วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 194 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
"ทิ้ง" เขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แล้วไม่เหมือนกันหรอ :b1:

ไม่ได้เป็นครูสอนภาษาไทยครับ กรัชกาย
ทราบแต่เพียงว่า
การอ่านต้องอ่านทั้งหมด แต่ละพยางค์แต่ละคำ เขียนเหมือนกัน แต่ผู้ใช้ๆ ในบริบทต่างกัน

เช่น คำว่า โลก ใช้ที่ไหนก็มีบริบทต่างกันทั้งๆที่ เขียนเหมือนกันออกเสียงเหมือนกัน

โลก อาจจะหมายถึง โลกมนุษย์ใบนี้ เป็นโอกาสโลก
โลก อาจจะหมายถึง อายตนะโลก
โลก อาจจะหมายถึง กิเลส
โลก อาจจะหมายถึง ดวงดาวดวงหนึ่งในจักรวาล

กรัชกายต้องถามผู้ใช้คำนั้นเองครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
"ทิ้ง" เขียนเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แล้วไม่เหมือนกันหรอ :b1:

ไม่ได้เป็นครูสอนภาษาไทยครับ กรัชกาย
ทราบแต่เพียงว่า
การอ่านต้องอ่านทั้งหมด แต่ละพยางค์แต่ละคำ เขียนเหมือนกัน แต่ผู้ใช้ๆ ในบริบทต่างกัน

เช่น คำว่า โลก ใช้ที่ไหนก็มีบริบทต่างกันทั้งๆที่ เขียนเหมือนกันออกเสียงเหมือนกัน

โลก อาจจะหมายถึง โลกมนุษย์ใบนี้ เป็นโอกาสโลก
โลก อาจจะหมายถึง อายตนะโลก
โลก อาจจะหมายถึง กิเลส
โลก อาจจะหมายถึง ดวงดาวดวงหนึ่งในจักรวาล

กรัชกายต้องถามผู้ใช้คำนั้นเองครับ



จะไปถามใครที่ไหนเล่า ก็ถามกรัชกายซึ่งเป็นผู้พูดนี่ซี่ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แทรกหลักสะหน่อย :b13:


กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิตหรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราวสงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งเล่นเตลิด หรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิต ที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ ที่พอจิตเพ่ง หรือจับแล้วจะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ


มั่ว.... :b17:


มัวยังไงอ่ะ บอกหน่อย :b10:

กรรมฐาน .......เอาอะไรมาแปล
ตรงไหนที่แปลว่า จิต
จะแปลศัพท์ ก็แปลตาม คำ สิ อย่าแปลตามอำเภอใจ

มั่วมากกกกกก กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แทรกหลักสะหน่อย :b13:


กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิตหรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราวสงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งเล่นเตลิด หรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย

พูดสั้นๆ กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิต ที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ ที่พอจิตเพ่ง หรือจับแล้วจะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมันเป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ


มั่ว.... :b17:


มัวยังไงอ่ะ บอกหน่อย :b10:

กรรมฐาน .......เอาอะไรมาแปล
ตรงไหนที่แปลว่า จิต
จะแปลศัพท์ ก็แปลตาม คำ สิ อย่าแปลตามอำเภอใจ

มั่วมากกกกกก กรัชกาย


บ่งถึงบุคคลไม่เคยเสพการศึกษาบาลี จะออกลูกนี้แหละ

"กรรม" ในที่นี้ แปลว่า การงาน การงานในที่นี้ คือ การงาน (ของจิต) ฐาน แปลว่า ที่ตั้งตั้ง รวมกัน = กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งงาน (ของจิต)

กรรมฐาน มี 40 อย่าง คือ กสิณ 10 อนุสติ 10 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




b6d5f10e8777aa0ae60f2c3b03bfa69c.gif
b6d5f10e8777aa0ae60f2c3b03bfa69c.gif [ 4.35 KiB | เปิดดู 3540 ครั้ง ]
ได้มาอีก

http://video.sanook.com/คลิป สำนักสงฆ์บ้านสะพานยาว เด็กผู้ชาย (3)-397449-player.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 19:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
กรรม = การกระทำ

ฐาน = ที่ตั้ง ที่เกิด

กรรมฐาน = ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำ

ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำมีเยอะแยะแล้วแต่จะเอาไปตั้งไว้ที่ไหน เช่น กรรมฐาน 40 กาย เวทนา จิต ธรรม

ในธิเบตอาจารย์บางท่านสอนให้ศิษย์เอาวัวที่ศิษย์ชอบเป็นกรรมฐาน ในไทยบางสำนักก็เอาลูกแก้วใสๆเป็นกรรมฐาน

การเอากาย เวทนา จิต หรือ ธรรมเป็นกรรมฐานนั้นเป็นกรรมฐานที่ประเสริฐเพราะสามารถเชื่อมโยงไปให้รู้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ง่าย พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญผูทำกรรมฐาน 4 อย่างนี้
smiley
เห็นไหม กรัชกาย เรื่องกรรมฐานอธิบายได้ตั้งหลายแง่หลายมุม
:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
กรรม = การกระทำ

ฐาน = ที่ตั้ง ที่เกิด

กรรมฐาน = ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำ

ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำมีเยอะแยะแล้วแต่จะเอาไปตั้งไว้ที่ไหน เช่น กรรมฐาน 40 กาย เวทนา จิต ธรรม

ในธิเบตอาจารย์บางท่านสอนให้ศิษย์เอาวัวที่ศิษย์ชอบเป็นกรรมฐาน ในไทยบางสำนักก็เอาลูกแก้วใสๆเป็นกรรมฐาน

การเอากาย เวทนา จิต หรือ ธรรมเป็นกรรมฐานนั้นเป็นกรรมฐานที่ประเสริฐเพราะสามารถเชื่อมโยงไปให้รู้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ง่าย พระบรมศาสดาทรงสรรเสริญผูทำกรรมฐาน 4 อย่างนี้
smiley
เห็นไหม กรัชกาย เรื่องกรรมฐานอธิบายได้ตั้งหลายแง่หลายมุม


อธิบาย จะต้องอธิบายให้ตรงกับเรื่องซี่ อย่าอธิบายนอกเรื่อง คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรากำลังพูดถึงเรื่องกรรมฐาน 40 นี่ :b1:

กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มีกรรมฐาน 40 อย่าง คือ


ก. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ

ก) ภูตกสิณ (กสิณ คือมหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)

ข) วรรณกสิณ (กสิณ คือสี) 4 คือ นิล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)

ค) กสิณอื่นๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉินนากาส (เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง)

กสิณ 10 นี้ จะใช้ของที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่ง โดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง

ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืดไปจนถึงศพทีเหลือแต่โครงกระดูก

ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่

1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน


6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท

8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากาย นี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกาย นี้ มิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

10. อุปสมานุติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์


ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำ เสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกัน ว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจ ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ


1. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า

2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมี สุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตรา ชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง


จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร


ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ


ช. อรูป หรือ อา รุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใดข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ

1. อากาสานัญญายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์

2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณ ที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์

3. อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์

4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำวิธีการทำอานาปานสติตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์เป็นแบบเทียบสักหน่อย

พระอรรถกถาจารย์ได้เสนอวิธีการเพิ่มเติม เช่น การนับ เข้ามาเสริมการปฏิบัติตามพุทธพจน์ด้วย มีความดังนี้

เริ่มแรก ในการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ยาว-สั้น ท่านว่าให้นับไปด้วย เพราะการนับจะช่วยตรึงจิตได้ดี การนับแบ่งเป็น ๒ ตอน

- ช่วงแรก ท่านให้นับช้าๆ การนับมีเคล็ดหรือกลวิธีว่า อย่านับต่ำกว่า ๕ แต่อย่าให้เกิน ๑๐ และให้เลขเรียงลำดับ อย่าโจนข้ามไป (ถ้าต่ำกว่า ๕ จิตจะดิ้นรนในโอกาสอันแคบ ถ้าเกิน ๑๐ จิตจะไปพวงที่การนับ แทนที่จะจับอยู่กับกรรมฐาน คือลมหายใจ ถ้านับขาดๆข้ามๆ จิตจะหวั่นจะวุ่นไป)


ให้นับที่หายใจเข้า-ออกอย่างสบายๆ เป็นคู่ๆ คือ ลมออกว่า ๑ ลมเข้าว่า ๑ ลมออกว่า ๒ ลมเข้าว่า ๒ อย่างนี้เรื่อยไป จนถึง ๕,๕ แล้วตั้งต้นใหม่ ๑,๑ จนถึง ๖,๖ แล้วตั้งต้นใหม่ เพิ่มทีละคู่ไปจนครบ ๑๐ คู่ แล้วกลับย้อนที่ ๕ คู่ใหม่ จนถึง ๑๐ คู่ อย่างนั้นเรื่อยไป

พอจะเขียนให้ดูได้ ดังนี้

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘


๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐


๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บ่งถึงบุคคลไม่เคยเสพการศึกษาบาลี จะออกลูกนี้แหละ

"กรรม" ในที่นี้ แปลว่า การงาน การงานในที่นี้ คือ การงาน (ของจิต) ฐาน แปลว่า ที่ตั้งตั้ง รวมกัน = กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งงาน (ของจิต)

กรรมฐาน มี 40 อย่าง คือ กสิณ 10 อนุสติ 10 ฯลฯ


มั่วก็คือมั่ว จนต้องมานั่งใส่วงเล็บ แล้วมานั่งบอกว่า ต้องศึกษาบาลี :b19: :b19:

กรัชกายเอ๊ยยยยยยย
ไปไม่เป็น ก็อย่าเที่ยวมั่วต่อ

เคยเปิดพระสูตรบาลีหาไหม กรรมฐาน น่ะ
ในบาลี มีใช้คำนี้ป่าวววววว :b19: :b19: :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นำวิธีการทำอานาปานสติตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์เป็นแบบเทียบสักหน่อย

พระอรรถกถาจารย์ได้เสนอวิธีการเพิ่มเติม เช่น การนับ เข้ามาเสริมการปฏิบัติตามพุทธพจน์ด้วย มีความดังนี้

เริ่มแรก ในการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ยาว-สั้น ท่านว่าให้นับไปด้วย เพราะการนับจะช่วยตรึงจิตได้ดี การนับแบ่งเป็น ๒ ตอน

- ช่วงแรก ท่านให้นับช้าๆ การนับมีเคล็ดหรือกลวิธีว่า อย่านับต่ำกว่า ๕ แต่อย่าให้เกิน ๑๐ และให้เลขเรียงลำดับ อย่าโจนข้ามไป (ถ้าต่ำกว่า ๕ จิตจะดิ้นรนในโอกาสอันแคบ ถ้าเกิน ๑๐ จิตจะไปพวงที่การนับ แทนที่จะจับอยู่กับกรรมฐาน คือลมหายใจ ถ้านับขาดๆข้ามๆ จิตจะหวั่นจะวุ่นไป)


ให้นับที่หายใจเข้า-ออกอย่างสบายๆ เป็นคู่ๆ คือ ลมออกว่า ๑ ลมเข้าว่า ๑ ลมออกว่า ๒ ลมเข้าว่า ๒ อย่างนี้เรื่อยไป จนถึง ๕,๕ แล้วตั้งต้นใหม่ ๑,๑ จนถึง ๖,๖ แล้วตั้งต้นใหม่ เพิ่มทีละคู่ไปจนครบ ๑๐ คู่ แล้วกลับย้อนที่ ๕ คู่ใหม่ จนถึง ๑๐ คู่ อย่างนั้นเรื่อยไป

พอจะเขียนให้ดูได้ ดังนี้

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘


๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐


๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕

๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖

ฯลฯ


เอายกแบบหมาหางด้วน อีกแน่ะ 5555
พอเหอะกรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรากำลังพูดถึงเรื่องกรรมฐาน 40 นี่ :b1:

กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มีกรรมฐาน 40 อย่าง คือ


ก. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ

ก) ภูตกสิณ (กสิณ คือมหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)

ข) วรรณกสิณ (กสิณ คือสี) 4 คือ นิล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)

ค) กสิณอื่นๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉินนากาส (เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง)

กสิณ 10 นี้ จะใช้ของที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่ง โดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง

ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืดไปจนถึงศพทีเหลือแต่โครงกระดูก

ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่

1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน


6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท

8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากาย นี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกาย นี้ มิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

10. อุปสมานุติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์


ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำ เสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกัน ว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจ ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ


1. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า

2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมี สุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตรา ชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง


จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร


ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ


ช. อรูป หรือ อา รุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใดข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ

1. อากาสานัญญายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์

2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณ ที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์

3. อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์

4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


กรัชกาย ไปขุดอะไรออกมา ที่พิมพ์มาน่ะ เคยทำสักอย่างไหม
อ้อ คงเคยเพราะสำเร็จการปฏิบัติด้วยการท่องศัพท์ :b19: :b19: :b19:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2014, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เรากำลังพูดถึงเรื่องกรรมฐาน 40 นี่ :b1:

กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ


อ้อ กรัชกายกำลังพูดถึงสิ่งที่กรัชกายท่องได้นี่เอง
พูดสิ่งที่ กรัชกายไม่รู้จัก
เชิญกรัชกาย ปฏิบัติธรรมผ่านการจำศัพท์ต่อไป :b17: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b13: :b32:

- ช่วงสอง ท่านให้นับเร็ว กล่าวคือ เมื่อลมหายใจเข้าออกปรากฏแก่ใจ ชัดเจนดีแล้ว (จิตอยู่กับลมหายใจ โดยลมหายใจช่วยตรึงไว้ได้ ไม่ส่ายฟุ้งไปภายนอก) ก็ให้เลิกนับช้าอย่างข้างต้นนั้นเสีย เปลี่ยนเป็นนับเร็ว


คราวนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงลมเข้าใน หรือออกนอก กำหนดลมที่มาถึงช่อง จมูก นับเร็วๆ จาก ๑ ถึง ๕ แล้วขึ้นใหม่ ๑ ถึง ๖ เพิ่ม ทีละหนึ่งเรื่อยไป จน ๑ ถึง ๑๐ แล้วเริ่ม ๑ ถึง ๕ ใหม่ อีก จิตจะแน่วแน่ด้วยกำลังการนับ เหมือนเรือตั้งลำแน่วในกระแสน้ำ เชียว ด้วยอาศัยถ่อ


เมื่อนับเร็วอย่างนั้น กรรมฐานก็จะปรากฏ ต่อเนื่อง เหมือนไม่มีช่องว่าง พึงนับเร็วๆ อย่างนั้นเรื่อยไป ไม่ ต้องกำหนดว่าลมเข้าในออกนอก เอาสติกำหนด ณ จุดที่ลมกระทบ คือที่ ปลายจมูก หรือริมฝีปากบน (แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วแต่ที่ใดรู้สึก ชัด) เท่านั้น


เขียนให้ดูกันได้ ดังนี้


๑ ๒ ๓ ๔ ๕


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐


๑ ๒ ๓ ๔ ๕


๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖


ฯลฯ

กำหนดนับอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าเมื่อใด แม้ไม่นับแล้ว สติก็ยังตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ คือ ลมหายใจเข้าออกนั้น (วัตถุประสงค์ของการนับ ก็เพื่อให้สติตั้งแน่วอยู่ได้ในอารมณ์ ตัดความติดฟุ้งซ่านไปภายนอกได้นั่นเอง)

........


อนึ่ง พึงทราบว่า ตัวอย่างวิธีปฏิบัติที่แสดงในที่นี้ เขียนตามคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ให้เห็นแบบแผนเดิม ผู้ปฏิบัติจะยักเยื้องไปอย่างอื่นอีกก็ได้ เช่น อย่างที่สำนักต่างๆ ในปัจจุบัน สอนให้ว่าพุทโธบ้าง อย่างอื่นบ้าง กำกับลมหายใจเข้า-ออก แทนการนับ เป็นต้น สาระอยู่ที่เป็นอุบายตรึงจิตไว้เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 มิ.ย. 2014, 05:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2014, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เรากำลังพูดถึงเรื่องกรรมฐาน 40 นี่ :b1:

กรรมฐาน คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ

เท่าที่พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ มีกรรมฐาน 40 อย่าง คือ


ก. กสิณ 10 แปลกันว่า วัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่ง เพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่าง คือ

ก) ภูตกสิณ (กสิณ คือมหาภูตรูป) 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)

ข) วรรณกสิณ (กสิณ คือสี) 4 คือ นิล (เขียว) ปีต (เหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (ขาว)

ค) กสิณอื่นๆ คือ อาโลก (แสงสว่าง) ปริจฉินนากาส (เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง)

กสิณ 10 นี้ จะใช้ของที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้นให้เหมาะกับการใช้เพ่ง โดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง

ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆ กัน รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอืดไปจนถึงศพทีเหลือแต่โครงกระดูก

ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่

1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน


6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท

8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ กำหนดพิจารณากาย นี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32 อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกาย นี้ มิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

10. อุปสมานุติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณาคุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์


ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำ เสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต โดยมากเรียกกัน ว่า พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำใจ ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ


1. เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุขทั่วหน้า

2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมี สุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

4. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอเที่ยงตรงดุจตรา ชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุปัจจัยที่ ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง


จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร


ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกายของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ


ช. อรูป หรือ อา รุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใดข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ

1. อากาสานัญญายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้ (ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์

2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณ ที่แผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์

3. อากิญจัญญายตนะ (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป) กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์

4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย) เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่


กรัชกาย ไปขุดอะไรออกมา ที่พิมพ์มาน่ะ เคยทำสักอย่างไหม
อ้อ คงเคยเพราะสำเร็จการปฏิบัติด้วยการท่องศัพท์


อ้างคำพูด:
เคยทำสักอย่างไหม


อย่าถามฉันเลย :b13:

http://www.youtube.com/watch?v=XdfEyBUow60

เช่นนั้นไฟธาตุเริ่มแตกซ่านอีกแระ :b32:

เอาอีกเอ้า ศัพท์ กัมม์ กรรม

-อุตสาหกรรม
-ศิลปกรรม
-กสิกรรม
-เกษตรกรรม
-คหกรรม
-สูทกรรม
-กายกรรม
-วจีกรรม
-มโนกรรม
-กุศลกรรม
-อกุศลกรรม
-อัพยากตกรรม
-กรรมฐาน
-กัมมัฏฐาน

ฯลฯ

กัมม์, กรรม แปลตามศัพท์ว่า การงาน (เรียกหากรรม -งานอะไร) การกระทำ (เรียกหากรรม -ทำอะไร)

นึกถึงคำพูดที่เล่ากันสืบๆมาไม่รู้จริงเท็จประการใด เกี่ยวกับความหมายศัพท์บาลี ซึ่งหลวงพ่อโต ท่านว่า "บาลีมีอรรถตั้งร้อยคนรู้น้อยหาว่าไอ้โตบ้า"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 194 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร