วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๕ อินทรีย์ ๕
๑. สทฺธินฺทฺริยํ ความเป็นใหญ่คือศรัทธา
๒. วิริยินฺทฺริยํ ความเป็นใหญ่คือความเพียร
๓. สตินฺทฺริยํ ความเป็นใหญ่คือสติ
๔. สมาธินฺทฺริยํ ความเป็นใหญ่คือสมาธิ
๕. ปญฺญินฺทฺริยํ ความเป็นใหญ่คือปัญญา
จงอธิบายมาให้ได้ความทุกข้อ เหตุใดจึงชื่อว่าอินทรีย์ ?
คำตอบวันที่ ๑๕
๑. อธิบายว่า ศรัทธา ได้แก่
ความเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่า
ความสุขความทุกข์ ความดีความชั่วเกิดแต่เจตนา
เป็นตัวกรรม
และเชื่อต่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ว่าพระองค์เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้จริง มีพยาน
ในตนเป็นที่อ้าง คือธรรมข้อปฏิบัติซึ่งเป็นพุทธโอวาท
ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติมา
แล้ว ให้ผลปรากฏแก่ตนด้วยประการใด คือ
เป็นปัจจักขสิทธิ ได้ความเชื่อนั้นจึงสำเร็จความเป็น
ใหญ่ ได้ชื่อว่าสัทธินทรีย์
๒. วิริยะ คือ สัมมัปปธาน เพียรละอกุศล ๑๔ ดวง
มีโมโห อหิริกํ เป็นต้น ให้สิ้นไปหมดไปเป็นปหานกิจ
เพียรทำกุศลธรรม ๒๕ ดวง มีศรัทธา สติ เป็นต้น
ให้บริบูรณ์ขึ้นในตนสำเร็จด้วยภาวนากิจ อาศัย
ความเพียรเป็นใหญ่ จึงสำเร็จปหานกิจ ภาวนากิจได้
ความเพียรจึงชื่อว่าวิริยินทรีย์
๓. สติ คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยว่าสติปัฏฐาน
เป็นอาการแห่งศีล สมาธิ และปัญญา วิปัสสนาญาณ
มรรคญาณ ผลญาณ จะปรากฏขึ้นได้ ก็
ต้องอาศัยสติเป็นใหญ่ สติจึงชื่อว่าสติทรีย์
๔. สมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
สมาธินี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นอาธารแก่ปัญญาทั่วไป
เหตุนั้นสมาธิจึงเป็นของควรพากเพียรบำรุงให้เกิด
ให้มีขึ้น ให้สำเร็จความเป็นใหญ่ เพราะ
เป็นอวัยวะแห่งมรรคอันหนึ่ง สมาธิ
จึงชื่อว่าสมาธินทรีย์
๕. ปัญญา คือความรู้เท่าสังขาร ได้แก่ความรู้เท่า
ความเกิดขึ้น
และเสื่อมสิ้นสูญไปตามธรรมดาแห่งสังขาร
เป็นปัญญาวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เป็นปัญญาแต่งขึ้นปรุงขึ้น ให้สำเร็จความเป็นใหญ่
เพราะเป็นอวัยวะแห่งมรรคอันหนึ่ง ปัญญา
จึงชื่อว่าปัญญินทรีย์ ธรรมทั้ง ๕ นี้ สำเร็จ ความ
เป็นใหญ่สม่ำเสมอกัน จึงชื่อว่าปัญญินทรีย์
จบอินทรีย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๖ พละ ๕
๑. สทฺธาพลํ กำลังคือศรัทธา
๒. วิริยพลํ กำลังคือความเพียร
๓. สติพลํ กำลังคือสติ
๔. สมาธิพลํ กำลังคือสมาธิ
๕. ปญฺญาพลํ กำลังคือปัญญา
จงอธิบายมาให้ได้ความทุกข้อว่า ต่างกัน
กับอินทรีย์อย่างไร ?
คำตอบวันที่ ๑๖
๑. ศรัทธา ความเชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม
เชื่อญาณเครื่องตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยที่ตนได้ประพฤติมาเป็นสันทิฏฐิกธรรม ขึ้นด้วยตน
ไม่ใช่อธิโมกข์ มีกำลังเรี่ยวแรงขึ้น ควร
เป็นบาทของโพชฌงค์ได้ เป็นผลมาจากสัทธินทรีย์
จึงชื่อว่าสัทธาพละ
๒. วิริยะ ความเพียรเพื่อ
ให้สติสมาธิปัญญาบริบูรณ์ขึ้น เพราะศรัทธา
เป็นพลวเหตุ มีกำลังเรี่ยวแรงขึ้น ควร
เป็นบาทของโพชฌงค์ เป็นผลมาจากวิริยินทรีย์
จึงชื่อว่าวิริยพละ
๓. สติ คือ ความระลึก ได้แก่สติปัฏฐานนั้นเอง
เมื่อศรัทธา
และวิริยะอุดหนุนก็มีกำลังเรี่ยวแรงขึ้น ควร
เป็นบาทของโพชฌงค์ได้ เป็นผลมาจากสตินทรีย์
จึงชื่อว่าสติพละ
๔. สมาธิ ความตั้งมั่นของจิต เป็นไป
ในอารมณ์ของสติปัฏฐานนั้นเอง
มีกำลังเรี่ยวแรงขึ้น ควรเป็นบาทแห่งโพชฌงค์ได้
เป็นผลมาจากสมาธินทรีย์ จึงชื่อว่าสมาธิพละ
๕. ปัญญา ความรอบรู้ในอาการของศรัทธา
และวิริยะ สติ สมาธิ โดยแจ่มแจ้งชัดใจ
มีกำลังเรี่ยวแรงขึ้น ตัดความสงสัย
ในข้อปฏิบัติของตนได้ ควรเป็นที่ตั้งแห่งสัมโพชฌงค์
เป็นผลมาจากปัญญินทรีย์ จึงชื่อว่าปัญญาพละ
อินทรีย์กับพละไม่มีอาการต่างกัน ต่างแต่เพียง
เป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเท่านั้น กำลังทั้ง ๕ นี้ก็
ต้องเป็นไปพร้อมสม่ำเสมอกัน จึงเป็นปัญจพละได้
จบพละ ๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๗ โพชฌงค์ ๗
๑. สติสมฺโพชฺฌงฺโค องค์เป็นเหตุตรัสรู้คือสติ
๒. ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺโค องค์
เป็นเหตุตรัสรู้คือการพิจารณาธรรม
๓. วิริยสมฺโพชฺฌงฺโค องค์เป็นเหตุตรัสรู้คือวิริยะ
๔. ปีติสมฺโพชฺฌงฺโค องค์เป็นเหตุตรัสรู้คือปีติ
ความอิ่มกายอิ่มใจ
๕. ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค องค์เป็นเหตุตรัสรู้คือ
ความสงบกายสงบจิต
๖. สมาธิสมฺโพชฺฌงฺโค องค์เป็นเหตุตรัสรู้คือสมาธิ
๗. อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺโค องค์
เป็นเหตุตรัสรู้คืออุเบกขา
อย่างไร ธรรมเหล่านี้จึงชื่อสัมโพชฌงค์
จงอธิบายมาพอให้ได้ความเป็นทางปฏิบัติทุกข้อ ?
คำตอบวันที่ ๑๗
๑. สติ ที่จะได้ชื่อว่าสัมโพชฌงค์นั้น ต้องพร้อม
ด้วยองค์ ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ
อุเบกขา มีส่วนเสมอกัน เป็นอัญญมัญญปัจจัยอุดหนุนซึ่ง
กันและกัน ซึ่งควรเป็นเหตุให้ตรัสรู้ สตินั้นจึงชื่อว่า
สติสัมโพชฌงค์
๒. ธัมมวิจยะ คือ ปัญญาที่พิจารณาเลือกธรรม ก็
ต้องพร้อมเพรียงด้วยองค์ทั้ง ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ
วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีส่วนเสมอกัน
อุดหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งควรเป็นเหตุให้ตรัสรู้
ปัญญานั้นจึงชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. วิริยะ คือ ความเพียรเป็นไปกล้า พร้อมเพรียง
ด้วยองค์ทั้ง ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ
สมาธิ อุเบกขา มีส่วนเสมอกัน ซึ่งควรเป็นเหตุ
ให้ตรัสรู้ ความเพียรนั้นจึงชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์
๔. ปีติ คือ ความอิ่มกายอิ่มใจ ก็ต้องพร้อมด้วยองค์ ๗
คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
มีกำลังเสมอกัน ซึ่งควรเป็นเหตุตรัสรู้ ปีตินั้น
จึงชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ปัสสัทธิ คือ ความสงบกายสงบใจ ก็
ต้องพร้อมเพรียงด้วยองค์ทั้ง ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ
วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีส่วนเสมอกัน
ความสงบนั้นจึงชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. สมาธิ คือ ความตั้งเสมอของจิตในอารมณ์
ต้องพร้อมเพรียงด้วยองค์ทั้ง ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ
วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีส่วนเสมอกัน
ซึ่งควรเป็นเหตุตรัสรู้ได้ สมาธินั้นจึงชื่อว่า
สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. อุเบกขา คือ ความเพิกเฉยมัธยัสถ์เป็นกลาง
ไม่ส่ายไปในอารมณ์อื่น และพรักพร้อมอยู่
ด้วยอวัยวะของตน คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ
ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา มีส่วนเสมอกันไม่ยิ่งไม่หย่อน
ซึ่งควรเป็นเหตุจะให้ตรัสรู้ได้
เป็นอุเบกขาญาณสัมปยุต อุเบกขานั้น
จึงชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อธิบายความว่าสัมโพชฌงค์นี้ เป็นสมาธิอันบุคคลจะพึง
ได้ประสบด้วยยาก
เป็นเอกัคคตารมณ์แท้คือมีอารมณ์รวมในที่เดียว
จึงมีกำลังมาก จะเรียกว่าโคตรภูจิตก็ควร เพราะ
เป็นบาทแห่งญาณทัสสนะแท้ และ
เป็นผลแก่รอบมาแต่สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ มีแต่จะก้าวสู่อริยมรรค
เป็นเบื้องหน้า จึงเป็นกิจที่โยคาวจรเจ้าทั้งหลาย
ต้องประสงค์อย่างยิ่ง
จบโพชฌงค์ ๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๘ อัฏฐังคิกมรรค

๑. สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ
๒. สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ
๓. สมฺมาวาจา วจีกรรมชอบ
๔. สมฺมากมฺมนฺโต การงานของกายชอบ
๕. สมฺมาอาชีโว การเลี้ยงชีพชอบ
๖. สมฺมาวายาโม ความเพียรชอบ
๗. สมฺมาสติ ตั้งสติชอบ
๘. สมฺมาสมาธิ ตั้งจิตไว้เสมอชอบ
ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น จะถือเอาเนื้อ
ความว่าเห็นชอบดำริชอบด้วยประการอย่างไร ?
ให้นักเรียนตอบมาโดยย่อๆ ตามความเข้าใจให้ได้
ความทุกองค์
คำตอบวันที่ ๑๘
๑. ความเห็นชอบนั้น คือ เห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นตัวทุกข์
เห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นสมุทัย เห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นนิโรธ
เห็นเบญจขันธ์ว่าเป็นมรรค นี้เองชื่อว่า สมฺมาทิฏฺฐิ
๒. ความดำริชอบนั้น คือ ความดำริสัมปยุตด้วยวิเวก
และเมตตา กรุณา สำเร็จมาแต่โสภณเจตสิก ห่าง
ไกลแต่อกุศลเจตสิก นี้เองชื่อว่า สมฺมาสงฺกปฺโป
๓. วจีกรรมชอบนั้น คือ
สมาทานเจตนากล่าวแต่วจีสุจริต วิรัติวจีทุจริตเสีย
ชื่อว่า สมฺมาวาจา
๔. การงานของกายชอบนั้น คือ
สมาทานเจตนากรรม ประกอบแต่กายสุจริต
มีกสิกรรม พาณิชกรรม หรือทานศีลภาวนากิจ
เป็นต้น วิรัติกายทุจริตเสีย ชื่อว่า สมฺมากมฺมนฺโต
๕. เลี้ยงชีพชอบนั้น คือ อุบายทางแสวงหาปัจจัยที่จะ
ยังชีพให้เป็นไปโดยทางชอบธรรม มีกสิกรรม
และพาณิชกรรมเป็นต้น ตามชั้น ตามภูมิของตน
เว้นมิจฉาชีพ คือเบียดเบียนชีวิตและความสุขของผู้
อื่นเสีย ชื่อว่า สมฺมาอาชีโว
๖. ความเพียรชอบนั้น คือ
ความเพียรยังกุศลธรรม ให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น
ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ห้าม
กันอกุศลธรรมมิให้เกิดขึ้นมีขึ้นที่ตนได้ ชื่อว่า
สมฺมาวายาโม
๗. ตั้งสติชอบนั้น คือ ระลึกอยู่ รู้อยู่ ตื่น
อยู่ที่กายที่ใจ ซึ่งเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ชื่อว่า
สมฺมาสติ
๘. ตั้งจิตไว้เสมอชอบนั้น คือ ความตั้งจิตไว้ในที่
เป็นอารมณ์แห่งสัมมาสตินั้นเอง ชื่อว่า สมฺมาสมาธิ
อธิบายตามความเข้าใจโดยสังเขปดังนี้
จบมรรค ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๑๙ สมฺมาทิฏฺฐิ
คำตอบใน สมฺมาทิฏฺฐิ ที่ว่าเห็นเบญจขันธ์เป็นทุกข์
เห็นเบญจขันธ์เป็นสมุทัย เห็นเบญจขันธ์เป็นนิโรธ
เห็นเบญจขันธ์เป็นมรรค ชื่อว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ดังนี้
ส่วนนิเทศในมัคควิภังค์ท่านแสดงว่า ทุกฺเข ญาณํ
ทุกฺขสมุทเย ญาณํ ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ
ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาย ญาณํ อยํ วุจฺจติ
สมฺมาทิฏฺฐิ ดังนี้ ดูเนื้อความไม่ลงกัน
ขอฟังคำอธิบายอีกสักหน่อย ?
๑. ที่ว่า เบญจขันธ์ เป็นทุกข์นั้น อะไรเป็นขันธ์ อะไร
เป็นเบญจ เหตุไรเบญจขันธ์จึงเป็นทุกข์ ?
๒. ที่ว่า เบญจขันธ์ เป็นสมุทัยนั้น หมาย
ความว่ากระไร ?
๓. ที่ว่า เบญจขันธ์ เป็นนิโรธนั้น หมาย
ความว่ากระไร ?
๔. ที่ว่า เบญจขันธ์ เป็นมรรคนั้น หมาย
ความว่ากระไร ?
คำตอบวันที่ ๑๙
๑. ความประชุมสรีราวัยวะทั้งสิ้นนี้เองชื่อว่า ขันธ์
อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ที่ปรากฏอยู่นี้เองชื่อว่าเบญจ เพราะเบญจขันธ์
เป็นอาธารรับรองทุกข์อยู่เป็นธรรมดา
จึงว่าเบญจขันธ์เป็นตัวทุกข์
๒. หมายความว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
กรรมเหล่านี้ก็เป็นอาการของเบญจขันธ์
หรือกิเลสอันเศษจากธรรมเหล่านั้นทั้งปวงก็
เป็นอาการของเบญจขันธ์ เมื่อเบญจขันธ์
ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นทุกข์ และไม่รู้สึกอาการของตัวว่า
เป็นเหตุแห่งทุกข์ เบญจขันธ์จึงเป็นสมุทัย
๓. หมายความว่าเบญจขันธ์ รู้ตัวว่าเป็นตัวทุกข์
และรู้ว่าอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมเป็นต้น ซึ่ง
เป็นอาการของตัวว่าเป็นสมุทัย คือเป็นเหตุแห่งทุกข์
ด้วย และรู้ความดับทุกข์เพราะความดับแห่งเหตุนั้น
ด้วย เบญจขันธ์ก็เป็นนิโรธํ
๔. หมายความว่า สัมมาปฏิบัติ คือ องค์มรรคทั้ง ๘
เป็นอาการของ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วน ศีล สมาธิ
ปัญญา ก็เป็นอาการของเบญจขันธ์
เมื่อรู้ชัดเห็นชัดว่าปัญญานี้
เป็นอาการของเบญจขันธ์แท้โดยไม่สงสัย ก็จะรู้
ด้วยตนว่า ความเห็นว่าเบญจขันธ์เป็นทุกข์
เบญจขันธ์เป็นสมุทัย เบญจขันธ์เป็นนิโรธ
เบญจขันธ์เป็นมรรค นี้ไม่ใช่อื่น คือ ปัญญาสัมปยุต
ด้วยสัมมาทิฏฐิทีเดียว เพราะศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นมรรค และไม่ใช่อื่นจากเบญจขันธ์ด้วย
จึงว่าเบญจขันธ์เป็นมรรค
เมื่อเห็นความดังที่อธิบายมานี้ชัดใจแล้ว เนื้อความ
ในนิเทศแห่งมัคควิภังค์ ที่ว่าเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย
เห็นนิโรธ เห็นมรรค ชื่อว่าสมฺมาทิฏฺฐิ นั้น ก็จะเห็น
ความลงเป็นอันเดียวกันเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 01:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:57
โพสต์: 667

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาธรรมวันที่ ๒๐
ที่ว่ามรรคทั้ง ๘ เป็นสามัคคีกันได้
ชื่อว่ามรรคสมังคีนั้น เข้าใจว่าจะมีอาการอย่างไร
ให้ยกอารมณ์แห่งมรรคประเภท
ใดประเภทหนึ่งขึ้นสู่สัมมาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง
แล้วประกอบองค์ทั้ง ๗ นั้นโดยลำดับ แต่ให้เนื้อ
ความกลมเกลียวกันมาให้ดูสักแปลงหนึ่ง ให้ได้
ความชัดเจน
คำตอบวันที่ ๒๐
๑. จะยกเบญจขันธ์
เป็นอารมณ์ของมรรคขึ้นสู่สัมมาทิฏฐิ
ดังเห็นว่าเบญจขันธ์เป็นทุกข์ เบญจขันธ์เป็นสมุทัย
เบญจขันธ์เป็นนิโรธ เบญจขันธ์เป็นมรรค
เป็นสัมมาทิฏฐิในเบญจขันธ์
๒. ความดำริในเบญจขันธ์โดยเป็นทุกข์ เป็นสมุทัย
เป็นนิโรธ เป็นมรรค เป็นสัมมาสังกัปโป
ในเบญจขันธ์
๓. อาการที่เจตนาเป็นปรกติ
เพราะสัมมาสังกัปโปเป็นเหตุชักนำ
ด้วยการพิจารณาเบญจขันธ์ ให้เปล่งวาจาชอบ
เป็นสัมมาวาจาในเบญจขันธ์
๔. อาการของเจตนากรรมเป็นปรกติ
เพราะสัมมาสังกัปโป เป็นเหตุชักนำ
ด้วยการพิจารณาเบญจขันธ์ ให้ประกอบการงาน
ด้วยกายชอบเป็นสัมมากัมมันโตในเบญจขันธ์
๕. อาการที่สืบต่อชีวิตโดยทางสุจริต
เพราะสัมมาสังกัปโป เป็นเหตุชักนำ
ด้วยการพิจารณาเบญจขันธ์
เป็นสัมมาอาชีโวในเบญจขันธ์
๖. อาการที่เพียรพยายามพิจารณาเบญจขันธ์
ให้เห็นโดยเป็นทุกข์ เป็นสมุทัย เป็นนิโรธ เป็นมรรค
ขึ้นได้ เป็นสัมมาวายาโมในเบญจขันธ์
๗. อาการที่ระลึกอยู่ในเบญจขันธ์
เป็นสัมมาสติในเบญจขันธ์
๘. อาการที่ตั้งจิตเสมอในเบญจขันธ์ ไม่ส่ายไป
ในอารมณ์อื่น เป็นสัมมาสมาธิในเบญจขันธ์
เห็นความในมรรคสมังคีโดยนัยดังแสดงมานี้.
..........................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร