วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 58, 59, 60, 61, 62, 63, 64 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้ขอทิ้งหมายเหตุไว้หน่อยนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ธรรมที่บัญญัติว่า "ศูนยตา" นี้ ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการอ่านและนึกคิดตีความโดยตรรกะ หรือจินตนาการสภาวะโดยอาศัยสัญญาหรือความจำได้หมายรู้ที่สะสมจากประสบการณ์เก่า :b47: :b48: :b47:

ในท่อนคำพูดด้านบนที่ยกมาจากพระสูตรให้ได้ศึกษากันนี้ ถ้าอ่านแล้วคิดตามหรือจินตนาการเฉยๆโดยไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องรองรับ ก็อาจจะตีความหรือจินตนาการไปทางด้านมิจฉาทิฏฐิได้โดยง่าย :b48: :b49: :b48:

วิสุทธิปาละจึงขอทิ้งโน๊ตไว้สำหรับผู้ที่ศึกษาว่า แนวทางในการเข้าถึงความหมายของคำว่า "ศูนยตา" อย่างลึกซึ้งแท้จริงแล้วนั้น ต้องอาศัยการปฏิบัติในองค์มรรคาหนึ่งเดียวที่พระบรมครูทรงกำหนดไว้ดีแล้วทั้ง ๘ ข้อเพื่อให้เห็นขันธ์เห็นโลกตามจริงเท่านั้น ผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถอ่านข้อความด้านบนแล้วเกิดธรรมปีติ ด้วยความลึกซึ้งถึงใจได้อย่างแจ่มแจ้ง :b46: :b47: :b41:


มาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมทั้งหลายก็เปรียบดุจมายาลักษณะ ท่านจึงมิควรมีความหวั่นกลัวอะไร ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน?

เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายเป็นสักแต่ว่าบัญญัติโวหาร ปราศจากสาระที่มีอยู่ด้วยภาวะของมันเอง
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ยึดถือในอักขระถ้อยคำ ฉะนั้น จึงปราศจากความหวั่นหวาดใดๆ ด้วยเหตุดังฤา?

ก็เพราะเหตุว่าอักขระถ้อยคำนั้น แท้จริงก็ปราศจากสภาวะ (เป็นศูนยตา)

แล้วนั่นคือวิมุตติ

และวิมุตติธรรมนี้เองที่เป็นธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วย"

****************************

"อันการนั่งสมาธิที่แท้จริงนั้น คือการไม่ปรากฏกายใจในภพทั้ง ๓

ไม่ต้องออกจากนิโรธสมาบัติ แต่ก็สามารถแสดงบรรดาอิริยาบถให้ปรากฏได้
นี้คือการนั่งสมาธิ

ไม่ต้องสละมรรคธรรม แต่ก็สามารถทำกิจกรรมของปุถุชนได้
นี้คือการนั่งสมาธิ

จิตไม่ยึดติดในภายใน หรือยึดติดในภายนอก
นี้คือการนั่งสมาธิ

ไม่มีความหวั่นไหวกําเริบ เพราะเหตุแห่งปวงทิฐิ แลสามารถอบรมในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ได้
นี้คือการนั่งสมาธิ

ไม่ต้องตัดกิเลส แต่สามารถเข้านิพพานได้
นี้คือการนั่งสมาธิ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"แท้จริงธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่มีความเกิด ไม่มีความดับเป็นสภาพ
นี้คือความหมายแห่งอนิจจตา

การพิจารณาแทงตลอดในปัญจขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นสภาพว่างเปล่าปราศจากสาระบังเกิดขึ้น
นี้คือความหมายแห่งทุกขตา

ธรรมทั้งหลายปราศจากสภาวะในที่สุด
นี้คือความหมายแห่งศูนยตา

อัตตากับอนัตตามิได้เป็นธรรมแตกต่างกัน
นี้คือความหมายแห่งอนัตตตา

ตามธรรมดาธรรมทั้งปวง ก็ไม่มีสภาพอุบัติขึ้น ฉะนั้นจึงไม่มีสภาพดับสลายไป
นี้คือความหมายแห่งนิโรธ"

*******************************

"ทัศนวิสัยแห่งทิพยจักษุของท่านนั้น ท่านแลดูด้วยจิตปรุงแต่งในลักษณะฤๅไม่

หรือว่าแลดูด้วยจิตอันปราศจากการปรุงแต่งในลักษณะ?

หากท่านแลดูด้วยจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะ ก็ชื่อว่าเป็นสังขตธรรม ย่อมมีค่าเท่ากับอภิญญา ๕ ของพวกพาหิรลัทธิ (ลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา)

หากท่านแลดูด้วยจิตไม่ปรุงแต่งในลักษณะ ก็ชื่อว่าเป็นอสังขตธรรม ย่อมไม่ควรที่จักมีการเห็นอะไรอีก"

"ข้าแต่ท่านวิมลเกียรติผู้เจริญ ในสากลโลกนี้ ผู้ใดเล่าที่ได้บรรลุทิพยจักษุอย่างแท้จริง?"

คฤหบดีนั้นตอบว่า

"มีอยู่ คือสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้บรรลุทิพยจักษุอย่างจริงแท้ ทรงอยู่ในสมาธิโดยมิขาด เล็งแลเห็นสรรพพุทธเกษตรทั้งปวง

มิได้เห็นโดยอาศัยจิตปรุงแต่งในลักษณะ หรือเห็นโดยจิตไม่ปรุงแต่งในลักษณะ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"สภาวะแห่งอาบัติโทษนั้น มิได้อยู่ภายใน มิได้อยู่ภายนอก และมิได้อยู่ ณ ท่ามกลาง

สมดังพระพุทธภาษิตที่ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง สัตว์ก็ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เศร้าหมอง เมื่อจิตผ่องแผ้ว สัตว์ก็ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ผ่องแผ้ว

ก็ธรรมชาติแห่งจิตนั้น ไม่ตั้งอยู่ภายใน ไม่ตั้งอยู่ภายนอก และไม่ตั้งอยู่ ณ ท่ามกลาง
ธรรมชาติแห่งจิตเป็นอย่างไร ธรรมชาติแห่งอาบัติโทษก็ย่อมมีอุปมาดุจเดียวกัน
ธรรมทั้งปวงมีสภาพอย่างเดียวกัน เพราะสิ่งทั้งปวงย่อมไม่พ้นจากความเป็น ‘ตถตา’ เช่นเดียวกับท่านเอง

เมื่อสมัยที่จิตของท่านหลุดพ้นจากอาสวกิเลส จิตในสมัยนั้นจักมีความเศร้าหมอง ฤๅไม่?"
ตอบว่า "หามิได้"
วิมลเกียรติคฤหบดีจึงว่า "ธรรมชาติจิตของสรรพสัตว์ ก็ปราศจากความเศร้าหมองโดยนัยเดียวกัน ..

วิกัลปสัญญา (สัญญาที่มองโลกด้วยความเป็นของคู่ คิดนึกด้วยกิเลส แบ่งแยกเราเขา) ชื่อว่าเป็นธรรมเศร้าหมอง
ความพ้นจากวิกัลปสัญญาชื่อว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์

วิปลาสสัญญาชื่อว่าเป็นธรรมเศร้าหมอง
ความพ้นจากวิปลาสสัญญาชื่อว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์

ความยึดถือในตัวตนชื่อว่าเป็นธรรมเศร้าหมอง
ความพ้นจากความยึดถือในตัวตนชื่อว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์

อันธรรมทั้งปวงนั้นเป็นธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ปราศจากแก่นสารความดำรงมั่น
เหมือนมายา เหมือนสายฟ้าแลบ

ธรรมทั้งปวงไม่เป็นคู่ แม้เพียงชั่วขณะจิตหนึ่งก็ไม่ตั้งมั่นอยู่ได้

ธรรมทั้งปวงสำเร็จมาจากวิกัลปทิฐิ (ทิฏฐิที่เจือด้วยกิเลส แบ่งแยกเป็นสอง แบ่งแยกเราเขา) เหมือนความฝัน เหมือนพยับแดด
เหมือนเงาดวงจันทร์ในนํ้า เหมือนเงาในกระจก

ล้วนอุบัติมาจากวิกัลปสัญญา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์แล้ว ก็ไม่มีสภาวะใดที่พึงจะเรียกว่าคุณประโยชน์ หรือจักพึงเรียกว่าบุญญานิสงส์ของเนกขัมมะนั่นเอง และนั่นจึงเป็นอรรถรสอันแท้จริงของการออกบรรพชา

โดยนัยแห่งสังขตธรรม จึงกล่าว "โดยบัญญัติ" ได้ว่า มีสภาวะที่เป็นคุณประโยชน์ มีสภาวะที่เป็นบุญญานิสงส์

แต่การออกบรรพชาบำเพ็ญเนกขัมมจริยานั้น ก็เพื่อบรรลุถึงธรรมอันเป็นอสังขตะ
ก็ในอสังขตธรรมนั้น ย่อมปราศจากสภาวะอันจักพึงบัญญัติเรียกได้ว่า เป็นคุณประโยชน์ ฤๅเป็นบุญญานิสงส์ ..

ผู้ที่ออกบรรพชาโดยแท้จริงนั้น ย่อมไม่ยึดถือว่า มีนั่น มีนี่ หรือยึดถือในท่ามกลาง

เขาย่อมห่างไกลจากทิฐิ ๖๒ ตั้งอยู่ในนิพพาน อันเป็นธรรมซึ่งบัณฑิตผู้มีปัญญาจักพึงบรรลุ เป็นธรรมซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนินตามอยู่

เขาย่อมอาจสามารถทำลายเหล่ามารทั้งหลาย ข้ามพ้นจากปัญจคติ

เป็นผู้มีปัญจจักษุอันหมดจด ถึงพร้อมด้วยปัญจพละ ตั้งอยู่ในปัญจินทรีย์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย พ้นจากสรรพอกุศลธรรม ข่มรอนพวกพาหิรลัทธิได้

เป็นผู้พ้นจากข่ายแห่งสมมุติบัญญัติ ดังอุบลซึ่งบานพ้นจากเปลือกตม

เป็นผู้ปราศจากสังโยชน์เครื่องร้อยรัด ไม่มีอหังการและมมังการ ไม่มีอนุภูตธรรม (ธรรมอันเกิดขึ้นแล้ว) ไม่มีความฟุ้งซ่านวิปฏิสารใดๆภายในจิต มีแต่ความปีติสุข

เป็นผู้แผ่ธรรมคุ้มครองสรรพสัตว์ ให้ได้เข้าถึงสภาพธรรมดุจเดียวกับตนด้วย มีปกติอยู่ในฌานสมาธิ ห่างไกลจากปวงบาปโทษทั้งผอง

หากผู้ใดทำได้เช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ออกบรรพชาที่แท้จริง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ถ้าเป็นอดีตชาติไซร้ อดีตก็ชื่อว่าล่วงลับไปแล้ว หากเป็นอนาคตชาติเล่า อนาคตก็ยังเป็นธรรมที่ยังไม่มาถึง หรือจักเป็นปัจจุบันชาติ ปัจจุบันชาติก็ปราศจากสภาวะความดำรงตั้งมั่นอยู่ได้

สมดังพระพุทธวจนะที่ว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลใดที่ชาติของเธอบังเกิดขึ้น ในกาลนั้นก็ชื่อว่าเป็นชรา เป็นมรณะด้วย

(ส่วน) ความไม่มีชาติเป็นอนุตปาทธรรม (ธรรมอันไม่มีความเวียนเกิดอีก) นั้น
แท้จริงก็คือ ตัตตวสัตยธรรม (ธรรมธาตุที่เป็นสัจจะ)

ก็ในตัตตวสัตยธรรมนั้น ย่อมไม่มีการให้พยากรณ์ และไม่มีการบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

เมื่อเป็นดังนี้ ท่านจักรับพุทธพยากรณ์ว่า ยังเกี่ยวเนื่องกับชาติอีกเพียงชาติเดียว ก็จักตรัสรู้อย่างไรได้เล่า?

หรือจักกล่าวว่า ได้รับพุทธพยากรณ์ในความเกิดขึ้นแห่ง ตถตา ฤๅ?
หรือจักกล่าวว่าได้รับพุทธพยากรณ์ในความดับไปแห่ง ตถตา ฤๅ?

ถ้าเป็นการรับพุทธพยากรณ์ในความเกิดขึ้นแห่ง ตถตา ไซร้ โดยความจริงแล้ว ตถตา ย่อมไม่มีความเกิดขึ้น

ถ้าเป็นการรับพุทธพยากรณ์ในความดับไปแห่ง ตถตา ไซร้ โดยความจริงแล้ว ตถตา ย่อมไม่มีความดับไป

สรรพสัตว์ย่อมเป็น ตถตา นี้
ธรรมทั้งปวงก็เป็น ตถตา นี้
พระอริยเจ้าทั้งหลายก็เป็น ตถตา นี้
แม้ท่านเองก็เป็น ตถตา นี้ด้วย

ฉะนั้น ถ้าท่านได้รับพุทธพยากรณ์ สรรพสัตว์ก็สมควรจักได้รับพุทธพยากรณ์ด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน? ก็เพราะว่าอันธรรมชาติแห่ง ตถตา นั้น ย่อมไม่มีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นสองนั่นเอง

หากท่านได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สรรพสัตว์ก็สมควรจักต้องบรรลุ ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน? ทั้งนี้เพราะธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์นั้น โดยเนื้อแท้แล้ว ก็คือธรรมชาติแห่งโพธินั่นเอง

และถ้าท่านดับขันธปรินิพพานลง สรรพสัตว์ก็สมควรจักต้องดับขันธปรินิพพานด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน? เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรู้ชัดว่าธรรมชาติของสรรพสัตว์นั้น มีความดับรอบเป็นสภาพ คือพระนิพพานธาตุนั่นเอง มิจำเป็นต้องมีอะไรมาดับรอบกันอีก ..

โดยปรมัตถ์แล้ว ก็ไม่มีผู้ตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือไม่มีผู้เสื่อมถอยจากจิตปณิธานในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเลย ..

ธรรมชาติแห่งโพธินั้น จักบรรลุด้วยกายก็มิได้ ฤาจักบรรลุด้วยจิตก็หามิได้
ธรรมชาติที่ดับรอบสนิทโดยไม่มีเศษเหลือนั่นแลคือโพธิ เพราะดับเสียซึ่งปวงลักษณะเสียได้.....ฯลฯ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ท่านคฤหบดีมาแต่ไหนเทียว?"
วิมลเกียรติคฤหบดี ตอบว่า "ผมมาแต่ธรรมมณฑล"
ข้าพระองค์จึงถามต่อไปว่า "ธรรมมณฑลไหน?"

ท่านตอบว่า "จิตที่ตั้งไว้ตรงนั้นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะปราศจากความล่อลวง การปฏิบัติธรรมนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะยังให้ลุแก่ปฏิเวธ จิตที่ลึกซึ้งนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งกุศลธรรมอันสมบูรณ์พร้อม โพธิจิตนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะปราศจากความหลงผิดใดๆ ทานบริจาคนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ศีลสังวรนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะยังปณิธานให้สำเร็จ ขันตินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะจิตไม่บังเกิดความเบียดเบียนเป็นอุปสรรคในสรรพสัตว์ วิริยะนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะปราศจากโกสัชชะ ฌานสมาธินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะมีจิตอันฝึกฝนอ่อนโยนเป็นกรรมนียะแล้ว ปัญญานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะอรรถว่ารู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงโดยประจักษ์ เมตตานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะยังความสุขให้เกิดแก่สรรพสัตว์โดยเสมอภาพ กรุณานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะสามารถทำให้อดกลั้นต่อความทุกข์ในการโปรดสัตว์ได้ มุทิตานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะทำให้ชื่นชมยินดีในธรรม อุเบกขานั่นแล ชื่อว่าเป็นธรรมมณฑล
เพราะเป็นธรรมซึ่งยังความชังความรักให้สมุจเฉทไป อภินิหารนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะยังฉฬภิญญาให้สำเร็จไพบูลย์ได้ วิมุตตินั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะสละเสียซึ่งสรรพธรรมได้ อุปายนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะเป็นเหตุให้สั่งสอนโปรดสรรพสัตว์ได้ สังคหวัตถุ ๔ นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะเป็นธรรมซึ่งสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย พหูสูตนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะเป็นเหตุชักจูงให้ปฏิบัติตามที่ได้สดับศึกษามา การควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะนำมาซึ่งยถาภูต ญาณทัศนะได้ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะนำให้ปล่อยวางสังขารธรรมได้ จตุราริยสัจนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะเป็นสภาพจริงไม่ล่อลวงในโลก ปฏิจจสมุปบาทนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะอวิชชา ฯลฯ ชรามรณะนั้นล้วนเป็นอนันตธรรม (ด้วยเป็นสภาพว่างเปล่า) กิเลสาสวะทั้งปวงนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะความรู้แจ้งตามสภาพของมัน สรรพสัตว์นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะรู้แจ้งในหลักอนัตตา ธรรมทั้งปวงนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะทราบชัดว่าธรรมทั้งปวงนั้นเป็นศูนยตา มารวิชัยนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะทำให้ไม่หวั่นไหวกำเริบ ภพทั้ง ๓ นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะไม่ยึดเอาคติแห่งภพนั้น สิงหนาทนั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะปราศจากความหวั่นหวาดจากภัย พละ อุภยะ อเวณิกธรรมนั่นแล ชื่อว่า ธรรมมณฑล
เพราะปราศจากอกุศลโทษทั้งหลาย ไตรวิชชานั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล
เพราะไม่มีอาวรณธรรมใดๆอื่น ความที่ชั่วขณะจิตเดียวก็สามารถรู้แจ้งสรรพธรรมได้นั่นแล ชื่อว่าธรรมมณฑล

เพราะยังสัพพัญุตญาณให้สำเร็จ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้

ดูก่อนกุลบุตร พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อโปรดสรรพสัตว์ การกระทำของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใด จะเดินจะเหิน จะไปจะมา ท่านพึงกำหนดรู้ไว้เถอะว่า

พระโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่ามาจากธรรมมณฑล ตั้งอยู่ในธรรมของพระพุทธองค์แล"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อะไรชื่อว่ามีธรรมสุขเป็นที่ยินดี?"

ท่านวิมลเกียรติคฤหบดีตอบว่า

"ยินดีที่มีศรัทธาปสาทะในพระพุทธองค์เป็นนิตย์
ยินดีในการสดับพระสัทธรรมเป็นนิตย์
ยินดีในการได้บูชาสักการะพระสงฆเจ้าเป็นนิตย์
ยินดีในการพ้นจากเบญจพิธกามคุณเป็นนิตย์

ยินดีในการพิจารณาเห็นปัญจขันธ์ทั้ง ๕ มีอุปมาดุจโจรร้าย
ยินดีในการพิจารณาเห็นมหาภูตรูปทั้ง ๔ มีอุปมาดุจงูพิษ
ยินดีในการพิจารณาเห็น สฬายตนะภายในมีอุปมาดุจเรือนร้าง
ยินดีในการคุ้มครองรักษาจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมานุธรรมปฏิบัติ

ยินดีในการบำเพ็ญอัตถประโยชน์ต่อสรรพสัตว์
ยินดีในการเคารพบูชาคุณครูบาอาจารย์
ยินดีในการบริจาคมหาทาน
ยินดีในการมีศีลสังวรเคร่งครัด

ยินดีในการมีขันติโสรัจจะ
ยินดีในการยังกุศลสโมธานให้บังเกิดโดยมิย่นย่อ
ยินดีในฌานสมาธิอันไม่ฟุ้งซ่าน
ยินดีในปัญญาอันบริสุทธิ์สะอาด

ยินดีในการมุ่งจิตต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ยินดีในการบำราบเหล่ามาร
ยินดีในการยังสรรพกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉท
ยินดีในการยังพุทธเกษตรให้บริสุทธิ์หมดจด

ยินดีในการยังมหาปุริสลักษณะให้สำเร็จจึงสร้างปวงกุศลสมภาร
ยินดีในกิจอลังการธรรมมณฑล
ยินดีในการสดับพระสัทธรรมอันเป็นส่วนลึกซึ้ง ก็ไม่พึงบังเกิดความท้อถอยเหนื่อยหน่ายหวั่นเกรง
ยินดีในการบรรลุวิโมกข์ ฯลฯ

นี้แลชื่อว่าพระโพธิสัตว์มีธรรมสุขเป็นที่ยินดี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพระองค์จึงถามว่า "ข้าแต่ท่านคฤหบดี อะไรเล่าชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต?"

ท่านตอบว่า "อันธรรมทานสันนิบาตนั้น ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ในกาลเดียวบูชาสักการะในสรรพสัตว์ได้ทั่วถึง นี้แลชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต"

ข้าพระองค์ถามอีกว่า "นั่นคืออะไร"

ท่านตอบว่า "เพราะมีความตรัสรู้เป็นที่ตั้ง พึงยังเมตตาจิตให้เกิดขึ้น
เพราะจักโปรดสรรพสัตว์เป็นที่ตั้ง พึงยังพระมหากรุณาจิตให้เกิดขึ้น
เพราะจักธำรงพระศาสนาให้ยั่งยืนนาน พึงยังมุทิตาจิตให้เกิดขึ้น

เพราะจักสงเคราะห์ปัญญาให้เกิดขึ้น พึงปฏิบัติในอุเบกขา
เพราะจักสงเคราะห์คนมัจฉริยโลภมาก พึงยังทานบารมีให้เกิดขึ้น
เพราะจักสั่งสอนคนทุศีล พึงยังศีลบารมีให้เกิดขึ้น
เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา พึงยังขันติบารมีให้เกิดขึ้น

เพราะการหลุดพ้นจากลักษณะแห่งกายและจิต พึงยังวิริยบารมีให้เกิดขึ้น
เพราะการบรรลุความตรัสรู้ พึงยังฌานบารมีให้เกิดขึ้น
เพราะการสำเร็จในสัพพัญุตญาณ พึงยังปัญญาบารมีให้เกิดขึ้น
แสดงธรรมสั่งสอนปวงสัตว์ แต่ก็มีศูนยตสัญญาเกิดอยู่เป็นปกติ

ไม่ต้องสละสังขตธรรม แต่ก็ยังอนิมิตธรรมให้เกิดได้
แม้จักแสดงให้เห็นว่าต้องเสวยภพชาติอยู่ แต่ก็ไม่ยึดถือว่าเป็นกรรม
เพราะธำรงรักษาพระศาสนา พึงยังอุปายพละให้เกิดขึ้น
เพราะทำการโปรดสรรพสัตว์ พึงยังสังคหวัตถุธรรมให้เกิดขึ้น ฯลฯ

ปฏิบัติตามกุศลธรรมานุธรรมวิถี พึงยังอาชีวะให้บริสุทธิ์ มีจิตหมดจดหฤหรรษ์อยู่
พึงเข้าใกล้บัณฑิตแลไม่รังเกียจพาลชน
พึงควบคุมรักษาจิตไว้ให้อยู่ในอำนาจ ฯลฯ

ละสรรพกิเลสให้เป็นสมุจเฉท พร้อมทั้งสรรพอาวรณธรรมและสรรพอกุศลธรรมให้หมดไป
ยังสรรพกุศลธรรมให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุสัพพัญุตญาณ
ยังสรรพกุศลธรรมและโพธิปักขิยธรรม อันเกื้อกูลแก่ความตรัสรู้ให้อุบัติขึ้น

ด้วยประการดังนี้แล กุลบุตร! จึงชื่อว่าธรรมทานสันนิบาต

พระโพธิสัตว์องค์ใด ซึ่งสถิตอยู่ในธรรมทานสันนิบาตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นมหาทานบดี และชื่อว่าเป็นบุญเขตอันประเสริฐของโลกทั้งปวงด้วย"

*******************************

"หากผู้บริจาคทานมีจิตสมํ่าเสมอ ไม่แบ่งแยกบริจาคให้แก่ยาจกผู้อยู่ในวรรณะตํ่าสุด ดุจเดียวกับว่าได้ถวายแก่พระตถาคตเจ้าอันเป็นบุญเขตที่เลิศ มีจิตกอปรด้วยมหากรุณา ไม่หวังปรารถนาต่อผลตอบแทนใดๆไซร้

การบริจาคนั้นพึงได้ชื่อว่าธรรมทานอันสมบูรณ์"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อนึ่ง พระโพธิสัตว์แม้จักอยู่ในท่ามกลางแห่งชาติมรณะ ก็มิได้แปดเปื้อนด้วยมลทินนั้น
แม้จักตั้งอยู่ในพระนิพพาน แต่ก็มิได้ด่วนดับขันธปรินิพพาน
มิได้ดำเนินตามปุถุชนจริยา ฤๅดำเนินตามอารยชนจริยา
นี้แลชื่อว่าจริยาแห่งพระโพธิสัตว์

จักนับเป็นมลจริยา (จริยาที่ไม่ดี) ก็มิได้ ฤๅจักนับเป็นวิมลจริยา (จริยาที่ดี) ก็มิได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติผ่านมารจริยามา แต่ก็สามารถสำแดงการบำราบมารให้อยู่ในอำนาจได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักเพ่งพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ แต่ก็สามารถเข้าถึงบรรดามิจฉาทิฐิได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักสงเคราะห์สรรพสัตว์ แต่ก็ไม่บังเกิดฉันทราคะเพลิดเพลิน
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักบาเพ็ญศูนยตจริยา แต่ก็สร้างสมสรรพกุศลธรรมไว้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติตามอัปปนิมิตธรรม แต่ก็โปรดสรรพสัตว์
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติตามอมตธรรม แต่ก็สำแดงการเสวยภพชาติให้ปรากฏได้
แม้จักปฏิบัติตามอนุตปาทธรรม แต่ก็ยังสรรพกุศลจริยาให้เกิดมีขึ้นได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติในปารมิตา ๖ แต่ก็มีความรอบรู้แทงตลอดในจิตเจตสิกธรรมแห่งมวลสัตวชีพได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักบำเพ็ญตามฉฬภิญญา แต่ก็ไม่ยังอาสวะให้หมดจดสิ้นเชิงเลยทีเดียว
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติในอัปปมัญญาจตุพรหมวิหาร ๔ แต่ก็ไม่มีความปรารถนาที่จักไปอุบัติในพรหมโลก
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักปฏิบัติในฌานสมาบัติ วิโมกข์ สมาธิ
แต่ก็ไม่หลงใหลเพลิดเพลินในธรรมเหล่านั้น
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา ฯลฯ

แม้จักปฏิบัติในปัญจพลธรรม ๕
แต่ก็ยินดีปรารถนาในทศพล ๑๐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯลฯ
แม้จักสำแดงตนมีวัตรจริยาเป็นพระอรหันตสาวก หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า
แต่ก็ไม่ละเลยต่อพระสัพพัญุตญาณธรรม
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักเพ่งพิจารณาเห็นพุทธเกษตรปราศจากสภาวะเป็นศูนยตา
แต่ก็สำแดงภูมิแห่งความบริสุทธิ์หมดจดนานัปการในพุทธเกษตรนั้นได้
นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา

แม้จักสำเร็จพระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแสดงพระธรรมจักร แลดับขันธปรินิพพาน
แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สละคืนซึ่งโพธิสัตว์จริยา
นี้แลชื่อว่าจริยาแห่งพระโพธิสัตว์"

*****************************


ดูเหมือนจะเริ่มยาวไป .. ไว้คราวหน้ามาต่อในพระสูตรส่วนที่สอง ซึ่งเป็นบทปุจฉาวิสัชนาระหว่างพระมัญชุศรีกับท่านวิมลเกียรติกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การสัมผัสไตรลักษณ์จะสัมผัสได้หยาบหรือละเอียด ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่อบรม โดยเฉพาะเริ่มจากสภาพอนิจจัง
1.การรู้ถึงสัมผัสทางตา หู...หรือการรู้ว่าความนึกคิด เปลี่ยนแปลงไปเป็นสภาพอนิจจังอย่างหยาบ
2.การรู้ถึงการกระตุกขณะภาวนา เป็นสภาพอนิจจังอย่างกลาง เหตุที่กระตุกเป็นการขาดของสันตติเกิดจากสมาธิแรงมากกว่าสติและสัมปชัญญะ
3.การรู้ถึงการวูบ หรืองูบ เหมือนตกจากที่สูง เป็นสภาพอนิจจังอย่างกลาง เหตุที่วูบเป็นการขาดของสันตติเกิดจากสติและสัมปชัญญะอ่อน
4การรู้ถึงการสั่นสะเทือน (vibration)เป็นการรู้ถึงความเกิดดับของรูปเป็นสภาพอนิจจังอย่างละเอียดเป็นการขาดของสันตติเกิดจากความสมดุลของอินทรีย์ที่แก่กล้า
5.การรู้ถึงการขาดของความรู้สึก(นาม) วับ ๆ ต่อเนื่องกัน เป็นสภาพอนิจจังอย่างละเอียด เป็นการขาดของสันตติ เกิดจากความสมดุลของอินทรีย์ที่แก่กล้า
เป็นที่สังเกตว่าการเกิดสภาพอนิจจัง กรณี 4 แล้วก็จะเกิดกรณี 5 ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 13:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การกล่าวถึงสภาพอนิจจังนี้ สิ่งสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรจะปรับอินทรีย์ให้สมดุล เพื่อพัฒนาสภาพอนิจจังอย่างหยาบให้ละเอียด :ซึ่งจะต้องปรับแก้ไขในกรณีที่2 คือการกระตุก และ 3 คือการงูบ
1.สภาวกระตุก เกิดจากการกำหนดรู้ลักษณะของรูปนาม แต่เป็นการเพ่ง ยึดรูปนาม เหมือนเชือกที่ดึงไว้ตึง เมื่อขาดจึงเกิดแรงกระชาก ทำให้เกิดการกระตุก และหากแรงยึดเหนี่ยวมาก(สมาธิแก่กล้าการรู้เข้มแต่ขาดการรู้ตามความเป็นจริง)อาจถึงขั้นกระดอนไประยะทางเป็นเมตร
การแก้ไข โดยหยุดพักการปฏิบัติในแนวเดิมก่อน ให้รู้การสัมผัสภายนอกลืมตาสัมผัสรู้ทางรูป เสียง .....ลดความตั้งใจในการรู้ รู้เบาๆ รู้บ้างปล่อยบ้าง ไม่ focus ที่จุดใดจุดหนึ่งจนกระทั่งการกระตุกลดลง หากเบาแล้วการกลับไปทำกรรมฐานเดิม แต่ยังใช้การลดความตั้งใจในการรู้ รู้เบาๆ รู้บ้างปล่อยบ้าง ไม่ focus เช่นเดิม
2.การรู้ถึงการวูบหรืองูบ เหมือนตกจากที่สูง เกิดจากในการกำหนดรู้นั้นสติอ่อนไป
การแก้ไขให้ใช้กรรมฐานเดิมที่ทำ แต่ลดระยะเวลาในการนั่ง เพิ่มการเดินจงกรม และอย่าเดินช้ามาก เช่น หากเดินจงกรม 6 ระยะ ไม่ควรเดินในระยะที่สูง เพิ่มการรู้สึกตัวในอิริยาบถประจำวัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาว่ากันต่อในวิมลเกียรตินิทเทสสูตรส่วนที่สองนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

สำหรับส่วนที่สองนี้ เป็นบทสนทนาธรรมระหว่างท่านวิมลเกียรติกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งพระพุทธองค์ให้เป็นตัวแทนไปเยี่ยมไข้ เนื่องจากท่านมีความเป็นเลิศด้านปัญญา มีปฏิภาณในการโต้ตอบธรรมที่ทันกันกับท่านวิมลกียรติ :b48: :b49: :b48:

ในบทสนทนาจึงเป็นเสมือนการปุจฉาวิสัชนาธรรมระหว่างสองนักปราชญ์ที่เป็นเลิศด้านปัญญาด้วยกันทั้งคู่ จึงมีผู้ใฝ่ธรรมตามไปเป็นขบวนแห่ เพื่อเฝ้ารับฟังว่าจะมีธรรมะลึกซึ้งอันใดให้ได้เพิ่มพูนสติปัญญากันบ้าง ดังคำบรรยายในพระสูตรที่ว่า :b50: :b49: :b43:

"ครั้งนั้นแล ในธรรมมหาสันนิบาต อันมีปวงพระโพธิสัตว์ พระมหาสาวก ท้าวพรหมราช ท้าวสักกรินทร์ ท้าวจตุมหาราช ต่างก็เกิดมนสิการในใจว่า

บัดนี้มหาบุรุษทั้งสองคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์กับท่านวิมลเกียรติคฤหบดีจักร่วมสนทนาปราศรัยกัน จักต้องมีการแสดงคัมภีรธรรมอันลึกซึ้งต่อกันเป็นแม่นมั่น

ครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ ๘,๐๐๐ องค์ พระอรหันตสาวก ๕๐๐ องค์ และเทวบริษัทนับด้วยร้อยเป็นอเนก นับด้วยพันเป็นอเนก จึงต่างพากันมีสมานฉันท์ในอันจักติดตามไปด้วย"


ซึ่งก็เป็นไปตามที่เหล่าสาธุชนคาดหวัง เพราะเนื้อหาข้อธรรมที่พระมัญชุศรีได้ปุจฉาเพื่อไต่ถามอาการป่วย และท่านวิมลเกียรติได้วิสัชนากลับมานั้น เป็นปริศนาธรรมที่แฝงไว้ด้วยอรรถอันลึกซึ้งสำหรับผู้บำเพ็ญเพียรที่ปรารถนาพุทธภูมิ :b47: :b46: :b47:

โดยเนื้อหาสาระเนื่องด้วยการป่วยไข้ สรุปจากการอุปมาของท่านวิมลเกียรติได้ว่า ..


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 14 ก.ค. 2014, 00:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเจ็บป่วยหมายถึงทุกข์ :b47: :b48: :b47:

ผู้ที่ยังไม่พ้นทุกข์ ก็คือผู้ที่ยังเจ็บป่วย มีโรคาพยาธิเบียดเบียน ให้ยังต้องเกิด ต้องเจ็บ ต้องตายอยู่ตลอด :b47: :b46: :b47:

ซึ่งพระโพธิสัตว์และสรรพสัตว์ ต่างก็ยังต้องเจ็บป่วยอยู่เหมือนๆกัน (คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ยังไม่พ้นทุกข์เสมอกัน) :b50: :b49: :b41:

แต่ด้วยเหตุปัจจัยต่างกัน ดังนี้คือ :b54: :b48: :b47:

สรรพสัตว์ ที่ยังต้องเจ็บป่วย (คือ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด) ก็เพราะความไม่รู้ (มี "อวิชชา" เป็นสมุฏฐาน) :b46: :b39: :b46:

แต่พระโพธิสัตว์ ที่ยังต้องเจ็บป่วย (คือ ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด) ก็เพราะความตั้งใจที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ก่อน (มี "มหากรุณา" เป็นสมุฏฐาน) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบความเป็นเหตุเป็นปัจจัยโดยสมมติบัญญัติแล้ว พระโพธิสัตว์ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด เพื่อบำเพ็ญบารมีพาสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ :b48: :b49: :b44:

เมื่อสรรพสัตว์ยังไม่พ้นทุกข์ (คือยังเวียนว่ายตายเกิด เปรียบได้กับความเจ็บป่วย) พระโพธิสัตว์จึงยังไม่อาจตัดใจที่จะเอาเฉพาะตัวเองให้รอด ให้พ้นทุกข์ไปได้นั่นเอง (คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ยังต้องมีความเจ็บป่วย เพื่ออยู่ช่วยเหลือเหล่าสรรพสัตว์กันก่อนนั่นเอง) :b48: :b47: :b46:

และการหายจากอาการเจ็บป่วยของเหล่าสรรพสัตว์ หมายเล็งถึงการพ้นไปเสียจากการเวียนว่ายตายเกิด พ้นไปจากการปรุงแต่งของขันธ์ ด้วยการทำลายอวิชชาลงเสียได้ :b46: :b39: :b46:

ส่วนการหายจากการเจ็บป่วยของพระโพธิสัตว์ หมายเล็งถึงการที่เหล่าสรรพสัตว์ปราศจากอวิชชาในจิตลงแล้วจากการช่วยเหลือของท่าน จึงทำให้พระโพธิสัตว์ไม่ต้องบำเพ็ญบารมี หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีบารมีเต็มพร้อมที่จะทำนิพพานให้แจ้งได้ :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2014, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดส่วนที่เป็น key ในพระสูตรมาให้ได้ศึกษากันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เอาส่วนที่ว่าด้วยความเจ็บป่วยของพระโพธิสัตว์กันก่อน :b46: :b47: :b46:

........................................................

(พระมัญชุศรีถามว่า)

"อาพาธของท่านนั้นมีสมุฏฐานมาจากอะไร? เกิดขึ้นเป็นไปอยู่นานเท่าไร? แลจักดับหายไปได้อย่างไร?"

ท่านวิมลเกียรติตอบว่า

"เพราะอาศัยโมหะเป็นสมุฏฐาน จึงมีตัณหา นี้เป็นการอุบัติขึ้นแห่งอาพาธของกระผม
เพราะเหตุที่สรรพสัตว์เจ็บป่วย กระผมจึงต้องเจ็บป่วย
ถ้าหากสรรพสัตว์พ้นจากความเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยของกระผมก็ย่อมดับสูญไปเอง

ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ?

เพราะว่าพระโพธิสัตว์ ย่อมอาศัยสรรพสัตว์เป็นที่ตั้ง จึงมาสู่ความวนเวียนแห่งชาติมรณะ
ครั้นเมื่อยังมีชาติมรณะอยู่ ก็ย่อมมีความเจ็บป่วยอยู่ตามธรรมดา
ก็ถ้าว่าสรรพสัตว์พ้นจากความเจ็บป่วยได้ พระโพธิสัตว์ย่อมปราศจากอาพาธใดๆรบกวนอีก

อุปมาดั่งคฤหบดีผู้มีบุตรแต่เพียงคนเดียว เมื่อบุตรนั้นล้มเจ็บ บิดามารดาก็ย่อมพลอยเจ็บตามไปด้วย
ครั้นบุตรนั้นหายเจ็บ บิดามารดาก็พลอยหายเจ็บไปด้วยฉันใด
พระโพธิสัตว์ก็มีอุปมัยดุจเดียวกันแม้ฉันนั้น

กล่าวคือ มีความกรุณาเมตตาต่อสรรพสัตว์เช่นบุตรในอุทร
เมื่อสรรพสัตว์เจ็บ ก็เท่ากับพระโพธิสัตว์ท่านเจ็บ
เมื่อสรรพสัตว์หายเจ็บ ความเจ็บของพระโพธิสัตว์ก็ย่อมสูญหายไป

อนึ่ง พระคุณถามว่า สมุฏฐานแห่งอาพาธเนื่องมาจากอะไร
กระผมขอวิสัชนาว่า
เหตุแห่งอาพาธของพระโพธิสัตว์นั้น มีพระมหากรุณาเป็นสมุฏฐานด้วย ดั่งนี้แล"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 58, 59, 60, 61, 62, 63, 64 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร