใส่ใจเอง และไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติด้วย ลองตอบมาเป็นวิธีที่กรัชกายใช้ซิจะวิเคราะห์ให้ว่าใช่หรือไม่ใช่ อย่าตะแบงไปเรื่องอื่นอีก
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1384227744-baby3-o.gif
1384227744-baby3-o.gif [ 465.44 KiB | เปิดดู 1731 ครั้ง ]
asoka เขียน:
s004
บอกสาเหตุและวิธีแก้ไขไปแล้วตั้งหลายครั้งกรัชกายไม่ใส่ใจเอง และไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติด้วย ลองตอบมาเป็นวิธีที่กรัชกายใช้ซิจะวิเคราะห์ให้ว่าใช่หรือไม่ใช่ อย่าตะแบงไปเรื่องอื่นอีก
:b34:


ที่อโศกพูดบอกมาเห็นแล้วเห็นหมดนั่นแหละ :b1:

แต่ที่กรัชกายบอก อโศกไม่เข้าใจ คห. ข้างบนก็บอกไม่เห็นเองน่ะ อย่างหนึ่งนะ

อีกอย่างสำคัญ อโศกไม่เข้าใจ คำว่า "ปัจจุบัน" ทางธรรม ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางจิต :b32: ที่เป็นภาคปฏิบัติโดยตรง :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 15:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เก่งเรื่องปัจจุบันอารมณ์ขึ้นมาแล้วหรือนี่ ถือว่าโตแล้ว ตัดหางปล่อยวัดได้แล้วกรัชกาย
:b12:
:b4:
ไปหากินเองได้แล้วนะกรัชกาย อย่ามาทู่ซี้ถามและชวนคุยอีก ทางใครทางมันนะ
:b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
เก่งเรื่องปัจจุบันอารมณ์ขึ้นมาแล้วหรือนี่ ถือว่าโตแล้ว ตัดหางปล่อยวัดได้แล้วกรัชกาย
:b12:
:b4:
ไปหากินเองได้แล้วนะกรัชกาย อย่ามาทู่ซี้ถามและชวนคุยอีก ทางใครทางมันนะ


แน่ะ ทำเป็นเข้าใจขึ้นมาเชีย แต่จริงๆเปล่าไม่เข้าใจหรอก เพราะอะไร ? เพราะวิธีที่อโศกปฏิบัติยังไม่ทันปัจจุบันธรรม ยังไม่ใช่ปัจจุบันขณะ แต่ละขณะๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกฝนพัฒนาจิตนั้น หากทำไม่ถูก ยิ่งเนินช้ากว่าจะเข้าใจมัน อโศกรายนี้เขาบอกทำมา 17 ปีแล้ว




อ้างคำพูด:
ผมนั่งสมาธิมา 17 ปี เริ่มปี 2539 วันละ 45 นาที ตอนช่วงน้ำท่วมปี 2554 ในระหว่างนั่งผมเพ่งลูกแก้ว จนมีความรู้สึกว่าลูกแก้วมันแตกกระจาย ทะลุหายผมเหมือนทะลวงวัตถุจนทะลุงลงไป ตอนนั้นผมมีความรู้สึกว่า จิตมันจะหลุดออกจากความคิด ผมต้องทะลวงมันให้ได้ ผมยอมตาย เป็นไงเป็นกัน ตอนนั้นมีความรู้สึกนึกถึงศัตรูคู่อริที่ทำร้ายเรา และยึมพลังที่เขากระทำต่อเรา เพ่งไปที่ลูกแก้วจนมันทะลุลงไป เหมือนตกจากที่สูงลงไปในหลุมหลุดไปทั้งยวง

จากนั้นจิตนิ่งมาก เมื่อออกจากสมาธิ เหมือนกับตัวเองสำเร็จอะไร บางอย่าง หลังจากนั้น ตัวเองเหมือนมีพลังมหาศาลควบคุมไม่ได้ ผมใช้เวลานานมากกว่าจะควบคุมพลังนั้นได้

ผ่านไป 2 ปี ผมนั่งสมาธิมีอาการเหมือนจิตมันไม่สนใจการกำหนดลมหายใจเข้าออก และความหดหู่เศร้าหมอง ความลังเลสงสัยหายหมดเลย ลมหายใจยังมีอยู่แต่ไม่ใส่ใจ มีอาการตัวยืดขยายสูงขึ้น และมีอาการเสียวที่ผิวหนัง และกระดูกเหมือนอาการหนาว บางครั้งต้องห่มผ้าหนา ๆ เหมือนอาการเสียวกระสันทางจิต บางครั้งมีกิเลสตัณหามากในช่วงนั่งสมาธิควบคุมไม่ได้เลย ต้องปลดเปลื้องอยู่บ้างเหมือนกัน

ผมเลยหันมาฝึกพิจารณากายสังขารโดยการพิจารณาเล็บ กระดูก ผิวหนัง เส้นผม และดวงตา

ผมนั่งสมาธิต่อไปมีความรู้สึกว่า สมาธิมันเลื่อนจากฐาน อารมณ์มาฐานใจเอง โดยหายใจเข้าหยุดอยู่ที่ใจ หายใจออกอยู่ที่จมูก ฝึกทั้งฐานอารมณ์และฐานใจสลับกัน ลมหายใจสั้นมากแทบไม่มี

ปัจจุบันระหว่างนั่งสมาธิ หายใจเข้า มีอาการแน่นมาก ตัวแข็ง ใจกับร่างกายเหมือนรวมกันเป็นหนึ่ง หายใจเข้าเป็นแท่งตั้งตรง

เวลาดูหนัง เศร้าน้ำตาก็ไม่ไหลเหมือนก่อน อาการขนลุกขนชันเสียวในกระดูกซู่ซุ่หายไป มีอาการแน่นมากเวลาหายใจ มีความรู้สึกว่าจิตตัวเองเงียบสงัดมาก เวลาหลับตา เหมือนมีแสงสว่างมาก แสงสว่างเต็มไปหมด จิตมีความสุขมาก แต่ก็มีความทุกข์บางครั้งมีอารมณ์อิจฉา ริษยาสอดแทรงเข้ามาบ้างเหมือนกัน

ปล. ท่านผู้รู้ท่านใดทราบรบกวนช่วยหน่อยนะครับ


อโศกล่ะ กี่ปีแล้ว :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2014, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การฝึกฝนพัฒนาจิตนั้น หากทำไม่ถูก ยิ่งเนินช้ากว่าจะเข้าใจมัน อโศกรายนี้เขาบอกทำมา 17 ปีแล้ว




อ้างคำพูด:
ผมนั่งสมาธิมา 17 ปี เริ่มปี 2539 วันละ 45 นาที ตอนช่วงน้ำท่วมปี 2554 ในระหว่างนั่งผมเพ่งลูกแก้ว จนมีความรู้สึกว่าลูกแก้วมันแตกกระจาย ทะลุหายผมเหมือนทะลวงวัตถุจนทะลุงลงไป ตอนนั้นผมมีความรู้สึกว่า จิตมันจะหลุดออกจากความคิด ผมต้องทะลวงมันให้ได้ ผมยอมตาย เป็นไงเป็นกัน ตอนนั้นมีความรู้สึกนึกถึงศัตรูคู่อริที่ทำร้ายเรา และยึมพลังที่เขากระทำต่อเรา เพ่งไปที่ลูกแก้วจนมันทะลุลงไป เหมือนตกจากที่สูงลงไปในหลุมหลุดไปทั้งยวง

จากนั้นจิตนิ่งมาก เมื่อออกจากสมาธิ เหมือนกับตัวเองสำเร็จอะไร บางอย่าง หลังจากนั้น ตัวเองเหมือนมีพลังมหาศาลควบคุมไม่ได้ ผมใช้เวลานานมากกว่าจะควบคุมพลังนั้นได้

ผ่านไป 2 ปี ผมนั่งสมาธิมีอาการเหมือนจิตมันไม่สนใจการกำหนดลมหายใจเข้าออก และความหดหู่เศร้าหมอง ความลังเลสงสัยหายหมดเลย ลมหายใจยังมีอยู่แต่ไม่ใส่ใจ มีอาการตัวยืดขยายสูงขึ้น และมีอาการเสียวที่ผิวหนัง และกระดูกเหมือนอาการหนาว บางครั้งต้องห่มผ้าหนา ๆ เหมือนอาการเสียวกระสันทางจิต บางครั้งมีกิเลสตัณหามากในช่วงนั่งสมาธิควบคุมไม่ได้เลย ต้องปลดเปลื้องอยู่บ้างเหมือนกัน

ผมเลยหันมาฝึกพิจารณากายสังขารโดยการพิจารณาเล็บ กระดูก ผิวหนัง เส้นผม และดวงตา

ผมนั่งสมาธิต่อไปมีความรู้สึกว่า สมาธิมันเลื่อนจากฐาน อารมณ์มาฐานใจเอง โดยหายใจเข้าหยุดอยู่ที่ใจ หายใจออกอยู่ที่จมูก ฝึกทั้งฐานอารมณ์และฐานใจสลับกัน ลมหายใจสั้นมากแทบไม่มี

ปัจจุบันระหว่างนั่งสมาธิ หายใจเข้า มีอาการแน่นมาก ตัวแข็ง ใจกับร่างกายเหมือนรวมกันเป็นหนึ่ง หายใจเข้าเป็นแท่งตั้งตรง

เวลาดูหนัง เศร้าน้ำตาก็ไม่ไหลเหมือนก่อน อาการขนลุกขนชันเสียวในกระดูกซู่ซุ่หายไป มีอาการแน่นมากเวลาหายใจ มีความรู้สึกว่าจิตตัวเองเงียบสงัดมาก เวลาหลับตา เหมือนมีแสงสว่างมาก แสงสว่างเต็มไปหมด จิตมีความสุขมาก แต่ก็มีความทุกข์บางครั้งมีอารมณ์อิจฉา ริษยาสอดแทรงเข้ามาบ้างเหมือนกัน

ปล. ท่านผู้รู้ท่านใดทราบรบกวนช่วยหน่อยนะครับ


อโศกล่ะ กี่ปีแล้ว :b10:

:b12: :b12: :b12:
ตั้งแต่อายุได้ 6-7 ขวบ
:b16: :b16: :b16:
ปัญหาของคนที่กรัชกายคัดมาแปะ เป็นพวกฝึกสมถะมาก่อน พอได้สมาธิเฉียดๆ มีอาการของปีติ ปัสสัทธินิมิต ปรากฏ มีการพิจารณาแบบนักสมถะ ไม่ใช่นักวิปัสสนา แต่ไม่มีเรื่องปัจจุบันอารมณ์มาถาม

กรัชกายเก่งอยู่แล้วช่วยตอบไขข้อข้องใจ แนะนำวิธีที่ถูกต้องของกรัชกายไปหน่อยซิ อโศกะไม่ตอบแล้วครับเดี๋ยวจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน
:b29: :b29: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ตั้งแต่อายุได้ 6-7 ขวบ



6-7 ชวบ จะทำอะไรได้ เด็กบางคนยังไม่อดนม บางคนยังดูดหัวจุกอยู่เลย :b32:


แต่เอาเถอะๆ 6 ขวบก็หกขวบ ไม่ขัดแล้ว ทะเลาะธรรมกันมากพอแล้ว เข้าพรรษาแล้ว ต่อไปเรามาดีธรรมกันมั่งน๊อ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เคล็ดปฏิบัติสมาธิ..

..นั่งสมาธิพึงพากันตั้งสติให้แน่วแน่อยู่ภายใน พยายามควบคุมจิตอย่าให้มันหลงคิดนึกไปในอารมณ์ที่มันเคยคิด เคยนึก เคยเกาะ เคยข้องมาแต่ก่อน ให้กำหนดลงเอาปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งเลยทีเดียว ชีวิตนี้จะอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก อยู่ที่ปัจจุบันๆ นี้เท่านั้น ให้กำหนดจำกัดลงเลย เพราะว่าที่ล่วงมาแล้ว มันก็ล่วงมาแล้วนะชีวิต แล้วอนาคตก็ยังไม่ได้ไปถึง มันก็ยังไปไม่ถึง ไม่ต้องไปคำนึงหามัน การงานอะไรที่ทำล่วงมาแล้ว ผิดหรือถูกมันก็ได้ล่วงมาแล้ว ไม่ต้องไปคำนึงหามัน

เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจ ขอให้เตือนตนอย่างนี้ เวลานี้เป็นเวลาพักผ่อนของจิตใจในขณะนี้ เบื้องต้นนี้ก็อยากคิด อยากรู้นั้น รู้นี้ เห็นนั่น เห็นนี้ ก่อนคือพยายามตั้งสติ กำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก อธิษฐานจิตถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตนแล้ว ก็พยายามประกอบจิตนี้ให้หยุดคิด หยุดนึก ให้กำหนดรู้เฉพาะแต่ลมหายใจเข้า หายใจออกเท่านี้ก่อน เพราะเวลานี้ให้เข้าใจว่าเราพักผ่อนจิตใจ

คำว่าพักผ่อน คือหยุดคิด หยุดนึกในการงานต่างๆ เลย วางจิตลงให้สบาย สบาย ไม่ต้องกังวลข้างหน้า ข้างหลังอะไรเลย กำหนดรู้อยู่แต่ปัจจุบันนี้เท่านั้น เอาปัจจุบันนี้เป็นหลักเลย ชีวิตนี้ก็ให้กำหนดว่ามีอยู่แค่ปัจจุบันๆ นี้ เท่านั้นแหละ

ในเบื้องต้นเราก็รู้ไม่ได้ว่าจะไปถึงไหน เบื้องหลังมันก็ล่วงมาแล้ว ดังนั้น เราต้องกำหนดรู้เฉพาะปัจจุบันเท่านั้นเอง คือการทำสมาธินี่ สำคัญอยู่ที่สตินั้นแหละ ขอให้ได้พากันจำเอาไว้ให้ดี สติแปลว่าความระลึกได้ คือระลึกเข้าไปในจิตเลยทีเดียว ระลึกให้หยั่งเข้าไปให้มันถึงจิต อย่าให้มันระลึกเฉไปทางอื่น จิตนี้ที่มันตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ก็เพราะมันขาดสติ สติไม่ได้เข้าไปควบคุมอยู่ใกล้ชิด สตินั้น จะระลึกออกไปทางอื่นห่างออกไปจากจิต เมื่อจิตนี้ปราศจากสติแล้วมันก็ว้าเหว่ เร่ร่อนหาอารมณ์อย่างอื่น คิดส่ายไปตามความชอบใจ มันเป็นอย่างนั้น แต่จิตนี้น่ะ ถ้าสติเป็นเครื่องสอนอยู่แล้ว ไม่ไปไหนเลย ไม่ไปไหนแล้ว ที่มันอยากคิดอะไรมาแต่ก่อนนั้น สติห้ามไว้ทันแล้วก็หยุด

ขอให้สติมันเข้มแข็งเสียอย่างเดียว หายใจเข้าก็กำหนดรู้ หายใจออกก็กำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันนั้นเลยอย่างนั้น ไม่ได้รู้สิ่งอื่นๆ ใดทั้งหมด ถ้าหากใครสามารถที่จะเพ่งเข้าไปภายในให้เกิดแสงสว่างเหมือนอย่างเราฉายไฟเข้าไปในถ้ำมืดๆ อย่างนี้ แสงไฟฉายนั้นมันจะเป็นลำ สว่างเข้าไปภายในจะมีอะไรอยู่ในนั้นก็มองเห็นได้เลย อันนี้ก็เหมือนกันแหละ ถ้าเราสามารถที่จะกำหนดตั้งสติแล้วเพ่งตามลมหายใจเข้าออก เข้าไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจ และก็มองเห็นอัตภาพร่างกาย อวัยวะน้อยใหญ่ภายในร่างกายได้ยิ่งดีเลย ถ้าทำได้อย่างนี้ ตามลมหายใจเข้าออกไปภายในให้มันสว่างเข้าไปถึงจิตใจและก็มองเห็น

ถ้าหากว่าไม่สามารถจะทำได้อย่างนี้ ก็ตั้งสติเพ่งเข้าไปหาความรู้อย่างเดียวเท่านั้น รู้อยู่ตรงไหน สติก็ให้หยั่งเข้าไปถึงนั่น ก็ใช้ได้เหมือนกัน เมื่อจิตมันสงบ มันคลายจากอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้ว มันปลอดโปร่ง ถึงแม้ว่าจะไม่สว่างไสวเต็มที่ แต่มันก็มีเงาแห่งความสว่างปรากฏอยู่ในจิตนั้นเองแหละ จิตไม่เศร้าหมอง หมายความว่าอย่างนั้นแหละเบิกบาน ถ้าหากมันคลายอารมณ์ต่างๆ ออกไปแล้วนะ ลักษณะอาการของจิตนี้จะเบิกบานผ่องแผ้ว ไม่มีกังวลใดๆ อิ่มอยู่ภายใน ไม่ปรารถนาอยากจะคิดไปไหนมาไหนแล้ว ทีนี้ถ้าจิตมันคลายอารมณ์เก่าออกไปได้ ก็ต้องอาศัยสตินั่นแหละเข้าไปควบคุมจิตไม่ให้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ

อันเมื่อจิตนี้ไม่มีโอกาสจะได้คิดไปในอารมณ์ต่างๆ แล้วมันก็คลายทิ้งไปหมด อารมณ์ที่เราเก็บเอาไว้มันเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามันไม่มีที่ต่อ มันก็คลายออกไปเท่านั้นเอง ดังนั้นอย่าไปเข้าใจวิธีอื่นเลย พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ เพ่งกำหนดรู้แต่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ มันจะค่อยเบาไปๆ หมดไปโดยลำดับ เพราะว่าจิตเราไม่ส่งเสริมมันแล้วนี่ จิตเรามาจ้องอยู่เฉพาะแต่ลมนี้ จิตนี้ไม่ส่งเสริมความคิดเสียแล้ว ทีนี้จะคิดดีคิดชั่วอย่างไรไม่เอา ในขณะนี้ปล่อยทิ้งไม่ใช่เวลาคิด เวลานี้ เวลาสงบ เวลาเพ่ง เวลากำหนดรู้ ไม่ใช่เวลาคิด ให้มีสติเตือนจิตอย่างนี้เสมอไป

จิตนี้เมื่อถูกสติเตือนเข้าบ่อยๆ มันก็รู้ตัว รู้ตัวแล้วมันก็คลาย มันก็ปล่อยวางอารมณ์ ไม่ส่งเสริม ไม่คิดไม่ปรุงไปอีก มันสำคัญ เรื่องสมาธินี่สำคัญมากทีเดียว เรื่องปัญหานั้นมันเกิดจากสมาธิ ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจะทำสมาธิให้บังเกิดได้ ปัญญามันก็เกิดไม่ได้ ปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากสมาธินี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งในธาตุสี่ ขันธ์ห้า ในนาม ในรูป ไม่ปรารถนารู้อย่างอื่น

ในการปฏิบัติสมาธิแรกๆ อย่าไปสงสัยคลางแคลงใจว่า เอ๊ะ !! ทำไมเราจึงปฏิบัติไปไม่ได้ ทำไมใจจึงไม่สงบ ? กำหนดลมหายใจก็กำหนดแล้ว มันก็ยังไม่สงบอย่างนี้ อย่าไปสงสัย ให้นึกว่าเราทำยังไม่พอก็แล้วกันแหละ เราทำยังไม่มากพอ คือว่าเรายังกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกนี้ ยังไม่พอ เราจะต้องทำอีก..

:b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron