วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 08:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แรก..กรัชกายก็โพสต์...ดังนี้

กรัชกาย เขียน:
คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับอัตตา หรือตัวตนลักษณะนี้ ดูเหมือนง่ายๆ แต่เวลาปฏิบัติตามไม่ง่ายเลย แต่เราก็ชอบเล่นกับอนัตตา ซึ่งเป็นของสูงก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ :b1:

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมฝึกตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช

หากรู้ว่าตัวนี้เป็นทีรักไซร้ ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ


ผมว่า...กรัชกายเข้าใจผิดมหันต์...
บอกว่า..พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอัตตา...แต่กลับยกคำที่ผิดวัตถุประสงค์มาประกอบ...

เพราะกรัชกายพอเห็นคำว่า..อัตตา..ปั๊บ....ก็เหมารวมว่าใช่..โดยไม่ได้พินิจพิจารณาเลยว่า..ทรงหมายถึงอะไร

ผมถึงบอกว่า...ตน..ในความหมายที่ทรงให้..ฝึกตน...เตือนตน...กระทำตน...นั้น..ตนนี้คือ..ใจ

พระองค์ไม่ได้สอนให้...ไปเพาะกล้าม..เล่นซิดแพ๊ค...นี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แรก..กรัชกายก็โพสต์...ดังนี้

กรัชกาย เขียน:
คำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับอัตตา หรือตัวตนลักษณะนี้ ดูเหมือนง่ายๆ แต่เวลาปฏิบัติตามไม่ง่ายเลย แต่เราก็ชอบเล่นกับอนัตตา ซึ่งเป็นของสูงก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ :b1:

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

อตฺตทีปา อตฺตสรณา จงมีตนเป็นเกาะ จงมีตนเป็นที่พึ่ง

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมฝึกตน

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน

อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช

หากรู้ว่าตัวนี้เป็นทีรักไซร้ ก็ไม่ควรเอาตัวนั้นไปเกลือกกลั้วกับความชั่ว

ฯลฯ


ผมว่า...กรัชกายเข้าใจผิดมหันต์...
บอกว่า..พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอัตตา...แต่กลับยกคำที่ผิดวัตถุประสงค์มาประกอบ...

เพราะกรัชกายพอเห็นคำว่า..อัตตา..ปั๊บ....ก็เหมารวมว่าใช่..โดยไม่ได้พินิจพิจารณาเลยว่า..ทรงหมายถึงอะไร

ผมถึงบอกว่า...ตน..ในความหมายที่ทรงให้..ฝึกตน...เตือนตน...กระทำตน...นั้น..ตนนี้คือ..ใจ

พระองค์ไม่ได้สอนให้...ไปเพาะกล้าม..เล่นซิดแพ๊ค...นี้ครับ


งั้นแสดงว่าฝึกใจ ไม่ใช่ฝึกตน ถูกไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สองใจ เขียน:
ทราบหรือไม่ ท่านทั้งหลาย
ควรพิจารณาอย่างแยบคาย
อตฺตา ดังที่ท่านได้ยกขึ้นมานี้
พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอน สรรพสัตว์ ที่มีปัญญาในการเข้าถึงธรรมต่างกัน
ผู้มีดวงตา ย่อม เข้าใจ เข้าถึง สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ด้วยสัมมาฐิทิ

s007

สัมมาทิฏฐิ.... smiley
เยี่ยมครับ...สั้นๆ...แต่ได้ความหมาย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สองใจ เขียน:
ทราบหรือไม่ ท่านทั้งหลาย
ควรพิจารณาอย่างแยบคาย
อตฺตา ดังที่ท่านได้ยกขึ้นมานี้
พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสสอน สรรพสัตว์ ที่มีปัญญาในการเข้าถึงธรรมต่างกัน
ผู้มีดวงตา ย่อม เข้าใจ เข้าถึง สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัส ด้วยสัมมาฐิทิ

s007

สัมมาทิฏฐิ.... smiley
เยี่ยมครับ...สั้นๆ...แต่ได้ความหมาย..



กบ ความหมายยังไงครับ พูดเหมือนคนฉี่ไม่สุดแระ เอาให้สุดไปเลยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ว..กรัชกาย..ก็โพสต์ต่อจากอันแรก...ด้วยอันนี้

กรัชกาย เขียน:
คุณบทคือคำแสดงพระคุณหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายว่า เป็นภาวิตัตต์ คือ ผู้ได้พัฒนาตนแล้ว จบการฝึกอบรมตนแล้ว เมื่อกระจายความหมายออกไปเป็น
ภาวิตกาย (มีกายที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตศีล (มีศีลที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตจิตต์ (มีจิตที่พัฒนาแล้ว) และ
ภาวิตปัญญา (มีปํญญาที่พัฒนาแล้ว) ก็โยงหรือบ่งถึงหลักธรรมชุด ภาวนา ๔ อันได้แก่
กายภาวนา (การพัฒนากาย)
ศีลภาวนา (การพัฒนาศีล)
จิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) และ
ปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา)

ขอทำความเข้าใจว่า ที่พูดนี้เป็นเรื่องของหลักภาษาบาลี คือภาวิต เป็นคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ แสดงคุณสมบัติของบุคคล ส่วนภาวนา เป็นคำนาม บอกถึงการกระทำ หลัก หรือข้อปฏิบัติ จึงได้ความสอดคล้องกันว่า ภาววิต - ก็คือผู้ที่ได้ทำภาวนาแล้ว และดังนั้น ภาวิตกาย ก็คือผู้ที่ได้ทำกายภาวนาแล้ว ภาวิตศีล คือผู้ที่ได้ทำศีลภาวนาแล้ว ภาวิตจิต ก็คือ ผู้ที่ได้ทำจิตตภาวนาแล้ว และ ภาวิตปัญญา คือผู้ที่ได้ทำปัญญาภาวนาแล้ว

นี่เท่ากับบอกว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ที่ได้ทำภาวนา ๔ เสร็จแล้ว คือ จบทั้งกายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา


กรัชกาย..พยายาม..ทำให้โพสต์แรก...กับ..โพสต์.สอง...เชื่อมกันด้วยคำว่า..อัตตา...ตัวตน...กาย....เป็นอันเดียวกัน

กรัชกายเข้าใจผิด...
อิอิ...

แต่ผมก็รอชม...รออ่าน..ภาวิตกาย....อยู่นะครับ...สนใจ..สนใจ..ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แล้ว..กรัชกาย..ก็โพสต์ต่อจากอันแรก...ด้วยอันนี้

กรัชกาย เขียน:
คุณบทคือคำแสดงพระคุณหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายว่า เป็นภาวิตัตต์ คือ ผู้ได้พัฒนาตนแล้ว จบการฝึกอบรมตนแล้ว เมื่อกระจายความหมายออกไปเป็น
ภาวิตกาย (มีกายที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตศีล (มีศีลที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตจิตต์ (มีจิตที่พัฒนาแล้ว) และ
ภาวิตปัญญา (มีปํญญาที่พัฒนาแล้ว) ก็โยงหรือบ่งถึงหลักธรรมชุด ภาวนา ๔ อันได้แก่
กายภาวนา (การพัฒนากาย)
ศีลภาวนา (การพัฒนาศีล)
จิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) และ
ปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา)

ขอทำความเข้าใจว่า ที่พูดนี้เป็นเรื่องของหลักภาษาบาลี คือภาวิต เป็นคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ แสดงคุณสมบัติของบุคคล ส่วนภาวนา เป็นคำนาม บอกถึงการกระทำ หลัก หรือข้อปฏิบัติ จึงได้ความสอดคล้องกันว่า ภาววิต - ก็คือผู้ที่ได้ทำภาวนาแล้ว และดังนั้น ภาวิตกาย ก็คือผู้ที่ได้ทำกายภาวนาแล้ว ภาวิตศีล คือผู้ที่ได้ทำศีลภาวนาแล้ว ภาวิตจิต ก็คือ ผู้ที่ได้ทำจิตตภาวนาแล้ว และ ภาวิตปัญญา คือผู้ที่ได้ทำปัญญาภาวนาแล้ว

นี่เท่ากับบอกว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ที่ได้ทำภาวนา ๔ เสร็จแล้ว คือ จบทั้งกายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา


กรัชกาย..พยายาม..ทำให้โพสต์แรก...กับ..โพสต์.สอง...เชื่อมกันด้วยคำว่า..อัตตา...ตัวตน...กาย....เป็นอันเดียวกัน

กรัชกายเข้าใจผิด...
อิอิ...

แต่ผมก็รอชม...รออ่าน..ภาวิตกาย....อยู่นะครับ...สนใจ..สนใจ..ครับ



ถ้างั้น ก็รอก่อนครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: :b9: :b9:
:b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 25 พ.ค. 2014, 09:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
งั้นแสดงว่าฝึกใจ ไม่ใช่ฝึกตน ถูกไหมครับ


กรัชกาย..มีคำนี้อยู่ในใจ..ป้าวคับ.
.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา


:b9: :b9:



มันยังไงอธ้ิบายสิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อก้ไข..เพราะต้องการชม....ภาวิตกาย...นะครับ

เชิญท่าน....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
งั้นแสดงว่าฝึกใจ ไม่ใช่ฝึกตน ถูกไหมครับ


กรัชกาย..มีคำนี้อยู่ในใจ..ป้าวคับ.
.

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา


:b9: :b9:



มันยังไงอธ้ิบายสิครับ :b1:



กบเอ้ยกบ ก็โพสต์ข้อความนี้

อ้างคำพูด:
กรัชกาย..มีคำนี้อยู่ในใจ..ป้าวคับ.

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา


พอเราให้อธิบายแน่ะเอาคาถานั้นออก แล้วบอก
อ้างคำพูด:
ที่อก้ไข..เพราะต้องการชม....ภาวิตกาย...นะครับ

เชิญท่าน.


กบ กระโดดลงไปในน้ำขุ่นๆ คิกๆๆ ไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองเลย


ฝนเดือนหก เลยแบบนี้ :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=MbH76AiaiRM

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณบทคือคำแสดงพระคุณหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายว่า เป็นภาวิตัตต์ คือ ผู้ได้พัฒนาตนแล้ว จบการฝึกอบรมตนแล้ว เมื่อกระจายความหมายออกไปเป็น

ภาวิตกาย (มีกายที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตศีล (มีศีลที่พัฒนาแล้ว)
ภาวิตจิตต์ (มีจิตที่พัฒนาแล้ว) และ
ภาวิตปัญญา (มีปํญญาที่พัฒนาแล้ว) ก็โยงหรือบ่งถึงหลักธรรมชุด ภาวนา ๔ อันได้แก่
กายภาวนา (การพัฒนากาย)
ศีลภาวนา (การพัฒนาศีล)
จิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) และ
ปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา)


ขอทำความเข้าใจว่า ที่พูดนี้เป็นเรื่องของหลักภาษาบาลี คือภาวิต เป็นคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ แสดงคุณสมบัติของบุคคล ส่วนภาวนา เป็นคำนาม บอกถึงการกระทำ หลัก หรือข้อปฏิบัติ จึงได้ความสอดคล้องกันว่า ภาววิต - ก็คือผู้ที่ได้ทำภาวนาแล้ว และดังนั้น

ภาวิตกาย ก็คือผู้ที่ได้ทำกายภาวนาแล้ว
ภาวิตศีล คือผู้ที่ได้ทำศีลภาวนาแล้ว
ภาวิตจิต ก็คือ ผู้ที่ได้ทำจิตตภาวนาแล้ว และ
ภาวิตปัญญา คือผู้ที่ได้ทำปัญญาภาวนาแล้ว

นี่เท่ากับบอกว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ที่ได้ทำภาวนา ๔ เสร็จแล้ว คือ จบทั้ง กายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา

ถึงตอนนี้ก็จึงต้องรู้ว่าภาวนา 4 นั้น คืออะไร แสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้


1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ทางวัตถุ หรือทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 คือ

จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่ง

เหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ


2. ศีลภาวนา การเจริญศีล หรือพัฒนาศีล คือ พัฒนาความประพฤติ พัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลกัน


3. จิตตภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาจิต คือ ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น


4. ปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา หรือพัฒนาปัญญา คือ ฝึกอบรมพัฒนาปัญญา ให้เจริญงอกงาม จนเกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง โดยรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็น อิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์ จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ มีชีวิตเป็นอยู่ แก้ไขปัญหาและทำการทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ถึงเหตุ ปัจจัย

เมื่อรู้ความหมายของหลักธรรม คือ ภาวนา ที่เป็นเนื้อตัวของการปฏิบัติทั้ง 4 แล้ว ก็เข้าใจภาวิตที่เป็นคุณสมบัติของท่านผู้จบการปฏิบัติ ผู้มีธรรมทั้ง 4 ข้อนั้นแล้ว ดังนี้



1. ภาวิตกาย ผู้ได้เจริญกาย หรือมีกายที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกอบรมพัฒนาความ

สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ โดยรู้จักอยู่ดีมีสุขอย่างเกื้อกูลกันกับสิ่งสรรค์และ

ธรรมชาติโดย เฉพาะให้การรับรู้ทางอินทรีย์ 5 เช่น ดู ฟัง เป็นไปด้วยสติและเพื่อปัญญา และให้

การใช้สอยเสพบริโภคต่างๆ เป็นไปอย่างพอดี ที่จะได้คุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์จริง ไม่หลงใหล

เตลิดเพริดไปตามอิทธิพลของความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ไม่ลุ่มหลงมัวเมา มิให้เกิดโทษ แต่ให้

เป็นคุณ มิให้ถูกบาปอกุศลครอบงำ แต่หนุนให้กุศลธรรมงอกงาม



2. ภาวิตศีล ผู้ได้เจริญศีล หรือมีศีลที่พัฒนาแล้ว คือได้พัฒนาความประพฤติมีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ไม่ใช้กายวาจาและอาชีพในทางที่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ใครๆ แต่ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม



3. ภาวิตจิต ผู้ ได้เจริญจิต หรือมีจิตใจพัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตใจให้สดใส เบิกบานร่าเริง ผ่องใสโปร่งโล่งเป็นสุขเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีน้ำใจเมตตา กรุณา ศรัทธากตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน สงบมั่นคง มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น



4. ภาวิตปัญญา ผู้ได้เจริญปัญญา หรือมีปัญญาที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลก และชีวิตตามสภาวะ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา และดับทุกข์ได้ปลดเปลื้องตนให้บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากกิเลส มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญาโดยมีจิตใจเป็นอิสระสุขเกษมไร้ทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 23:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถึงตอนนี้ก็จึงต้องรู้ว่าภาวนา 4 นั้น คืออะไร แสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ทางวัตถุ หรือทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 คือ

จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่ง

เหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ



กาย.....ตัวนี้...เป็น....ตน.....ตัวเดียวกับที่กรัชกายอารัพบท..ว่า...ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน...ฯลฯ...

ใช่มั้ยครับ....กรัชกาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถึงตอนนี้ก็จึงต้องรู้ว่าภาวนา 4 นั้น คืออะไร แสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ทางวัตถุ หรือทางกายภาพ (รวมทั้งเทคโนโลยี) โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 คือ

จักขุ (ตา) โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น) กายะ (กาย) ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่ง

เหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ



กาย.....ตัวนี้...เป็น....ตน.....ตัวเดียวกับที่กรัชกายอารัพบท..ว่า...ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน...ฯลฯ...

ใช่มั้ยครับ....กรัชกาย...



ใช่ แต่กบจะต้องลบคำว่า กายมี 2 กายออกออกจากใจตนเองก่อน อะไรบ้างนะ ว่าอีกทีสิขอรับเอ้า

1.
2.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีแรกตั้งใจจะลงบทความเท่านั้น แต่ดูแล้ว เหมือนไม่สุดถ้อยกระทงความ ขอลงต่ออีกหน่อย แต่ก่อนอื่นนำพุทธพจน์ที่่เกี่ยวข้องมาด้วย (ทีจริงจะมีพุทธพจน์นี้ก่อน แต่เอาเถอะไม่เป็นไร พอปะติดปะต่อได้)


คราวนี้ ก็มาดูพุทธพจน์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าเอง ในข้อความร้อยแก้ว ที่ตรัสถึง ภาวิต ๔ ที่ถือว่าขยายกระจายออกไปจาก ภาวิตัตต์ นั้น ยกมาพอเป็นตัวอย่าง

"ภิกษุ ทั้งหลาย อนาคตภัย (ภัยในอนาคต) ๕ ประการนี้ ยังมิได้เกิดขึ้น ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึง ตระหนักทันการไว้ ครั้นตระหนักทันการแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยเหล่านั้น อนาคตภัย ๕ ประการเป็นไฉน ?


“กล่าวคือ ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา) ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญาก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา)


“เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำ ผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา


“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน


“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ข้อที่ ๑ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย


“อีกประการหนึ่ง ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิ ได้พัฒนาปัญญา) ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่เหล่าภิกษุอื่น แลจักไม่สามารถแนะนำเหล่าภิกษุ ที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าภิกษุที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา


“เหล่า ภิกษุ ที่ได้ถือนิสสัยนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่ภิกษุเหล่านั้น แลจักไม่สามารถแนะนำภิกษุเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้นิสสัยนั้นก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา


“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน


“ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย ข้อที่ ๒ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลายพึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเริ่มจะไปเชื่อมกับที่พวกเราพูดถึงกันบ่อยๆ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว


- ข้อที่น่าสังเกตอย่างยิ่งในพุทธพจน์นั้น อยู่ตรงที่ ตรัสว่า เหล่าภิกษุ ผู้มิใช่ภาวิตกาย ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (มิได้ พัฒนากาย - ศีล –จิต- ปัญญา) จะเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้ฝึกสอนผู้อื่น และจักไม่สามารถแนะนำ ภิกษุทั้งหลายที่เป็นศิษย์ ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (ศีล สมาธิ ปัญญา)


ที่น่าสังเกตก็คือ เวลาตรัสถึงคุณสมบัติของผู้สอน ทรงใช้คำในชุด ภาวิต ๔ ทางกาย ศีล จิต และปัญญา แต่เวลาตรัสถึงสิ่งที่จะสอน คือหลักธรรม หรือตัวข้อปฏิบัติ ทรงใช้คำในชุด สิกขา ๓ ที่เราเรียกกันได้สะดวกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (เรียกเต็มว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา)


จุด น่าสังเกตนั้น มากับข้อสงสัยหลายอย่าง เริ่มแต่ข้อที่ง่ายที่สุด คือ เหตุใดไม่ทรงใช้คำให้ตรงหรือสอดคล้องกัน เช่น น่าจะตรัสว่า ผู้ ไม่เป็นภาวิต ๔ ด้าน จักไม่สามารถแนะนำในภาวนา ๔ อย่าง หรือตรงข้ามจากนั้นอาจจะตรัสว่า ผู้ไม่จบสิกขา ๓ จักไม่สามารถแนะนำใน ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้เป็นต้น


แล้วก็มีข้อที่สนับสนุนซ้ำ ถึงอีกว่า ทั้งในชุดภาวิตและภาวนา ๔ ก็ดี ในชุดสิกขา ๓ ก็ ดี หัวข้อย่อยก็เหมือนๆกัน ชุดแรกว่า กาย ศีล จิตใจ และปัญญาส่วนชุดหลังก็มี ศีล สมาธิคือจิตใจ และปัญญา แทบตรงกัน เพราะฉะนั้น ทั้งตอนต้นและตอนหลังก็น่าจะทรงใช้ชุดใดชุดหนึ่งอย่างเดียวกัน จะได้ง่ายหน่อย ไม่ชวนให้งง


พร้อม กันนั้น ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ตามปกติ ในการปฏิบัติ ก็ได้ยินกันมา เป็นธรรมดาว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออธิศีล อธิจิต อธิ ปัญญา และถือกันว่าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว นี่มี "กาย" เพิ่มเข้ามาอีก ข้อหนึ่ง ข้อนี้ไม่คุ้นเลย ทำไมจึงเพิ่มเข้ามา มีกายอะไร อีก หมายถึงอะไรกัน


ในข้อนี้ จับแง่กันแค่นี้ก่อน ว่า พระพุทธเจ้าตรัสแสดงหลักแยกเป็น ๒ ชุด หลักที่แสดงคุณสมบัติ ของผู้สอน ทรงใช้ "ภาวิต ๔" ส่วนหลักการสอน ทรง ใช้ "สิกขา ๓"


ตอนนี้ ยังไม่พูดถึงเหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงทรงแยกใช้หลักต่างกันเป็น ๒ ชุด อันนั้นยกไปดูกันในข้อต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร