วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. รู้ตัว

๒. รู้สึกตัว

๓. รู้ชัด

๔. รู้สึกตัวทั่วพร้อม



รู้ตัว

รู้ตัว ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำกิจใดๆก็ตาม



เปรียบเทียบกับปริยัติ

สติ ได้แก่ ความระลึกรู้

ระลึก ได้แก่ การหวนคิด

เช่น ก่อนจะลงมือกระทำสิ่งใดๆก็ตาม
การมีสติ คือ การหวนคิด ได้แก่ คิดพิจรณาก่อนที่จะลงมือกระทำในสิ่งนั้นๆ

ระลึก ( หวนคิด ) +รู้ = ระลึกรู้ ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ




รู้สึกตัว

รู้สึกตัว ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่



เปรียบเทียบทางปริยัติ

สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว ไม่หลงลืม รู้สึกตัวอยู่เสมอทุกขณะจิตว่า กำลังทำอะไรอยู่

ที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน คือ กิจที่กำลังทำอยู่ รู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำ ไม่ส่งใจไปในอดีตหรืออนาคต




รู้ชัด

รู้ชัด ได้แก่ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

การรู้ชัด เป็นการทำงานของสติกับสัมปชัญญะ เป็นเหตุให้มีสมาธิเกิดร่วม

การทำงานร่วมกันของสติกับสัมปชัญญะ สภาวะคือ
การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่ในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

การกระทำเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ
เมื่อมีสมาธิเกิด จึงเป็นเหตุให้เกิดความรู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

ทั้งหมดนี้เป็นผลของการเกิดสภาวะสัมมาสติ คือ
มีความรู้ตัว,รู้สึกตัว,รู้ชัดในกิจที่กำลังทำอยู่





รู้สึกตัวทั่วพร้อม

เปรียบเทียบทางปริยัติ ได้แก่ สัมมาสมาธิ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ขณะที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่ภายในใกาย,เวทนา,จิต,ธรรม

เรียกสั้นๆว่า รูปกับนาม เช่น รู้ลมหายใจเข้า-ออก ,ท้องพองยุบ,เสียงชีพจรเต้น,อาการสั่นหรือการเต้นของหัวใจ

เสียงการทำงานการสูบฉีดของโลหิต,ความรู้สึก,นึกคิดต่างๆ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะรู้ได้หมดในขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิ เกิดพร้อมกันแต่รู้คนละขณะ
เพียงแต่จะมีสติรู้ทันในสภาวะต่างๆขณะที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า

สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นร่วม ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิอยู่

มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิขาดความรู้สึกตัว ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิอยู่



หลักของการปฏิบัติ

๑. ตรวจสอบสภาวะของสมาธิที่มีอยู่ก่อนว่า มีมากน้อยแค่ไหน

๑.๑ สัปปายะสัมปชัญญะ ได้แก่ การกำหนดรู้สิ่งที่เป็นสัปปายะ
คือ สิ่งที่ทำให้กรรมฐานดำเนินไปโดยสะดวก

๑.๒ โคจรสัมปชัญญะ ได้แก่ กำหนดรู้อารมณ์กรรมฐานและสถานที่จะทำกรรมฐาน

๒. การปรับอินทรีย์ เพื่อทำให้สติกับสมาธิเกิดความสมดุลย์




วิธีการปรับอินทรีย์

เดินก่อนที่จะนั่ง โดยดูจากการนั่งสมาธิ ว่า ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิสามารถรู้ชัดที่กาย
ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย แม้กระทั่งความรู้สึก ความคิด สามารถรู้ชัดได้หรือไม่

หากไม่สามารถรู้ชัดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ให้เดินก่อนนั่ง เริ่มจากใช้เวลาเดินกับนั่งเท่ากันก่อน แล้วสังเกตุดูเวลาที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้หรือยัง

หากยัง ให้เพิ่มเวลาเดินมากกว่านั่ง หรือไม่ก็ลดเวลานั่งให้น้อยลงกว่าเดิน จนกว่าจะสามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ขณะที่จิตเป็นสมาธิ



สภาวะหลักที่สำคัญที่สุด คือ
เน้นให้เดินก่อนที่จะนั่ง เพื่อใช้ในการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์ ( สติกับสมาธิ )

ส่วนอิริยาบทย่อยอื่นๆ สามารถนำมาพลิกแพลงผสมผสานระหว่างอยู่ในอิริยาบทเดิน
เพื่อให้เกิดสภาวะอินทรีย์สมดุย์ได้


ในอิริยาบทเดินกับยืน

สามารถทำงานบ้าน,office ,ทำความสะอาดต่างๆ,เย็บผ้า,ดูหนัง,ฟังเพลง,เล่นเกมส์ฯลฯ
เรียกว่าไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะไหนๆ อิริยาบทไหนๆ สามารถนำมาผสมผสานในอิริยาบทเดินกับยืน
ทำให้เกิดอินทรีย์สมดุลย์ได้

และที่สำคัญที่สุด ก่อนที่จะนั่ง ให้เดินก่อน แล้วยืนสำรวมจิตทุกครั้ง ก่อนที่จะนั่ง

การยืนสำรวมจิต คือ ยืนให้รู้ว่ายืน รู้ว่าหายใจเข้า รู้ว่าหายใจออก รู้ไปตามนั้น
ส่วนจะใช้คำบริกรรมภาวนาหรือไม่ แล้วแต่จะถนัด คือ ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้

ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
เพราะทุกสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัยที่ทำของแต่ละคนมาเป็นองค์ประกอบ
บางคนต้องใช้การกำหนดเข้าช่วย บางคนแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
ยังขาดไปอีก 1 รู้ หรือเปล่าครับ

"รู้ทัน".......เช่นรู้ทันปัจจุบันอารมณ์

กรุณาอธิบายด้วยว่า รู้ทัน เป็นอาการของ สติ หรือ สัมปชัญญะ หรืออะไรครับ?
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกะก็อธิบายไปซิครับ...อาจไปตรงกันซะตัวก้อได้....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ยังขาดไปอีก 1 รู้ หรือเปล่าครับ

"รู้ทัน".......เช่นรู้ทันปัจจุบันอารมณ์

กรุณาอธิบายด้วยว่า รู้ทัน เป็นอาการของ สติ หรือ สัมปชัญญะ หรืออะไรครับ?
s006



โสกะมักจะพยายาม(เท่าที่วลัยพรเห็นโสกะโพส) แนะนำเกี่ยวกับ
"นิ่งรู้ นิ่งดู นิ่งสังเกตุ"

โสกะติดข้องอยู่กับคำเรียกเหล่านี้ ทั้งคำว่า รู้ทัน และ ปัจจุบันอารมณ์
นี่เป็นความปกติที่มีเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่รู้ชัดใน ผัสสะ ที่มีเกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

โสกะควรเลิกทำกรรม ที่เป็นอาจินกรรม
โดยมักชอบกล่าวเพ่งโทษผู้อื่นว่า คนนั้น คนนี้ เนิ่นนาน

เพราะสิ่งที่โสกะติดข้องอยู่(ยังละไม่ได้) เป็นปัจจัยให้เนิ่นนาน เช่นกัน
โสกะจมแช่อยู่กับผัสสะนี้ นานมากเลยนะ

ถ้ายังไม่พยายามละเหตุที่ยังมีอยู่
เหตุมี ผลย่อมมี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 14:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley
พยายามจะพูดซ้ำย้ำแล้วย้ำอีกกับหลักปฏิบัติที่จำง่าย ใช้ได้ผล ให้ผู้คนนำไปปฏิบัติได้ง่ายๆไงล่ะครับ

เหมือนกับวลัยพร ชำนาญเรื่อง ผัสสะ เน้นย้ำอยู่กับเรื่องของผัสสะ ชี้ให้ผู้คนสนใจอยู่กับเรื่องของผัสสะ นี่ก็เป็นกุศลอาจิณกรรมเช่นกันไม่ใช่หรือครับ ชำนาญของใครของมัน เอตทัคคะ ของใครของมัน ทางใครทางมันตามที่ตนถนัด

"แมวสีอะไรก็ได้ ถ้าจับหนูได้" ไม่ใช่หรือครับ นี่เป็นเรื่องธรรมชาติธรรมด้า ธรรมดานะครับ


:b16:
อาจิณกรรมที่เป็นกุศลพึงควรทำให้ยิ่งๆขึ้นไปดีกว่ากระมังครับ
:b1: :b1:
คำว่า "รู้ทัน" และ "ปัจจุบันอารมณ์" มีความสำคัญมากในการปฏิบัติจริง ถ้าขาด 2 สิ่งนี้ไปแล้ว การปฏิบัตินั้นจะเป็นโมฆะ เพราะจะไปทำงานกับอดีตและอนาคตไปเสียหมด สาระธรรมอันสำคัญเช่นนี้เราไม่ควรมองข้ามไปนะครับ
:b38:
ตกลงคุณวลัยพรจะยังไม่วิจารณ์เรื่อง "รู้ทัน" ว่าเป็นอีก 1 รู้ที่น่าจะขาดไปใช่ไหมครับ

มีเรื่องของรู้ที่พูดจำง่ายแต่ได้ลำดับกับสภาวะที่ท่านผู้อ่านจะลองทดสอบดูได้ให้พิจารณาร่วมกับเรื่องรู้ 4 อย่างตามชื่อกระทู้นี้ มาฝากด้วยนะครับ

รู้เกิด.....รู้ทัน....รู้ถึง.....รู้ทั่ว....รู้ตัว...รู้ดับ

รู้ตลอดอย่างนี้โดยไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้เป็นกรรมใดๆ อนุสัย วิบาก สิ่งที่มาปรากฏให้ผัสสะทุกเรื่องนั้น จะถูกถอดถอนไปจากความยึดถือ (อุปาทาน)
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
อาจิณกรรมที่เป็นกุศลพึงควรทำให้ยิ่งๆขึ้นไปดีกว่ากระมังครับ


โสกะ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ผู้หนาแน่นด้วยอวิชชา มากด้วยอุปทาน

แม้กระทั่ง สัญญา ก็ยังสำคัญหมายมั่นว่า สัญญานั้นเที่ยง

จึงเที่ยวชักชวน สนับสนุน โน้มน้าว ให้ผู้อื่นปรารถนาในความบังเกิดขึ้นแห่งภพ
มากกว่าการกระทำ เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



ผัสสายตนสูตรที่ ๓


[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้



เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุแห่งทิฏฐิ ๖


[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ ประการเหล่านี้.
๖ ประการ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว
ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั้นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั่นจักเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า
นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว
ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้ว แล้วด้วยใจว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นเหตุ แห่งทิฏฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ในปรโลก
เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ในเพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่.


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อลคัททูปมสูตร
หน้าที่ ๑๘๙

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 23:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:
วลัยพรไม่สังเกตหรือครับ

รู้เกิด รู้ทัน รู้ถึง รู้ทั่ว รู้ดับ

ที่รู้เกิด รู้ดับ ไม่ตรงกับที่วลัยพรไปคัดอ้างพระสูตรมายาวๆหรือครับ
s004
s006
เมื่อรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ความเห็นผิด กับความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุแห่งความเวียนว่ายตายเกิดก็จักขาดสะบั้น

อย่างนี้ไม่ใช่ทาง ไม่ใช่การแก้ที่เหตุหรือครับ

ความเห็นผิด.........สักกายทิฏฐิ

ความยึดผิด........มานะทิฏฐิ

สองสิ่งนี้ไม่ใช่เหตุหรือครับ

งานภาวนาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าก็มุ่งเอา สองเหตุนี้ออกให้ได้ เป็นสำคัญอันดับแรกๆไม่ใช่หรือครับ

ผัสสะทั้งหมด เมื่อนื่งรู้นิ่งสังเกตให้ดีก็จะได้พบตัวเหตุที่นำผัสสะนั้นไปปรุงแต่งให้เกิดเรื่องเกิดราวหมุนวนไปตามวงแห่งปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างนั้นไม่ใช่หรือครับ
s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 09:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

s006
เมื่อรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ความเห็นผิด กับความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุแห่งความเวียนว่ายตายเกิดก็จักขาดสะบั้น


รู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริง อาการอย่างไรครับที่บงบอกว่า เรารู้เท่าทันสภาวะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 10:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:

s006
เมื่อรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ความเห็นผิด กับความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุแห่งความเวียนว่ายตายเกิดก็จักขาดสะบั้น


รู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริง อาการอย่างไรครับที่บงบอกว่า เรารู้เท่าทันสภาวะ

:b16:
สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็มีแค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิด-ดับ ๆ ๆ ๆ เท่านั้นเอง

แต่ด้วยอุปาทาน ความเห็นผิด ยึดผิด ทำให้สำคัญผิด ว่า รูป นาม ธาตุ4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 นี้เป็นอัตตาตัวตน จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้กระทำการต่างๆไปด้วยอำนาจความยินดียินร้ายกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา ทำสิ่งที่ไร้สาระแก่นสารให้เหมือนกับว่ามีแก่นมีสารขึ้นมา ปฏิกิริยาลูกโซ่ของกรรมและวิบากจึงหมุนวนไม่รู้จบ ปิดบังความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความเกิด ดับ
:b38:
การจะเห็นว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในกายใจนั้นเกิด ดับ เปลี่ยนแปลงไปเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ได้นั้น สติปัญญาต้องได้รับการฝึกฝนจนมีความคมชัดละอียดเพียงพอ จนถึงระดับที่เรียกว่า "ญาณ"หรือวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นได้ประจักษ์แก่ใจจริงๆ มิใช่นึกคิดเอา ญาณที่เห็นความเกิด ดับ เรียกว่า "อุทัพยญาณ"
:b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 10:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตามทฤษฎี ก็เป็นอย่างที่อโศกะว่ามานั้นแหละครับ. อันนี้ก็น่าจะทราบกันเป็นสาธารณะอยู่แล้ว

ถ้าเป็นความรู้สึกที่พบมาจริง จะบอกได้ว่าอาการที่บ่งบอกว่า รู้ทันสภาวะตามความเป็นจริงนั้น
"ความเป็นจริงนั้นคืออะไร"??

ในหนึ่งเสี้ยววินาทีนั้น จะเล่าขยายเป็นชัวโมงก็ได้ ย่อความรู้สึกนึกคิดทั้งชั่วโมงลงมาเหลือเสี้ยววินาทีก็ได้. อันนี้เป็นธรรมดาของการรู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตามทฤษฎี ก็เป็นอย่างที่อโศกะว่ามานั้นแหละครับ. อันนี้ก็น่าจะทราบกันเป็นสาธารณะอยู่แล้ว

ถ้าเป็นความรู้สึกที่พบมาจริง จะบอกได้ว่าอาการที่บ่งบอกว่า รู้ทันสภาวะตามความเป็นจริงนั้น
"ความเป็นจริงนั้นคืออะไร"??

ในหนึ่งเสี้ยววินาทีนั้น จะเล่าขยายเป็นชัวโมงก็ได้ ย่อความรู้สึกนึกคิดทั้งชั่วโมงลงมาเหลือเสี้ยววินาทีก็ได้. อันนี้เป็นธรรมดาของการรู้

:b38:
กบถามได้ดี และคงมีธงของตนเองไว้แล้ว
:b27:
เห็นธรรมตามความเป็นจริงก็คือ "รู้หรือเห็นตามที่มันเป็น"

นี่อย่างสั้น

:b39:

อย่างกลาง

ความเป็นจริงของธรรม คือ "ตถตา"....มันเป็นเช่นนั้นเอง
:b44:
มันเป็นเช่นนั้นเอง...ก็เนื่องด้วยอำนาจกระทำกันของเหตุและปัจจัย

เกิดและดับ ด้วยอำนาจของเหตุและปัจจัย

ตอนที่ไปรู้เห็นธรรมนั้นไม่มีเราไปปรุงแต่งสภาวธรรมนั้น (ความนึกคิดปรุงแต่งพักไปชั่วคราว ชั่วขณะ)
:b43:
หลังจากนั้นวิตกวิจารณ์ทำงานแล้วจึงรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตอีกตามพุทธดำรัสที่สรุปไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา" ....สิ่งทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไร้แก่นสาร บังคับบัญชาไม่ได้
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ตามทฤษฎี ก็เป็นอย่างที่อโศกะว่ามานั้นแหละครับ. อันนี้ก็น่าจะทราบกันเป็นสาธารณะอยู่แล้ว

ถ้าเป็นความรู้สึกที่พบมาจริง จะบอกได้ว่าอาการที่บ่งบอกว่า รู้ทันสภาวะตามความเป็นจริงนั้น
"ความเป็นจริงนั้นคืออะไร"??

ในหนึ่งเสี้ยววินาทีนั้น จะเล่าขยายเป็นชัวโมงก็ได้ ย่อความรู้สึกนึกคิดทั้งชั่วโมงลงมาเหลือเสี้ยววินาทีก็ได้. อันนี้เป็นธรรมดาของการรู้

:b38:
กบถามได้ดี และคงมีธงของตนเองไว้แล้ว
:b27:
เห็นธรรมตามความเป็นจริงก็คือ "รู้หรือเห็นตามที่มันเป็น"

นี่อย่างสั้น

:b39:

อย่างกลาง

ความเป็นจริงของธรรม คือ "ตถตา"....มันเป็นเช่นนั้นเอง
:b44:
มันเป็นเช่นนั้นเอง...ก็เนื่องด้วยอำนาจกระทำกันของเหตุและปัจจัย

เกิดและดับ ด้วยอำนาจของเหตุและปัจจัย

ตอนที่ไปรู้เห็นธรรมนั้นไม่มีเราไปปรุงแต่งสภาวธรรมนั้น (ความนึกคิดปรุงแต่งพักไปชั่วคราว ชั่วขณะ)
:b43:
หลังจากนั้นวิตกวิจารณ์ทำงานแล้วจึงรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตอีกตามพุทธดำรัสที่สรุปไว้ว่า

"สัพเพธัมมา อนัตตา" ....สิ่งทั้งหมดทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ไร้แก่นสาร บังคับบัญชาไม่ได้



อ้างคำพูด:
เห็นธรรมตามความเป็นจริงก็คือ "รู้หรือเห็นตามที่มันเป็น"


แน่ะๆ สำนวนนี้เพิ่งเคยเห็นพูด :b1: :b32:

อโศกรู้เห็นตามที่มันเป็นของมัน มันเป็นแบบๆนี้ใช่ไหม :b10:

อ้างคำพูด:
ฝึกนั่งสมาธิด้วยตนเองมาได้ระยะหนึ่งแล้วค่ะ ช่วงแรกจะรู้สึกเหมือนบังคับให้ตัวเองหลับตา พอผ่านไปสักครู่ใหญ่ๆจะรู้สึกว่านั่งได้เรื่อยๆ ช่วงนี้ ถ้ามีเสียงอะไรดังๆ จะสะดุ้งตกใจง่าย

ต่อจากนั้นจะรู้สึกว่า มือที่วางบนตักมันหายไป เหมือนไม่มีอะไรอยู่ตรงนั้น เหมือนไม่มีอะไรเลยแล้วมีอาการขนลุกเย็นวาบตั้งแต่หัวจรดเท้า ช่วงที่ทำสมาธิในชีวิตประจำวัน คือ นั่งนิ่งๆ ดูจิตตัวเองแล้วจะเย็นวาบขนลุก หรือ จะเกิดขึ้นตอนฟังเสียงสวดมนต์ ตอนนี้ไม่แน่ใจว่าคิดไปเอง หรือเกิดจากความเย็นของอากาศ ( แต่อากาศก็ไม่ได้เย็นนะคะ ) หรือ เพราะ ทำสมาธิกันแน่

กลับไปลองนั่งปฏิบัติใหม่ค่ะคราวนี้ เลยความรู้สึกว่ามือหายไปมาแล้วคราวนี้ หายใจเข้า นับหนึ่ง หายใจออกนับหนึ่ง หายใจเข้านับสอง หายใจออกนับสอง ครบสองร้อยครั้ง เหมือนเราจะลอยขึ้นข้างบนค่ะ แต่ติดที่กายเนื้ออยู่หลายรอบค่ะ เหมือนจะลอยขึ้น หัวเหมือนจะผงะ ไปข้างหลัง เหมือนจะลอยขึ้นให้ได้

หลังจากนั้น กองลมที่เราหายใจเข้าและออก ดูใหญ่ขึ้น ทรงพลังกว่าเคย เต็มปอดกว่าเคย เหมือนเป็นก้อน ลมหายใจใหญ่ๆอย่างนั้นแล้ว เราก็รู้สึกว่า ตัวเราใหญ่ขึ้น แบบ พองออก พองออก ตอนที่รู้สึกว่า จะลอยขึ้นนั้น เหมือนการหายใจ ช่วยดึงเราขึ้นไปเรื่อยๆเหมือนพยายาม หลุดจากอะไรสักอย่าง ตัวยืดขึ้น ถ้าหลุดได้ คงหลุดผลัวะ ขึ้นข้างบนแน่ๆเลยค่ะ แล้วตอนรู้สึกว่าตัวเองพองออก เหมือนเราเป็นยักษ์เลยค่ะ ยักษ์ที่มีหน้าใหญ่ๆ แขนขา ตัว ใหญ่ๆ ลมหายใจเป็นก้อน ทรงพลังมหึมา ที่วนอยู่ในกายของเราอย่างงั้นเลยค่ะ

หลังจากนั้น เหมือนจะนั่งสมาธิไม่ค่อยนานค่ะ อาจจะเพราะ เสียงดังรบกวนเยอะไม่รู้ว่าที่ปฏิบัติมาถูกทางหรือยังคะ รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำ และให้กำลังใจหน่อยค่ะ เหมือนเราไม่มีบุญพอที่จะได้กรรมฐานกับเค้าในชาตินี้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
asoka เขียน:

s006
เมื่อรู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ความเห็นผิด กับความยึดผิด อันเป็นตัวเหตุแห่งความเวียนว่ายตายเกิดก็จักขาดสะบั้น


รู้เท่าทันสภาวธรรมตามความเป็นจริง อาการอย่างไรครับที่บงบอกว่า เรารู้เท่าทันสภาวะ

:b16:
สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็มีแค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิด-ดับ ๆ ๆ ๆ เท่านั้นเอง

แต่ด้วยอุปาทาน ความเห็นผิด ยึดผิด ทำให้สำคัญผิด ว่า รูป นาม ธาตุ4 ขันธ์ 5 อายตนะ 6 นี้เป็นอัตตาตัวตน จึงเกิดปฏิกิริยาตอบโต้กระทำการต่างๆไปด้วยอำนาจความยินดียินร้ายกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา ทำสิ่งที่ไร้สาระแก่นสารให้เหมือนกับว่ามีแก่นมีสารขึ้นมา ปฏิกิริยาลูกโซ่ของกรรมและวิบากจึงหมุนวนไม่รู้จบ ปิดบังความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือความเกิด ดับ
:b38:
การจะเห็นว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในกายใจนั้นเกิด ดับ เปลี่ยนแปลงไปเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ได้นั้น สติปัญญาต้องได้รับการฝึกฝนจนมีความคมชัดละอียดเพียงพอ จนถึงระดับที่เรียกว่า "ญาณ"หรือวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นได้ประจักษ์แก่ใจจริงๆ มิใช่นึกคิดเอา ญาณที่เห็นความเกิด ดับ เรียกว่า "อุทัพยญาณ"



อ้างคำพูด:
สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็มีแค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิด-ดับ ๆ ๆ ๆ เท่านั้นเอง



ถ้าอโศกขึ้นธรรมาสน์เทศน์นะ คนจะหลงไหลได้ปลื้มกับอโศกจมหู แล้วก็พากันติดกัณฑ์เทศน์ด้วยรถป้ายแดง ผูกโบว์ด้วย คิกๆๆ คือพูดจามีหลักมีเกณฑ์นะ แต่จริงๆแล้ว อโศกไม่ได้เข้าใจส่ิ่งที่ตนพูดเลย แหมๆ สภาวธรรมตามความเป็นจริงก็มีแค่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิด-ดับ ๆ ๆ ๆ เท่านั้นเอง

มันน่าเอาคีมหนีบหูแล้วก็ดึงๆๆๆนัก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร