วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 00:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




น้ำใจ.jpg
น้ำใจ.jpg [ 24.58 KiB | เปิดดู 1386 ครั้ง ]
:b27: ๑๐๘ วิธี มอบน้ำใจให้แก่กัน :b27:

วิธีมอบน้ำใจให้แก่ผู้อื่นนั้น สามารถเริ่มต้นง่ายที่สุด ด้วยการมองและยิ้ม ต่อจากนั้นก็ใช้การทักทาย ฟัง พูด ให้ความมีน้ำใจต่อกัน ซึมลึกเข้าไปอีก น้ำใจนั้นสามารถส่งถึงผู้อื่นได้ ด้วยการเขียนและการกระทำ ทั้งต่อคน ที่รู้จักกันแล้ว และที่ยังไม่รู้จักกัน ไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่สามารถมอบน้ำใจ ให้แก่กันได้ทั้งสิ้น ธรรมเนียม วัฒนธรรมของไทยนั้นถือว่า คนไม่มีน้ำใจ หรือคนแล้งน้ำใจนั้นเป็นคนที่คบไม่ได้

น้ำใจนั้นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของมนุษย์ เพราะน้ำใจเป็นของที่มีอยู่แล้วในตัวของเราเองทุกคน ไม่ต้องไปซื้อหา หรือขอมาจากใคร และเมื่อเรามอบน้ำใจให้แก่คนอื่นแล้ว น้ำใจที่มีอยู่ในตัวเราไม่เคยลดลงเลย มีแต่ละเพิ่มขึ้นด้วย ความอิ่มเอมใจที่ได้ช่วยเหลือบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นรอดพ้นจากความยากลำบาก หรือมีความสุขเพิ่มขึ้น คนที่มีน้ำใจให้แก่คนอื่นจะเป็นที่รักเป็นที่ยกย่องสรรเสริญ เป็นที่ชื่นชมแก่สังคมในขณะที่คนไม่มีน้ำใจคนเห็นแก่ตัว ไม่เห็นอกเห็นใจคนอื่นเอาเปรียบคนอื่น เอาแต่ได้ฝ่ายเดียวจะถูกสังคมรังเกียจขาดเพื่อน ขาดคนที่จะปรึกษาหรือหารือ ผ่อนคลายความทุกข์ มักจะมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นอยู่เรื่อยไป

:b12: เรามาหาทางเป็นคนมีน้ำใจกันดีกว่า :b12:

โปรดทดลองใช้วิธีการ 108 วิธี มอบน้ำใจให้แก่บุคคลอื่น แล้วท่านจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความหมาย เป็นที่รักและชื่นชมของบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น และโลกนี้จะน่าอยู่น่าชื่นชมขึ้นอีกมากทีเดียว

:b17: สร้างน้ำใจด้วยการมองและยิ้ม :b17:

>>> ๑. มองทุกคนที่พบกันด้วยสายตาที่เป็นมิตร คิดเมตตากรุณาต่อคนอื่น อย่าคิดว่าคนอื่นจะประสงค์ร้ายต่อเรา ทั้งหมด แต่ก็ต้องระวังคนหลอกลวง คนเจ้าเล่ห์เพทุบาย คนคดโกง หลอกลวงไว้บ้าง
>>> ๒. ยิ้มให้ทุกคนที่พบกันยิ้มด้วยสายตา ยิ้มด้วยใบหน้า ยิ้มด้วยจิตใจ อย่าทำหน้าบึ้งหน้างอ ถ้าวันไหนอารมณ์ ไม่ดีมาจากบ้าน หรือที่ทำงานลองมองดูหน้าตนเองในกระจกบ้าง
>>> ๓. ทำความรู้จักกับคนที่ไม่รู้จัก โดยพยายามยิ้มให้ และกล่าวคำทักทายคนใกล้บ้านหรืออยู่ในที่ทำงานเดียวกัน
>>> ๔. โบกมือส่งยิ้มให้เด็ก ๆ ในรถนักเรียนที่แล่นผ่านไป ยิ้มให้เด็กในรถข้าง ๆ หรือเด็กที่มองตาของท่าน ผ่าน กระจกหลังของรถคันหน้าที่ติดไฟแดง
>>> ๕. มองคนในแง่ดี มองคนในแง่บวก พิจารณาว่าเขาทำอะไรด้วยความหวังดีอย่างไรบ้าง อย่ามองคนในแง่ร้าย หรือมองคนในแง่ลบ อย่าเพิ่งคิดว่าเขาจะทำความชั่วความเลวเสียทั้งหมด น่าจะมีความดีอยู่บ้าง หรือเขาอาจทำไป เพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดก็ได้
>>> ๖. มองว่าคนเราสามารถเป็นมิตรกันได้ แม้ว่าจะมีความคิดเห็นต่างกัน หรือมีความเชื่อต่างกัน มองว่าการกระทำ บางอย่างอาจทำได้หลายวิธี ไม่จำเป็นว่ามีวิธีหนึ่งที่ถูกต้องแล้วอีกวิธีหนึ่งจะผิด

:b9: สร้างน้ำใจด้วยการพูดทักทาย :b9:

>>> ๗. ยิ้มทักทายกับคนอื่น เมื่อได้พบกัน ด้วยการกล่าวคำว่าสวัสดี ยกมือไหว้ ยิ้มหรือก้มหัว ตามความเหมาะสม พยายามเรียกชื่อของเขา เพราะทุกคนมีความภูมิใจในชื่อของตน ระวังอย่าเรียกชื่อผิดคน
>>> ๘. สนทนาทักทายกับเพื่อนร่วมงาน ถามไถ่ทุกข์สุข คุยเรื่องที่เขาสนใจ อย่านั่งใกล้กับใครโดยไม่พูดกัน

:b4: สร้างน้ำใจด้วยการฟัง :b4:

>>> ๙. ตั้งใจฟังคนอื่นพูด ให้เวลาเขาพูด อย่างเพิ่งขัดคอขัดใจ อย่าพูดสอดแทรกขัดจังหวะ อย่าทักท้วง ให้เขาเสียหน้าต่อคนหมู่มาก
>>> ๑๐. รับฟังสิ่งที่เขากำลังทำ หรือที่เขากำลังสนใจ แล้วหาทางสนับสนุนสิ่งที่ดี รับฟังความทุกข์ของเขา แล้วหาทางช่วยแก้ปัญหา บรรเทาความทุกข์ รับฟังความสำเร็จและความสุขของเขา แล้วร่วมยินดีด้วย

:b18: สร้างน้ำใจด้วยการพูด :b18:

>>> ๑๑. ใช้คำพูดสี่คำให้ติดปาก คือ ขอบคุณ ขอโทษ ดี ช่วย ขอบคุณ เมื่อมีใครทำดีต่อตน ขอโทษ เมื่อทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ ดี เมื่อผู้อื่นทำความดี และช่วย เมื่อต้องการให้ผู้อื่นช่วยเหลือ
>>> ๑๒. พูดด้วยคำสุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน มีคำลงท้าย ครับ หรือ ค่ะ ตามความเหมาะสม ไม่ใช้คำหยาบคาย ดุด่าเสียดสี ขู่ตะคอก หรือพูดเหน็บแนมจี้จุดอ่อนให้ช้ำใจ หาเรื่องที่สนุกสนาน ตลกขบขันมาเล่าสู่กันฟังบ้าง ถ้าพูดตลกไม่เป็นให้พยายามจดจำมุขตลกที่คนอื่นเล่าแล้วนำไปเล่าต่อ
>>> ๑๓. พูดชมเชยบุคคลอื่นเป็นประจำ มีเพื่อสร้างกำลังใจ อย่าเอาแต่ตำหนิต่อว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุตร ภรรยา สามี และผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ชมว่ามีความพยายามสูงมาก ทำงานได้ดี เอาใจใส่บ้านดี ทำงานรอบคอบดีมาก อย่าพูดแต่เรื่องของตนเองฝ่ายเดียว เพราะคู่สนทนาจะเบื่อหน่าย
>>> ๑๔. พูดถึงคนอื่นและหัวหน้า ผู้บังคับบัญชาในด้านดีกับคนที่เขารู้จัก อย่านินทาว่าร้ายผู้บังคับบัญชากับผู้อื่น เพราะอาจจะมีคนเก็บไปรายงานให้ท่านฟังภายหลัง
>>> ๑๕. รู้จักขัดแย้งโดยไม่ให้เขาเสียน้ำใจ มีโดยใช้เทคนิค "ใช่...แต่..." เช่น "ที่คุณว่ามานั้นก็ถูกต้อง แต่อาจจะมีอีกวิธีหนึ่ง.. " หรือ "ของบางอย่างอาจจะมิใช่มีสีดำ หรือสีขาว แต่อาจเป็นสีเท่าที่ว่าจะขาวก็ได้ ดำก็ได้" หรือ "วิธีที่ถูกต้องอาจจะมีมากกว่าหนึ่งวิธีก็ได้" หรือ "ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ร่อย อาจมีมากกว่าหนึ่งร้านก็ได้"
>>> ๑๖. หาเรื่องพูดคุยกับคนที่ขาดเพื่อน คนที่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ เพราะเขาเป็นคนที่น่าสงสาร และต้องการ ความช่วยเหลือ
>>> ๑๗. พูดด้วยเสียงอันดังพอควร ไม่พูดแผ่วเบาหรือตะโกนให้ดังเกินไป การพูดด้วยการขึ้นเสียง ก่อให้เกิดความโมโหและนำสู่การทะเลาะวิวาท
>>> ๑๘. พูดคุยในสิ่งที่เขาสนใจ เช่น เรื่องเกี่ยวกับลูกของเขา หรือสิ่งที่เขามีความเชี่ยวชาญ เช่น เรื่องฟุตบอล กอล์ฟ ละครโทรทัศน์ หรือหัวข้อข่าวที่เขาสนใจ ระวังไม่คุยคุ้ยเขี่ยสิ่งที่เขาอับอายหรือต้องการปกปิดไม่ให้ใครรู้
>>> ๑๙. หาข่าวเรื่องดี ๆ หรือเรื่องคนที่กระทำความดีมาคุยกันบ้าง เพื่อให้จิตใจเบิกบาน อย่าคุยแต่ข่าวร้าย ข่าวลือหลอกลวง หรือข่าวที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง
>>> ๒๐. ไม่พูดหาเรื่องจับผิดคนอื่น ถ้าจะพูดถึงความดีของตนก็ว่าไป แต่ไม่ควรนินทาว่าร้ายคนอื่น หรือคุยว่า คนอื่น สู้ตนเองไม่ได้
>>> ๒๑. หาทางพูดคุยกับคนที่ไม่เคยรู้จักพูดคุยด้วย โดยการแนะนำตัวเอง หรือหาผู้อื่นแนะนำ
>>> ๒๒. โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายไปหาเพื่อนหรือคนรู้จักที่ไม่ได้ติดต่อนานเกินหนึ่งปี รวมทั้งเมื่อได้รับข่าว ที่น่ายินดี หรือข่าวที่น่าเสียใจ
>>> ๒๓. ละเว้นการพูดคำที่ไม่ดี และไม่โกรธ โมโห อย่างน้อยหนึ่งวันต่อสัปดาห์ เช่น วันจันทร์ หรือวันศุกร์

:b27: สร้างน้ำใจด้วยการเขียน :b27:

>>> ๒๔. เขียนจดหมายหรือไปเยี่ยม คนที่กำลังกลุ้มใจเสียใจ หรือประสบปัญหาชีวิต
>>> ๒๕. เขียนจดหมายหรือส่งบัตรแสดงความขอบคุณ ผู้ที่ทำคุณแก่เรา
>>> ๒๖. เขียนจดหมายหรือส่งบัตรแสดงความยินดี ในวันคล้ายวันเกิด หรือเมื่อคนที่รู้จักได้ข่าวดี เช่น ได้เลื่อน ตำแหน่ง ได้รับยกย่องรางวัล
>>> ๒๗. เขียนจดหมายหรือส่งบัตรแสดงความเสียใจ เมื่อคนรู้จักได้รับความเสียใจ เช่น เมื่อเจ็บป่วย หรือญาติเสียชีวิต
>>> ๒๘. เขียนคำชมชยหรือมอบรางวัลแก่คนที่ให้บริการดีเป็นพิเศษ พนักงานบริการ แม่ครัว หรือยาม โดยอาจส่ง ผ่านไปทางผู้จัดการ เพื่อให้เขาจะได้นำไปประกาศชมเชย หรือให้รางวัลต่อ เขียนจดหมายชมเชยการกระทำ ความดี เป็นพิเศษที่ได้พบเห็นในที่สาธารณะผ่านทางหนังสือพิมพ์ เพื่อเป็นตัวอย่างของบุคคลอื่น แล้วส่งไปลงข่าว หนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ (เช่นวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน หรือ จ.ส.๑๐๐)
>>> ๒๙. เขียนป้ายเตือนอันตรายติดไว้ในที่เหมาะสม เพื่อมิให้ผู้อื่นเป็นอันตราย เช่น ระวังพื้นลื่น ระวังผึ้งต่อย ระวังหมาดุ ระวังไฟดูด ระวังคนล้วง-กรีดกระเป๋า
>>> ๓๐. ดูชื่อเพื่อนเก่าในหนังสือรุ่นหรือรูปญาติในรูปเก่า ๆ แล้วเขียนจดหมาย ต่อโทรศัพท์ถึง หรือส่งบัตร อวยพรปีใหม่ ถ้าไม่ทราบที่อยู่สามารถหาที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ได้จาก คนที่รู้วิธีค้นหาจากคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต หรือโทรศัพท์ถามจากองค์การโทรศัพท์

:b1: สร้างน้ำใจด้วยการปิด :b1:

>>> ๓๑. ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ และเพจ ขณะที่ไม่ควรพูดโทรศัพท์ เช่น อยู่ในห้องประชุม รับแขก อยู่กับนาย อยู่ในพิธีการ หรืองานศพ
>>> ๓๒. ปิดหรือหรี่ เสียงดังจากวิทยุ โทรทัศน์ ที่อาจไปรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง เขาอาจไม่ชอบเพลงชนิด ที่เราชอบฟังก็ได้

:b3: สร้างน้ำใจด้วยการกระทำ :b3:

>>> ๓๓. ค้นหาให้พบว่าเขาชอบอะไร ต้องการอะไรแล้วทำให้เขามีสิ่งนั้น สิ่งต้องการอาจไม่ใช่สิ่งของเงินทอง แต่อาจเป็นความในใจ เช่น ลูกต้องการให้พ่อแม่เล่นด้วย หรือไปในที่ซึ่งเขาต้องการไป หัวหน้าอาจต้องการให้ลูกน้อง ช่วยทำงานให้เสร็จตามกำหนด หรือภรรยาต้องการให้โทรศัพท์บอกเมื่อจะไม่กินข้าวเย็นที่บ้าน เป็นต้น
>>> ๓๔. เลื่อนจานอาหารไปให้คนอื่นที่เอื้อมไม่ถึง โดยไม่ต้องรอให้เขาขอร้อง
>>> ๓๕. หาทางปลอบใจคนที่กำลังมีความทุกข์ เช่น มีคนในครอบครัวเสียชีวิต ใช้วิธีปลอบว่า พระพุทธเจ้า ยังปรินิพพาน มนุษย์ก็ต้องมีความตายเป็นของธรรมดา
>>> ๓๖. ทำความประหลาดใจให้แก่คนบางคน ด้วยการใช้ความพยายามเป็นพิเศษ ในการหาสิ่งของที่เขา ต้องการมาก แต่เขาไม่สามารถหาได้ ด้วยวิธีปกติธรรมดา แล้วจัดส่งไปให้ เช่น ผลไม้นอกฤดู ของที่ต้องการ อย่างรีบด่วน ของที่ต้องสั่งทำเป็นพิเศษ หรือของที่หายากไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
>>> ๓๗. พยายามทำศัตรูให้กลายเป็นมิตร ด้วยการให้ของขวัญ การพูดคุยเจรจา การเป็นเพื่อน การเห็นอกเห็นใจ การไม่เอาเปรียบ และการยอมลดราวาศอกกันบ้าง
>>> ๓๘. ทำความประทับใจด้วยการบริการที่เป็นพิเศษกว่าธรรมดา เช่น ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ นั้น พนักงานโรงแรมจะสร้างความประทับใจโดยการทักทายเรียกชื่อแขกที่มาพักได้ทุกคน และหาข้อมูลว่าลูกค้า ชอบอะไรจากการสังเกต สิ่งที่เขากินที่เขาใช้ในวันแรก
>>> ๓๙. สนับสนุนการป้องกันปัญหาสังคม เช่น สารเสพย์ติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของชาติในปัจจุบัน เช่น งานของกลุ่มดารารวมใจไร้สาร บ้านตะวันใหม่ หรือชมรมต่อต้านสารเสพย์ติดในสถานศึกษา

:b20: มอบน้ำใจด้วยการช่วยเหลือคนรู้จัก :b20:

>>> ๔๐. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการเล่นกับลูก ช่วยน้องหรือลูกทำการบ้าน พยายามลดงานประจำ ในวันหยุด เพื่อจะได้มีเวลาสำหรับสร้างความอบอุ่นในครอบครัว พาลูกหลานครอบครัวไปเที่ยวด้วยกัน อย่างน้อย ปีละครั้ง
>>> ๔๑. ช่วยรับคนที่รู้จักกันขึ้นรถเมื่อจะไปทางเดียวกัน หรือจะกลับบ้านทางเดียวกัน ชวนคนข้างบ้านที่ไม่มีรถ นั่งรถไปซื้อของที่ตลาดพร้อมกัน
>>> ๔๒. ทักทาย แนะนำตัวทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะผู้ที่ย้ายมาใหม่
>>> ๔๓. ส่งอาหารหรือผลไม้ไปให้เพื่อบ้าน เป็นครั้งคราว
>>> ๔๔. ให้คนสวน กวาดใบไม้หน้าบ้านของเพื่อนบ้านด้วย
>>> ๔๕. ชวนเพื่อนบ้านและลูกของเพื่อนบ้านไปเที่ยวด้วยกันในวันหยุด
>>> ๔๖. รับฝากดูแลเด็กเล็กข้างบ้าน เมื่อพ่อแม่ของเด็กไม่อยู่ ชวนลูกของเพื่อนบ้านที่พ่อแม่กลับบ้านดึก มาดูแลก่อนพ่อแม่กลับ ชวนมาเล่นที่บ้าน เล่านิทาน ให้อ่านหนังสือการ์ตูน ทำการบ้าน (ระวังแจ้งพ่อแม่เด็กให้ทราบ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด) หรือจะกลับบ้านทางเดียวกัน ชวนคนข้างบ้านที่ไม่มีรถ นั่งรถไปซื้อของที่ตลาดพร้อมกัน
>>> ๔๗. ให้ความสนใจกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้าน ถ้าขาดกิจกรรมที่เล่น ที่พักผ่อน ควรรวมกลุ่มชาวบ้าน หารือกัน เพื่อช่วยเหลือ ถ้าทำเองไม่ได้ควรติดต่อกลุ่มที่สามารถช่วยได้ หรือเขียนจดหมายถึงอำเภอ/หนังสือพิมพ์/โทรทัศน์ หาผู้มีจิตศรัทธาช่วยเหลือ ช่วยป้องกันยาเสพติดในหมู่เยาวชน
>>> ๔๘. ไปเยี่ยมคนแก่ที่อยู่ใกล้บ้าน เดือนละครั้ง
>>> ๔๙. ช่วยคนขาดแคลน ถ้ารู้ว่าคนรู้จักคนหนึ่งขาดแคลนเงินมาก ลองใส่ธนบัตรใบละร้อยหรือ ใบละห้าร้อย ส่งทางไปรษณีย์ไปให้เขา โดยไม่ต้องบอกว่าส่งมาจากใคร
>>> ๕๐. ตัดหนังสือพิมพ์ส่งไปให้คนรู้จัก เพราะมีข่าวของเขาหรือมีเรื่องที่เขาจะสนใจ
>>> ๕๑. ส่งอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมไปให้เจ้าหน้าที่บริการประชาชน เช่น ตำรวจสายตรวจที่มาหน้าบ้าน พนักงานดับเพลิง หรือพนักงานขนขยะ
>>> ๕๒. ซื้อตั๋วดูภาพยนตร์/ดนตรี/กีฬาหรือหนังสือการ์ตูนให้เด็กข้างบ้าน
>>> ๕๓. เมื่อเห็นว่าของบางอย่างเหมาะสมสำหรับบางคนที่รู้จัก ควรซื้อหรือหาไปฝากเขา
>>> ๕๔. ส่งหนังสือวารสารที่อ่านแล้วไปให้คนที่เราคิดว่าเขาต้องการ หรือบริจาคให้ห้องสมุดกรมการศึกษานอกโรงเรียน เพราะดีกว่าชั่งกิโลขาย
>>> ๕๕. จ่ายเงินสมัครสมาชิกวารสารที่เหมาะสมส่งไปให้ห้องสมุดโรงเรียนเก่า
>>> ๕๖. หาของฝากหรือของขวัญปีใหม่ไปให้คนที่ติดต่อประจำ เช่น แม่ค้าขายผลไม้ แม่ครัวร้านอาหาร ช่างตัดผม คนขับรถ หรือภารโรง
>>> ๕๗. หาของขวัญของฝากให้ลูกน้องหรือผู้ร่วมงาน เช่น บัตรกินอาหารฟรี บัตรลดราคา บัตรเติมน้ำมันฟรี บัตรดูละครการแสดง
>>> ๕๘. มอบจักรยาน ลูกฟุตบอล หรือขลุ่ย แทนพวงหรีดในงานศพ เพื่อเจ้าภาพจะได้นำไปมอบให้เด็กบ้านไกล โรงเรียนในชนบท หรือมอบผ้าไตรแทนพวงหรีดในงานศพ เพื่อเจ้าภาพจะได้นำไป ถวายพระหรือใช้ในการอุปสมบท พระใหม่
>>> ๕๙. ชดใช้หนี้ให้ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือให้ยืมเงินไม่เสียดอกเบี้ย โดยหวัง จะให้เขา มีกำลังใจในการสู้ชีวิตและทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อไป (ระวังอย่าเป็นนายประกัน)

:b4: มอบน้ำใจด้วยการช่วยเหลือคนที่ไม่รู้จัก :b4:

>>> ๖๐. ช่วยทุกคนที่ประสบความยากลำบาก มีปัญหา มีความทุกข์ เช่น คนหลงทาง คนกำลังหิวกระหายน้ำ คนที่ประสบอุบัติเหตุ
>>> ๖๑. ส่งเงินหรือสิ่งของไปช่วยคนที่ประสบสาธารณภัย เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้
>>> ๖๒. บอกเตือนสิ่งผิดปกติของคนอื่น เช่น ยางรถแบน ซิปกางเกงไม่ได้รูด (เขียนใส่กระดาษไปบอก
>>> ๖๓. ช่วยจับประตูที่เปิดเดินออกไปแล้ว เพื่อไม่ให้ตีคนที่ตามมาข้างหลัง
>>> ๖๔. ช่วยชี้ทาง นำทาง ให้คนต่างถิ่นที่มาถามทาง หากอยู่ใกล้ ๆ พอนำไปส่งได้จะวิเศษมาก
>>> ๖๕. ช่วยคนที่กำลังหาของที่หาย หาไม่พบ หรือเมื่อเก็บของได้ ส่งคืนเจ้าของ
>>> ๖๖. ช่วยถือของให้คนที่หอบพะรุงพะรัง (แต่ควรระวังอย่าถือของให้คนที่ไม่รู้จักนำมาฝาก เพราะอาจมี ของที่ขโมยมา หรือยาเสพติดอยู่ในถุงนั้น ทำให้ต้องตกเป็นผู้ต้องหาได้ ไม่ควรรับฝากของใครไปต่างประเทศ
>>> ๖๗. ช่วยคนที่กำลังจะเอื้อมหยิบของบนชั้นสูงไม่ถึง (ระวังของตกใส่หัว หรือของหนักเกินกำลัง เวลายกของต้องใช้กำลังขา อย่างอหลัง มิฉะนั้นจะปวดหลังไปนาน เพราะกระดูกสันหลังอาจเคลื่อนหรืออักเสบ)
>>> ๖๘. ช่วยเข็นรถยนต์ของคนอื่นที่เครื่องเสีย ต้องหลบเข้าข้างทาง (ระวังถูกรถที่ผ่านไปมาชนเอา)
>>> ๖๙. หาดอกไม้หรือของฝากไปฝากคนป่วยที่ไม่รู้จัก ที่ไม่ค่อยมีคนเยี่ยมเมื่อไปที่โรงพยาบาล มอบกระดาษเขียนจดหมาย ปากกา และซองพร้อมแสตมป์ให้ผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลนาน ๆ เพื่อเขียนจดหมายถึงญาติมิตร (คนป่วยอยู่โรงพยาบาลนาน ๆ มักมีคนเยี่ยมน้อย)
>>> ๗๐. ช่วยนำคนเจ็บหรือผู้ประสบอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล (ระวังต้องยกตัวในท่าที่ถูกต้อง มิฉะนั้น อาจทำให้เป็นอัมพาต และควรหาพยานที่จะยืนยันว่าท่านมิใช่ต้นเหตุของอุบัติเหตุไว้ด้วย)
>>> ๗๑. ช่วยผายปอดคนตกน้ำ (ระวังไม่ควรลงไปช่วยคนตกน้ำในน้ำ หากไม่เก่งจริง เพราะอาจถูกดึงให้จมไปด้วยกัน ควรโยนเชือกหรือวัตถุลอยน้ำให้)
>>> ๗๒. ช่วยแนะนำหางานให้คนตกงาน (ระวังไม่ควรลงนามรับประกันความเสียหายหรือประกันเงินกู้ให้ผู้อื่น เพราะถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ นายประกันอาจต้องตามไปชดใช้หนี้ภายหลัง)
>>> ๗๓. แนะนำวิธีประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพให้คนที่ต้องการอาชีพ โดยอาจจัดอบรม นำวิธีทำมาหากินส่งไปให้
>>> ๗๔. จัดงานเชิญเด็ก คนชรา คนพิการ มาร่วมสนุก หรือไปเที่ยวในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันเฉลิมพระชนมพรรษา หรือวันสถาปนาหน่วยงาน เดินทางไปเยี่ยมบ้านคนชรา บ้านเด็กกำพร้า หรือเด็กพิการ เพื่อเลี้ยงอาหารและนำของไปเยี่ยม เน้นผู้ที่ไม่ค่อยมาเยี่ยม ไปอ่อนหนังสือให้คนแก่ฟัง เล่นดนตรี หรือเล่านิทานให้เด็กฟัง
>>> ๗๕. ช่วยทุกคนที่ประสบความยากลำบาก มีปัญหา มีความทุกข์ เช่น คนหลงทาง คนกำลังหิวกระหายน้ำ คนที่ประสบอุบัติเหตุ
>>> ๗๖. ช่วยป้องกันหรือห้ามปราม คนที่กำลังจะทะเลาะวิวาทโกรธเคืองกัน หรือจะทำร้ายกัน แต่ต้องระวังลูกหลง (พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ คนที่ช่วยให้คนที่ทะเลาะกันกลับคืนดีกันได้ เหมือนกับที่ทรงห้าม พระญาติ ไม่ให้ทะเลาะกัน คราวย่างน้ำแม่น้ำโรหิณี)
>>> ๗๗. สนับสนุนช่วยเหลือหน่วยงานที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม เช่น กาชาด วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน มูลนิธิร่วม กตัญญู ลูกเสือชาวบ้าน โรตารี่ไลออนส์ หรือมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น
>>> ๗๘. จัดกลุ่มอาสาสมัครช่วยทำงานส่วนรวม นอกเหนือจากหน้าที่ปกติ เช่น กลุ่มฮักเมืองน่าน กองลูกเสือนอก โรงเรียนวชิรชัย ชมรมอาชีวบำเพ็ญประโยชน์ แล้วหากิจกรรมไปทำ เช่น ไปทาสีลบรอยขีดเขียนตามกำแพง (ที่เขียนว่า ใครเป็นพ่อใคร ฯลฯ) เก็บเศษแก้วของมีคมตามหาดทราย
>>> ๗๙. สนับสนุนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น บริจาคเงินหรือเวลาช่วยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โรงพยาบาล อาสากาชาด โรงเรียนสอนคนพิการ บ้านราชวิถี บ้านแรกรับเด็กอ่อนพญาไท หรือบ้านเมตตา กรุณา เป็นต้น

:b19: มอบน้ำใจด้วยการให้ การยอม หรือการเสียสละ :b19:

>>> ๘๐. เมื่อเข้าห้องน้ำ ควรหยิบกระดาษเช็ดอ่างน้ำ หรือเช็ดที่นั่งส้วมให้สะอาดก่อนไป เพื่อคนที่มาใช้ภายหลังจะได้เข้าห้องน้ำสะอาด
>>> ๘๑. เมื่อเข้าคิวกดเงินจากเอทีเอ็ม จ่ายเงินตามซุปเปอร์มาร์เกต ถ้าไม่รีบร้อนนักเชิญให้คนที่รอข้างหลังที่รีบเร่งกว่าได้ใช้บริการก่อน
>>> ๘๒. เมื่อขับรถติดอยู่แต่ไม่รีบเร่งมากนัก โบกมือยอมให้รถคันหลังที่รีบเร่งกว่าแทรงเข้าหน้าไปก่อน
>>> ๘๓. เมื่อเข้าคิวเข้าส้วม ยอมให้คนข้างหลังที่ปวดมากกว่าเข้าส้วมก่อน
>>> ๘๔. ออกเงินซื้ออาหาร เช่น ข้าวหน้าเป็ดให้ขอทานที่หิวโซ
>>> ๘๕. ออกเงินให้คนที่ไม่มีเงินหยอดโทรศัพท์สาธารณะ หรือเข้าส้วมสาธารณะ ที่จะต้องจ่ายเงิน โดยทิ้งเหรียญบาทที่เหลือไว้ในช่องทอดเงิน
>>> ๘๖. หาของขวัญปีใหม่หรือของขวัญวันเกิดให้คนที่ไม่เคยได้รับอะไรเลยเมื่อปีก่อน
>>> ๘๗. ส่งของขวัญให้คนที่เห็นแก่ตัวไม่คิดถึงคนอื่น โดยไม่ให้รู้ว่าใครส่งมา
>>> ๘๘. ให้ความเห็นใจ ปลอบใจ คนที่กำลังมีความทุกข์กลุ้มใจหาทางออกไม่ได้
>>> ๘๙. บริจาคโลหิต-ดวงตา-อวัยวะหรือเงิน ให้แก่สภากาชาดไทย หรือโรงพยาบาลต่าง ๆ และชวน คนอื่น ให้บริจาคด้วย

:b8: มอบน้ำใจด้วยความเกรงใจ :b8:

>>> ๙๐. เมื่อโทรศัพท์ไปถึงใคร ควรถามเขาว่ากำลังยุ่งอยู่หรือเปล่า ถ้าเขากำลังมีธุระ ควรถามว่าจะให้โทรกลับไป อีกเมื่อไหร่
>>> ๙๑. เมื่อมีคนโทรศัพท์มาถึงและฝากเลขหมายไว้ ควรรีบโทรกลับทันที
>>> ๙๒. ไม่ขอหรือขอยืม ของรักของหวงของเพื่อน
>>> ๙๓. เมื่อขอยืมของจากผู้ใด ต้องรีบคืนทันทีเมื่อเสร็จงานไม่ต้องรอ
เด็กเล็ก ๆ ก็มอบน้ำใจให้ผู้อื่นได้โดย
>>> ๙๔. สุภาพ ร่าเริง แจ่มใส ยิ้มหวาน และพูดเพราะกับทุก ๆ คน
>>> ๙๕. มีมารยาทดี ทักทาย ไหว้ สวัสดี ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม ก้มตัวหรือคลานเมื่อจะผ่านผู้ใหญ่
>>> ๙๖. รักษาความมีระเบียบเรียบร้อย เก็บเสื้อผ้า และของเล่นในห้องของตนให้เรียบร้อย ไม่ต้องให้คนอื่นมาตามเก็บให้ ทำเตียงของตนเอง กวาดห้องของตนเอง
>>> ๙๗. รักษาความสะอาดห้องน้ำ ทิ้งขยะลงถัง ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกลงพื้น ถนน หรือแม่น้ำลำคลอง
>>> ๙๘. ช่วยทำงานบ้าน ช่วยแม่ล้างจาน กวาดบ้าน เช็ดสิ่งสกปรกที่พื้น ไม่ทำบ้านรก
>>> ๙๙. มอบน้ำใจให้ทุกคนในบ้าน เช่น ยกน้ำชาไปให้พ่อ แบ่งขนมให้พี่น้อง เล่นกับน้อง ช่วยน้องทำการบ้าน สอนน้องอ่านหนังสือ ช่วยน้องผูกเชือกรองเท้า ติดกระดุมเสื้อและหวีผมให้น้อง
>>> ๑๐๐. ทำให้พ่อชอบใจ ยอมให้พ่อดูข่าวโทรทัศน์ ขณะที่ตนอยากดูการ์ตูน กอดพ่อก่อนไปโรงเรียนทุกวัน
>>> ๑๐๑. ทำให้คนแก่ดีใจ ร้องเพลงให้คุณย่าฟัง อ่านหนังสือพิมพ์ นวดขาให้คุณยาย เขียนจดหมาย พร้อมส่งรูปถ่ายให้ญาติผู้ใหญ่
>>> ๑๐๒. ช่วยทำงานบ้าน เช่น ช่วยแม่ล้างจาน กวาดบ้าน เช็ดสิ่งสกปรกที่พื้น ไม่ทำบ้านรกรุงรัง
>>> ๑๐๓. คลายทุกข์ให้คนอื่น เช่น ช่วยปลอบเพื่อนที่ร้องไห้ ชวนเพื่อนที่เหงาเศร้าสร้อยไปเล่นด้วยกัน ทำให้เพื่อนเลิกทะเลาะกัน
>>> ๑๐๔. แสดงความห่วงใย พาเพื่อนที่ไม่สบายไปห้องพยาบาล ช่วยพ่อไปเยี่ยมเพื่อนซึ่งป่วยที่บ้าน หรือที่โรงพยาบาล
>>> ๑๐๕. แบ่งปัน แบ่งขนมให้เพื่อน เพื่อกินด้วยกัน ไม่กินคนเดียว
>>> ๑๐๖. ช่วยเหลือครู ใช้ผ้าเช็ดโต๊ะเก้าอี้ครูก่อนครูเข้าห้อง ช่วยครูยกสมุดการบ้านไปห้องพักครู
>>> ๑๐๗. ปฏิบัติตัวตามหนังสือ
>>> ๑๐๘ วิธีสร้างน้ำใจนี้สัก ๒๐ ข้อ


:b3: :b3: :b3:


ขอบคุณที่มา :: จากเอกสารประกอบการสัมมนาประจำปีของกองงานศูนย์รังสิต เมื่อ ๒๐-๒๒ เมษายน ๒๕๔๙ (หนังสือ ๑๐๘ วิธีมอบน้ำใจให้แก่กัน ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ) :: http://www.tu.ac.th/org/ofrector/rangsi ... /mind3.htm :: ภาพจากอินเทอร์เน็ต

:b44: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ขอให้ทุกท่านมีดวงตาเห็นธรรม มีความสว่างทั้งทางโลกทางธรรม ท่านใดมีทุกข์ขอให้พ้นทุกข์ ท่านมีสุขขอให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ (♡✿◕‿◕✿♡) :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร