วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 17:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 10:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


อโศกนี่มองโลกในแง่ร้ายนะ อย่างนี้แหละถึงไปไม่ถึงไหน ห้องเขาก็บอกว่า "สนทนาธรรมทั่วไป" แต่อโศกมองเป็นทะเลาะธรรม

ที่นำศัพท์และความหมายมาลงไว้ ก็เพื่อให้อโศกมีหลักบ้าง ไม่ยังงั้นก็

หลักตำราเอาไว้ให้กรัชกายเกาะยึดมิให้จมลงในโอฆะเถิด

เขาบอกว่า "ดีแล้ว" ยังมาเห็นเป็นอกุศล เพราะใจกรัชกายครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องอกุศล จนระแวงไปหมด

ศัพท์ธรรมะทั้งหมดจงอย่าดีแต่ก็อปแปะให้คนอื่นอ่าน พึงนำมาใส่ใจพิจารณาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนให้เจริญก้าวหน้า
:b40:



เจ้าป่าเจ้าเขา :b8: เป็นพยาน เขาพูดเองแท้ๆว่า ทะเลาะธรรม (ในความหมาย คือ ก่อนหน้าทะเลาะธรรมมาทั้งเพ) พอตั้งหัวข้อนี้ชม "ดีแล้ว" (+50) แต่ลึกๆยังหวงความดี ก็จึง "ทะเลาะธรรม" (-50) ถ้าวิเคราะห์จิตใจของอโศกขณะนั้น คือยังนึกเสียดายคำชม ยังหวงความดีอยู่ เมื่อความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็ตัดด้วย "ทะเลาะธรรม" ซึ่งพระโสดาบันไม่มีแล้วความคิดนี้ :b32: หากพระโสดาบันท่านชมใครว่าดีแล้วนะท่านเต็ม 100 แต่อโศก 50/50 (ดี-เลว - เท่าทุน) ชัดนะ คิกๆๆ โสดาบันปลอม

นี่มาอีกแระ "โอฆะ" แช่งให้กรัชกายจมโอฆะอีกแระ ถามเลยงั้น หมายถึงอะไร "โอฆะ" เอาชัดๆ อโศก กรัชกายบ่หยั่นจมได้ก็โผล่ได้ ขึ้นได้ก็ลงได้ คิกๆๆ แต่ขอให้ชัดแล้วกัน เอ้าว่ามา

:b34: :b34:
ตีโพยตีพายไปกันใหญ่เลยนะกรัชกายคล้ายกับวัวสันหลังหวะ

ทำไมไม่ดูให้ดีๆว่าเป็นคำพูดลอยๆให้เปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่าอะไร มิได้ระบุเจาะจง แต่กรัชกายคงไปทะเลาะธรรมกับใครมาเสียจนหลังเป็นแผล พอได้ยินคำว่า "ทะเลาะธรรม จิตก็แว้บปรุงฟุ้งไปไกลแถมตีโพยตีพายใส่ไฟมาให้เรียบร้อย โดยขาดความพิจารณายั้งคิด

ดูให้ดีๆ ตีความให้แม่นยำสิ

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม


อโศกนี่มองโลกในแง่ร้ายนะ อย่างนี้แหละถึงไปไม่ถึงไหน ห้องเขาก็บอกว่า "สนทนาธรรมทั่วไป" แต่อโศกมองเป็นทะเลาะธรรม

ที่นำศัพท์และความหมายมาลงไว้ ก็เพื่อให้อโศกมีหลักบ้าง ไม่ยังงั้นก็

หลักตำราเอาไว้ให้กรัชกายเกาะยึดมิให้จมลงในโอฆะเถิด

เขาบอกว่า "ดีแล้ว" ยังมาเห็นเป็นอกุศล เพราะใจกรัชกายครุ่นคิดอยู่แต่เรื่องอกุศล จนระแวงไปหมด

ศัพท์ธรรมะทั้งหมดจงอย่าดีแต่ก็อปแปะให้คนอื่นอ่าน พึงนำมาใส่ใจพิจารณาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติของตนให้เจริญก้าวหน้า
:b40:



เจ้าป่าเจ้าเขา :b8: เป็นพยาน เขาพูดเองแท้ๆว่า ทะเลาะธรรม (ในความหมาย คือ ก่อนหน้าทะเลาะธรรมมาทั้งเพ) พอตั้งหัวข้อนี้ชม "ดีแล้ว" (+50) แต่ลึกๆยังหวงความดี ก็จึง "ทะเลาะธรรม" (-50) ถ้าวิเคราะห์จิตใจของอโศกขณะนั้น คือยังนึกเสียดายคำชม ยังหวงความดีอยู่ เมื่อความรู้สึกเช่นนั้นเกิดขึ้น ก็ตัดด้วย "ทะเลาะธรรม" ซึ่งพระโสดาบันไม่มีแล้วความคิดนี้ :b32: หากพระโสดาบันท่านชมใครว่าดีแล้วนะท่านเต็ม 100 แต่อโศก 50/50 (ดี-เลว - เท่าทุน) ชัดนะ คิกๆๆ โสดาบันปลอม

นี่มาอีกแระ "โอฆะ" แช่งให้กรัชกายจมโอฆะอีกแระ ถามเลยงั้น หมายถึงอะไร "โอฆะ" เอาชัดๆ อโศก กรัชกายบ่หยั่นจมได้ก็โผล่ได้ ขึ้นได้ก็ลงได้ คิกๆๆ แต่ขอให้ชัดแล้วกัน เอ้าว่ามา

:b34: :b34:
ตีโพยตีพายไปกันใหญ่เลยนะกรัชกายคล้ายกับวัวสันหลังหวะ

ทำไมไม่ดูให้ดีๆว่าเป็นคำพูดลอยๆให้เปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่าอะไร มิได้ระบุเจาะจง แต่กรัชกายคงไปทะเลาะธรรมกับใครมาเสียจนหลังเป็นแผล พอได้ยินคำว่า "ทะเลาะธรรม จิตก็แว้บปรุงฟุ้งไปไกลแถมตีโพยตีพายใส่ไฟมาให้เรียบร้อย โดยขาดความพิจารณายั้งคิด

ดูให้ดีๆ ตีความให้แม่นยำสิ

ดีแล้ว ช่วยบรรยายความหมายของศัพท์ทางธรรม ได้บุญมากกว่า ทะเลาะธรรม



เอ้าๆ จบๆ รำคาญ :b1:

เออๆ แล้วกรัขกาย จะจมโอฆะอะไรที่ว่านานไหม มันสังสัยน่าอ่ะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
กรัชกายจะติดจมอยู่ในห้วงมหาสมุทรแห่งทิฏฐิ (ทิฏฐิโอฆะ) และ ห้วงมหาสมุทรแห่ง ความรู้ผิดเห็น ยึดผิดผิด(อวิชชาโอฆะ) อีกนานจนกว่าจะทิ้งชื่อกรัชกายได้
:b13: :b13: :b13:


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเวคกถา ถ้อยคำแสดงความสลดใจให้เกิดความสังเวช คือ เร้าเตือนสำนึก

สังเวควัตถุ เรื่องที่น่าสลดใจ, เรื่องที่พิจารณาแล้วจะทำให้เกิดความสังเวช คือ เร้าเตือนสำนึกให้มีจิตใจน้อมมาในทางกุศล เกิดความคิดไม่ประมาทและมีกำลังที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรมต่อไป เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และอาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือ ทุกข์ในการหากิน เป็นต้น


สังเวช ความสลดใจให้ได้คิด, ความรู้สึกเตือนสำหนึกหรือทำให้ฉุกคิด, ความรู้สึกกระตุ้นใจให้คิดได้ ให้คิดถึงธรรม ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิต และเร้าเตือนให้ไม่ประมาท, ตามความหมายที่แท้ของศัพท์ สังเวช คือ "สังเวค" แปลว่า แรงเร่ง แรงกระตุ้น หรือพลังที่ปลุกเร้า หมายถึง แรงกระตุ้นเร้าเตือนใจ ให้ได้คิดหรือสำนึกขึ้นมาได้ ให้คิดถึงธรรม หรือตระหนักถึงความจริง ความดีงาม อันทำให้ตื่นหรือถอนตัวขึ้นมาจากความเพลิดเพลิน ความหลงระเริงปล่อยตัวมัวเมา หรือความประมาท แล้วหักหันไปเร่งเพียรทำการที่ตระหนักรู้ว่าจะพึงทำด้วยความไม่ประมาทต่อ ไป แต่ในภาษาไทย สังเวช มีความหมายหดแคบลงและเพี้ยนไป กลายเป็นความรู้สึกสลดใจ หรือเศร้าสลด แล้วหงอยหรือหดหู่เสีย ซึ่งกลายเป็นตรงข้ามกับความสังเวชที่แท้



สังเวชนียสถาน สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ทีที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ

๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี ปัจจุบันเรียก ลุมพินี [Lumbini] หรือ {Rummindei]

๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา [Buddha Gaya หรือ Bodh Gaya]

๓. ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ

๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือ กุสินคร [Kusinagara] บัดนี้เรียก Kasia

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงฆ์ หมู่, ชุมนุม ๑. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล (รายตัวบุคคล) ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจากภิกษุสงฆ์ คือหมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรค บ้าง ปัญจวรรค บ้าง ทศวรรค บ้าง วีสติวรรค บ้าง, ถ้าเป็นชุมนุมภิกษุ ๒ หรือ ๓ รูป เรียก คณะ ถ้ามีภิกษุรูปเดียว เป็น บุคคล


สงฆ์จตุรวรรค สงฆ์พวก ๔ คือ มีภิกษุ ๔ รูป ขึ้นไปจึงจะครบองค์กำหนด สงฆ์จตุวรรค ก็เขียน

สงฆ์ทศวรรค สงฆ์พวก ๑๐ คือ มีภิกษุ ๑๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด

สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูป ขึ้นไป จึงครบองค์กำหนด


สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ

๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี

๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง

๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง

๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร

(ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘ เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)


๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย

๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ

๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือ ควรแก่ของทำบุญ

๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้

๙. อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือ เป็นแหล่งปลูกเพาะ และเผยแพร่ความดี ที่ยอดเยี่ยมของโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังขาร ๑. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรม ก็ตาม เป็นนามธรรม ก็ตาม, ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, ตรงกับคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น ๒. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล ที่กลางๆ เป็นอัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้น เวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว, ตรงกับสังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ ยกเอาเจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือเจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่าง คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา

๓. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา


๓. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต มี ๓ คือ

๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตก และวิจาร

๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา


สังขาร ๒. คือ

๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมครอบครอง

๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่กรรมไม่ครอบครอง แปลโดยปริยายว่า สังขารที่มีใจครอง และ
สังขารที่ไม่มีใจครอง


สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือ เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัย เป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้


สังขารโลก โลกคือสังขาร ได้แก่ ชุมนุมแห่งสังขารทั้งปวงอันต้องเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย


สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น นั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๗ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเวย บวงสรวง, เซ่นสรวง (ใช้แก่ผี และเทวดา)

สังสาระ, สงสาร การเที่ยวเร่ร่อนไปในภพ คือภาวะแห่งชีวิต ที่ถูกพัดพาให้ประสบสุขทุกข์ ขึ้นลง เป็นไปต่างๆตามกระแสแห่งอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน, การว่ายวนอยู่ในกระแสแห่งกิเลส กรรม และวิบาก, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ, ว่าโดยสภาวะ ก็คือ ความสืบทอดต่อเนื่องไปแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นเอง, นิยมพูดว่า สังสารวัฏ


สังสารจักร วงล้อแห่งสังสาระ, วงล้อแห่งการเที่ยวเร่ร่อนเวียนว่ายตายเกิด, อาการหมุนวนต่อเนื่องไปแห่งภาวะของชีวิตที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ในหลักปฏิจจสมุปบาท "สังสารจักร" เป็นคำในชั้นอรรถกถาลงมา เช่นเดียวกับคำว่า ภวจักร ปัจจยาการจักร ตลอดจนปฏิจจสมุปบาทจักร ซึ่งท่านสรรมาใช้ในการอธิบายหลักปฏิจจสมุปบาทนั้น, อาการหมุนวนของสังสารจักร หรือภวจักรนี้ ท่านอธิบายตามหลัก ไตรวัฏฏ์


สังสารวัฏ วังวนแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก หรือในภพต่างๆ, โดยใจความ ก็ได้แก่ "สังสาระ" นั่นเอง สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน


สังสารสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด คือ ลัทธิของมักขลิโคสาล ซึ่งถือว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยบริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ไปเอง การปฏิบัติธรรมไร้ประโยชน์ ไม่อาจช่วยอะไรได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจะ


ภิกษุทั้งหลาย ! หมู่ชนรู้ชัดสัจจะใด ไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีอย่างที่ 2

สมณพราหมณ์เหล่านั้น พากันอวดสัจจะต่าง ๆ กันไปเอง
เพราะฉะนั้น พวกสมณพราหมณ์จึงไม่พูดอย่างเดียวกัน


ไม่มีสัจจะหลายอย่างต่างๆ กันเลย เว้นแต่สัจจะที่แน่นอนด้วยสัญญาในโลก
แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันกำหนดความตรึกในทิฏฐิทั้งหลายไปเอง
แล้วกล่าวธรรมเป็น 2 อย่างว่า คำของเราจริง คำของท่านเท็จ


เจ้าลัทธิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีลวัตรหรือ อารมณ์ที่รับรู้แล้ว
แสดงอาการดูหมิ่น และดำรงอยู่ในทิฏฐิ ที่ตกลงใจแล้วก็ร่าเริง กล่าวว่า คนอื่นเป็นคนพาล ไม่ฉลาด


สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะ ที่ตนเกลียดชังนั้น
เข้าไปอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน และอารมณ์ที่รับรู้

เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า
ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่


ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา
อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมี เพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว


อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์
แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว

พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้ว
ย่อมวิวาทกัน เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตนว่าจริง



หากบุคคลเป็นคนเลว เพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้
ก็ไม่มีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายเลย

เพราะคนส่วนมากต่างกล่าว ยืนยันในแนวทางของตน
พากันกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นสิ่งเลวทราม


หาลิงค์อยู่ หาไม่เจอ เพราะผู้ที่นำมาโพส ไม่มีการแนบลิงค์ ที่นำมาโพส

รู้สึกเสียดาย ที่ขาดเนื้อหาสาระพระธรรมคำสอน ที่อาจจะมีมากกว่านี้

http://thamma390.blogspot.com/2011/12/b ... _3042.html



ว่าด้วย สัจจะ จากพระไตรปิฎก

อ่านแล้ว เห็นว่า ตรงกับบทความข้างบน

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 94&Z=10534

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


หาลิงค์อยู่ หาไม่เจอ เพราะผู้ที่นำมาโพส ไม่มีการแนบลิงค์ ที่นำมาโพส

รู้สึกเสียดาย ที่ขาดเนื้อหาสาระพระธรรมคำสอน ที่อาจจะมีมากกว่านี้

http://thamma390.blogspot.com/2011/12/b ... _3042.html

ข้อความเรื่องสัจจะที่ยกมา ตรงกับ จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=10418&Z=10493&pagebreak=0
แต่เป็นสำนวนการแปล พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:


หาลิงค์อยู่ หาไม่เจอ เพราะผู้ที่นำมาโพส ไม่มีการแนบลิงค์ ที่นำมาโพส

รู้สึกเสียดาย ที่ขาดเนื้อหาสาระพระธรรมคำสอน ที่อาจจะมีมากกว่านี้

http://thamma390.blogspot.com/2011/12/b ... _3042.html

ข้อความเรื่องสัจจะที่ยกมา ตรงกับ จูฬวิยูหสูตรที่ ๑๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=10418&Z=10493&pagebreak=0
แต่เป็นสำนวนการแปล พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต.





อนุโมทนา :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ค. 2014, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัทธา ความเชื่อ, ความเชื่อถือ, ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม, ความเลือมใสซาบซึ้งชื่นใจสนิทใจเชื่อมั่นมีใจโน้มน้อมมุ่งแล่นไปตามไปรับคุณความดีในบุคคลหรือสิ่งนั้นๆ, ความมั่นใจในความจริง ความดี ส่ิงดีงาม และในการทำความดี ไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก (ข้อ ๑ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๑ ในอริยวัฑฒิ ๕ ข้อ ๑ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๑ ในอริยทรัพย์ ๗) เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา


ศรัทธา ที่เป็นหลักแกนกลาง ซึ่งพบทั่วไปในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้เป้นข้อเดียว (เช่น องฺ.ปญฺจก. 22/53/74) คือ ตถาคตโพธิสัทธา (คำบาลีว่า "สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ" บางครั้ง เมื่อทรงแสดงคุณสมบัติของอริยสาวก จึงตรัสถึงอเวจจปสาทะ คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม และในพระสงฆ์ เช่น อง.นวก.23/231/420)


ศรัทธา ที่มักกล่าวถึงในอรรถกถา ได้แก่ (อุ.อ.235 อิติ.อ. 74...) สัทธา ๒ คือ ๑. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต ๒. กัมมผลสัทธา เชื่อกรรมและผลของกรรม,

แต่หลายแห่ง (เช่น อุ.อ.110 ฯลฯ) แสดง สัทธา ๒ คือ ๑. กัมมผลสัทธา เชื่อกรรมและผลของกรรม ๒. รตนัตตยสัทธา เชื่อพระรัตนตรัย (กัมมผลสัทธา เป็นโลกียสัทธา, รตนัตตยสัทธา ถ้าถูกต้องจริงแท้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญามั่นคง ไม่หวั่นไหว เป็นโลกุตรสัทธา)

อย่างไรก็ตาม ที่รู้จักกันมาก คือ สัทธา ๔ ซึ่ง เป็นชุดสืบๆกันมา ที่จัดรวมขึ้นภายหลัง คือ

๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อการกระทำ

๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม

๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต


อรรถกถาทั้งหลาย จำแนกว่ามี สัทธา ๔ ระดับ (เช่น ที.อ.3/227 ฯลฯ) คือ

๑. อาคมนสัทธา ความเชื่อ ความมั่นใจของพระโพธิสัตว์ อันสืบมาจากการบำเพ็ญสั่งสมบารมี (อาคมนียสัทธา หรืออาคมสัทธา ก็เรียก)

๒. อธิคมสัทธา ความเชื่อมั่นของพระอริยบุคคล ซึ่งเกิดจากการเข้าถึงด้วยการบรรลุธรรมเป็นประจักษ์ (อธิคมสัทธา ก็เรียก)

๓. โอกัปปนสัทธา ความเชื่อหนักแน่นสนิทแน่ว่เมื่อได้ปฏิบัติก้าวหน้าไปในการเห็นความจริง (โอกัปปนียสัทธา ก็เรียก ท่านว่า ตรงกับอธิโมกข์ หรืออธิโมกขสัทธา)

๔. ปสาทสัทธา ความเชื่อที่เป็นเพียงความเลื่อมใสจากการได้ยินได้ฟัง


สัทธาจริต พื้นนิสัยหนักในศรัทธา เชื่อง่าย พึงแก้ด้วยปสาทนียกถา คือ ถ้อยคำที่นำให้เกิดความเลือมใสในทางที่ถูกที่ควร และด้วยความเชื่อที่มีเหตุผล (ข้อ ๔ ในจริต ๖)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตา "ความเป็นสภาพสูญ" ความว่าง

๑. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระ คือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ

๒. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่วางจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน


๓. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่า เป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน


๔. ความว่าง ที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริิญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลบ สุญตา ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญาคาร "เรือนว่าง" โดยนัย หมายถึงสถานที่สงัด ปลอดคน ปราศจากเสียงรบกวน มักมาในข้อความว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่สุญญาคาร ก็ดี ..." ซึ่งท่านมักอธิบายว่า สุญญาคาร ได้แก่ เสนาสนะ (อันสงัด) ทั้ง ๗ ที่นอกจากป่าและโคนไม้ กล่าว่คือ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง


สุตะ "สิ่งสดับ" สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง, ความรู้จากการเล่าเรียนหรือรับถ่ายทอดจากผู้อื่น, ข้อมูลความรู้จากการอ่านการฟังบอกเล่าถ่ายทอด, สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ

"สุตะ" หมายถึงความรู้ที่ได้เล่าเรียนสดับฟังธรรม ความรู้ในพระธรรมวินัย ความรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ หรือ ปริยัติ, สุตะเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเจริญงอกงาม ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต โดยเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา ที่เป็นเบื้องต้นหรือเป็นฐานของพรหมจริยะ และเป็นเครื่องเจริญปัญญา ให้พัฒนาจนไพบูลย์บริบูรณ์ (ที.ปา. 11/444/316) พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เป็โนผู้มีสุตะมาก (เป็นพหูสูต หรือมีพาหุสัจจะ) และเป็นผู้เข้าถึงสุตะ (องฺ.จตุกฺก.21/6/9) (ข้อ ๓ ในอริยวัฒิ ๕)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 23 ก.ค. 2014, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สามัคคี ความพร้อมเพรียง, ความกลมเกลียว, ความมีจุดรวมตัวเข้าด้วยกันหรือมุ่งไปด้วยกัน (โดยวิเคราะห์ว่า อคฺเคน สิขเรน สงฺคตํ สมคฺคํ สมคฺคภาโว สามคฺคี) คำเสริมที่มักมาด้วยกันกับสามัคคี คือ สังคหะ (ความยึดเหนี่ยวใจให้รวมกัน) อวิวาท (ความไม่วิวาทถือต่าง) และเอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมพรักพร้อมกัน เรียกว่า กายสามัคคี (สามัคคีด้วยกาย)

เมื่อบุคคลเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีเห็นชอบร่วมกัน พอใจร่วมเป็นอย่างเดียวกัน หรืออย่างภิกษุ แม้มิได้ไปร่วมประชุมทำสังฆรรม แต่มอบให้ฉันทะ เรียกว่า จิตสามัคคี (สามัคคีด้วยใจ) ,

ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ คือ สังฆสามัคคี เป็นหลักการสำคัญยิ่งในพระวินัย ที่จะดำรงพระพุทธศาสนา จึงมีพุทธบัญญัติหลายอย่างเพื่อให้สงฆ์มีวิธีปฏิบัติในการรักษาสังฆสามัคคี นั้น
ส่วนการทำให้สงฆ์แตกแยก ก็คือการทำลายสงฆ์ เรียกว่า สังฆเภท ถือว่าเป็นกรรมชั่วร้ายแรง ถึงขั้นเป็น อนันตริยกรรม

(ถ้ามีการทะเลาะวิวาท บาดหมาง กีดกั้นกัน ไม่เอื้อเฟื้อกัน ไม่ร่วมมือกัน ไม่ปฏิบัติข้อวัตรต่อกัน ยังไม่ถือว่าสงฆ์แตกกัน แต่เป็นความร้าวรานแห่งสงฆ์ เรียกว่า สังฆราชี แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลาย แตกแยกกัน ถึงขั้นคุมกันเป็นคณะ แยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม แยกทำกรรมใหญ่น้อยภายในสีมา เมื่อนั้น เป็นสังฆเภท)

หลักสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อให้สงฆ์มีสามัคคีเป็นแบบอย่าง ได้แก่ สาราณียธรรม ๖ ส่วนหลักธรรมสำคัญสำหรับเสริมสร้างสามัคคีในสังคมทั่วไป ได้แก่ สังคหวัตถุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร